อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนาและวิภาคแห่งเวทนา
สัทธรรมลำดับที่ : 139
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=139
ชื่อบทธรรม :- ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา
เนื้อความทั้งหมด :-
--ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา
-พุทธสาวก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งเวทนา
ซึ่งแดนเกิดแห่งเวทนา
ซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่งเวทนา
ซึ่งหนทางให้ถึงความสิ้นไป (แห่งฉันทราคะในเวทนา),
--ภิกษุ เพราะสิ้น(ฉันทราคะ) แห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้หายหิว ดับเย็นสนิท.
-เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่
เป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม
เป็นอทุกขมสุขก็ตาม
เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม บุคคลรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นทุกข์
มีความหลอกลวงเป็นธรรมดา มีการแตกสลายเป็นธรรมดาเสวยแล้ว เสวยแล้ว
เห็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา
: ดังนี้ ย่อมปราศจากความกำหนัดในเวทนานั้น ๆ.
-เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น
ราคานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.
-เมื่อบุคคล เสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น
ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่เขา ผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น.
บุคคลเพลิดเพลินแม้ในอทุกขมสุข
อันพระภูริปัญญาพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ไปได้ไม่.
--เมื่อใดภิกษุ
มีความเพียรเผากิเลส
ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ
ก็เป็นบัณฑิตรอบรู้เวทนาทั้งปวง
--ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐิธรรม
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร.
-บุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต
อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว ย่อมคร่ำครวญร่ำไห้ ทุพพลภาพหมดกำลัง ;
-บุคคลนั้น จมลงแล้วในบาดาล (แห่งเวทนา) ซึ่งไม่มีที่ยืนเหยียบถึง.
-ส่วนบุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต
ย่อมอดกลั้นได้ ไม่หวั่นไหว ;
-บุคคลนั้น ไม่จมลงแล้วในบาดาล เพราะมีที่ยืนเหยียบถึง.
-ผู้ใด
เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์
เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร
เห็นอทุกขมสุขอันกำลังมีอยู่
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ;
--ผู้นั้นเป็นภิกษุ
ผู้รู้เห็นโดยชอบ
ย่อมรอบรู้ซึ่งเวทนา
เพราะรอบรู้เวทนา
จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฎฐิธรรม
เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร,

-- สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔-๒๕๗/๓๖๐, ๓๖๒, ๓๖๔, ๓๖๖, ๓๖๘.
http://etipitaka.com/read/pali/18/254/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%96%E0%B9%90

--วิภาคแห่งเวทนา
--ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยายซึ่งมีปริยายร้อยแปด แก่พวกเธอทั้งหลาย,
พวกเธอ จงฟังธรรมปริยายข้อนั้น.
--ภิกษุ ท. ! ธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปดนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
--ภิกษุ ท. !
เวทนา แม้สองอย่าง เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย,
เวทนา แม้สามอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย,
เวทนา แม้ห้าอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย,
เวทนา แม้หกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย,
เวทนา แม้สิบแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย,
เวทนา แม้สามสิบหกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย,
และเวทนา แม้ร้อยแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย.
--ภิกษุ ท. ! เวทนา สองอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนา สองอย่างนั้น คือ เวทนาที่เป็นไปทางกาย และเวทนาที่เป็นไปทางใจ.
--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสองอย่าง
--ภิกษุ ท. ! เวทนา สามอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนา สามอย่างนั้น คือ
สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นสุข)
ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นทุกข์)
และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข).
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เวทนา ห้าอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา ห้าอย่างนั้นคือ อินทรีย์คือสุข อินทรีย์คือทุกข์ อินทรีย์คือโสมนัส อินทรีย์คือโทมนัส และอินทรีย์คืออุเบกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาห้าอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เวทนา หกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนา หกอย่างนั้น คือ
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง หู,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง จมูก,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ลิ้น,
เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง กาย,
และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ใจ.
--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาหกอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เวทนา สิบแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนา สิบแปดอย่างนั้น คือ
ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโสมนัส หกอย่าง,
ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโทมนัส หกอย่าง,
และความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยอุเบกขา หกอย่าง.
ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสิบแปดอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เวทนา สามสิบหกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนาสามสิบหกอย่างนั้น คือ
โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือน (กามคุณ ๕) หกอย่าง,
โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (ไม่เกี่ยวด้วยกามคุณ ๕) หกอย่าง,
โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง,
โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง,
อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, และ
อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามสิบหกอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เวทนา ร้อยแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
เวทนาร้อยแปดอย่างนั้น คือ
เวทนาสามสิบหก (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ส่วนที่เป็นอดีต,
เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นอนาคต, และ
เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นปัจจุบัน.
--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาร้อยแปดอย่าง.
--ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปด แล.-

#ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/286-8/430-7.
http://etipitaka.com/read/thai/18/244/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%93%E0%B9%90
อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๖-๘/๔๓๐-๗.
http://etipitaka.com/read/pali/18/286/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%93%E0%B9%90
ศึกษาเพิ่มเติม..
https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=139
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=139
หรือ
http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11
ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียงอ่าน...
http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
อริยสาวกพึงฝึกหัดศึกษาประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนาและวิภาคแห่งเวทนา สัทธรรมลำดับที่ : 139 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=139 ชื่อบทธรรม :- ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา เนื้อความทั้งหมด :- --ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา -พุทธสาวก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมรู้ชัด ซึ่งเวทนา ซึ่งแดนเกิดแห่งเวทนา ซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่งเวทนา ซึ่งหนทางให้ถึงความสิ้นไป (แห่งฉันทราคะในเวทนา), --ภิกษุ เพราะสิ้น(ฉันทราคะ) แห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้หายหิว ดับเย็นสนิท. -เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตาม เป็นอทุกขมสุขก็ตาม เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม บุคคลรู้ว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นทุกข์ มีความหลอกลวงเป็นธรรมดา มีการแตกสลายเป็นธรรมดาเสวยแล้ว เสวยแล้ว เห็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา : ดังนี้ ย่อมปราศจากความกำหนัดในเวทนานั้น ๆ. -เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ราคานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น. -เมื่อบุคคล เสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่เขา ผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น. บุคคลเพลิดเพลินแม้ในอทุกขมสุข อันพระภูริปัญญาพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ไปได้ไม่. --เมื่อใดภิกษุ มีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ ก็เป็นบัณฑิตรอบรู้เวทนาทั้งปวง --ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร. -บุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว ย่อมคร่ำครวญร่ำไห้ ทุพพลภาพหมดกำลัง ; -บุคคลนั้น จมลงแล้วในบาดาล (แห่งเวทนา) ซึ่งไม่มีที่ยืนเหยียบถึง. -ส่วนบุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต ย่อมอดกลั้นได้ ไม่หวั่นไหว ; -บุคคลนั้น ไม่จมลงแล้วในบาดาล เพราะมีที่ยืนเหยียบถึง. -ผู้ใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขอันกำลังมีอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ; --ผู้นั้นเป็นภิกษุ ผู้รู้เห็นโดยชอบ ย่อมรอบรู้ซึ่งเวทนา เพราะรอบรู้เวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฎฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร, -- สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔-๒๕๗/๓๖๐, ๓๖๒, ๓๖๔, ๓๖๖, ๓๖๘. http://etipitaka.com/read/pali/18/254/?keywords=%E0%B9%93%E0%B9%96%E0%B9%90 --วิภาคแห่งเวทนา --ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยายซึ่งมีปริยายร้อยแปด แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอ จงฟังธรรมปริยายข้อนั้น. --ภิกษุ ท. ! ธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปดนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! เวทนา แม้สองอย่าง เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สามอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้ห้าอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้หกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สิบแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สามสิบหกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, และเวทนา แม้ร้อยแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย. --ภิกษุ ท. ! เวทนา สองอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สองอย่างนั้น คือ เวทนาที่เป็นไปทางกาย และเวทนาที่เป็นไปทางใจ. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสองอย่าง --ภิกษุ ท. ! เวทนา สามอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สามอย่างนั้น คือ สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นสุข) ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นทุกข์) และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เวทนา ห้าอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา ห้าอย่างนั้นคือ อินทรีย์คือสุข อินทรีย์คือทุกข์ อินทรีย์คือโสมนัส อินทรีย์คือโทมนัส และอินทรีย์คืออุเบกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาห้าอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เวทนา หกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา หกอย่างนั้น คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง หู, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง จมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ลิ้น, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง กาย, และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทาง ใจ. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาหกอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เวทนา สิบแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สิบแปดอย่างนั้น คือ ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโสมนัส หกอย่าง, ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโทมนัส หกอย่าง, และความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยอุเบกขา หกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสิบแปดอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เวทนา สามสิบหกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสามสิบหกอย่างนั้น คือ โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือน (กามคุณ ๕) หกอย่าง, โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (ไม่เกี่ยวด้วยกามคุณ ๕) หกอย่าง, โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง, อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, และ อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามสิบหกอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เวทนา ร้อยแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาร้อยแปดอย่างนั้น คือ เวทนาสามสิบหก (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ส่วนที่เป็นอดีต, เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นอนาคต, และ เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นปัจจุบัน. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาร้อยแปดอย่าง. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปด แล.- #ทุกข์ #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. 18/286-8/430-7. http://etipitaka.com/read/thai/18/244/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%93%E0%B9%90 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - สฬา. สํ. ๑๘/๒๘๖-๘/๔๓๐-๗. http://etipitaka.com/read/pali/18/286/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%93%E0%B9%90 ศึกษาเพิ่มเติม.. https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=139 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11&id=139 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=11 ลำดับสาธยายธรรม : 11 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_11.mp3
WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
- ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา
-ประมวลเรื่องน่ารู้พิเศษ เกี่ยวกับเวทนา พุทธสาวก เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา ซึ่งแดนเกิดแห่งเวทนา ซึ่งธรรมเป็นที่ดับแห่งเวทนา ซึ่งหนทางให้ถึงความสิ้นไป (แห่งฉันทราคะในเวทนา), ภิกษุ เพราะสิ้น(ฉันทราคะ) แห่งเวทนาทั้งหลาย เป็นผู้หายหิว ดับเย็นสนิท. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็ตามเป็นอทุกขมสุขก็ตาม เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม บุคคลรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ มีความหลอกลวงเป็นธรรมดา มีการแตกสลายเป็นธรรมดาเสวยแล้ว เสวยแล้ว เห็นอยู่ว่าเป็นสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา : ดังนี้ ย่อมปราศจากความกำหนัดในเวทนานั้น ๆ. เมื่อบุคคลเสวยสุขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ราคานุสัยย่อมมีแก่เขาผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น. เมื่อบุคคล เสวยทุกขเวทนาอยู่ ไม่รู้จักชัดซึ่งเวทนานั้น ปฏิฆานุสัยย่อมมีแก่เขา ผู้มองไม่เห็นทางออกจากอำนาจของเวทนานั้น. บุคคลเพลิดเพลินแม้ในอทุกขมสุขอันพระภูริปัญญาพุทธเจ้าทรงแสดงว่าเป็นธรรมอันรำงับ ก็หาพ้นจากทุกข์ไปได้ไม่. เมื่อใดภิกษุมีความเพียรเผากิเลส ไม่ทอดทิ้งสัมปชัญญะ ก็เป็นบัณฑิตรอบรู้เวทนาทั้งปวง ภิกษุนั้น เพราะรอบรู้ซึ่งเวทนา จึงเป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฏฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร. บุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต อดกลั้นไม่ได้ ย่อมหวั่นไหว ย่อมคร่ำครวญร่ำไห้ ทุพพลภาพหมดกำลัง ; บุคคลนั้น จมลงแล้วในบาดาล (แห่งเวทนา) ซึ่งไม่มีที่ยืนเหยียบถึง. ส่วนบุคคลใด ถูกทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นแล้วในสรีระปานว่าจะนำเสียซึ่งชีวิต ย่อมอดกลั้นได้ ไม่หวั่นไหว ; บุคคลนั้น ไม่จมลงแล้วในบาดาล เพราะมีที่ยืนเหยียบถึง. ผู้ใด เห็นสุขโดยความเป็นทุกข์ เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขอันกำลังมีอยู่ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ; ผู้นั้นเป็นภิกษุ ผู้รู้เห็นโดยชอบ ย่อมรอบรู้ซึ่งเวทนา เพราะรอบรู้เวทนา จึง เป็นผู้ไม่มีอาสวะในทิฎฐิธรรม เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมจนกระทั่งกายแตก จบเวท ไม่เข้าถึงซึ่งการนับว่าเป็นอะไร, สฬา. สํ. ๑๘/๒๕๔-๒๕๗/๓๖๐, ๓๖๒, ๓๖๔, ๓๖๖, ๓๖๘. วิภาคแห่งเวทนา ภิกษุ ท. ! เราจักแสดงธรรมปริยายซึ่งมีปริยายร้อยแปด แก่พวกเธอทั้งหลาย, พวกเธอ จงฟังธรรมปริยายข้อนั้น. ภิกษุ ท. ! ธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปดนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! เวทนา แม้สองอย่าง เราได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สามอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้ห้าอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้หกอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนาแม้สิบแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, เวทนา แม้สามสิบหกอย่างเราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย, และเวทนา แม้ร้อยแปดอย่าง เราก็ได้กล่าวแล้วโดยปริยาย. ภิกษุ ท. ! เวทนา สองอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สองอย่างนั้น คือ เวทนาที่เป็นไปทางกาย และเวทนาที่เป็นไปทางใจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสองอย่าง ภิกษุ ท. ! เวทนา สามอย่าง นั้นเป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สามอย่างนั้น คือ สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นสุข) ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็นทุกข์) และอทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกก็ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข). ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามอย่าง. ภิกษุ ท. ! เวทนา ห้าอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา ห้าอย่างนั้นคือ อินทรีย์คือสุข อินทรีย์คือทุกข์ อินทรีย์คือโสมนัส อินทรีย์คือโทมนัส และอินทรีย์คืออุเบกขา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาห้าอย่าง. ภิกษุ ท. ! เวทนา หกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา หกอย่างนั้น คือ เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางตา, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางหู, เวทนาอันเกิดแต่สัมผัสทางจมูก, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางลิ้น, เวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางกาย, และเวทนา อันเกิดแต่สัมผัสทางใจ. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาหกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เวทนา สิบแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนา สิบแปดอย่างนั้น คือ ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโสมนัสหกอย่าง, ความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยโทมนัสหกอย่าง, และความรู้สึกของจิตที่มั่วสุมอยู่ด้วยอุเบกขาหกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสิบแปดอย่าง. ภิกษุ ท. ! เวทนา สามสิบหกอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาสามสิบหกอย่างนั้น คือ โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือน (กามคุณ ๕) หกอย่าง, โสมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน (ไม่เกี่ยวด้วยกามคุณ ๕) หกอย่าง, โทมนัสเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, โทมนัสเวทนาที่ เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง, อุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยเหย้าเรือนหกอย่าง, และอุเบกขาเวทนาที่เนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือนหกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาสามสิบหกอย่าง. ภิกษุ ท. ! เวทนา ร้อยแปดอย่าง นั้น เป็นอย่างไรเล่า ? เวทนาร้อยแปดอย่างนั้น คือ เวทนาสามสิบหก (ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น) ส่วนที่เป็นอดีต, เวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นอนาคต, และเวทนาสามสิบหกส่วนที่เป็นปัจจุบัน. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ เรียกว่า เวทนาร้อยแปดอย่าง. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ ชื่อว่าธรรมปริยาย ซึ่งมีปริยายร้อยแปด แล.
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 141 มุมมอง 0 รีวิว