• เพื่อนเพจคอนิยายกับละครจีนคงมักได้ยินการเปรียบเปรยถึงความรักด้วยดอกท้อหรือดอกบ๊วย เวลาเห็นฉากป่าท้อในละครจะรู้สึกว่ามันโรแมนติกมาก

    วันนี้จะมาคุยถึงสัญลักษณ์อีกอย่างของดอกท้อ ยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> ที่พระนางสืบตามรอยของตัวละครที่ชื่อว่า จูชี พบว่าเขาตายแล้วด้วยรอยยิ้มที่เหมือนกับว่าได้รับการปลดปล่อย และในที่พักของเขามีแต่รูปภาพของดอกท้อ พระเอกบรรยายไว้ในละครคร่าวๆ ว่า... ภาพวาดป่าท้อ ห่างจากริมฝั่งเพียงนับร้อยก้าว กลิ่นหอมกระจาย... ทำให้นางเอกนึกถึง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ (เถาฮวาหยวนจี้/桃花源记)
    (หมายเหตุ คำว่า ‘หยวน’โดยปกติแปลว่าต้นธารหรือต้นตอ แต่ในที่นี้ Storyฯ ใช้คำว่า ‘ดินแดน’ตามบริบท คล้ายกับที่เราเรียก ‘เฉ่าหยวน’ ว่าดินแดนแห่งทุ่งหญ้า)

    อะไรคือดินแดนดอกท้อ? ความนัยอยู่ในเถาฮวาหยวนจี้นี้ ซึ่งเป็นวรรณกรรมสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ประพันธ์ขึ้นโดยเถายวนหมิง กวีและนักประพันธ์ชื่อดังในยุคนั้น

    เนื้อความสรุปโดยสั้นว่า ชายหาปลาคนหนึ่งล่องเรือหลงเข้าไปในหุบเขา ริมฝั่งเป็นป่าท้อ ลึกเข้าไปในป่าท้ออีกมีชาวบ้านอาศัยอยู่ ชาวบ้านให้การต้อนรับชายหาปลาอย่างดีพูดคุยจนจับใจความได้ว่าพวกเขาเป็นชาวฉินที่หนีสงครามมาหลบอยู่ในนี้ อยู่มานานไม่ได้ออกไปพบโลกภายนอกอีกเลย ชายหาปลาพบว่าที่นี่อยู่กันอย่างสุขสงบไม่แก่งแย่งชิงดีไม่คิดร้ายต่อกัน ชาวบ้านทำมาหากินกันอย่างขยันขันแข็ง ดูทุกคนมีความสุข เมื่อได้เวลาจากลา ชายหาปลาถูกกำชับว่าอย่าเอาสถานที่ลับนี้ไปบอกใคร แต่ชายหาปลากลับไปก็เล่าให้ผู้ปกครองเขตฟัง ผู้ปกครองเขตจัดกองกำลังทหารมาตามหา แต่สุดท้ายกลับหาสถานที่นี้ไม่พบ กลายเป็นดินแดนแห่งความสมบูรณ์ในตำนาน

    เรื่องนี้เป็นบทความที่ปัจจุบันยังเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวรรณกรรมของจีน ศึกษาทั้งในแง่ของความสละสลวยของภาษาและในแง่ของการที่ ‘เถาฮวาหยวน’ เป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติที่มนุษย์แสวงหา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia และวรรณกรรมนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจของภาพป่าท้ออีกมากมายจากจิตรกรเลื่องชื่อในหลายยุคทุกสมัย

    ดังนั้น ในความโรแมนติกของดอกท้อที่เราเห็นในนิยายหรือละครจีน ในบางบริบทไม่ได้หมายถึงรักลึกล้ำ หากแต่หมายถึงความเพอร์เฟ็คหรือสมบูรณ์แบบนั่นเอง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.hk01.com/開罐/661940/大唐女法醫-日本爆紅-男二蘇伏人氣反超男主-這對cp最多人撐
    https://www.jianshu.com/p/dc818c821a0a
    http://www.zgyythy.com/thy/sdmj_show.aspx?wid=46&aid=257
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/桃花源记/105
    https://www.sohu.com/a/406770277_100034039
    https://www.kekeshici.com/zuozhe/taoyuanming/jianshang/57401.html
    http://www.gushicimingju.com/gushi/wenyanwen/520.html

    #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #ป่าท้อ #ซื่อไว่เถาหยวน #เถาฮวาหยวน #ยูโทเปีย
    เพื่อนเพจคอนิยายกับละครจีนคงมักได้ยินการเปรียบเปรยถึงความรักด้วยดอกท้อหรือดอกบ๊วย เวลาเห็นฉากป่าท้อในละครจะรู้สึกว่ามันโรแมนติกมาก วันนี้จะมาคุยถึงสัญลักษณ์อีกอย่างของดอกท้อ ยกตัวอย่างมาจากละครเรื่อง <นิติเวชสาวยอดนักสืบ> ที่พระนางสืบตามรอยของตัวละครที่ชื่อว่า จูชี พบว่าเขาตายแล้วด้วยรอยยิ้มที่เหมือนกับว่าได้รับการปลดปล่อย และในที่พักของเขามีแต่รูปภาพของดอกท้อ พระเอกบรรยายไว้ในละครคร่าวๆ ว่า... ภาพวาดป่าท้อ ห่างจากริมฝั่งเพียงนับร้อยก้าว กลิ่นหอมกระจาย... ทำให้นางเอกนึกถึง ‘บันทึกดินแดนดอกท้อ’ (เถาฮวาหยวนจี้/桃花源记) (หมายเหตุ คำว่า ‘หยวน’โดยปกติแปลว่าต้นธารหรือต้นตอ แต่ในที่นี้ Storyฯ ใช้คำว่า ‘ดินแดน’ตามบริบท คล้ายกับที่เราเรียก ‘เฉ่าหยวน’ ว่าดินแดนแห่งทุ่งหญ้า) อะไรคือดินแดนดอกท้อ? ความนัยอยู่ในเถาฮวาหยวนจี้นี้ ซึ่งเป็นวรรณกรรมสมัยจิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ประพันธ์ขึ้นโดยเถายวนหมิง กวีและนักประพันธ์ชื่อดังในยุคนั้น เนื้อความสรุปโดยสั้นว่า ชายหาปลาคนหนึ่งล่องเรือหลงเข้าไปในหุบเขา ริมฝั่งเป็นป่าท้อ ลึกเข้าไปในป่าท้ออีกมีชาวบ้านอาศัยอยู่ ชาวบ้านให้การต้อนรับชายหาปลาอย่างดีพูดคุยจนจับใจความได้ว่าพวกเขาเป็นชาวฉินที่หนีสงครามมาหลบอยู่ในนี้ อยู่มานานไม่ได้ออกไปพบโลกภายนอกอีกเลย ชายหาปลาพบว่าที่นี่อยู่กันอย่างสุขสงบไม่แก่งแย่งชิงดีไม่คิดร้ายต่อกัน ชาวบ้านทำมาหากินกันอย่างขยันขันแข็ง ดูทุกคนมีความสุข เมื่อได้เวลาจากลา ชายหาปลาถูกกำชับว่าอย่าเอาสถานที่ลับนี้ไปบอกใคร แต่ชายหาปลากลับไปก็เล่าให้ผู้ปกครองเขตฟัง ผู้ปกครองเขตจัดกองกำลังทหารมาตามหา แต่สุดท้ายกลับหาสถานที่นี้ไม่พบ กลายเป็นดินแดนแห่งความสมบูรณ์ในตำนาน เรื่องนี้เป็นบทความที่ปัจจุบันยังเป็นผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ในหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวรรณกรรมของจีน ศึกษาทั้งในแง่ของความสละสลวยของภาษาและในแง่ของการที่ ‘เถาฮวาหยวน’ เป็นตัวแทนของดินแดนหรือสังคมในอุดมคติที่มนุษย์แสวงหา หรือที่ฝรั่งเรียกว่า Utopia และวรรณกรรมนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจของภาพป่าท้ออีกมากมายจากจิตรกรเลื่องชื่อในหลายยุคทุกสมัย ดังนั้น ในความโรแมนติกของดอกท้อที่เราเห็นในนิยายหรือละครจีน ในบางบริบทไม่ได้หมายถึงรักลึกล้ำ หากแต่หมายถึงความเพอร์เฟ็คหรือสมบูรณ์แบบนั่นเอง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.hk01.com/開罐/661940/大唐女法醫-日本爆紅-男二蘇伏人氣反超男主-這對cp最多人撐 https://www.jianshu.com/p/dc818c821a0a http://www.zgyythy.com/thy/sdmj_show.aspx?wid=46&aid=257 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/桃花源记/105 https://www.sohu.com/a/406770277_100034039 https://www.kekeshici.com/zuozhe/taoyuanming/jianshang/57401.html http://www.gushicimingju.com/gushi/wenyanwen/520.html #นิติเวชสาวยอดนักสืบ #ป่าท้อ #ซื่อไว่เถาหยวน #เถาฮวาหยวน #ยูโทเปีย
    WWW.HK01.COM
    香港01|hk01.com 倡議型媒體
    香港01是一家互聯網企業,核心業務為倡議型媒體,主要傳播平台是手機應用程式和網站。企業研發各種互動數碼平台,開發由知識與科技帶動的多元化生活。
    1 Comments 0 Shares 10 Views 0 Reviews
  • วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีกันอีกสักหน่อย

