เตโชแอร์พอร์ต สนามบินใหม่พนมเปญ
แม้ท่าอากาศยานนานาชาติเตโช (Techo International Airport หรือ KTI) ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะเลื่อนเปิดให้บริการออกไป เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่ามีงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่สนามบินแห่งใหม่ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำลังจะทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ซึ่งมีอายุกว่า 66 ปี บนพื้นที่ 400 เฮกตาร์ ใจกลางเมืองหลวงของกัมพูชา ด้วยความทันสมัยในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติระดับ 4F บนพื้นที่ 2,600 เฮกตาร์ ใหญ่กว่าท่าอากาศยานเดิมกว่า 6 เท่า ซึ่งเฟสแรกรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 15 ล้านคนต่อปี
โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกัมพูชา โดยสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) กับบริษัท โอเวอร์ซีส์ แคมโบเดียน อินเวสต์เมนต์ คอร์ปฯ (OCIC Group) ของมหาเศรษฐีกัมพูชาเชื้อสายจีน ปง เคียวแซ (Pung Kheav Se) ตั้งอยู่ที่จังหวัดกันดาล ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร มีทางวิ่งหรือรันเวย์ 3 เส้น ยาว 4,000 เมตร ก่อสร้างโดย บริษัทเซี่ยงไฮ้ เป่าเย่ กรุ๊ป คอร์ปฯ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส A380-800 โบอิ้ง 747-800 พร้อมหอควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) สูง 118 เมตร
สถาปัตยกรรมอาคารผู้โดยสาร ออกแบบโดย บริษัทฟอสเตอร์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ จากอังกฤษ ก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่า คอนสตรัคชัน เติร์ด เอนจิเนียริง บูโร ประเทศจีน ประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารส่วนกลาง พร้อมเสารูปทรงแอโรฟอยล์หรือปีกนก ที่อยู่ด้านข้างทั้งสองข้าง มีประตูขึ้นเครื่อง 22 ประตู รองรับเครื่องบินขนาดกลางได้ 40 ลำ หลังคาโดมโครงสร้างเหล็ก สูง 36 เมตร พร้อมตะแกรงกรองแสงธรรมชาติและส่องสว่างในอาคาร ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 1,000 แผง และศูนย์กลางระบบผลิตไฟฟ้า (Energy Center) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับระบบปรับอากาศได้ 7,800 กิโลวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 120 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ประมาณ 100,000 ตัน
ในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (PNH) มีเที่ยวบินทั้งหมด 41,022 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 4,746,000 คน โดยมีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) มากที่สุด 88 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รองลงมาคือกว่างโจว ประเทศจีน (CAN) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (SGN) และสิงคโปร์ (SIN) หลังการย้ายสนามบินไปยังสถานที่แห่งใหม่ สนามบินเดิมรัฐบาลกัมพูชาจะเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ภายใต้การดูแลของ SSCA โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ยืนยันว่ายังไม่ขายให้แก่ผู้สนใจแต่อย่างใด
#Newskit
แม้ท่าอากาศยานนานาชาติเตโช (Techo International Airport หรือ KTI) ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะเลื่อนเปิดให้บริการออกไป เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่ามีงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่สนามบินแห่งใหม่ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำลังจะทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ซึ่งมีอายุกว่า 66 ปี บนพื้นที่ 400 เฮกตาร์ ใจกลางเมืองหลวงของกัมพูชา ด้วยความทันสมัยในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติระดับ 4F บนพื้นที่ 2,600 เฮกตาร์ ใหญ่กว่าท่าอากาศยานเดิมกว่า 6 เท่า ซึ่งเฟสแรกรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 15 ล้านคนต่อปี
โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกัมพูชา โดยสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) กับบริษัท โอเวอร์ซีส์ แคมโบเดียน อินเวสต์เมนต์ คอร์ปฯ (OCIC Group) ของมหาเศรษฐีกัมพูชาเชื้อสายจีน ปง เคียวแซ (Pung Kheav Se) ตั้งอยู่ที่จังหวัดกันดาล ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร มีทางวิ่งหรือรันเวย์ 3 เส้น ยาว 4,000 เมตร ก่อสร้างโดย บริษัทเซี่ยงไฮ้ เป่าเย่ กรุ๊ป คอร์ปฯ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส A380-800 โบอิ้ง 747-800 พร้อมหอควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) สูง 118 เมตร
สถาปัตยกรรมอาคารผู้โดยสาร ออกแบบโดย บริษัทฟอสเตอร์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ จากอังกฤษ ก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่า คอนสตรัคชัน เติร์ด เอนจิเนียริง บูโร ประเทศจีน ประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารส่วนกลาง พร้อมเสารูปทรงแอโรฟอยล์หรือปีกนก ที่อยู่ด้านข้างทั้งสองข้าง มีประตูขึ้นเครื่อง 22 ประตู รองรับเครื่องบินขนาดกลางได้ 40 ลำ หลังคาโดมโครงสร้างเหล็ก สูง 36 เมตร พร้อมตะแกรงกรองแสงธรรมชาติและส่องสว่างในอาคาร ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 1,000 แผง และศูนย์กลางระบบผลิตไฟฟ้า (Energy Center) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับระบบปรับอากาศได้ 7,800 กิโลวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 120 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ประมาณ 100,000 ตัน
ในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (PNH) มีเที่ยวบินทั้งหมด 41,022 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 4,746,000 คน โดยมีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) มากที่สุด 88 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รองลงมาคือกว่างโจว ประเทศจีน (CAN) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (SGN) และสิงคโปร์ (SIN) หลังการย้ายสนามบินไปยังสถานที่แห่งใหม่ สนามบินเดิมรัฐบาลกัมพูชาจะเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ภายใต้การดูแลของ SSCA โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ยืนยันว่ายังไม่ขายให้แก่ผู้สนใจแต่อย่างใด
#Newskit
เตโชแอร์พอร์ต สนามบินใหม่พนมเปญ
แม้ท่าอากาศยานนานาชาติเตโช (Techo International Airport หรือ KTI) ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา จะเลื่อนเปิดให้บริการออกไป เพราะผู้เชี่ยวชาญประเมินพบว่ามีงานที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่สนามบินแห่งใหม่ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2563 ด้วยงบลงทุนกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ กำลังจะทดแทนท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ซึ่งมีอายุกว่า 66 ปี บนพื้นที่ 400 เฮกตาร์ ใจกลางเมืองหลวงของกัมพูชา ด้วยความทันสมัยในฐานะท่าอากาศยานนานาชาติระดับ 4F บนพื้นที่ 2,600 เฮกตาร์ ใหญ่กว่าท่าอากาศยานเดิมกว่า 6 เท่า ซึ่งเฟสแรกรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 15 ล้านคนต่อปี
โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลกัมพูชา โดยสำนักงานเลขาธิการการบินพลเรือนแห่งรัฐ (SSCA) กับบริษัท โอเวอร์ซีส์ แคมโบเดียน อินเวสต์เมนต์ คอร์ปฯ (OCIC Group) ของมหาเศรษฐีกัมพูชาเชื้อสายจีน ปง เคียวแซ (Pung Kheav Se) ตั้งอยู่ที่จังหวัดกันดาล ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางทิศใต้ประมาณ 20 กิโลเมตร มีทางวิ่งหรือรันเวย์ 3 เส้น ยาว 4,000 เมตร ก่อสร้างโดย บริษัทเซี่ยงไฮ้ เป่าเย่ กรุ๊ป คอร์ปฯ รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ เช่น แอร์บัส A380-800 โบอิ้ง 747-800 พร้อมหอควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC) สูง 118 เมตร
สถาปัตยกรรมอาคารผู้โดยสาร ออกแบบโดย บริษัทฟอสเตอร์ แอนด์ พาร์ตเนอร์ จากอังกฤษ ก่อสร้างโดยบริษัท ไชน่า คอนสตรัคชัน เติร์ด เอนจิเนียริง บูโร ประเทศจีน ประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารส่วนกลาง พร้อมเสารูปทรงแอโรฟอยล์หรือปีกนก ที่อยู่ด้านข้างทั้งสองข้าง มีประตูขึ้นเครื่อง 22 ประตู รองรับเครื่องบินขนาดกลางได้ 40 ลำ หลังคาโดมโครงสร้างเหล็ก สูง 36 เมตร พร้อมตะแกรงกรองแสงธรรมชาติและส่องสว่างในอาคาร ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์กว่า 1,000 แผง และศูนย์กลางระบบผลิตไฟฟ้า (Energy Center) สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้กับระบบปรับอากาศได้ 7,800 กิโลวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ถึง 120 ล้านกิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี ลดการปล่อยคาร์บอนลงได้ประมาณ 100,000 ตัน
ในปี 2567 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ (PNH) มีเที่ยวบินทั้งหมด 41,022 เที่ยวบิน ผู้โดยสารรวม 4,746,000 คน โดยมีเที่ยวบินจากกรุงเทพฯ สุวรรณภูมิ (BKK) มากที่สุด 88 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ รองลงมาคือกว่างโจว ประเทศจีน (CAN) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KUL) โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (SGN) และสิงคโปร์ (SIN) หลังการย้ายสนามบินไปยังสถานที่แห่งใหม่ สนามบินเดิมรัฐบาลกัมพูชาจะเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ภายใต้การดูแลของ SSCA โดยนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน มาเนต ยืนยันว่ายังไม่ขายให้แก่ผู้สนใจแต่อย่างใด
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
2 มุมมอง
0 รีวิว