• วันนี้เราคุยกันเรื่องวัฒนธรรมแต่งงานอีกแบบ ที่มาคือชื่อภาษาจีนของละครและนิยายจีนเรื่อง “จุ้ยซวี่” (赘婿 ชื่อละครภาษาไทยแปลตามชื่อภาษาอังกฤษว่า <สามีข้าคือฮีโร่>)

    ขอเริ่มเรื่องจากบทสนทนาจากในละครของเจ้าบ่าวหนิงอี้กับพ่อบ้านแห่งสกุลซู เพื่อให้เห็นภาพ
    ...หนิงอี้: “นี่คืออันใด?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “นี้คือเกี้ยวเจ้าสาว”
    หนิงอี้: “ของคุณหนู?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “ของท่าน”
    หนิงอี้: “เพราะเหตุใด?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “เพราะท่านเป็นจุ้ยซวี่”
    หนิงอี้: “เป็นจุ้ยซวี่ก็ต้องนั่งเกี้ยวรึ?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “เป็นจุ้ยซวี่ต้องนั่งเกี้ยว”...

    ในละครเรื่องนี้ หนิงอี้ผู้เป็นเจ้าบ่าวต้องนั่งเกี้ยวถูกส่งตัวไปยังบ้านของฝ่ายหญิง (ตามรูปประกอบ) อีกทั้งระหว่างทางยังโดนคนชี้นิ้ววิพากย์วิจารณ์มากมายราวกับว่าเป็นเรื่องน่าดูแคลน เหตุเพราะเขาเป็น “จุ้ยซวี่”

    “จุ้ยซวี่” คือการเรียกเขยที่แต่งเข้าไปในสกุลของฝ่ายเจ้าสาว พำนักอยู่ในเรือนของฝ่ายหญิง และหากมีลูก ลูกก็จะใช้แซ่หรือนามสกุลตามฝ่ายหญิง ซึ่งเพื่อนเพจที่พอคุ้นเคยกับธรรมเนียมจีนจะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับธรรมเนียมปกติที่ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกก็จะใช้นามสกุลของฝ่ายชาย

    ทำไมถึงมีจุ้ยซวี่? การแต่งชายเข้าบ้านฝ่ายหญิงนั้น เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายเจ้าสาวมาจากตระกูลคหบดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แต่ขาดบุตรชายที่จะสืบสกุล ดังนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจึงมักเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย

    แล้วธรรมเนียมแต่งจุ้ยซวี่เข้าเรือนเกิดขึ้นในยุคสมัยใด? ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงจุ้ยซวี่มาตั้งแต่ยุคสมัยชุนชิว แต่ในวัฒนธรรมจีนนั้นการสืบสกุลเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ดังนั้นการละทิ้งสกุลของตนเพื่อไปสืบเชื้อสายให้สกุลอื่นจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ในสมัยนั้นจุ้ยซวี่จึงมีฐานะต่ำต้อยมาก มีการเปรียบเสมือนเป็นทาสในเรือน ในสมัยนั้นยังมีกฎห้ามจุ้ยซวี่แยกเรือนออกไปอยู่เอง ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และลูกหลานจะเข้ารับราชการได้นั้นต้องผ่านไปแล้วสามรุ่นด้วยกัน (โอ้โห!)

    ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง จุ้ยซวี่ได้รับการปฏิบัติดีขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นแม้จะไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ว่ากันว่า เป็นเพราะว่าบิดาของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง (องค์ซ่งไท่จู่) ก็เป็นจุ้ยซวี่ สังคมรับเรื่องนี้ได้มากขึ้นถึงขนาดที่ว่ามีชายบางคนที่ฐานะครอบครัวไม่เลว ยังขวนขวายแต่งเข้าสกุลของฝ่ายหญิงที่เรืองอำนาจเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ตนเลยทีเดียว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ กดไลค์กดแชร์กันหน่อยนะคะ)

    เครดิตรูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/450812871_100288750 และจากละคร
    เครดิตข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/451219092_588218
    https://www.52shijing.com/kjxs/113551.html

