• #thaitimesข่าวกิจกรรม
    🗓️ Date: วันที่ 29 ก.ย. 67
    🕔 Time: 17.00 - 19.00 น.
    》》กลับมาแล้วงาน
    Yaowarat Swing Dance 2024 Runway Edition!
    》》เนรมิตถนนเยาวราชให้กลายเป็นรันเวย์พรมแดงสุดเก๋! 🔥
    ☆The Hop Bangkok จับมือ ททท. และพันธมิตร ชวนทุกคนมาร้องเล่น เต้นรำใจกลางเยาวราช 💃🏼🕺🏻 พร้อมปูรันเวย์พรมแดงให้ทุกคนหยิบเสื้อผ้าวินเทจสีสันสดใสในยุค 80s 🪩 มาปล่อยตัวปล่อยใจไปกับเพลงแจ๊สจากศิลปินส่งตรงจากเบอร์ลินไปกับวง David Hermlin Trio 🎙️ พร้อมทัพนักเต้นนานาชาติกว่า 20 ประเทศ ที่มาร่วมสร้างสรรค์สีสันกลางรันเวย์เยาวราชให้น่าจดจำไม่รู้ลืม
    💫 ไฮไลท์ภายในงาน
    💃สอนเต้นสวิงแดนซ์ มาเดี่ยวมาคู่มากลุ่มก็สนุกได้
    👗หยิบเสื้อผ้ายุค 80s สีสดใสพร้อมเฉิดฉายบนรันเวย์
    🎶ดื่มด่ำกับวงทรีโอหนุ่มหล่อส่งตรงเบอร์ลิน David Hermlin Trio
    🎉กิจกรรมสนุก ๆ เพียบ
    📣 งานนี้เปิดสาธารณะไม่เสียค่าใช้จ่าย
    📍 Location: หน้าโรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่น กรุงเทพฯ
    ☆ข้อมูลจาก
    ข่าวสารท่องเที่ยว ททท.
    ☆เพจ
    》》
    https://www.facebook.com/share/s29PSCXsb9nvEJhV/?mibextid=qi2Omg
    ■■■■■■■■■■■
    #สวิงไปทุกที่ #Everywhereisrunway #Yaowaratswingdance2024
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    #thaitimesข่าวกิจกรรม 🗓️ Date: วันที่ 29 ก.ย. 67 🕔 Time: 17.00 - 19.00 น. 》》กลับมาแล้วงาน Yaowarat Swing Dance 2024 Runway Edition! 》》เนรมิตถนนเยาวราชให้กลายเป็นรันเวย์พรมแดงสุดเก๋! 🔥 ☆The Hop Bangkok จับมือ ททท. และพันธมิตร ชวนทุกคนมาร้องเล่น เต้นรำใจกลางเยาวราช 💃🏼🕺🏻 พร้อมปูรันเวย์พรมแดงให้ทุกคนหยิบเสื้อผ้าวินเทจสีสันสดใสในยุค 80s 🪩 มาปล่อยตัวปล่อยใจไปกับเพลงแจ๊สจากศิลปินส่งตรงจากเบอร์ลินไปกับวง David Hermlin Trio 🎙️ พร้อมทัพนักเต้นนานาชาติกว่า 20 ประเทศ ที่มาร่วมสร้างสรรค์สีสันกลางรันเวย์เยาวราชให้น่าจดจำไม่รู้ลืม 💫 ไฮไลท์ภายในงาน 💃สอนเต้นสวิงแดนซ์ มาเดี่ยวมาคู่มากลุ่มก็สนุกได้ 👗หยิบเสื้อผ้ายุค 80s สีสดใสพร้อมเฉิดฉายบนรันเวย์ 🎶ดื่มด่ำกับวงทรีโอหนุ่มหล่อส่งตรงเบอร์ลิน David Hermlin Trio 🎉กิจกรรมสนุก ๆ เพียบ 📣 งานนี้เปิดสาธารณะไม่เสียค่าใช้จ่าย 📍 Location: หน้าโรงแรมเซี่ยงไฮ้ แมนชั่น กรุงเทพฯ ☆ข้อมูลจาก ข่าวสารท่องเที่ยว ททท. ☆เพจ 》》 https://www.facebook.com/share/s29PSCXsb9nvEJhV/?mibextid=qi2Omg ■■■■■■■■■■■ #สวิงไปทุกที่ #Everywhereisrunway #Yaowaratswingdance2024 #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 660 มุมมอง 0 รีวิว
  • #thaitimesข่าวกิจกรรม
    ☆วันเสาร์ที่ 28 และ วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2567
    เวลา 17.00-19.00 น.
    》》ขอเชิญรับชมรับฟังดนตรี วง BSRU Jazz Band (ฟรี)
    ที่ โครงการ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เยาวราช - The Luenrit, Yaowarat, Bangkok
    ☆เพจ
    》》
    https://www.facebook.com/share/C78iHNXPCAewd3oX/?mibextid=qi2Omg
    《《
    🔸 รับฟังการแสดงจากวง BSRU Jazz Band
    📍ณ #ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ #ถนนเยาวราช
    🟢Map สถานที่จัดงาน: https://maps.app.goo.gl/o1GcLK2anHRHLjEz8
    🚇 MRT : สถานีสามยอด ทางออก 1 แล้วเดินต่อมาอีกประมาณ 500 เมตร
    ℹ️ สอบถามและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
    🔵Facebook : ภาควิชาดนตรีตะวันตก มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    Culture Connex
    ■■■■■■■■■■
    #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    #thaitimesข่าวกิจกรรม ☆วันเสาร์ที่ 28 และ วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน 2567 เวลา 17.00-19.00 น. 》》ขอเชิญรับชมรับฟังดนตรี วง BSRU Jazz Band (ฟรี) ที่ โครงการ ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เยาวราช - The Luenrit, Yaowarat, Bangkok ☆เพจ 》》 https://www.facebook.com/share/C78iHNXPCAewd3oX/?mibextid=qi2Omg 《《 🔸 รับฟังการแสดงจากวง BSRU Jazz Band 📍ณ #ชุมชนเลื่อนฤทธิ์ #ถนนเยาวราช 🟢Map สถานที่จัดงาน: https://maps.app.goo.gl/o1GcLK2anHRHLjEz8 🚇 MRT : สถานีสามยอด ทางออก 1 แล้วเดินต่อมาอีกประมาณ 500 เมตร ℹ️ สอบถามและติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 🔵Facebook : ภาควิชาดนตรีตะวันตก มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา Culture Connex ■■■■■■■■■■ #thaitimes #thaitimesเที่ยวไทย #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 751 มุมมอง 0 รีวิว
  • พูดถึงอาหารจานเด็ดในเยาวราช ใครๆ ก็ต้องคิดถึงเมนู ก๋วยจั๊บ เยาวราช ใช่ไหม และเราขอแนะนำร้าน ก๋วยจั๊บอ้วนโภชนา ในตำนานหน้าโรงหนังเก่า ย่านเยาวราชนั่นเอง ความดีงามของก๋วยจั๊บร้านนี้อยู่ตรงที่เครื่องเทศในน้ำซุปจัดจ้านมากๆ หอมกลิ่นพริกไทยสุดๆ ยิ่งถ้าหากใครที่ชอบหมูกรอบ และเครื่องในละก็…จะต้องฟินอย่างแน่นอน การันตีความอร่อยด้วยดีกรี Michelin BibGourmand ด้วยนะ

