• บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว

    ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง

    เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..!

    โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น
    ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ?

    กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว

    สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!"

    ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้

    ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..!

    ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..!
    ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน

    ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย

    ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย

    ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ?
    ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด

    แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้

    ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง

    ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
    __________________
    บุคคลผู้หนึ่งซึ่งเป็นฆราวาสตื่นธรรม ท่านถามว่าทำไมต้องสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาเงินไปสร้างวัดด้วย ? ไปอยู่ป่าก็ได้..! รู้สึกว่าท่านจะตอบแบบมักง่าย และยกตนเองว่าเป็นผู้ใฝ่สันโดษ หรือว่าปฏิบัติถูกต้องตามพระธรรมวินัยอยู่คนเดียว ตรงจุดนี้ท่านทั้งหลายต้องเข้าใจว่า แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ประทานพระบรมพุทธานุญาตตามที่พระเทวทัตขอ ว่าให้พระภิกษุทั้งหมดอยู่ป่า ห้ามอยู่ในบ้านในเมือง โดยพระองค์ตรัสว่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ป่าก็จงอยู่ป่า ผู้ที่ใคร่จะอยู่ในเมืองก็จงอยู่ในเมือง เนื่องเพราะพระองค์มีวิสัยทัศน์อันยาวไกล หรือว่ามีพระสัพพัญญุตญาณที่รู้ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต รู้ดีว่าโลกภายภาคหน้าจะเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหน ทำให้พระภิกษุสงฆ์ถ้าหากว่าประพฤติวัตรปฏิบัติธรรมด้วยการอยู่ป่าอย่างเดียว จะกลายเป็นไม่มีที่อยู่ก็ได้..! โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ผืนป่าต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ได้นั้นไม่มีเหลืออีกแล้ว ยกเว้นวัดต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาก่อน แล้วยังคงความเป็นวัดป่าอยู่ก็พอที่จะมีพื้นที่ป่าเหลืออยู่บ้าง ไม่ต้องอื่นไกลที่ไหน แค่อำเภอทองผาภูมิที่กระผม/อาตมภาพอยู่นี่แหละ บรรดาพระภิกษุผู้อยู่ป่านับร้อย ๆ ราย โดนเจ้าหน้าที่นิมนต์ออกจากป่ามาทั้งหมด เนื่องเพราะว่าสถานที่เหล่านั้นเป็นอุทยานแห่งชาติบ้าง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้าง แม้ว่าจะประกาศขึ้นทีหลัง โดยที่พระท่านไปอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็โดนนิมนต์ออกมาจนเกือบจะหมด ยกเว้นท่านที่ได้รับการตั้งขึ้นเป็นวัดหรือสำนักสงฆ์อย่างถูกต้องแล้วเท่านั้น ดังนั้น..