    #สามีข้าคือฮีโร่ #ประเพณีจีนโบราณ #จุ้ยซวี่ #เกี้ยวเจ้าสาว #StoryfromStory
    วันนี้เราคุยกันเรื่องวัฒนธรรมแต่งงานอีกแบบ ที่มาคือชื่อภาษาจีนของละครและนิยายจีนเรื่อง “จุ้ยซวี่” (赘婿 ชื่อละครภาษาไทยแปลตามชื่อภาษาอังกฤษว่า <สามีข้าคือฮีโร่>) ขอเริ่มเรื่องจากบทสนทนาจากในละครของเจ้าบ่าวหนิงอี้กับพ่อบ้านแห่งสกุลซู เพื่อให้เห็นภาพ ...หนิงอี้: “นี่คืออันใด?” พ่อบ้านเกิ่ง: “นี้คือเกี้ยวเจ้าสาว” หนิงอี้: “ของคุณหนู?” พ่อบ้านเกิ่ง: “ของท่าน” หนิงอี้: “เพราะเหตุใด?” พ่อบ้านเกิ่ง: “เพราะท่านเป็นจุ้ยซวี่” หนิงอี้: “เป็นจุ้ยซวี่ก็ต้องนั่งเกี้ยวรึ?” พ่อบ้านเกิ่ง: “เป็นจุ้ยซวี่ต้องนั่งเกี้ยว”... ในละครเรื่องนี้ หนิงอี้ผู้เป็นเจ้าบ่าวต้องนั่งเกี้ยวถูกส่งตัวไปยังบ้านของฝ่ายหญิง (ตามรูปประกอบ) อีกทั้งระหว่างทางยังโดนคนชี้นิ้ววิพากย์วิจารณ์มากมายราวกับว่าเป็นเรื่องน่าดูแคลน เหตุเพราะเขาเป็น “จุ้ยซวี่” “จุ้ยซวี่” คือการเรียกเขยที่แต่งเข้าไปในสกุลของฝ่ายเจ้าสาว พำนักอยู่ในเรือนของฝ่ายหญิง และหากมีลูก ลูกก็จะใช้แซ่หรือนามสกุลตามฝ่ายหญิง ซึ่งเพื่อนเพจที่พอคุ้นเคยกับธรรมเนียมจีนจะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับธรรมเนียมปกติที่ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกก็จะใช้นามสกุลของฝ่ายชาย ทำไมถึงมีจุ้ยซวี่? การแต่งชายเข้าบ้านฝ่ายหญิงนั้น เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายเจ้าสาวมาจากตระกูลคหบดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แต่ขาดบุตรชายที่จะสืบสกุล ดังนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจึงมักเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย แล้วธรรมเนียมแต่งจุ้ยซวี่เข้าเรือนเกิดขึ้นในยุคสมัยใด? ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงจุ้ยซวี่มาตั้งแต่ยุคสมัยชุนชิว แต่ในวัฒนธรรมจีนนั้นการสืบสกุลเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ดังนั้นการละทิ้งสกุลของตนเพื่อไปสืบเชื้อสายให้สกุลอื่นจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ในสมัยนั้นจุ้ยซวี่จึงมีฐานะต่ำต้อยมาก มีการเปรียบเสมือนเป็นทาสในเรือน ในสมัยนั้นยังมีกฎห้ามจุ้ยซวี่แยกเรือนออกไปอยู่เอง ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และลูกหลานจะเข้ารับราชการได้นั้นต้องผ่านไปแล้วสามรุ่นด้วยกัน (โอ้โห!) ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง จุ้ยซวี่ได้รับการปฏิบัติดีขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นแม้จะไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ว่ากันว่า เป็นเพราะว่าบิดาของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง (องค์ซ่งไท่จู่) ก็เป็นจุ้ยซวี่ สังคมรับเรื่องนี้ได้มากขึ้นถึงขนาดที่ว่ามีชายบางคนที่ฐานะครอบครัวไม่เลว ยังขวนขวายแต่งเข้าสกุลของฝ่ายหญิงที่เรืองอำนาจเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ตนเลยทีเดียว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ กดไลค์กดแชร์กันหน่อยนะคะ) เครดิตรูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/450812871_100288750 และจากละคร เครดิตข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/451219092_588218 https://www.52shijing.com/kjxs/113551.html #สามีข้าคือฮีโร่ #ประเพณีจีนโบราณ #จุ้ยซวี่ #เกี้ยวเจ้าสาว #StoryfromStory
    WWW.SOHU.COM
    《赘婿》首播:剧情搞笑,宋轶获赞,郭麒麟槽点较为集中_宁毅
    而郭麒麟从脸上讲就有点不合适,大家可以看一下这个镜头他和张若昀的对比,年龄和气质的差异一下子就能看出来,而且郭麒麟看起来特别的黑。 大家其实对郭麒麟这个演员没有什么意见,甚至也承认郭麒麟在平常生活中…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 114 มุมมอง 0 รีวิว
  • ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋

    บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง

    แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋

    เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ

    เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี

    เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้

    ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป

    หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html
    https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758
    https://gushici.china.com/srgushi/10.html
    https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html
    https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296
    https://www.sohu.com/a/341251009_100053536

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    ** บทกวีทับทิมจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้เราได้คุยถึงเรื่องสีแดงในเรื่อง <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ> เพื่อนเพจที่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้คงจะจำได้ว่าพ่อของนางเอกทิ้งสูตรเกี่ยวกับการผสมสีแดงของตระกูลไว้ในบทกวีที่เกี่ยวกับทับทิม Storyฯ เห็นว่ามีเกร็ดประวัติศาสตร์เล็กๆ สอดแทรกอยู่ในนี้ที่เพื่อนเพจคงไม่รู้ เลยมาแบ่งปันให้ฟัง... เป็นเรื่องราวชีวิตคู่ของหลี่ไป๋ บทกวีดังกล่าวมีชื่อว่า ‘หย่งหลินหนี่ว์ตงชวงไห่สือหลิ่ว’ (咏邻女东窗海石榴 แปลได้ประมาณว่า ชื่นชมสตรีข้างบ้านผ่านหน้าต่างและต้นทับทิม) เป็นผลงานของหลี่ไป๋ เซียนกวีแห่งราชวงศ์ถัง ถูกประพันธ์ขึ้นสมัยที่เขาพำนักอยู่ในเขตซานตง ใจความบรรยายถึงความงามของสตรีข้างบ้านที่เขามองเห็นผ่านหน้าต่าง ซึ่งเขาเรียกในบทกวีว่า ‘สตรีจากแดนหลู่’ ความงามของนางถูกเสริมด้วยความงามของต้นทับทิมที่มีดอกสีแดงจัดตัดกับใบเขียว เขาถึงกับรำพันว่าจะยอมเป็นกิ่งทับทิมที่ทอดเกยอาภรณ์ของนางเพื่อขอเพียงให้ได้ใกล้ชิดอนงค์นาง แต่จนใจได้แต่ชะเง้อมองผ่านหน้าต่าง แน่นอนว่ามันเป็นกลอนบอกรัก และสตรีดังกล่าวเป็นหนึ่งในภรรรยาของหลี่ไป๋ เพื่อนเพจหลายท่านอาจไม่คุ้นเคยกับชีวประวัติของหลี่ไป๋และคงไม่ทราบว่าหลี่ไป๋มีภรรยาสี่คน จริงๆ แล้วเขาแต่งงานอย่างถูกต้องตามธรรมเนียมสองครั้ง ส่วนภรรยาอีกสองคนไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กินด้วยกันเฉยๆ เขาแต่งงานครั้งแรกเมื่ออายุยี่สิบเจ็ดปีกับภรรยาคนแรกคือสตรีสกุลสวี่ผู้เป็นหลานของอดีตอัครเสนาบดีในรัชสมัยขององค์ถังเกาจง ถูกรับเข้าจวนสกุลสวี่เป็นเขยแต่งเข้าหรือที่เรียกว่า ‘จุ้ยซวี่’ มีลูกด้วยกันสองคน ชายหนึ่งหญิงหนึ่ง แต่ลูกทั้งสองได้ใช้แซ่หลี่ตามหลี่ไป๋ผู้เป็นบิดา (อนึ่ง ปกติจุ้ยซวี่แต่งเข้าเรือนของสตรี เมื่อมีลูกก็จะใช้แซ่ของผู้เป็นมารดาไม่ใช่บิดา Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว แปะลิ้งค์ไว้ให้อ่านใหม่ที่ท้ายเรื่อง) ช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันกับนางสกุลสวี่นี้ หลี่ไป๋มีชีวิตค่อนข้างสบายเพราะฝ่ายหญิงมีฐานะดีและเขามีอิสระที่จะเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ ตามใจหมาย ว่ากันว่าเขารักภรรยาคนนี้มากแต่นางป่วยตายหลังจากใช้ชีวิตคู่ด้วยกันนานสิบเอ็ดปี เมื่อสิ้นภรรยาคนแรก หลี่ไป๋ก็พาลูกจากจวนสกุลสวี่ออกเดินทาง มาหยุดพำนักที่บริเวณพื้นที่แถบซานตง หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็อยู่กินกับนางสกุลหลิว ว่ากันว่าเป็นเพราะต้องการหาคนมาช่วยเลี้ยงลูกเพื่อว่าตนเองจะได้มีอิสระในการเดินทาง ส่วนนางสกุลหลิวเองก็คาดหวังว่าหลี่ไป๋จะมีอนาคตขุนนางสวยงาม แต่ หลี่ไป๋ก็ยังไม่ได้เข้ารับราชการเสียที สุดท้ายนางทนไม่ได้กับความเป็นกวีขี้เมาของหลี่ไป๋ ทั้งสองจึงแยกทางกันอย่างไม่แฮปปี้ ต่อมาอีกประมาณหกปี หลี่ไป๋ยังคงอยู่ในละแวกพื้นที่ซานตงหรือที่เรียกว่าพื้นที่หลู่นี้ และได้อยู่กินกับภรรยาคนที่สาม ซึ่งก็คือ ‘สตรีจากแดนหลู่’ ในบทกวีข้างต้นนั่นเอง เขาซื้อที่ดินทำกินให้นางดูแลทรัพย์สินอย่างไว้ใจ นางเองก็ขยันขันแข็งทำมาหากิน ส่วนตัวเขายังคงออกเดินทางไปตามพื้นที่ต่างๆ และใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเมืองหลวง พวกเขามีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ไม่มีการบันทึกถึงรายละเอียดว่าเกิดอะไรกับลูกชายคนนี้ และไม่มีหลักฐานปรากฏด้วยซ้ำว่าสตรีนางนี้มีชื่อสกุลใด บ้างว่านางเป็นแม่หม้ายบ้างว่านางได้หมั้นหมายแล้วแต่คู่หมายหายไปหลายปีกลายเป็นหม้ายขันหมาก แต่ที่แน่ๆ คือนางอยู่ข้างบ้าน มองกันไปมองกันมาก็เกิดปิ๊งกันเลยอยู่กินกัน เล่าขานกันต่อมาเพียงว่าอยู่ด้วยกันเพียงห้าปีนางก็ตายจากไป หลี่ไป๋แต่งงานครั้งที่สองกับภรรยาคนสุดท้ายคือสตรีสกุลจง เป็นหลานปู่ของจงฉู่เค่อ อดีตอัครเสนาบดีอีกท่านหนึ่งและเขาแต่งเข้าเรือนฝ่ายหญิงอีกครั้ง อยู่ด้วยกันสิบปีอย่างสมบูรณ์พูนสุขแต่ไม่มีบุตร แต่สุดท้ายหลี่ไป๋เข้าไปพัวพันกับคดีการเมืองและนางเสียชีวิตลง ส่วนเขาถูกเนรเทศและแม้ว่าในบั้นปลายชีวิตจะได้รับอิสรภาพแต่ก็ต้องจบชีวิตลงอย่างเดียวดาย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) บทความในอดีตเกี่ยวกับเจ้าบ่าวจุ้ยซวี่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/134357391983589 Credit รูปภาพจาก: https://www.gdzjdaily.com.cn/p/2903387.html https://www.photophoto.cn/pic/11693708.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_7753758 https://gushici.china.com/srgushi/10.html https://www.163.com/dy/article/G328S2640543SC39.html https://baike.baidu.com/item/咏邻女东窗海石榴/9436296 https://www.sohu.com/a/341251009_100053536 #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #กวีเอก #หลี่ไป๋ #เซียนกวี #ราชวงศ์ถัง #สาระจีน
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 839 มุมมอง 0 รีวิว
  • หนี่ว์ฮู่ ‘ครัวเรือนสตรี’

