• รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป

    ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้

    นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน

    ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต

    “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ

    มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564

    ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น

    นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567

    ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา

    โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี

    ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย

    อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

    ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก

    ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์
    ภาพประกอบข่าว
    นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    รายงานข่าวจากMGR Chinaระบุว่าหลายคนงง! ทำไมจีนส่ง “นักรบหมาป่า” ประจำด่านยุโรป ข่าวจีนแต่งตั้งนายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศส วัย 60 ปี เป็น #ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรป ทำเอานักการทูตรู้สึกประหลาดใจไปตามๆ กัน เนื่องจากเป็นการแต่งตั้งในช่วงที่ #ความสัมพันธ์จีน-ยุโรปมาถึงจุดเปลี่ยน แต่ด้วยสไตล์บู๊มากกว่าบุ๋นของนายหลู เขาจึงไม่น่าจะใช่กับช่วงเวลาที่มีความละเอียดอ่อนเช่นนี้ นายหลูขึ้นชื่อในเรื่องการออกมาปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างดุดัน จนได้รับฉายานักการทูต “นักรบหมาป่า” ( #Wolf Warrior) ตัวฉกาจ ฉายานี้ใช้เรียกบุคคลที่ออกมาตอบโต้นักวิจารณ์ซึ่งถูกมองว่าเป็นศัตรูกับจีนได้อย่างดุเด็ดเผ็ดมัน ท่านทูตผู้นี้เอ่ยวาทะเด็ด แต่ไม่เข้าหูชาติในสหภาพยุโรป (อียู) บ่อยครั้ง เช่น เมื่อปี 2566 ขณะประจำอยู่ที่ฝรั่งเศส นายหลูตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของรัฐอดีตสหภาพโซเวียต เขากล่าวกับสถานีโทรทัศน์ว่า รัฐเหล่านี้ไม่มีสถานะที่มีผลบังคับใช้ในกฎหมายระหว่างประเทศ นายหลูมีนัยถึง #กลุ่มรัฐบอลติกคือ เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนียซึ่งเคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต แต่ปัจจุบันเป็นสมาชิกอียูและองค์การนาโต “เรายังจำคำพูดเกี่ยวกับรัฐบอลติกนี้ได้ดี” นักการทูตยุโรปในกรุงปักกิ่งคนหนึ่งระบุ มีอยู่คราวหนึ่งนาย อังตวน บงดาซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนของมูลนิธิเพื่อการวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ (FRS) ซึ่งเป็นสถาบันนักคิด บ่นจีนว่ากดดันไม่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติฝรั่งเศสไปเยือนไต้หวัน ท่านทูตหลูก็เลยจัดให้ชุดใหญ่ไฟกะพริบ ประณามนายบงดาซ์ว่า เป็น “อันธพาลตัวกะเปี๊ยก” “หมาไนบ้า” และ “ตัวป่วนอุดมการณ์” ซึ่งมีจุดยืนต่อต้านจีน กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสออถแถลงการณ์ประณาม รับไม่ได้กับความคิดเห็นของนายหลู รวมถึง "การดูถูกและข่มขู่ต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติและนักวิจัยชาวฝรั่งเศส" เป็นเรื่องเกิดขึ้นเมื่อปี 2564 ต่อมาในปี 2565 นายหลูให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ แนะให้ชาวไต้หวันเข้ารับการปรับทัศนติเมื่อจีนผนวกไต้หวัน ฝ่ายสนับสนุนเอกราชไต้หวันถึงกับเต้น นายหลูดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำฝรั่งเศสจนครบวาระ 5 ปีในเดือนธันวาคมปี 2567 ก่อนหน้านั้น สมัยเป็นเอกอัครราชทูตประจำแคนาดา เขาเคยกล่าวหารัฐบาลแคนาดาเมื่อเดือนมกราคมปี 2562 ว่าเป็นคนผิวขาวที่วางอำนาจยิ่งใหญ่เหนือผู้อื่น จากกรณีที่เรียกร้องให้ปล่อยตัวชาวแคนาดา 2 คนซึ่งถูกจีนควบคุมตัว การจับกุมชาวแคนาดาเกิดขึ้น หลังจาก “เมิ่ง หวั่นโจว” ซีอีโอบริษัทหัวเว่ยถูกแคนาดาจับกุมตัวตามคำร้องขอของสหรัฐอเมริกา โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนแถลงข่าวการแต่งตั้งเมื่อวันพฤหัสฯ (6 ก.