• รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อกลับลำข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับการเข้ายึดฉนวนกาซา หลังมันโหมกระพือเสียงโวยวายจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึงเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เตือนเกี่ยวกับการ "ล้างเผ่าพันธุ์" ในฉนวนปาเลสไตน์
    .
    หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล
    .
    ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน"
    .
    รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู
    .
    ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว"
    .
    คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์"
    .
    ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย"
    .
    เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์
    .
    สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ
    .
    ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา"
    .
    อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้
    .
    ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา
    .
    ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน
    .
    ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน
    .
    อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา
    .
    สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933
    ..............
    Sondhi X
    รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่อกลับลำข้อเสนอของเขาเกี่ยวกับการเข้ายึดฉนวนกาซา หลังมันโหมกระพือเสียงโวยวายจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึงเลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติที่เตือนเกี่ยวกับการ "ล้างเผ่าพันธุ์" ในฉนวนปาเลสไตน์ . หลังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นชุดๆ จากทั้งชาวปาเลสไตน์ บรรดารัฐบาลอาหรับและพวกผู้นำโลก ทาง มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ บอกว่าการย้ายชาวกาซาใดๆ จะเป็นเพียงชั่วคราว ในขณะที่ทำเนียบขาวยืนยันว่ายังไม่มีการรับปากว่าจะส่งทหารอเมริกาเข้าไปยังฉนวนแห่งนี้ . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยืนยันว่า "ทุกคนชอบแผนนี้" ซึ่งเขาเปิดเผยในเรื่องดังกล่าวระหว่างแถลงข่าวที่ทำเนียบขาว ร่วมกับผู้มาเยือนอย่าง เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมตรีอิสราเอล . ในถ้อยแถลงดังกล่าว ทรัมป์ ให้รายละเอียดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทางที่สหรัฐฯ จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์กว่า 2 ล้านคนออกจากฉนวนกาซาหรือแนวทางเข้าควบคุมดินแดนที่ถูกสงครามฉีกเป็นชิ้นๆ แห่งนี้ โดยเขาเพียงประกาศในวันอังคาร (4 ก.พ.) ว่า "สหรัฐฯ จะยึดฉนวนกาซาและเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย เราจะเป็นเจ้าของมัน" . รูบิโอ ชี้แจงว่าความคิดดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาเป็นปรปักษ์ ให้คำจำกัดความว่ามันเป็นความเคลื่อนไหวใจกว้าง เสนอมอบการฟื้นฟูและรับหน้าที่ของการฟื้นฟู . ในเวลาต่อมา คาโรไลน์ เลวิตต์ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของทำเนียบขาว แถลงว่าวอชิงตันจะไม่ออกทุนฟื้นฟูกาซา ตามหลังดินแดนแห่งนี้ต้องเผชิญกับสงครามระหว่างอิสราเอล พันธมิตรของสหรัฐฯ และกลุ่มนักรบปาเลสไตน์ฮามาส ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน "ความเกี่ยวข้องของอเมริกาไม่ได้หมายถึงการส่งกองกำลังไปยังภาคพื้นหรือใช้เงินผู้เสียภาษีสหรัฐฯ เป็นทุนสำหรับความพยายามดังกล่าว" . คำชี้แจงของทำเนียบขาวมีขึ้นหลังจาก อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่แห่งสหประชาชาติ ชี้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง "รูปแบบของการล้างเผ่าพันธุ์ใดๆ" ส่วนสเตฟาน ดูจาร์ริช โฆษก อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเห็นของเลขาธิการใหญ่รายนี้ ในเวลาต่อมาในวันพุธ (5 ก.พ.) บอกกับพวกผู้สื่อข่าวว่า "การบีบบังคับผู้คนโยกย้ายถิ่นฐาน เทียบเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์" . ในเวลาต่อมา เลวิตต์ บอกว่า ทรัมป์ เพียงต้องการให้ชาวปาเลสไตน์แค่ย้ายออกจากกาซาเป็นการชั่วคราว "เวลานี้มันกลายเป็นสถานที่ที่ถูกทำลายล้าง มันไม่ใช่สถานที่ที่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัย" . เจ้าหน้าที่ปาเลสไตน์ พวกผู้นำโลกอาหรับและกลุ่มสิทธิมนุษยชนทั้งหลายออกมาประณามความคิดเห็นของทรัมป์อย่างรวดเร็ว ส่วน ฮามาส ที่ยึดครองควบคุมกาซาในปี 2007 ปฏิเสธข้อเสนอนี้ ตราหน้ามันว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติ รุกรานและซ้ำเติมสถานการณ์ . สงครามที่โหมกระพือขึ้นจากการที่พวกฮามาสบุกโจมตีเล่นงานอิสราเอลแบบสายฟ้าแลบเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ทำลายล้างพื้นที่ส่วนใหญ่ของฉนวนกาซา ในขณะที่ ทรัมป์ อ้างกล่าวความดีความชอบซ้ำๆ สำหรับการบรรลุข้อตกลงหยุดยิงที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนที่แล้ว . เนทันยาฮู ซึ่งอยู่ระหว่างเยือนวอชิงตัน สำหรับพูดคุยเกี่ยวกับขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง ขานรับด้วยความยินดีต่อความคิดของทรัมป์ บอกว่ามันจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์และควรค่าได้รับความสนใจ . ทรัมป์ ซึ่งบ่งชี้ด้วยว่าเขาอาจเดินทางเยือนกาซา ดูเหมือนจะพูดเป็นนัยว่าการฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้ จะไม่ใช่สำหรับชาวปาเลสไตน์ แต่ทาง เลวิตต์ ชี้แจงว่า "ประธานาธิบดีมีความชัดเจนมากๆ ต่อกรณีคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรของเราในภูมิภาค โดยเฉพาะอียิปต์และจอร์แดน จะอ้าแขนรับผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์เป็นการชั่วคราว เพื่อเราจะสามารถบูรณะฟื้นฟูบ้านของพวกเขา" . อย่างไรก็ตาม มาห์มูด อับบาส ประธานาธิบดีปาเลสไตน์ ปฏิเสธข้อเสนอนี้ เรียกมันว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง และยืนกรานว่าสิทธิที่ชอบธรรมตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์ไม่อาจต่อรองได้ . ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ ชี้แนะให้ชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซา โดยในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา เขาได้กล่าวอ้างถึงอียิปต์และจอร์แดน ในฐานะดินแดนจุดหมายปลายทางที่เป็นไปได้ แต่ประชาชนชาวปาเลสไตน์ ประกาศกร้าวว่าพวกเขาจะไม่ออกจากฉนวนกาซา . ขณะเดียวกัน อียิปต์ และ จอร์แดน ก็ปฏิเสธอนุญาตให้มีการตั้งรกรากใดๆ ของชาวกาซา โดย บาดร์ อับเดลลัตตี รัฐมนตรีต่างประเทศอียิปต์ เรียกร้องฟื้นฟูฉนวนแห่งนี้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกมา ส่วนกษัตริย์อับดุลลาห์ที่สองแห่งจอร์แดน ตรัสหลังจากพบปะกับอับบาส ปฏิเสธความพยายามใดๆ ในการควบคุมดินแดนของปาเลสไตน์และโยกย้านถิ่นฐานผู้คน . ในวอชิงตัน เนทันยาฮู ยกย่อง ทรัมป์ ว่าเป็นพันธมิตรยอดเยี่ยมที่สุดของอิสราเอล และยกย่องผู้นำสหรัฐฯ เกี่ยวกับการคิดนอกกรอบ นอกจากนี้ เขายังแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงกับซาอุดีอาระเบีย ในการคืนความสัมพันธ์กันเป็นปกติระหว่างกัน . อย่างไรก็ตาม ริยาด บอกว่าพวกเขาจะไม่มีความสัมพันธ์อันเป็นปกติกับอิสราเอล หากปราศจากความเป็นรัฐของปาเลสไตน์ และปฏิเสธความพยายามใดๆ ที่จะโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากแผ่นดินของพวกเขา . สหภาพยุโรปเน้นย้ำว่ากาซาเป็นส่วนสำคัญสำหรับรัฐปาเลสไตน์หนึ่งๆ ในอนาคต ในขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปฏิเสธความพยายามโยกย้ายถิ่นฐานใดๆ โดยบอกว่าเสถียรภาพในภูมิภาคจะบรรลุได้ผ่านทางออก 2 รัฐคู่ขนานเท่านั้น ส่วนโฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีน บอกว่า "เราคัดค้านการบีบบังคับโยกย้ายพลเมืองของกาซา" ขณะที่สันนิบาตอาหรับ เรียกข้อเสนอของทรัมป์ว่าเป็น "สูตรแห่งความไร้เสถียรภาพ" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011933 .............. Sondhi X
    Like
    Wow
    Sad
    12
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1078 มุมมอง 0 รีวิว
  • อเมริกาถอยแผนทรัมป์ยึดกาซา หลังโดนทั้งโลกไม่เห็นด้วยและประณามแนวคิดนี้ และยังผิดกฎหมายระหว่างประเทศ

    ทำเนียบขาวรีบดับไฟ 'ถอยแผนทรัมป์ยึดกาซา' ท่ามกลางเสียงค้านทั่วโลก ชี้เป็นแค่แผนย้ายถิ่นชั่วคราว
    ทำเนียบขาวถอยแผนทรัมป์ยึดกาซา ย้ำไม่ส่งทหาร-ไม่จ่ายเงินฟื้นฟู

    หลังแถลงการณ์ของทรัมป์สร้างความร้อนแรงด้วยแผน "เข้ายึดครอง" และ "เป็นเจ้าของ" ฉนวนกาซา
    โดยแคโรไลน์ ลีวิตต์ โฆษกทำเนียบขาว ชี้แจงเป็นเพียงการ "ย้ายถิ่นฐานชั่วคราว" ไม่ใช่ตั้งถิ่นฐานใหม่ถาวรในประเทศอาหรับ พร้อมย้ำไม่ส่งทหารและไม่ใช้งบประมาณฟื้นฟู

    ด้านมาร์โก รูบิโอ รมต.ต่างประเทศ หนุนเป็น "การเคลื่อนไหวที่ใจกว้าง" เพื่อฟื้นฟูบ้านเรือนและธุรกิจ แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้นำโลก โดยเฉพาะซามี อาบู ซูห์รี แกนนำฮามาส เตือนอาจนำไปสู่ "ความวุ่นวาย"

    ขณะที่วุฒิสมาชิกไบรอัน ชาทซ์ และเฮลี โซเฟอร์ จาก JDCA วิจารณ์แผนสุดโต่งนี้ พร้อมย้ำจุดยืนแนวทางสองรัฐ ด้านสภาความสัมพันธ์อเมริกัน-อิสลาม คัดค้านแข็งขัน เตือนอาจเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ท่ามกลางการเจรจาหยุดยิง "ระยะที่สอง" ระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่กาตาร์


    https://www.imctnews.com/news_details-news-6570.html
    อเมริกาถอยแผนทรัมป์ยึดกาซา หลังโดนทั้งโลกไม่เห็นด้วยและประณามแนวคิดนี้ และยังผิดกฎหมายระหว่างประเทศ ทำเนียบขาวรีบดับไฟ 'ถอยแผนทรัมป์ยึดกาซา' ท่ามกลางเสียงค้านทั่วโลก ชี้เป็นแค่แผนย้ายถิ่นชั่วคราว ทำเนียบขาวถอยแผนทรัมป์ยึดกาซา ย้ำไม่ส่งทหาร-ไม่จ่ายเงินฟื้นฟู หลังแถลงการณ์ของทรัมป์สร้างความร้อนแรงด้วยแผน "เข้ายึดครอง" และ "เป็นเจ้าของ" ฉนวนกาซา โดยแคโรไลน์ ลีวิตต์ โฆษกทำเนียบขาว ชี้แจงเป็นเพียงการ "ย้ายถิ่นฐานชั่วคราว" ไม่ใช่ตั้งถิ่นฐานใหม่ถาวรในประเทศอาหรับ พร้อมย้ำไม่ส่งทหารและไม่ใช้งบประมาณฟื้นฟู ด้านมาร์โก รูบิโอ รมต.ต่างประเทศ หนุนเป็น "การเคลื่อนไหวที่ใจกว้าง" เพื่อฟื้นฟูบ้านเรือนและธุรกิจ แต่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากผู้นำโลก โดยเฉพาะซามี อาบู ซูห์รี แกนนำฮามาส เตือนอาจนำไปสู่ "ความวุ่นวาย" ขณะที่วุฒิสมาชิกไบรอัน ชาทซ์ และเฮลี โซเฟอร์ จาก JDCA วิจารณ์แผนสุดโต่งนี้ พร้อมย้ำจุดยืนแนวทางสองรัฐ ด้านสภาความสัมพันธ์อเมริกัน-อิสลาม คัดค้านแข็งขัน เตือนอาจเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ท่ามกลางการเจรจาหยุดยิง "ระยะที่สอง" ระหว่างอิสราเอลและฮามาสที่กาตาร์ https://www.imctnews.com/news_details-news-6570.html
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กล่าวสนับสนุนแนวทางของทรัมป์ในกาซา

    "กาซาต้องเป็นอิสระจากกลุ่มฮามาส ดังที่ทรัมป์ประกาศในวันนี้ สหรัฐฯ พร้อมที่จะเป็นผู้นำและทำให้กาซาสวยงามอีกครั้ง เป้าหมายของเราคือการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในภูมิภาคนี้เพื่อประชาชนทุกคน"
    มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กล่าวสนับสนุนแนวทางของทรัมป์ในกาซา "กาซาต้องเป็นอิสระจากกลุ่มฮามาส ดังที่ทรัมป์ประกาศในวันนี้ สหรัฐฯ พร้อมที่จะเป็นผู้นำและทำให้กาซาสวยงามอีกครั้ง เป้าหมายของเราคือการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในภูมิภาคนี้เพื่อประชาชนทุกคน"
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 124 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์และเนทันยาฮูเพิ่งพูดโกหกว่าฮามาสฆ่าและเผาเด็กทารกทั้งเป็น