ท่านที่พูดชุ่ย ๆ ว่าไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างวัด ให้พระภิกษุไปอยู่ป่าอย่างเดียว ถ้าอย่างนั้นตั้งแต่โบราณมา เราก็คงไม่มีพระคามวาสีคือฝ่ายที่อยู่วัด และอรัญวาสีคือฝ่ายที่อยู่ป่า ในเมื่อบ้านเรามีการแยกวัดบ้านและวัดป่าอย่างชัดเจนแบบนี้ แล้วท่านยังจะให้ปฏิบัติตามปฏิปทาของพระเทวทัตอยู่อีกหรือ ? กระผม/อาตมภาพคาดว่าไม่มีใครอยากเป็นลูกศิษย์พระเทวทัต มีแต่อยากจะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าเท่านั้น ดังนั้น..สิ่งที่ท่านได้กล่าวมาก็ขอให้กล่าวโดยรอบคอบกว่านี้ ดูบริบทของสังคมเราด้วยว่าเปลี่ยนแปลงไปขนาดไหนแล้ว สมัยพุทธกาลมีบรรดาเจ้าพระยามหากษัตริย์หรือว่ามหาเศรษฐี ท่านปวารณาสร้างวัดวาอารามให้ แม้แต่ในยุคสมัยต่อ ๆ มาในประเทศไทยของเราตั้งแต่ปรากฏประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นยุคกรุงสุโขทัย ยุคกรุงศรีอยุธยา ยุคกรุงธนบุรี มาถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ก็มีการสร้างวัดเพื่อบุญกุศลในวิหารทาน ในขณะเดียวกันก็มีคำพูดประเภทว่า บรรดาเจ้าใหญ่นายโตนั้น "สร้างวัดเพื่อให้ลูกหลานได้มีที่สำหรับวิ่งเล่น..!" ในเมื่อยุคต่อ ๆ มา บริบทของสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนได้เข้าสู่ส่วนของการใช้แรงงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะไปช่วยเหลือวัด แม้กระทั่งผู้ที่ร่ำรวยด้วยเงินด้วยทองก็ติดหน้าที่การงานต่าง ๆ จนถึงขนาดไม่มีเวลาให้วัด ยกตัวอย่างบุคคลท่านหนึ่ง นามสกุลของท่านถ้าบอกไปแล้วต้องรู้จักกันทั้งประเทศไทย ท่านปวารณาเอาไว้ว่า กระผม/อาตมภาพจะสร้างหนี้เท่าไรก็ได้ ทุกสิ้นปีให้แจ้งไป ท่านจะจัดการ "เคลียร์หนี้" ให้ แต่เมื่อกระผม/อาตมภาพแจ้งไปแล้ว ปรากฏว่าท่านมักจะติดด้วยงานด้วยการ ไม่สามารถที่จะปลีกตัวได้ ตอนนั้นกระผม/อาตมภาพยังรับสังฆทานอยู่ที่บ้านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ท่านมีเวลาแค่โทรศัพท์มาว่าตอนนี้วิ่งมาใกล้จะถึงแล้ว ให้กระผม/อาตมภาพลงไปรอในบริเวณนั้นบริเวณนี้ เมื่อท่านมาถึงแล้วก็เปิดหน้าต่างรถ ส่งเงินให้แล้วก็วิ่งต่อไป กระผม/อาตมภาพเจอแบบนั้นเข้าสองครั้ง ก็ไม่กล้าที่จะรบกวนอีกเลย..! ดังนั้น..ต่อให้ปวารณาไว้โดยที่ท่านร่ำรวยขนาดไหนก็ตาม กระผม/อาตมภาพก็แกล้งลืมเบอร์โทรศัพท์ไม่โทรไปหาอีก เนื่องเพราะเคยได้ยินมาว่าท่านเคยโทรสั่งโบรกเกอร์ช้าไปนาทีเดียว แล้วเสียหุ้นไป ๒๐ ล้านบาทโดยประมาณ..! ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ใครจะกล้าไปรบกวนเวลาของท่านอีก..! ในเมื่อบุคคลที่มีฐานะเพียงพอที่จะช่วยเหลือในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม ส่วนใหญ่ก็ติดด้วยภาระหน้าที่ต่าง ๆ จึงมักจะนำเงินนำทองไปมอบให้กับพระภิกษุ โดยเฉพาะหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านได้จัดการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเอง ตรงส่วนนี้จึงทำให้สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป วัดที่มีผู้ปวารณาไว้ก็ยังคงต้องทำงานด้วยตนเอง แต่วัดที่ไม่มีผู้ปวารณาไว้ ก็ต้องหาเงินหาทองมาเพื่อบูรณะก็คือทำของเก่าให้ดีขึ้น และปฏิสังขรณ์คือสร้างของใหม่ให้เพียงพอต่อการใช้งาน