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงจำกันได้ว่าในช่วงตอนท้ายๆ ของเรื่อง นางเอกของเราแยกออกมาอยู่เอง Storyฯ ไม่แน่ใจว่าในซับไทยแปลว่าอย่างไรแต่ในภาษาจีนนางบอกว่าจะแยกออกมาตั้งครัวเรือนสตรีหรือที่เรียกว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ (女户) ซึ่งคำว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงครัวเรือนที่จดทะเบียนให้สตรีเป็นเจ้าบ้าน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน

    ความเป็นเจ้าบ้านในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ เพื่อนเพจไม่สามารถใช้นิยามและบริบทของเราท่านชาวไทยสมัยนี้มาเปรียบเทียบ เพราะสำหรับเราในยุคไทยปัจจุบันคำว่า ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ดินหรือสินทรัพย์ในบ้าน แต่ในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ ‘เจ้าบ้าน’ หรือ ‘ฮู่จู่’ (户主) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้นๆ ซึ่งคนจีนโบราณอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่รวมหลายรุ่น (เช่นมีลูกชายหลายคน ทุกคนแต่งเมียเข้าบ้านมีลูกมีหลานอยู่รวมกัน) หรืออาจมีบางคนแยกบ้านออกไปตามความจำเป็นและค่านิยมของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ตราบใดที่อยู่ในบ้านในฐานะสมาชิกครอบครัวจะเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยและอาจมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เป็นของครัวเรือนนั้น มีสินทรัพย์ส่วนตัวได้เฉพาะที่เก็บหอมรอมริบหรือได้รับกำนัลมาเป็นการส่วนตัว เพื่อนเพจเชื้อสายจีนที่คุ้นเคยกับระบบกงสีจะเข้าใจบริบทนี้ได้ง่าย

    ดังนั้น การเป็นเจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณผูกรวมกับการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้น และหมายรวมถึงอำนาจการปกครองและการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในบ้าน และหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือการเสียภาษีให้รัฐ

    ในสมัยจีนโบราณนั้น โดยทั่วไป การเป็นเจ้าบ้านและการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของครอบครัวนั้นสืบทอดทางสายโลหิตจากรุ่นสู่รุ่นและสืบทอดผ่านบุรุษ และในบริบทนี้สตรีขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวนั้นๆ ไร้ซึ่งบุรุษสืบทอดหรือที่เรียกว่าสภาวะ ‘ฮู่เจวี๋ย’ (户绝/สิ้นครัวเรือน) นี่คือเหตุผลที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นศัพท์เฉพาะ

    ว่ากันว่า หนี่ว์ฮู่มีมาแต่สมัยฮั่นตอนต้นซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประชากรเพศชายเสียชีวิตมากมายในสงคราม จึงจำเป็นต้องให้สิทธิ์สตรีดูแลตนเองได้โดยการตั้งครัวเรือนของตนเพื่อจะได้บริหารสินทรัพย์และเสียภาษีได้ในกรณีที่ไม่เหลือทายาทบุรุษในครอบครัวแล้ว และในสมัยอื่นๆ ต่อมาก็มีหลักการเดียวกันที่ว่า สตรีเป็นเจ้าบ้านได้ในกรณีที่ไร้ทายาทบุรุษ แต่ความแตกต่างของแต่ละสมัยขึ้นอยู่กับคำนิยามของ ‘ทายาทบุรุษ’ ผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น นับลูกหลานสายตรง หรือนับรวมพี่ชายน้องชายและลูกหลาน หรือนับรวมญาติสกุลเดียวกันที่ห่างออกไปอีก) ทำให้เกณฑ์ที่สตรีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามไปด้วย ทั้งนี้ สตรีที่เป็นเจ้าบ้านได้นั้นหมายรวมถึงมารดาม่าย ภรรยาม่าย หรือลูกสาวที่ยังไม่ออกเรือน