    ในความเป็นจริงซึ่งทุกฝ่ายทราบกันดี ไม่มีเด็กทารกถูกเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แต่นักข่าวคนใดกล้าทักท้วงคำโกหกนี้ และปล่อยให้ถูกเผยแพร่ออกไปอีกครั้ง
    ทรัมป์และเนทันยาฮูเพิ่งพูดโกหกว่าฮามาสฆ่าและเผาเด็กทารกทั้งเป็น ในความเป็นจริงซึ่งทุกฝ่ายทราบกันดี ไม่มีเด็กทารกถูกเผาทั้งเป็นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แต่นักข่าวคนใดกล้าทักท้วงคำโกหกนี้ และปล่อยให้ถูกเผยแพร่ออกไปอีกครั้ง
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 170 มุมมอง 21 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ สร้างความตกตะลึงอีกครั้งด้วยการประกาศว่าต้องการ “เทกโอเวอร์” ดินแดนกาซาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ หลังจากส่งชาวปาเลสไตน์ “ออกไปอยู่อื่น” ในความเคลื่อนไหวซึ่งจะถือเป็นการทำลายจุดยืนที่สหรัฐฯ มีต่อปัญหายิว-ปาเลสไตน์มานานหลายสิบปี
    .
    ทรัมป์ แถลงแผนการสุดเซอร์ไพรส์นี้ระหว่างเปิดแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวร่วมกับนายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู แห่งอิสราเอล โดยยังไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไร
    .
    ก่อนหน้านั้นไม่นาน ทรัมป์ ได้เสนอให้ย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไปตั้งถิ่นฐานใหม่แบบถาวรในประเทศข้างเคียง โดยระบุว่าดินแดนกาซาในปัจจุบันมีสภาพไม่ต่างจากพื้นที่ทุบทำลาย (demolition site)
    .
    “สหรัฐฯ จะเทกโอเวอร์ฉนวนกาซา และเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย” ทรัมป์ บอกกับผู้สื่อข่าว “เราจะเป็นเจ้าของมัน และจะรับผิดชอบเรื่องการทำลายระเบิดที่ยังไม่ทำงาน และอาวุธต่างๆ ที่อยู่ในนั้น”
    .
    “หากมีความจำเป็น เราก็จะทำ เราจะเทกโอเวอร์ดินแดนตรงนั้น เราจะเข้าไปพัฒนามัน สร้างงานหลายพันหลายหมื่นตำแหน่ง และมันจะเป็นสิ่งที่ตะวันออกกลางทั้งภูมิภาคและทั่วโลกต้องภูมิใจ” ทรัมป์ กล่าว
    .
    เมื่อถามว่าแล้วใครจะเข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนตรงนั้น ทรัมป์ ตอบแบบกว้างๆ ว่ามันจะเป็น “บ้านสำหรับชาวโลก”
    .
    ด้าน เนทันยาฮู ก็กล่าวรับลูกทันควันว่า ทรัมป์ เป็นคนที่ “กล้าคิดนอกกรอบด้วยไอเดียใหม่ๆ” และ “แสดงความตั้งใจจริงที่จะแทงทะลุกรอบความคิดเดิมๆ”
    .
    อย่างไรก็ดี ทรัมป์ ไม่ได้ชี้แจงข้อซักถามของสื่อมวลชนที่ว่า สหรัฐฯ จะเอาอำนาจอะไรไปเทกโอเวอร์ดินแดนกาซา และยึดครองมันในระยะยาว
    .
    ทรัมป์ ยังย้ำข้อเรียกร้องให้จอร์แดน อียิปต์ และรัฐอาหรับอื่นๆ รับชาวกาซาไปอยู่อาศัย โดยชี้ว่าชาวปาเลสไตน์ "ไม่มีทางเลือกอื่น" นอกจากละทิ้งดินแดนผืนแคบๆ ที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแห่งนี้ไปเสีย เนื่องจากกาซาจำเป็นต้องได้รับการบูรณะฟื้นฟูขนานใหญ่หลังเสียหายย่อยยับจากสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาสในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา
    .
    อย่างไรก็ดี ครั้งนี้ ทรัมป์ ประกาศชัดว่าเขาสนับสนุนการย้ายชาวกาซาแบบ "ถาวร" ซึ่งเป็นเรื่องหนักหน่วงเสียยิ่งกว่าข้อเสนอเดิมซึ่งบรรดารัฐอาหรับก็ไม่เอาด้วยอยู่แล้ว
    .
    เพียง 2 สัปดาห์หลังเข้ารับตำแหน่งเทอมสอง ทรัมป์ ได้เปิดทำเนียบขาวต้อนรับผู้นำยิวเพื่อหารือข้อตกลงหยุดยิงที่เปราะบางในกาซา ยุทธศาสตร์ต่อต้านอิหร่าน รวมไปถึงความหวังที่จะรื้อฟื้นแผนผลักดันการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติระหว่างอิสราเอลกับซาอุดีอาระเบีย
    .
    "มันเป็นพื้นที่ทุบทำลายชัดๆ" ทรัมป์ เอ่ยถึงกาซาก่อนที่จะพบ เนทันยาฮู ไม่นานนัก
    .
    "ถ้าเราสามารถหาที่ดินสักผืนที่ใช่ หรืออาจจะหลายๆ ผืน และสร้างสถานที่ที่ดีและมีเม็ดเงินมหาศาลให้พวกเขา แน่นอน... ผมคิดว่ามันจะดีกว่าการกลับเข้าไปอยู่ในกาซา" ทรัมป์ กล่าว
    .
    "ผมไม่รู้จริงๆ ว่าทำไม (ชาวปาเลสไตน์) ถึงยังอยากอยู่ที่นั่น" ทรัมป์ให้คำตอบ หลังถูกถามถึงปฏิกิริยาของบรรดาผู้นำชาติอาหรับเกี่ยวกับข้อเสนอของเขา
    .
    ระหว่างพบ เนทันยาฮู ที่ห้องทำงานรูปไข่ ทรัมป์ ได้ย้ำข้อเสนอเดิม โดยคราวนี้บอกว่าชาวปาเลสไตน์ควรย้ายออกจากกาซาไปเลยแบบถาวร "ไปอยู่ในบ้านใหม่ที่ดี ที่ซึ่งพวกเขาจะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องถูกยิง ไม่ต้องถูกสังหาร"
    .
    "พวกเขาจะไม่อยากกลับไปอยู่กาซาอีก"
    .
    ทรัมป์ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่ากระบวนการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์จะกระทำอย่างไร แต่ข้อเสนอนี้เรียกได้ว่าเติมเต็มความปรารถนาของกลุ่มขวาจัดในอิสราเอล และขัดแย้งสิ้นเชิงกับจุดยืนของอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ที่ให้คำมั่นว่าจะไม่มีการบังคับเคลื่อนย้ายชาวปาเลสไตน์จากกาซา
    .
    นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนบางคนออกมาวิจารณ์ข้อเสนอ ทรัมป์ ว่าไม่ต่างอะไรกับการล้างชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) ซึ่งเข้าข่ายละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเผชิญกระแสต่อต้านรุนแรงไม่เพียงแต่ในตะวันออกกลาง แต่รวมถึงจากบรรดาพันธมิตรตะวันตกของสหรัฐฯ เองด้วย
    .
    ซามี อบู ซูห์รี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส ออกมาประณามแผนของ ทรัมป์ ว่าเป็นการ "ขับไล่ชาวกาซาออกจากดินแดนของพวกเขาเอง"
    .
    "เรามองว่านี่คือสูตรสำเร็จที่จะสร้างความวุ่นวายและความตึงเครียดขึ้นในภูมิภาค เพราะชาวกาซาจะไม่มีวันยอมให้แผนการเช่นนี้เกิดขึ้น" เขากล่าว
    .
    การที่ ทรัมป์ เลือกให้ เนทันยาฮู เป็นผู้นำต่างชาติรายแรกที่ได้มาพบเขาที่ทำเนียบขาวหลังสาบานตนเป็นผู้นำสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ถูกมองว่าเป็นความพยายามโชว์ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างตนกับผู้นำยิว ตามหลังช่วงเวลาอันระหองระแหงระหว่าง เนทันยาฮู กับ ไบเดน สืบเนื่องจากสงครามในกาซา
    .
    อย่างไรก็ตาม เนทันยาฮู ก็อาจจะเป็นฝ่ายถูก ทรัมป์ กดดันเข้าบ้างในอนาคต เนื่องจากเป้าหมายเชิงนโยบายตะวันออกกลางในภาพรวมของผู้นำอเมริกันที่คาดเดาได้ยากรายนี้บางครั้งก็ไม่ได้ตรงกับผลประโยชน์ภายในประเทศและผลประโยชน์ด้านภูมิรัฐศาสตร์สำหรับ เนทันยาฮู เสมอไป
    .
    ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก ทรัมป์ เคยหยิบยื่นชัยชนะให้แก่ เนทันยาฮู หลายครั้ง ตั้งแต่การย้ายสถานทูตอเมริกันจากกรุงเทลอาวีฟไปยังนครเยรูซาเลม เรื่อยไปจนถึงการทำข้อตกลงอบราฮัมที่ช่วยให้รัฐอาหรับหลายชาติยอมสถาปนาความสัมพันธ์การทูตกับอิสราเอล
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011557
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ สร้างความตกตะลึงอีกครั้งด้วยการประกาศว่าต้องการ “เทกโอเวอร์” ดินแดนกาซาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ หลังจากส่งชาวปาเลสไตน์ “ออกไปอยู่อื่น” ในความเคลื่อนไหวซึ่งจะถือเป็นการทำลายจุดยืนที่สหรัฐฯ มีต่อปัญหายิว-ปาเลสไตน์มานานหลายสิบปี . ทรัมป์ แถลงแผนการสุดเซอร์ไพรส์นี้ระหว่างเปิดแถลงข่าวที่ทำเนียบขาวร่วมกับนายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู แห่งอิสราเอล โดยยังไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไร . ก่อนหน้านั้นไม่นาน ทรัมป์ ได้เสนอให้ย้ายชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไปตั้งถิ่นฐานใหม่แบบถาวรในประเทศข้างเคียง โดยระบุว่าดินแดนกาซาในปัจจุบันมีสภาพไม่ต่างจากพื้นที่ทุบทำลาย (demolition site) . “สหรัฐฯ จะเทกโอเวอร์ฉนวนกาซา และเราจะทำอะไรบางอย่างกับมันด้วย” ทรัมป์ บอกกับผู้สื่อข่าว “เราจะเป็นเจ้าของมัน และจะรับผิดชอบเรื่องการทำลายระเบิดที่ยังไม่ทำงาน และอาวุธต่างๆ ที่อยู่ในนั้น” . “หากมีความจำเป็น เราก็จะทำ เราจะเทกโอเวอร์ดินแดนตรงนั้น เราจะเข้าไปพัฒนามัน สร้างงานหลายพันหลายหมื่นตำแหน่ง และมันจะเป็นสิ่งที่ตะวันออกกลางทั้งภูมิภาคและทั่วโลกต้องภูมิใจ” ทรัมป์ กล่าว . เมื่อถามว่าแล้วใครจะเข้าไปอาศัยอยู่ในดินแดนตรงนั้น ทรัมป์ ตอบแบบกว้างๆ ว่ามันจะเป็น “บ้านสำหรับชาวโลก” . ด้าน เนทันยาฮู ก็กล่าวรับลูกทันควันว่า ทรัมป์ เป็นคนที่ “กล้าคิดนอกกรอบด้วยไอเดียใหม่ๆ” และ “แสดงความตั้งใจจริงที่จะแทงทะลุกรอบความคิดเดิมๆ” . อย่างไรก็ดี ทรัมป์ ไม่ได้ชี้แจงข้อซักถามของสื่อมวลชนที่ว่า สหรัฐฯ จะเอาอำนาจอะไรไปเทกโอเวอร์ดินแดนกาซา และยึดครองมันในระยะยาว . ทรัมป์ ยังย้ำข้อเรียกร้องให้จอร์แดน อียิปต์ และรัฐอาหรับอื่นๆ รับชาวกาซาไปอยู่อาศัย โดยชี้ว่าชาวปาเลสไตน์ "ไม่มีทางเลือกอื่น" นอกจากละทิ้งดินแดนผืนแคบๆ ที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแห่งนี้ไปเสีย เนื่องจากกาซาจำเป็นต้องได้รับการบูรณะฟื้นฟูขนานใหญ่หลังเสียหายย่อยยับจากสงครามระหว่างอิสราเอลกับฮามาสในช่วง 16 เดือนที่ผ่านมา . อย่างไรก็ดี ครั้งนี้ ทรัมป์ ประกาศชัดว่าเขาสนับสนุนการย้ายชาวกาซาแบบ "ถาวร" ซึ่งเป็นเรื่องหนักหน่วงเสียยิ่งกว่าข้อเสนอเดิมซึ่งบรรดารัฐอาหรับก็ไม่เอาด้วยอยู่แล้ว . เพียง 2 สัปดาห์หลังเข้ารับตำแหน่งเทอมสอง ทรัมป์ ได้เปิดทำเนียบขาวต้อนรับผู้นำยิวเพื่อหารือข้อตกลงหยุดยิงที่เปราะบางในกาซา ยุทธศาสตร์ต่อต้านอิหร่าน รวมไปถึงความหวังที่จะรื้อฟื้นแผนผลักดันการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระดับปกติระหว่างอิสราเอลกับซาอุดีอาระเบีย . "มันเป็นพื้นที่ทุบทำลายชัดๆ" ทรัมป์ เอ่ยถึงกาซาก่อนที่จะพบ เนทันยาฮู ไม่นานนัก . "ถ้าเราสามารถหาที่ดินสักผืนที่ใช่ หรืออาจจะหลายๆ ผืน และสร้างสถานที่ที่ดีและมีเม็ดเงินมหาศาลให้พวกเขา แน่นอน... ผมคิดว่ามันจะดีกว่าการกลับเข้าไปอยู่ในกาซา" ทรัมป์ กล่าว . "ผมไม่รู้จริงๆ ว่าทำไม (ชาวปาเลสไตน์) ถึงยังอยากอยู่ที่นั่น" ทรัมป์ให้คำตอบ หลังถูกถามถึงปฏิกิริยาของบรรดาผู้นำชาติอาหรับเกี่ยวกับข้อเสนอของเขา . ระหว่างพบ เนทันยาฮู ที่ห้องทำงานรูปไข่ ทรัมป์ ได้ย้ำข้อเสนอเดิม โดยคราวนี้บอกว่าชาวปาเลสไตน์ควรย้ายออกจากกาซาไปเลยแบบถาวร "ไปอยู่ในบ้านใหม่ที่ดี ที่ซึ่งพวกเขาจะสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ไม่ต้องถูกยิง ไม่ต้องถูกสังหาร" . "พวกเขาจะไม่อยากกลับไปอยู่กาซาอีก" . ทรัมป์ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่ากระบวนการโยกย้ายชาวปาเลสไตน์จะกระทำอย่างไร แต่ข้อเสนอนี้เรียกได้ว่าเติมเต็มความปรารถนาของกลุ่มขวาจัดในอิสราเอล และขัดแย้งสิ้นเชิงกับจุดยืนของอดีตประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ที่ให้คำมั่นว่าจะไม่มีการบังคับเคลื่อนย้ายชาวปาเลสไตน์จากกาซา . นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนบางคนออกมาวิจารณ์ข้อเสนอ ทรัมป์ ว่าไม่ต่างอะไรกับการล้างชาติพันธุ์ (ethnic cleansing) ซึ่งเข้าข่ายละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเผชิญกระแสต่อต้านรุนแรงไม่เพียงแต่ในตะวันออกกลาง แต่รวมถึงจากบรรดาพันธมิตรตะวันตกของสหรัฐฯ เองด้วย . ซามี อบู ซูห์รี เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส ออกมาประณามแผนของ ทรัมป์ ว่าเป็นการ "ขับไล่ชาวกาซาออกจากดินแดนของพวกเขาเอง" . "เรามองว่านี่คือสูตรสำเร็จที่จะสร้างความวุ่นวายและความตึงเครียดขึ้นในภูมิภาค เพราะชาวกาซาจะไม่มีวันยอมให้แผนการเช่นนี้เกิดขึ้น" เขากล่าว . การที่ ทรัมป์ เลือกให้ เนทันยาฮู เป็นผู้นำต่างชาติรายแรกที่ได้มาพบเขาที่ทำเนียบขาวหลังสาบานตนเป็นผู้นำสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 20 ม.ค. ถูกมองว่าเป็นความพยายามโชว์ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นระหว่างตนกับผู้นำยิว ตามหลังช่วงเวลาอันระหองระแหงระหว่าง เนทันยาฮู กับ ไบเดน สืบเนื่องจากสงครามในกาซา . อย่างไรก็ตาม เนทันยาฮู ก็อาจจะเป็นฝ่ายถูก ทรัมป์ กดดันเข้าบ้างในอนาคต เนื่องจากเป้าหมายเชิงนโยบายตะวันออกกลางในภาพรวมของผู้นำอเมริกันที่คาดเดาได้ยากรายนี้บางครั้งก็ไม่ได้ตรงกับผลประโยชน์ภายในประเทศและผลประโยชน์ด้านภูมิรัฐศาสตร์สำหรับ เนทันยาฮู เสมอไป . ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก ทรัมป์ เคยหยิบยื่นชัยชนะให้แก่ เนทันยาฮู หลายครั้ง ตั้งแต่การย้ายสถานทูตอเมริกันจากกรุงเทลอาวีฟไปยังนครเยรูซาเลม เรื่อยไปจนถึงการทำข้อตกลงอบราฮัมที่ช่วยให้รัฐอาหรับหลายชาติยอมสถาปนาความสัมพันธ์การทูตกับอิสราเอล . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011557 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    Sad
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1253 มุมมอง 0 รีวิว
  • เนทันยาฮูกำลังออกเดินทางไปวอชิงตัน โดยกล่าวว่าการประชุมกับทรัมป์เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับความมั่นคงของอิสราเอลและตะวันออกกลาง

