อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาอัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา
สัทธรรมลำดับที่ : 146
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=146
ชื่อบทธรรม :- อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-
--อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา
--ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ,
เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่,
ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง,
ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น,
และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.
ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
+--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย
ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ,
เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง
อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด, ภิกษุ,
เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน
นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ,
ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่,
ในสมัยนั้นเธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง,
ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น,
และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.
ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
+--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย
ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ,
เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า
“ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข”
ดังนี้ แล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ,
เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม
อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า
“ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข”
ดังนี้ แล้วแลอยู่.
ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง,
ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น,
และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.
ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
+--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย
ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง.
--ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ,
เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้,
เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน,
ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่.
+--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ,
เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้,
เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน,
ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข
มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา
แล้วแลอยู่.
ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง,
ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น,
และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย.
ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย.
+--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย
-http://etipitaka.com/read/pali/12/177/?keywords=จตุตฺถํ+อสฺสาท
ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่งแล.-

#ทุกข์#อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/121/205.
http://etipitaka.com/read/thai/12/121/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%95
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๗๖/๒๐๕.
http://etipitaka.com/read/pali/12/176/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%95
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=146
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=146
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11
ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียง...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาอัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา สัทธรรมลำดับที่ : 146 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=146 ชื่อบทธรรม :- อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา เนื้อความทั้งหมด :- --อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา --ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่, ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. +--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. --ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด, ภิกษุ, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ, ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่, ในสมัยนั้นเธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. +--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. --ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. +--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. --ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. +--ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. +--ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย -http://etipitaka.com/read/pali/12/177/?keywords=จตุตฺถํ+อสฺสาท ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่งแล.- #ทุกข์​ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มู. ม. 12/121/205. http://etipitaka.com/read/thai/12/121/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%95 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มู. ม. ๑๒/๑๗๖/๒๐๕. http://etipitaka.com/read/pali/12/176/?keywords=%E0%B9%92%E0%B9%90%E0%B9%95 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=146 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=146 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11 ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา
-อัสสาทะชั้นเลิศของเวทนา ภิกษุ ท. ! อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมบรรลุฌานที่หนึ่ง ซึ่งมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่, ในสมัยนั้น เธอย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด, ภิกษุ, เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ ย่อมบรรลุฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่, ในสมัยนั้นเธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมบรรลุฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า “ผู้ได้บรรลุฌานนี้ เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอย่อมเสวยเวทนา อันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่ง. ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละ ทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุ ท. ! ในสมัยใด ภิกษุ, เพราะละสุขเสียได้ และเพราะละทุกข์เสียได้, เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน, ย่อมบรรลุฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเอง, ย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น, และย่อมไม่คิดแม้ในทางที่จะให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย. ในสมัยนั้น เธอ ย่อมเสวยเวทนาอันไม่ทำความเดือดร้อนแต่อย่างใดเลย. ภิกษุ ท. ! เรากล่าว อัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนาทั้งหลาย ว่า มีการไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้ใดเป็นอย่างยิ่งแล.
Like
1
0 Comments 0 Shares 88 Views 0 Reviews