อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัยนอน เนื่องอยู่ในสันดาน
สัทธรรมลำดับที่ : 145
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=145
ชื่อบทธรรม : -เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย
เนื้อความทั้งหมด :-
--เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย
--ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น,
อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น,
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น,
อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น,
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น,
และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ;
+-ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด)
นั้น ชื่อว่า ผัสสะ.
http://etipitaka.com/read/pali/14/516/?keywords=ผสฺส

+-เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง.
บุคคลนั้น
+-เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่, อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.
+-เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.
+-เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง
ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย
ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย
ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย,
อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น.
http://etipitaka.com/read/pali/14/517/?keywords=อวิชฺชานุสยํ

--ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ
+-ยังละ อนุสัยคือราคะ ในเพราะสุขเวทนาไม่ได้,
+-ยังบรรเทา อนุสัยคือปฏิฆะ ในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้,
+-ยังถอน อนุสัยคืออวิชชา ในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้,
+-ยังละอวิชชาไม่ได้และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว
จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ ดังนี้
: ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.-

#ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/391/822.
http://etipitaka.com/read/thai/14/391/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%92
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒.
http://etipitaka.com/read/pali/14/516/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%92
ศึกษาเพิ่มเติม...
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=145
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=145
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11
ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาว่าเวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัยนอน เนื่องอยู่ในสันดาน สัทธรรมลำดับที่ : 145 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=145 ชื่อบทธรรม : -เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย เนื้อความทั้งหมด :- --เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย --ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น, อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น, อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น, อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น, และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ; +-ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น ชื่อว่า ผัสสะ. http://etipitaka.com/read/pali/14/516/?keywords=ผสฺส +-เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. บุคคลนั้น +-เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่, อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. +-เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. +-เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. http://etipitaka.com/read/pali/14/517/?keywords=อวิชฺชานุสยํ --ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ +-ยังละ อนุสัยคือราคะ ในเพราะสุขเวทนาไม่ได้, +-ยังบรรเทา อนุสัยคือปฏิฆะ ในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้, +-ยังถอน อนุสัยคืออวิชชา ในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้, +-ยังละอวิชชาไม่ได้และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ ดังนี้ : ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.- #ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. 14/391/822. http://etipitaka.com/read/thai/14/391/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%92 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อุปริ. ม. ๑๔/๕๑๖/๘๒๒. http://etipitaka.com/read/pali/14/516/?keywords=%E0%B9%98%E0%B9%92%E0%B9%92 ศึกษาเพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=145 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=145 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11 ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย
-เวทนาเป็นทางมาแห่งอนุสัย ภิกษุ ท. ! อาศัยตากับรูป เกิด จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางตา) ขึ้น, อาศัยหูกับเสียง เกิด โสตวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางหู) ขึ้น, อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางจมูก) ขึ้น, อาศัยลิ้นกับรส เกิด ชิวหาวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางลิ้น) ขึ้น, อาศัยกายกับโผฏฐัพพะ เกิด กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางกาย) ขึ้น, และอาศัยใจกับธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งทางใจ) ขึ้น ; ความประจวบกันแห่งสิ่งทั้งสาม (เช่น ตา รูป จักขุวิญญาณ เป็นต้น แต่ละหมวด) นั้น ชื่อว่า ผัสสะ. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. บุคคลนั้น เมื่อ สุขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน ย่อมพร่ำสรรเสริญ เมาหมกอยู่, อนุสัยคือราคะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ ทุกขเวทนา ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมระทมใจคร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ถึงความหลงใหลอยู่, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. เมื่อ เวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุข ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริง ซึ่งเหตุให้เกิดเวทนานั้นด้วย ซึ่งความดับแห่งเวทนานั้นด้วยซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย) ของเวทนานั้นด้วย ซึ่งอาทีนพ (โทษ) ของเวทนานั้นด้วยซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องออกพ้น) ของเวทนานั้นด้วย, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานของบุคคลนั้น. ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ ยังละอนุสัยคือราคะในเพราะสุขเวทนาไม่ได้, ยังบรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะในเพราะทุกขเวทนาไม่ได้, ยังถอนอนุสัยคืออวิชชาในเพราะอทุกขมสุขเวทนาไม่ได้, ยังละอวิชชาไม่ได้ และยังทำวิชชาให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ ในทิฏฐธรรม (ปัจจุบัน) นี้ ดังนี้ : ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 142 มุมมอง 0 รีวิว