    การหารือจะเน้นที่การเอาชนะฮามาส การปล่อยตัวตัวประกัน และการต่อต้านอิหร่าน
    เนทันยาฮูกำลังออกเดินทางไปวอชิงตัน โดยกล่าวว่าการประชุมกับทรัมป์เป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับความมั่นคงของอิสราเอลและตะวันออกกลาง การหารือจะเน้นที่การเอาชนะฮามาส การปล่อยตัวตัวประกัน และการต่อต้านอิหร่าน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล จะเริ่มต้นเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ระหว่างเดินทางเยือนวอชิงตันในวันจันทร์ (3 ก.พ.) จากการเปิดเผยของทำเนียบนายกรัฐมนตรียิว
    .
    ทำเนียบนายกรัฐมนตรีอิสราเอลของเนทันยาฮู เผยแพร่ถ้อยแถลงในวันเสาร์ (1 ก.พ.) ระบุว่านายกรัฐมนตรี "ได้พูดคุยกับ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษตะวันด้านตะวันออกกลางของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และทั้ง 2 เห็นพ้องกันว่าการเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงตัวประกันจะเริ่มขึ้นตอนที่พวกเขาพบปะกันในวอชิงตัน ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้"
    .
    "จากนั้นในช่วงกลางสัปดาห์ วิตคอฟฟ์จะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีกาตาร์ และตัวแทนระดับสูงของอียิปต์ หลังจากนั้น เขาะหารือกับนายกรัฐมนตีรี เกี่ยวกับก้าวย่างเพื่อสานต่อความคืบหน้าของการเจรจา ในนั้นรวมถึงกำหนดวันเวลาที่พวกคณะผู้แทนเจรจาจะออกเดินทางเพื่อไปเจรจา" ถ้อยแถลงระบุ
    .
    ข้อตกลงหยุดยิงในกาซามีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา พักการทำศึกสงครามในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน หลังจากที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ พวกคนกลางอย่างอียิปต์ กาตาร์ และสหรัฐฯ ใช้ความพยายามเจรจามานานกว่า 1 ปี แต่ไร้ผล
    .
    ภายใต้ข้อตกลงขั้นแรกที่มีอายุ 6 สัปดาห์ จะมีการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลที่พวกฮามาสจับกุมตัวไประหว่างปฏิบัติการโจมตีเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ออกจากกาซา จำนวน 33 คน แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ราว 1,900 คน
    .
    จนถึงตอนนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันกับนักโทษไปแล้ว 4 รอบ ซึ่งพบเห็นตัวประกันอิสราเอล 13 คน ได้รับการปล่อยตัวแลกกับผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคน จำนวนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก นอกจากนี้ ตัวประกันชาวไทย 5 คนก็ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน
    .
    ส่วนขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าจะครอบคลุมการปล่อยพวกผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ ที่เหลือ และอาจรวมถึงการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงที่ยั่งยืนกว่าเดิม
    .
    ทำเนียบของเนทันยาฮู เผยว่าในวันจันทร์ (3 ก.พ.) นายกรัฐมนตรีจะหารือเกี่ยวกับ "จุดยืนต่างๆ ของอิสราเอล" กับ วิตคอฟฟ์ เสียก่อน จากนั้นคาดหมายว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ผู้อ้างเครดิตสำหรับข้อตกลงหยุดยิง จะเป็นเจ้าภาพต้อนรับ เนทันยาฮู ในวันอังคาร (4 ก.พ.)
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010547
    ..................
    Sondhi X
    เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล จะเริ่มต้นเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิงในกาซา ระหว่างเดินทางเยือนวอชิงตันในวันจันทร์ (3 ก.พ.) จากการเปิดเผยของทำเนียบนายกรัฐมนตรียิว . ทำเนียบนายกรัฐมนตรีอิสราเอลของเนทันยาฮู เผยแพร่ถ้อยแถลงในวันเสาร์ (1 ก.พ.) ระบุว่านายกรัฐมนตรี "ได้พูดคุยกับ สตีฟ วิตคอฟฟ์ ทูตพิเศษตะวันด้านตะวันออกกลางของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และทั้ง 2 เห็นพ้องกันว่าการเจรจาขั้นที่ 2 ของข้อตกลงตัวประกันจะเริ่มขึ้นตอนที่พวกเขาพบปะกันในวอชิงตัน ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้" . "จากนั้นในช่วงกลางสัปดาห์ วิตคอฟฟ์จะพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีกาตาร์ และตัวแทนระดับสูงของอียิปต์ หลังจากนั้น เขาะหารือกับนายกรัฐมนตีรี เกี่ยวกับก้าวย่างเพื่อสานต่อความคืบหน้าของการเจรจา ในนั้นรวมถึงกำหนดวันเวลาที่พวกคณะผู้แทนเจรจาจะออกเดินทางเพื่อไปเจรจา" ถ้อยแถลงระบุ . ข้อตกลงหยุดยิงในกาซามีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 มกราคมที่ผ่านมา พักการทำศึกสงครามในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ลากยาวมานานกว่า 15 เดือน หลังจากที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ พวกคนกลางอย่างอียิปต์ กาตาร์ และสหรัฐฯ ใช้ความพยายามเจรจามานานกว่า 1 ปี แต่ไร้ผล . ภายใต้ข้อตกลงขั้นแรกที่มีอายุ 6 สัปดาห์ จะมีการปล่อยตัวประกันชาวอิสราเอลที่พวกฮามาสจับกุมตัวไประหว่างปฏิบัติการโจมตีเมื่อเดือนตุลาคม 2023 ออกจากกาซา จำนวน 33 คน แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ราว 1,900 คน . จนถึงตอนนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันกับนักโทษไปแล้ว 4 รอบ ซึ่งพบเห็นตัวประกันอิสราเอล 13 คน ได้รับการปล่อยตัวแลกกับผู้ต้องขังชาวปาเลสไตน์หลายร้อยคน จำนวนมากเป็นผู้หญิงและเด็ก นอกจากนี้ ตัวประกันชาวไทย 5 คนก็ได้รับการปล่อยตัวเช่นกัน . ส่วนขั้นที่ 2 ของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าจะครอบคลุมการปล่อยพวกผู้ถูกควบคุมตัวคนอื่นๆ ที่เหลือ และอาจรวมถึงการพูดคุยหารือเกี่ยวกับการหยุดยิงที่ยั่งยืนกว่าเดิม . ทำเนียบของเนทันยาฮู เผยว่าในวันจันทร์ (3 ก.พ.) นายกรัฐมนตรีจะหารือเกี่ยวกับ "จุดยืนต่างๆ ของอิสราเอล" กับ วิตคอฟฟ์ เสียก่อน จากนั้นคาดหมายว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ผู้อ้างเครดิตสำหรับข้อตกลงหยุดยิง จะเป็นเจ้าภาพต้อนรับ เนทันยาฮู ในวันอังคาร (4 ก.พ.) . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010547 .................. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    16
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1206 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสปล่อยตัวประกันอีกครั้งในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ จำนวน 3 ราย แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 2 ราย และชาวอิสราเอลสัญชาติอเมริกันอีก 1 ราย

    ตัวประกันชาวอิสราเอลสองรายแรก คือ ยาร์เดน บิบาส (Yarden Bibas) และโอเฟอร์ คัลเดรอน (Ofer Kalderon) ถูกปล่อยตัวให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลก่อน และได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลเรียบร้อยแล้ว

    คีธ ซีเกล (Keith Siegel) ได้รับการปล่อยตัวเป็นรายล่าสุด (วิดีโอ1)

    อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์กว่า 180 คน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
    ฮามาสปล่อยตัวประกันอีกครั้งในวันนี้ซึ่งเป็นครั้งที่สี่ จำนวน 3 ราย แบ่งเป็นชาวอิสราเอล 2 ราย และชาวอิสราเอลสัญชาติอเมริกันอีก 1 ราย ตัวประกันชาวอิสราเอลสองรายแรก คือ ยาร์เดน บิบาส (Yarden Bibas) และโอเฟอร์ คัลเดรอน (Ofer Kalderon) ถูกปล่อยตัวให้กับเจ้าหน้าที่กาชาดสากลก่อน และได้ข้ามพรมแดนเข้าสู่อิสราเอลเรียบร้อยแล้ว คีธ ซีเกล (Keith Siegel) ได้รับการปล่อยตัวเป็นรายล่าสุด (วิดีโอ1) อิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษชาวปาเลสไตน์กว่า 180 คน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนในช่วงบ่ายวันนี้เช่นกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 181 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพขบวนรถของหน่วยกาชาดสากลกำลังเข้าสู่ใจกลางเมืองคาน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ซึ่งได้รับรายงานว่าจะเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนตัวประกันชาวอิสราเอล 2 ราย รวมทั้งชาวไทยอีก 5 ราย

    สำหรับชาวไทยทั้ง 5 รายนั้น ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นจากอิสราเอลและฮามาส
    ภาพขบวนรถของหน่วยกาชาดสากลกำลังเข้าสู่ใจกลางเมืองคาน ยูนิส ทางใต้ของกาซา ซึ่งได้รับรายงานว่าจะเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนตัวประกันชาวอิสราเอล 2 ราย รวมทั้งชาวไทยอีก 5 ราย สำหรับชาวไทยทั้ง 5 รายนั้น ได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีการแลกเปลี่ยนเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้นจากอิสราเอลและฮามาส
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 231 มุมมอง 0 รีวิว
  • ช่วงเวลาการแลกเปลี่ยนตัวประกันในกาซากำลังจะเริ่มขึ้น

