• ทำไมทำไมดื่มเบียร์ ถึงทำให้อ้วนลงพุง
    ทำไมทำไมดื่มเบียร์ ถึงทำให้อ้วนลงพุง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 5 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 10 Views 0 Reviews
  • แนะนำกลุ่มสำหรับคนรักการวิ่งเพื่อสุขภาพครับ ... มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ เกี่ยวกับการวิ่งกันครับ
    แนะนำกลุ่มสำหรับคนรักการวิ่งเพื่อสุขภาพครับ ... มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ เกี่ยวกับการวิ่งกันครับ
    THAITIMES.CO
    Healthy Run Club - คลับของคนรักการวิ่งเพื่อสุขภาพ
    ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Healthy Run Club - คลับของคนรักการวิ่งเพื่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นนักวิ่งมือใหม่หรือมืออาชีพ เราเชื่อว่าการวิ่งคือก้าวแรกของการสร้างสุขภาพที่ดีและจิตใจที่แข็งแรง มาร่วมแบ่งปันเคล็ดลับการวิ่ง แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างแรงบันดาลใจให้กันและกัน...
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 30 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 12 Views 0 Reviews
  • ใครว่า...รวยแล้วไม่โกง!
    ใครว่า...รวยแล้วไม่โกง!
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 17 Views 0 Reviews
  • ชีวิตคนเรา มีทางออกเสมอ หากเรามีสติ และ ไม่ละความพยายาม
    ชีวิตคนเรา มีทางออกเสมอ หากเรามีสติ และ ไม่ละความพยายาม
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 87 Views 10 0 Reviews
  • พลังบวก คิดมาก ล้อคเป้าหมาย เดินหน้าต่อ
    พลังบวก คิดมาก ล้อคเป้าหมาย เดินหน้าต่อ
    Yay
    1
    0 Comments 0 Shares 21 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 25 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 5 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 5 Views 0 Reviews
  • ทำบุญกฐินครับ
    วัดอู่ตะเภา ลาดกระบัง
    ทำบุญกฐินครับ วัดอู่ตะเภา ลาดกระบัง
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 17 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 7 Views 0 Reviews
  • ♣ รัฐบาลการละคร ไม่ยอมเสียทั้งเกาะกูดและที่ดินรถไฟ
    #7ดอกจิก
    ♣ รัฐบาลการละคร ไม่ยอมเสียทั้งเกาะกูดและที่ดินรถไฟ #7ดอกจิก
    0 Comments 0 Shares 160 Views 43 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 6 Views 0 Reviews
  • ข้อมูลที่เราต้องรู้
    ข้อมูลที่เราต้องรู้
    แผนการเล่นลับๆ ของบริษัทยาขนาดใหญ่: การเขียนบทความ ยาผีบอก ในวารสารทางการแพทย์ชั้นนำ เพื่อผลักดันยาอันตราย

    ถึงเวลาเผชิญหน้ากับความจริงแล้ว :- บริษัทยาขนาดใหญ่ ได้เข้ายึดครองระบบการแพทย์
    สิ่งที่คุณเคยเชื่อว่าคือวิทยาศาสตร์ สิ่งที่คุณเคยเชื่อว่าเป็น "ยา" เป็นเพียงภาพลวงตาที่สร้างขึ้น เพื่อให้คุณพึ่งพาผู้อื่น

    คำโกหก ยาผีบอก : บริษัทยาขนาดใหญ่ กำหนดชะตากรรมของคุณ

    บริษัทยาขนาดใหญ่ ไม่ได้แค่มีอิทธิพล ต่อวารสารทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังเขียนรายงานวิจัย ที่แพทย์ใช้ในการรักษาคุณอีกด้วย บทความที่ "ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ" เหล่านี้ เป็นเพียงบทความประชาสัมพันธ์ ที่โฆษณายาที่ทั้งไม่มีประสิทธิภาพ และมีอันตราย แพทย์กำลังจ่ายยาพิษเหล่านี้ โดยเชื่อว่ายาเหล่านี้ มีพื้นฐานมาจากวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง

    แต่ความจริงแล้ว ยาเหล่านี้ถูกคิดค้นขึ้นโดยทีมประชาสัมพันธ์ ของบริษัทยาขนาดใหญ่ ด้วยข้อมูลปลอม และผลลัพธ์ที่ทำให้เข้าใจผิด ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้กำไรพุ่งสูงขึ้น