ไม่เช่นนั้นแล้วหลวงปู่หลวงพ่อเจ้าอาวาสนั่นแหละ ที่ท่านเป็นเจ้าพนักงานโดยกฎหมาย จะกลายเป็นละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็คือไม่ปกครองสอดส่องฆราวาสก็ยังพอทน แต่การไม่บูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงสมกับเป็นอารามในพระพุทธศาสนา ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปบำเพ็ญกุศลโดยสะดวก ก็กลายเป็นว่านอกจากจะผิดทางโลกแล้ว ยังผิดทางธรรมอีกด้วย ในทางโลกก็คือผิดกฎหมายในฐานะเจ้าพนักงานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ในทางธรรมก็คือบุคคลที่เว้นจากหน้าที่ซึ่งตนรับผิดชอบนั้น ต้องบอกว่าเป็นผู้ที่ไม่มีหลักธรรมประจำใจ ก็คือขาดไปเสียทุกส่วน ไม่เช่นนั้นแล้วอย่างน้อยก็ต้องทำความสะอาดวัดวาอารามให้น่าอยู่น่าอาศัย ประการต่อไปก็คือพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรา ซึ่งมีอยู่ ๙๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ท่านผู้กล่าวว่าให้พระภิกษุสงฆ์ไปอยู่ป่า แล้วจะให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเหล่านั้นตะเกียกตะกายเข้าป่าไปทำบุญกัน แล้วท่านคิดว่าจะใช่หรือไม่ ? ในเรื่องของธรรมะนั้น ไม่ใช่พูดชุ่ย ๆ แบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" ปราศจากความรับผิดชอบ เพราะว่าเรื่องทั้งหลายเหล่านี้นั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน กำลังใจของคนแต่ละระดับไม่เท่ากัน ใครที่ชอบคำพูดดุเดือดหยาบคาย ไปฟังท่านแล้วชอบใจ ก็ถือว่ามีจริตนิสัยใกล้เคียงกัน ท่านสามารถสอนเขาให้ตื่นรู้ได้ก็สอนไปเถิด แต่ว่าบุคคลที่เป็นส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่ใช่แค่หยิบมือเดียวอย่างที่ท่านสอนอยู่ จะให้ทุกคนเป็นเหมือนกันย่อมเป็นไปไม่ได้ ท่านทำอาหารรสชาติที่เผ็ดกระโดดจนกระทั่งคนกินไปร้องไห้ไป แล้วท่านจะไปยัดเยียดให้ทุกคนกินอาหารรสชาตินั้นก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น..ในเรื่องของธรรมะ กระผม/อาตมภาพจึงได้กล่าวเอาไว้ว่า ไม่เคยให้ราคาสำหรับฆราวาสผู้สอนธรรม เนื่องเพราะว่าฆราวาสที่เก่งจริงนั้นตายไปหมดแล้ว..! เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าถ้าบุคคลที่เก่งจริง เข้าถึงธรรมจริง ๆ คุณงามความดีทั้งหลายเหล่านั้นมากเกินกว่าที่จะทรงอยู่ในร่างฆราวาสได้ เพราะว่าอาจจะเป็นทุกข์เป็นโทษให้กับผู้อื่น จึงต้องโดนตัดให้ตายลงไป ในเมื่อท่านยังทรงความเป็นฆราวาสอยู่ได้ ก็แปลว่ายังเข้าไม่ถึงธรรมอย่างแท้จริงนั่นเอง ถ้าหากว่าสิ่งที่ว่ากล่าวไปนี้ มีอะไรที่ทำให้ท่านเห็นว่าไม่ถูกต้องถูกใจ ก็สามารถที่จะโต้แย้งได้ แต่ให้โต้แย้งโดยหลักธรรม อย่าได้เอาทิฏฐิหรือว่าโทสะในส่วนความเห็นเฉพาะตนมาโต้แย้ง เพราะว่ามีแต่จะทำให้เสียเวล่ำเวลา ไปนั่งภาวนาเสียยังจะดีกว่า พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย) __________________
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 354 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขออนุญาตเป็นสะพานบุญเรียนเชิญท่านสาธุชน
    พุทธบริษัท ร่วมทำบุญบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์
    นารโท วัดพัฒนาราม
    (พระอารามหลวง ) จ.สุราษฎร์ธานี

    ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย

    ชื่อบัญชี โครงการบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ นารโท

    เลขที่บัญชี 362-0-56711-5

    อานิสงส์ของวิหารทาน

    สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าทานทั่วไป เพราะเป็นทานที่ต่ออายุพระพุทธศาสนา ทานที่จะมีอานิสงส์ที่ใหญ่กว่าสังฆทานก็มีแต่วิหารทานและธรรมทานเท่านั้น

    สำหรับสถานที่ซึ่งเป็นวิหารทานและมีการใช้สอยเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ศาลาการเปรียญ หรือสถานปฏิบัติธรรมนั้น ทุกครั้งที่มีบุคคลเข้าไปใช้ เจ้าของจะได้อานิสงส์เพิ่มขึ้นทุกครั้งไป วิหารทานจึงเป็นทานที่มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาของอามิสทาน คือ ทานที่เป็นสิ่งของทั่ว ๆ ไป

    ยกเว้นเสียจากธรรมทานแล้ว ไม่มีอานิสงส์อะไรใหญ่กว่าวิหารทานอีก เราจึงเห็นว่าคนโบราณนิยมสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญ เพราะเมื่อบุคคลเข้าไปใช้สอย โดยเฉพาะพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ยิ่งใช้สอยมากเท่าไร อานิสงส์ก็พอกพูนมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ผล ถึงเวลาก็ผลิดอกออกผลไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ จนกว่าวิหารหลังนั้นจะหมดสภาพไปเอง
    ...................................
    ที่มาบทความธรรมะ : เว็บวัดท่าขนุน
    ขออนุญาตเป็นสะพานบุญเรียนเชิญท่านสาธุชน พุทธบริษัท ร่วมทำบุญบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ นารโท วัดพัฒนาราม (พระอารามหลวง ) จ.สุราษฎร์ธานี ได้ที่บัญชีธนาคารกรุงไทย ชื่อบัญชี โครงการบูรณะมณฑปหลวงพ่อพัฒน์ นารโท เลขที่บัญชี 362-0-56711-5 อานิสงส์ของวิหารทาน สังฆทานนั้นมีอานิสงส์มากกว่าทานทั่วไป เพราะเป็นทานที่ต่ออายุพระพุทธศาสนา ทานที่จะมีอานิสงส์ที่ใหญ่กว่าสังฆทานก็มีแต่วิหารทานและธรรมทานเท่านั้น สำหรับสถานที่ซึ่งเป็นวิหารทานและมีการใช้สอยเป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็นโบสถ์ ศาลาการเปรียญ หรือสถานปฏิบัติธรรมนั้น ทุกครั้งที่มีบุคคลเข้าไปใช้ เจ้าของจะได้อานิสงส์เพิ่มขึ้นทุกครั้งไป วิหารทานจึงเป็นทานที่มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ที่สุดในบรรดาของอามิสทาน คือ ทานที่เป็นสิ่งของทั่ว ๆ ไป ยกเว้นเสียจากธรรมทานแล้ว ไม่มีอานิสงส์อะไรใหญ่กว่าวิหารทานอีก เราจึงเห็นว่าคนโบราณนิยมสร้างโบสถ์ สร้างศาลาการเปรียญ เพราะเมื่อบุคคลเข้าไปใช้สอย โดยเฉพาะพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ยิ่งใช้สอยมากเท่าไร อานิสงส์ก็พอกพูนมากขึ้นเท่านั้น เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ผล ถึงเวลาก็ผลิดอกออกผลไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จบ จนกว่าวิหารหลังนั้นจะหมดสภาพไปเอง ................................... ที่มาบทความธรรมะ : เว็บวัดท่าขนุน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 234 มุมมอง 0 รีวิว
  • เนื่องเพราะว่าชีวิตของพระภิกษุสามเณร ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือความอดทน อดทนต่อความยากลำบาก อดกลั้นต่ออารมณ์กระทบ อดออมที่จะไม่แสดงออกถึงกิริยาอาการไม่ดี ต้องบอกว่าเป็นหน้าที่ของพระเราที่จะต้องทำให้ได้อย่างนั้น ถือหลักว่าพระภิกษุสามเณรก็คือธรรมเสนา ทหารในกองทัพธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อเป็นทหาร ก็อย่างที่โบราณเขาใส่เอาไว้ในพยัญชนะไทยของเรา ก็คือขยายความว่า ท.ทหารอดทน

    คราวนี้สิ่งที่เราทนนั้นต้องเป็นการทนด้วยการใช้ปัญญา ไม่ใช่ทนแบบควาย..! ความทนด้วยการใช้ปัญญาก็คือ รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย พ้นจากวินาทีนี้ไป เราอาจจะเสียชีวิตแล้วก็ได้ ถ้าหากว่าสติปัญญาของเราสมบูรณ์พร้อม เห็นชัดเจนอยู่ในลักษณะแบบนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่ามีอะไรลำบาก เพราะว่าเราจะพ้นไปแล้ว

    ดังนั้น..นักปฏิบัติธรรมที่ดีจึงต้องมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย แล้วตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ตายแล้วเรามีพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น ไม่ใช่ว่าอะไรก็ทน แต่เป็นการทนแบบไร้ปัญญา ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่เราทนก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร

    การที่เราทนแบบคนมีปัญญา รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราก็ต้องเตรียมความพร้อม อย่างที่เคยมีหนังสือ หรือว่าภาพยนตร์ที่เขียนเอาไว้ว่า "ถ้าเหลือชีวิตอยู่อีก ๗ วัน เราจะทำอะไรกันบ้าง ?"จะว่าไปแล้ว คนเขียนก็พอมีส่วนของการเข้าถึงธรรมอยู่บ้าง แต่ยังประมาทจนเกินไป เพราะคิดว่ายังอยู่อีกตั้ง ๗ วัน..!