    นับแต่สมัยถังมามีการกำหนดกฎหมายมากมายที่ระบุสิทธิของสตรีให้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรื่องสินเดิมเจ้าสาวและการหย่าร้างที่ Storyฯ เคยเขียนถึง และรวมถึงสิทธิในการสืบทอดมรดกอีกด้วย เป็นต้นว่าในสมัยถังและซ่ง หากไร้ทายาทบุรุษ ให้ขายสินทรัพย์ทั้งหมดรวมถึงบ่าวไพร่ในบ้าน นำเงินมาจัดงานศพแล้วหากมีเหลือจึงแบ่งกันระหว่างบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน เมื่อได้ส่วนแบ่งมรดกของตนแล้ว สตรีนั้นๆ สามารถตั้งครัวเรือนใหม่โดยขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ หรือหากไม่มีบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน บุตรีที่ออกเรือนไปแล้วมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งมรดกแต่ในกรณีนี้นางอยู่กับครอบครัวสามีก็ไม่ตั้งครัวเรือนใหม่ ส่วนสตรีที่จัดตั้งหนี่ว์ฮู่ขึ้นแล้ว หากต่อมาแต่งงานโดยสามีแต่งเข้า (เรียกว่า จุ้ยซวี่) สตรีนั้นยังคงสิทธิ์เจ้าบ้านตามเดิม แต่หากแต่งออกไปอยู่บ้านสามีก็จะต้องยุบครัวเรือนนั้นทิ้งโดยสามารถนำทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนติดตัวไปด้วยได้ ทั้งนี้สิทธิเหล่านี้มีความแตกต่างในรายละเอียดตามยุคสมัย

    Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิในการครอบครองและสืบทอดสินทรัพย์ของแต่ละยุคสมัยจีนโบราณเพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถ ประเด็นหลักที่จะสื่อในวันนี้ก็คือ ในสมัยโบราณสตรีสามารถจัดตั้งครัวเรือนเป็นเจ้าบ้านได้ และสามารถสืบทอดมรดกได้ แต่... เฉพาะในกรณีที่ครอบครัวไร้ทายาทบุรุษ ซึ่งเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับนิยามว่า ‘ทายาทบุรุษ’ ครอบคลุมญาติในวงแคบหรือวงกว้างเพียงใด

    อนึ่ง Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อนเพจสามารถอ่านย้อนหลังเพื่อทบทวนความทรงจำ จะได้เข้าใจต่อเนื่องในบทความข้างต้นได้ค่ะ:
    - เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02DGMdxYPJTbeiAS9n5zUXqo7Zfsn9WTLGbbHPCXcpBFChCxxHzWafnNr8wuNBJ63Tl
    - เกี่ยวกับสินเดิมเจ้าสาว https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1127226122739012
    - เกี่ยวกับเจ้าบ่าวที่แต่งเข้าเรือนหรือ ‘จุ้ยซวี่’ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02nZxNBtk2h6V7W1wReZ5td8nc2Aaj85o2wkWmPSRtpnGP6dqQSGyCbKaXJPUjHzEal

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61833754/are-you-the-one-8-highlights/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://legalinfo.moj.gov.cn/pub/sfbzhfx/zhfxfzwh/fzwhfsgs/202107/t20210702_429806.html
    http://e.mzyfz.org.cn/paper/1957/paper_52459_10896.html
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2023/05/id/7273412.shtml
    https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    https://baike.baidu.com/item/户绝

    #ซ่อนรักชายาลับ #หนี่ว์ฮู่ #ครัวเรือนสตรี #สิทธิการสืบทอดมรดกจีนโบราณ #เจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณ #สาระจีน
    หนี่ว์ฮู่ ‘ครัวเรือนสตรี’ สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <ซ่อนรักชายาลับ> คงจำกันได้ว่าในช่วงตอนท้ายๆ ของเรื่อง นางเอกของเราแยกออกมาอยู่เอง Storyฯ ไม่แน่ใจว่าในซับไทยแปลว่าอย่างไรแต่ในภาษาจีนนางบอกว่าจะแยกออกมาตั้งครัวเรือนสตรีหรือที่เรียกว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ (女户) ซึ่งคำว่า ‘หนี่ว์ฮู่’ เป็นศัพท์เฉพาะที่หมายถึงครัวเรือนที่จดทะเบียนให้สตรีเป็นเจ้าบ้าน วันนี้เรามาคุยเรื่องนี้กัน ความเป็นเจ้าบ้านในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ เพื่อนเพจไม่สามารถใช้นิยามและบริบทของเราท่านชาวไทยสมัยนี้มาเปรียบเทียบ เพราะสำหรับเราในยุคไทยปัจจุบันคำว่า ‘เจ้าบ้าน’ ในทะเบียนบ้านไม่ได้หมายถึงผู้ที่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ดินหรือสินทรัพย์ในบ้าน แต่ในบริบทสังคมจีนโบราณนี้ ‘เจ้าบ้าน’ หรือ ‘ฮู่จู่’ (户主) เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านและสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้นๆ ซึ่งคนจีนโบราณอาจอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่รวมหลายรุ่น (เช่นมีลูกชายหลายคน ทุกคนแต่งเมียเข้าบ้านมีลูกมีหลานอยู่รวมกัน) หรืออาจมีบางคนแยกบ้านออกไปตามความจำเป็นและค่านิยมของสังคมแต่ละยุคสมัย แต่ตราบใดที่อยู่ในบ้านในฐานะสมาชิกครอบครัวจะเป็นเพียงผู้อยู่อาศัยและอาจมีเบี้ยเลี้ยงรายเดือน ไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เป็นของครัวเรือนนั้น มีสินทรัพย์ส่วนตัวได้เฉพาะที่เก็บหอมรอมริบหรือได้รับกำนัลมาเป็นการส่วนตัว เพื่อนเพจเชื้อสายจีนที่คุ้นเคยกับระบบกงสีจะเข้าใจบริบทนี้ได้ง่าย ดังนั้น การเป็นเจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณผูกรวมกับการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์กองกลางของครัวเรือนนั้น และหมายรวมถึงอำนาจการปกครองและการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ๆ ในบ้าน และหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือการเสียภาษีให้รัฐ ในสมัยจีนโบราณนั้น โดยทั่วไป การเป็นเจ้าบ้านและการมีกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ของครอบครัวนั้นสืบทอดทางสายโลหิตจากรุ่นสู่รุ่นและสืบทอดผ่านบุรุษ และในบริบทนี้สตรีขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ก็ต่อเมื่อครอบครัวนั้นๆ ไร้ซึ่งบุรุษสืบทอดหรือที่เรียกว่าสภาวะ ‘ฮู่เจวี๋ย’ (户绝/สิ้นครัวเรือน) นี่คือเหตุผลที่ Storyฯ บอกว่ามันเป็นศัพท์เฉพาะ ว่ากันว่า หนี่ว์ฮู่มีมาแต่สมัยฮั่นตอนต้นซึ่งเป็นช่วงหลังสงคราม ประชากรเพศชายเสียชีวิตมากมายในสงคราม จึงจำเป็นต้องให้สิทธิ์สตรีดูแลตนเองได้โดยการตั้งครัวเรือนของตนเพื่อจะได้บริหารสินทรัพย์และเสียภาษีได้ในกรณีที่ไม่เหลือทายาทบุรุษในครอบครัวแล้ว และในสมัยอื่นๆ ต่อมาก็มีหลักการเดียวกันที่ว่า สตรีเป็นเจ้าบ้านได้ในกรณีที่ไร้ทายาทบุรุษ แต่ความแตกต่างของแต่ละสมัยขึ้นอยู่กับคำนิยามของ ‘ทายาทบุรุษ’ ผู้สืบทอดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (เช่น นับลูกหลานสายตรง หรือนับรวมพี่ชายน้องชายและลูกหลาน