พ.) ว่า นายหลูจะช่วยเหลือและประสานงานการจัดการในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอียู โดยเขาเป็นนักการทูตระดับสูงผู้รอบรู้สถานการณ์ในยุโรปเป็นอย่างดี ที่ว่าความสัมพันธ์จีน-ยุโรปเดินมาถึงจุดเปลี่ยนนั่นก็คือ พวกสายเหยี่ยวต้านจีนในอียู เช่น นางเออร์ซูลา ฟอน เดอร์ เลเยนประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ส่งสัญญาณว่ายินดีที่จะทบทวนความสัมพันธ์จีน-อียู ที่กำลังย่ำแย่ อันเนื่องมาจากปัญหาขัดแย้งทางการค้าและความไม่พอใจที่จีนมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับรัสเซีย อียูเริ่มเปลี่ยนท่าทีท่ามกลางความตึงเครียดที่ส่อเค้าระหว่างอียู-สหรัฐฯ หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนใหม่ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน 10% และขู่ขึ้นภาษีกับยุโรปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปเป็นตำแหน่งที่จีนตั้งขึ้นเมื่อปี 2562 โดยนายหลูรับตำแหน่งสืบต่อจากนายอู๋ หงปั๋ว วัย 72 ปี ซึ่งดำรงตำแหน่งคนแรก ที่มา : เอเอฟพี/รอยเตอร์ ภาพประกอบข่าว นายหลู ซาแหย่ อดีตเอกอัครราชทูตจีนประจำฝรั่งเศสและผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยุโรปคนใหม่ - ภาพ : ซินหัว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • ‘ปูติน-สี’ วิดีโอคอลชื่นมื่นนานกว่าชั่วโมงครึ่ง ย้ำความสัมพันธ์แนบแน่น เผยพร้อมติดต่อกับคณะบริหารทรัมป์ภายใต้หลักการเอื้อผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน นอกจากนั้น ประมุขวังเครมลินยังเผยว่า พร้อมเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่า อเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย รวมทั้งจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาว ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ
    .
    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย พัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวแน่นแฟ้นและยิ่งแนบแน่นมากขึ้นหลังจากปูตินส่งทหารบุกยูเครนในปี 2022 นอกจากนี้ จีนยังกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สั่งซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย เวลาเดียวกันก็เป็นแหล่งเทคโนโลยีสำคัญของแดนหมีขาว ขณะที่มอสโกถูกตะวันตกรุมแซงก์ชัน
    .
    ระหว่างการวิดีโอคอลกับสีคราวนี้ ที่กินเวลานานกว่าชั่วโมงครึ่งเมื่อวันอังคาร (21 ม.ค.) หรือหนึ่งวันหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ปูตินย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนอยู่บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ความเท่าเทียม และการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองภายในหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ
    .
    ประมุขวังเครมลินเสริมว่า รัสเซียและจีนสนับสนุนการพัฒนาระเบียบโลกแบบมีหลายขั้วที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น และดำเนินการเพื่อรับประกันความมั่นคงที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในอาณาบริเวณยูเรเซียและทั่วโลก ก่อนสำทับว่า ความพยายามร่วมกันระหว่างสองประเทศมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพกิจการโลก
    .
    ทางด้าน สี ยกย่องความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างกันเช่นเดียวกัน และแสดงความพร้อมในการร่วมกับปูตินยกระดับความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย รวมทั้งรับมือความไม่แน่นอนของสถานการณ์ภายนอก ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีเสถียรภาพและยืดหยุ่น และปกป้องความเป็นกลางและความยุติธรรมระหว่างประเทศ
    .
    ผู้นำแดนมังกรย้ำว่า รัสเซียและจีนควรกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนกันและกันอย่างมั่นคง และปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของสองประเทศต่อไป
    .
    แม้ไม่ได้เอ่ยถึงทรัมป์โดยตรง แต่เครมลินระบุว่า สีและปูตินพูดคุยกันเรื่องการติดต่อกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
    .
    ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ (17 ม.ค.) สี ได้คุยกับ ทรัมป์ ทางโทรศัพท์และแสดงความหวังว่า ความสัมพันธ์สองประเทศจะเป็นไปในแง่ดี
    .
    อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทรัมป์ขู่เก็บภาษีศุลกากรและใช้มาตรการอื่นๆ กับจีนหากได้กลับสู่ทำเนียบขาว แต่ขณะเดียวกันก็แย้มว่า สองชาติมหาอำนาจที่เป็นคู่แข่งกันอาจร่วมมือกันได้ในบางประเด็น เช่น ความขัดแย้งระดับภูมิภาค และการจำกัดการส่งออกสารที่ใช้ในการผลิตเฟนทานิล
    .
    ทางด้าน ยูริ ยูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศของปูติน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การหารือระหว่าง ปูติน กับ สี ครั้งนี้ มีการเตรียมการล่วงหน้าเอาไว้ก่อนแล้ว โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า สีได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวสั้นๆ กับปูติน และผู้นำทั้งสองยังหารือกันในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการติดต่อกับคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา โดยทั้ง ปูติน และ สีต่างแสดงความพร้อมในการพัฒนาความสัมพันธ์กับวอชิงตัน บนหลักการของผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน
    .
    อนึ่ง ระหว่างการประชุมสภาความมั่นคงของรัสเซียที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ในวันจันทร์ ไม่นานก่อนที่ทรัมป์จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ปูตินได้กล่าวแสดงความยินดีและตอบรับความตั้งใจของผู้นำสหรัฐฯ ในการหารือกับมอสโก รวมทั้งบอกว่า รัสเซียเปิดกว้างในการเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่าอเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย และต้องจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาวที่อิงกับผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชนและทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ
    .
    ขณะที่ทางด้านทรัมป์ ระหว่างการแถลงข่าวที่ห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันจันทร์ (20) ภายหลังสาบานตัวรับตำแหน่งแล้ว ได้พูดถึงเรื่องสงครามยูเครนว่า ได้รับแจ้งจากประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนว่า ต้องการทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย
    .
    ทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า ปูตินจะเห็นพ้อง ก่อนสำทับว่า ประมุขวังเครมลินกำลังทำลายรัสเซียด้วยการปฏิเสธการทำข้อตกลง โดยเขาอ้างอิงถึงปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียที่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ
    .
    จากนั้นในวันอังคาร (21) ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจเพิ่มมาตรการแซงก์ชันรัสเซีย หากปูตินยังไม่ยอมเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006995
    ..............
    Sondhi X
    ‘ปูติน-สี’ วิดีโอคอลชื่นมื่นนานกว่าชั่วโมงครึ่ง ย้ำความสัมพันธ์แนบแน่น เผยพร้อมติดต่อกับคณะบริหารทรัมป์ภายใต้หลักการเอื้อผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน นอกจากนั้น ประมุขวังเครมลินยังเผยว่า พร้อมเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่า อเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย รวมทั้งจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาว ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ . ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซีย พัฒนาความสัมพันธ์ส่วนตัวแน่นแฟ้นและยิ่งแนบแน่นมากขึ้นหลังจากปูตินส่งทหารบุกยูเครนในปี 2022 นอกจากนี้ จีนยังกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สั่งซื้อน้ำมันและก๊าซจากรัสเซีย เวลาเดียวกันก็เป็นแหล่งเทคโนโลยีสำคัญของแดนหมีขาว ขณะที่มอสโกถูกตะวันตกรุมแซงก์ชัน . ระหว่างการวิดีโอคอลกับสีคราวนี้ ที่กินเวลานานกว่าชั่วโมงครึ่งเมื่อวันอังคาร (21 ม.