อัปเดตล่าสุด
  • Like
    Love
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 52 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 51 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 52 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลุ่มอาการหลังวัคซีนโควิด (ตอนที่ 1)

    ประโยชน์ของวัคซีนก็คือป้องกันโรค รวมทั้งลดอาการหนัก การตายและในขณะเดียวกันจำเป็นต้องทราบผลข้างเคียงผลแทรกซ้อนในระยะเวลาต่างๆ ตั้งแต่ได้รับวัคซีนนาทีแรกจนกระทั่งถึงระยะกลางเป็นสัปดาห์และระยะยาวเป็นเดือนและสิ่งที่ทอดยาวไปเป็นปี

    วัคซีนโควิดเช่นกันในช่วงที่มีการระบาดรุนแรงจำเป็นต้องใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเป้าหมายของทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยด้วยก็คือ ให้ทุกคนได้รับวัคซีนทั้งนี้เพื่อทำให้ระบบสาธารณสุขไม่พังพาบ จนรับผู้ป่วยโควิดไม่ไหว
    แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องมีระบบในการรองรับเพื่อประเมิน ผลข้างเคียงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในคนที่ได้รับวัคซีนโดยที่เป็นคนที่ยังสุขภาพดีแข็งแรงจนกระทั่งมีโรคประจำตัวอื่นๆ

    รายงานในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษ British Medical Journal ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2023 ตั้งคำถามถึงระบบในสหรัฐที่รับรายงานผลแทรกซ้อนของวัคซีนที่เรียกว่า vaccine adverse event reporting system (VAERS) ทั้งนี้ยกตัวอย่างหมอสหรัฐที่ได้รับวัคซีนและเกิดผลกระทบอย่างรุนแรง พยายามที่จะรายงานเข้าระบบ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนักรวมทั้งเป็นความซับซ้อนที่จะได้รับการติดตามสืบหารายละเอียดต่อ
    (Is the US’s Vaccine Adverse Event Reporting System broken?BMJ Investigation BMJ 2023; 383 doi: https://doi.org/10.1136/bmj.p2582 (Published 10 November 2023) Cite this as: BMJ 2023;383:p2582)
    ระบบในการรายงานในประเทศต่างๆไม่เฉพาะแต่ในประเทศอเมริกา แม้แต่ในยุโรปและในอังกฤษเองก็มีปัญหา ซึ่งแตกต่างกับระบบในประเทศเกาหลี ดังที่มีรายงานอุบัติการของหัวใจอักเสบหลังได้รับวัคซีน
    เอ็มอาร์เอ็นเอ โดยเป็นการเปิดรายงานแบบอิสระและแทบจะเป็นเรียวไทม์ โดยกฎเกณฑ์ของเงื่อนไขหัวใจอักเสบนั้นตัดสาเหตุอื่น ที่ทำให้หัวใจอักเสบได้ทั้งหมดจนเหลือแต่วัคซีนและตัวเลขที่ได้นั้นยังต่ำกว่าความเป็นจริง ด้วยซ้ำ และถึงแม้ว่าอุบัติการของหัวใจอักเสบอย่างเดียวจะอยู่ที่ประมาณหนึ่งใน 100,000 แต่ความรุนแรงนั้นมากจนกระทั่งถึงต้องเข้าไอซียูหัวใจวายได้รับการรักษาอย่างเข้มข้นจนกระทั่งมีการเปลี่ยนหัวใจ (บทความสุขภาพพรรษาไทยรัฐหัวใจอักเสบจากวัคซีน)

    ในประเทศไทยเองนั้นดำเนินตามประเทศต่างๆที่ให้มีการฉีดวัคซีนครอบคลุมได้มากที่สุด ดังนั้นจะพบได้ว่ามีรายงานที่ได้รับการปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกันหรือให้มีการพิสูจน์ก่อนว่าวัคซีนเป็นสาเหตุ ซึ่งอาจจะแทบเป็นไปไม่ได้ในผู้ที่ได้รับผลกระทบและแพทย์ที่ ดูคนไข้เพราะต้องมีการสืบสวนหาสาเหตุด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายชนิดด้วยกัน

