อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่ามัชฌิมาปฏิปทา(ในความหมายชั้นลึก)
สัทธรรมลำดับที่ : 692
ชื่อบทธรรม :- มัชฌิมาปฏิปทา(ในความหมายชั้นลึก)ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=692
เนื้อความทั้งหมด :-
ค. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นลึก)
(หลักเกณฑ์นี้ อาศัยพระบาลีที่ตรัสโต้ตอบแก่บุคคลผู้มาทูลถาม ซึ่งส่วนมากเป็นพรหมณ์
ได้ถามเรื่องสิ่งตรงข้ามที่แยกกันเป็นคู่ๆ ;
เช่นว่า สิ่งทั้งปวงมี หรือไม่มี; สิ่งทั้งปวงเหมือนกัน หรือต่างกัน ;
ตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้กระทำหรือเสวยผล ;
การกล่าวลงไปว่า สิ่งนั้นๆเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว
หรือว่าเป็นอย่างอื่นจากความเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว ;
ดังนี้เป็นต้น.
พระองค์ ตรัสตอบโดยสายกลาง (มชฺเฌน) ไม่ยอมรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง,
โดยพระบาลีว่า
“เอเต เต พฺราหฺมณ อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺเฌน ตถาคโต ธมฺมํ เทเสติ ฯลฯ” :-
)
--พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง (มชฺเฌน)
http://etipitaka.com/read/pali/16/92/?keywords=มชฺเฌน
ไม่เข้า ไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า :-
(การเกิด)
๑-“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
๒-เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
๓-เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
๔-เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
๕-เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
๖-เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
๗-เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
๘-เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
๙-เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
๑๐-เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
๑๑-เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(การดับ)
๑-เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร ;
๒-เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;
๓-เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ;
๔-เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;
๕-เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ;
๖-เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ;
๗-เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ;
๘-เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ;
๙-เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ;
๑๐-เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ;
๑๑-เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นเอง, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”
ดังนี้.-
(คำว่า มชฺเฌน โดยพระบาลีข้างบนนี้ ก็คือคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง,
มัชฌิมาปฏิปทาจึงได้แก่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังที่กล่าวแล้วในสูตรนี้
ซึ่งทำให้ไม่อาจกล่าวสิ่งใดๆโดยความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว
ที่เรียกว่าส่วนสุดข้างหนึ่ง ๆ.
ความเห็นท่านผู้เรียบเรียงท่านพุทธทาส-อยากจะแนะว่า
ในการศึกษาเรื่องมัชฌิมาปฏิปทานั้น
ควรจะศึกษามัชฌิมาปฏิปทาชั้นพื้นฐานทั่วไปคืออัฏฐังคิกมรรค เป็นลำดับแรก,
แล้วศึกษามัชฌิมาปฏิปทาในความหมายชั้นกว้างคือโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด เป็นลำดับที่สอง,
แล้วจึงศึกษามัชฺมาปฏิปทาในความหมายชั้นลึกคือปฏิจจสมุปบาท เป็นลำดับสุดท้าย ;
มิฉะนั้นจะลำบาก).
-- นิทาน. สํ. ๑๖/๙๑,๙๒,๙๐,๒๗,๒๔,๗๒-๗๔/๑๗๓,๑๗๖,๑๗๐,๕๕,๕๐,๑๒๙-๑๓๒.
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - 16/91/173.
http://etipitaka.com/read/thai/16/74/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%97%E0%B9%93
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ๑๖/๙๑/๑๗๓.
http://etipitaka.com/read/pali/16/91/?keywords=๑๗๓
--ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
นี่แหละทางเพื่อความหมดจด แห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.
--เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ;
เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
--ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย
เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ; ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ
ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก (วิธีแห่งการกระทำ).
ผู้มุ่งปฏิบัติแล้ว ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/35/30.
http://etipitaka.com/read/thai/25/35/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
http://etipitaka.com/read/pali/25/51/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเติม....
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=692
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=50&id=692
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=50
ลำดับสาธยายธรรม : 50 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_50.mp3
สัทธรรมลำดับที่ : 692
ชื่อบทธรรม :- มัชฌิมาปฏิปทา(ในความหมายชั้นลึก)ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=692
เนื้อความทั้งหมด :-
ค. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นลึก)
(หลักเกณฑ์นี้ อาศัยพระบาลีที่ตรัสโต้ตอบแก่บุคคลผู้มาทูลถาม ซึ่งส่วนมากเป็นพรหมณ์
ได้ถามเรื่องสิ่งตรงข้ามที่แยกกันเป็นคู่ๆ ;
เช่นว่า สิ่งทั้งปวงมี หรือไม่มี; สิ่งทั้งปวงเหมือนกัน หรือต่างกัน ;
ตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้กระทำหรือเสวยผล ;
การกล่าวลงไปว่า สิ่งนั้นๆเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว
หรือว่าเป็นอย่างอื่นจากความเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว ;
ดังนี้เป็นต้น.
พระองค์ ตรัสตอบโดยสายกลาง (มชฺเฌน) ไม่ยอมรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง,
โดยพระบาลีว่า
“เอเต เต พฺราหฺมณ อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺเฌน ตถาคโต ธมฺมํ เทเสติ ฯลฯ” :-
)
--พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง (มชฺเฌน)
http://etipitaka.com/read/pali/16/92/?keywords=มชฺเฌน
ไม่เข้า ไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า :-
(การเกิด)
๑-“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
๒-เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
๓-เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
๔-เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
๕-เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
๖-เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
๗-เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
๘-เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
๙-เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
๑๐-เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
๑๑-เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(การดับ)
๑-เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร ;
๒-เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;
๓-เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ;
๔-เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;
๕-เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ;
๖-เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ;
๗-เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ;
๘-เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ;
๙-เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ;
๑๐-เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ;
๑๑-เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นเอง, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”
ดังนี้.-
(คำว่า มชฺเฌน โดยพระบาลีข้างบนนี้ ก็คือคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง,
มัชฌิมาปฏิปทาจึงได้แก่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังที่กล่าวแล้วในสูตรนี้
ซึ่งทำให้ไม่อาจกล่าวสิ่งใดๆโดยความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว
ที่เรียกว่าส่วนสุดข้างหนึ่ง ๆ.
ความเห็นท่านผู้เรียบเรียงท่านพุทธทาส-อยากจะแนะว่า
ในการศึกษาเรื่องมัชฌิมาปฏิปทานั้น
ควรจะศึกษามัชฌิมาปฏิปทาชั้นพื้นฐานทั่วไปคืออัฏฐังคิกมรรค เป็นลำดับแรก,
แล้วศึกษามัชฌิมาปฏิปทาในความหมายชั้นกว้างคือโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด เป็นลำดับที่สอง,
แล้วจึงศึกษามัชฺมาปฏิปทาในความหมายชั้นลึกคือปฏิจจสมุปบาท เป็นลำดับสุดท้าย ;
มิฉะนั้นจะลำบาก).
-- นิทาน. สํ. ๑๖/๙๑,๙๒,๙๐,๒๗,๒๔,๗๒-๗๔/๑๗๓,๑๗๖,๑๗๐,๕๕,๕๐,๑๒๙-๑๓๒.
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - 16/91/173.
http://etipitaka.com/read/thai/16/74/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%97%E0%B9%93
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ๑๖/๙๑/๑๗๓.
http://etipitaka.com/read/pali/16/91/?keywords=๑๗๓
--ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
นี่แหละทางเพื่อความหมดจด แห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.
--เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ;
เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
--ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย
เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ; ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ
ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก (วิธีแห่งการกระทำ).
ผู้มุ่งปฏิบัติแล้ว ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/35/30.
http://etipitaka.com/read/thai/25/35/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
http://etipitaka.com/read/pali/25/51/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเติม....
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=692
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=50&id=692
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=50
ลำดับสาธยายธรรม : 50 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_50.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่ามัชฌิมาปฏิปทา(ในความหมายชั้นลึก)
สัทธรรมลำดับที่ : 692
ชื่อบทธรรม :- มัชฌิมาปฏิปทา(ในความหมายชั้นลึก)ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=692
เนื้อความทั้งหมด :-
ค. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นลึก)
(หลักเกณฑ์นี้ อาศัยพระบาลีที่ตรัสโต้ตอบแก่บุคคลผู้มาทูลถาม ซึ่งส่วนมากเป็นพรหมณ์
ได้ถามเรื่องสิ่งตรงข้ามที่แยกกันเป็นคู่ๆ ;
เช่นว่า สิ่งทั้งปวงมี หรือไม่มี; สิ่งทั้งปวงเหมือนกัน หรือต่างกัน ;
ตนเองหรือผู้อื่นเป็นผู้กระทำหรือเสวยผล ;
การกล่าวลงไปว่า สิ่งนั้นๆเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว
หรือว่าเป็นอย่างอื่นจากความเป็นอย่างนั้นโดยส่วนเดียว ;
ดังนี้เป็นต้น.
พระองค์ ตรัสตอบโดยสายกลาง (มชฺเฌน) ไม่ยอมรับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง,
โดยพระบาลีว่า
“เอเต เต พฺราหฺมณ อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺเฌน ตถาคโต ธมฺมํ เทเสติ ฯลฯ” :-
)
--พราหมณ์ ! ตถาคต ย่อม แสดงธรรมโดยสายกลาง (มชฺเฌน)
http://etipitaka.com/read/pali/16/92/?keywords=มชฺเฌน
ไม่เข้า ไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า :-
(การเกิด)
๑-“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย ;
๒-เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ;
๓-เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ;
๔-เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ;
๕-เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ;
๖-เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ;
๗-เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ;
๘-เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ;
๙-เพราะมีอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ;
๑๐-เพราะมีภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ;
๑๑-เพราะมีชาติเป็นปัจจัย, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน : ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้.
(การดับ)
๑-เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่งอวิชชานั้นนั่นเทียว, จึงมีความดับแห่งสังขาร ;
๒-เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาณ ;
๓-เพราะมีความดับแห่งวิญญาณ จึงมีความดับแห่งนามรูป ;
๔-เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่งสฬายตนะ ;
๕-เพราะมีความดับแห่งสฬายตนะ จึงมีความดับแห่งผัสสะ ;
๖-เพราะมีความดับแห่งผัสสะ จึงมีความดับแห่งเวทนา ;
๗-เพราะมีความดับแห่งเวทนา จึงมีความดับแห่งตัณหา ;
๘-เพราะมีความดับแห่งตัณหา จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ;
๙-เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ;
๑๐-เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ;
๑๑-เพราะมีความดับแห่งชาตินั่นเอง, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสสะอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น : ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้”
ดังนี้.-
(คำว่า มชฺเฌน โดยพระบาลีข้างบนนี้ ก็คือคำว่า มัชฌิมาปฏิปทา นั่นเอง,
มัชฌิมาปฏิปทาจึงได้แก่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังที่กล่าวแล้วในสูตรนี้
ซึ่งทำให้ไม่อาจกล่าวสิ่งใดๆโดยความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยส่วนเดียว
ที่เรียกว่าส่วนสุดข้างหนึ่ง ๆ.
ความเห็นท่านผู้เรียบเรียงท่านพุทธทาส-อยากจะแนะว่า
ในการศึกษาเรื่องมัชฌิมาปฏิปทานั้น
ควรจะศึกษามัชฌิมาปฏิปทาชั้นพื้นฐานทั่วไปคืออัฏฐังคิกมรรค เป็นลำดับแรก,
แล้วศึกษามัชฌิมาปฏิปทาในความหมายชั้นกว้างคือโพธิปักขิยธรรมทั้งหมด เป็นลำดับที่สอง,
แล้วจึงศึกษามัชฺมาปฏิปทาในความหมายชั้นลึกคือปฏิจจสมุปบาท เป็นลำดับสุดท้าย ;
มิฉะนั้นจะลำบาก).
-- นิทาน. สํ. ๑๖/๙๑,๙๒,๙๐,๒๗,๒๔,๗๒-๗๔/๑๗๓,๑๗๖,๑๗๐,๕๕,๕๐,๑๒๙-๑๓๒.
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - 16/91/173.
http://etipitaka.com/read/thai/16/74/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%97%E0%B9%93
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ๑๖/๙๑/๑๗๓.
http://etipitaka.com/read/pali/16/91/?keywords=๑๗๓
--ลักษณะหนทางแห่งความหมดจด
ทางมีองค์แปด เป็นทางอันประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย.
บทแห่งอริยสัจสี่ ประเสริฐกว่าบททั้งหลาย.
วิราคธรรม ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย.
ผู้มีพุทธจักษุ ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.
นี่แหละทางเพื่อความหมดจด แห่งทัสสนะ ทางอื่นมิได้มี.
--เธอทั้งหลาย จงเดินตามทางนั้น อันเป็นที่หลงแห่งมาร ;
เธอทั้งหลาย เดินตามทางนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.
--ทางเราบอกแล้วแก่เธอทั้งหลาย
เพื่อการรู้จักการถอนซึ่งลูกศร ; ความเพียรเป็นกิจอันเธอทั้งหลายพึงกระทำ
ตถาคตทั้งหลายเป็นเพียงผู้บอก (วิธีแห่งการกระทำ).
ผู้มุ่งปฏิบัติแล้ว ย่อมพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.
--เมื่อใด บุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ;
เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์
: นั่นแหละเป็นทางแห่งความหมดจด.-
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. 25/35/30.
http://etipitaka.com/read/thai/25/35/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ธ. ขุ. ๒๕/๕๑/๓๐.
http://etipitaka.com/read/pali/25/51/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเติม....
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=692
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=50&id=692
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=50
ลำดับสาธยายธรรม : 50 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_50.mp3
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
38 มุมมอง
0 รีวิว