    เบื้องต้นหน่วยรบอัลกัสซัมของฮามาส จะเป็นผู้นำในการส่งมอบและแลกเปลี่ยนในพื้นที่จาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา
    ช่วงเวลาการแลกเปลี่ยนตัวประกันในกาซากำลังจะเริ่มขึ้น เบื้องต้นหน่วยรบอัลกัสซัมของฮามาส จะเป็นผู้นำในการส่งมอบและแลกเปลี่ยนในพื้นที่จาบาเลีย ทางตอนเหนือของกาซา
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 162 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามใน "คำสั่งฝ่ายบริหาร" ที่สั่งให้หน่วยงานต่างๆ ปราบปรามการต่อต้านชาวยิวเพื่อตอบสนองต่อการประท้วงสงครามในฉนวนกาซา

    คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องรายงานพฤติกรรมนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ต่างชาติที่แสดงความเห็นต่อต้านชาวยิว รวมถึงแสดงความเห็นใจและสนับสนุนต่อกลุ่มฮามาส และต้องแน่ใจว่าการรายงานดังกล่าวจะสามารถนำไปสู่การสืบสวนและการเนรเทศเมื่อจำเป็น

    ทรัมป์ให้คำมั่นว่าจะบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ อย่างแข็งกร้าว โดยอ้างถึงความล้มเหลวในการปกป้องนักศึกษาชาวยิวหลังวันที่ 7 ตุลาคม และสั่งให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ทุกวิถีทางทางกฎหมายเพื่อปราบปรามการต่อต้านชาวยิว
    ประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามใน "คำสั่งฝ่ายบริหาร" ที่สั่งให้หน่วยงานต่างๆ ปราบปรามการต่อต้านชาวยิวเพื่อตอบสนองต่อการประท้วงสงครามในฉนวนกาซา คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้มหาวิทยาลัยต้องรายงานพฤติกรรมนักศึกษาและเจ้าหน้าที่ต่างชาติที่แสดงความเห็นต่อต้านชาวยิว รวมถึงแสดงความเห็นใจและสนับสนุนต่อกลุ่มฮามาส และต้องแน่ใจว่าการรายงานดังกล่าวจะสามารถนำไปสู่การสืบสวนและการเนรเทศเมื่อจำเป็น ทรัมป์ให้คำมั่นว่าจะบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ อย่างแข็งกร้าว โดยอ้างถึงความล้มเหลวในการปกป้องนักศึกษาชาวยิวหลังวันที่ 7 ตุลาคม และสั่งให้หน่วยงานต่างๆ ใช้ทุกวิถีทางทางกฎหมายเพื่อปราบปรามการต่อต้านชาวยิว
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 223 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฮามาสจะปล่อยตัวประกัน 8 ราย ประกอบด้วยชาวอิสราเอล 3 คน และคนไทย 5 ราย หลังถูกกักขังในกาซานานกว่า 1 ปี จากการเปิดเผยของรัฐบาลอิสราเอล ในขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงยึดถือข้อตกลงหยุดยิงอันเปราะบางเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว
    .
    เจ้าหน้าที่อิสราเอล ระบุว่าตัวประกันอิสราเอลที่จะได้รับการปล่อยตัวประกอบด้วย กาดี โมเซส วัย 80ปี, อาร์เบล เยฮุด วัย 29 ปี และอากัม เบอร์เกอร์ วัย 20 ปี ในขณะที่ฮามาสก็ยืนยันเกี่ยวกับการปล่อยตัวชาวอิสราเอลทั้ง 3 รายเช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้งอิสราเอลและฮามาส ไม่ได้เปิดเผยชื่อพลเมืองไทย 5 คน ที่จะได้รับการปล่อยตัวออกมา
    .
    ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าอิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์มากกว่า 100 คน แลกกับตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) ในนั้นรวมถึงพวกที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต โทษฐานเกี่ยวกับกับเหตุโจมตีนองเลือดเล่นงานชาวอิสราเอล
    .
    การปล่อยตัวครั้งนี้ ถือเป็นหนที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่อิสราเอลและฮามาสปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง 6 สัปดาห์ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงหลายขั้นที่พวกคนกลางการเจรจาหวังว่าจะนำมาซึ่งการยุติสงครามในกาซา ในขณะที่มีผู้คนมากกว่า 45,000 นาย ที่ต้องเสียชีวิตในฉนวนแห่งนี้ ระหว่างปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลเล่นงานแก้แค้นพวกฮามาส
    .
    ระหว่างการหยุดยิงเบื้องต้น 42 วัน ฮามาส รับปากว่าจะปล่อยตัวประกันอย่างน้อย 33 คน จาก 97 คนที่เหลืออยู่ในกาซา แลกกับการที่อิสราเอลถอนกำลังบางส่วนและปล่อยชาวปาเลสไตน์กว่า 1,500 คน ที่ถูกจองจำโดยอิสราเอล ภายใต้ข้อตกลงนี้ มีการเสนอให้ปล่อยตัวนางสาวเยฮุด หนึ่งในตัวประกันหญิงคนท้ายๆที่ยังมีชีวิตอยู่ ในสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    แต่หลังจากที่เธอไม่ได้รับการปล่อยตัวในตอนนั้น อิสราเอลตอบโต้ด้วยการเลื่อนไม่เปิดเส้นทางผ่านให้พวกชาวปาเลสไตน์ผู้ไร้ถิ่นฐานหลายแสนคนเดินทางกลับสู่มาตุภูมิทางเหนือของกาซา ตามเงื่อนไขของข้อตกลง ก่อนสุดท้ายกองทัพอิสราเอลจะยอมเปิดทาง หลังบรรดาชาติคนกลางแถลงในวันอาทิตย์(25ม.ค. )ว่าพวกเขาได้รับคำสัญญาแล้วว่านางสาวเยฮุด จะได้รับการปล่อยตัว
    .
    ตัวประกันทั้ง 8 คน ที่ได้รับคาดหมายว่าจะได้รับการปล่อยตัวเป็นกลุ่มถัดไป ทั้งหมดถูกลักพาตัวระหว่างที่พวกฮามาสปฏิบัติการจู่โจมสายฟ้าแลบเล่นงานทางใต้ของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม มีผู้เสียชีวิตราวๆ 1,200 คน ในเหตุจู่โจมดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนและอีก 250 คน ถูกจับเป็นตัวประกัน
    .
    มูซา อาบู มาร์ซูค เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส ยืนยันระหว่างให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับนิวยอร์กไทม์ส ว่าแรงงานไทย 5 คนจะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) พร้อมเผยว่าคนงานไทยเหล่านี้ถูกควบคุมตัวโดยกลุ่มญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ (Palestinian Islamic Jihad) อ้างถึงกลุ่มนักรบเล็กๆในกาซา ที่ใกล้ชิดกับฮามาส แต่มีความแตกต่างกันทั้งเชิงกลยุทธ์และอุดมการณ์
    .
    นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอิสราเอล ยืนยันเช่นกันว่าตัวประกันคนไทย 5 คน จากทั้งหมด 8 คน จะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) แต่ไม่ชัดเจนว่าผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้นมีใครบ้าง
    .
    รายงานของนิวยอร์กไทม์อ้างคำกล่าวของนางสาวพรรณนภา ระบุด้วยว่ายังมีตัวประกันไทยอยู่ในกาซาอีก 8 ราย แบ่งเป็นยังมีชีวิตอยู่ 6 รายและเสียชีวิตแล้ว 2 คน ทั้งหมดอายุระหว่าง 28 ปี ถึง 42 ปี โดยทั้งหมดเป็นแรงงานภาคการเกษตร ณ ฟาร์ม 4 แห่งใกล้ชายแดนกาซา และถูกลักพาตัวระหว่างการโจมตีที่นำโดยพวกฮามาสในเดือนตุลาคม 2023
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009508
    ..............
    Sondhi X
    ฮามาสจะปล่อยตัวประกัน 8 ราย ประกอบด้วยชาวอิสราเอล 3 คน และคนไทย 5 ราย หลังถูกกักขังในกาซานานกว่า 1 ปี จากการเปิดเผยของรัฐบาลอิสราเอล ในขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงยึดถือข้อตกลงหยุดยิงอันเปราะบางเข้าสู่สัปดาห์ที่ 2 แล้ว . เจ้าหน้าที่อิสราเอล ระบุว่าตัวประกันอิสราเอลที่จะได้รับการปล่อยตัวประกอบด้วย กาดี โมเซส วัย 80ปี, อาร์เบล เยฮุด วัย 29 ปี และอากัม เบอร์เกอร์ วัย 20 ปี ในขณะที่ฮามาสก็ยืนยันเกี่ยวกับการปล่อยตัวชาวอิสราเอลทั้ง 3 รายเช่นกัน อย่างไรก็ตามทั้งอิสราเอลและฮามาส ไม่ได้เปิดเผยชื่อพลเมืองไทย 5 คน ที่จะได้รับการปล่อยตัวออกมา . ภายใต้เงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิง คาดหมายว่าอิสราเอลจะปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์มากกว่า 100 คน แลกกับตัวประกันที่ได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) ในนั้นรวมถึงพวกที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต โทษฐานเกี่ยวกับกับเหตุโจมตีนองเลือดเล่นงานชาวอิสราเอล . การปล่อยตัวครั้งนี้ ถือเป็นหนที่ 3 แล้ว นับตั้งแต่อิสราเอลและฮามาสปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง 6 สัปดาห์ ส่วนหนึ่งในข้อตกลงหลายขั้นที่พวกคนกลางการเจรจาหวังว่าจะนำมาซึ่งการยุติสงครามในกาซา ในขณะที่มีผู้คนมากกว่า 45,000 นาย ที่ต้องเสียชีวิตในฉนวนแห่งนี้ ระหว่างปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลเล่นงานแก้แค้นพวกฮามาส . ระหว่างการหยุดยิงเบื้องต้น 42 วัน ฮามาส รับปากว่าจะปล่อยตัวประกันอย่างน้อย 33 คน จาก 97 คนที่เหลืออยู่ในกาซา แลกกับการที่อิสราเอลถอนกำลังบางส่วนและปล่อยชาวปาเลสไตน์กว่า 1,500 คน ที่ถูกจองจำโดยอิสราเอล ภายใต้ข้อตกลงนี้ มีการเสนอให้ปล่อยตัวนางสาวเยฮุด หนึ่งในตัวประกันหญิงคนท้ายๆที่ยังมีชีวิตอยู่ ในสัปดาห์ที่แล้ว . แต่หลังจากที่เธอไม่ได้รับการปล่อยตัวในตอนนั้น อิสราเอลตอบโต้ด้วยการเลื่อนไม่เปิดเส้นทางผ่านให้พวกชาวปาเลสไตน์ผู้ไร้ถิ่นฐานหลายแสนคนเดินทางกลับสู่มาตุภูมิทางเหนือของกาซา ตามเงื่อนไขของข้อตกลง ก่อนสุดท้ายกองทัพอิสราเอลจะยอมเปิดทาง หลังบรรดาชาติคนกลางแถลงในวันอาทิตย์(25ม.ค. )ว่าพวกเขาได้รับคำสัญญาแล้วว่านางสาวเยฮุด จะได้รับการปล่อยตัว . ตัวประกันทั้ง 8 คน ที่ได้รับคาดหมายว่าจะได้รับการปล่อยตัวเป็นกลุ่มถัดไป ทั้งหมดถูกลักพาตัวระหว่างที่พวกฮามาสปฏิบัติการจู่โจมสายฟ้าแลบเล่นงานทางใต้ของอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2023 อันเป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม มีผู้เสียชีวิตราวๆ 1,200 คน ในเหตุจู่โจมดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนและอีก 250 คน ถูกจับเป็นตัวประกัน . มูซา อาบู มาร์ซูค เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฮามาส ยืนยันระหว่างให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับนิวยอร์กไทม์ส ว่าแรงงานไทย 5 คนจะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) พร้อมเผยว่าคนงานไทยเหล่านี้ถูกควบคุมตัวโดยกลุ่มญิฮาดอิสลามปาเลสไตน์ (Palestinian Islamic Jihad) อ้างถึงกลุ่มนักรบเล็กๆในกาซา ที่ใกล้ชิดกับฮามาส แต่มีความแตกต่างกันทั้งเชิงกลยุทธ์และอุดมการณ์ . นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูตไทยประจำอิสราเอล ยืนยันเช่นกันว่าตัวประกันคนไทย 5 คน จากทั้งหมด 8 คน จะได้รับการปล่อยตัวในวันพฤหัสบดี(30ม.ค.) แต่ไม่ชัดเจนว่าผู้ที่ได้รับการปล่อยตัวนั้นมีใครบ้าง . รายงานของนิวยอร์กไทม์อ้างคำกล่าวของนางสาวพรรณนภา ระบุด้วยว่ายังมีตัวประกันไทยอยู่ในกาซาอีก 8 ราย แบ่งเป็นยังมีชีวิตอยู่ 6 รายและเสียชีวิตแล้ว 2 คน ทั้งหมดอายุระหว่าง 28 ปี ถึง 42 ปี โดยทั้งหมดเป็นแรงงานภาคการเกษตร ณ ฟาร์ม 4 แห่งใกล้ชายแดนกาซา และถูกลักพาตัวระหว่างการโจมตีที่นำโดยพวกฮามาสในเดือนตุลาคม 2023 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009508 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Yay
    20
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2068 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์สั่งตรวจสอบเพื่อหาทางกำหนดบทลงโทษ และเนรเทศ ลัทธิต่อต้านชาวยิว รวมถึงนักศึกษาที่ถือวีซ่า

    คาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารในวันพุธ เพื่อสั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางทั้งหมดระบุหน่วยงานแพ่งและอาญาที่มีอยู่ ปราบปรามการต่อต้านชาวยิว รวมถึงหาวิธีเนรเทศนักเคลื่อนไหวต่อต้านชาวยิวที่ละเมิดกฎหมาย

    คาดว่าคำสั่งดังกล่าว จะกำหนดให้ผู้นำหน่วยงานและกระทรวงต่างๆ จัดเตรียมคำแนะนำให้กับทำเนียบขาวภายใน 60 วัน และระบุแผนในการสืบสวนการพ่นสีและการข่มขู่ที่สนับสนุนกลุ่มฮามาส รวมถึงในมหาวิทยาลัย
    ทรัมป์สั่งตรวจสอบเพื่อหาทางกำหนดบทลงโทษ และเนรเทศ ลัทธิต่อต้านชาวยิว รวมถึงนักศึกษาที่ถือวีซ่า คาดว่าประธานาธิบดีทรัมป์จะลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารในวันพุธ เพื่อสั่งให้หน่วยงานของรัฐบาลกลางทั้งหมดระบุหน่วยงานแพ่งและอาญาที่มีอยู่ ปราบปรามการต่อต้านชาวยิว รวมถึงหาวิธีเนรเทศนักเคลื่อนไหวต่อต้านชาวยิวที่ละเมิดกฎหมาย คาดว่าคำสั่งดังกล่าว จะกำหนดให้ผู้นำหน่วยงานและกระทรวงต่างๆ จัดเตรียมคำแนะนำให้กับทำเนียบขาวภายใน 60 วัน และระบุแผนในการสืบสวนการพ่นสีและการข่มขู่ที่สนับสนุนกลุ่มฮามาส รวมถึงในมหาวิทยาลัย
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 218 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน หลั่งไหลกันเดินทางไปตามถนนสายหลัก เพื่อมุ่งหน้ากลับสู่ตอนเหนือของฉนวนกาซาแล้วเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) หลังจากกลุ่มฮามาสตกลงส่งมอบตัวประกันชาวอิสราเอลอีก 3 คนในช่วงต่อไปของสัปดาห์นี้ และกองทหารรัฐยิวก็เริ่มถอนกำลังออกจากการปิดกั้นช่องทางซึ่งสกัดไม่ให้ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ได้เดินทาง
    .
    ประชาชนจำนวนมากมาย บางคนอุ้มทารกเอาไว้ในอ้อมแขน หรือไม่แบกสมบัติข้าวของที่ยังเหลืออยู่เอาไว้บนบ่า มุ่งหน้าเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปตามถนนสายที่ทอดยาวเลียบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    .
    “มันเหมือนกับฉันเกิดใหม่ขึ้นครั้ง และเราได้รับชัยชนะอีกครั้ง” เป็นคำกล่าวของ อุมม์ โมฮัมเหม็ด อาลี คุณแม่ชาวปาเลสไตน์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนซึ่งเดินตามกันไปอย่างช้าๆ เป็นแถวยาวเหยียดหลายกิโลเมตรบนถนนเลียบทะเลสายดังกล่าว
    .
    พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ชาวบ้านคนแรกเดินมาถึงเมืองกาซาซิตี้ในตอนเช้าตรู่ หลังจากจุดข้ามจากตอนใต้ของกาซา เปิดขึ้นเมื่อเวลา 7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเที่ยงวัน เวลาเมืองไทย) สำหรับจุดข้ามอีกจุดหนึ่งเปิดขึ้นในอีก 3 ชั่วโมงถัดมา โดยเป็นทางสำหรับยวดยานต่างๆ
    .
    “หัวใจผมกำลังเต้นแรง ผมคิดว่าผมจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว” เป็นคำพูดของ โอซามา วัย 50 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและเป็นคุณพ่อของลูก 5 คน ขณะที่เขาเดินทางถึงกาซาซิตี้ “ไม่ว่าการหยุดยิงนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เราก็จะไม่ยอมออกจากกาซาซิตี้และทางตอนเหนือนี่อีกแล้ว ถึงแม้อิสราเอลจะส่งรถถังมาเล่นงานพวกเราแต่ละคนก็ตาม ไม่มีการพลัดถิ่นที่อยู่กันอีกแล้ว”
    .
    หลังจากถูกสั่งให้ออกจากที่พำนักชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลา 15 เดือนของสงครามครั้งนี้ ก็มีเสียงเชียร์เสียงโห่ร้องยินดีปะทุขึ้นจากที่พักพิงหลบภัยและเต็นท์ค่ายพักต่างๆ เมื่อครอบครัวชาวปาเลสไตน์ได้ยินข่าวที่ว่าจุดข้ามจะเปิดให้เดินทางผ่านแล้ว
    .
    “นอนไม่หลับเลย ฉันเก็บข้าวของทุกอย่างและพร้อมเดินทางตั้งแต่แสงตะวันแรกของวันแล้ว” เป็นคำกล่าวของ กอดา คุณแม่ลูก 5 “อย่างน้อยที่สุดเราก็กำลังจะกลับบ้าน ตอนนี้ฉันพูดได้แล้วว่าสงครามยุติแล้ว และฉันหวังว่ามันจะอยู่ในความสงบต่อไปอีก” เธอบอกกับรอยเตอร์ผ่านแอปแชต
    .
    ทั้งพวกเจ้าหน้าที่ฮามาสและชาวกาซาที่เป็นประชาชนธรรมดา ต่างปฏิเสธไม่เอาด้วยกับคำแนะนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้จอร์แดนและอียิปต์ รับชาวปาเลไสตน์จากดินแดนที่พินาศยับเยินจากสงครามแห่งนี้ อพยพเข้าไปพำนักอาศัยให้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังเป็นการกระตุ้นความหวาดกลัวซึ่งมีมายาวนานของชาวปาเลสไตน์ที่ว่า พวกเขากำลังจะถูกผลักไสให้ออกจากบ้านของพวกเขาไปตลอดกาล
    .
    ตามเงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิงที่กระทำกันคราวนี้ ผู้ที่พำนักอาศัยในตอนเหนือกาซา จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ท่ผ่านมา ทว่าในวันอาทิตย์ (26 ) อิสราเอลขัดขวางเรื่องนี้ โดยกล่าวหาฮามาสละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง
    .
    อย่างไรก็ดี ถึงตอนค่ำวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า สามารถตกลงกับฮามาสได้แล้ว โดยฮามาสจะปล่อย อาร์เบล เยฮุด ตัวประกันที่เป็นพลเรือนหญิงที่เดิมคาดว่า จะได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับตัวประกันอีก 3 คนในวันพฤหัสฯ (30) และปล่อยเพิ่มอีก 3 คนในวันเสาร์ (1 ก.พ.)
    .
    คำแถลงยังระบุว่า อิสราเอลจะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เดินทางได้ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ซึ่งฮามาสระบุว่าเป็น “ชัยชนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ และสัญญาณความล้มเหลวของแผนการยึดครองและบังคับย้ายถิ่นฐาน”
    .
    สำหรับคำแนะนำของทรัมป์นั้น อยู่ในลักษณะของการที่เขาเสนอไอเดียกับพวกผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางบนเครื่องบินประจำตำแหน่งแอร์ฟอร์ซ วัน เมื่อวันเสาร์ (25) ว่า จอร์แดนและอียิปต์ ควรอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ราว 2.4 ล้านคนจากกาซาที่พังพินาศจากสงครามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นเสียชีวิตและนำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมเลวร้าย
    .
    ประมุขทำเนียบขาวเสริมว่า จะดึงชาติอาหรับบางชาติเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างที่พักอาศัยเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ก่อนสำทับว่า แนวทางนี้อาจเป็นได้ทั้งแนวทางชั่วคราวหรือถาวร
    .
    ปัจจุบัน จอร์แดนรองรับชาวปาเลสไตน์หลายล้านคนอยู่แล้ว ขณะที่มีชาวปาเลสไตน์อีกหลายหมื่นคนอาศัยอยู่ในอียิปต์ อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศรวมถึงชาติอาหรับอื่นๆ ต่างปฏิเสธแนวคิดในการย้ายชาวปาเลสไตน์จากฉนวนกาซาไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ก็ต้องการให้กาซาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต
    .
    ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ทางด้าน เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังอิสราเอลที่สังกัดพรรคขวาจัด บอกว่า “การคิดนอกกรอบ” เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้จริง และกล่าวยกย่องข้อเสนอของทรัมป์เป็น “ไอเดียเยี่ยมยอด” ซึ่งจะทำให้ชาวปาเลสไตน์มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นในประเทศอื่น พร้อมเสริมว่า จะวางแผนเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้
    .
    สำหรับ ฟรานเชสกา อัลบานีส ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหนก็ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และไร้ความรับผิดชอบ
    .
    บาเซม นาอิม สมาชิกกลุ่มการเมืองของฮามาส ยืนกรานว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่มีวันยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ที่ดูเหมือนเจตนาดีภายใต้ข้ออ้างในการฟื้นฟูกาซา ขณะที่ซามี อาบู ซูฮ์รี เจ้าหน้าที่อีกคน เรียกร้องทรัมป์ไม่ให้เสนอไอเดียผิดพลาดแบบที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยพยายามมาก่อน
    .
    สันนิบาตอาหรับคัดค้านไอเดียของทรัมป์เช่นเดียวกัน โดยเตือนว่า ความพยายามบังคับให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากถิ่นฐานเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์
    .
    อัยมาน ซาฟาดี รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดน รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ ยืนยันจุดยืนในการต่อต้านการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไม่ว่าระยะยาวหรือระยะสั้น
    .
    ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ประณามไอเดียของทรัมป์ และประกาศว่า ชาวปาเลสไตน์จะไม่ยอมทิ้งบ้านเกิดอย่างแน่นอน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008688
    ..............
    Sondhi X
    ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน หลั่งไหลกันเดินทางไปตามถนนสายหลัก เพื่อมุ่งหน้ากลับสู่ตอนเหนือของฉนวนกาซาแล้วเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) หลังจากกลุ่มฮามาสตกลงส่งมอบตัวประกันชาวอิสราเอลอีก 3 คนในช่วงต่อไปของสัปดาห์นี้ และกองทหารรัฐยิวก็เริ่มถอนกำลังออกจากการปิดกั้นช่องทางซึ่งสกัดไม่ให้ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ได้เดินทาง . ประชาชนจำนวนมากมาย บางคนอุ้มทารกเอาไว้ในอ้อมแขน หรือไม่แบกสมบัติข้าวของที่ยังเหลืออยู่เอาไว้บนบ่า มุ่งหน้าเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปตามถนนสายที่ทอดยาวเลียบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน . “มันเหมือนกับฉันเกิดใหม่ขึ้นครั้ง และเราได้รับชัยชนะอีกครั้ง” เป็นคำกล่าวของ อุมม์ โมฮัมเหม็ด อาลี คุณแม่ชาวปาเลสไตน์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนซึ่งเดินตามกันไปอย่างช้าๆ เป็นแถวยาวเหยียดหลายกิโลเมตรบนถนนเลียบทะเลสายดังกล่าว . พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ชาวบ้านคนแรกเดินมาถึงเมืองกาซาซิตี้ในตอนเช้าตรู่ หลังจากจุดข้ามจากตอนใต้ของกาซา เปิดขึ้นเมื่อเวลา 7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเที่ยงวัน เวลาเมืองไทย) สำหรับจุดข้ามอีกจุดหนึ่งเปิดขึ้นในอีก 3 ชั่วโมงถัดมา โดยเป็นทางสำหรับยวดยานต่างๆ . “หัวใจผมกำลังเต้นแรง ผมคิดว่าผมจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว” เป็นคำพูดของ โอซามา วัย 50 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและเป็นคุณพ่อของลูก 5 คน ขณะที่เขาเดินทางถึงกาซาซิตี้ “ไม่ว่าการหยุดยิงนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เราก็จะไม่ยอมออกจากกาซาซิตี้และทางตอนเหนือนี่อีกแล้ว ถึงแม้อิสราเอลจะส่งรถถังมาเล่นงานพวกเราแต่ละคนก็ตาม ไม่มีการพลัดถิ่นที่อยู่กันอีกแล้ว” . หลังจากถูกสั่งให้ออกจากที่พำนักชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลา 15 เดือนของสงครามครั้งนี้ ก็มีเสียงเชียร์เสียงโห่ร้องยินดีปะทุขึ้นจากที่พักพิงหลบภัยและเต็นท์ค่ายพักต่างๆ เมื่อครอบครัวชาวปาเลสไตน์ได้ยินข่าวที่ว่าจุดข้ามจะเปิดให้เดินทางผ่านแล้ว . “นอนไม่หลับเลย ฉันเก็บข้าวของทุกอย่างและพร้อมเดินทางตั้งแต่แสงตะวันแรกของวันแล้ว” เป็นคำกล่าวของ กอดา คุณแม่ลูก 5 “อย่างน้อยที่สุดเราก็กำลังจะกลับบ้าน ตอนนี้ฉันพูดได้แล้วว่าสงครามยุติแล้ว และฉันหวังว่ามันจะอยู่ในความสงบต่อไปอีก” เธอบอกกับรอยเตอร์ผ่านแอปแชต . ทั้งพวกเจ้าหน้าที่ฮามาสและชาวกาซาที่เป็นประชาชนธรรมดา ต่างปฏิเสธไม่เอาด้วยกับคำแนะนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้จอร์แดนและอียิปต์ รับชาวปาเลไสตน์จากดินแดนที่พินาศยับเยินจากสงครามแห่งนี้ อพยพเข้าไปพำนักอาศัยให้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังเป็นการกระตุ้นความหวาดกลัวซึ่งมีมายาวนานของชาวปาเลสไตน์ที่ว่า พวกเขากำลังจะถูกผลักไสให้ออกจากบ้านของพวกเขาไปตลอดกาล . ตามเงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิงที่กระทำกันคราวนี้ ผู้ที่พำนักอาศัยในตอนเหนือกาซา จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ท่ผ่านมา ทว่าในวันอาทิตย์ (26 ) อิสราเอลขัดขวางเรื่องนี้ โดยกล่าวหาฮามาสละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง . อย่างไรก็ดี ถึงตอนค่ำวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า สามารถตกลงกับฮามาสได้แล้ว โดยฮามาสจะปล่อย อาร์เบล เยฮุด ตัวประกันที่เป็นพลเรือนหญิงที่เดิมคาดว่า จะได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับตัวประกันอีก 3 คนในวันพฤหัสฯ (30) และปล่อยเพิ่มอีก 3 คนในวันเสาร์ (1 ก.พ.) . คำแถลงยังระบุว่า อิสราเอลจะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เดินทางได้ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ซึ่งฮามาสระบุว่าเป็น “ชัยชนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ และสัญญาณความล้มเหลวของแผนการยึดครองและบังคับย้ายถิ่นฐาน” . สำหรับคำแนะนำของทรัมป์นั้น อยู่ในลักษณะของการที่เขาเสนอไอเดียกับพวกผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางบนเครื่องบินประจำตำแหน่งแอร์ฟอร์ซ วัน เมื่อวันเสาร์ (25) ว่า จอร์แดนและอียิปต์ ควรอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ราว 2.4 ล้านคนจากกาซาที่พังพินาศจากสงครามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นเสียชีวิตและนำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมเลวร้าย . ประมุขทำเนียบขาวเสริมว่า จะดึงชาติอาหรับบางชาติเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างที่พักอาศัยเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ก่อนสำทับว่า แนวทางนี้อาจเป็นได้ทั้งแนวทางชั่วคราวหรือถาวร . ปัจจุบัน จอร์แดนรองรับชาวปาเลสไตน์หลายล้านคนอยู่แล้ว ขณะที่มีชาวปาเลสไตน์อีกหลายหมื่นคนอาศัยอยู่ในอียิปต์ อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศรวมถึงชาติอาหรับอื่นๆ ต่างปฏิเสธแนวคิดในการย้ายชาวปาเลสไตน์จากฉนวนกาซาไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ก็ต้องการให้กาซาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต . ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ทางด้าน เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังอิสราเอลที่สังกัดพรรคขวาจัด บอกว่า “การคิดนอกกรอบ” เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้จริง และกล่าวยกย่องข้อเสนอของทรัมป์เป็น “ไอเดียเยี่ยมยอด” ซึ่งจะทำให้ชาวปาเลสไตน์มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นในประเทศอื่น พร้อมเสริมว่า จะวางแผนเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้ . สำหรับ ฟรานเชสกา อัลบานีส ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหนก็ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และไร้ความรับผิดชอบ . บาเซม นาอิม สมาชิกกลุ่มการเมืองของฮามาส ยืนกรานว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่มีวันยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ที่ดูเหมือนเจตนาดีภายใต้ข้ออ้างในการฟื้นฟูกาซา ขณะที่ซามี อาบู ซูฮ์รี เจ้าหน้าที่อีกคน เรียกร้องทรัมป์ไม่ให้เสนอไอเดียผิดพลาดแบบที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยพยายามมาก่อน . สันนิบาตอาหรับคัดค้านไอเดียของทรัมป์เช่นเดียวกัน โดยเตือนว่า ความพยายามบังคับให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากถิ่นฐานเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ . อัยมาน ซาฟาดี รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดน รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ ยืนยันจุดยืนในการต่อต้านการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไม่ว่าระยะยาวหรือระยะสั้น . ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ประณามไอเดียของทรัมป์ และประกาศว่า ชาวปาเลสไตน์จะไม่ยอมทิ้งบ้านเกิดอย่างแน่นอน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008688 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1183 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอิสราเอล "เบซาเลล สโมทริช" เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้ที่จะเข้าดำเนินการบุกยึดฉนวนกาซาอย่างเปบ็ดเสร็จเด็ดขาด แลำกำจัดฮามาสให้สิ้นซาก!

