ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation)
เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน
Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1)
จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน
ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า
ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น
คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก
Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ
#StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm https://sunnews.cc/entertainment/376897.html https://m.aihanfu.com/wen/3546/ https://www.aihanfu.com/wen/2902/
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845 https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717 #คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน ช่วงนี้มีกระแสดังในจีนที่มีแบรนด์ดังนานาชาติระดับโอตกูตูร์แบรนด์หนึ่งวางขายกระโปรงจีบยาวในราคาสูงลิ่วพร้อมคำบรรยายว่ากระโปรงนี้มีโครงเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ ก่อเกิดเป็นกระแสต่อต้านอย่างแรงเนื่องจากมันเหมือนมากกับกระโปรงจีนโบราณ ถึงขนาดมีคนลงทุนไปซื้อมาเปรียบเทียบแจกแจงให้ฟังเพื่อพิสูจน์ว่าแบรนด์ดังฉกฉวยมรดกทางวัฒนธรรมจีนมาเป็นของตน (cultural appropriation)
เพื่อนเพจอาจเคยผ่านตาข่าวนี้มาบ้างแล้ว กระโปรงที่ว่านี้มีชื่อเรียกทางภาษาจีนว่า ‘หม่าเมี่ยนฉวิน’ (马面裙 แปลตรงตัวว่า หน้าม้า+กระโปรง) กระโปรงนี้เคยสร้างกระแสความขัดแย้งทางชาตินิยมกันมาแล้วเมื่อครั้งซีรีส์ <คีตาแห่งวสันต์> ออนแอร์ เพราะมีคนเกาหลีท้วงติงว่าเอาชุดเกาหลีมาแอบอ้างว่าเป็นชุดของจีน
Storyฯ ไปเห็นรูปส่วนประกอบของกระโปรงหม่าเมี่ยนเลยเอามาฝาก พร้อมรูปตัวอย่างจากในละคร (ดูรูปประกอบที่ 1)
จะเห็นจากรูปว่า กระโปรงหม่าเมี่ยนทำจากผ้าหกชิ้น ต่อเป็นสองชิ้นใหญ่ (บางบันทึกบอกว่าเจ็ดชิ้นแบ่งเป็นสองชิ้นใหญ่เท่าๆ กัน และในช่วงปลายหมิงมีการพูดถึงผ้าต่อสิบชิ้น) แน่นอนว่าเขามีเกณฑ์ความยาวและหน้ากว้าง แต่เกณฑ์นี้เปลี่ยนแปลงไปบ้างตามยุคสมัย แต่ละชิ้นจะมีส่วนที่จับจีบและส่วนที่แบนเรียบ ส่วนที่แบนเรียบนี้เรียกว่า ‘หม่าเมี่ยน’ ตอนนำมาประกอบให้เอาหม่าเมี่ยนซ้อนกันแล้วเย็บส่วนคาดเอวเพื่อตรึงผ้าไว้ด้วยกัน สุดท้ายก็จะเป็นกระโปรงยาวที่มีรอยแยกเปิดสี่จุดคือหน้าและหลังตรงแนวติดกับส่วนจีบสองข้าง (ดูรูปประกอบที่ 1) ตามบันทึกโบราณระบุว่ารอยแยกสี่จุดนี้เป็นเอกลักษณ์ของกระโปรงหม่าเมี่ยน
ทำไมต้องมีรอยแยกสี่จุด? คำตอบคือไว้สำหรับขี่ม้าค่ะ กระโปรงหม่าเมี่ยนมีใส่กันตั้งแต่ยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง และแท้จริงแล้วเป็นอิทธิพลที่ได้รับมาจากชนเผ่าคีตัน (ชี่ตัน) แห่งจักรวรรดิเหลียว ซึ่งนิยมสวมกระโปรงผ่าสี่แฉก เพื่อสะดวกต่อการขี่ม้า
ต่อมาในสมัยหยวน หมิง และชิงกระโปรงนี้เป็นที่นิยมอย่างมากและกลายมาเป็นแบบกระโปรงพื้นฐานที่ใส่กันในแทบจะทุกสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงขี่ม้า ในสมัยหมิงนั้นนิยมใส่คู่กับเสื้อสาบไขว้ปิดสูงแขนยาว (ดูภาพจากในละคร) เรียกว่า ‘เสื้ออ่าว’ (袄 และปัจจุบันเรียกรวมท่อนบนและล่างแบบนี้ว่า ‘อ่าวฉวิน’) ตัวกระโปรงเน้นลายปักที่ชายกระโปรง เช่นลายเมฆ ลายเส้น ลายงูใหญ่ (หม่าง หรือที่เรามักเรียกว่าเป็นมังกรสี่เล็บ) ฯลฯ ต่อมาเมื่อถึงยุคสมัยชิงลวดลายและสีสันมีมากขึ้น
คำว่า ‘หม่าเมี่ยน’ หากแปลตรงตัวว่า ‘ใบหน้าของม้า’ ก็จะฟังดูตลก แต่จริงๆ แล้วเป็นคำที่ใช้มาแต่โบราณเพื่อเรียกแนวกำแพงเมืองส่วนที่แบนราบ (ดูรูปประกอบ 2) ถามว่านี่คือที่มาของชื่อกระโปรงนี้หรือไม่? ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดค่ะ แต่จะเห็นว่ามีส่วนคล้ายคลึงอย่างมาก
Storyฯ ยังไม่ได้ดูซีรีส์เรื่องนี้ แต่ดูจากภาพตัวอย่างแล้วเสื้อผ้าและเครื่องประดับดูเนี๊ยบมาก อ่านเจอว่าใช้ช่างฝีมือระดับอาจารย์มาจากซูโจวเลยทีเดียว เพื่อนเพจท่านใดได้เคยดูแล้วมาบอกกันหน่อยว่าสวยงามละมุนตาไหม
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กดติดตามกันด้วยนะคะ #StoryfromStory)
Credit รูปภาพจาก:
https://m.juqingke.com/drama/l0fgpncm
https://sunnews.cc/entertainment/376897.html
https://m.aihanfu.com/wen/3546/
https://www.aihanfu.com/wen/2902/
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://www.52shijing.com/ctwh/87725.html
https://zhuanlan.zhihu.com/p/98833845
https://baike.baidu.com/item/%E9%A9%AC%E9%9D%A2/2872717
#คีตาแห่งวสันต์ #กระโปรงจีนโบราณ #ชุดราชวงศ์หมิง #หม่าเมี่ยนฉวิน #หม่าเมี่ยน #กระโปรงจีบ #อ่าวฉวิน