    ทำอย่างไรที่เราจะรู้ตัวอยู่เสมอว่า หายใจเข้า..ไม่หายใจออก เราก็ตายแล้ว หายใจออก..ไม่หายใจเข้า เราก็ตายอีกเช่นกัน ชีวิตนี้มีความตายเป็นเบื้องหน้า เราจักต้องถึงความตายเป็นแน่แท้ ไม่มีใครล่วงพ้นความตายนี้ไปได้ ก็แปลว่า ต้องมีปัญญาในมรณานุสติอยู่ในระดับที่สูงมาก

    คราวนี้เมื่อรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย ก็ต้องมีการเตรียมพร้อม การเตรียมพร้อมของเราก็ไม่มีอะไรที่เกินไปกว่า ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ในแต่ละวันเราต้องทบทวนว่าศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ? เราละเมิดศีลด้วยตนเองหรือไม่ ? เราได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? และท้ายที่สุดเรายินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ?

    ในเมื่อศีลของเราสมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมแล้ว ก็เป็นอันว่ารอดตัวไปอีกวัน แต่ถ้ามีขาดตกบกพร่อง ต้องตั้งใจทันทีว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจักเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตาระมัดระวังรักษาสิกขาบทต่อไป

    ส่วนในเรื่องของสมาธินั้น ถ้าเป็นไปได้ ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดทั้งวัน ถ้าหากว่าไม่ได้ อย่างน้อย ๆ เช้า ๆ เย็น ๆ ต้องมีเวลาในการภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ว่าจากการที่กระผม/อาตมภาพปฏิบัติมาด้วยตัวเอง ตอนช่วงเช้าภาวนาจนกำลังใจทรงตัวเต็มที่เท่าที่เราทำได้ แต่พอไปทำการทำงาน กระทบกระทั่งกับสารพัดอารมณ์ที่ประเดประดังเข้ามา ก็มักจะไม่พอใช้งาน จึงต้องไปภาวนาเพิ่มเติมตอนพักเที่ยง

    ดังนั้น..เรื่องของอาหารการกิน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ สักแต่ว่ายัด ๆ เข้าปาก กลืนลงท้องไปให้อิ่มก็พอ เอาเวลาที่เหลือไปภาวนาให้มากที่สุด เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย เราจะได้อาศัยกำลังนั้นทำงานของเราต่อ พอกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่าง ๆ เข้า ก็มักจะพังเสียก่อนที่จะหมดวัน เราจึงต้องมีการภาวนาในช่วงเย็น หรือช่วงค่ำด้วย เพื่อรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องกัน

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖

    สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน

    https://www.thenirvanalive.com/community/postid/99/
    เนื่องเพราะว่าชีวิตของพระภิกษุสามเณร ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือความอดทน อดทนต่อความยากลำบาก อดกลั้นต่ออารมณ์กระทบ อดออมที่จะไม่แสดงออกถึงกิริยาอาการไม่ดี ต้องบอกว่าเป็นหน้าที่ของพระเราที่จะต้องทำให้ได้อย่างนั้น ถือหลักว่าพระภิกษุสามเณรก็คือธรรมเสนา ทหารในกองทัพธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเมื่อเป็นทหาร ก็อย่างที่โบราณเขาใส่เอาไว้ในพยัญชนะไทยของเรา ก็คือขยายความว่า ท.ทหารอดทน คราวนี้สิ่งที่เราทนนั้นต้องเป็นการทนด้วยการใช้ปัญญา ไม่ใช่ทนแบบควาย..! ความทนด้วยการใช้ปัญญาก็คือ รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราต้องตาย พ้นจากวินาทีนี้ไป เราอาจจะเสียชีวิตแล้วก็ได้ ถ้าหากว่าสติปัญญาของเราสมบูรณ์พร้อม เห็นชัดเจนอยู่ในลักษณะแบบนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่ามีอะไรลำบาก เพราะว่าเราจะพ้นไปแล้ว ดังนั้น..นักปฏิบัติธรรมที่ดีจึงต้องมีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย แล้วตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่า ตายแล้วเรามีพระนิพพานเป็นที่ไปเท่านั้น ไม่ใช่ว่าอะไรก็ทน แต่เป็นการทนแบบไร้ปัญญา ถ้าอย่างนั้น สิ่งที่เราทนก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร การที่เราทนแบบคนมีปัญญา รู้ตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราก็ต้องเตรียมความพร้อม อย่างที่เคยมีหนังสือ หรือว่าภาพยนตร์ที่เขียนเอาไว้ว่า "ถ้าเหลือชีวิตอยู่อีก ๗ วัน เราจะทำอะไรกันบ้าง ?"จะว่าไปแล้ว คนเขียนก็พอมีส่วนของการเข้าถึงธรรมอยู่บ้าง แต่ยังประมาทจนเกินไป เพราะคิดว่ายังอยู่อีกตั้ง ๗ วัน..! ทำอย่างไรที่เราจะรู้ตัวอยู่เสมอว่า หายใจเข้า..ไม่หายใจออก เราก็ตายแล้ว หายใจออก..ไม่หายใจเข้า เราก็ตายอีกเช่นกัน ชีวิตนี้มีความตายเป็นเบื้องหน้า เราจักต้องถึงความตายเป็นแน่แท้ ไม่มีใครล่วงพ้นความตายนี้ไปได้ ก็แปลว่า ต้องมีปัญญาในมรณานุสติอยู่ในระดับที่สูงมาก คราวนี้เมื่อรู้ตัวอยู่เสมอว่าจะต้องตาย ก็ต้องมีการเตรียมพร้อม การเตรียมพร้อมของเราก็ไม่มีอะไรที่เกินไปกว่า ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ในแต่ละวันเราต้องทบทวนว่าศีลทุกสิกขาบทของเราบริสุทธิ์บริบูรณ์หรือไม่ ? เราละเมิดศีลด้วยตนเองหรือไม่ ? เราได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? และท้ายที่สุดเรายินดีเมื่อเห็นผู้อื่นละเมิดศีลหรือไม่ ? ในเมื่อศีลของเราสมบูรณ์บริบูรณ์พร้อมแล้ว ก็เป็นอันว่ารอดตัวไปอีกวัน แต่ถ้ามีขาดตกบกพร่อง ต้องตั้งใจทันทีว่า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป เราจักเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ แล้วตั้งหน้าตั้งตาระมัดระวังรักษาสิกขาบทต่อไป ส่วนในเรื่องของสมาธินั้น ถ้าเป็นไปได้ ให้อยู่กับลมหายใจเข้าออกตลอดทั้งวัน ถ้าหากว่าไม่ได้ อย่างน้อย ๆ เช้า ๆ เย็น ๆ ต้องมีเวลาในการภาวนาอย่างเอาจริงเอาจัง แต่ว่าจากการที่กระผม/อาตมภาพปฏิบัติมาด้วยตัวเอง ตอนช่วงเช้าภาวนาจนกำลังใจทรงตัวเต็มที่เท่าที่เราทำได้ แต่พอไปทำการทำงาน กระทบกระทั่งกับสารพัดอารมณ์ที่ประเดประดังเข้ามา ก็มักจะไม่พอใช้งาน จึงต้องไปภาวนาเพิ่มเติมตอนพักเที่ยง ดังนั้น..เรื่องของอาหารการกิน จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ สักแต่ว่ายัด ๆ เข้าปาก กลืนลงท้องไปให้อิ่มก็พอ เอาเวลาที่เหลือไปภาวนาให้มากที่สุด เมื่อถึงเวลาช่วงบ่าย เราจะได้อาศัยกำลังนั้นทำงานของเราต่อ พอกระทบกระทั่งกับอารมณ์ต่าง ๆ เข้า ก็มักจะพังเสียก่อนที่จะหมดวัน เราจึงต้องมีการภาวนาในช่วงเย็น หรือช่วงค่ำด้วย เพื่อรักษาอารมณ์ใจให้ต่อเนื่องกัน พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันเสาร์ที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๖๖ สามารถอ่านต่อที่เว็บบอร์ดพระนิพพาน https://www.thenirvanalive.com/community/postid/99/
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 348 มุมมอง 0 รีวิว
  • พระมหากษัตริย์ ทรงปิดทองหลังพระ
    เรื่องของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร
    รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระ
    วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย พระครูวิลาศกาญจน
    ธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ตัดเสียงมาจาก เสียงธรรมวัดท่าขนุน ๑๒ สิ.ง
    หาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
    #หลวงพ่อเล็ก #วัดท่าขนุน #เสียงธรรม
    #ร10 #ผู้ปิดทองหลังพระ #พระมหากษัตริย์
    พระมหากษัตริย์ ทรงปิดทองหลังพระ เรื่องของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร รามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระ วชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย พระครูวิลาศกาญจน ธรรม (หลวงพ่อเล็ก สุธมฺมปญฺโญ) ตัดเสียงมาจาก เสียงธรรมวัดท่าขนุน ๑๒ สิ.ง หาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ #หลวงพ่อเล็ก #วัดท่าขนุน #เสียงธรรม #ร10 #ผู้ปิดทองหลังพระ #พระมหากษัตริย์
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 45 0 รีวิว