อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
สัทธรรมลำดับที่ : 995
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=995
เนื้อความทั้งหมด :-
--ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
--อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น : นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;
เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่
เสียก่อน แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น : นั่นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้, ฉันใดก็ฉันนั้น.
--อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิย สังโยชน์ห้า
นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;
เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น)
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพานธาตุ)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต
: นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
ดังนี้.
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะอนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน
เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ(เปยยาล)....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างต้นนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่าปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาล ไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
$เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อ ความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง
เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) *--๑ ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่)
เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น )
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต
: นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
ดังนี้.
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะอนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆนั่นเอง.
-- อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้
มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น
แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง $เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า
“อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็มดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.-
(สรุปความว่า มรรคหรือปฏิปทานี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
เพราะการเห็น อนิจจตา กระทั่งถึง อนัตตา รวมเป็น ๑๑ ลักษณะ
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งรูปฌานทั้งสี่ แต่ละฌาณๆ;
และเห็นธรรม ๑๑ อย่างนั้นอย่างเดียวกัน
ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งอรูปฌานสามข้างต้น แต่ละฌาณๆ
เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ;
นับว่าเป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมที่สุด.
ผู้ศึกษาพึงใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีตรงที่ว่า มีขันธ์ห้า หรือ ขันธ์สี่
อยู่ที่จิตในขณะที่มีฌาน ดังนี้
).
*--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในพวกรูปฌานมีขันธ์ครบห้า;
ส่วนในอรูปฌานมีขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป.
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/125-129/156-158.
http://etipitaka.com/read/thai/13/125/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%96
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๕๗-๑๖๑/๑๕๖-๑๕๘.
http://etipitaka.com/read/pali/13/157/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%96
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=995
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85&id=995
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85
ลำดับสาธยายธรรม : 85 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_85.mp3
สัทธรรมลำดับที่ : 995
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=995
เนื้อความทั้งหมด :-
--ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
--อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น : นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;
เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่
เสียก่อน แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น : นั่นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้, ฉันใดก็ฉันนั้น.
--อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิย สังโยชน์ห้า
นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;
เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น)
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพานธาตุ)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต
: นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
ดังนี้.
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะอนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน
เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ(เปยยาล)....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างต้นนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่าปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาล ไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
$เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อ ความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง
เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) *--๑ ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่)
เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น )
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต
: นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
ดังนี้.
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะอนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆนั่นเอง.
-- อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้
มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น
แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง $เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า
“อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็มดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.-
(สรุปความว่า มรรคหรือปฏิปทานี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
เพราะการเห็น อนิจจตา กระทั่งถึง อนัตตา รวมเป็น ๑๑ ลักษณะ
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งรูปฌานทั้งสี่ แต่ละฌาณๆ;
และเห็นธรรม ๑๑ อย่างนั้นอย่างเดียวกัน
ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งอรูปฌานสามข้างต้น แต่ละฌาณๆ
เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ;
นับว่าเป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมที่สุด.
ผู้ศึกษาพึงใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีตรงที่ว่า มีขันธ์ห้า หรือ ขันธ์สี่
อยู่ที่จิตในขณะที่มีฌาน ดังนี้
).
*--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในพวกรูปฌานมีขันธ์ครบห้า;
ส่วนในอรูปฌานมีขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป.
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/125-129/156-158.
http://etipitaka.com/read/thai/13/125/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%96
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๕๗-๑๖๑/๑๕๖-๑๕๘.
http://etipitaka.com/read/pali/13/157/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%96
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=995
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85&id=995
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85
ลำดับสาธยายธรรม : 85 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_85.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
สัทธรรมลำดับที่ : 995
ชื่อบทธรรม : -ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=995
เนื้อความทั้งหมด :-
--ปฏิปทาเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ก็คือมรรค
--อานนท์ ! มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้า มีอยู่;
การที่บุคคลจะไม่อาศัย ซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น
แล้วจักรู้จักเห็นหรือว่าจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น : นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ;
เช่นเดียวกับการที่บุคคลไม่ถากเปือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่
เสียก่อน แล้วจักไปถากเอาแก่นนั้น : นั่นไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้, ฉันใดก็ฉันนั้น.
--อานนท์ ! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิย สังโยชน์ห้า
นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
--อานนท์ ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย
เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง
ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน
อันมีวิตกวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่.
ในปฐมฌานนั้น มีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ที่กำลังทำหน้าที่อยู่) ;
เธอนั้น ตามเห็นธรรมซึ่งธรรมเหล่านั้น
โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์
เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน.
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์ทั้งห้า) เหล่านั้น
(อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น)
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพานธาตุ)
ด้วยการกำหนดว่า “นั่นสงบระงับ นั่นประณีต
: นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
ดังนี้.
เขาดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่ง อาสวะ ก็เป็นโอปปาติกะอนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้น ๆ นั่นเอง.
