• ✨วันนี้ในอดีต ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓✨เสด็จฯ ไปยังบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถุงของขวัญแก่นาวิกโยธินและตำรวจตระเวนชายแดน สิ่งของเครื่องอุปโภคแก่ราษฎร และเครื่องเรียนให้แก่นักเรียน แล้วเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท cr : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #21พฤศจิกายน
    ✨วันนี้ในอดีต ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๓✨เสด็จฯ ไปยังบ้านโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานถุงของขวัญแก่นาวิกโยธินและตำรวจตระเวนชายแดน สิ่งของเครื่องอุปโภคแก่ราษฎร และเครื่องเรียนให้แก่นักเรียน แล้วเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท cr : หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จันทบุรี #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #21พฤศจิกายน
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 250 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการแจ้งเตือน
    สาธารณภัย ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567

    🔵 น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง
    จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
    กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานการแจ้งเตือน สาธารณภัย ประจำวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 🔵 น้ำทะเลหนุนสูง บริเวณปากแม่น้ำ และพื้นที่ราบลุ่มชายฝั่ง จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 367 มุมมอง 0 รีวิว
  • ✨วันนี้ในอดีต ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ตชด.บ้านตาเรือง ตำบลทรายขาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องเขียนและแบบเรียนแก่นักเรียนชายหญิงและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่ประสบอุทกภัย ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค Cr. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #18พฤศจิกายน
    ✨วันนี้ในอดีต ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๔✨ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมโรงเรียน ตชด.บ้านตาเรือง ตำบลทรายขาว อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องเขียนและแบบเรียนแก่นักเรียนชายหญิงและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่ประสบอุทกภัย ซึ่งได้รับพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค Cr. กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน #วันนี้ในอดีต #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระราชกรณียกิจ #ราชวงศ์จักรี #18พฤศจิกายน
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 271 มุมมอง 0 รีวิว
  • ล่าสุดกับทริปจันทบุรี 770 km หยุดชาร์จทั้งหมด 4 ครั้ง กินไฟ 16.8 kWh ต่อ 100 กม ครับ
    ล่าสุดกับทริปจันทบุรี 770 km หยุดชาร์จทั้งหมด 4 ครั้ง กินไฟ 16.8 kWh ต่อ 100 กม ครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 36 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,574
    วันอาทิตย์: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (10 November 2024)

    Photo Album Set 1/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    01. วัดโฆสิตาราม (หลวงพ่อกวย) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    02. วัดถาวรวนาราม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    03. วัดน้อยแสงจันทร์ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    04. วัดบ้านฆ้องน้อย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    05. วัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    06. วัดบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    07. วัดป่าม่วง อ.เมือง จ.ลำพูน
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    08. วัดป่าละมุดจันทร์ศิริ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    09. วัดป่าวดี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    10. วัดป่าหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 94 วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,574 วันอาทิตย์: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (10 November 2024) Photo Album Set 1/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 01. วัดโฆสิตาราม (หลวงพ่อกวย) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 02. วัดถาวรวนาราม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 03. วัดน้อยแสงจันทร์ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 04. วัดบ้านฆ้องน้อย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 05. วัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 06. วัดบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 07. วัดป่าม่วง อ.เมือง จ.ลำพูน (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 08. วัดป่าละมุดจันทร์ศิริ อ.เมือง จ.พิษณุโลก (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 09. วัดป่าวดี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 10. วัดป่าหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 94 วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 235 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,574
    วันอาทิตย์: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (10 November 2024)

    Photo Album Set 1/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    01. วัดโฆสิตาราม (หลวงพ่อกวย) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    02. วัดถาวรวนาราม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    03. วัดน้อยแสงจันทร์ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    04. วัดบ้านฆ้องน้อย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    05. วัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    06. วัดบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    07. วัดป่าม่วง อ.เมือง จ.ลำพูน
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    08. วัดป่าละมุดจันทร์ศิริ อ.เมือง จ.พิษณุโลก
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    09. วัดป่าวดี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    10. วัดป่าหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 94 วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,574 วันอาทิตย์: ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (10 November 2024) Photo Album Set 1/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 01. วัดโฆสิตาราม (หลวงพ่อกวย) อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 02. วัดถาวรวนาราม อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 03. วัดน้อยแสงจันทร์ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 04. วัดบ้านฆ้องน้อย อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 05. วัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 06. วัดบ้านโพธิ์ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 07. วัดป่าม่วง อ.เมือง จ.ลำพูน (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 08. วัดป่าละมุดจันทร์ศิริ อ.เมือง จ.พิษณุโลก (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 09. วัดป่าวดี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) 10. วัดป่าหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 94 วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,573
    วันเสาร์: ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง
    วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (9 November 2024)

