อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​มัชฌิมาปฏิปทาในความหมายลำดับชั้นกว้าง
สัทธรรมลำดับที่ : 691
ชื่อบทธรรม :- มัชฌิมาปฏิปทาในความหมายลำดับชั้นกว้าง
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=691
เนื้อความทั้งหมด :-

ข. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายลำดับชั้นกว้าง)
--ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้
มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ ....
มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ ....
มีปกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ ....
มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ ....
มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้.
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้
เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ....
เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ; ....
เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ; ....
เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น
ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว.
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอันอาศัยฉันทะ เป็นปธานกิจ ;
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัยวิริยะ เป็นปธานกิจ ;
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัยจิตตะ เป็นปธานกิจ ;
ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง
มีสมาธิอาศัยวิมังสา เป็นปธานกิจ ;
(กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับการระวัง การละ การทำให้เกิดมี และการรักษา).
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์
ย่อมเจริญ สตินทรีย์ ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์
ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์.
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญ สัทธาพละ ย่อมเจริญ วิริยพละ
ย่อมเจริญ สติพละ ย่อมเจริญ สมาธิพละ
ย่อมเจริญ ปัญญาพละ.
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์
ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์
ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์.
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.

--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ
ย่อมเจริญ สัมมาวาจา ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ
ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ ย่อมเจริญ สัมมาสติ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ.
+--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.-

(ความเห็นผู้เรียบเรียงท่านพุทธทาส
----มัชฌิมาปฏิปทาตามที่ทรงแสดงไว้ในสูตรนี้ เห็นได้ว่า
ทรงแสดงส่วนสุดสองข้างไว้ด้วยอาฬ๎หปฏิปทา คือ ความตกไปในกาม
และนิชฌามปฏิปทา คือ วัตรปฏิบัติของอเจลกะ
ซึ่งเรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่า อัตตกิลมถานุโยค หรือตปัสสีวัตร
ในที่นี้จะเห็นได้ว่า
โพธิปักขิยธรรมทั้งสามสิบเจ็ดข้อ นั่นแหละคือ​ มัชฌิมาปฏิปทา ;
หรือถึงกับจะกล่าวได้ว่า
ข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหมดในพระพุทธศาสนา
ซึ่งรวมกันแล้วเรียกได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือพรหมจรรย์ทั้งสิ้น,
นั่นแหละคือ มัชฌิมาปฏิปทา
).

#ทุกขมรรค#อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก

อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/380-382/596-597.
http://etipitaka.com/read/thai/20/287/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%96
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๘๐-๓๘๒/๕๙๖-๕๙๗.
http://etipitaka.com/read/pali/20/380/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%96
ศึกษา​เพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=691
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=691
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49
ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​มัชฌิมาปฏิปทาในความหมายลำดับชั้นกว้าง สัทธรรมลำดับที่ : 691 ชื่อบทธรรม :- มัชฌิมาปฏิปทาในความหมายลำดับชั้นกว้าง https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=691 เนื้อความทั้งหมด :- ข. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายลำดับชั้นกว้าง) --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้ มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ .... มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; .... เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ; .... เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ; .... เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอันอาศัยฉันทะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิริยะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยจิตตะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิมังสา เป็นปธานกิจ ; (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับการระวัง การละ การทำให้เกิดมี และการรักษา). +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สัทธินทรีย์ ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ ย่อมเจริญ สตินทรีย์ ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สัทธาพละ ย่อมเจริญ วิริยพละ ย่อมเจริญ สติพละ ย่อมเจริญ สมาธิพละ ย่อมเจริญ ปัญญาพละ. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ ย่อมเจริญ สัมมาวาจา ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ ย่อมเจริญ สัมมาสติ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ. +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.- (ความเห็นผู้เรียบเรียงท่านพุทธทาส ----มัชฌิมาปฏิปทาตามที่ทรงแสดงไว้ในสูตรนี้ เห็นได้ว่า ทรงแสดงส่วนสุดสองข้างไว้ด้วยอาฬ๎หปฏิปทา คือ ความตกไปในกาม และนิชฌามปฏิปทา คือ วัตรปฏิบัติของอเจลกะ ซึ่งเรียกกันโดยทั่วๆ ไปว่า อัตตกิลมถานุโยค หรือตปัสสีวัตร ในที่นี้จะเห็นได้ว่า โพธิปักขิยธรรมทั้งสามสิบเจ็ดข้อ นั่นแหละคือ​ มัชฌิมาปฏิปทา ; หรือถึงกับจะกล่าวได้ว่า ข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งหมดในพระพุทธศาสนา ซึ่งรวมกันแล้วเรียกได้ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา หรือพรหมจรรย์ทั้งสิ้น, นั่นแหละคือ มัชฌิมาปฏิปทา ). #ทุกขมรรค​ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. 20/380-382/596-597. http://etipitaka.com/read/thai/20/287/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%96 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก. อํ. ๒๐/๓๘๐-๓๘๒/๕๙๖-๕๙๗. http://etipitaka.com/read/pali/20/380/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%96 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=691 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49&id=691 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=49 ลำดับสาธยายธรรม : 49 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_49.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- ข. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นกว้าง)
-ข. มัชฌิมาปฏิปทา (ในความหมายชั้นกว้าง) . . . . ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติ ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ .... มีปกติ ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำ .... มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทำความพอใจให้เกิดขึ้น ย่อมพยายาม ปรารภความเพียร ประคองตั้งจิตไว้ เพื่อจะยังอกุศลธรรมอันเป็นบาปที่ยังไม่เกิดไม่ให้เกิดขึ้น ; ....เพื่อละอกุศลธรรมอันเป็นบาป ที่เกิดขึ้นแล้ว ; ....เพื่อยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ; ....เพื่อความตั้งอยู่ ความไม่เลอะเลือน ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญอิทธิบาท อันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอันอาศัยฉันทะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิริยะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยจิตตะ เป็นปธานกิจ ; ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบพร้อมด้วยธรรมเครื่องปรุงแต่ง มีสมาธิอาศัยวิมังสา เป็นปธานกิจ ; (กิจในที่นี้คือ กิจเกี่ยวกับการระวัง การละ การทำให้เกิดมี และการรักษา). ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัทธินทรีย์ ย่อมเจริญ วิริยินทรีย์ ย่อมเจริญ สตินทรีย์ ย่อมเจริญ สมาธินทรีย์ ย่อมเจริญ ปัญญินทรีย์. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัทธาพละ ย่อมเจริญ วิริยพละ ย่อมเจริญ สติพละ ย่อมเจริญ สมาธิพละ ย่อมเจริญ ปัญญาพละ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ วิริยสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ สมาธิสัมโพชฌงค์ ย่อมเจริญ อุเบกขาสัมโพชฌงค์. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม เจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญ สัมมาสังกัปปะ ย่อมเจริญ สัมมาวาจา ย่อมเจริญ สัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญ สัมมาอาชีวะ ย่อมเจริญ สัมมาวายามะ ย่อมเจริญ สัมมาสติ ย่อมเจริญ สัมมาสมาธิ. ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.
0 Comments 0 Shares 118 Views 0 Reviews