    ยกตัวอย่างเช่นเด็กผู้ชายอายุ 14 ขวบได้รับวัคซีน
    เอ็มอาร์เอ็นเอสามเข็ม โดยเข็มสุดท้ายเก้าเดือนก่อนที่จะมีอาการของหัวใจอักเสบหัวใจวาย รุนแรง และกล้ามเนื้อแขนขาอักเสบอัมพาตยกแขนขาไม่ได้ เมื่อดูเงื่อนไขของเวลาเผินๆ อาจจะตัดประเด็นของวัคซีนได้เลย แต่การสืบหาสาเหตุอย่างอื่นทั้งตัวไวรัสโควิดและไวรัสอีกหลายชนิดทั้งหมด รวมทั้งภาวะภูมิแปรปรวนที่ทำให้เกิดการอักเสบ อีกทั้งสามารถตรวจพบเศษของวัคซีนในกล้ามเนื้อหัวใจและมีการอักเสบอย่างรุนแรงในกล้ามเนื้อหัวใจ ทั้งนี้ได้รับการรักษาด้วยการเปลี่ยนถ่ายน้ำเหลือง และการให้สารสกัดน้ำเหลือง ตลอดจนยากดภูมิคุ้มกัน แม้ว่าหัวใจอักเสบหัวใจวายจะดีขึ้นแต่แขนขายังขยับไม่ได้ ทั้งหมดนี้ต้องใช้การตรวจในห้องปฏิบัติการการรักษาในระดับเป็น 100,000 เป็นล้านบาทต่อหนึ่งคน

    เหล่านี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความยากลำบากในการพิสูจน์ความเกี่ยวโยงกับวัคซีน
    แต่ทั้งนี้เริ่มมีการวิเคราะห์สาเหตุการตายที่สูงเกินกว่าที่ จะอธิบายได้เมื่อเทียบ ในช่วงเวลาก่อนโควิด ในระหว่างการระบาดของโควิดและหลังจากระบาดเริ่มสงบไปแล้ว และในช่วงที่เริ่มมีการใช้วัคซีน ที่เรียกว่าอัตรา excess deaths
    และนอกจากนั้นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่ทอดยาวเป็นเวลานานเกินกว่าสามเดือนหลังจากติดเชื้อโควิดที่เรียกว่าลองโควิด (long covid) โดยมีทั้งอาการทางระบบหัวใจและปอด ระบบสมองประสาทและกล้ามเนื้อ ภาวะที่มีการอักเสบของผิวหนัง เส้นเอ็นพังผืด กล้ามเนื้อ ข้อ ตลอดจนการปะทุขึ้นของโรคที่ไม่เคยเป็นมาก่อนหรือโรคที่สงบไปแล้ว รวมทั่งมะเร็งและการเกิดเริม งูสวัดซึ่งไวรัสเหล่านี้เป็นไวรัสที่ซ่อนอยู่ในร่างกายจากการติดเชื้อเนิ่นนานมาแล้ว และถูกกดไม่ให้แสดงตัวออกมาจากการควบคุมของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงของร่างกาย และยังรวมถึง การนอนหลับที่ผิดปกติหลับยากหลับกระท่อนกระแท่น จนถึงฮอร์โมนแปรปรวนทั้งผู้ชายและผู้หญิง
    การติดตามผู้ที่ได้รับผล
    กระทบในลักษณะนี้โดยอาการขณะที่เป็นโควิดไม่รุนแรงแต่อาการหลังจากนั้นกลับรุนแรงและยืดยาว และสืบค้นผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีนชนิดต่างๆ ทั้งหมดแล้วเกือบ 100 รายด้วยกัน โดยติดตามหลายวาระเป็นเวลานานกว่าหนึ่งปี

    สิ่งที่น่าตกใจก็คือแม้ว่าอาการตอนแรกหลังจากติดเชื้อโควิดหรือหลังจากได้รับวัคซีนมีผลไม่มากนักแต่ระยะต่อมามีผลกระทบแม้ว่าอาการจะเริ่มสงบไปแล้วก็ตาม โดยผลกระทบ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการวิเคราะห์การอักเสบในเลือด13 ชนิด และผลกระทบต่อสมองโดยมีการจุดปะทุ ของการอักเสบในสมองจากเซลล์ Astroglia microglia ที่เรียกว่า GFAP และมีระดับของ โปรตีน พิษอัลไซเมอร์ในสมองรวมทั้งมีการทำลายเนื้อสมอง ด้วย (จากการตรวจค่า NFL)

    ลักษณะนี้ทำให้ต้องตระหนักว่าภาวะสมองเสื่อมได้เกิดขึ้นเงียบๆ โดยไม่แสดงอาการด้วยซ้ำและจะสามารถดำเนินต่อไปได้จากภาวะของโรคเมตาบอลิค ของตนเองทั้งอ้วน เบาหวานความดันสูง การไม่ออกกำลัง อาหารที่มากด้วยเนื้อสัตว์การขาดการบริโภคผักผลไม้กากไย