    แพทย์ชั้นนำ ได้รับเงิน เพื่อสนับสนุนการโกหก

    บริษัทยาขนาดใหญ่ จ้างบริษัทภายนอก เพื่อสร้างงานวิจัยปลอมๆ จากนั้นจึงจ่ายเงิน ให้แพทย์ที่มีชื่อเสียง เพื่อใส่ชื่อของพวกเขา ลงไปในงานวิจัยนั้น “ผู้เขียน” เหล่านี้ไม่เคยได้เห็นข้อมูลเลย พวกเขาเพียงแค่หาเงินจากคำโกหก ที่ทำให้ชื่อ และบัญชีธนาคารของพวกเขาเต็มล้น วารสารอย่าง The Lancet และ NEJM ได้กลายเป็นโฆษก ของบริษัทยาขนาดใหญ่ โดยแต่งเติมโฆษณา ให้ดูเหมือนวิทยาศาสตร์

    คุณคือหนูทดลอง 🐭

    แพทย์ทั่วโลก อ่านงานวิจัยที่เขียนโดยคนอื่นเหล่านี้ และหลงเชื่อคำโกหก ทำให้ผู้ป่วยหลายล้านคน กลายเป็นหนูทดลองของบริษัทยาขนาดใหญ่ ยาเม็ดที่แพทย์ของคุณสั่งนั้น ขึ้นอยู่กับงานวิจัยที่แต่งขึ้น ผลข้างเคียงหรืออะไรก็ตามที่ซ่อนอยู่ ประสิทธิผลหรืออะไรก็ตาม ที่เป็นของปลอม และคุณต้องจ่ายเงินเพื่อการหลอกลวงนี้ ด้วยกระเป๋าสตางค์และสุขภาพของคุณ

    การคิดค้นโรคเพื่อผลกำไร

    มันไม่ได้หยุดอยู่แค่ยา บริษัทยาขนาดใหญ่ กำลังสร้างโรค เพื่อขายยาให้ได้มากขึ้น จากอาการขาสั่น ไปจนถึงโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ อาการเหล่านี้ไม่ได้ปรากฏขึ้นในทันใด แต่ถูกคิดค้นขึ้น เพื่อให้คุณกลายเป็นลูกค้าตลอดชีวิต ความรู้สึกปกติในปัจจุบัน กลายเป็น "ความผิดปกติ" ที่มีค่าใช้จ่าย และบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ ก็หากำไรจากสิ่งนี้ เมื่อผู้คนเริ่มพึ่งพายามากขึ้น

    จุดสิ้นสุด : การควบคุมประชากร

    นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของกำไรเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการควบคุมประชากรอีกด้วย เมื่อรัฐบาลและบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ อยู่ข้างพวกเขา เป้าหมายสูงสุดของบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ คือประชากรที่เชื่อง และพึ่งพาผู้อื่น ยาที่เพิ่มมากขึ้น การยอมปฏิบัติตามมากขึ้น และการควบคุมที่มากขึ้น ด้วย =หนังสือเดินทางด้านสุขภาพดิจิทัล= และ "การบำบัด" โดยการตัดแต่งยีน พวกเขากำลังวางรากฐาน เพื่อออกแบบชีววิทยาของคุณ และกำหนดการเข้าถึงสังคมของคุณ

    การทุจริตของ FDA : ผู้ดูแลประตูถูกซื้อตัวไปแล้ว

    FDA ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องเรา กลับอยู่ในกระเป๋าของบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ ด้วยประตูที่หมุนเวียนไปมา ระหว่างหน่วยงานกำกับดูแล และผู้บริหารบริษัทเวชภัณฑ์ พวกเขาอนุมัติยาอันตราย และเพิกเฉยต่อผลที่ตามมา เมื่อถึงเวลาที่ยาถูกดึงออก กำไรของบริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ก็จะปลอดภัย ในขณะที่ผู้ป่วย ถูกทิ้งไว้เป็นความเสียหายทางอ้อม