    “ตอนนี้เราต้องแต่งตั้งเสนาธิการฝ่ายรุกซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างชัดเจนและครบถ้วนโดยไม่ลังเลในภารกิจที่จะได้รับการกำหนดใหม่โดยผู้นำทางการเมือง นั่นคือการยึดครองฉนวนกาซาและป้องกันไม่ให้ฮามาสควบคุมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม”
    รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอิสราเอล "เบซาเลล สโมทริช" เรียกร้องให้มีการแต่งตั้งผู้ที่จะเข้าดำเนินการบุกยึดฉนวนกาซาอย่างเปบ็ดเสร็จเด็ดขาด แลำกำจัดฮามาสให้สิ้นซาก! “ตอนนี้เราต้องแต่งตั้งเสนาธิการฝ่ายรุกซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้อย่างชัดเจนและครบถ้วนโดยไม่ลังเลในภารกิจที่จะได้รับการกำหนดใหม่โดยผู้นำทางการเมือง นั่นคือการยึดครองฉนวนกาซาและป้องกันไม่ให้ฮามาสควบคุมความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม”
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 23 0 รีวิว
  • ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ทะยอยเดินทางกลับบ้านของตนเอง แม้ว่าปลายทางจะไม่มีแม้เศษซากของที่พักพวกเขา ซึ่งเป็นผลจากการทำลายอย่างบ้าคลั่งของกองกำลังอิสราเอล

    นักข่าวถามชาวปาเลสไตน์ที่กำลังอพยพกลับไปยังถิ่นฐานตนเองว่า สิ่งแรกที่พวกเขาจะทำเมื่อไปถึงคืออะไร

    ชาวปาเลสไตน์รายหนึ่งกล่าวว่า เขาจะก้มลงจูบพื้นดินและมองหาบ้านของตัวเอง ส่วนอีกคนหนึ่งกล่าวว่า จะตะโกนร้องด้วยความดีใจอย่างหนัก แท้มันจะไม่เหลืออะไรแล้ว จากนั้นจะกางเต็นท์บนซากปรักหักพังของบ้านของตนเอง

    ทางด้าน อิตามาร์ เบน-กวีร์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของอิสราเอล กล่าวว่า

    “นี่ไม่ใช่ชัยชนะของอิสราเอล แต่เป็นพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง การเปิดทางเดินเนทซาริม (Netzarim) เมื่อเช้านี้ และการที่ชาวกาซาหลายหมื่นคนเข้าไปในฉนวนกาซาทางตอนเหนือเป็นภาพแห่งชัยชนะของกลุ่มฮามาส และเป็นสิ่งที่น่าอับอายอีกส่วนหนึ่งของการยอมรับข้อตกลงหยุดยิง”
    ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ทะยอยเดินทางกลับบ้านของตนเอง แม้ว่าปลายทางจะไม่มีแม้เศษซากของที่พักพวกเขา ซึ่งเป็นผลจากการทำลายอย่างบ้าคลั่งของกองกำลังอิสราเอล นักข่าวถามชาวปาเลสไตน์ที่กำลังอพยพกลับไปยังถิ่นฐานตนเองว่า สิ่งแรกที่พวกเขาจะทำเมื่อไปถึงคืออะไร ชาวปาเลสไตน์รายหนึ่งกล่าวว่า เขาจะก้มลงจูบพื้นดินและมองหาบ้านของตัวเอง ส่วนอีกคนหนึ่งกล่าวว่า จะตะโกนร้องด้วยความดีใจอย่างหนัก แท้มันจะไม่เหลืออะไรแล้ว จากนั้นจะกางเต็นท์บนซากปรักหักพังของบ้านของตนเอง ทางด้าน อิตามาร์ เบน-กวีร์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของอิสราเอล กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่ชัยชนะของอิสราเอล แต่เป็นพ่ายแพ้อย่างสิ้นเชิง การเปิดทางเดินเนทซาริม (Netzarim) เมื่อเช้านี้ และการที่ชาวกาซาหลายหมื่นคนเข้าไปในฉนวนกาซาทางตอนเหนือเป็นภาพแห่งชัยชนะของกลุ่มฮามาส และเป็นสิ่งที่น่าอับอายอีกส่วนหนึ่งของการยอมรับข้อตกลงหยุดยิง”
    Like
    2
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 228 มุมมอง 0 รีวิว
  • ซามิ อาบู ซูห์รี (Sami Abu Zuhri) ผู้นำกลุ่มฮามาส ตอบโต้ทรัมป์กรณีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการย้ายชาวปาเลสไตน์ออกนอกกาซา

    "ชาวกาซาต้องทนทุกข์ทรมานจากความตายหลังจากพวกเขาถูกกดันให้ย้ายถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดเมืองนอน พวกเขาจะไม่จากไปไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด

    ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับโครงการต่างๆ เพราะไบเดนเคยพยายามทำมาหมดแล้ว และนั่นมีแต่จะทำให้ความขัดแย้งยืดเยื้อออกไปอีก

    การปฏิบัติตามและรักษาข้อตกลงก็เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาของกาซาได้แล้ว ส่วนความพยายามอื่นๆไม่มีค่าอะไรทั้งสิ้น"
    ซามิ อาบู ซูห์รี (Sami Abu Zuhri) ผู้นำกลุ่มฮามาส ตอบโต้ทรัมป์กรณีแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการย้ายชาวปาเลสไตน์ออกนอกกาซา "ชาวกาซาต้องทนทุกข์ทรมานจากความตายหลังจากพวกเขาถูกกดันให้ย้ายถิ่นฐานออกจากบ้านเกิดเมืองนอน พวกเขาจะไม่จากไปไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับโครงการต่างๆ เพราะไบเดนเคยพยายามทำมาหมดแล้ว และนั่นมีแต่จะทำให้ความขัดแย้งยืดเยื้อออกไปอีก การปฏิบัติตามและรักษาข้อตกลงก็เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาของกาซาได้แล้ว ส่วนความพยายามอื่นๆไม่มีค่าอะไรทั้งสิ้น"
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 220 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทหารหญิงอิสราเอลทั้งสี่รายที่ได้รับการปล่อยตัวจากกลุ่มฮามาสในวันนี้ซึ่งประกอบไปด้วย :
    - Karina Araiv
    - Daniella Gilboa
    - Naama Levy
    - Liri Albag

    พวกเธอพูดเป็นภาษาอาหรับเพื่อขอบคุณกลุ่มฮามาสที่ปกป้องพวกเธอจากการโจมตีของอิสราเอล และยังบอกอีกว่าพวกเธอได้รับการปฏิบัติอย่างดี มีอาหาร น้ำ และเสื้อผ้าให้ด้วย

    “ขอสันติภาพจงมีแด่คุณ สวัสดี ขอบคุณกองพลกัสซัมที่ปฏิบัติต่อเราอย่างดี”

    “ขอบคุณสำหรับอาหาร น้ำ และเสื้อผ้า”

    “ขอบคุณสำหรับผู้ชายที่ปกป้องและดูแลเราในระหว่างการโจมตี”

    “ฉันหวังว่าวันนี้จะเป็นวันที่ดีสำหรับคุณ และเป็นวันที่ดีที่สุด”
    ทหารหญิงอิสราเอลทั้งสี่รายที่ได้รับการปล่อยตัวจากกลุ่มฮามาสในวันนี้ซึ่งประกอบไปด้วย : - Karina Araiv - Daniella Gilboa - Naama Levy - Liri Albag พวกเธอพูดเป็นภาษาอาหรับเพื่อขอบคุณกลุ่มฮามาสที่ปกป้องพวกเธอจากการโจมตีของอิสราเอล และยังบอกอีกว่าพวกเธอได้รับการปฏิบัติอย่างดี มีอาหาร น้ำ และเสื้อผ้าให้ด้วย “ขอสันติภาพจงมีแด่คุณ สวัสดี ขอบคุณกองพลกัสซัมที่ปฏิบัติต่อเราอย่างดี” “ขอบคุณสำหรับอาหาร น้ำ และเสื้อผ้า” “ขอบคุณสำหรับผู้ชายที่ปกป้องและดูแลเราในระหว่างการโจมตี” “ฉันหวังว่าวันนี้จะเป็นวันที่ดีสำหรับคุณ และเป็นวันที่ดีที่สุด”
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 281 มุมมอง 37 0 รีวิว
  • หลังการแลกเปลี่ยนตัวประกัน กองกำลังอิสราเอลออกมากล่าวหาฮามาสว่า ละเมิดข้อตกลงโดยการปล่อยทหารหญิงก่อนผู้หญิงพลเรือน

    ‘ฮามาสไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในข้อตกลงที่ต้องปล่อยผู้หญิงพลเรือนก่อน’ — โฆษกกองกำลังอิสราเอล
    หลังการแลกเปลี่ยนตัวประกัน กองกำลังอิสราเอลออกมากล่าวหาฮามาสว่า ละเมิดข้อตกลงโดยการปล่อยทหารหญิงก่อนผู้หญิงพลเรือน ‘ฮามาสไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีในข้อตกลงที่ต้องปล่อยผู้หญิงพลเรือนก่อน’ — โฆษกกองกำลังอิสราเอล
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 239 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันครั้งที่ 2 จากกลุ่มฮามาส โดยการปล่อยตัวทหารหญิงอิสราเอล 4 ราย ที่ถูกจับกุมตัวได้ในกาซา แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ 120 ราย ที่อิสราเอลต้องปล่อยตัวผ่านกาชาดสากล
    แบ่งเป็น:
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่มฮามาส 81 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PIJ 23 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม Fatah 13 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PFLP 2 ราย
    - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม DFLP 1 ราย