    Photo Album Set 1/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    01. วัดกระดังงา อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    02. วัดเขาช่องประดู่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    03. วัดโคนอน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    04 วัดแจ้งสว่าง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    05. วัดนานอก อ.พรานกระต่าย จ.กําเเพงเพชร
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    06. วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    07. วัดศรีมงคลวราราม อ.วังสะพุง จ.เลย
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    08. วัดสามัคคีธรรม อ.คุระบุรี จ.พังงา
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    09. ศูนย์วิปัสสนาวิสุทธิมรรค อ.เมือง จ.พะเยา
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    10. สำนักฝึกกัมมัฏฐานฟื้นฟูจิตเขาแหลม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 95 วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,573 วันเสาร์: ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (9 November 2024) Photo Album Set 1/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 01. วัดกระดังงา อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 02. วัดเขาช่องประดู่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 03. วัดโคนอน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 04 วัดแจ้งสว่าง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 05. วัดนานอก อ.พรานกระต่าย จ.กําเเพงเพชร (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 06. วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 07. วัดศรีมงคลวราราม อ.วังสะพุง จ.เลย (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 08. วัดสามัคคีธรรม อ.คุระบุรี จ.พังงา (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 09. ศูนย์วิปัสสนาวิสุทธิมรรค อ.เมือง จ.พะเยา (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 10. สำนักฝึกกัมมัฏฐานฟื้นฟูจิตเขาแหลม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 95 วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 315 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,573
    วันเสาร์: ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง
    วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (9 November 2024)

    Photo Album Set 1/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    01. วัดกระดังงา อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    02. วัดเขาช่องประดู่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    03. วัดโคนอน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    04 วัดแจ้งสว่าง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    05. วัดนานอก อ.พรานกระต่าย จ.กําเเพงเพชร
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    06. วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    07. วัดศรีมงคลวราราม อ.วังสะพุง จ.เลย
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    08. วัดสามัคคีธรรม อ.คุระบุรี จ.พังงา
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    09. ศูนย์วิปัสสนาวิสุทธิมรรค อ.เมือง จ.พะเยา
    (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67)
    10. สำนักฝึกกัมมัฏฐานฟื้นฟูจิตเขาแหลม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 95 วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,573 วันเสาร์: ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะโรง วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ (9 November 2024) Photo Album Set 1/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 01. วัดกระดังงา อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 02. วัดเขาช่องประดู่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 03. วัดโคนอน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 04 วัดแจ้งสว่าง อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 05. วัดนานอก อ.พรานกระต่าย จ.กําเเพงเพชร (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 06. วัดไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 07. วัดศรีมงคลวราราม อ.วังสะพุง จ.เลย (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 08. วัดสามัคคีธรรม อ.คุระบุรี จ.พังงา (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 09. ศูนย์วิปัสสนาวิสุทธิมรรค อ.เมือง จ.พะเยา (ทอดกฐินสามัคคี 09 พ.ย.67) 10. สำนักฝึกกัมมัฏฐานฟื้นฟูจิตเขาแหลม อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 10 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ คำนวณเวลาที่ยังเหลืออยู่ในชาตินี้ = 26 ปี 95 วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 300 มุมมอง 0 รีวิว
  • โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย
    “กฤษฎีกากัมพูชา 1972”
    รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย !
    ________
    .
    ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด…
    .
    กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ
    .
    และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ !
    .
    “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972”
    .
    วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
    .
    จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี
    .
    สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น
    .
    วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย
    .
    (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958
    .
    (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ…
    .
    (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง…
    .
    (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000
    .
    กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง
    .
    โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P”
    .
    โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้
    .
    จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง
    .
    จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย
    .
    มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง
    .
    เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้
    .
    แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร
    .
    การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต
    .
    ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล
    .
    ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น…
    .
    คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง !
    .
    ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !!
    .
    แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ?
    .
    แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !!
    .
    ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้
    .
    ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี
    .
    ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง
    .
    แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ
    .
    เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ?
    .
    เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก !
    .
    ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!!
    .
    ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส
    .
    แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้
    .
    “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“
    .
    แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย
    .
    โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง
    .
    หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73
    .
    การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง
    .
    ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ
    .
    การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่
    .
    มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย
    .
    พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    .
    คำนูณ สิทธิสมาน
    4 พฤศจิกายน 2567