    ความจริงขั้นสุดท้าย: หลุดพ้นจากการควบคุมของพวกเขา

    บริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ ไม่ได้ต้องการรักษาคุณ พวกเขาต้องการครอบครองคุณ ยาทุกตัว งานวิจัยทุกกรณี โฆษณาทุกรายการ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของแผนการ ที่จะทำให้คุณกลายเป็นลูกค้า ที่ต้องพึ่งพาตลอดชีวิต จงตื่นขึ้น มองทะลุการหลอกลวงของพวกเขา ควบคุมสุขภาพของคุณ และปฏิเสธ =โซ่ตรวน= ที่บริษัทเวชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ กำลังพยายามพันธนาการคุณอยู่

    ถึงเวลาที่จะหลุดพ้น และกลับมามีชีวิตของคุณอีกครั้ง
    0 Comments 0 Shares 12 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 6 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/nBuAHFzoUdo?si=NWNrcQiK8Zs5mGZe
    https://youtu.be/nBuAHFzoUdo?si=NWNrcQiK8Zs5mGZe
    0 Comments 1 Shares 82 Views 0 Reviews
  • Love
    1
    0 Comments 0 Shares 74 Views 0 Reviews
  • เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์

    อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง

    ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน

    คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป

    แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา

    ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย

    ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ

    ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย

    แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร

    ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน

    แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย

    ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์"

    ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา

    Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น

    โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย

    พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง

    ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ

    ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม)

    ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน)

    กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น

    แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร

    ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา

    แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก

    ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย

    ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

    สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย

    หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า

    "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน

    จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ"

    แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น

    หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด"

    บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better
    ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok

    ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA

    #Thaitimes
    เรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์เป็นตอนหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ถูกทำเป็น 'วัฒนธรรมป๊อป' มากที่สุดตอนหนึ่ง มีทั้งนิยาย ภาพยนต์ และล่าสุดคือละครหรือซีรีส์ อาจเป็นเพราะเรื่องของท้าวศรีสุดาจันทร์ให้อารมณ์หวาบหวิวจากการแอบลอบคบชู้กับพันบุตรศรีเทพ (ขุนวรวงศาธิราช) ทำให้มีการขยายความตอนนี้เป็นพิเศษ ทั้งๆ ประวัติศาสตร์ก็ไม่ได้บอกอะไรมากนักเรื่องนี้เพียง ในเวลาต่อมาคอนเทนท์บันเทิงบางยุคเริ่มมีการใช้คำว่า 'แม่หยัว' เรียกท้าวศรีสุดาจันทร์ ทำให้คนเข้าใจผิดไม่น้อยว่า 'แม่หยัว' น่าจะหมายถึงอาการยั่วยวนเรื่องกามราคะ แต่ความจริง 'แม่หยัว' หมายถึง 'แม่อยู่หัว' ที่หมายถึงมเหสีของพระเจ้าแผ่นดิน คำว่าแม่อยู่หัวนั้นในบันทึกโบราณเรียกเพี้ยนเป็น แม่อยัว แม่หญัว แม่อยั่ว ฯลฯ แต่พอตอนนี้ของประวัติศาสตร์ถูกวัฒนธรรมป๊อปปั้นภาพลักษณ์ยั่วยวนของท้าวศรีสุดาจันทร์ขึ้นมา ทำให้คนเข้าใจคำว่า 'แม่หยัว' ผิดไป แต่นั้นมาคำว่า 'แม่หยัว' ก็กลายเป็นเครื่องหมายการค้าของเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์ เพียงแต่มันเกิดจากภาพจำผิดๆ ที่ 'นิยายอิงประวัติศาสตร์' สร้างขึ้นมา ย้ำอีกครั้งว่าเรื่องท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีเนื้อหาไม่มากนักในทางประวัติศาสตร์ ดังนั้นถ้าจะทำเป็นคอนเทนต์บันเทิง จึงหลีกกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้อง "มโนเอาเอง" กันบ้าง เรื่องนี้เกิดขึ้นกับการสร้างคอนเทนต์บันเทิงกับบุคคลทางประวัติศาสตร์บางคนด้วย ที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อจะเท้าความ 'กรณีพิพาท' ระหว่างที่คนคิดว่าการทำละครอิงประวัติศาสตร์แบบเรื่อง 'แม่หยัว' ไม่เห็นจะต้องทำให้ตรงประวัติศาสตร์เป๊ะๆ กับฝ่ายที่ย้ำว่าไม่ควรที่จะมโนกันเกินไป ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการทำ Historical fiction เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนถกเถียงกันมาโดยตลอดว่า มันมี "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" (Historically Accurate) แค่ไหน? เพราะนิยายอิงประวัติศาสตร์จะต้องอาศัยการมโนในสัดส่วนที่มากพอสมควร เพื่อปลุกเร้าอารมณ์ผู้เสพ ในกรณีของแม่หยัว อย่าไปถามเรื่อง "ความถูกต้องตามประวัติศาสตร์" เพราะเนื้อหาในประวัติศาสตร์มีนิดเดียว ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้จินตนาการได้มากมาย แต่การมโนก็ต้องดูสภาพแวดล้อมของทางประวัติศาสตร์ด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะไม่เนียน เช่น ท้างศรีสุดาจันทร์เป็นเหตุการณ์สมัยอยุธยาตอนกลาง แต่ถ้าไปจับแม่อยู่หัวไปสวมมงกุฏสมัยละโว้มันก็หาได้เนียนไม่ เพราะเมื่อถึงยุค 'แม่หยัว' เขาเลิกใส่เครื่องหัวแบบนั้นกันแล้ว แล้วยังมีกฎมณเฑียรบาลที่ตราไว้ในสมัยอยุธยาตอนนั้นระบุการแต่งกายของแม่อยู่หัวเอาไว้แล้ว และยังมีภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยา (ที่ผมเชื่อว่าคัดมาจากต้นฉบับสมัยอยุธยาตอนต้น) ชี้ทางเอาไว้แล้วว่าสตรีชั้นสูงยุคนั้นแต่งตัวอย่างไร ความไม่เนียนแบบนี้เองที่จะทำให้ Historical fiction กลายเป็น Historical fantasy ซึ่งมีความเป็นประวัติศาสตร์อย่างเดียวคือฉากย้อนยุค ส่วนเรื่องอื่นๆ มโนตามใจฉัน แต่ในเมืองไทยเรื่องความเนียนไม่เนียนทางประวัติศาสตร์ยังไม่เรื่องใหญ่ระดับชาติ เพราะประวัติศาสร์บ้านเรากระท่อนกระแท่นและคนไทยแคร์ประวัติศาสตร์มากเท่ากับคนในประเทศเอเชียตะวันออก เช่น จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ประเทศพวกนี้นอกจากต้องทำละครให้เนียนแบบ Historically Accurate แล้ว ยังต้องทำให้ถูกต้องในแบบ Politically correct ด้วย ผมจะยกตัวอย่างการสังเกตส่วนตัวจากกรณีของเกาหลีใต้ที่สร้างซีรีส์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ และมักเกิดกรณี "ซีรีส์เรื่องนี้บิดเบือนประวัติศาสตร์" ตัวอย่างเช่นซีรีส์เรื่อง Queen Seondeok ในปี 2009 ซึ่งสร้างจากยุคที่บันทึกประวัติศาสตร์ไม่ละเอียดมากนัก แต่สามารถยืดออกได้มากถึง 62 ตอน ในแง่ของความถูกต้องทางประวัติศาสตร์มีน้อย แถมคอสตูมยังไม่ถูกต้อง เรื่องนี้ถูกตำหนิในเกาหลีว่า "มโนประวัติศาสตร์" มากเกินไป และยังอ้างบันทึกประวัติศาสตร์ที่ถูกกล่าวหาว่าถูกปลอมขึ้นมา Queen Seondeok ถูกผู้มีความรู้ทางประวัติศาสตร์ตำหนิอย่างมาก เพราะแม้ว่าบันทึกสมัยชิลลาจะมีไม่มาก แต่มันก็เป็นบันทึกที่เที่ยงแท้ในทางประวัติศาสร์ การจะบิดเบือนความสัมพันธ์ของ 'ตัวละคร' หรือพฤติกรรมที่ถูกบันทึกไว้จริงๆ จึงไม่ควรจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้น ความจริงแล้ว Queen Seondeok ควรจะเดินตามเส้นตรงของประวัติศาสตร์ เพราะโอกาสที่จะออกนอกประวัติศาสตร์มีแต่บทสนทนาเท่านั้น โปรดสังเกตว่าเรื่องนี้สร้างก่อนยุคโซเชียลจะแพร่หลาย พอโซเชียลมีเดียทรงพลังขึ้นมา การโจมตีซีรีส์อิงประวัติศาสตร์เริ่มจะสะเปะสะปะขึ้นทุกวัน เพราะแทนที่จะโจมตีความถูกต้อง กลับไปโจมตีเรื่องการเมือง ตัวอย่างเช่น Joseon Exorcist เมื่อปี 2021 ที่ฉายได้แค่ 2 ตอนก็แท้งซะก่อน เพราะถูกตำหนิว่าใช้ฉากประกอบที่อ้างว่าไม่ตรงกับความจริงทางประวัติศาสตร์ เช่น ใช้ อุปกรณ์ของจีนในเกาหลีโบราณ ในปี 2022 เกิดกรณี Under the Queen's Umbrella ถูกตำหนิว่า บิดเบือนประวัติศาสตร์ เพราะใช้ตัวอักษรจีนแบบตัวย่อ (ที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นในยุคสมัยใหม่ ส่วนเกาหลีใช้อักษรจีนตัวเต็ม) ในปี 2024 มีกรณี Queen Woo ถูกตำหนิว่าเครื่องแต่งกายของตัวละครมีความเป็นจีนมากเกินไป ไม่น่าจะสอดคล้องกับคนเกาหลีในยุคโคกูรยอ (ทั้งที่โคกูรยอก็รับวัฒนธรรมจากจีน) กรณีเหล่านี้มีอะไรเหมือนกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ 'กระแสต่อต้านจีน' ในเกาหลีใต้ ทั้งๆ ที่เกาหลีเป็นเขตอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนมาแต่โบราณ แค่เรื่องนี้เป็น 'อคติ' ของผู้ชมเกาหลีใต้เองที่เกลียด เหยียด และกลัวจีนมากขึ้น แต่ในแง่เนื้อหาทางประวัติศาสตร์ กรณีพวกนี้เหมือนกันอย่างหนึ่ง คือ เกิดขึ้นในยุคโชซอน ซึ่งมีการบันทึกประวัติศาสตร์ทางการอย่างละเอียด กระทั่งบันทึกไว้ว่ากษัตริย์ตรัสถ้อยคำไว้อย่างไร ในยุคสมัยที่บันทึกละเอียดแบบนี้การมโนจึงทำไม่ได้ เพราะไม่มีพื้นที่ว่างให้จินตนาการได้อีก ตรงกันข้ามกับเรื่อง Queen Woo ซึ่งเกิดในยุคโคกูรยอ ซึ่งมีประวัติศาสตร์บันทึกกระท่อนกระแท่นเหมือนประวัติศาสตร์ไทย ดังนั้นจึงมีพื้นที่ให้มโนได้มากตามใจปรารถนา แต่ถึงจะมโนได้มาก แต่อารมณ์ชาตินิยมที่รุนแรงในเกาหลีใต้ไม่อนุญาตให้มโนได้ตามใจชอบอีก ไม่ใช่เพราะผู้สร้างบิดเบือนประวัติศาสตร์ แต่ทำงานออกมาไม่ถูกใจพวกชาตินิยมสุดโต่งต่างหาก ดังนั้น ในโลกของนิยายอิงประวัติศาสตร์ จึงไม่มีคำว่าถูกต้องเป๊ะๆ ยิ่งในปัจจุบันมีแต่คำว่า "ถูกใจคนดูหรือไม่" โดยที่ความถูกใจของคนดูไม่ใช่ถูกใจเพราะดาราแสดงดี หรือเครื่องแต่งกายสวย แต่ยังต้องคล้องจองกับ 'วาระทางการเมือง' ของคนดูด้วย ยกตัวอย่างจีน ซึ่งบางคนยังเชื่อว่าจีนทำซีรีส์พีเรียดมากมายเพราะอนุญาตให้มโนได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด สังคมจีนและสถาบันรัฐจีน (ที่ชาตินิยมขึ้นทุกวัน) ไม่ได้อนุญาตให้มโนประวัติศาสตร์ได้ สิ่งที่คนไทยเห็นว่าจีนจินตนาการประวัติศาสตร์นั้น คือ สิ่งที่เรียกว่า Historical fantasy คือใช้ฉากย้อนยุคที่กำกวม ใช้คอสตูมที่อาจจะอยู่ในยุคที่คาดเดาได้ แต่ไม่มีเหตุการณ์นั้นจริงๆ เช่นเรื่อง Nirvana In Fire เมื่อปี 2015 ที่ทำให้เชื่อว่าอยู่ในยุคหนานเป่ยเฉา แต่เอาจริงๆ มันไม่มีสถานการณ์จริงและตัวบุคคลจริงอยู่เลย หากมีซีรีส์ที่ทำเนื้อหาจริงๆ ทางประวัติศาสตร์ หากเลินเล่อเกินไปก็จะถูกโจมตีอย่างหนัก เช่น Legend of Miyue ที่อิงประวัติศาสตร์ยุคจ้านกั๋ว แต่ถูกวิจารณ์เรื่องข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เรื่องนี้มีความเห็นที่น่าสนใจจาก หลีเสี่ยวเหว่ย บรรณาธิการบริหารของ "จงกั๋วชิงเหนียนหว่าง" (中国青年网) ของทางการจีน ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ถูกตำหนิ เขากล่าวว่า "จักรพรรดินีองค์แรกของจีนในเรื่อง "Legend of Miyue" ซีรีส์ทางทีวีใช้ตัวละครและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง แต่ไม่ได้ติดตามข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์พื้นฐาน และถึงกับแต่งเรื่องขึ้นมาด้วยซ้ำ ปรากฏการณ์นี้ช่างน่าเป็นห่วง ประการแรก มันจะนำพาผู้คนให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และก่อให้เกิดข่าวลือ ประการที่สอง นี่คือทิศทางที่ผิดปกติของการพัฒนาละครประวัติศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" ในเรื่องนี้ทางเกาหลีก็เห็นด้วยกับจีน จากกรณีของ Queen Seondeok อีจองโฮ ผู้สื่อข่าวของ "ยอนเซ ชุนชู" (연세춘추) สื่อของมหาวิทยาลัยยอนเซ ถึงกับบอกว่า "Queen Seondeok คือเรื่องโกหก" และได้สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งชี้แนะว่า"ตามที่ศาสตราจารย์ ชาฮเยวอน (ภาควิชาศิลปศาสตร์ ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงของจีน) กล่าวไว้ ละครประวัติศาสตร์จีนมักจะมีความเที่ยงตรงต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งแตกต่างจากละครประวัติศาสตร์เกาหลี ความจริงของละครประวัติศาสตร์เกาหลีคือความจริงทางประวัติศาสตร์ถูกละเลยเพื่อความบันเทิงและเรตติ้งผู้ชม เพื่อแก้ปัญหานี้ จำเป็นต้องมีการไตร่ตรองภายในอุตสาหกรรมการออกอากาศ" แม้ว่าประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์ที่เบาบางต่างจากจีนและเกาหลี แต่เราสามารถใช้มาตรฐานแบบนี้ได้เหมือนกัน สิ่งที่ต้องเป๊ะคือแกนหลักในประวัติศาสตร์ อย่าตีความมากเกินไปเพราะต้องเคารพ "ผู้ที่ตายไปแล้วซึ่งไม่มีโอกาสร้องอุทรณ์แก้ต่างให้ตัวเอง" ด้วย ส่วนสิ่งที่จินตนาการได้ก็ควรทำให้ตรงกับบริบทแวดล้อมของยุคนั้น หากทำเอาสนุกอย่างเดียว ก็ "จะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของละครประวัติศาสตร์ในที่สุด" บทความทัศนะโดย กรกิจ ดิษฐาน ผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร และบรรณาธิการข่าวต่างประเทศ The Better ภาพโปสเตอร์โปรโมทซีรีส์เรื่อง แม่หยัว และ Queen Seondeok ที่มา https://www.thebetter.co.th/news/world/23351?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR3w6ch-KVjjFiWzTmp8gh2-HSMqAh7UX0lxC3jm2_5RD0J97vIDxYCrljo_aem_wMoYw4S-NqnmnAfELQfeSA #Thaitimes
    WWW.THEBETTER.CO.TH
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    ความไม่เนียนของ'ซีรีส์อิงประวัติศาสตร์' ต้องเป๊ะประวัติศาสตร์แค่ไหน?
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 366 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 5 Views 0 Reviews
  • กระทงใบมะม่วง
    ใบมะม่วง ขนาดเล็ก ๆ เพียง 13 ใบผ่าครึ่ง ก็ได้กระทงสวย และ ประหยัด ลอยได้นาน เป็นเส้นตรง ไม่หลงทาง
    กระทงใบมะม่วง ใบมะม่วง ขนาดเล็ก ๆ เพียง 13 ใบผ่าครึ่ง ก็ได้กระทงสวย และ ประหยัด ลอยได้นาน เป็นเส้นตรง ไม่หลงทาง
    0 Comments 0 Shares 68 Views 9 0 Reviews
  • การทุจริตในภาครัฐ
    การทุจริตในภาครัฐ
    เปิดรายงาน สตง.สอบปัญหาเงินขาดบัญชี 15 หน่วยงาน พบพฤติการณ์ทุจริตเพียบ จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเจอชื่อคนตาย จัดเก็บค่าน้ำ-ขยะมูลฝอย มีหมุนเงินไปใช้ส่วนตัว ระบบ KTB Corporate Online เข้าไปทำรายการโอนเงินผ่านเมนูชำระค่าสินค้าเข้าบัญชีเงินฝากตนเอง ส่งเรื่อง ป.ป.ช. หน่วยงานเกี่ยวข้อง แจ้งสอบสวนลงโทษตามขั้นตอนกม.แล้ว