ค.) หรือหนึ่งวันหลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นั้น ปูตินย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียกับจีนอยู่บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน ความเท่าเทียม และการเอื้อประโยชน์แก่กันและกัน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยการเมืองภายในหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ . ประมุขวังเครมลินเสริมว่า รัสเซียและจีนสนับสนุนการพัฒนาระเบียบโลกแบบมีหลายขั้วที่มีความเป็นธรรมมากขึ้น และดำเนินการเพื่อรับประกันความมั่นคงที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ในอาณาบริเวณยูเรเซียและทั่วโลก ก่อนสำทับว่า ความพยายามร่วมกันระหว่างสองประเทศมีบทบาทสำคัญในการรักษาเสถียรภาพกิจการโลก . ทางด้าน สี ยกย่องความร่วมมือใกล้ชิดระหว่างกันเช่นเดียวกัน และแสดงความพร้อมในการร่วมกับปูตินยกระดับความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย รวมทั้งรับมือความไม่แน่นอนของสถานการณ์ภายนอก ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกันที่มีเสถียรภาพและยืดหยุ่น และปกป้องความเป็นกลางและความยุติธรรมระหว่างประเทศ . ผู้นำแดนมังกรย้ำว่า รัสเซียและจีนควรกระชับความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนกันและกันอย่างมั่นคง และปกป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของสองประเทศต่อไป . แม้ไม่ได้เอ่ยถึงทรัมป์โดยตรง แต่เครมลินระบุว่า สีและปูตินพูดคุยกันเรื่องการติดต่อกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต . ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ (17 ม.ค.) สี ได้คุยกับ ทรัมป์ ทางโทรศัพท์และแสดงความหวังว่า ความสัมพันธ์สองประเทศจะเป็นไปในแง่ดี . อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทรัมป์ขู่เก็บภาษีศุลกากรและใช้มาตรการอื่นๆ กับจีนหากได้กลับสู่ทำเนียบขาว แต่ขณะเดียวกันก็แย้มว่า สองชาติมหาอำนาจที่เป็นคู่แข่งกันอาจร่วมมือกันได้ในบางประเด็น เช่น ความขัดแย้งระดับภูมิภาค และการจำกัดการส่งออกสารที่ใช้ในการผลิตเฟนทานิล . ทางด้าน ยูริ ยูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านต่างประเทศของปูติน เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า การหารือระหว่าง ปูติน กับ สี ครั้งนี้ มีการเตรียมการล่วงหน้าเอาไว้ก่อนแล้ว โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่า สีได้กล่าวถึงเรื่องดังกล่าวสั้นๆ กับปูติน และผู้นำทั้งสองยังหารือกันในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปได้ในการติดต่อกับคณะบริหารชุดใหม่ของอเมริกา โดยทั้ง ปูติน และ สีต่างแสดงความพร้อมในการพัฒนาความสัมพันธ์กับวอชิงตัน บนหลักการของผลประโยชน์ร่วมกันและการเคารพกันและกัน . อนึ่ง ระหว่างการประชุมสภาความมั่นคงของรัสเซียที่มีการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ในวันจันทร์ ไม่นานก่อนที่ทรัมป์จะทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ปูตินได้กล่าวแสดงความยินดีและตอบรับความตั้งใจของผู้นำสหรัฐฯ ในการหารือกับมอสโก รวมทั้งบอกว่า รัสเซียเปิดกว้างในการเจรจาเรื่องยูเครน แต่ย้ำว่าอเมริกาต้องเคารพผลประโยชน์ของรัสเซีย และต้องจัดการกับต้นตอของวิกฤตเพื่อให้เกิดสันติภาพระยะยาวที่อิงกับผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชาชนและทุกประเทศที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ไม่ใช่หวังผลแค่ข้อตกลงหยุดยิงช่วงสั้นๆ . ขณะที่ทางด้านทรัมป์ ระหว่างการแถลงข่าวที่ห้องทำงานรูปไข่ของทำเนียบขาวเมื่อวันจันทร์ (20) ภายหลังสาบานตัวรับตำแหน่งแล้ว ได้พูดถึงเรื่องสงครามยูเครนว่า ได้รับแจ้งจากประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนว่า ต้องการทำข้อตกลงสันติภาพกับรัสเซีย . ทรัมป์ยังแสดงความหวังว่า ปูตินจะเห็นพ้อง ก่อนสำทับว่า ประมุขวังเครมลินกำลังทำลายรัสเซียด้วยการปฏิเสธการทำข้อตกลง โดยเขาอ้างอิงถึงปัญหาเศรษฐกิจของรัสเซียที่รวมถึงภาวะเงินเฟ้อ . จากนั้นในวันอังคาร (21) ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจเพิ่มมาตรการแซงก์ชันรัสเซีย หากปูตินยังไม่ยอมเจรจาเพื่อยุติสงครามในยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006995 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1466 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน

    นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน

    อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น

    จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522

    นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม

    นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน

    นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์

    ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้

    นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้

    ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน

    ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์

    https://mgronline.com/china/detail/9670000104850

    #Thaitimes
    ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522 นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้ นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้ ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ https://mgronline.com/china/detail/9670000104850 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    ทำไมจีนยังไม่ส่งทูตคนใหม่มาประจำที่เกาหลีใต้?
    ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 662 มุมมอง 0 รีวิว
  • "สี จิ้นผิง" พบ "ปูติน" ในการประชุมสุดยอดผู้นำ ซัมมิต BRICS ครั้งที่ 16 ที่เมืองโบราณ คาซานของรัสเซีย

    โกลบอลไทมส์สื่อของทางการจีนรายงานว่า ระหว่างพบปะกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ในพิธีเปิดการประชุมผู้นำชาติกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 16 ที่เมืองคาซาน สาธารณรัฐตาตาร์สถานของรัสเซีย เมื่อวันอังคาร (22 ต.ค.) นั้น

    ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีนได้กล่าวยกย่องการก่อตั้งกลไกความร่วมมือบริกส์ ซึ่งมีชาติทั้งสองเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ว่า จีนและรัสเซียได้พบหนทางที่ถูกต้องแล้วในการอยู่ร่วมกันระหว่างชาติใหญ่ๆ ในลักษณะที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่มีการเผชิญหน้า และไม่มีการล็อกเป้าหมายใดๆ ทั้งสิ้นกับฝ่ายที่สาม

    ผู้นำจีนระบุว่า กลไกความร่วมมือบริกส์ถือเป็นกำลังหลักในการส่งเสริมโลกที่มีหลายขั้วอำนาจอย่างเท่าเทียมกันและเป็นระเบียบ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์อย่างครอบคลุมทั่วโลก

    นอกจากนั้น สี จิ้นผิงยังกล่าวด้วยว่า ความสัมพันธ์จีน-รัสเซียเดินมาไกลและบุกเบิกสร้างความสำเร็จมาด้วยกันหลายประการ

    ด้านรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ สี จิ้นผิงได้กล่าวกับผู้นำรัสเซียว่า ขณะนี้โลกกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในรอบหนึ่งร้อยปี สถานการณ์ระหว่างประเทศพัวพันกันยุ่งเหยิงวุ่นวาย “แต่ผมเชื่อมั่นหนักแน่นว่า มิตรภาพระหว่างจีนกับรัสเซียจะดำเนินต่อไปหลายชั่วอายุคน และชาติที่ยิ่งใหญ่จะมีความรับผิดชอบต่อประชาชนของตนอย่างไม่เปลี่ยนแปลง”

    ขณะที่ปูตินเรียกสี จิ้นผิงว่า “เพื่อนรัก” และกล่าวว่า ความร่วมมือรัสเซีย-จีนบนเวทีโลกเป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งในการสร้างเสถียรภาพในโลก

    ทั้งนี้ กลุ่มบริกส์ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยคำว่า BRICS เป็นอักษรตัวแรกของชื่อชาติสมาชิกเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จีนมองคำว่า BRICS นี้คือ “ก้อนทองคำ” (gold bricks) สำหรับจีน ซึ่งบ่งบอกถึงการมองศักยภาพและอนาคตอันสดใสของกลุ่มบริกส์ในแง่ดีนั่นเอง

    ภาพประกอบข่าว
    1ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 16 เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 - ภาพ: ซินหัว
    2 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 16 เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 - ภาพ : รอยเตอร์
    3 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ชมคอนเสิร์ตก่อนงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการระหว่างการประชุมสุดยอด BRICS ที่เมืองคาซาน รัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 - ภาพ : รอยเตอร์

