อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้
สัทธรรมลำดับที่ : 605
ชื่อบทธรรม :- ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=605
เนื้อความทั้งหมด :-
--ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้
--ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้อย่างไร ?
--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อม ไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ซึ่งไม่มีทุกข์ทับถม
ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และ
ก็ไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้น ด้วย.
+--ภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า
“เมื่อเรากำลังตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์อยู่เป็นอารมณ์
วิราคะก็เกิดมีได้จากการตั้งไว้ ซึ่งความปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ;
และเมื่อเราเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่
วิราคะก็เกิดมีได้” ดังนี้.
+--ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่
วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว
เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) ;
+--และเมื่อเธอเข้าไปเพ่งซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่
วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็เจริญความเพ่งในเหตุแห่งทุกข์ นั้น (ยิ่งขึ้นไป).
เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่
วิราคะก็มีขึ้นเพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่นั้นเป็นเหตุ ;
เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป ;
เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ ทำความเพ่งให้เจริญยิ่ง อยู่
วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป.
http://etipitaka.com/read/pali/14/13/?keywords=วิราโค

(นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล).

--ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์
http://etipitaka.com/read/pali/14/14/?keywords=ปฏิพทฺธจิตฺโต
พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง,
เขาเห็นหญิงนั้นยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น.
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่เขาใช่ไหม ?
“อย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ !
เพราะว่าบุรุษ นั้นมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ
มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้นพระเจ้าข้า !”
--ภิกษุ ท. ! ต่อมาบุรุษคนนั้นคิดว่า
“โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เกิดขึ้นแก่เรา
เพราะเรามีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ
มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงนั้น ;
ถ้ากระไร เราจะละฉันทราคะในหญิงนั้นเสีย” ดังนี้ ;
แล้วเขาก็ละเสีย,
ต่อมาเขาก็เห็นหญิงคนนั้น ยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น.
โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่เขาอีกหรือไม่หนอ ?
“หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ?
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าบุรุษนั้นไม่มีราคะในหญิงนั้นเสียแล้ว”.
--ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้
แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.-

#ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/11/12-13.
http://etipitaka.com/read/thai/14/11/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๓/๑๒-๑๓.
http://etipitaka.com/read/pali/14/13/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92
ศึกษาเพิ่มเติม....
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=605
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=41&id=605
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=41
ลำดับสาธยายธรรม : 41 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_41.mp3
อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้ สัทธรรมลำดับที่ : 605 ชื่อบทธรรม :- ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=605 เนื้อความทั้งหมด :- --ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้ --ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้อย่างไร ? --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ซึ่งไม่มีทุกข์ทับถม ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และ ก็ไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้น ด้วย. +--ภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า “เมื่อเรากำลังตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์อยู่เป็นอารมณ์ วิราคะก็เกิดมีได้จากการตั้งไว้ ซึ่งความปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ; และเมื่อเราเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะก็เกิดมีได้” ดังนี้. +--ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) ; +--และเมื่อเธอเข้าไปเพ่งซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็เจริญความเพ่งในเหตุแห่งทุกข์ นั้น (ยิ่งขึ้นไป). เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่ วิราคะก็มีขึ้นเพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่นั้นเป็นเหตุ ; เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป ; เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ ทำความเพ่งให้เจริญยิ่ง อยู่ วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป. http://etipitaka.com/read/pali/14/13/?keywords=วิราโค (นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล). --ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ http://etipitaka.com/read/pali/14/14/?keywords=ปฏิพทฺธจิตฺโต พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง, เขาเห็นหญิงนั้นยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่เขาใช่ไหม ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่าบุรุษ นั้นมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้นพระเจ้าข้า !” --ภิกษุ ท. ! ต่อมาบุรุษคนนั้นคิดว่า “โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เกิดขึ้นแก่เรา เพราะเรามีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงนั้น ; ถ้ากระไร เราจะละฉันทราคะในหญิงนั้นเสีย” ดังนี้ ; แล้วเขาก็ละเสีย, ต่อมาเขาก็เห็นหญิงคนนั้น ยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่เขาอีกหรือไม่หนอ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าบุรุษนั้นไม่มีราคะในหญิงนั้นเสียแล้ว”. --ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/11/12-13. http://etipitaka.com/read/thai/14/11/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๑๓/๑๒-๑๓. http://etipitaka.com/read/pali/14/13/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%92 ศึกษาเพิ่มเติม.... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=605 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=41&id=605 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=41 ลำดับสาธยายธรรม : 41 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_41.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้
-ผู้อยู่อย่างคนมีความสุขก็ทำวิราคะให้ปรากฏได้ ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้อย่างไร ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม ไม่นำความทุกข์มาทับถมตน ซึ่งไม่มีทุกข์ทับถม ไม่ต้องสละความสุขอันประกอบด้วยธรรมที่มีอยู่ด้วย และก็ไม่มัวเมาอยู่ในความสุขนั้น ด้วย. ภิกษุนั้นรู้ชัดอยู่อย่างนี้ว่า “เมื่อเรากำลังตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์อยู่เป็นอารมณ์ วิราคะก็เกิดมีได้จากการตั้งไว้ ซึ่งความปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ; และเมื่อเราเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะก็เกิดมีได้” ดังนี้. ภิกษุนั้น เมื่อตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์ใดเป็นอารมณ์อยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้เพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งนั้นเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว เธอก็ตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งในเหตุแห่งทุกข์นั้นเป็นอารมณ์ (ยิ่งขึ้นไป) ; และเมื่อเธอเข้าไปเพ่งซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์ใด ทำความเพ่งให้เจริญยิ่งอยู่ วิราคะย่อมมีขึ้นได้ ดังนี้แล้ว เธอก็เจริญความเพ่งในเหตุแห่งทุกข์ นั้น (ยิ่งขึ้นไป). เมื่อเธอตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่งเหตุแห่งทุกข์นั้นๆ เป็นอารมณ์อยู่ วิราคะก็มีขึ้นเพราะการตั้งไว้ซึ่งการปรุงแต่นั้นเป็นเหตุ ; เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป ; เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งตัวเหตุแห่งทุกข์นั้น ๆ ทำความเพ่งให้เจริญยิ่ง อยู่ วิราคะก็มีขึ้น เมื่อเป็นดังนี้ ความทุกข์นั้นของเธอ ก็สูญสิ้นไป. (นี้คืออาการที่ความบากบั่น ความพากเพียร เกิดมีผล). ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนบุรุษมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนหนึ่ง, เขาเห็นหญิงนั้นยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะพึงเกิดขึ้นแก่เขาใช่ไหม ? “อย่างนั้น พระเจ้าข้า !” ข้อนั้นเพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะว่าบุรุษ นั้นมีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจมุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงคนนั้นพระเจ้าข้า !” ภิกษุ ท. ! ต่อมาบุรุษคนนั้นคิดว่า “โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เกิดขึ้นแก่เรา เพราะเรามีจิตกำหนัดปฏิพัทธ์ พอใจ มุ่งหมายอย่างแรงกล้าในหญิงนั้น ; ถ้ากระไร เราจะละฉันทราคะในหญิงนั้นเสีย” ดังนี้ ; แล้วเขาก็ละเสีย, ต่อมาเขาก็เห็นหญิงคนนั้น ยืนอยู่ พูดอยู่ ระริกซิกซี้อยู่กับบุรุษอื่น. โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส จะเกิดขึ้นแก่เขาอีกหรือไม่หนอ ? “หามิได้ พระเจ้าข้า !” ข้อนั้น เพราะเหตุไรเล่า ? “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! เพราะเหตุว่าบุรุษนั้นไม่มีราคะในหญิงนั้นเสียแล้ว”. .... ภิกษุ ท. ! ความบากบั่น ความพากเพียร จะมีผลขึ้นมาได้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้แล.
0 Comments 0 Shares 70 Views 0 Reviews