    https://isranews.org/article/isranews-news/133068-invesssasasassasad.html

    #Thaitimes
    ISRANEWS.ORG
    พบทุจริตเพียบ! สตง.สอบปัญหาเงินขาดบัญชี 15 หน่วยงาน-เจอชื่อคนตายรับเบี้ยยังชีพคนชรา
    เปิดรายงาน สตง.สอบปัญหาเงินขาดบัญชี 15 หน่วยงาน พบพฤติการณ์ทุจริตเพียบ จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเจอชื่อคนตาย จัดเก็บค่าน้ำ-ขยะมูลฝอย มีหมุนเงินไปใช้ส่วนตัว ระบบ KTB Corporate Online เข้าไปทำรายการโอนเงินผ่านเมนูชำระค่าสินค้าเข้าบัญชีเงินฝากตนเอง ส่งเรื่อง ป.ป.ช. หน่วยงานเกี่ยวข้อง แจ้งสอบสวนลงโทษตามขั้นตอนกม.แล้ว
    0 Comments 0 Shares 5 Views 0 Reviews
  • โลภ ลวง โกง รวย หายนะ

    ขอบพระคุณเจ้าของบทความชีวิตตนเอง ผู้แปล และเพื่อนสนิทที่กรุณาส่งมาให้ครับ

    ความร่ำรวยที่มาจากการหลอกลวงคนอื่นเป็นเหมือนสิ่งเสพติด เมื่อความโลภเริ่มเข้าครอบงำจิตใจ มันไม่ใช่แค่เรื่องของการหาเงินอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นความต้องการที่ไม่มีที่สิ้นสุด และจุดจบของมันมีเพียงหนึ่งเดียว คือความหายนะ

    "เงินไม่ได้เปลี่ยนคุณ มันเพียงแค่ขยายสิ่งที่คุณเป็นอยู่แล้วให้ชัดเจนขึ้น ถ้าคุณเป็นคนเลวอยู่แล้ว เงินจะทำให้คุณเป็นคนเลวยิ่งกว่าเดิม"

    นี่คือสิ่งที่จอร์แดน เบลฟอร์ท (Jordan Belfort) เจ้าของเรื่องราวใน "The Wolf of Wall Street" พยายามอธิบายให้เราเข้าใจกลไกความคิดของคนที่ฉ้อโกงจนหาเงินมหาศาลได้เพียงชั่วข้ามคืน

    เงินไม่ได้เป็นตัวเปลี่ยนแปลงความคิดหรือนิสัยบุคคลใดๆ แต่เพียงทำให้สิ่งที่เป็นอยู่แล้วภายในตัวคนเหล่านั้นปรากฏชัดเจนขึ้นไปอีก หากคนมีจริยธรรมไม่ดีหรือเห็นแก่ตัวอยู่แล้ว เมื่อมีเงินมากขึ้น สิ่งเหล่านั้นก็จะยิ่งขยายตัว