    แต่การส่งมอบตัวประกันครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนคือ:
    กลุ่มฮามาสมีการจัดเตรียมเวทีพร้อมป้ายเป็นภาษาฮีบรู "הציונות לא תנציח" ที่แปลว่า "ลัทธิไซออนิสต์จะไม่คงอยู่ตลอดไป" และยังนำรูปภาพของผู้นำอิสราเอลไปวางบนพื้นด้านล่างเวทีอีกด้วย
    วันนี้มีการแลกเปลี่ยนตัวประกันครั้งที่ 2 จากกลุ่มฮามาส โดยการปล่อยตัวทหารหญิงอิสราเอล 4 ราย ที่ถูกจับกุมตัวได้ในกาซา แลกกับนักโทษปาเลสไตน์ 120 ราย ที่อิสราเอลต้องปล่อยตัวผ่านกาชาดสากล แบ่งเป็น: - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่มฮามาส 81 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PIJ 23 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม Fatah 13 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม PFLP 2 ราย - นักโทษจำคุกตลอดชีวิตของกลุ่ม DFLP 1 ราย แต่การส่งมอบตัวประกันครั้งนี้แตกต่างจากครั้งก่อนคือ: กลุ่มฮามาสมีการจัดเตรียมเวทีพร้อมป้ายเป็นภาษาฮีบรู "הציונות לא תנציח" ที่แปลว่า "ลัทธิไซออนิสต์จะไม่คงอยู่ตลอดไป" และยังนำรูปภาพของผู้นำอิสราเอลไปวางบนพื้นด้านล่างเวทีอีกด้วย
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 279 มุมมอง 0 รีวิว
  • ภาพความย่อยยับในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย Jabaliya ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา ที่เกิดจากฝีมือการทำลายล้างของอิสราเอล

    อิสราเอลอ้างว่าการทิ้งระเบิดในพื้นที่แห่งนี้ เพื่อทำลายสมาชิกฮามาส แต่จากสภาพที่เห็น นี่คือการทิ้งระเบิดปูพรมเพื่อไม่ต้องการให้สิ่งใดหลงเหลืออีกต่อไป เกินกว่าข้ออ้างการทำลายกลุ่มฮามาส
    ภาพความย่อยยับในพื้นที่ค่ายผู้ลี้ภัย Jabaliya ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา ที่เกิดจากฝีมือการทำลายล้างของอิสราเอล อิสราเอลอ้างว่าการทิ้งระเบิดในพื้นที่แห่งนี้ เพื่อทำลายสมาชิกฮามาส แต่จากสภาพที่เห็น นี่คือการทิ้งระเบิดปูพรมเพื่อไม่ต้องการให้สิ่งใดหลงเหลืออีกต่อไป เกินกว่าข้ออ้างการทำลายกลุ่มฮามาส
    Like
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 307 มุมมอง 14 0 รีวิว
  • 2/
    มีรายงานว่าประธานาธิบดีทรัมป์ มอบหมายให้ "สตีฟ วิทคอฟฟ์" (Steve Witkoff) ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของเขา เข้าทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อเจรจาด้านการทูตกับอิหร่าน "เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่ออิสราเอล!"

    ตำแหน่งผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของ สตีฟ วิทคอฟฟ์ นับว่าสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นผู้กำหนดและดำเนินการตามนโยบายของทรัมป์ในภูมิภาคนี้

    คาดว่าทรัมป์จะมอบความรับผิดชอบให้กับสตีฟ วิทคอฟฟ์ในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน

    เป็นที่ทราบกันดีว่าวิทคอฟฟ์ เน้นเรื่องการเจรจาทางการทูต มากกว่าการใช้กำลังทางทหาร นี่จึงเป็นสาเหตุที่อิสราเอลไม่พอใจ เพราะหากไม่มีความขัดแย้ง เป้าหมายของแอสราเอลจะไม่มีทางบรรลุผล

    ที่ผ่านมาวิทคอฟฟ์เป็นตัวแทนของทรัมป์เข้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจาจาข้อตกลงหยุดยิงในกาซา รวมทั้งติดตามผลของข้อตกลงหยุดยิงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้อิสราเอลทำตามอย่างแข็งขันอีกด้วย

    เขาเป็นคนเดียวที่คัดค้านนโยบายการแทรกแซงอิหร่านเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

    (วิดีโอ1) สตีฟ วิทคอฟฟ์ เคยพูดถึงหลักการ 4 ประการเพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลของทรัมป์ปฏิบัติต่อตะวันออกกลาง:
    1. เคารพในอำนาจอธิปไตย
    2. ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นสะพานเชื่อมสู่เสถียรภาพ
    3. เน้นดำเนินโยบายทางด้านการทูต
    4. “การตอบสนองและความรับผิดชอบ” สหรัฐอเมริกาต้องการเห็นการตอบสนองจากพันธมิตร หลังจากแสวงหาผลประโยชน์จากสหรัฐมาอย่างยาวนาน ยุคของเช็คเปล่าสิ้นสุดลงแล้ว ความร่วมมือต้องยุติธรรม และการสนับสนุนต้องสะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันต่อเป้าหมายของทุกฝ่าย

    หลายฝ่ายเชื่อว่า สิ่งที่วิทคอฟฟ์พูดนี้ เป็นการส่งข้อความถึงอิสราเอล

    (วิดีโอ2) ล่าสุด สตีฟ วิทคอฟฟ์ เพิ่งให้สัมภาษณกับ Fox News เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงระยะที่สองในกาซา และเปิดกว้างในการบรรลุ "ความเข้าใจในทุกเรื่อง" กับกลุ่มฮามาส (แน่นอนว่าเพิ่มความไม่พอใจให้กับอิสราเอล)
    บางส่วนในการสัมภาษณ์:
    🔸 “เราต้องแน่ใจว่าข้อตกลงหยุดยิงดำเนินการไปด้วยดี เพราะมันจะทำให้เราจะเข้าสู่ระยะที่สอง ซึ่งมันจะช่วยรักษาชีวิตผู้คนอีกมาก
    🔸 “ผมกำลังจะไปอิสราเอล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมตรวจสอบทางเดินเน็ตซาริม (Netzarim corridor) และที่ทางเดินฟิลาเดลเฟีย (Philadelphi corridor) ด้วย”
    🔸 มูซา อาบู มาร์ซุก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มฮามาส กล่าวกับนิวยอร์กไทมส์เมื่อไม่นานนี้ว่า กลุ่มฮามาสพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทรัมป์ชุดใหม่ หากเรื่องนี้เป็นความจริง ถือเป็นเรื่อง “ดี”
    🔸 วิตคอฟฟ์เชื่อว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้สามารถตกลงเจรจาพูดคุยกันได้
    2/ มีรายงานว่าประธานาธิบดีทรัมป์ มอบหมายให้ "สตีฟ วิทคอฟฟ์" (Steve Witkoff) ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของเขา เข้าทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อเจรจาด้านการทูตกับอิหร่าน "เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่ออิสราเอล!" ตำแหน่งผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของ สตีฟ วิทคอฟฟ์ นับว่าสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นผู้กำหนดและดำเนินการตามนโยบายของทรัมป์ในภูมิภาคนี้ คาดว่าทรัมป์จะมอบความรับผิดชอบให้กับสตีฟ วิทคอฟฟ์ในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน เป็นที่ทราบกันดีว่าวิทคอฟฟ์ เน้นเรื่องการเจรจาทางการทูต มากกว่าการใช้กำลังทางทหาร นี่จึงเป็นสาเหตุที่อิสราเอลไม่พอใจ เพราะหากไม่มีความขัดแย้ง เป้าหมายของแอสราเอลจะไม่มีทางบรรลุผล ที่ผ่านมาวิทคอฟฟ์เป็นตัวแทนของทรัมป์เข้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจาจาข้อตกลงหยุดยิงในกาซา รวมทั้งติดตามผลของข้อตกลงหยุดยิงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้อิสราเอลทำตามอย่างแข็งขันอีกด้วย เขาเป็นคนเดียวที่คัดค้านนโยบายการแทรกแซงอิหร่านเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (วิดีโอ1) สตีฟ วิทคอฟฟ์ เคยพูดถึงหลักการ 4 ประการเพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลของทรัมป์ปฏิบัติต่อตะวันออกกลาง: 1. เคารพในอำนาจอธิปไตย 2. ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นสะพานเชื่อมสู่เสถียรภาพ 3. เน้นดำเนินโยบายทางด้านการทูต 4. “การตอบสนองและความรับผิดชอบ” สหรัฐอเมริกาต้องการเห็นการตอบสนองจากพันธมิตร หลังจากแสวงหาผลประโยชน์จากสหรัฐมาอย่างยาวนาน ยุคของเช็คเปล่าสิ้นสุดลงแล้ว ความร่วมมือต้องยุติธรรม และการสนับสนุนต้องสะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันต่อเป้าหมายของทุกฝ่าย หลายฝ่ายเชื่อว่า สิ่งที่วิทคอฟฟ์พูดนี้ เป็นการส่งข้อความถึงอิสราเอล (วิดีโอ2) ล่าสุด สตีฟ วิทคอฟฟ์ เพิ่งให้สัมภาษณกับ Fox News เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงระยะที่สองในกาซา และเปิดกว้างในการบรรลุ "ความเข้าใจในทุกเรื่อง" กับกลุ่มฮามาส (แน่นอนว่าเพิ่มความไม่พอใจให้กับอิสราเอล) บางส่วนในการสัมภาษณ์: 🔸 “เราต้องแน่ใจว่าข้อตกลงหยุดยิงดำเนินการไปด้วยดี เพราะมันจะทำให้เราจะเข้าสู่ระยะที่สอง ซึ่งมันจะช่วยรักษาชีวิตผู้คนอีกมาก 🔸 “ผมกำลังจะไปอิสราเอล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมตรวจสอบทางเดินเน็ตซาริม (Netzarim corridor) และที่ทางเดินฟิลาเดลเฟีย (Philadelphi corridor) ด้วย” 🔸 มูซา อาบู มาร์ซุก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มฮามาส กล่าวกับนิวยอร์กไทมส์เมื่อไม่นานนี้ว่า กลุ่มฮามาสพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทรัมป์ชุดใหม่ หากเรื่องนี้เป็นความจริง ถือเป็นเรื่อง “ดี” 🔸 วิตคอฟฟ์เชื่อว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้สามารถตกลงเจรจาพูดคุยกันได้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 401 มุมมอง 17 0 รีวิว
  • 1/
    มีรายงานว่าประธานาธิบดีทรัมป์ มอบหมายให้ "สตีฟ วิทคอฟฟ์" (Steve Witkoff) ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของเขา เข้าทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อเจรจาด้านการทูตกับอิหร่าน "เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่ออิสราเอล!"

    ตำแหน่งผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของ สตีฟ วิทคอฟฟ์ นับว่าสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นผู้กำหนดและดำเนินการตามนโยบายของทรัมป์ในภูมิภาคนี้

    คาดว่าทรัมป์จะมอบความรับผิดชอบให้กับสตีฟ วิทคอฟฟ์ในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน

    เป็นที่ทราบกันดีว่าวิทคอฟฟ์ เน้นเรื่องการเจรจาทางการทูต มากกว่าการใช้กำลังทางทหาร นี่จึงเป็นสาเหตุที่อิสราเอลไม่พอใจ เพราะหากไม่มีความขัดแย้ง เป้าหมายของแอสราเอลจะไม่มีทางบรรลุผล

    ที่ผ่านมาวิทคอฟฟ์เป็นตัวแทนของทรัมป์เข้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจาจาข้อตกลงหยุดยิงในกาซา รวมทั้งติดตามผลของข้อตกลงหยุดยิงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้อิสราเอลทำตามอย่างแข็งขันอีกด้วย

    เขาเป็นคนเดียวที่คัดค้านนโยบายการแทรกแซงอิหร่านเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง

    (วิดีโอ1) สตีฟ วิทคอฟฟ์ เคยพูดถึงหลักการ 4 ประการเพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลของทรัมป์ปฏิบัติต่อตะวันออกกลาง:
    1. เคารพในอำนาจอธิปไตย
    2. ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นสะพานเชื่อมสู่เสถียรภาพ
    3. เน้นดำเนินโยบายทางด้านการทูต
    4. “การตอบสนองและความรับผิดชอบ” สหรัฐอเมริกาต้องการเห็นการตอบสนองจากพันธมิตร หลังจากแสวงหาผลประโยชน์จากสหรัฐมาอย่างยาวนาน ยุคของเช็คเปล่าสิ้นสุดลงแล้ว ความร่วมมือต้องยุติธรรม และการสนับสนุนต้องสะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันต่อเป้าหมายของทุกฝ่าย

