อัปเดตล่าสุด
- กรณีศึกษา : คนร้ายบุกบ้านจับตัวประกัน
เหตุการณ์ที่นายสันติ เจ๊ะอะหลี อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาหลบหนีการจับกุมของตำรวจ ปีนเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง ภายในซอยอินทามาระ 29 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 3 ต.ค. 2567 ภายในบ้านมีแม่และลูกชาย 2 คน มีการนำเสนอข่าวว่ามีการจับตัวประกัน โดยมีแม่พักอยู่กับลูกชาย 2 คน แต่พบว่าแม่หลบหนีออกมาตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดเหตุ ส่วนลูกชายทั้งสองคนอยู่ภายในห้อง จากนั้นสถานการณ์คลี่คลายเมื่อเวลาประมาณ 00.50 น. วันที่ 4 ต.ค. 2567
พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. (ขณะนั้น) ระบุว่า คนร้ายไม่ได้จับใครเป็นตัวประกัน ไม่มีตำรวจได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ ส่วนคนในบ้านทั้งสองคนเป็นหมอ สภาพจิตใจค่อนข้างดีมาก ขณะเกิดเหตุหมอทั้ง 2 คนอยู่ในห้อง ตำรวจแนะนำว่าให้ล็อกห้องและหาอะไรดันเอาไว้ อย่าอยู่ในแนวของประตู ซึ่งทั้งสองก็ให้ความร่วมมือดี และขวัญกำลังใจดีมาก ส่วนผู้ต้องหาพบว่าหลบหนีไปผ่านทางช่องระบายอากาศ ช่องทางเดียวกับที่เข้ามาตอนแรก ก่อนปีนออกไปที่หลังบ้าน
เหตุการณ์ผ่านไป 3 วัน ในที่สุดวันที่ 7 ต.ค. 2567 ตำรวจ สภ.โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา ได้รับการประสานจาก สน.เตาปูน สกัดจับรถแท็กซี่ต้องสงสัย ที่นายสันติจ้างให้ไปส่งที่จังหวัดอำนาจเจริญในราคา 8,000 บาท นายสันติวิ่งหนีออกจากรถ แต่สะดุดล้มได้รับบาดเจ็บ ตำรวจจับกุมเอาไว้ได้ ตอนหนึ่งเจ้าตัวกล่าวว่า ที่ยิงสวนตำรวจเพราะเปิดทางเพื่อหนีเท่านั้น ส่วนที่เข้าไปที่บ้านของตัวประกัน อ้างว่าแค่หิวน้ำเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจับตัวประกัน และถ้าหมอเปิดประตูออกมา ก็คงจับเป็นตัวประกัน
บทเรียนจากเหตุโจรขึ้นบ้าน นอกจากหมั่นล็อกประตูบ้านทุกครั้งแล้ว อาจเสริมความแข็งแรงให้กับบ้าน ด้วยการสร้างรั้วให้สูงขึ้น อาจมีเหล็กแหลมด้านบนกำแพงเพื่อป้องกันคนร้ายปีนขึ้นไป ติดตั้งเหล็กดัดที่ประตู หน้าต่าง รวมทั้งช่องระบายอากาศ ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) สัญญาณเตือนผู้บุกรุก จัดภูมิทัศน์รอบบ้านเพื่อลดจุดอับสายตา ติดตั้งไฟส่องสว่างรอบบ้าน รวมทั้งเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่ไว้เฝ้าบ้าน
กรณีที่มีคนร้ายเข้ามาในบ้าน จับคนในบ้านเป็นตัวประกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับตำรวจ ช่วงแรกคนร้ายจะอยู่ในภาวะตึงเครียด หากตกอยู่ในเหตุการณ์แล้วหลบหนีไม่ทัน ให้พยายามตั้งสติ อยู่ในความสงบ ไม่ตื่นตระหนก ไม่ต่อสู้ขัดขืน อย่าพยายามหลบหนีด้วยตัวเอง สังเกตลักษณะของคนร้ายให้ได้มากที่สุด เช่น รูปร่าง หน้าตา เสื้อผ้า อาวุธ เส้นทางหลบหนี แล้วรอจังหวะตำรวจเข้าช่วยเหลือ
#Newskit #อินทามาระ29 #จับตัวประกัน0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 48 มุมมอง 0 รีวิวกรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อกดถูกใจ แชร์ และแสดงความคิดเห็น! - "ความจริงมีหนึ่งเดียว ครั้งที่ 4"
คอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายของปี จัดใหญ่ จัดเต็ม ยิ่งกว่าเดิม
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 10:00 - 17:00 น.
หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาตร์ท่าพระจันทร์
!! ห้ามพลาด บัตรมีจำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย !!
สามารถจองบัตรและสอบถามรายละเอียดได้ที่
Line@sondhitalk คลิก https://lin.ee/Skns1k1 - เปิดตัว Thaitimes โซเชียลฯ สำหรับคนไทย
นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสื่อในเครือผู้จัดการ และผู้ดำเนินรายการ คุยทุกเรื่องกับสนธิ เปิดตัวแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ "ไทยไทมส์" (Thaitimes) อย่างเป็นทางการ ที่หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 29 ก.ย. โดยได้แนะนำนายอาทิตย์ เซกาล และนายกฤษณะ ผู้อยู่เบื้องหลังในการพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าวบนเวทีอีกด้วย คาดว่าภายในสิ้นปี 2567 จะมีผู้ใช้งานมากกว่า 5 หมื่นคน และปีหน้า (2568) จะมีสมาชิกหลักแสนคน
นายสนธิ กล่าวว่า ได้เปิดทดลองใช้แอปพลิเคชัน Thaitimes เป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบันเป็นเวลาประมาณ 1 เดือน มีผู้สมัครเข้าใช้แอปพลิเคชันนี้แล้วมากกว่า 2 หมื่นราย จุดเด่นของแอปพลิเคชันไทยไทมส์ คือ มีความเป็นสากลและความเป็นท้องถิ่นอยู่ในตัวเอง ซึ่งสิ่งโซเชียลมีเดียของต่างชาติขาดหายไป คือการใช้มาตรฐานเดียวกันหมดทั่วโลก ทั้งที่ทั่วโลกต้องการความหลากหลาย
"สิ่งที่สำคัญคือ โซเชียลมีเดียต่างชาตินั้น รับงานรัฐบาลของตัวเองปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริง ที่คนไทยหรือคนทั่วโลกควรรับรู้อย่างเช่น เรื่องโควิด-19 วัคซีน ผลกระทบของวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องความเป็นความตายของผู้คนทั่วโลก ... ทุกคนมั่นใจว่าแอปฯ นี้จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนไทย ในยุคที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างประเทศเซ็นเซอร์ ปิดกั้นข้อมูลข้อเท็จจริง และแสวงหากำไรเกินควร" นายสนธิ ระบุ
สำหรับแอปพลิเคชัน Thaitimes นอกจากจะมีหน้าโปร์ไฟล์สำหรับแบ่งปันเรื่องราวแล้ว ยังมีเพจ "คุยทุกเรื่องกับสนธิ" จากรายการคุยทุกเรื่องกับสนธิ เพจ "ความจริงมีหนึ่งเดียว" ถ่ายทอดสดงานความจริงมีหนึ่งเดียว เพจ "News1" ของสถานีข่าวนิวส์วัน เพจ "Thanong Fanclub" ของนายทนง ขันทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวต่างประเทศ เรื่องราวด้านสุขภาพจากเพจ "ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์" ของ อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต และเพจ "Thiravat Hemachudha" ของ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นต้น
ผู้ใช้งานสามารถสมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ที่ App Store และ Google Play Store หากพบปัญหาการใช้งาน หรือดูวิธีการสมัครต่างๆ แจ้งได้ที่เพจ Thaitimes Help Center หรือแจ้งปัญหาการใช้งานได้ที่ไลน์ @sondhitalk
#Newskit #Thaitimes #ไทยไทมส์
เรื่องราวเพิ่มเติม