    "ฉันหาเงินมาได้เยอะมาก มากจนเกินปกติ ตั้งแต่อายุยังน้อย และฉันหามันมาโดยใช้กลอุบายทุกอย่างที่มี ค้นหาช่องว่างสีเทาในกฎหมาย ในพื้นที่ที่คนอื่นกลัวจะเข้าไป และนั่นคือวิธีที่คุณจะเอาชนะ โดยการทำสิ่งที่คนอื่นกลัวที่จะทำ”

    เบลฟอร์ท เป็นอดีตนายหน้าค้าหุ้นและนักธุรกิจผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังจากการสร้างอาณาจักรการเงินที่เต็มไปด้วยการทุจริต การฉ้อโกงหุ้น และการฟอกเงิน

    เบลฟอร์ทถูกจับกุมในปี 1999 หลังจากสารภาพผิดในข้อหาฉ้อโกงนักลงทุนหลายล้านดอลลาร์

    ในปี 2007 เรื่องราวของเขาถูกถ่ายทอดลงในหนังสือ "The Wolf of Wall Street" ได้รับความนิยมจนถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 2013 ซึ่งกำกับโดย มาร์ติน สกอร์เซซี (Martin Scorsese) และนำแสดงโดย ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ (Leonardo DiCaprio)

    ปัจจุบัน เบลฟอร์ทเป็นนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ เขาเดินทางไปทั่วโลกเพื่อให้คำแนะนำด้านธุรกิจและการใช้ชีวิตอย่างมีจริยธรรม

    “สิ่งที่ฉันไม่เคยเข้าใจคือเมื่อคุณเดินเข้าสู่เส้นทางนั้น มันจะไม่มีทางหวนกลับได้ มันจะกลืนกินคุณ เปลี่ยนแปลงตัวตนคุณ และทันใดนั้น คุณก็ไม่ใช่เจ้าของเงินอีกต่อไป แต่เงินต่างหากที่เป็นเจ้าของคุณ"

    เบลฟอร์ทกล่าวว่า การที่เราสามารถรวยได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์หรือเดือน มันกลายเป็นสิ่งที่ชวนให้หลงใหล เหมือนกับสิ่งเสพติด ที่ต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยิ่งเราได้มันมากเท่าไร ในที่สุดมันก็จะเข้ามากลืนกินเรา จนสุดท้ายพบว่าตัวเองกำลังไล่ตามบางสิ่งที่ไม่มีวันพอ

    “และเมื่อถึงจุดสุดท้ายแล้ว เงินทั้งหมดในโลกก็ไม่สามารถซื้อจิตวิญญาณของเราคืนมาได้”

    ความร่ำรวยที่มาจากสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถซื้อตัวตนหรือความสงบสุขในจิตใจคืนมาได้ แม้ว่าภายนอกจะดูเหมือนประสบความสำเร็จ แต่ข้างในกลับเต็มไปด้วยความว่างเปล่า และการสูญเสียจริยธรรมของตนเอง

    ”ไม่ว่าจะหาเงินได้มากแค่ไหน หรือประสบความสำเร็จเพียงใด มันก็ไม่เคยพอ ฉันกำลังไล่ตามบางสิ่งที่ฉันไม่มีวันครอบครองได้จริงๆ เพราะความสุขและความสมบูรณ์ในชีวิตไม่ใช่สิ่งที่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน"

    แต่มันไม่ใช่ว่าเราจะไม่พยายามไขว่คว้าหาเงินหาความมั่งคั่งให้กับตนเอง เขากล่าวว่าความยากจนไม่ใช่สิ่งที่ต้องยกย่อง แต่การเป็นคนร่ำรวยจากการฉ้อโกงก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องเชิดชูเช่นกัน

    ความท้าทายที่แท้จริงในชีวิตคือการหาความสำเร็จโดยที่ยังคงยึดมั่นในคุณค่าของตัวเอง

    สิ่งที่สำคัญจริงๆ คือการหาวิธีที่จะประสบความสำเร็จในชีวิตโดยไม่ละทิ้งคุณค่าทางศีลธรรมของตนเอง ความสำเร็จที่แท้จริงไม่ใช่แค่การสะสมทรัพย์สินหรือเงินทอง แต่แต่มันเกี่ยวกับสิ่งที่เราทำออกมา มันดีกับคนรอบข้างหรือไม่
    0 Comments 0 Shares 4 Views 0 Reviews