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/oFBNCmDeuDCUXw9G/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    "สี จิ้นผิง" พบ "ปูติน" ในการประชุมสุดยอดผู้นำ ซัมมิต BRICS ครั้งที่ 16 ที่เมืองโบราณ คาซานของรัสเซีย โกลบอลไทมส์สื่อของทางการจีนรายงานว่า ระหว่างพบปะกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ในพิธีเปิดการประชุมผู้นำชาติกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 16 ที่เมืองคาซาน สาธารณรัฐตาตาร์สถานของรัสเซีย เมื่อวันอังคาร (22 ต.ค.) นั้น ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีนได้กล่าวยกย่องการก่อตั้งกลไกความร่วมมือบริกส์ ซึ่งมีชาติทั้งสองเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใหญ่ว่า จีนและรัสเซียได้พบหนทางที่ถูกต้องแล้วในการอยู่ร่วมกันระหว่างชาติใหญ่ๆ ในลักษณะที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่มีการเผชิญหน้า และไม่มีการล็อกเป้าหมายใดๆ ทั้งสิ้นกับฝ่ายที่สาม ผู้นำจีนระบุว่า กลไกความร่วมมือบริกส์ถือเป็นกำลังหลักในการส่งเสริมโลกที่มีหลายขั้วอำนาจอย่างเท่าเทียมกันและเป็นระเบียบ ตลอดจนส่งเสริมการสร้างโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์อย่างครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนั้น สี จิ้นผิงยังกล่าวด้วยว่า ความสัมพันธ์จีน-รัสเซียเดินมาไกลและบุกเบิกสร้างความสำเร็จมาด้วยกันหลายประการ ด้านรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ สี จิ้นผิงได้กล่าวกับผู้นำรัสเซียว่า ขณะนี้โลกกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในรอบหนึ่งร้อยปี สถานการณ์ระหว่างประเทศพัวพันกันยุ่งเหยิงวุ่นวาย “แต่ผมเชื่อมั่นหนักแน่นว่า มิตรภาพระหว่างจีนกับรัสเซียจะดำเนินต่อไปหลายชั่วอายุคน และชาติที่ยิ่งใหญ่จะมีความรับผิดชอบต่อประชาชนของตนอย่างไม่เปลี่ยนแปลง” ขณะที่ปูตินเรียกสี จิ้นผิงว่า “เพื่อนรัก” และกล่าวว่า ความร่วมมือรัสเซีย-จีนบนเวทีโลกเป็นปัจจัยหลักอันหนึ่งในการสร้างเสถียรภาพในโลก ทั้งนี้ กลุ่มบริกส์ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ โดยคำว่า BRICS เป็นอักษรตัวแรกของชื่อชาติสมาชิกเหล่านี้ อย่างไรก็ตาม จีนมองคำว่า BRICS นี้คือ “ก้อนทองคำ” (gold bricks) สำหรับจีน ซึ่งบ่งบอกถึงการมองศักยภาพและอนาคตอันสดใสของกลุ่มบริกส์ในแง่ดีนั่นเอง ภาพประกอบข่าว 1ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 16 เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 - ภาพ: ซินหัว 2 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ (BRICS) ครั้งที่ 16 เมืองคาซาน ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 - ภาพ : รอยเตอร์ 3 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ชมคอนเสิร์ตก่อนงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการระหว่างการประชุมสุดยอด BRICS ที่เมืองคาซาน รัสเซีย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 - ภาพ : รอยเตอร์ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/oFBNCmDeuDCUXw9G/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 460 มุมมอง 0 รีวิว
  • Podcast บูรพาไม่แพ้ : มณฑลไท่กั๋ว ? จากทัวร์ศูนย์เหรียญถึงจีนเทา
    .
    เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมงานสัมมนาความสัมพันธ์จีน-ไทย ในวาระครบรอบ 49 ปี ที่จัดโดยสถานจีน ประจำประเทศไทย โดยในงานนี้ท่านเอกอัครราชทูต หาน จื้อเฉียง ได้ชี้แจงเรื่องของปัญหาทุนจีนสีเทาในประเทศไทยด้วย
    .
    พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในวันนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลจากหลาย ๆ ด้านว่า บรรดาทุนจีนในเมืองไทย เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผิดกฎหมาย และเอาเปรียบคนไทยจริงหรือไม่ โดยมีทั้งข้อมูลจากทางสถานทูตจีนประจำประเทศไทย รวมทั้งบทสัมภาษณ์จากผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว และตัวแทนจากพรรคก้าวไกล พรรคการเมืองที่ค่อนข้างวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง “ปัญหาทุนจีนสีเทา” อย่างหนักหน่วง
    .
    คลิก >> https://www.youtube.com/watch?v=B4Cf2g5Jd3M
    Podcast บูรพาไม่แพ้ : มณฑลไท่กั๋ว ? จากทัวร์ศูนย์เหรียญถึงจีนเทา . เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมงานสัมมนาความสัมพันธ์จีน-ไทย ในวาระครบรอบ 49 ปี ที่จัดโดยสถานจีน ประจำประเทศไทย โดยในงานนี้ท่านเอกอัครราชทูต หาน จื้อเฉียง ได้ชี้แจงเรื่องของปัญหาทุนจีนสีเทาในประเทศไทยด้วย . พอดแคส บูรพาไม่แพ้ ในวันนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลจากหลาย ๆ ด้านว่า บรรดาทุนจีนในเมืองไทย เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมผิดกฎหมาย และเอาเปรียบคนไทยจริงหรือไม่ โดยมีทั้งข้อมูลจากทางสถานทูตจีนประจำประเทศไทย รวมทั้งบทสัมภาษณ์จากผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว และตัวแทนจากพรรคก้าวไกล พรรคการเมืองที่ค่อนข้างวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง “ปัญหาทุนจีนสีเทา” อย่างหนักหน่วง . คลิก >> https://www.youtube.com/watch?v=B4Cf2g5Jd3M
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 611 มุมมอง 0 รีวิว