อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาอาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ
สัทธรรมลำดับที่ : 624
ชื่อบทธรรม :- อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=624
เนื้อความทั้งหมด :-
--อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ
--ภิกษุ ท. !
ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว
ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ;
ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง ;
เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ;
ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ
อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย.
--ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้วซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ.
+--เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ ;
นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป.
เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ;
http://etipitaka.com/read/pali/12/494/?keywords=นนฺทิ
เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ;
เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ;
เพราะมีความดับแห่งชาติ,
ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น.
#ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งหมดนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้.

(ในกรณีแห่ง การได้ยินเสียงด้วยหู รู้สึกกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น
ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ
ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน
).
--ภิกษุ ท. ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมทำความหลุดพ้น
เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป.-

(เกี่ยวกับเรื่องการทำความหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาซึ่งตรัสไว้โดยสังเขปดังตรัส ในสูตรข้างบนนี้
ในสูตรอื่น
[อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มู. ม. ๑๒/๔๗๐/๔๓๙ ;
http://etipitaka.com/read/pali/12/470/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%93%E0%B9%99
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -สตฺตก.อํ. ๒๓/๙๐/๕๘
http://etipitaka.com/read/pali/23/90/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%98 ]​
ได้ตรัสไว้ว่า
+--ภิกษุ ที่ได้สดับแล้วว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมทั้งปวงรอบรู้ธรรมทั้งปวง เสวยเวทนาใด ๆ
เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืนในเวทนานั้น ๆ ประจำ
ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก ไม่สะดุ้งหวาดเสียว ปรินิพพานเฉพาะตน, ดังนี้ก็มี
).

#ทุกขนิโรธ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/347/458.
http://etipitaka.com/read/thai/12/347/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%95%E0%B9%98
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘.
http://etipitaka.com/read/pali/12/494/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%95%E0%B9%98
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=624
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=43&id=624
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=43
ลำดับสาธยายธรรม : 43 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_43.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาอาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ สัทธรรมลำดับที่ : 624 ชื่อบทธรรม :- อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=624 เนื้อความทั้งหมด :- --อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ --ภิกษุ ท. ! ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ; ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง ; เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ; ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย. --ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้วซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ. +--เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ ; นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; http://etipitaka.com/read/pali/12/494/?keywords=นนฺทิ เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาติ, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. #ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งหมดนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีแห่ง การได้ยินเสียงด้วยหู รู้สึกกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน ). --ภิกษุ ท. ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป.- (เกี่ยวกับเรื่องการทำความหลุดพ้นเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหาซึ่งตรัสไว้โดยสังเขปดังตรัส ในสูตรข้างบนนี้ ในสูตรอื่น [อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -มู. ม. ๑๒/๔๗๐/๔๓๙ ; http://etipitaka.com/read/pali/12/470/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%93%E0%B9%99 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : -สตฺตก.อํ. ๒๓/๙๐/๕๘ http://etipitaka.com/read/pali/23/90/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%98 ]​ ได้ตรัสไว้ว่า +--ภิกษุ ที่ได้สดับแล้วว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น ชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมทั้งปวงรอบรู้ธรรมทั้งปวง เสวยเวทนาใด ๆ เป็นผู้ตามเห็นความไม่เที่ยง ความจางคลาย ความดับ ความสลัดคืนในเวทนานั้น ๆ ประจำ ย่อมไม่ยึดมั่นสิ่งใด ๆ ในโลก ไม่สะดุ้งหวาดเสียว ปรินิพพานเฉพาะตน, ดังนี้ก็มี ). #ทุกขนิโรธ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/347/458. http://etipitaka.com/read/thai/12/347/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%95%E0%B9%98 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๔๙๔/๔๕๘. http://etipitaka.com/read/pali/12/494/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%95%E0%B9%98 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=624 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=43&id=624 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=43 ลำดับสาธยายธรรม : 43 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_43.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ
-อาการดับแห่งตัณหาในนามแห่งนันทิ ภิกษุ ท. ! .... ภิกษุนั้น เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่กำหนัดยินดีในรูป อันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความรัก ; ย่อมไม่ขัดเคืองในรูปอันมีลักษณะเป็นที่ตั้งแห่งความเกลียดชัง ; เป็นผู้อยู่ด้วยสติเป็นไปในกายอันตนเข้าไปตั้งไว้แล้ว มีจิตหาประมาณมิได้ด้วย ; ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันเป็นธรรมที่ดับโดยไม่เหลือแห่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลทั้งหลาย ด้วย. ภิกษุนั้น เป็นผู้ละเสียได้แล้วซึ่งความยินดีและความยินร้ายอย่างนี้แล้ว เสวยเวทนาใด ๆ อันเป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม ไม่เป็นทุกข์ไม่เป็นสุขก็ตาม ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ. เมื่อภิกษุนั้น ไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำสรรเสริญ ไม่เมาหมกอยู่ ในเวทนานั้น ๆ ; นันทิ ในเวทนาทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมดับไป. เพราะความดับแห่งนันทิของภิกษุนั้น จึงมีความดับแห่งอุปาทาน ; เพราะมีความดับแห่งอุปาทาน จึงมีความดับแห่งภพ ; เพราะมีความดับแห่งภพ จึงมีความดับแห่งชาติ ; เพราะมีความดับแห่งชาติ, ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น. ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งหมดนี้ ย่อมมี ด้วยอาการอย่างนี้. (ในกรณีแห่ง การได้ยินเสียงด้วยหู รู้สึกกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องสัมผัสทางผิวหนังด้วยผิวกาย และ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจ ก็ได้ตรัสไว้ทำนองเดียวกัน). ภิกษุ ท. ! เธอจงทรงธรรมะนี้ไว้ ในฐานะที่เป็นธรรมทำความหลุดพ้น เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา ซึ่งเรากล่าวไว้โดยสังเขป.
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 35 มุมมอง 0 รีวิว