    ในละครเรื่อง <ตำนานรักช่างภูษา> มีฉากหนึ่งเล่าถึงการเตรียมชุดเข้าวังถวายตัวของอู่ไฉเหริน โดยมีการปักบทกวีและลวดลายดอกท้อไว้บนชุด อู่ไฉเหรินกล่าวไว้ในฉากนี้ว่า “ดอกท้อผลิบานพันหมื่นดอก สีสันแดงสดดั่งเปลวเพลิง สตรีจะออกเรือน สุขศรีอยู่ฝ่ายบุรุษ... นำบทกลอนมาลงปักทำเป็นชุดมงคลแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร... กลอนเถาเยาบทนี้ตรงประเด็นนัก”
    - ถอดบทสนทนาจากละครนี้ตามซับไทย

    บทกวี ‘เถาเยา’ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล)

    ‘เถาเยา’ มีทั้งหมดสามท่อน แต่ละท่อนมีสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่นิยมในวงการศึกษาจวบจนปัจจุบันด้วยความไพเราะของคำที่ใช้ (ดูกวีบทเต็มได้ตามรูป)

    วรรคที่เป็นวรรคยอดนิยมจากกวีบทนี้ก็คือสองวรรคแรก ‘เถาจือเยาเยา จั๋วจั๋วฉีหัว’ ซึ่งเป็นสองประโยคแรกที่ยกมาจากในละครข้างต้น Storyฯ แปลและเรียบเรียงใหม่ว่า ‘ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา’ เป็นวลีที่ใช้บรรยายถึงความงามของสตรีที่ดูโดดเด่นจนมิอาจสายตาไปได้เลย

    แล้วบทกวี ‘เถาเยา’ นี้ ‘ตรงประเด็น’ กับเรื่องราวในละครตอนนี้อย่างไร?

    Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงใหม่ดังนี้ เพื่อนเพจอ่านจบคงเข้าใจ
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา สตรีนี้เข้าเรือนมา สุขคู่ชูชื่นเคียงใจ
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ กิ่งก้านเติบใหญ่มั่นคง สตรีนี้เข้าเรือนมา บุตรหลานสมบูรณ์
    ดอกท้อชูช่อดารดาษ ใบดกหนาเข้มงดงาม สตรีนี้เข้าเรือนมา สัมพันธ์กระชับมั่นคง

    ถูกแล้วค่ะ ‘เถาเยา’ เป็นบทกวีที่ไม่เพียงชื่นชมความงามของสตรี แต่เป็นการชื่นชมความงามของเจ้าสาวที่มิเพียงงามโดดเด่น แต่ยังครบถ้วนด้วยจรรยาของสตรี เมื่อเข้าเรือนมาก็จะนำพาความสุขมาสู่สามี ในฉากละครนี้จึงเหมาะกับอู่ไฉเหรินที่กำลังจะออกเรือน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงคือเข้าวังไปเป็นสนม ไม่ใช่ออกเรือนธรรมดา

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/321636860
    https://new.qq.com/rain/a/20210207A09M7U00
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhounan/taoyao.html
    https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e2608d9927eb.aspx
    https://baike.baidu.com/item/诗经/168138
    https://baike.baidu.com/item/周南·桃夭/4982214

    #เถาเยา #บทกวีจีน #ดอกท้อ #โจวหนาน
    วันนี้มาคุยเรื่องบทกวีกันอีกสักหน่อย ในละครเรื่อง <ตำนานรักช่างภูษา> มีฉากหนึ่งเล่าถึงการเตรียมชุดเข้าวังถวายตัวของอู่ไฉเหริน โดยมีการปักบทกวีและลวดลายดอกท้อไว้บนชุด อู่ไฉเหรินกล่าวไว้ในฉากนี้ว่า “ดอกท้อผลิบานพันหมื่นดอก สีสันแดงสดดั่งเปลวเพลิง สตรีจะออกเรือน สุขศรีอยู่ฝ่ายบุรุษ... นำบทกลอนมาลงปักทำเป็นชุดมงคลแปลกใหม่ไม่เหมือนใคร... กลอนเถาเยาบทนี้ตรงประเด็นนัก” - ถอดบทสนทนาจากละครนี้ตามซับไทย บทกวี ‘เถาเยา’ ที่กล่าวถึงนี้ เป็นหนึ่งในบทกวีที่ถูกรวบรวมไว้ใน ‘ซือจิง’ (诗经 แปลตรงตัวว่าคัมภีร์บทกวี) ซึ่งเป็นคอลเลคชั่นบทกวีจีนที่เก่าแก่ที่สุด โดยรวบรวมไว้ถึง 311 บท เป็นบทกวีตั้งแต่สมัยโจวตะวันตกตอนปลายจนถึงยุคชุนชิว (ประมาณปี1066 - 479 ก่อนคริสตกาล) ‘เถาเยา’ มีทั้งหมดสามท่อน แต่ละท่อนมีสี่วรรค เป็นหนึ่งในบทกวีที่นิยมในวงการศึกษาจวบจนปัจจุบันด้วยความไพเราะของคำที่ใช้ (ดูกวีบทเต็มได้ตามรูป) วรรคที่เป็นวรรคยอดนิยมจากกวีบทนี้ก็คือสองวรรคแรก ‘เถาจือเยาเยา จั๋วจั๋วฉีหัว’ ซึ่งเป็นสองประโยคแรกที่ยกมาจากในละครข้างต้น Storyฯ แปลและเรียบเรียงใหม่ว่า ‘ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา’ เป็นวลีที่ใช้บรรยายถึงความงามของสตรีที่ดูโดดเด่นจนมิอาจสายตาไปได้เลย แล้วบทกวี ‘เถาเยา’ นี้ ‘ตรงประเด็น’ กับเรื่องราวในละครตอนนี้อย่างไร? Storyฯ ขอแปลและเรียบเรียงใหม่ดังนี้ เพื่อนเพจอ่านจบคงเข้าใจ ดอกท้อชูช่อดารดาษ งามสะพรั่งโดดเด่นจับตา สตรีนี้เข้าเรือนมา สุขคู่ชูชื่นเคียงใจ ดอกท้อชูช่อดารดาษ กิ่งก้านเติบใหญ่มั่นคง สตรีนี้เข้าเรือนมา บุตรหลานสมบูรณ์ ดอกท้อชูช่อดารดาษ ใบดกหนาเข้มงดงาม สตรีนี้เข้าเรือนมา สัมพันธ์กระชับมั่นคง ถูกแล้วค่ะ ‘เถาเยา’ เป็นบทกวีที่ไม่เพียงชื่นชมความงามของสตรี แต่เป็นการชื่นชมความงามของเจ้าสาวที่มิเพียงงามโดดเด่น แต่ยังครบถ้วนด้วยจรรยาของสตรี เมื่อเข้าเรือนมาก็จะนำพาความสุขมาสู่สามี ในฉากละครนี้จึงเหมาะกับอู่ไฉเหรินที่กำลังจะออกเรือน ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงคือเข้าวังไปเป็นสนม ไม่ใช่ออกเรือนธรรมดา (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://zhuanlan.zhihu.com/p/321636860 https://new.qq.com/rain/a/20210207A09M7U00 Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://shijing.5000yan.com/guofeng-zhounan/taoyao.html https://so.gushiwen.cn/mingju/juv_e2608d9927eb.aspx https://baike.baidu.com/item/诗经/168138 https://baike.baidu.com/item/周南·桃夭/4982214 #เถาเยา #บทกวีจีน #ดอกท้อ #โจวหนาน
    1 Comments 0 Shares 150 Views 0 Reviews
  • **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>**

