อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าการทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
สัทธรรมลำดับที่ : 1054
ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
เนื้อความทั้งหมด :-
--การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
--เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ
อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ
(๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ
: ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว,
ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง,
ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ,
ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน,
ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์.
ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ.
และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.
--เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว
เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก.
กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่
ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
--เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
: ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ , พระองค์ !”
--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล
จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ
*--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ.
(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต
ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า
ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้.
. . . . ฯลฯ . . . .
กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่
ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
--เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
: ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ , พระองค์ !”
--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล
จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ
(๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า
“ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ,
จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ,
จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่”
ดังนี้.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ
--เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต
: คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า
“ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;
การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.
โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,
ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ.
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว
มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ
--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย
จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร –
สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ –
การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้
ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน –
ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต –
เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ
และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง
#อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น
ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์,
นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”;
และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า
“เหล่านี้อาสวะ,
นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”.
เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
ดังนี้.
--เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว,
คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น,
เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น,
เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า
“ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้
หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”
ดังนี้;
ฉันใดก็ฉันนั้น.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
--เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.-
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242.
http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
สัทธรรมลำดับที่ : 1054
ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
เนื้อความทั้งหมด :-
--การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
--เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ
อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ
(๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ
: ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว,
ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง,
ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ,
ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน,
ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์.
ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ.
และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.
--เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว
เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก.
กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่
ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
--เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
: ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ , พระองค์ !”
--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล
จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ
*--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ.
(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต
ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า
ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้.
. . . . ฯลฯ . . . .
กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่
ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
--เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
: ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ , พระองค์ !”
--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล
จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ
(๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า
“ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ,
จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ,
จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่”
ดังนี้.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ
--เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต
: คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า
“ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;
การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.
โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,
ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ.
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว
มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ
--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย
จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร –
สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ –
การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้
ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน –
ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต –
เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ
และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง
#อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น
ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์,
นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”;
และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า
“เหล่านี้อาสวะ,
นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”.
เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
ดังนี้.
--เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว,
คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น,
เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น,
เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า
“ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้
หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”
ดังนี้;
ฉันใดก็ฉันนั้น.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
--เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.-
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242.
http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าการทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
สัทธรรมลำดับที่ : 1054
ชื่อบทธรรม :- การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
เนื้อความทั้งหมด :-
--การทำบุคคลให้รู้อริยสัจ จัดเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์
--เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
สามอย่างอะไรเล่า ? สามอย่างคือ
อิทธปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริ
(๑) เกวัฎฎะ ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีอย่างต่างๆ
: ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน หลายคนเป็นคนเดียว,
ทำที่กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง,
ไปได้ไม่ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปในอากาศว่างๆ,
ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน,
ไปได้ในอากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์.
ลูบคลำดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วยฝ่ามือ.
และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหมโลกได้.
--เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการแสดงนั้นแล้ว
เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก.
กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี*--๑ มีอยู่
ภิกษุนั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
--เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
: ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ , พระองค์ !”
--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ดังนี้แล
จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออิทธิปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=อิทฺธิปาฏิหาริ
*--๑. คันธารี ชื่อมนต์ แต่งโดยฤษีมีนามคันธาระ, อีกอย่างหนึ่งว่าในแคว้นคันธาระ.
(๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึกของจิต
ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า
ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่านมีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้.
. . . . ฯลฯ . . . .
กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่
ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้นๆ ก็ด้วยวิชานั้น (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),
--เกวัฏฏะ ! ท่านจะเข้าใจว่าอย่างไร
: ก็คนไม่เชื่อไม่ เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้ อย่างนั้น มิใช่หรือ ?
“พึงตอบได้ , พระองค์ !”
--เกวัฏฏะ ! เราเห็นโทษในการแสดงอาเทสนาปาฏิหาริย์ดังนี้แล
จึง อึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่ออาเทสนาปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/275/?keywords=อาเทสนาปาฏิหาริ
(๓) เกวัฏฏะ ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า
“ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ,
จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ,
จงละสิ่งนี้ๆ เสีย. จงเข้าถึง สิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่”
ดังนี้.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า #อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ
--เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก
เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งไปกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์
เป็นผู้เบิกบานแล้ว จำแนกธรรมออกสอนสัตว์.
ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
สอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตาม.
ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น – ท่ามกลาง – ที่สุด,
ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=ตถาคโต
: คหบดีหรือบุตรคหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต.
เขาผู้ประกอบด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า
“ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง;
การที่คนอยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย.
ถ้ากระไร เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือนบวช
เป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.
โดยสมัยอื่นต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่ และวงศ์ญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด ออกจากเรือนบวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว.
ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร,
มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษเล็กน้อย
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย,
ประกอบแล้วด้วยกายกรรมวจีกรรมอันเป็นกุศล,
มีอาชีวะบริสุทธิ์, ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
ประกอบด้วยสติสัมปปัญญะ, มีความสันโดษ.
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า?
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป
เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางท่อนไม้และศาสตราเสียแล้ว
มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
http://etipitaka.com/read/pali/9/276/?keywords=อนุศาสนีปาฏิหาริ
--(ต่อไปนี้ ทรงแสดงด้วย
จุลศีล – มัชฌิมศีล – มหาศีล – อินทรียสังวร –
สติสัมปชัญญะ - การสันโดษด้วยปัจจัยสี่ –
การชำระจิตจากนิวรณ์ในที่สงัดแล้วได้
ปฐมฌาน – ทุติยฌาน – ตติยฌาน -- จตุตถฌาน –
ญาณทัสสนะ – มโนมยิทธิ – อิทธิวิธี – ทิพพโสต –
เจโตปริยญาณ – ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ – จุตูปปาตญาณ
และตรัสเรียกความสำเร็จในการสอนแต่ละขั้นว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์
อย่างหนึ่งๆ จนกระทั่งถึง
#อาสวักขยญาณ ซึ่งมีข้อความว่า :- )
--เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น
ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
เป็นธรรมชาติอ่อนโยนควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า
“นี้ทุกข์,
นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
นี้ความดับไม่เหลือ แห่งทุกข์,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์”;
และรู้ชัดตามที่ เป็นจริงว่า
“เหล่านี้อาสวะ,
นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ,
นี้ความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ,
นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
ครั้นจิต หลุดพ้นแล้วก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่า “จิตพ้นแล้ว”.
เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว
กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก”
ดังนี้.
--เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสที่ไหล่เขา ไม่ขุ่นมัว,
คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งในที่นั้น,
เขาเห็นหอยต่างๆ บ้าง กรวด และหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น,
เขาจะสำเหนียก ใจอย่างนี้ว่า
“ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลาทั้งหลายเหล่านี้
หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น”
ดังนี้;
ฉันใดก็ฉันนั้น.
--เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
--เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เราได้ทำให้แจ้งด้วย ปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย.-
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=ปาฏิหาริยา
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สี. ที. 9/306 - 309/339 - 242.
http://etipitaka.com/read/thai/9/306/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สี. ที. ๙/๒๗๓ - ๒๗๖/๓๓๙ - ๒๔๒.
http://etipitaka.com/read/pali/9/273/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%93%E0%B9%99
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1054
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92&id=1054
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=92
ลำดับสาธยายธรรม : 92 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_92.mp3
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
19 มุมมอง
0 รีวิว