อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค-ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว
สัทธรรมลำดับที่ : 998
ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=998
เนื้อความทั้งหมด :-
--อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในอากาศ ย่อมมีลมชนิดต่างๆพัดไปมา; คือ
ลมทางทิศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง
ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไปบ้าง
ลมมีธุลีพัดไปบ้าง ลมไม่มีธุลีพัดไปบ้าง
ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง
ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง,
นี้ฉันใด ;
--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น, กล่าวคือ เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค :
+--แม้ สติปัฏฐานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;
+--แม้ สัมมัปปธานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;
+--แม้ อิทธิบาทสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;
+--แม้ อินทรีย์ห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;
+--แม้ พละห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ;
+--แม้ โพชฌงค์เจ็ด ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา .
(ธรรมเหล่านี้ ครบอยู่ทั้ง ๖ ชนิด
เช่นเดียวกับที่ในอากาศ มีลมพัดอยู่ ครบทุกชนิด,
ฉันใดก็ฉันนั้น).
--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างไรเล่า
(ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา) ?
--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ
สัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . .
สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . .
สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ . . . .
ชนิดที่
มีวิเวกอาศัยแล้ว
มีวิราคะอาศัยแล้ว
มีนิโรธอาศัยแล้ว
มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง.
--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้แล
(ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา).-

(ในพระบาลีสูตรอื่นๆ แสดงลักษณะแห่งสัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
อันเป็นองค์แห่งอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปคือ

ราคปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน,
โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน,
โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน
--มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๙/๒๖๗ ;
http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97

อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ,
อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ,
อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน
--มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๙/๒๖๙ ;
http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%99

นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน,
นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน,
นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน
--มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๐/๒๗๑ ;
http://etipitaka.com/read/pali/19/70/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%97%E0%B9%91
ดังนี้ก็มี
).

#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทสสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/74/282–284.
http://etipitaka.com/read/thai/19/74/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%92
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๔/๒๘๒–๒๘๔.
http://etipitaka.com/read/pali/19/74/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%92
ศึกษา​เพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=998
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=998
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86
ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อัฏฐังคิกมรรค-ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว สัทธรรมลำดับที่ : 998 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=998 เนื้อความทั้งหมด :- --อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในอากาศ ย่อมมีลมชนิดต่างๆพัดไปมา; คือ ลมทางทิศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไปบ้าง ลมมีธุลีพัดไปบ้าง ลมไม่มีธุลีพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง, นี้ฉันใด ; --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น, กล่าวคือ เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค : +--แม้ สติปัฏฐานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; +--แม้ สัมมัปปธานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; +--แม้ อิทธิบาทสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; +--แม้ อินทรีย์ห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; +--แม้ พละห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; +--แม้ โพชฌงค์เจ็ด ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา . (ธรรมเหล่านี้ ครบอยู่ทั้ง ๖ ชนิด เช่นเดียวกับที่ในอากาศ มีลมพัดอยู่ ครบทุกชนิด, ฉันใดก็ฉันนั้น). --ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างไรเล่า (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา) ? --ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . . สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ . . . . ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง. --ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้แล (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา).- (ในพระบาลีสูตรอื่นๆ แสดงลักษณะแห่งสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปคือ ราคปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน, โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน, โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน --มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๙/๒๖๗ ; http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97 อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ, อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน --มหาวาร. สํ. ๑๙/๖๙/๒๖๙ ; http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%99 นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน, นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน, นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน --มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๐/๒๗๑ ; http://etipitaka.com/read/pali/19/70/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%97%E0%B9%91 ดังนี้ก็มี ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทสสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/74/282–284. http://etipitaka.com/read/thai/19/74/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๔/๒๘๒–๒๘๔. http://etipitaka.com/read/pali/19/74/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%98%E0%B9%92 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=998 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=998 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86 ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว--ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว
-(ธรรม ๔ อย่างในสูตรนี้ เรียงลำดับไว้เป็น ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ ตรงกับหลักธรรมดาทั่วๆไป ของอริยสัจสี่; แต่มีสูตรอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙) เรียงลำดับไว้เป็นอย่างอื่นคือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง, ดังนี้ก็มี; แต่ก็ยังคงเป็นอริยสัจสี่ได้อยู่นั่นเอง ไม่มีผลเป็นการขัดแย้งกันแต่ประการใด. พระบาลีในสูตรนี้ แสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคไว้เป็น วิเวกนิสฺสิต วิราคนิสฺสิต นิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามี; มีสูตรอื่นๆแสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปเป็น ราควินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน, โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน, โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๗) : อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ, อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๙); นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน, นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน, นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน (๑๙/๗๐/๒๗๑) ; ดังนี้ก็มี ; แม้โดยพยัญชนะจะต่างกัน แต่ก็มุ่งไปยังความหมายอย่างเดียวกัน. ข้อควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ วัตถุแห่งกิจของอริยสัจในสูตรนี้ แสดงไว้ต่างจากสูตรที่รู้กันอยู่ทั่วไป, คือสูตรทั่วๆไป วัตถุแห่งการกำหนดรู้ แสดงไว้ด้วยความทุกข์ทุกชนิด สูตรนี้แสดงไว้ด้วยปัญจุปาทานขันธ์เท่านั้น; วัตถุแห่งการละ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยตัณหาสาม สูตรนี้แสดงไว้ด้วยอวิชชาและภวตัณหา; วัตถุแห่งการทำให้แจ้ง สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยการดับแห่งตัณหา สูตรนี้แสดงไว้ด้วยวิชชาและวิมุตติ; วัตถุแห่งการทำให้เจริญ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วยอริยอัฏฐังคิกมรรค ส่วนในสูตรนี้แสดงไว้ด้วยสมถะและวิปัสสนา. ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของคำที่แสดงไว้แต่ละฝ่ายอย่างทั่วถึงแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าไม่ขัดขวางอะไรกัน). อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว ทำให้โพธิปักขิยธรรมสมบูรณ์ไปในตัว ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในอากาศ ย่อมมีลมชนิดต่างๆพัดไปมา; คือลมทางทิศตะวันออกพัดไปบ้าง ลมทางทิศตะวันตกพัดไปบ้าง ลมทางทิศเหนือพัดไปบ้าง ลมทางทิศใต้พัดไปบ้าง ลมมีธุลีพัดไปบ้าง ลมไม่มีธุลีพัดไปบ้าง ลมหนาวพัดไปบ้าง ลมร้อนพัดไปบ้าง ลมอ่อนพัดไปบ้าง ลมแรงพัดไปบ้าง, นี้ฉันใด ; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น, กล่าวคือ เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค : แม้ สติปัฏฐานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; แม้ สัมมัปปธานสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; แม้ อิทธิบาทสี่ ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; แม้ อินทรีย์ห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; แม้ พละห้า ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา ; แม้ โพชฌงค์เจ็ด ก็ถึงซึ่งความบริบูรณ์แห่งภาวนา . (ธรรมเหล่านี้ ครบอยู่ทั้ง ๖ ชนิด เช่นเดียวกับที่ในอากาศ มีลมพัดอยู่ ครบทุกชนิด, ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างไรเล่า (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา) ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . . สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญกระทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่อย่างนี้แล (ธรรม ๖ ชนิดนั้น จึงถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา).
0 Comments 0 Shares 56 Views 0 Reviews