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน

    เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’

    ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา

    ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร

    กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี

    เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น

    เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง

    บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ)

    Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน)

    เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล

    เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง

    ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน

    บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://news.agentm.tw/310261/
    https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00
    https://www.yeeyi.com/news/details/629504/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://baike.baidu.com/item/李白/1043
    https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719
    http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259
    https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904
    https://www.sohu.com/a/538839040_355475
    http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211#

    #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    **คุยเรื่องสีแดงจาก <ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ>** สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับบทกวีและสีแดงหลากเฉดที่ถูกนำมาใช้ในเรื่อง <ต้นตํานานอาภรณ์จักรพรรดิ> ซึ่งเดินเรื่องราวด้วยสูตรสีย้อมผ้าไหมสูจิ่นสีแดงของพ่อนางเอกที่ในเรื่องเรียกว่า ‘สู่หง’ ซึ่งถูกยกย่องขึ้นเป็นสุดยอดของสีแดงตามจินตนาการของผู้แต่งนิยายต้นฉบับ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้จะจำได้ว่าก่อนที่นางเอกจะค้นคว้าสูตรลับนี้ของพ่อขึ้นมาอีกได้สำเร็จ นางเอกได้พัฒนาสีแดงขึ้นสามสีโดยอธิบายว่า ‘สู่หง’ แท้จริงแล้วหมายถึงสีแดงจากพื้นที่สู่ (สองสัปดาห์ก่อนเรากล่าวถึงดินแดนแคว้นสู่ไปแล้วลองย้อนอ่านดูได้) และนางได้จัดงานแฟชั่นโชว์ขึ้นเพื่อแสดงชุดที่ทอจากไหมสามสีใหม่นี้ โดยนางและพี่ชายได้บรรยายถึงสีเหล่านี้ด้วยการกล่าวอิงกับบทกวี วันนี้เรามาคุยถึงเกร็ดวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แฝงอยู่ในนี้กัน เริ่มจากชุดแรกที่นางเอกกล่าวว่าสีแดงนี้ได้อารมณ์อิสระและความมีชีวิตชีวาจากบทกวีของกวีผู้ที่นางเรียกว่า ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ ในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าเขาผู้นี้คือใครและคำแปลซับไทยอาจทำให้เข้าใจเป็นอื่น แต่จริงๆ แล้ว ‘บัณฑิตจากชิงเหลียน’ (青莲居士 / ชิงเหลียนจวีซื่อ) เป็นฉายาของกวีเอกสมัยถังหลี่ไป๋ และเป็นฉายาที่เราชาวไทยไม่คุ้นหู ซึ่งสาเหตุที่หลี่ไป๋ถูกเรียกขานเช่นนี้เป็นเพราะว่าบ้านเกิดของเขาคือหมู่บ้านชิงเหลียน (ปัจจุบันคือตำบลชิงเหลียน อำเภอจิ่นหยาง มณฑลเสฉวน) และกลอนบทที่พูดถึงในตอนนี้มีชื่อว่า ‘ซานจงอวี่โยวเหรินตุ้ยจั๋ว’ (山中与幽人对酌 แปลได้ว่าร่ำสุรากลางเขาคู่กับสหายผู้ปลีกวิเวก) ในบทกวีไม่ได้กล่าวถึงสีแดง แต่บรรยายถึงความสนุกสุขสันต์ที่ได้ร่ำสุรากับผู้รู้ใจท่ามกลางวิวดอกไม้บานเต็มเขา ต่อมาชุดที่สองนี้มีหลากเฉดสีเช่นแดง ชมพูและส้มเหลือง โดยบอกว่าได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวีของ ‘เลขาธิการหญิง’ (女校书 / หนี่ว์เจี้ยวซู) ซึ่งในเรื่องไม่ได้กล่าวไว้ว่าคือใคร กวีที่ถูกกล่าวถึงนี้คือเซวียเทา (薛涛) ผู้ที่ถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสี่กวีเอกสตรีแห่งราชวงศ์ถัง มีผลงานกว่าห้าร้อยชิ้น มีบทกลอนที่ยังคงสืบทอดมาจวบจนปัจจุบันกว่าเก้าสิบบท เกิดที่ฉางอันแต่ติดตามบิดาผู้เป็นขุนนางมารับราชการที่เมืองเฉิงตู นางได้รับการศึกษาอย่างดีและเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านดนตรีและบทกวี แต่งกลอนยาวได้ตั้งแต่อายุเพียงแปดปี เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงและดนตรี เมื่อเซวียเทาอายุได้สิบสี่ปี บิดาของนางป่วยตายในระหว่างไปปฏิบัติหน้าที่ต่างเมือง นางและมารดาพยายามหาเลี้ยงชีพอย่างยากลำบาก ในที่สุดนางตัดสินใจเข้าเป็นนางคณิกาหลวงประเภทขับร้อง (ในสมัยนั้นเรียกว่า ‘เกอจี้’) เพื่อจะได้มีเงินเดือนหลวงยังชีพ โดยรับหน้าที่ขับร้องในงานเลี้ยงของทางการต่างๆ มีโอกาสได้แต่งบทกวีในงานเลี้ยงต่อหน้าขุนนางชั้นผู้ใหญ่จนเป็นที่โด่งดัง ต่อมาได้รับการเคารพยกย่องจากผู้คนมากมายด้วยความปราดเปรื่องด้านงานกวี และได้รู้จักสนิทสนมกับเหวยเกาเริ่น เจี๋ยตู้สื่อผู้ปกครองเขตพื้นที่นั้น เจี๋ยตู้สื่อเหวยเกาเริ่นชื่นชมผลงานและความสามารถของเซวียเทาถึงขนาดยื่นฎีกาต่อฮ่องเต้เพื่อขอให้แต่งตั้งนางเป็น ‘เจี้ยวซูหลาง’ (校书郎) ซึ่งเป็นตำแหน่งเลขาธิการผู้ดูแลงานด้านพิสูจน์อักษรของเอกสารทางการและบันทึกโบราณ จัดเป็นตำแหน่งขุนนางขั้นที่เก้า แต่ไม่เคยมีสตรีดำรงตำแหน่งนี้มาก่อนจึงมีข้อจำกัดมากมาย สุดท้ายนางก็ไม่ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งนี้ แต่อย่างไรก็ดีเรื่องที่นางได้รับการเสนอชื่อไม่ใช่ความลับ ชาวเมืองเฉิงตูจึงเรียกนางอย่างยกย่องว่า ‘เลขาธิการหญิง’ นั่นเอง บทกวีของเซวียเทาที่ถูกยกมากล่าวในซีรีส์นี้บรรยายถึงสีสันสวยงามบนแดนสวรรค์ที่แต่งแต้มจนดอกไม้ดารดาษมีสีสันสวยงาม แต่ที่ Storyฯ คิดว่าน่าสนใจยิ่งกว่าบทกวีนี้คือสีแดงที่เกี่ยวข้องกับเซวียเทา ว่ากันว่านางชื่นชอบสีแดงมาก มักแต่งกายด้วยสีแดง และได้คิดค้นกระดาษสีแดงขึ้นไว้สำหรับเขียนบทกลอนของตัวเอง บทกลอนบนกระดาษแดงสีพิเศษที่เขียนและลงนามโดยเซวียเทาถือว่าเป็นของที่มีค่าอันทรงเกียรติมากในสมัยนั้น โดยมีบางแผ่นมีลายวาดดอกไม้ที่บางคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นฝีมือการวาดของเซวียเทาเอง ต่อมากระดาษดังกล่าวเป็นที่นิยมแพร่หลายสำหรับชนชั้นมีการศึกษาในสมัยนั้นและกลายมาเป็นสินค้าที่นางผลิตขายยังชีพได้ในที่สุด เป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์จีนว่ากระดาษเซวียเทา (薛涛笺 / เซวียเทาเจียน โดย ‘เจียน’ เป็นคำเรียกทั่วไปของกระดาษเขียนหนังสือ) Storyฯ เคยเขียนถึงวิธีการทำกระดาษจีนโบราณในบทความอื่น (ดูลิ้งค์ได้ที่ท้ายเรื่อง) ซึ่งมีกรรมวิธีการทำคล้ายกระดาษสา และกวีโบราณหลายท่านจะทำกระดาษของตัวเองไว้ใช้จนเกิดเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว เซวียเทาก็เช่นกัน หลังจากที่นางถอนตนออกจากการเป็นนางคณิกาหลวงแล้วก็พำนักอยู่ในบริเวณห่วนฮวาซีที่เมืองเฉิงตูนี้ (คือสถานที่ล้างไหมของนางเอกในซีรีส์ที่ Storyฯ เขียนถึงเมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว) ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้ยังเป็นแหล่งผลิตกระดาษชื่อดังในสมัยราชวงศ์ถังอีกด้วย ว่ากันว่าเป็นเพราะคุณสมบัติของแหล่งน้ำแถวนี้เหมาะสมต่อการผสมเยื่อกระดาษ และกระดาษเซวียเทาถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ากระดาษห่วนฮวา (浣花笺 / ห่วนฮวาเจียน) เซวียเทาใช้น้ำจากลำธารห่วนฮวาซี เยื่อไม้จากเปลือกต้นพุดตาน และสีที่คั้นจากกลีบดอกพุดตานทำกระดาษเซวียเทานี้ จากงานเขียนของท่านอื่นในสมัยนั้นมีการกล่าวว่าจริงๆ แล้วเนื้อกระดาษเซวียเทาไม่ได้มีอะไรพิเศษ แต่มันมีความโดดเด่นด้วยสีของกระดาษที่สวยงามไม่มีใครเทียม และบางครั้งยังมีเศษดอกไม้อัดติดมาในกระดาษด้วย แต่สีของกระดาษที่แท้จริงแล้วนั้นเป็นสีอะไรยังคงเป็นที่ถกเถียงกันจวบจนปัจจุบัน บ้างว่าเป็นสีชมพูแดงของดอกท้อซึ่งเป็นสีโปรดของนาง บ้างอ้างอิงจากกระดาษจริงของผลงานบทกวีของเซวียเทาที่มีคนสะสมไว้ พบว่ามีร่วมสิบเฉดสีไล่ไปตั้งแต่ชมพูแดง ม่วง ชมพูอมส้ม ส้มเขียว ส้มเหลือง จนถึงเหลืองนวล เซวียเทาเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญที่เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเฉิงตู มีรูปปั้นของนางตั้งอยู่ที่สวนวั่งเจียงโหลว เพื่อนเพจที่ไปเที่ยวเมืองเฉิงตูลองสังเกตดูนะคะ เผื่อว่าจะเห็นร่องรอยเกี่ยวกับเซวียเทาบ้าง ส่วนชุดที่สามในซีรีส์ นางเอกบอกไว้ว่าเป็นชุดที่ได้แรงบันดาลใจมาจากบทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ (虞美人 / โฉมงามอวี๋) แต่ในซีรีส์ยังไม่ทันได้ท่องบทกวีนี้ก็เกิดเหตุการณ์อื่นขึ้นเสียก่อน บทกวี ‘อวี๋เหม่ยเหริน’ นี้มีวลีเด็ดที่หลายท่านอาจร้อง “อ๋อ” คือวลี ‘บุปผาวสันต์จันทราสารทฤดู’ Storyฯ เคยเขียนถึงบทกวีนี้เมื่อนานมาแล้วแต่ถูกลบไป เข้าใจว่าเป็นเพราะมันมีลิ้งค์ต้องห้าม เดี๋ยว Storyฯ จะแก้ไขและลงให้อ่านใหม่ในสัปดาห์หน้า ส่วนสีแดงที่เกี่ยวข้องก็คือสีแดงดอกป๊อปปี้ เพราะอวี๋เหม่ยเหรินคือชื่อเรียกของดอกป๊อปปี้ในภาษาจีนค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) ลิ้งค์บทความเกี่ยวกับกระดาษไป๋ลู่จากเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/953057363489223 Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://news.agentm.tw/310261/ https://news.qq.com/rain/a/20200731A0U80V00 https://www.yeeyi.com/news/details/629504/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://baike.baidu.com/item/李白/1043 https://baike.baidu.com/item/薛涛/2719 http://scdfz.sc.gov.cn/scyx/scrw/sclsmr/depsclsmr/xt/content_40259 https://baike.baidu.com/item/薛涛笺/5523904 https://www.sohu.com/a/538839040_355475 http://scdfz.sc.gov.cn/whzh/slzc1/content_105211# #ต้นตำนานอาภรณ์จักรพรรดิ #เฉิงตู #สีแดงหงสู่ #บัณฑิตชิงเหลียน #เลขาธิการหญิง #โฉมงามอวี๋ #เซวียเทา #กระดาษจีนโบราณ #สาระจีน
    2 Comments 0 Shares 935 Views 0 Reviews
  • สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ

    เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข

    แล้วที่จีนล่ะ?

    ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง

    ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู

    ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา

    อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป:
    “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง
    ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ”

    ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน

    จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน

    แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml
    https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000
    https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html

    #อิงฮวา #ซากุระจีน
    สวัสดีค่ะ Storyฯ หายไปตามรอยซากุระมา จำได้ว่าตอนที่เคยเล่าถึงความหมายของดอกเหมยในวัฒนธรรมจีน มีเพื่อนเพจถามถึงดอกซากุระด้วย วันนี้เลยมาคุยกันสั้นๆ เพื่อนเพจคงทราบดีว่าดอกซากุระเป็นดอกไม้ประจำชาติของญี่ปุ่น มีคนกล่าวถึงความหมายของมันต่อคนญี่ปุ่นว่าจริงแล้วคือ Rebirth หรือการเกิดใหม่ กล่าวคือการยอมรับความไม่จีรังในชีวิตแต่ยังเปี่ยมด้วยความหวังว่าสิ่งดีๆ จะเกิดขึ้นใหม่ เฉกเช่นดอกซากุระที่บานให้ชื่นชมเพียงไม่นานก็ร่วงโรยแต่แล้วก็จะผลิใหม่และเบ่งบานให้ชมอีกเรื่อยไป นอกจากนี้ยังมีอีกหลายความหมาย เช่น ความสำเร็จ หัวใจที่เข้มแข็ง ความรัก ความบริสุทธิ์ และความอ่อนโยน ฯลฯ ซึ่งเหล่านี้ล้วนให้อารมณ์แห่งความหวังและความสุข แล้วที่จีนล่ะ? ดอกซากุระมีชื่อจีนว่า ‘อิงฮวา’ (樱花) หรือโบราณเคยเรียกว่า ‘อิงเถา’ แต่มีการระบุชัดว่าไม่ใช่ดอกท้อ (เถาฮวา) เฉพาะในประเทศจีนมีกว่าสี่สิบสายพันธุ์ เชื่อว่ามีการเริ่มปลูกต้นอิงฮวาในเขตพระราชฐานมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น แต่แพร่สู่บ้านเรือนสามัญชนและพบเห็นได้ทั่วไปในสมัยราชวงศ์ถัง (บ้างก็ว่าในช่วงสมัยถังนี่เองที่ อิงฮวาหรือซากุระถูกเผยแพร่ในญี่ปุ่น) ต่อมาในสมัยซ่งเหนือคนหันมานิยมดอกเหมยมากกว่า ทำให้ดอกอิงฮวาถูกกล่าวขานถึงน้อยลง ผลงานทางศิลปะเกี่ยวกับอิงฮวามีน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นบทกวีหรือภาพวาด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับดอกบ๊วยหรือดอกท้อที่ดูจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับผลงานมากกว่า แรกเริ่มเลยในงานประพันธ์ต่างๆ จะเรียกมันว่า ‘ซันอิง’ หมายถึงต้นอิงฮวาที่โตตามป่าเขา โดยบทกวีที่เก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับอิงฮวาคือในสมัยราชวงศ์ใต้ ประพันธ์โดยเสิ่นเยวี้ย (ค.ศ. 441-513) เป็นการบรรยายถึงดอกซันอิงบานรับฤดูใบไม้ผลิ คงจะกล่าวได้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่ดอกอิงฮวาถูกโยงเข้ากับการมาเยือนของวสันตฤดู ในสมัยถังมีบทกวีเกี่ยวกับดอกอิงฮวามากกว่ายุคสมัยอื่น บ่งบอกถึงความนิยมในสมัยนั้น โดยนักการเมืองไป๋จวีอี (ค.ศ. 772-846) ได้สร้างผลงานบทกวีชื่นชมความงามของดอกอิงฮวาไว้หลายบท แต่ผลงานของเขามักบ่งบอกถึงอารมณ์แห่งความเสียดายยามบุปผาโรยรา ทว่าแฝงไว้ซึ่งความหวังเพราะซันอิงยังจะคงอยู่และผลิบานใหม่ท่ามกลางป่าเขา โดยผลงานเหล่านี้สะท้อนถึงชีวิตทางการเมืองที่ผ่านร้อนผ่านหนาวของเขา อิงฮวากลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ในช่วงยุคสมัยถังเช่นเดียวกัน มีการกล่าวถึงธรรมเนียมการหักกิ่งอิงฮวามอบให้กันยามคู่รักต้องจากลา โดยใช้อิงฮวาเป็นตัวแทนแห่งความคนึงหา และในหลายบทกวีในยุคนั้น ใช้อิงฮวาเปรียบเปรยถึงความคิดถึงและความอ้างว้าง ดุจฉากดอกอิงฮวาร่วงโรยโปรยพลิ้วในสายลม Storyฯ ขอยกตัวอย่างจากบทกวี <หักกิ่งบุปผามอบอำลา> ของหยวนเจิ่นในสมัยถัง (ขออภัยหากแปลไม่สละสลวย) ที่กล่าวถึงความอาลัยอาวรณ์ของสตรียามต้องส่งชายคนรักจากไป: “ส่งท่านใต้ร่มเงาอิงเถา ใจวสันต์ฝากไว้ในกิ่ง ที่ใดชวนให้คำนึงถึงที่สุด นั่นคือป่าอิงเถาอันดารดาษ” ต่อมาอิงฮวากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของสตรีเพศที่อ่อนหวานและอ่อนโยน ไม่ปรากฏชัดเจนว่ามุมมองในลักษณะนี้เกิดขึ้นเมื่อใด แต่ในบทกวี <ซันอิง> ของหวางอันสือในยุคสมัยซ่งเหนือ (คนเดียวกับที่ฝากผลงานอันโดดเด่น <เหมยฮวา> ที่ Storyฯ เคยเขียนไปแล้ว) มีการบรรยายเปรียบเปรยอิงฮวาดุจสตรีที่เอียงอายหลบอยู่ใต้เงาไม้และเบ่งบานหลังดอกไม้อื่น แต่เมื่อลมวสันต์โชยก็พัดพากลิ่นหอมขจรขจายให้ความงามเป็นที่ประจักษ์ต่อผู้คน จะเห็นได้ว่า ในวัฒนธรรมจีนนั้น ความหมายของดอกอิงฮวาคล้ายคลึงกับซากุระในวัฒนธรรมญี่ปุ่น คือเป็นตัวแทนแห่งความไม่จีรัง ความบริสุทธิ์ และความอ่อนหวาน แต่ในความคล้ายคลึงก็มีความแตกต่าง เพราะซากุระในญี่ปุ่นแฝงไว้ด้วยความหวังท่ามกลางความไม่จีรังในชีวิต แต่โดยส่วนตัวแล้ว Storyฯ รู้สึกว่าบทกวีเกี่ยวกับอิงฮวาของจีนมักแฝงไว้ด้วยความเศร้า หากจะกล่าวว่าดอกบ๊วยเป็นตัวแทนแห่งความงามที่คงทน ดอกอิงฮวาก็คงเป็นตัวแทนแห่งความงามที่เปราะบาง (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) รูปภาพจาก: พี่ชายของ Storyฯ เอง Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://news.bjd.com.cn/2022/04/08/10066983.shtml https://www.baike.com/wikiid/4777101092071907963?from=wiki_content&prd=innerlink&view_id=32kicegvg8m000 https://www.163.com/dy/article/HV0LDNRE05418YI9.html #อิงฮวา #ซากุระจีน
    樱花 花开花谢皆诗意的早春花木_北京日报网
    我国野生樱花品种最多 樱属植物广泛分布于北半球的温带与亚热带地区。亚洲、欧洲、北美洲均有分布,但主要集中在东亚地区。中国的西南、华南、长江流域、华北、东北地区,俄罗斯、日本、朝鲜一线,以及缅甸、不丹...
    0 Comments 0 Shares 725 Views 0 Reviews
  • ผ่านกันมานานเป็นเดือนกับบทความชุดเรื่องราวสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) จากละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ยังคุยกันไม่ครบสิบสองภาพ แต่ขอคั่นเปลี่ยนเรื่องคุยกันบ้าง เรื่องที่จะคุยในวันนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรือนวนิยาย แต่เป็นเรื่องเล่าจากเพลงที่ Storyฯ ชอบมากเพลงหนึ่ง

    เพลงนี้โด่งดังในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2018 เป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เพราะมีกลิ่นอายของงิ้วแฝงอยู่ มีชื่อว่า ‘ชึหลิง’ (赤伶) หรือ ‘นักแสดงสีชาด’ ร้องโดย HITA แต่งเนื้อร้องโดย ชิงเยี่ยน (清彦) ดนตรีโดย หลี่เจี้ยนเหิง (李建衡) ต่อมามีหลายคนนำมาขับร้อง ทั้งที่เปลี่ยนเนื้อร้องและทั้งที่ใช้เนื้อร้องเดิม เชื่อว่าคงมีเพื่อนเพจบางท่านเคยได้ยิน แต่ Storyฯ มั่นใจว่าน้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวที่แฝงไว้ในเพลงนี้

    ‘หลิง’ หมายถึงนักแสดงละครงิ้ว ส่วน ‘ชึ’ แปลตรงตัวว่าสีแดงชาด และอาจย่อมาจากคำว่า ‘ชึซิน’ ที่แปลว่าใจที่จงรักภักดีหรือปณิธานแรงกล้า ชื่อเพลงที่สั้นเพียงสองอักษรแต่มีความหมายสองชั้น เนื้อเพลงก็แฝงความหมายสองสามชั้นเช่นกัน เนื้อเพลงค่อนข้างยาว Storyฯ ขอแปลไว้ในรูปภาพที่สองแทน บางคำแปลอย่างตรงตัวเพื่อให้เพื่อนเพจได้ตีความและเห็นถึงเสน่ห์ของความหมายหลายชั้นของเพลงนี้

    เรื่องราวเบื้องหลังของเนื้อเพลง ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้าบุกและยึดครองหลายพื้นที่ของจีน กล่าวถึงนักแสดงงิ้วนามว่า เผยเยี่ยนจือ ที่โด่งดังในเมืองอันหย่วน เขาถูกทหารญี่ปุ่นเชิญแกมบังคับให้ขึ้นแสดงงิ้ว โดยขู่ว่าหากเขาไม่ยอมแสดง ทหารก็จะเผาโรงละครทิ้ง แต่เผยเยี่ยนจือรับคำอย่างไม่อิดออดและรับจัดแสดงเรื่อง ‘พัดดอกท้อ’ (桃花扇 / เถาฮวาซ่าน) ในคืนที่แสดงนั้น เผยเยี่ยนจืออยู่บนเวทีร้องออกมาว่า “จุดไฟ” กว่าทหารญี่ปุ่นจะรู้ตัวก็ถูกกักอยู่ในโรงละครที่ลุกเป็นไฟ เพราะก่อนหน้านี้คณะละครได้ราดน้ำมันเตรียมวางเพลิงไว้แล้ว ไฟลามไปเรื่อยๆ ทหารญี่ปุ่นพยายามหนีตายแต่หนีไม่พ้น ละครงิ้วก็แสดงไปเรื่อยๆ จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคณะละคร

    มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยใช้เผยเยี่ยนจือเป็นตัวแทนความรักชาติของประชาชนคนธรรมดา แต่เสน่ห์ของเพลงนี้คือความหมายหลายชั้นของคำที่ใช้ ยังมีอีกสองประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น

    ประเด็นแรกคือปูมหลังทางวัฒนธรรม มีวลีจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘นางคณิกาไร้ใจ นักแสดงไร้คุณธรรม’ ซึ่งมีบริบททางสังคมที่ดูถูกนักแสดงว่าเป็นชนชั้นต่ำ ทำทุกอย่างได้เพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นในเนื้อเพลงนี้ว่า นักแสดงละครรำพันว่าแม้ตัวเองด้อยค่า แต่มิใช่ไร้ใจภักดีต่อชาติบ้านเมือง

    ประเด็นที่สองคือเรื่องราวของ ‘พัดดอกท้อ’ มันเป็นละครงิ้วในสมัยชิงที่นิยมแสดงกันมาจวบปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรักรันทดของหลี่เซียงจวินและโหวฟางอวี้

    หลี่เซียงจวินเป็นคณิกาชื่อดังสมัยปลายราชวงศ์หมิง อันเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักวุ่นวาย ขุนนางทุจริตมากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งยังถูกรุกรานจากแมนจู นางเป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาแห่งแม่น้ำฉินหวย เช่นเดียวกับหลิ่วหรูซื่อที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0yKKz9BJs6VheqVhGF7RAW67QKyFaA3PEVX5j9zxCpdd4VCaNpFdXo3pbB2xkAS2wl)

    หลี่เซียงจวินเป็นลูกขุนนางที่ได้รับโทษเพราะไปมีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริต ถูกเชื่อมโยงกลายเป็นต่อต้านราชสำนัก จึงถูกขายไปอยู่หอนางโลมเมื่ออายุเพียงแปดขวบ แต่ยังโชคดีที่แม่เล้ารับเป็นบุตรบุญธรรม จึงโตมาอย่างเพียบพร้อมด้านการศึกษาและความสามารถทางดนตรี เน้นขายศิลปะไม่ขายตัว นางพบรักกับโหวฟางอวี้ซึ่งเป็นราชบัณฑิตมาจากตระกูลขุนนาง แต่เพราะพ่อของเขามีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริตและถูกกวาดล้างเช่นกัน ทางบ้านจึงตกอับยากจน ถึงขนาดต้องยืมเงินเพื่อนมาประมูลซื้อ ‘คืนแรก’ ของหลี่เซียงจวินเมื่อนางอายุครบสิบหกปี (เป็นธรรมเนียมของนางคณิกาสมัยนั้น เมื่ออายุสิบหกหากยังเป็นสาวพรหมจรรย์จะต้องเปิดประมูลซื้อตัว เป็นโอกาสที่จะได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปกับผู้ชนะการประมูล แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นได้เพียงอนุภรรยา) ต่อมาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในหอนางโลมนั้นเอง

    พวกเขามารู้ความจริงทีหลังว่า เงินก้อนที่ยืมเพื่อนมานั้น จริงๆ แล้วเป็นเงินของหร่วนต้าเฉิง ขุนนางใจโหดที่กวาดล้างขบวนการต่อต้านราชสำนัก หร่วนต้าเฉิงประสงค์ใช้เงินก้อนนี้มาดึงโหวฟางอวี้เข้าเป็นพวกเพราะชื่นชมในความรู้ความสามารถของเขา แต่ทั้งคู่ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับหร่วนต้าเฉิง หลี่เซียงจวินจึงขายเครื่องประดับเอาเงินมาใช้หนี้ สร้างความโกรธแค้นให้หร่วนต้าเฉิงไม่น้อย เขาแก้แค้นด้วยการยัดเยียดข้อหาจับกลุ่มเพื่อนของโหวฟางอวี้ขังคุก โหวฟางอวี้ตัดสินใจหนีไปเข้าร่วมกับกองกำลังรักชาติ ก่อนไปเขามอบพัดเป็นของแทนใจให้นาง หร่วนต้าเฉิงจึงเอาความแค้นมาลงที่หลี่เซียงจวินแทน เขาวางแผนบีบให้นางแต่งไปเป็นอนุของขุนนางใกล้ชิดของฮ่องเต้ แต่นางเอาหัวชนเสาจนเลือดสาดไปบนพัดสลบไป เกิดเป็นคดีความใหญ่โตแต่ก็นับว่าหนีรอดจากการแต่งงานครั้งนี้ได้ ต่อมาเพื่อนของโหวฟางอวี้ได้วาดลายดอกท้อทับไปบนรอยเลือดบนพัด เกิดเป็นชื่อ ‘พัดดอกท้อ’ นี้ขึ้นมา

    แต่เรื่องยังไม่จบ สุดท้ายหร่วนต้าเฉิงวางแผนทำให้หลี่เซียงจวินถูกรับเข้าวังเป็นสนม เมื่อพระราชวังถูกตีแตก นางหนีรอดออกมาได้แต่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คลาดกันกับโหวฟางอวี้ที่ย้อนกลับมาหานาง เรื่องเล่าบั้นปลายชีวิตของนางมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นหนึ่งคือต่อมานางป่วยหนักจนตาย ทิ้งไว้เพียงพัดที่เปื้อนเลือดให้โหวฟางอวี้ดูต่างหน้า

    ส่วนโหวฟางอวี้นั้นอยู่กับกองกำลังรักชาติ แต่สุดท้ายชาติล่มสลาย บั้นปลายชีวิตไม่เหลือใคร จึงปลงผมออกบวช วรรคที่ถูกพูดเป็นงิ้วในเพลงนักแสดงสีชาดนี้ สื่อถึงการปล่อยวางความรักหญิงชาย เป็นวรรคที่ยกมาจากบทละครงิ้วเรื่องพัดดอกท้อในตอนที่เขาออกบวชนี้เอง

    เพลงหนึ่งเพลงกับเรื่องราวซ้อนกันสองชั้น บนเวทีแสดงเรื่องราวรักรันทดพลัดพรากให้คนชม นักแสดงอยู่บนเวทีก็มองดูเรื่องราวบ้านเมืองที่เกิดขึ้นข้างล่างเวที ส่วนคนฟังอย่างเราก็ดูทั้งเรื่องราวบนและล่างเวที คงจะกล่าวได้ว่า ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต... แท้จริงแล้วโลกเรานี้คือละคร เรามองคนอื่น คนอื่นก็มองเรา

    เข้าใจความหมายและเรื่องราวแล้ว ลองอ่านคำแปลเนื้อเพลงอีกครั้งและเชิญเพื่อนเพจอินกับเพลงกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wIyq_jTZsBY&list=WL&index=245 หรือหาฟังเวอร์ชั่นอื่นได้ด้วยชื่อเพลง 赤伶 ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.jitapuji.com/5258.html
    https://www.art-mate.net/doc/63311?name=千珊粵劇工作坊《桃花扇》
    https://ppfocus.com/0/en57cfaab.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://kknews.cc/news/8yly6nl.html
    https://www.sohu.com/a/475761718_120934298#google_vignette
    https://baike.baidu.com/item/侯方域/380394
    https://baike.baidu.com/item/桃花扇/5499
    https://shidian.baike.com/wikiid/7245205732429414461?prd=mobile&anchor=lj2jc6p91rp7
    https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F8F70CCD565152E14.aspx