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย “กฤษฎีกากัมพูชา 1972” รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย ! ________ . ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด… . กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ . และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ ! . “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972” . วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 . จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี . สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น . วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย . (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 . (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ… . (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง… . (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000 . กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง . โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P” . โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้ . จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง . จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย . มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง . เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้ . แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร . การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต . ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล . ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น… . คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ! . ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !! . แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ? . แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !! . ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้ . ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี . ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง . แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ . เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ? . เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก ! . ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!! . ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส . แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้ . “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“ . แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย . โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง . หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73 . การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง . ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ . การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่ . มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย . พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้ . ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้ . . คำนูณ สิทธิสมาน 4 พฤศจิกายน 2567 ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1171 มุมมอง 0 รีวิว
  • 7/11/67

    https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109

    เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน

    1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส

    2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น

    3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย

    4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    7/11/67 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0wtGwGxxx2yADXfGPcg1g2ssRuANArQV8YknfinwEfUuXxb7caxLMttmeKn9Pn3pjl&id=100050478820109 เห็นหน้านายกแถลงจริงจัง เรื่องเกาะกูดเป็นของไทย MOU 44 เลิกไม่ได้ หากเลิกจะถูกฟ้องและ ต้องเดินหน้าเจรจาต่อ แล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเธอจบรัฐศาสตร์จุฬาจริงหรือ ใครสอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเธอไม่ตั้งใจเรียน 1. เกาะกูดน่ะ อย่างไรก็เป็นของไทย ตามสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสเมื่อปี 2450 ที่ไทยยอมแลก พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เพื่อเอาจันทบุรี และตราดคืนมา โดยแบ่งพื้นที่ว่า เกาะกูดนั้นอยู่ในเขตแดนไทย ส่วนเกาะกง หรือเมืองประจันต์คีรีเขต ที่เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลทางตะวันออก คู่กับ ประจวบคีรีขันธ์ทางทิศตะวันตก นั้นเป็นของฝรั่งเศส 2. MOU ก็แค่ Memorandum Of Understanding บันทึกความเข้าใจต่อกัน ไม่ใช่สนธิสัญญา (Treaty) ที่มีผลบังคับที่มีข้อผูกพันตามกฎหมาย สนธิสัญญานั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งละเมิด อีกฝ่ายสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในศาลระหว่างประเทศได้ แต่ MOU นั้นเป็นแค่บันทึกความเข้าใจ นำไปฟ้องร้องใด ๆ ไม่ได้ และหากอยากจะยกเลิก ก็ยกเลิกฝ่ายเดียวได้ คือ ผ่าน ครม. และผ่านสภา จากนั้นก็แจ้งฝ่ายตรงข้ามว่า ฉันขอยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้เท่านั้น 3. รัฐบาลจะเดินหน้าเจรจาต่อตาม MOU อันนี้ไม่ผิดอะไร แต่คุณเธอไม่พูดให้ชัดสักคำว่า การเดินหน้าเจรจาจะต้องเจรจาเรื่องเขตแดนให้ชัดเจนควบคู่ไปกับการเจรจาแบ่งปันประโยชน์ ไม่ใช่แบบอีตาอ้วนที่บอกว่า ขอเจรจาเรื่องผลประโยชน์ก่อน เขตแดนคุยไปก็ไม่จบ เสียเวลาคุย ราวกับหากช้าเดี๋ยวของที่อยู่ใต้ทะเลจะเน่าเสีย 4. วันนึงเพื่อนบ้านคุณ ขีดเส้นมาผ่ากลางบ้านคุณ แล้วบอกว่า เป็นแค่เส้นสมมติ อย่าไปใส่ใจ เรามาขุดหาสมบัติใต้พื้นดินตรงนั้นกันดีกว่า ขุดได้แล้วหารสองแบ่งกันคนละครึ่ง หากคุณยอม ไม่โง่ ก็บ้า ครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 510 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย
    .
    เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544)
    .
    ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ
    .
    ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน
    .
    “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ”
    .
    สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ
    ..............
    Sondhi X
    ผบ.ทร. ลงพื้นที่เกาะกูด ย้ำปกป้องอธิปไตยชาติ มั่นใจปัญหาไม่บายปลาย . เรื่องข้อพิพาทเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา กลายเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงอย่างมากในสังคมเวลานี้ โดยเฉพาะท่าทีขององค์กรภาคประชาชนและพรรคการเมืองฝ่ายค้านอย่างพรรคพลังประชารัฐที่ออกมาแสดงความคิดเห็นว่าประเทศไทยมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ซึ่งเป็นเหตุผลที่สืบเนื่องมาจากการที่ไทยยังไม่ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทยทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) . ในเรื่องนี้มีท่าทีจากฝ่ายกองทัพออกมาแสดงความคิดเห็น โดยพล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) ตรวจเยี่ยมหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด พร้อมรับฟังบรรยายสรุปถึงการปฏิบัติงานของหน่วย และการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตกำลังพล และประสิทธิภาพของหน่วย เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่กำลังพลที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ห่างไกลต่อไป โดยมี พล.ร.ต.ชรัมม์ภากร พรหมภากร รองผู้บัญชาการกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด คณะผู้บังคับบัญชาและกำลังพลของหน่วย ให้การต้อนรับ . ทั้งนี้ พล.ร.อ. จิรพล ระบุว่า หน้าที่ของกองทัพเรือ คือการดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติ รัฐบาลไทยได้ประกาศเขต เอาไว้แล้วเมื่อปี พุทธศักราช 2516 เราจะดูแลพื้นที่ตามเขตแดนที่รัฐบาลประกาศไว้ ส่วนความคืบหน้าหรือข้อตกลงอะไรนั้น เป็นเรื่องของรัฐบาล เราทำหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ที่จะดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลให้กับประชาชน . “ขอให้มั่นใจกองทัพเรือดูแลเขตแดนอธิปไตยของชาติ และรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลอย่างเต็มที่ ยืนยันความสัมพันธ์ ทั้งสองประเทศ พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ไม่มีความขัดแย้งใดๆ” . สำหรับกรณีที่ประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนั้น ผบ.ทร. กล่าวว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจ ว่ากองทัพเรือจะดูแลพื้นที่ตรงนี้ได้ ไม่ต้องเดินทางไกลมาถึงที่นี่ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนฝั่ง และบนเกาะมีความมั่นใจกับกองทัพเรืออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามพื้นที่ของเรามีความสงบ ปลอดภัย ชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ปกติ ขณะที่ฝั่งประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจ และก็หากินในพื้นที่ของตนเอง ส่วนเราก็ทำมาหากินในพื้นที่ของเราไม่มีความขัดแย้งใดๆ .............. Sondhi X
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 693 มุมมอง 0 รีวิว
  • อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 585 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลวงปู่สมบัติ ปริสุทโธ #พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตากราบได้ด้วยความสนิทใจ ท่านเมตตาจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกพระครูวิกรมสังฆกิจ(หลวงปู่สมบัติปริสุทโธ) รุ่นคลังสมบัติ ด้านหลังเป็นพระพรหม ประจำวัดปากน้ำแขมหนู อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี หรือที่เรียกกันว่า วัดโบสถ์สีน้ำเงิน สถานที่ท่องเที่ยวทำบุญ 1 ในอันซีนของจ. จันทบุรี #สนธิทอร์ค #sondhitalk #ข่าวสารวันนี้ #ไทยไทม์ #Thaitimes #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    หลวงปู่สมบัติ ปริสุทโธ #พระผู้เปี่ยมด้วยเมตตากราบได้ด้วยความสนิทใจ ท่านเมตตาจัดสร้างเหรียญรุ่นแรกพระครูวิกรมสังฆกิจ(หลวงปู่สมบัติปริสุทโธ) รุ่นคลังสมบัติ ด้านหลังเป็นพระพรหม ประจำวัดปากน้ำแขมหนู อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี หรือที่เรียกกันว่า วัดโบสถ์สีน้ำเงิน สถานที่ท่องเที่ยวทำบุญ 1 ในอันซีนของจ. จันทบุรี #สนธิทอร์ค #sondhitalk #ข่าวสารวันนี้ #ไทยไทม์ #Thaitimes #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1621 มุมมอง 404 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558
    วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024)

    Photo Album Set 3/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67)
    22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67)
    27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67)
    28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67)
    29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67)
    30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558 วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024) Photo Album Set 3/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67) 22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67) 27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67) 28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67) 29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67) 30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558
    วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024)