    พิกัด : https://goo.gl/maps/TD6N8G2mmx9icfmc8
    ที่อยู่ : ถนนเยาวราช แขวงจักรวรรดิ์ กรุงเทพฯ
    ร้านเปิดบริการ : 18.00 - 03.00 น.
    #เยาวราช #อาหารแนะนำ #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    พูดถึงอาหารจานเด็ดในเยาวราช ใครๆ ก็ต้องคิดถึงเมนู ก๋วยจั๊บ เยาวราช ใช่ไหม และเราขอแนะนำร้าน ก๋วยจั๊บอ้วนโภชนา ในตำนานหน้าโรงหนังเก่า ย่านเยาวราชนั่นเอง ความดีงามของก๋วยจั๊บร้านนี้อยู่ตรงที่เครื่องเทศในน้ำซุปจัดจ้านมากๆ หอมกลิ่นพริกไทยสุดๆ ยิ่งถ้าหากใครที่ชอบหมูกรอบ และเครื่องในละก็…จะต้องฟินอย่างแน่นอน การันตีความอร่อยด้วยดีกรี Michelin BibGourmand ด้วยนะ พิกัด : https://goo.gl/maps/TD6N8G2mmx9icfmc8 ที่อยู่ : ถนนเยาวราช แขวงจักรวรรดิ์ กรุงเทพฯ ร้านเปิดบริการ : 18.00 - 03.00 น. #เยาวราช #อาหารแนะนำ #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 597 มุมมอง 0 รีวิว
  • ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

    กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ

    1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์
    2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น
    3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ
    4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ
    5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย
    6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา
    7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469
    8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า
    9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด
    10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี
    11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า
    12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม
    14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม

    โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3

    ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว

    ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม

    รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ

    และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง
    .
    อ้างอิง
    พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549
    แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550
    เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5
    เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6
    เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7
    เพจบางกอกไอเลิฟยู

    เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2

    #Thaitimes
    ป้อมปราการ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำแพงเมืองพระนครกรุงรัตนโกสินทร์นั้นสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีป้อมสังเกตุการณ์จำนวนถึง 14 ป้อม ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ 1. ป้อมพระสุเมรุ ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์ 2. ป้อมยุคุนธร ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น 3. ป้อมมหาปราบ ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ 4. ป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ 5. ป้อมหมู่ทะลวง (ทลวง) ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมู่ทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย 6. ป้อมเสือทะยาน (ทยาน) อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) ตรงโรงแรมมิรามา 7. ป้อมมหาไชย ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469 8. ป้อมจักรเพชร ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า 9. ป้อมผีเสื้อ ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด 10. ป้อมมหาฤกษ์ ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี 11. ป้อมมหายักษ์ อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า 12. ป้อมพระจันทร์ ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13. ป้อมพระอาทิตย์ ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม 14. ป้อมอิสินธร ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม โดยประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะ เป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพมหานครและนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากรัชกาลที่ 1 ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจด้านความมั่นคงมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า และมีตำแหน่งเป็น “แม่ทัพ” เมื่อครั้งสมัยกรุงธนบุรี ทำให้ทรงเชี่ยวชาญการศึก และเข้าใจตำราพิไชยสงคราม การตั้งหลักเมืองของกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการอ้างอิงการตั้งทัพหรือแต่งทัพ ที่สอดคล้องกับภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม รัชกาลที่ 1 เข้าพระราชหฤทัยชัยภูมิของ “บางกอก” ที่มีลักษณะตรงกับการตั้งทัพตามคติ “นาคนาม” กล่าวคือ เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ดังนั้น ในการเลือกที่ตั้งศูนย์กลางของเมือง และการตั้ง “หลักเมือง” พระองค์จึงทรงเล็งเห็นประเด็นของ “ชัยภูมิ” เป็นลำดับแรก จากนั้นจึงดูฤกษ์ยาม วัน และเดือน ที่เหมาะสมตามคติ “โหราศาสตร์” ในการลงหลักเมืองตามมาเป็นลำดับ และเมื่อได้ดูลักษณะรูปร่างของการวางผังของ กำแพงเมืองพระนครจะเหมือนลักษณะคันธนู โดยยึดหลักฮวงจุ้ยของจีนมาประกอบการวางผังกำแพงเมือง หากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าสายธนูจะง้างออกไปทางทิศตะวันออก ส่วนลูกธนูจะพุ่งไปทางทิศตะวันตกอันเป็นทิศที่ตั้งของคู่ปรับสำคัญนั่นคือเมืองอังวะ พม่านั่นเอง . อ้างอิง พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549 แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550 เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5 เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7 เพจบางกอกไอเลิฟยู เรียบเรียงโดย เพจเกร็ดประวัติศาสตร์ v2 #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 648 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอบคุณลิซ่ายกระดับซอฟต์พาวเวอร์

    ห้างทองโชวเซ่งเฮง ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ขึ้นป้ายบิลบอร์ด ROCKSTAR ขอบคุณ "ลิซ่า-ลลิสา มโนบาล" ศิลปินเพลงป๊อบชื่อดัง พร้อมข้อความระบุว่า "Thank you, Our Rockstar for uplifting the soft power of Thailand." แปลความได้ว่า ขอบคุณพวกคุณชาวร็อคสตาร์ ที่ช่วยยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย

    ห้างทองโชวเซ่งเฮง เป็นหนึ่งในฉากหลังของมิวสิกวีดีโอเพลงร็อคสตาร์ ที่เผยแพร่ผ่านทางยูทูบไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ถ่ายทำที่ถนนเยาวราชและโรงหนังเก่าออสการ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ขณะนี้มียอดผู้ชมมากถึง 100 ล้านวิว

    ขณะที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศอย่างไม่ขาดสาย ส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถสาธารณะ เช่น สถานีรถไฟฟ้าวัดมังกร แม้จะมีสายฝนที่โปรยปรายลงมาแต่ก็ไม่ย่อท้อ ต่างพกร่มและสวมเสื้อกันฝนมา ส่วนใหญ่กิจกรรมเน้นรับประทานอาหารและถ่ายรูปถนนเยาวราช ที่ฉากหลังเต็มไปด้วยป้ายไฟภาษาจีน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นไชน่าทาวน์ของเมืองไทย

    #Newskit #Lisa #Rockstar
    ขอบคุณลิซ่ายกระดับซอฟต์พาวเวอร์ ห้างทองโชวเซ่งเฮง ถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ ขึ้นป้ายบิลบอร์ด ROCKSTAR ขอบคุณ "ลิซ่า-ลลิสา มโนบาล" ศิลปินเพลงป๊อบชื่อดัง พร้อมข้อความระบุว่า "Thank you, Our Rockstar for uplifting the soft power of Thailand." แปลความได้ว่า ขอบคุณพวกคุณชาวร็อคสตาร์ ที่ช่วยยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย ห้างทองโชวเซ่งเฮง เป็นหนึ่งในฉากหลังของมิวสิกวีดีโอเพลงร็อคสตาร์ ที่เผยแพร่ผ่านทางยูทูบไปเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ถ่ายทำที่ถนนเยาวราชและโรงหนังเก่าออสการ์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ขณะนี้มียอดผู้ชมมากถึง 100 ล้านวิว ขณะที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาสัมผัสบรรยากาศอย่างไม่ขาดสาย ส่วนใหญ่เดินทางด้วยรถสาธารณะ เช่น สถานีรถไฟฟ้าวัดมังกร แม้จะมีสายฝนที่โปรยปรายลงมาแต่ก็ไม่ย่อท้อ ต่างพกร่มและสวมเสื้อกันฝนมา ส่วนใหญ่กิจกรรมเน้นรับประทานอาหารและถ่ายรูปถนนเยาวราช ที่ฉากหลังเต็มไปด้วยป้ายไฟภาษาจีน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็นไชน่าทาวน์ของเมืองไทย #Newskit #Lisa #Rockstar
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 587 มุมมอง 0 รีวิว