    #ชึหลิง #HITA #หลี่เซียงจวิน #โหวเซียงอวี้ #พัดดอกท้อ #เถาฮวาซ่าน
    ผ่านกันมานานเป็นเดือนกับบทความชุดเรื่องราวสิบสองภาพวาดกงซวิ่นถู (宫训图) จากละคร <เล่ห์รักตำหนักเหยียนสี่> ยังคุยกันไม่ครบสิบสองภาพ แต่ขอคั่นเปลี่ยนเรื่องคุยกันบ้าง เรื่องที่จะคุยในวันนี้ไม่เกี่ยวกับละครหรือนวนิยาย แต่เป็นเรื่องเล่าจากเพลงที่ Storyฯ ชอบมากเพลงหนึ่ง เพลงนี้โด่งดังในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2018 เป็นเพลงที่มีเอกลักษณ์เพราะมีกลิ่นอายของงิ้วแฝงอยู่ มีชื่อว่า ‘ชึหลิง’ (赤伶) หรือ ‘นักแสดงสีชาด’ ร้องโดย HITA แต่งเนื้อร้องโดย ชิงเยี่ยน (清彦) ดนตรีโดย หลี่เจี้ยนเหิง (李建衡) ต่อมามีหลายคนนำมาขับร้อง ทั้งที่เปลี่ยนเนื้อร้องและทั้งที่ใช้เนื้อร้องเดิม เชื่อว่าคงมีเพื่อนเพจบางท่านเคยได้ยิน แต่ Storyฯ มั่นใจว่าน้อยคนนักจะทราบถึงเรื่องราวที่แฝงไว้ในเพลงนี้ ‘หลิง’ หมายถึงนักแสดงละครงิ้ว ส่วน ‘ชึ’ แปลตรงตัวว่าสีแดงชาด และอาจย่อมาจากคำว่า ‘ชึซิน’ ที่แปลว่าใจที่จงรักภักดีหรือปณิธานแรงกล้า ชื่อเพลงที่สั้นเพียงสองอักษรแต่มีความหมายสองชั้น เนื้อเพลงก็แฝงความหมายสองสามชั้นเช่นกัน เนื้อเพลงค่อนข้างยาว Storyฯ ขอแปลไว้ในรูปภาพที่สองแทน บางคำแปลอย่างตรงตัวเพื่อให้เพื่อนเพจได้ตีความและเห็นถึงเสน่ห์ของความหมายหลายชั้นของเพลงนี้ เรื่องราวเบื้องหลังของเนื้อเพลง ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นอิงประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่สองที่ญี่ปุ่นเข้าบุกและยึดครองหลายพื้นที่ของจีน กล่าวถึงนักแสดงงิ้วนามว่า เผยเยี่ยนจือ ที่โด่งดังในเมืองอันหย่วน เขาถูกทหารญี่ปุ่นเชิญแกมบังคับให้ขึ้นแสดงงิ้ว โดยขู่ว่าหากเขาไม่ยอมแสดง ทหารก็จะเผาโรงละครทิ้ง แต่เผยเยี่ยนจือรับคำอย่างไม่อิดออดและรับจัดแสดงเรื่อง ‘พัดดอกท้อ’ (桃花扇 / เถาฮวาซ่าน) ในคืนที่แสดงนั้น เผยเยี่ยนจืออยู่บนเวทีร้องออกมาว่า “จุดไฟ” กว่าทหารญี่ปุ่นจะรู้ตัวก็ถูกกักอยู่ในโรงละครที่ลุกเป็นไฟ เพราะก่อนหน้านี้คณะละครได้ราดน้ำมันเตรียมวางเพลิงไว้แล้ว ไฟลามไปเรื่อยๆ ทหารญี่ปุ่นพยายามหนีตายแต่หนีไม่พ้น ละครงิ้วก็แสดงไปเรื่อยๆ จวบจนลมหายใจเฮือกสุดท้ายของคณะละคร มันเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นโดยใช้เผยเยี่ยนจือเป็นตัวแทนความรักชาติของประชาชนคนธรรมดา แต่เสน่ห์ของเพลงนี้คือความหมายหลายชั้นของคำที่ใช้ ยังมีอีกสองประเด็นที่จะทำให้เราเข้าใจเพลงนี้ได้ดียิ่งขึ้น ประเด็นแรกคือปูมหลังทางวัฒนธรรม มีวลีจีนโบราณกล่าวไว้ว่า ‘นางคณิกาไร้ใจ นักแสดงไร้คุณธรรม’ ซึ่งมีบริบททางสังคมที่ดูถูกนักแสดงว่าเป็นชนชั้นต่ำ ทำทุกอย่างได้เพื่อความอยู่รอด เราจะเห็นในเนื้อเพลงนี้ว่า นักแสดงละครรำพันว่าแม้ตัวเองด้อยค่า แต่มิใช่ไร้ใจภักดีต่อชาติบ้านเมือง ประเด็นที่สองคือเรื่องราวของ ‘พัดดอกท้อ’ มันเป็นละครงิ้วในสมัยชิงที่นิยมแสดงกันมาจวบปัจจุบัน เป็นเรื่องราวรักรันทดของหลี่เซียงจวินและโหวฟางอวี้ หลี่เซียงจวินเป็นคณิกาชื่อดังสมัยปลายราชวงศ์หมิง อันเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักวุ่นวาย ขุนนางทุจริตมากมาย ชาวบ้านเดือดร้อน ทั้งยังถูกรุกรานจากแมนจู นางเป็นหนึ่งในสุดยอดแปดนางคณิกาแห่งแม่น้ำฉินหวย เช่นเดียวกับหลิ่วหรูซื่อที่ Storyฯ เคยเขียนถึง (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid0yKKz9BJs6VheqVhGF7RAW67QKyFaA3PEVX5j9zxCpdd4VCaNpFdXo3pbB2xkAS2wl) หลี่เซียงจวินเป็นลูกขุนนางที่ได้รับโทษเพราะไปมีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริต ถูกเชื่อมโยงกลายเป็นต่อต้านราชสำนัก จึงถูกขายไปอยู่หอนางโลมเมื่ออายุเพียงแปดขวบ แต่ยังโชคดีที่แม่เล้ารับเป็นบุตรบุญธรรม จึงโตมาอย่างเพียบพร้อมด้านการศึกษาและความสามารถทางดนตรี เน้นขายศิลปะไม่ขายตัว นางพบรักกับโหวฟางอวี้ซึ่งเป็นราชบัณฑิตมาจากตระกูลขุนนาง แต่เพราะพ่อของเขามีส่วนพัวพันกับขบวนการต่อต้านขุนนางทุจริตและถูกกวาดล้างเช่นกัน ทางบ้านจึงตกอับยากจน ถึงขนาดต้องยืมเงินเพื่อนมาประมูลซื้อ ‘คืนแรก’ ของหลี่เซียงจวินเมื่อนางอายุครบสิบหกปี (เป็นธรรมเนียมของนางคณิกาสมัยนั้น เมื่ออายุสิบหกหากยังเป็นสาวพรหมจรรย์จะต้องเปิดประมูลซื้อตัว เป็นโอกาสที่จะได้แต่งงานเป็นฝั่งฝาไปกับผู้ชนะการประมูล แม้ว่าส่วนใหญ่เป็นได้เพียงอนุภรรยา) ต่อมาทั้งสองใช้ชีวิตคู่ด้วยกันในหอนางโลมนั้นเอง พวกเขามารู้ความจริงทีหลังว่า เงินก้อนที่ยืมเพื่อนมานั้น จริงๆ แล้วเป็นเงินของหร่วนต้าเฉิง ขุนนางใจโหดที่กวาดล้างขบวนการต่อต้านราชสำนัก หร่วนต้าเฉิงประสงค์ใช้เงินก้อนนี้มาดึงโหวฟางอวี้เข้าเป็นพวกเพราะชื่นชมในความรู้ความสามารถของเขา แต่ทั้งคู่ไม่ต้องการมีส่วนเกี่ยวข้องกับหร่วนต้าเฉิง หลี่เซียงจวินจึงขายเครื่องประดับเอาเงินมาใช้หนี้ สร้างความโกรธแค้นให้หร่วนต้าเฉิงไม่น้อย เขาแก้แค้นด้วยการยัดเยียดข้อหาจับกลุ่มเพื่อนของโหวฟางอวี้ขังคุก โหวฟางอวี้ตัดสินใจหนีไปเข้าร่วมกับกองกำลังรักชาติ ก่อนไปเขามอบพัดเป็นของแทนใจให้นาง หร่วนต้าเฉิงจึงเอาความแค้นมาลงที่หลี่เซียงจวินแทน เขาวางแผนบีบให้นางแต่งไปเป็นอนุของขุนนางใกล้ชิดของฮ่องเต้ แต่นางเอาหัวชนเสาจนเลือดสาดไปบนพัดสลบไป เกิดเป็นคดีความใหญ่โตแต่ก็นับว่าหนีรอดจากการแต่งงานครั้งนี้ได้ ต่อมาเพื่อนของโหวฟางอวี้ได้วาดลายดอกท้อทับไปบนรอยเลือดบนพัด เกิดเป็นชื่อ ‘พัดดอกท้อ’ นี้ขึ้นมา แต่เรื่องยังไม่จบ สุดท้ายหร่วนต้าเฉิงวางแผนทำให้หลี่เซียงจวินถูกรับเข้าวังเป็นสนม เมื่อพระราชวังถูกตีแตก นางหนีรอดออกมาได้แต่ได้รับบาดเจ็บ ทำให้คลาดกันกับโหวฟางอวี้ที่ย้อนกลับมาหานาง เรื่องเล่าบั้นปลายชีวิตของนางมีหลายเวอร์ชั่น เวอร์ชั่นหนึ่งคือต่อมานางป่วยหนักจนตาย ทิ้งไว้เพียงพัดที่เปื้อนเลือดให้โหวฟางอวี้ดูต่างหน้า ส่วนโหวฟางอวี้นั้นอยู่กับกองกำลังรักชาติ แต่สุดท้ายชาติล่มสลาย บั้นปลายชีวิตไม่เหลือใคร จึงปลงผมออกบวช วรรคที่ถูกพูดเป็นงิ้วในเพลงนักแสดงสีชาดนี้ สื่อถึงการปล่อยวางความรักหญิงชาย เป็นวรรคที่ยกมาจากบทละครงิ้วเรื่องพัดดอกท้อในตอนที่เขาออกบวชนี้เอง เพลงหนึ่งเพลงกับเรื่องราวซ้อนกันสองชั้น บนเวทีแสดงเรื่องราวรักรันทดพลัดพรากให้คนชม นักแสดงอยู่บนเวทีก็มองดูเรื่องราวบ้านเมืองที่เกิดขึ้นข้างล่างเวที ส่วนคนฟังอย่างเราก็ดูทั้งเรื่องราวบนและล่างเวที คงจะกล่าวได้ว่า ‘นักแสดงสีชาด’ เป็นเพลงที่สะท้อนถึงสัจธรรมชีวิต... แท้จริงแล้วโลกเรานี้คือละคร เรามองคนอื่น คนอื่นก็มองเรา เข้าใจความหมายและเรื่องราวแล้ว ลองอ่านคำแปลเนื้อเพลงอีกครั้งและเชิญเพื่อนเพจอินกับเพลงกันได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=wIyq_jTZsBY&list=WL&index=245 หรือหาฟังเวอร์ชั่นอื่นได้ด้วยชื่อเพลง 赤伶 ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.jitapuji.com/5258.html https://www.art-mate.net/doc/63311?name=千珊粵劇工作坊《桃花扇》 https://ppfocus.com/0/en57cfaab.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://kknews.cc/news/8yly6nl.html https://www.sohu.com/a/475761718_120934298#google_vignette https://baike.baidu.com/item/侯方域/380394 https://baike.baidu.com/item/桃花扇/5499 https://shidian.baike.com/wikiid/7245205732429414461?prd=mobile&anchor=lj2jc6p91rp7 https://so.gushiwen.cn/guwen/bookv_46653FD803893E4F8F70CCD565152E14.aspx #ชึหลิง #HITA #หลี่เซียงจวิน #โหวเซียงอวี้ #พัดดอกท้อ #เถาฮวาซ่าน
    0 Comments 0 Shares 1143 Views 0 Reviews