หรือนับรวมญาติสกุลเดียวกันที่ห่างออกไปอีก) ทำให้เกณฑ์ที่สตรีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถจดทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดตามไปด้วย ทั้งนี้ สตรีที่เป็นเจ้าบ้านได้นั้นหมายรวมถึงมารดาม่าย ภรรยาม่าย หรือลูกสาวที่ยังไม่ออกเรือน นับแต่สมัยถังมามีการกำหนดกฎหมายมากมายที่ระบุสิทธิของสตรีให้ชัดเจนขึ้น อย่างเช่นเรื่องสินเดิมเจ้าสาวและการหย่าร้างที่ Storyฯ เคยเขียนถึง และรวมถึงสิทธิในการสืบทอดมรดกอีกด้วย เป็นต้นว่าในสมัยถังและซ่ง หากไร้ทายาทบุรุษ ให้ขายสินทรัพย์ทั้งหมดรวมถึงบ่าวไพร่ในบ้าน นำเงินมาจัดงานศพแล้วหากมีเหลือจึงแบ่งกันระหว่างบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน เมื่อได้ส่วนแบ่งมรดกของตนแล้ว สตรีนั้นๆ สามารถตั้งครัวเรือนใหม่โดยขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าบ้านได้ หรือหากไม่มีบุตรีที่ยังไม่ออกเรือน บุตรีที่ออกเรือนไปแล้วมีสิทธิ์ในส่วนแบ่งมรดกแต่ในกรณีนี้นางอยู่กับครอบครัวสามีก็ไม่ตั้งครัวเรือนใหม่ ส่วนสตรีที่จัดตั้งหนี่ว์ฮู่ขึ้นแล้ว หากต่อมาแต่งงานโดยสามีแต่งเข้า (เรียกว่า จุ้ยซวี่) สตรีนั้นยังคงสิทธิ์เจ้าบ้านตามเดิม แต่หากแต่งออกไปอยู่บ้านสามีก็จะต้องยุบครัวเรือนนั้นทิ้งโดยสามารถนำทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนติดตัวไปด้วยได้ ทั้งนี้สิทธิเหล่านี้มีความแตกต่างในรายละเอียดตามยุคสมัย Storyฯ ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิในการครอบครองและสืบทอดสินทรัพย์ของแต่ละยุคสมัยจีนโบราณเพราะมันซับซ้อนเกินความสามารถ ประเด็นหลักที่จะสื่อในวันนี้ก็คือ ในสมัยโบราณสตรีสามารถจัดตั้งครัวเรือนเป็นเจ้าบ้านได้ และสามารถสืบทอดมรดกได้ แต่... เฉพาะในกรณีที่ครอบครัวไร้ทายาทบุรุษ ซึ่งเกณฑ์นี้ขึ้นอยู่กับนิยามว่า ‘ทายาทบุรุษ’ ครอบคลุมญาติในวงแคบหรือวงกว้างเพียงใด อนึ่ง Storyฯ เคยเขียนถึงเรื่องราวที่มีความเกี่ยวข้อง เพื่อนเพจสามารถอ่านย้อนหลังเพื่อทบทวนความทรงจำ จะได้เข้าใจต่อเนื่องในบทความข้างต้นได้ค่ะ: - เกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02DGMdxYPJTbeiAS9n5zUXqo7Zfsn9WTLGbbHPCXcpBFChCxxHzWafnNr8wuNBJ63Tl - เกี่ยวกับสินเดิมเจ้าสาว https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1127226122739012 - เกี่ยวกับเจ้าบ่าวที่แต่งเข้าเรือนหรือ ‘จุ้ยซวี่’ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02nZxNBtk2h6V7W1wReZ5td8nc2Aaj85o2wkWmPSRtpnGP6dqQSGyCbKaXJPUjHzEal (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.harpersbazaar.com/tw/culture/drama/g61833754/are-you-the-one-8-highlights/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://legalinfo.moj.gov.cn/pub/sfbzhfx/zhfxfzwh/fzwhfsgs/202107/t20210702_429806.html http://e.mzyfz.org.cn/paper/1957/paper_52459_10896.html https://www.chinacourt.org/article/detail/2023/05/id/7273412.shtml https://bjgy.bjcourt.gov.cn/article/detail/2020/11/id/5563896.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml https://baike.baidu.com/item/户绝 #ซ่อนรักชายาลับ #หนี่ว์ฮู่ #ครัวเรือนสตรี #สิทธิการสืบทอดมรดกจีนโบราณ #เจ้าบ้านในสมัยจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1204 มุมมอง 0 รีวิว