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะความเข้าไปสงบระงับเสียได้ซึ่งวิตกและวิจาร จึง เข้าถึงทุติยฌาน
เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ(เปยยาล)....
(ข้อความตรงที่ละเปยยาลไว้นี้ มีเนื้อความเต็มเหมือนในตอนที่กล่าวถึงปฐมฌานข้างต้นนั้น ทุกตัวอักษร แปลกแต่คำว่าปฐมฌานเป็นทุติยฌานเท่านั้น
แม้ข้อความที่ละเปยยาล ไว้ในตอนตติยฌานและจตุตถฌาน
ก็พึงทราบโดยนัยนี้ ผู้ศึกษาพึงเติมให้เต็มเอาเอง ; จนกระทั่งถึงข้อความว่า )
....
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปิติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ
และย่อมเสวยความสุขด้วยนามกายชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ย่อมกล่าวสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นปรกติสุข” ดังนี้
$เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ ....
( มีเนื้อ ความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะละสุข เสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้
เพราะ ความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน
ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่.
.... ฯลฯ....
( มีเนื้อความเต็มดุจในตอนปฐมฌาน )
....
อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา เสียได้โดยประการทั้งปวง
เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
จึง เข้าถึงอากาสานัญจายตนะ
อันมีการทำในใจว่า อากาศไม่มีที่สุด ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในอากาสานัญจายตนะนั้น มีธรรม คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
( ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ ) *--๑ ;
เธอนั้น ตามเห็นซึ่งธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความยากลำบาก เป็นอาพาธ
เป็นดังผู้อื่น (ให้ยืมมา) เป็นของแตกสลาย เป็นของว่าง เป็นของไม่ใช่ตน
เธอดำรงจิตด้วยธรรม (คือขันธ์เพียงสี่)
เหล่านั้น (อันประกอบด้วยลักษณะ ๑๑ ประการ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น )
แล้วจึง น้อมจิตไปสู่อมตธาตุ (คือนิพพาน)
ด้วยการกำหนดว่า
“นั่นสงบระงับ นั่นประณีต
: นั่นคือธรรมชาติเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง
เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา
เป็นความจางคลาย เป็นความดับ เป็นนิพพาน”
ดังนี้.
เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีอากาสานัญจายตนะเป็นบาทนั้น
ย่อม ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ;
ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปปาติกะอนาคามี
ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ มีในเบื้องต่ำห้าประการ
และเพราะอำนาจแห่ง ธัมมราคะ ธัมมนันทิ (อันเกิดจากการกำหนดจิตในอมตธาตุ) นั้นๆนั่นเอง.
-- อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
ภิกษุ เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว
จึง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า “วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด” แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(ข้อความตรงละเปยยาลไว้นี้
มีข้อความที่ตรัสไว้เหมือนในตอนที่ตรัสถึงเรื่องอากาสานัญจายตนะข้างบนนี้ ทุกตัวอักษร แปลกแต่เปลี่ยนจากอากาสานัญจายตนะ มาเป็นวิญญาณัญจายตนะเท่านั้น
แม้ในตอนอากิญจัญญายตนะที่ละไว้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้, จนกระทั่งถึงข้อความว่า)
. . . .
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.
--อานนท์ ! ข้ออื่นยังมีอีก
: ภิกษุ เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง $เข้าถึงอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า
“อะไรๆไม่มี” ดังนี้ แล้วแลอยู่.
. . . . ฯลฯ . . . .
(มีเนื้อความเต็มดุจในตอนอากาสานัญจายตนะ)
. . . .
--อานนท์ ! แม้นี้แล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น.-
(สรุปความว่า มรรคหรือปฏิปทานี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้
เพราะการเห็น อนิจจตา กระทั่งถึง อนัตตา รวมเป็น ๑๑ ลักษณะ
ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งรูปฌานทั้งสี่ แต่ละฌาณๆ;
และเห็นธรรม ๑๑ อย่างนั้นอย่างเดียวกัน
ใน เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
อันปรากฏอยู่ในขณะแห่งอรูปฌานสามข้างต้น แต่ละฌาณๆ
เว้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ;
นับว่าเป็นธรรมที่ละเอียดสุขุมที่สุด.
ผู้ศึกษาพึงใคร่ครวญให้เป็นอย่างดีตรงที่ว่า มีขันธ์ห้า หรือ ขันธ์สี่
อยู่ที่จิตในขณะที่มีฌาน ดังนี้
).
*--๑. ผู้ศึกษาพึงสังเกตให้เห็นว่า ในพวกรูปฌานมีขันธ์ครบห้า;
ส่วนในอรูปฌานมีขันธ์เพียงสี่ คือขาดรูปขันธ์ไป.
#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/125-129/156-158.
http://etipitaka.com/read/thai/13/125/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%96
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๑๕๗-๑๖๑/๑๕๖-๑๕๘.
http://etipitaka.com/read/pali/13/157/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%95%E0%B9%96
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=995
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85&id=995
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=85
ลำดับสาธยายธรรม : 85 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_85.mp3
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
147 มุมมอง
0 รีวิว