    สมองเสื่อมในลักษณะนี้เป็นที่ตระหนักและมีการประกาศจากสมาคมสมองเสื่อมของสหรัฐและนานาชาติมาตั้งแต่ช่วงโควิดจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    จากการวิเคราะห์วัคซีนทั้งไฟเซอร์และโมเดนา จากคณะทำงาน ยังพบว่านอกจากเอ็มอาร์เอ็นเอแล้ว ยังมีหลาย พันล้านก๊อปปี้ ของ ดีเอ็นเอและส่วนที่กระตุ้นให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นเมื่อเสียบเข้าไปในเซลล์ ทั้ง ori และ SV 40 promoter ทั้งนี้จากกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้วัคซีนเพียงพอกับความต้องการโดยการใช้
    พลาสมิด(บทความสุขภาพหรรษาไทยรัฐ)

    ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
    มหาวิทยาลัยรังสิต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • Wow
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 61 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 57 มุมมอง 0 รีวิว
  • Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 62 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการประกาศยกย่องให้เป็นสุดยอดนักวิทยาศาสตร์ 2% ของโลก คนใหม่ล่าสุดเดือนกันยายน 2567 ที่มีผลงานที่ส่งผลกระทบในการอ้างอิงทางวิชาการตลอดชีพสูงที่สุด (career-long citation impact) โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา

    ด้วยความยินดีอย่างยิ่ง
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    29 กันยายน 2567
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • Thaitimes แอปฯ "โซเชียลมีเดีย" ของคนไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
    .
    วันนี้ (29 ก.ย.) คุณสนธิ ลิ้มทองกุล กล่าวบนเวทีความจริงมีหนึ่งเดียว ณ หอประชุมเล็กมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ ว่า หลังการเปิดให้ทดลองใช้แอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ไทยไทม์ (Thaitimes) เป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนแล้ว มีผู้สมัครเข้าใช้แอปฯ นี้แล้วมากกว่า 2 หมื่นคน
    .
    "จุดเด่นของแอปพลิเคชันไทยไทม์คือมีความเป็นสากล และมีความเป็นท้องถิ่นอยู่ในตัวเอง ซึ่งโซเชียลมีเดียของต่างชาติขาดไป คือ ใช้มาตรฐานเดียวกันหมดทั่วโลก ทั้ง ๆ ที่ทั่วโลกต้งอการความหลากหลาย เหมือนกับแมคโดนัลด์หรือเคเอฟซี ที่เข้ามาในเมืองไทยก็มีเมนูกะเพราขาย" นายสนธิระบุ และระบุว่า สิ่งที่สำคัญคือ โซเชียลมีเดียต่างชาตินั้นรับงานรัฐบาลของตัวเองปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริง ที่คนไทยหรือคนทั่วโลกควรรับรู้อย่างเช่น เรื่องโควิด-19 วัคซีน ผลกระทบของวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องความเป็นความตายของผู้คนทั่วโลก
    .
    ต่อมา คุณสนธิได้เชิญคุณอาทิตย์ เซกาล และคุณกฤษณะ ผู้อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ขึ้นมาโชว์ตัวบนเวทีด้วย โดยทุกคนมั่นใจว่าแอปฯ นี้จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยในยุคที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างประเทศเซ็นเซอร์ ปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริง และแสวงหากำไรเกินควร
    .
    ทั้งนี้คุณสนธิคาดการณ์ว่าหลังการเปิดตัวแล้ว แอปฯ Thaitimes ในวันนี้แล้ว ภายในสิ้นปี 2567 จะมีผู้ใช้มากกว่า 5 หมื่นคน ส่วนในปีหน้า 2568 จะแตะหลักแสนคน และอาจจะถึงหลักล้านคนก็เป็นได้
    .
    #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 57 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 72 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตอนนี้เงียบกริบ เสียหมาไป
    ตอนนี้เงียบกริบ เสียหมาไป
    "คุณเศรษฐาไปตั้งนักโทษเป็นรัฐมนตรี แต่ปัจจุบัน นักโทษมันตั้งนายกรัฐมนตรีเสียเอง แล้วผมจะอยู่ร่วมได้ยังไง ... คุณอุ๊งอิ๊ง แพทองธารจะไปบริหารตรงนี้ ไม่มีหรอก เป็นการบริหารโดยพ่อทั้งนั้น" --- พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย วันที่ 29 ส.ค 2567
    .
    ชม Live ผ่าน Facebook >> https://www.facebook.com/sondhitalk/videos/1179302280041631/
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 77 มุมมอง 0 รีวิว
  • HowTo : วิธีการแชร์เรื่องราวและเนื้อหาบน Thaitimes อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์