    หลายฝ่ายเชื่อว่า สิ่งที่วิทคอฟฟ์พูดนี้ เป็นการส่งข้อความถึงอิสราเอล

    (วิดีโอ2) ล่าสุด สตีฟ วิทคอฟฟ์ เพิ่งให้สัมภาษณกับ Fox News เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงระยะที่สองในกาซา และเปิดกว้างในการบรรลุ "ความเข้าใจในทุกเรื่อง" กับกลุ่มฮามาส (แน่นอนว่าเพิ่มความไม่พอใจให้กับอิสราเอล)
    บางส่วนในการสัมภาษณ์:
    🔸 “เราต้องแน่ใจว่าข้อตกลงหยุดยิงดำเนินการไปด้วยดี เพราะมันจะทำให้เราจะเข้าสู่ระยะที่สอง ซึ่งมันจะช่วยรักษาชีวิตผู้คนอีกมาก
    🔸 “ผมกำลังจะไปอิสราเอล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมตรวจสอบทางเดินเน็ตซาริม (Netzarim corridor) และที่ทางเดินฟิลาเดลเฟีย (Philadelphi corridor) ด้วย”
    🔸 มูซา อาบู มาร์ซุก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มฮามาส กล่าวกับนิวยอร์กไทมส์เมื่อไม่นานนี้ว่า กลุ่มฮามาสพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทรัมป์ชุดใหม่ หากเรื่องนี้เป็นความจริง ถือเป็นเรื่อง “ดี”
    🔸 วิตคอฟฟ์เชื่อว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้สามารถตกลงเจรจาพูดคุยกันได้
    1/ มีรายงานว่าประธานาธิบดีทรัมป์ มอบหมายให้ "สตีฟ วิทคอฟฟ์" (Steve Witkoff) ผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของเขา เข้าทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อเจรจาด้านการทูตกับอิหร่าน "เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่ออิสราเอล!" ตำแหน่งผู้แทนพิเศษประจำตะวันออกกลางของ สตีฟ วิทคอฟฟ์ นับว่าสำคัญที่สุด เนื่องจากเป็นผู้กำหนดและดำเนินการตามนโยบายของทรัมป์ในภูมิภาคนี้ คาดว่าทรัมป์จะมอบความรับผิดชอบให้กับสตีฟ วิทคอฟฟ์ในการเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์กับอิหร่าน เป็นที่ทราบกันดีว่าวิทคอฟฟ์ เน้นเรื่องการเจรจาทางการทูต มากกว่าการใช้กำลังทางทหาร นี่จึงเป็นสาเหตุที่อิสราเอลไม่พอใจ เพราะหากไม่มีความขัดแย้ง เป้าหมายของแอสราเอลจะไม่มีทางบรรลุผล ที่ผ่านมาวิทคอฟฟ์เป็นตัวแทนของทรัมป์เข้าทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจาจาข้อตกลงหยุดยิงในกาซา รวมทั้งติดตามผลของข้อตกลงหยุดยิงนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้อิสราเอลทำตามอย่างแข็งขันอีกด้วย เขาเป็นคนเดียวที่คัดค้านนโยบายการแทรกแซงอิหร่านเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง (วิดีโอ1) สตีฟ วิทคอฟฟ์ เคยพูดถึงหลักการ 4 ประการเพื่อเป็นแนวทางให้รัฐบาลของทรัมป์ปฏิบัติต่อตะวันออกกลาง: 1. เคารพในอำนาจอธิปไตย 2. ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นสะพานเชื่อมสู่เสถียรภาพ 3. เน้นดำเนินโยบายทางด้านการทูต 4. “การตอบสนองและความรับผิดชอบ” สหรัฐอเมริกาต้องการเห็นการตอบสนองจากพันธมิตร หลังจากแสวงหาผลประโยชน์จากสหรัฐมาอย่างยาวนาน ยุคของเช็คเปล่าสิ้นสุดลงแล้ว ความร่วมมือต้องยุติธรรม และการสนับสนุนต้องสะท้อนถึงความมุ่งมั่นร่วมกันต่อเป้าหมายของทุกฝ่าย หลายฝ่ายเชื่อว่า สิ่งที่วิทคอฟฟ์พูดนี้ เป็นการส่งข้อความถึงอิสราเอล (วิดีโอ2) ล่าสุด สตีฟ วิทคอฟฟ์ เพิ่งให้สัมภาษณกับ Fox News เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นของเขาที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงระยะที่สองในกาซา และเปิดกว้างในการบรรลุ "ความเข้าใจในทุกเรื่อง" กับกลุ่มฮามาส (แน่นอนว่าเพิ่มความไม่พอใจให้กับอิสราเอล) บางส่วนในการสัมภาษณ์: 🔸 “เราต้องแน่ใจว่าข้อตกลงหยุดยิงดำเนินการไปด้วยดี เพราะมันจะทำให้เราจะเข้าสู่ระยะที่สอง ซึ่งมันจะช่วยรักษาชีวิตผู้คนอีกมาก 🔸 “ผมกำลังจะไปอิสราเอล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทีมตรวจสอบทางเดินเน็ตซาริม (Netzarim corridor) และที่ทางเดินฟิลาเดลเฟีย (Philadelphi corridor) ด้วย” 🔸 มูซา อาบู มาร์ซุก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกลุ่มฮามาส กล่าวกับนิวยอร์กไทมส์เมื่อไม่นานนี้ว่า กลุ่มฮามาสพร้อมที่จะเจรจากับรัฐบาลทรัมป์ชุดใหม่ หากเรื่องนี้เป็นความจริง ถือเป็นเรื่อง “ดี” 🔸 วิตคอฟฟ์เชื่อว่าทุกประเทศในภูมิภาคนี้สามารถตกลงเจรจาพูดคุยกันได้
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 384 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานไปทั่วว่าทีมของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังวางแผนย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนไปที่ “อินโดนีเซีย” ชั่วคราวระหว่างเขตฉนวนกาซากำลังซ่อมใหม่เพื่อบูรณะ ส.ส. อินโดนีเซียวันอังคาร (21 ม.ค.) ไม่พอใจชี้ ไม่ใช่ธุระของทรัมป์แต่เป็นของประชาชนปาเลสไตน์ หลังรัฐบาลนายกรัฐมนตรีปราโบโว ซูเบียนโต เพิ่งออกมารับรอง จากาตาร์จะไม่ทอดทิ้งปาเลสไตน์
    .
    มิดเดิลอีสต์มอนิเตอร์รายงานวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่า มีรายงานออกมาจากสื่อ NBC News ของสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (18) ว่า ทีมของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เพิ่งเข้าพิธีสาบานตัวในวันจันทร์ (20) และกลายเป็นผู้นำคนที่ 47 ของอเมริกา กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในการย้ายประชาชนปาเลสไตน์รวม 2 ล้านคนจากเขตฉนวนกาซาในตะวันออกกลางมาที่ “อินโดนีเซีย” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างที่กาซากำลังอยู่ระหว่างการบูรณะสร้างใหม่
    .
    ทั้งนี้ สื่ออเมริกันได้อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมเปลี่ยนผ่านอำนาจของทรัมป์ที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวว่า “อินโดนีเซีย” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพิจารณาในการเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคน
    .
    และนอกจากนี้ NBC News ยังรายงานว่า ทูตพิเศษตะวันออกกลางของทรัมป์ สตีฟ วิตต์คอฟฟ์ (Steve Witkoff) กำลังพิจารณาการเดินทางไปเยือนกาซา เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาข้อตกลงหยุดยิงระหว่างอิสราเอล-ฮามาสให้ยังคงอยู่
    .
    แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมทรัมป์กล่าวว่า “คุณต้องเห็นมัน คุณต้องรู้สึกมัน” และชี้ว่า
    .
    “การทำเช่นนั้นจะเปิดโอกาสให้ทูตพิเศษของทรัมป์สามารถเห็นไดนามิกความเคลื่อนไหวในพื้นที่ด้วยตาตัวเองมากกว่าได้มาจากคำพูดของอิสราเอล”
    .
    ทั้งนี้ วิตต์คอฟฟ์กำลังทำงานเพื่อทำให้ประสบสำเร็จต่อเสถียรภาพระยะยาวของชาวอิสราเอลและประชาชนปาเลสไตน์อีก 2 ล้านคน ซึ่งเขาได้พบกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ถือเป็นจุดสำคัญทำให้ข้อตกลงหยุดยิงสามารถบรรลุ
    .
    อย่างไรก็ตาม ข่าวการย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนมาที่อินโดนีเซียตามข้อเสนอของทีมทรัมป์ทำให้นักการเมืองอิเหนาไม่พอใจ
    .
    เรดิโอรีพับลิกอินโดนีเซียรายงานว่า ส.ส. มาร์ดานี อาลี ซีรา (Mardani Ali Sera) ได้ออกมาตอบโต้ข่าวข้อเสนอย้ายว่า การโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์ แต่เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ในการตัดสินอนาคตตัวเอง
    .
    “มันขึ้นอยู่กับประชาชนกาซา มันไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์” เขากล่าว
    .
    มาร์ดานีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภา BKSAP กล่าวเสริมว่า ชาวปาเลสไตน์นั้นไม่ใช่เฟอร์นิเจอร์ที่จะสามารถย้ายไปง่ายๆ ได้
    .
    และยังย้ำต่อพันธสัญญาของอินโดนีเซียในการสนับสนุนการเป็นอิสรภาพของปาเลสไตน์จากอิสราเอลผู้ยึดครอง สอดคล้องกับการออกมายืนยันของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียที่ก่อนหน้ายืนยัน อ้างอิงจาก อันตาราของอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ว่ารัฐบาลจากาตาร์จะไม่มีวันทอดทิ้งชาวปาเลสไตน์ไว้เบื้องหลัง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006998
    ..............
    Sondhi X
    มีรายงานไปทั่วว่าทีมของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ กำลังวางแผนย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนไปที่ “อินโดนีเซีย” ชั่วคราวระหว่างเขตฉนวนกาซากำลังซ่อมใหม่เพื่อบูรณะ ส.ส. อินโดนีเซียวันอังคาร (21 ม.ค.) ไม่พอใจชี้ ไม่ใช่ธุระของทรัมป์แต่เป็นของประชาชนปาเลสไตน์ หลังรัฐบาลนายกรัฐมนตรีปราโบโว ซูเบียนโต เพิ่งออกมารับรอง จากาตาร์จะไม่ทอดทิ้งปาเลสไตน์ . มิดเดิลอีสต์มอนิเตอร์รายงานวันจันทร์ (20 ม.ค.) ว่า มีรายงานออกมาจากสื่อ NBC News ของสหรัฐฯ ในวันเสาร์ (18) ว่า ทีมของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ที่เพิ่งเข้าพิธีสาบานตัวในวันจันทร์ (20) และกลายเป็นผู้นำคนที่ 47 ของอเมริกา กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในการย้ายประชาชนปาเลสไตน์รวม 2 ล้านคนจากเขตฉนวนกาซาในตะวันออกกลางมาที่ “อินโดนีเซีย” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างที่กาซากำลังอยู่ระหว่างการบูรณะสร้างใหม่ . ทั้งนี้ สื่ออเมริกันได้อ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมเปลี่ยนผ่านอำนาจของทรัมป์ที่ไม่เปิดเผยชื่อกล่าวว่า “อินโดนีเซีย” ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกพิจารณาในการเป็นที่พักพิงของผู้ลี้ภัยปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคน . และนอกจากนี้ NBC News ยังรายงานว่า ทูตพิเศษตะวันออกกลางของทรัมป์ สตีฟ วิตต์คอฟฟ์ (Steve Witkoff) กำลังพิจารณาการเดินทางไปเยือนกาซา เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาข้อตกลงหยุดยิงระหว่างอิสราเอล-ฮามาสให้ยังคงอยู่ . แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ทีมทรัมป์กล่าวว่า “คุณต้องเห็นมัน คุณต้องรู้สึกมัน” และชี้ว่า . “การทำเช่นนั้นจะเปิดโอกาสให้ทูตพิเศษของทรัมป์สามารถเห็นไดนามิกความเคลื่อนไหวในพื้นที่ด้วยตาตัวเองมากกว่าได้มาจากคำพูดของอิสราเอล” . ทั้งนี้ วิตต์คอฟฟ์กำลังทำงานเพื่อทำให้ประสบสำเร็จต่อเสถียรภาพระยะยาวของชาวอิสราเอลและประชาชนปาเลสไตน์อีก 2 ล้านคน ซึ่งเขาได้พบกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อวันที่ 1 ม.ค. ถือเป็นจุดสำคัญทำให้ข้อตกลงหยุดยิงสามารถบรรลุ . อย่างไรก็ตาม ข่าวการย้ายชาวปาเลสไตน์ร่วม 2 ล้านคนมาที่อินโดนีเซียตามข้อเสนอของทีมทรัมป์ทำให้นักการเมืองอิเหนาไม่พอใจ . เรดิโอรีพับลิกอินโดนีเซียรายงานว่า ส.ส. มาร์ดานี อาลี ซีรา (Mardani Ali Sera) ได้ออกมาตอบโต้ข่าวข้อเสนอย้ายว่า การโยกย้ายชาวปาเลสไตน์ไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์ แต่เป็นสิทธิโดยชอบธรรมของชาวปาเลสไตน์ในการตัดสินอนาคตตัวเอง . “มันขึ้นอยู่กับประชาชนกาซา มันไม่ใช่กิจธุระของทรัมป์” เขากล่าว . มาร์ดานีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้นำองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภา BKSAP กล่าวเสริมว่า ชาวปาเลสไตน์นั้นไม่ใช่เฟอร์นิเจอร์ที่จะสามารถย้ายไปง่ายๆ ได้ . และยังย้ำต่อพันธสัญญาของอินโดนีเซียในการสนับสนุนการเป็นอิสรภาพของปาเลสไตน์จากอิสราเอลผู้ยึดครอง สอดคล้องกับการออกมายืนยันของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียที่ก่อนหน้ายืนยัน อ้างอิงจาก อันตาราของอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 10 ม.ค.ว่ารัฐบาลจากาตาร์จะไม่มีวันทอดทิ้งชาวปาเลสไตน์ไว้เบื้องหลัง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006998 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Yay
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1530 มุมมอง 0 รีวิว
  • เฮอร์ซี ฮาเลวี บัญชาการกองกำลังป้องกันอิสราเอลประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 6 มีนาคม 2025 นี้ เพื่อรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่กลุ่มฮามาสโจมตีดินแดนอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมปี 2023
    เฮอร์ซี ฮาเลวี บัญชาการกองกำลังป้องกันอิสราเอลประกาศลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 6 มีนาคม 2025 นี้ เพื่อรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่กลุ่มฮามาสโจมตีดินแดนอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมปี 2023
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 174 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts