อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษาอัฏฐังคิกมรรคเป็นการทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว
สัทธรรมลำดับที่ : 997
ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=997
เนื้อความทั้งหมด :-
--หมวด ง. ว่าด้วย การทำหน้าที่ของมรรค
--อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว
--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนรับรองแขก มีอยู่. ณ เรือนนั้น มีแขก
มาจากทิศตะวันออก พักอาศัยอยู่บ้าง
มาจากทิศตะวันตกพักอาศัยอยู่บ้าง
มาจากทิศเหนือพักอาศัยอยู่บ้าง
มาจากทิศใต้พักอาศัยอยู่บ้าง
มีแขกวรรณะกษัตริย์มาพักอยู่ก็มี
มีแขกวรรณะพราหมณ์มาพักอยู่ก็มี
มีแขกวรรณะแพศย์มาพักอยู่ก็มี
มีแขกวรรณะศูทรมาพักอยู่ก็มี
(ในเรือนหลังเดียวพักกันอยู่ได้ถึงสี่วรรณะ จากสี่ทิศ ดังนี้), นี้ฉันใด;
--ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ภิกษุเมื่อเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค :-
+--ย่อม กำหนดรู้ ซึ่งธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ;
+--ย่อม ละ ซึ่งธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ;
+--ย่อม ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ;
+--ย่อม ทำให้เจริญ ซึ่งธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งได้.
(หมายความว่า ในการเจริญอริยมรรคเพียงอย่างเดียวนั้น
ย่อมมี การกระทำ และ ผลแห่งการกระทำ รวมอยู่ถึงสี่อย่าง
เช่นเดียวกับเรือนหลังเดียวมีคนพักรวมอยู่ ๔ พวก, ฉันใดก็ฉันนั้น).
--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบพึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์;
กล่าวคือ
ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ รูป,
ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ เวทนา,
ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สัญญา,
ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สังขาร,
ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ วิญญาณ.
--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น
#ธรรมอันพึงละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบพึงมีว่า อวิชชา และ ภวตัณหา.
--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น
#ธรรมอันพึงทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบพึงมีว่า วิชชา และ วิมุตติ.
--ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น
#ธรรมอันพึงทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ?
คำตอบพึงมีว่า สมถะ และ วิปัสสนา.
--ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไรเล่า
(จึงจะ มีผล ๔ ประการนั้น) ?
--ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ
สัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . .
สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . .
สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ
ชนิดที่
มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง.
--ภิกษุ ท. ! #เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างนี้แล
(จึงมีผล ๔ ประการนั้น).-

(----+
ธรรม ๔ อย่างในสูตรนี้ เรียงลำดับไว้เป็น
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ
ตรงกับหลักธรรมดาทั่วๆไป ของอริยสัจสี่;
แต่มีสูตรอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙) เรียงลำดับไว้เป็นอย่างอื่น คือ
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง,
ดังนี้ก็มี;
---อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙
http://etipitaka.com/read/pali/14/524/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%99
แต่ก็ยังคงเป็นอริยสัจสี่ได้อยู่นั่นเอง ไม่มีผลเป็นการขัดแย้งกันแต่ประการใด.
+--พระบาลีในสูตรนี้ แสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคไว้เป็น
วิเวกนิสฺสิต วิราคนิสฺสิต นิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามี;
มีสูตรอื่นๆแสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปเป็น
ราควินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน,
โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน,
โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๗);
---สํยุตฺต. ม. ๑๙/๖๙/๒๖๗
http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97
อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ,
อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ,
อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๙);
---สํยุตฺต. ม. ๑๙/๖๙/๒๖๙
http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%99
นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน,
นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน,
นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน (๑๙/๗๐/๒๗๑) ; ดังนี้ก็มี ;
---สํยุตฺต. ม. ๑๙/๗๐/๒๗๑
http://etipitaka.com/read/pali/19/70/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%97%E0%B9%91
แม้โดยพยัญชนะจะต่างกัน แต่ก็มุ่งไปยังความหมายอย่างเดียวกัน.
+--ข้อควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ
วัตถุแห่งกิจของอริยสัจในสูตรนี้
แสดงไว้ต่างจากสูตรที่รู้กันอยู่ทั่วไป, คือสูตรทั่วๆไป
วัตถุแห่งการกำหนดรู้ แสดงไว้ด้วย ความทุกข์ทุกชนิด
สูตรนี้แสดงไว้ด้วย ปัญจุปาทานขันธ์เท่านั้น;
วัตถุแห่งการละ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย ตัณหาสาม
สูตรนี้แสดงไว้ด้วย อวิชชาและภวตัณหา;
วัตถุแห่งการทำให้แจ้ง สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย การดับแห่งตัณหา
สูตรนี้แสดงไว้ด้วย วิชชาและวิมุตติ;
วัตถุแห่งการทำให้เจริญ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย อริยอัฏฐังคิกมรรค
ส่วนในสูตรนี้แสดงไว้ด้วย สมถะและวิปัสสนา.