    ในแอป Thaitimes เป็นที่ที่คุณสามารถเขียนและแชร์เนื้อหาต่าง ๆ กับเพื่อนหรือผู้ติดตามของคุณได้ง่าย ๆ โดยคุณสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้:

    1. เขียนข้อความ: แบ่งปันความคิด ความรู้สึก หรืออัปเดตสถานะของคุณ
    2. เพิ่ม Hashtags (#): ใช้แฮชแท็กเพื่อให้โพสต์ของคุณเข้าถึงผู้คนที่สนใจในหัวข้อเดียวกัน
    3. Mention เพื่อน (@): แท็กเพื่อนเพื่อกล่าวถึงพวกเขาในโพสต์
    4. วางลิงก์ (Link): แชร์ลิงก์ไปยังเนื้อหาภายนอก เช่น บทความ วิดีโอ หรือเว็บไซต์ที่คุณอยากแบ่งปัน

    ### ฟีเจอร์เพิ่มเติมสำหรับการโพสต์:
    - Upload Photos: อัปโหลดรูปภาพเพื่อเพิ่มสีสันให้กับโพสต์ของคุณ
    - Create Album: สร้างอัลบั้มเพื่อแชร์รูปหลายรูปในโพสต์เดียว
    - Colored Posts: เลือกสีพื้นหลังให้โพสต์ของคุณโดดเด่น
    - Feelings/Activity: แสดงอารมณ์หรือกิจกรรมที่คุณกำลังทำอยู่

    ### การตั้งค่าความเป็นส่วนตัว:
    ก่อนโพสต์ อย่าลืมเลือกว่าต้องการให้โพสต์ของคุณเป็นสาธารณะ (Public) หรือให้เฉพาะเพื่อน (Friends) เห็นเท่านั้น จากนั้นกดปุ่ม "Post" เพื่อแชร์เนื้อหาของคุณ

    ### ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ภาพและวิดีโอ:
    - เมื่อคุณอัปโหลด ภาพ หรือ วิดีโอ ลงในโพสต์ ควรระมัดระวังเรื่อง ลิขสิทธิ์ และการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น หลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพหรือเพลงที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต
    - การใช้เนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์อาจส่งผลให้คุณถูกฟ้องร้อง หรือโดนดำเนินคดีตาม กฎหมายคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีบทลงโทษที่เข้มงวด
    - ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเนื้อหาที่คุณแชร์นั้นถูกต้องตามกฎหมายและได้รับอนุญาตในการเผยแพร่

    สรุป: ช่องนี้เป็นพื้นที่สำหรับการเขียนและแชร์เรื่องราว ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือแม้แต่ลิงก์ได้ง่าย ๆ พร้อมกับตัวเลือกเพิ่มเติมที่ช่วยให้โพสต์ของคุณน่าสนใจมากขึ้น อย่าลืมคำนึงถึง กฎหมายลิขสิทธิ์ และ กฎหมายคอมพิวเตอร์ ในการแชร์เนื้อหาต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายในอนาคต
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 66 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)

    2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1]

    เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก

    ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520

    ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]

    จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]

    ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]

    เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]

    แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]

    คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่

    ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า

    “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน

    ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง

    ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

    และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)

    และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน

    เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก

    จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]

    ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า

    ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว

    อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]

    โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ

    ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]

    ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]

    การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]

    นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว

    แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่

    โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]

    ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก

    แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]

    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย

    อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า

    “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]

    นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้

    “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย  

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ

    2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน

    และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า

    “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี

    วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
    2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน

    ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
    ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน

    “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์

    จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]

    นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]

    หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด

    แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้

    โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ

    อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า

    ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]

    หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด

    ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    12 กันยายน 2567

    อ้างอิง
    [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.

    [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
    https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html

    [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
    https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977

    [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
    https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/

    [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
    https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg

    [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903

    [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
    https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php

    [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577

    [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178

    [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615

    [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798

    [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335

    [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723

    [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒

    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 75 มุมมอง 0 รีวิว
  • Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 71 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม