• วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี

    สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl)

    แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก

    Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ

    วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร)

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา

    ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ

    ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น

    ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร

    ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม

    ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม

    ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.sohu.com/a/242329927_100034915
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682
    https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95
    http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    https://baike.baidu.com/item/女史箴图
    https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    วันนี้มาคุยกันต่อถึงสิบสองภาพวาดที่ในละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ทรงพระราชทานให้บรรดามเหสี เรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) พร้อมป้ายอักษรอันเป็นตัวแทนของบทกวี ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ภาพเหล่านี้ล้วนเป็นภาพฮองเฮา / มเหสี / พระชายาที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ว่ามีคุณงามความดี สัปดาห์ที่แล้วเราคุยกันถึงภาพแรกคือภาพ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ที่ทรงพระราชทานให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุน (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0Ery63dJM9QctgcUQWchqzEPMugvq12HANhduAUpojWfR2GjQctaJRpxAjBzsD6NWl) แต่พอ Storyฯ จะเขียนถึงภาพถัดไปก็เริ่มเกิดความยาก... ปัญหาคือว่า ละครเรื่องนี้แม้อ้างอิงจากเรื่องจริงแต่ตัวละครและชื่อตำหนักที่ประทับได้ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง และข้อมูลเกี่ยวกับภาพวาดที่ Storyฯ หาเจอจะอิงตามชื่อตำหนัก Storyฯ เลยคิดว่า ก่อนจะไปกันต่อ เอาภาพมาให้เพื่อนเพจดูกันก่อนว่าพระราชวังต่างๆ ตั้งอยู่ที่ไหนกันบ้าง (ดูรูปประกอบ3) ซึ่งที่บอกว่าฮองเฮากุมอำนาจหกวังหรือ ‘ลิ่วกง’ แห่งวังหลังนั้น ‘หกวัง’ นั้นจริงๆ หมายถึงสิบสองวังหรือตำหนัก แบ่งเป็นหกตำหนักฝั่งตะวันออกและหกตำหนักตะวันตก ตรงกลางของวังหลังคือพระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับและทรงงานของฮ่องเต้ (แต่ตั้งแต่รัชสมัยของยงเจิ้งเป็นต้นมา ฮ่องเต้จะเสด็จไปบรรทมที่พระที่นั่งหยั่งซินแทน) ตำหนักไหนอยู่ตรงไหนดูจากภาพประกอบกันได้เลยนะคะ วันนี้คุยกันเรื่องภาพที่สอง คือภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (班姬辞辇图 ) แปลได้ว่าประมาณว่า ปันจีผู้งามมารยาท ภาพนี้ในนิยายต้นฉบับของ <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ได้ถูกพระราชทานไปให้เกากุ้ยเฟย (ในนิยายคือฮุ่ยกุ้ยเฟย) ที่พระตำหนักฉู่ซิ่วกง (ในซีรีย์บอกเป็นอีกภาพหนึ่ง) แต่ในเรื่อง <หรูอี้จอมนางเคียงบัลลังก์> เกากุ้ยเฟยประทับที่พระตำหนักเสียนฝูกง ท่ามกลางความสับสนของชื่อภาพและชื่อพระตำหนักนี้ Storyฯ ยึดตามที่มีกล่าวถึงจากข้อมูลที่หาได้ว่า ภาพนี้ถูกแขวนไว้ที่พระตำหนักหย่งโซ่วกง (พระตำหนักของพระนางฮุ่ยเสียนหวงกุ้ยเฟย ผู้ซึ่งว่ากันว่าเป็นต้นแบบของเกากุ้ยเฟยในละคร) ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ ที่องค์เฉียนหลงทรงให้จัดวาดขึ้นนั้นหน้าตาที่แท้จริงเป็นอย่างไร Storyฯ ก็หาไม่พบ พบแต่ภาพดั้งเดิมของเรื่อง ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ (ดูรูปประกอบ1) ซึ่งเป็นตอนหนึ่งของภาพม้วนยาวที่มีชื่อเรียกว่าภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ (女史箴图 / ข้าราชสำนักหญิงเตือนสติ ดูรูปประกอบ2) อันเป็นผลงานของกู้ข่ายจือ ซึ่งเดิมมี 12 ตอนแต่สูญหายไปแล้ว ปัจจุบันเหลือเพียงฉบับคัดลอก 9 ตอนสองชุด ชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วังต้องห้าม เป็นภาพที่จัดทำขึ้นสมัยซ่ง และอีกชุดหนึ่งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์บริติช (British Museum) เป็นภาพที่จัดทำในสมัยถัง ภาพทั้งสองมีความยาวเกือบ 3.5 เมตร เป็นภาพที่ถูกยกย่องว่านำเสนอวิถีชีวิตเหล่านางในตำแหน่งต่างๆ ออกมาได้ดี ไม่ว่าจะการวางตัวหรือสีหน้าสีตา ทั้งนี้ ภาพเต็ม ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นภาพที่วาดขึ้นในสมัยราชวงศ์จิ้น โดยมีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าในรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ปี 52-7 ก่อนคริสตกาล) กล่าวถึงเมื่อครั้งฮั่นเฉิงตี้เสด็จประพาสทอดพระเนตรสัตว์สู้กัน โดยมีนางในและพระโอรสตามเสด็จ ‘ปันจี’ คือใคร? นางคือพระนางปันเจี๋ยอวี๋ (หมายเหตุ ตำแหน่งเจี๋ยอวี๋นี้ บางคนเคยแปลว่าอัครเทวี บางคนแปลว่าราชเทวี Storyฯ ก็ไม่สันทัดว่าควรเรียกว่าอย่างไรจึงจะถูกต้อง) ชื่อเดิมว่า ‘ปันเถียน’ เริ่มเข้าวังทำหน้าที่เป็นข้าราชสำนักหญิงหรือที่เรียกว่าตำแหน่ง ‘หนีว์สื่อ’ มีหน้าที่ถวายงานด้านอักษรให้แก่ฮองเฮา รวมถึงงานบันทึกผลงานและความผิดของสตรีฝ่ายในและงานด้านพิธีการฝ่ายใน ต่อมาได้เป็นสนมรับใช้ฮั่นเฉิงตี้และสุดท้ายได้รับตำแหน่งเจี๋ยอวี๋ นางถูกจารึกไว้ว่าเป็นกวีและนักอักษรศาสตร์ที่เลื่องชื่อ มีผลงานตกทอดมาจนปัจจุบันหลายชิ้น ภาพ ‘ปันจีฉือเหนี่ยน’ นี้เป็นตอนที่สองของภาพ ‘หนีว์สื่อเจิน’ เป็นเรื่องราวสมัยที่พระนางยังเป็นที่โปรดปรานของฮั่นเฉิงตี้ ใจความคือองค์ฮั่นเฉิงตี้ทรงโปรดให้ใช้พระราชรถม้าขนาดใหญ่มากในการประพาสครั้งนี้เพื่อจะได้ให้พระนางปันโดยเสด็จด้วยบนรถ แต่พระนางทรงปฏิเสธ โดยอธิบายว่าแต่ไหนแต่ไรมา คนอื่นๆ ต้องเดินตามเสด็จอยู่ด้านข้างขบวน และในประวัติศาสตร์แม้มีกษัตริย์บางพระองค์ที่ให้พระภรรยาหรือสนมประทับร่วมบนพระราชรถ แต่กษัตริย์เหล่านั้นสุดท้ายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ทำให้ราชวงศ์ล่มสลาย พระนางทรงไม่ต้องการให้ผู้ใดไปเล่ากันต่อในทางที่ไม่ดีว่าองค์ฮั่นเฉิงตี้มัวเมาในสตรีจนอาจเป็นเหตุให้บ้านเมืองต้องอับจนในอนาคต เหตุการณ์นี้ทำให้พระนางถูกยกย่องว่าเป็นคนที่สงบเสงี่ยมแม้จะได้รับความโปรดปรานจากองค์ฮ่องเต้ วางพระองค์ได้ดี รู้ขนบทำเนียมหน้าที่และรู้ว่าอะไรควรไม่ควร ภาพนี้ถูกชื่นชมว่าสามารถบรรยายความรู้สึกหลากหลายออกมาได้ดี ไม่ว่าจะเป็นความไม่พอพระทัยแต่จำยอมขององค์ฮั่นเฉิงตี้หรือการเบือนพักตร์ลอบไม่พอพระทัยของฮองเฮา โดยฉพาะภาพลักษณ์ของปันเจี๋ยอวี๋ในภาพนี้ ดูสูงส่งเรียบร้อย สมกับที่พระนางถูกยกย่องให้เป็นแบบอย่างแห่งสตรีผู้มีจริยวัตรงดงาม ส่วนป้ายอักษรที่องค์เฉียนหลงทรงพระราชทานคู่กับป้ายนี้คือ ‘ลิ่งอี๋ซูเต๋อ’ (令仪淑德) แปลได้ประมาณว่า เคารพพิธีการและวางตนให้ดีมีจริยวัตรงดงาม ในเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> นี้ เกากุ้ยเฟยตีความจากภาพนี้ว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงตำหนิที่นางวางองค์ไม่ดีจึงทรงพระราชทานภาพนี้มาเตือนสติ แต่เจียผินปลอบพระนางว่า จริงๆ แล้วภาพทั้งสิบสองสะท้อนถึงคุณสมบัติที่เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงคาดหวังจากเหล่ามเหสีและสนมทั้งหมด เพื่อนเพจคิดว่าไงคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/242329927_100034915 https://zhuanlan.zhihu.com/p/44523682 https://baike.baidu.com/tashuo/browse/content?id=5c29a1b9368965f14d877c95 http://www.obj.cc/thread-69013-1-1.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html https://baike.baidu.com/item/女史箴图 https://baike.baidu.com/item/班姬辞辇/360901 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #เกากุ้ยเฟย #ปันจีฉือเหนี่ยน #ปันเจวี๋ยอี๋ #กงซวิ่นถู #หกตำหนักวังหลัง #เฉียนหลงสิบสองภาพวาด
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 81 มุมมอง 0 รีวิว
  • คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร

    ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ

    ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้

    ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร)

    ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 )

    จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน

    มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง

    โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง

    โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ)

    ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง

    สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย

    จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม

    สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ

    หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html
    http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html
    http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考
    https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒

    #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    คุยกันเรื่องวังหลังของเฉียนหลงฮ่องเต้มาหลายสัปดาห์ วันนี้ยังคุยกันเรื่องนี้ แต่เปลี่ยนเป็นละครเรื่อง <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> เป็นเรื่องที่เพื่อนเพจท่านหนึ่งถามถึงเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพวาดที่พูดถึงในละคร ท่านใดที่ได้เคยดูละครหรืออ่านนิยายเรื่องนี้จะทราบว่า เฉียนหลงฮ่องเต้ทรงพระราชทานรูปภาพทั้งหมดสิบสองภาพให้แก่เหล่าพระมเหสี โดยในเรื่องมีการเล่าถึงความหมายของบางรูปภาพและมีการตีความกันไปต่างๆ นาๆ ว่าองค์เฉียนหลงทรงหมายถึงอะไร ในเรื่องนั้นองค์เฉียนหลงทรงต้องการให้พวกนางไปใช้เวลาไปตีความหมายกันเองจะได้ไม่มีเรื่องราวมากวนพระทัย แต่แน่นอนว่าภาพวาดเหล่านี้ล้วนมีเรื่องราวของมัน คงต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าเราจะคุยจบทั้ง 12 ภาพวาด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ ภาพทั้งสิบสองภาพนี้ถูกเรียกรวมว่า ‘กงซวิ่นถู’ (宫训图 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+ภาพ) ได้รับการวาดขึ้นคู่กับบทกวีสิบสองบทที่เรียกว่า ‘กงซวิ่นซือ’ (宫训诗 แปลตรงตัวว่า พระราชวัง+คำสอน+บทกวี) ที่ทรงให้เหล่าขุนนางเป็นผู้แต่งและจัดทำเป็นป้ายสี่อักษรที่สื่อถึงบทกวีเต็ม และได้ทรงกำหนดไว้ว่า ในทุกวันที่ 26 เดือน 12 ตามปฏิทินจีน (คือห้าวันก่อนตรุษจีน ซึ่งเป็นช่วงเวลาจัดเตรียมการฉลองวันตรุษ) ทั้งสิบสองตำหนักต้องเอาภาพและป้ายอักษรดังกล่าวออกมาแขวน โดยภาพวาดให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันตก ส่วนป้ายอักษรให้แขวนไว้บนผนังทิศตะวันออก รอจนวันที่ 2 เดือน 2 จึงจะปลดลงได้ ภาพแรกที่จะคุยกันวันนี้เป็นภาพที่องค์เฉียนหลงพระราชทานให้ฮองเฮา เซี่ยวเสียนฉุนหวงโฮ่วแห่งพระตำหนักฉางชุนกง มีชื่อว่าภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ (太姒诲子/ไท่ซึสอนบุตร) ‘ไท่ซึ’ คือใคร? ไท่ซึเป็นชายาเอกในองค์โจวเหวินหวาง อ๋องผู้ปกครองแคว้นโจวในสมัยปลายราชวงศ์ซางระหว่างปี 1110-1050 ก่อนคริสตกาลและเป็นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์โจว (หมายเหตุ คือองค์โจวเหวินหวางผู้ทรงกำหนดเพิ่มสายพิณเส้นที่หกที่มีชื่อว่า เซ่ากง บนพิณโบราณกู่ฉินเพื่อเป็นการระลึกถึงโอรสที่วายชนม์ ซึ่ง Storyฯ เคยเล่าถึงตอนคุยเรื่องชื่อของสายพิณจากละครเรื่อง <ดาราจักรรักลำนำใจ> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837 ) จากบันทึกโบราณและบทกวีต่างๆ ที่กล่าวถึง ว่ากันว่า ไท่ซึมีรูปโฉมและจริยวัตรงดงามและมีเมตตา เป็นผู้ที่ถูกยกย่องว่าเป็นคู่ครองที่เหมาะสมกับโจวเหวินหวางและเป็นมารดาที่ดีแห่งแคว้น (ขออภัยไม่ใช้ราชาศัพท์) นางมีบุตรชายสิบคนให้กับโจวเหวินหวาง ซึ่งเป็นที่กล่าวขานว่านางสั่งสอนบุตรอย่างเข้มงวดจนเป็นคนดีมีความกตัญญูทุกคน มีเรื่องราวต่อมาอีกว่า โอรสคนโตของนางและโจวเหวินหวาง นามว่า ป๋ออี้เข่า นั้น ในตำนานว่ากันว่าเป็นบุรุษรูปงาม เชี่ยวชาญด้านพิณ และขึ้นชื่อว่าเป็นบุตรที่กตัญญูมาก ในสมัยนั้นโจ้วหวางผู้เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซางเพ่งเล็งและระแวงในแคว้นโจว และเพื่อเป็นการปกป้องโจวเหวินหวางและแคว้น ป๋ออี้เข่ายอมจากบ้านเกิดมาเป็นตัวประกันที่ราชสำนักซาง โจ้วหวางมีมเหสีที่รักมากชื่อว่าต๋าจี่ ผู้มีความงามอย่างที่หาใครเปรียบได้ยาก ตามตำนานเล่าว่า ต๋าจี่หลงรักป๋ออี้เข่าตั้งแต่แรกพบ เลยใช้ข้ออ้างขอเรียนพิณเพื่อเข้าใกล้ป๋ออี้เข่า แต่เขาไม่มีใจให้นาง นางโกรธแค้นเขามาก จึงสร้างเรื่องว่าถูกเขาลวนลาม ทำให้โจ้วหวางโกรธจนสังหารป๋ออี้เข่าทิ้ง ไม่แน่ใจว่าเพื่อนเพจเริ่มคุ้นหูคุ้นตากันบ้างไหมกับชื่อ ‘ต๋าจี่’ นี้ แต่นี่คือเรื่องเล่าในตำนานสงครามเทพ <เฟิงเสิน> และต๋าจี่คือนางงามที่เป็นปีศาจจิ้งจอกจำแลงนั่นเอง โจ้วหวางถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นทรราชเพราะมีพฤติกรรมโหดเหี้ยมอำมหิตมากมาย ต๋าจี่กลายเป็นตำนานนางจิ้งจอก เป็นตัวแทนของหญิงงามล่มเมือง และเรื่องราวของป๋ออี้เข่าเป็นโศกนาฏกรรมที่เกิดต่อครอบครัวของโจวเหวินหวางและไท่ซึ และเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้โจวเหวินหวางลุกขึ้นเป็นปฏิปักษ์ต่อราชวงศ์ซางและสถาปนาตนขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์โจว ต่อมาบุตรชายคนรองคือโจวอู่หวางก็โค่นล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ (และในเรื่องชื่อของสายพิณที่ Storyฯ เคยเล่าถึงไปแล้วนั้น โจวอู่หวางคือผู้ที่เสริมสายพิณเส้นที่เจ็ดเข้าไปในพิณโบราณกู่ฉินและตั้งชื่อสายพิณเส้นนั้นว่า เซ่าซาง เพื่อเป็นการรำลึกถึงการล้มราชวงศ์ซางได้สำเร็จ) ดูจะเชื่อมโยงตัวละครจากหลากหลายบทความที่ Storyฯ เคยเขียนถึง ลองย้อนกลับไปอ่านบทความเก่าๆ กันนะคะ จะได้ไม่งง สรุปว่า ภาพวาด ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ นี้แฝงไว้ซึ่งเรื่องราวความกตัญญูและโศกนาฏกรรมของป๋ออี้เข่า อารมณ์แฝงอาจสอดคล้องกับอารมณ์ที่โศกเศร้าของฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนที่ต้องสูญเสียพระโอรสไปก่อนเวลาอันควร แต่ยังสะท้อนถึงจริยวัตรของการเป็นมารดาที่สั่งสอนบุตรอย่างดีอีกด้วย ส่วนป้ายอักษรที่มาคู่กับภาพนี้คือ ‘จิ้งซิวเน่ยเจ๋อ’ (敬休内则) มีความหมายประมาณว่า วางตนอย่างสงบและบริหารงานภายในครอบครัวให้เรียบร้อย จึงเป็นที่มาของการตีความโดยตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ว่า ความหมายของรูปภาพนี้คืออยากให้ฮองเฮาเซี่ยวเสียนฉุนเลิกโศกเศร้าแล้วลุกขึ้นมาดูแลวังหลังในฐานะมารดาแห่งแผ่นดิน การตีความแบบนี้ถูกหรือไม่ Storyฯ ก็ไม่แน่ใจ แต่เห็นว่าเรื่องราวจากภาพนี้ก็อ่านเพลินดี เพื่อนเพจเห็นด้วยไหม สัปดาห์หน้ามาคุยกันต่อกับภาพต่อไปค่ะ หมายเหตุ อัพเดทเพิ่มเติมวันที่ 22/8/2566 นะคะว่า ภาพวาดที่ Storyฯ แปะมาให้ดูนี้ เป็นผลงานในสมัยองค์คังซีของช่างวาดหลวงเจียวปิ่งเจินเกี่ยวกับไท่ซึค่ะ ภาพจริงของ ‘ไท่ซึฮุ่ยจื่อ’ ซึ่งเป็น 1 ใน 12 กงซวิ่นถูนั้นสูญหายไปแล้ว หน้าตาเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://autos.yahoo.com.tw/被催生氣炸-富察皇后吐單身心聲-094507428.html https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.takungpao.com/culture/237140/2019/1207/387125.html http://lethe921.blogspot.com/2013/05/blog-post.html http://www.chinakongzi.org/baike/RENWU/xianqin/201707/t20170720_139258.htm https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/妲己 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/伯邑考 https://zh.m.wikipedia.org/zh-my/太姒 #เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่ #ภาพวาดเฉียนหลง #ไท่ซึฮุ่ยจื่อ #ไท่ซึ #โจวเหวินหวาง #โจวอู่หวาง #โจ้วหวาง #ต๋าจี่ #นางจิ้งจอก #เฟิงเสิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 339 มุมมอง 0 รีวิว