+--ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของคำที่แสดงไว้แต่ละฝ่ายอย่างทั่วถึงแล้ว
ก็จะเห็นได้ว่าไม่ขัดขวางอะไรกัน
+----).

#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/76-77/290-295.
http://etipitaka.com/read/thai/19/76/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๗-๗๘/๒๙๐-๒๙๕.
http://etipitaka.com/read/pali/19/77/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90
ศึกษา​เพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=997
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=997
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86
ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษาอัฏฐังคิกมรรคเป็นการทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว สัทธรรมลำดับที่ : 997 ชื่อบทธรรม :- อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=997 เนื้อความทั้งหมด :- --หมวด ง. ว่าด้วย การทำหน้าที่ของมรรค --อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนรับรองแขก มีอยู่. ณ เรือนนั้น มีแขก มาจากทิศตะวันออก พักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศตะวันตกพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศเหนือพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศใต้พักอาศัยอยู่บ้าง มีแขกวรรณะกษัตริย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะพราหมณ์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะแพศย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะศูทรมาพักอยู่ก็มี (ในเรือนหลังเดียวพักกันอยู่ได้ถึงสี่วรรณะ จากสี่ทิศ ดังนี้), นี้ฉันใด; --ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ภิกษุเมื่อเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค :- +--ย่อม กำหนดรู้ ซึ่งธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ; +--ย่อม ละ ซึ่งธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ; +--ย่อม ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ; +--ย่อม ทำให้เจริญ ซึ่งธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งได้. (หมายความว่า ในการเจริญอริยมรรคเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมมี การกระทำ และ ผลแห่งการกระทำ รวมอยู่ถึงสี่อย่าง เช่นเดียวกับเรือนหลังเดียวมีคนพักรวมอยู่ ๔ พวก, ฉันใดก็ฉันนั้น). --ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์; กล่าวคือ ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สังขาร, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ วิญญาณ. --ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น #ธรรมอันพึงละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า อวิชชา และ ภวตัณหา. --ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น #ธรรมอันพึงทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า วิชชา และ วิมุตติ. --ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น #ธรรมอันพึงทำให้เจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า สมถะ และ วิปัสสนา. --ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไรเล่า (จึงจะ มีผล ๔ ประการนั้น) ? --ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญ สัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . . สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง. --ภิกษุ ท. ! #เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างนี้แล (จึงมีผล ๔ ประการนั้น).- (----+ ธรรม ๔ อย่างในสูตรนี้ เรียงลำดับไว้เป็น ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้แจ้ง ควรทำให้เจริญ ตรงกับหลักธรรมดาทั่วๆไป ของอริยสัจสี่; แต่มีสูตรอื่น (อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙) เรียงลำดับไว้เป็นอย่างอื่น คือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ควรละ ควรทำให้เจริญ ควรทำให้แจ้ง, ดังนี้ก็มี; ---อุปริ. ม. ๑๔/๕๒๔/๘๒๙ http://etipitaka.com/read/pali/14/524/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%99 แต่ก็ยังคงเป็นอริยสัจสี่ได้อยู่นั่นเอง ไม่มีผลเป็นการขัดแย้งกันแต่ประการใด. +--พระบาลีในสูตรนี้ แสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคไว้เป็น วิเวกนิสฺสิต วิราคนิสฺสิต นิโรธนิสฺสิต โวสฺสคฺคปริณามี; มีสูตรอื่นๆแสดงลักษณะของอริยอัฏฐังคิกมรรคในกรณีเช่นนี้ แปลกออกไปเป็น ราควินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งราคะเป็นปริโยสาน, โทสวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโทสะเป็นปริโยสาน, โมหวินยปริโยสาน : มีการนำออกซึ่งโมหะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๗); ---สํยุตฺต. ม. ๑๙/๖๙/๒๖๗ http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%97 อมโตคธ : หยั่งลงสู่อมตะ, อมตปรายน : มีเบื้องหน้าเป็นอมตะ, อมตปริโยสาน : มีอมตะเป็นปริโยสาน (๑๙/๖๙/๒๖๙); ---สํยุตฺต. ม. ๑๙/๖๙/๒๖๙ http://etipitaka.com/read/pali/19/69/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%96%E0%B9%99 นิพฺพานนินฺน : เอียงไปสู่นิพพาน, นิพฺพานโปณ : โน้มไปสู่นิพพาน, นิพฺพานปพฺภาร : เงื้อมไปสู่นิพพาน (๑๙/๗๐/๒๗๑) ; ดังนี้ก็มี ; ---สํยุตฺต. ม. ๑๙/๗๐/๒๗๑ http://etipitaka.com/read/pali/19/70/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%97%E0%B9%91 แม้โดยพยัญชนะจะต่างกัน แต่ก็มุ่งไปยังความหมายอย่างเดียวกัน. +--ข้อควรสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ วัตถุแห่งกิจของอริยสัจในสูตรนี้ แสดงไว้ต่างจากสูตรที่รู้กันอยู่ทั่วไป, คือสูตรทั่วๆไป วัตถุแห่งการกำหนดรู้ แสดงไว้ด้วย ความทุกข์ทุกชนิด สูตรนี้แสดงไว้ด้วย ปัญจุปาทานขันธ์เท่านั้น; วัตถุแห่งการละ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย ตัณหาสาม สูตรนี้แสดงไว้ด้วย อวิชชาและภวตัณหา; วัตถุแห่งการทำให้แจ้ง สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย การดับแห่งตัณหา สูตรนี้แสดงไว้ด้วย วิชชาและวิมุตติ; วัตถุแห่งการทำให้เจริญ สูตรทั่วๆไปแสดงไว้ด้วย อริยอัฏฐังคิกมรรค ส่วนในสูตรนี้แสดงไว้ด้วย สมถะและวิปัสสนา. +--ถ้าผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของคำที่แสดงไว้แต่ละฝ่ายอย่างทั่วถึงแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าไม่ขัดขวางอะไรกัน +----). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/76-77/290-295. http://etipitaka.com/read/thai/19/76/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๗๗-๗๘/๒๙๐-๒๙๕. http://etipitaka.com/read/pali/19/77/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%99%E0%B9%90 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=997 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86&id=997 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=86 ลำดับสาธยายธรรม : 86 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_86.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- หมวด ง. ว่าด้วย การทำหน้าที่ของมรรค-อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว-ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว
-(ข้อนี้หมายความว่า เมื่อมีการปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ผลย่อมเกิดขึ้นเป็นการน้อมไปเพื่อนิพพานอยู่ในตัวโดยไม่ต้องเจตนา เหมือนแม่ไก่ฟักไข่อย่างดีแล้ว ลูกไก่ย่อมออกมาเป็นตัวโดยที่แม่ไก่ไม่ต้องเจตนาให้ออกมา, ฉันใดก็ฉันนั้น. ขอให้พิจารณาดูให้ดี จงทุกคนเถิด). หมวด ง. ว่าด้วย การทำหน้าที่ของมรรค อัฏฐังคิกมรรคชนิดที่เจริญแล้ว ทำกิจแห่งอริยสัจสี่พร้อมกันไปในตัว ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนเรือนรับรองแขก มีอยู่. ณ เรือนนั้น มีแขกมาจากทิศตะวันออก พักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศตะวันตกพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศเหนือพักอาศัยอยู่บ้าง มาจากทิศใต้พักอาศัยอยู่บ้าง มีแขกวรรณะกษัตริย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะพราหมณ์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะแพศย์มาพักอยู่ก็มี มีแขกวรรณะศูทรมาพักอยู่ก็มี (ในเรือนหลังเดียวพักกันอยู่ได้ถึงสี่วรรณะ จากสี่ทิศ ดังนี้), นี้ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือ ภิกษุเมื่อเจริญทำให้มากอยู่ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค : ย่อม กำหนดรู้ ซึ่งธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ; ย่อม ละ ซึ่งธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ; ย่อม ทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งได้ ; ย่อม ทำให้เจริญ ซึ่งธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่งได้. (หมายความว่า ในการเจริญอริยมรรคเพียงอย่างเดียวนั้น ย่อมมี การกระทำ และ ผลแห่งการกระทำ รวมอยู่ถึงสี่อย่าง เช่นเดียวกับเรือนหลังเดียวมีคนพักรวมอยู่ ๔ พวก, ฉันใดก็ฉันนั้น). ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า ปัญจุปาทานขันธ์; กล่าวคือ ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ รูป, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ เวทนา, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สัญญา, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ สังขาร, ขันธ์เป็นที่ยึดมั่นคือ วิญญาณ. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงละด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า อวิชชา และ ภวตัณหา. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า วิชชา และ วิมุตติ. ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าไหนเล่า เป็น ธรรมอันพึงทำให้เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ? คำตอบพึงมีว่า สมถะ และ วิปัสสนา. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุ เจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างไรเล่า (จึงจะ มีผล ๔ ประการนั้น) ? ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้ ภิกษุย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ . . . . สัมมาสังกัปปะ . . . . สัมมาวาจา . . . . สัมมากัมมันตะ . . . . สัมมาอาชีวะ . . . . สัมมาวายามะ . . . . สัมมาสติ . . . . สัมมาสมาธิ ชนิดที่ มีวิเวกอาศัยแล้ว มีวิราคะอาศัยแล้ว มีนิโรธอาศัยแล้ว มีปกติน้อมไปเพื่อการสลัดลง. ภิกษุ ท. ! เมื่อภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรคอยู่ อย่างนี้แล (จึงมีผล ๔ ประการนั้น).
0 Comments 0 Shares 89 Views 0 Reviews