    Photo Album Set 3/3
    ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท
    21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67)
    22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ
    (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67)
    24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67)
    26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67)
    27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
    (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67)
    28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67)
    29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67)
    30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
    (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,558 วันพระ: แรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๗ (25 October 2024) Photo Album Set 3/3 ทอดกฐินสามัคคี 30 วัด เป็นเงิน 600 บาท 21. วัดศรีสระแก้ววนาราม อ.กุดจับ จ.อุดรธานี (ทอดกฐินสามัคคี 28 ต.ค.67) 22. วัดคลองใหญ่ อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 23. วัดมงคลศรี อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ (ทอดกฐินสามัคคี 29 ต.ค.67) 24. วัดธาตุกู่ทอง อ.เปือยน้อย จ.ขอนแก่น (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 25. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพฯ (ทอดกฐินสามัคคี 30 ต.ค.67) 26. วัดป่าหนองบัวใหญ่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 31 ต.ค.67) 27. วัดท่านางหอม อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (ทอดกฐินพระราชทาน 27 ต.ค.67) 28. วัดยานาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ (ทอดกฐินพระราชทาน 01 พ.ย.67) 29. วัดไผ่ล้อม อ.เมือง จ.จันทบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 2 พ.ย.67) 30. วัดแก้วพิจิตร อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี (ทอดกฐินพระราชทาน 3 พ.ย.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๐ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 102 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชายหาดที่สวยที่สุดในจันทบุรี หาดสวยน้ำใส หาดเจ้าหลาว #จันทบุรี #ท่องเที่ยว #ครอบครัว #ทะเล #พักผ่อน #travel #sea #beach #kaiaminute
    ชายหาดที่สวยที่สุดในจันทบุรี หาดสวยน้ำใส หาดเจ้าหลาว #จันทบุรี #ท่องเที่ยว #ครอบครัว #ทะเล #พักผ่อน #travel #sea #beach #kaiaminute
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 94 มุมมอง 31 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,554
    วันจันทร์: แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ (21 October 2024)

    Photo Album Set 2/2
    ทอดกฐินสามัคคี 20 วัด เป็นเงิน 400 บาท
    11. วัดกระเบา อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    12. วัดกำแมด อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    13. วัดกุดขมิ้น อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    14. วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    15. วัดเขาสอยดาวเหนือ อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    16. วัดเขาสามชั้น อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    17. วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    18. วัดเขียน อ.เมือง จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    19. วัดฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    20. วัดจันทร์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๔ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,554 วันจันทร์: แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ (21 October 2024) Photo Album Set 2/2 ทอดกฐินสามัคคี 20 วัด เป็นเงิน 400 บาท 11. วัดกระเบา อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 12. วัดกำแมด อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 13. วัดกุดขมิ้น อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 14. วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 15. วัดเขาสอยดาวเหนือ อ.สอยดาว จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 16. วัดเขาสามชั้น อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 17. วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 18. วัดเขียน อ.เมือง จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 19. วัดฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 20. วัดจันทร์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๔ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 95 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,554
    วันจันทร์: แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ (21 October 2024)

    Photo Album Set 2/2
    ทอดกฐินสามัคคี 20 วัด เป็นเงิน 400 บาท
    11. วัดกระเบา อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    12. วัดกำแมด อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    13. วัดกุดขมิ้น อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    14. วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    15. วัดเขาสอยดาวเหนือ อ.สอยดาว จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    16. วัดเขาสามชั้น อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    17. วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    18. วัดเขียน อ.เมือง จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    19. วัดฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    20. วัดจันทร์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๔ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,554 วันจันทร์: แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๖๗ (21 October 2024) Photo Album Set 2/2 ทอดกฐินสามัคคี 20 วัด เป็นเงิน 400 บาท 11. วัดกระเบา อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 12. วัดกำแมด อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 13. วัดกุดขมิ้น อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 14. วัดเขาเจริญธรรม อ.บึงสามพัน จ.เพชรบูรณ์ (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 15. วัดเขาสอยดาวเหนือ อ.สอยดาว จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 16. วัดเขาสามชั้น อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 17. วัดเขาอ้อ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 18. วัดเขียน อ.เมือง จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 19. วัดฆะมัง อ.เมือง จ.พิจิตร (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) 20. วัดจันทร์ อ.บางกรวย จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 27 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๔ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 99 มุมมอง 0 รีวิว
  • อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว (ฝนตกห้ามลงน้ำ😂) #จันทบุรี #ท่องเที่ยว #ครอบครัว #สนุกสนาน #travel #thaitimes #kaiaminute
    อุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ว (ฝนตกห้ามลงน้ำ😂) #จันทบุรี #ท่องเที่ยว #ครอบครัว #สนุกสนาน #travel #thaitimes #kaiaminute
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 103 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553
    วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024)

    Photo Album 3/5
    ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท
    21. วัดหัวคู้ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    22. วัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    23. วัดใหญ่เทพนิมิตร์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    24. วัดอ่วมอ่องประชานฤมิต อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    25. สำนักสงฆ์ดอยบ้านแม่มอญ อ.เมือง จ.เชียงราย
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    26. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    27. วัดขามป้อม อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    28. วัดป่าโพนงาม อ.วังสะพุง จ.เลย
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    29. วัดม่อนป่าสัก อ.ภูกามยาว จ.พะเยา
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    30. วัดศรีเขาแก้ว ต.เขาแก้ว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553 วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024) Photo Album 3/5 ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท 21. วัดหัวคู้ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 22. วัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 23. วัดใหญ่เทพนิมิตร์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 24. วัดอ่วมอ่องประชานฤมิต อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 25. สำนักสงฆ์ดอยบ้านแม่มอญ อ.เมือง จ.เชียงราย (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 26. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 27. วัดขามป้อม อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) 28. วัดป่าโพนงาม อ.วังสะพุง จ.เลย (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) 29. วัดม่อนป่าสัก อ.ภูกามยาว จ.พะเยา (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) 30. วัดศรีเขาแก้ว ต.เขาแก้ว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 75 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553
    วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024)

    Photo Album 3/5
    ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท
    21. วัดหัวคู้ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    22. วัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    23. วัดใหญ่เทพนิมิตร์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    24. วัดอ่วมอ่องประชานฤมิต อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    25. สำนักสงฆ์ดอยบ้านแม่มอญ อ.เมือง จ.เชียงราย
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    26. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    27. วัดขามป้อม อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    28. วัดป่าโพนงาม อ.วังสะพุง จ.เลย
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    29. วัดม่อนป่าสัก อ.ภูกามยาว จ.พะเยา
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    30. วัดศรีเขาแก้ว ต.เขาแก้ว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553 วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024) Photo Album 3/5 ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท 21. วัดหัวคู้ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 22. วัดแหลมใต้ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 23. วัดใหญ่เทพนิมิตร์ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 24. วัดอ่วมอ่องประชานฤมิต อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 25. สำนักสงฆ์ดอยบ้านแม่มอญ อ.เมือง จ.เชียงราย (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 26. สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 27. วัดขามป้อม อ.ปทุมรัตน์ จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) 28. วัดป่าโพนงาม อ.วังสะพุง จ.เลย (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) 29. วัดม่อนป่าสัก อ.ภูกามยาว จ.พะเยา (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) 30. วัดศรีเขาแก้ว ต.เขาแก้ว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 21 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 69 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553
    วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024)

    Photo Album 5/5
    ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท
    41. วัดเขาตองเมืองลับแล อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    42 วัดเขาน้ำซับ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    43.. วัดโขดหิน อ.เมือง จ.ระยอง
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    44. วัดเจริญสมณกิจ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    45. วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    46. วัดทุ่งบวกข้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    47. วัดบ้านใหม่ทองประเสริฐ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    48. วัดประสานศรัทธา อ.นากลาง จ.หนองบัวลําภู
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    49. วัดป่าดงเจริญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    50. วัดพัฒนาราม อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553 วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024) Photo Album 5/5 ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท 41. วัดเขาตองเมืองลับแล อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 42 วัดเขาน้ำซับ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 43.. วัดโขดหิน อ.เมือง จ.ระยอง (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 44. วัดเจริญสมณกิจ อ.เมือง จ.ภูเก็ต (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 45. วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 46. วัดทุ่งบวกข้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 47. วัดบ้านใหม่ทองประเสริฐ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 48. วัดประสานศรัทธา อ.นากลาง จ.หนองบัวลําภู (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 49. วัดป่าดงเจริญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 50. วัดพัฒนาราม อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 155 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553
    วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024)

    Photo Album 5/5
    ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท
    41. วัดเขาตองเมืองลับแล อ.เมือง จ.กาญจนบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    42 วัดเขาน้ำซับ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    43.. วัดโขดหิน อ.เมือง จ.ระยอง
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    44. วัดเจริญสมณกิจ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    45. วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    46. วัดทุ่งบวกข้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    47. วัดบ้านใหม่ทองประเสริฐ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    48. วัดประสานศรัทธา อ.นากลาง จ.หนองบัวลําภู
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    49. วัดป่าดงเจริญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    50. วัดพัฒนาราม อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์
    (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,553 วันอาทิตย์: แรม ๓ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๗ (20 October 2024) Photo Album 5/5 ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท 41. วัดเขาตองเมืองลับแล อ.เมือง จ.กาญจนบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 42 วัดเขาน้ำซับ อ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 43.. วัดโขดหิน อ.เมือง จ.ระยอง (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 44. วัดเจริญสมณกิจ อ.เมือง จ.ภูเก็ต (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 45. วัดชัยมงคล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 46. วัดทุ่งบวกข้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 47. วัดบ้านใหม่ทองประเสริฐ อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 48. วัดประสานศรัทธา อ.นากลาง จ.หนองบัวลําภู (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 49. วัดป่าดงเจริญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) 50. วัดพัฒนาราม อ.ศรีณรงค์ จ.สุรินทร์ (ทอดกฐินสามัคคี 26 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๕ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 150 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,552
    วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024)

    รายชื่อทำบุญ Photo Album ชุดที่ 4/5
    ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท
    31. วัดประจันตคาม อ.ปานะเระ จ.ปัตตานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    32. วัดปัจจันตาราม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    33. วัดปากบึง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    34. วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    35. วัดป่าโคกใหญ่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    36. วัดป่าภูริทัตตาจารย์ อ.เมือง จ.แพร่
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    37. วัดป่ามัชฌิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    38. วัดป่าศรีถาวรคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    39. วัดป่าศีลาราม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    40. วัดป่าหนองตอ อ.เมือง อุดรธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,552 วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024) รายชื่อทำบุญ Photo Album ชุดที่ 4/5 ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท 31. วัดประจันตคาม อ.ปานะเระ จ.ปัตตานี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 32. วัดปัจจันตาราม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 33. วัดปากบึง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 34. วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 35. วัดป่าโคกใหญ่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 36. วัดป่าภูริทัตตาจารย์ อ.เมือง จ.แพร่ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 37. วัดป่ามัชฌิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 38. วัดป่าศรีถาวรคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 39. วัดป่าศีลาราม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 40. วัดป่าหนองตอ อ.เมือง อุดรธานี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 71 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,552
    วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
    วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024)

    รายชื่อทำบุญ Photo Album ชุดที่ 4/5
    ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท
    31. วัดประจันตคาม อ.ปานะเระ จ.ปัตตานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    32. วัดปัจจันตาราม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    33. วัดปากบึง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    34. วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    35. วัดป่าโคกใหญ่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    36. วัดป่าภูริทัตตาจารย์ อ.เมือง จ.แพร่
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    37. วัดป่ามัชฌิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    38. วัดป่าศรีถาวรคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    39. วัดป่าศีลาราม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    40. วัดป่าหนองตอ อ.เมือง อุดรธานี
    (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67)
    #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์
    * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน
    I am willing to depart this life at the age of 75.
    ทำบุญออนไลน์ >>> วันที่ 1,552 วันเสาร์: แรม ๒ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๗ (19 October 2024) รายชื่อทำบุญ Photo Album ชุดที่ 4/5 ทอดกฐินสามัคคี 50 วัด เป็นเงิน 1,000 บาท 31. วัดประจันตคาม อ.ปานะเระ จ.ปัตตานี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 32. วัดปัจจันตาราม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 33. วัดปากบึง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 34. วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 35. วัดป่าโคกใหญ่ อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 36. วัดป่าภูริทัตตาจารย์ อ.เมือง จ.แพร่ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 37. วัดป่ามัชฌิมวาส อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 38. วัดป่าศรีถาวรคลองโยง อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 39. วัดป่าศีลาราม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) 40. วัดป่าหนองตอ อ.เมือง อุดรธานี (ทอดกฐินสามัคคี 20 ต.ค.67) #โอนเงินทำบุญโดยคุณณรงค์ * เวลาที่เหลืออยู่ในชาตินี้ เท่ากับ ๒๖ ปี ๑๑๖ วัน I am willing to depart this life at the age of 75.
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 67 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts