"โลกมาถึงจุดที่กำลังจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ ไม่ใช่เพราะต้นเหตุที่เกิดจากสหรัฐอเมริกาใช้อำนาจกดดัน บังคับ คว่ำบาตร ต่อประเทศต่างๆ เพื่อให้พวกเขาอยู่ใต้อำนาจหรอกหรือ"
หลังจากที่รัสเซียใช้ขีปนาวุธ IRBM โจมตีในดนิโปร ของยูเครน และสร้างความตกตะลึงให้กับปลุ่มประเทศนาโตอย่างมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้เสนอรายงานเพื่อปรับปรุงกองกำลังนิวเคลียร์ กองบัญชาการและควบคุมนิวเคลียร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย และปรับกลยุทธ์การยับยั้งการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เหตุผลก็เพราะศัตรูด้านนิวเคลียร์อย่างรัสเซียและจีนกำลังเป็นภัย "คุกคาม" มากขึ้น
ริชาร์ด จอห์นสัน รองผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมฝ่ายนโยบายนิวเคลียร์และต่อต้านอาวุธทำลายล้างสูง กล่าวว่า "ปัจจุบันเราอาศัยอยู่ในโลกที่ต้องเผชิญกับคู่แข่งด้านนิวเคลียร์หลายราย หลายประเทศกำลังขยาย และเพิ่มความหลากหลาย รวมทั้งปรับปรุงคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตน ซึ่งน่าเสียดายที่ประเทศเหล่านั้นให้ความสำคัญกับบทบาทของอาวุธนิวเคลียร์ในกลยุทธ์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของตนเป็นอันดับแรก ทำให้สหรัฐฯจำเป็นต้องทบทวนท่าทีด้านนิวเคลียร์ในปี 2022 "เพื่อรักษาการยับยั้งนิวเคลียร์ไว้ภายใต้ศักยภาพด้านนิวเคลียร์ที่เพิ่มขึ้นของจีนและรัสเซีย"
จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสหรัฐฯ แล้ว รวมถึงในด้านการผลิตระเบิดแรงโน้มถ่วง B61-13 การเพิ่มความพร้อมของเรือดำน้ำชั้นโอไฮโอที่ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์และระบบขับเคลื่อน และการปรับปรุงคลังอาวุธนิวเคลียร์โดยทั่วไป
จอห์นสันยังกล่าวว่า "การใช้นโยบาย "ยับยั้ง" เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ไขอันตรายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ซึ่งต้องดำเนินไปกับการควบคุมอาวุธ การลดความเสี่ยง และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญเช่นกัน"
ด้านนายแกรนท์ ชไนเดอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์ของคณะเสนาธิการร่วม กล่าวว่า "เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทศวรรษ 2030 เราจะต้องปรับปรุงกองกำลังนิวเคลียร์ กองบัญชาการและควบคุมนิวเคลียร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถยืดหยุ่นและปรับตัวได้เมื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หรือความล่าช้าในการปรับปรุงให้ทันสมัย"
"โลกมาถึงจุดที่กำลังจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ ไม่ใช่เพราะต้นเหตุที่เกิดจากสหรัฐอเมริกาใช้อำนาจกดดัน บังคับ คว่ำบาตร ต่อประเทศต่างๆ เพื่อให้พวกเขาอยู่ใต้อำนาจหรอกหรือ"
หลังจากที่รัสเซียใช้ขีปนาวุธ IRBM โจมตีในดนิโปร ของยูเครน และสร้างความตกตะลึงให้กับปลุ่มประเทศนาโตอย่างมาก กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้เสนอรายงานเพื่อปรับปรุงกองกำลังนิวเคลียร์ กองบัญชาการและควบคุมนิวเคลียร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย และปรับกลยุทธ์การยับยั้งการใช้อาวุธนิวเคลียร์ เหตุผลก็เพราะศัตรูด้านนิวเคลียร์อย่างรัสเซียและจีนกำลังเป็นภัย "คุกคาม" มากขึ้น
ริชาร์ด จอห์นสัน รองผู้ช่วยรัฐมนตรีกลาโหมฝ่ายนโยบายนิวเคลียร์และต่อต้านอาวุธทำลายล้างสูง กล่าวว่า "ปัจจุบันเราอาศัยอยู่ในโลกที่ต้องเผชิญกับคู่แข่งด้านนิวเคลียร์หลายราย หลายประเทศกำลังขยาย และเพิ่มความหลากหลาย รวมทั้งปรับปรุงคลังอาวุธนิวเคลียร์ของตน ซึ่งน่าเสียดายที่ประเทศเหล่านั้นให้ความสำคัญกับบทบาทของอาวุธนิวเคลียร์ในกลยุทธ์ด้านความมั่นคงแห่งชาติของตนเป็นอันดับแรก ทำให้สหรัฐฯจำเป็นต้องทบทวนท่าทีด้านนิวเคลียร์ในปี 2022 "เพื่อรักษาการยับยั้งนิวเคลียร์ไว้ภายใต้ศักยภาพด้านนิวเคลียร์ที่เพิ่มขึ้นของจีนและรัสเซีย"
จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ได้ดำเนินการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสหรัฐฯ แล้ว รวมถึงในด้านการผลิตระเบิดแรงโน้มถ่วง B61-13 การเพิ่มความพร้อมของเรือดำน้ำชั้นโอไฮโอที่ติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์และระบบขับเคลื่อน และการปรับปรุงคลังอาวุธนิวเคลียร์โดยทั่วไป
จอห์นสันยังกล่าวว่า "การใช้นโยบาย "ยับยั้ง" เพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถแก้ไขอันตรายเชิงยุทธศาสตร์ได้ ซึ่งต้องดำเนินไปกับการควบคุมอาวุธ การลดความเสี่ยง และการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญเช่นกัน"
ด้านนายแกรนท์ ชไนเดอร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายเสถียรภาพเชิงยุทธศาสตร์ของคณะเสนาธิการร่วม กล่าวว่า "เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับทศวรรษ 2030 เราจะต้องปรับปรุงกองกำลังนิวเคลียร์ กองบัญชาการและควบคุมนิวเคลียร์ และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องให้ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถยืดหยุ่นและปรับตัวได้เมื่อเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หรือความล่าช้าในการปรับปรุงให้ทันสมัย"