• เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน

    สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน)

    มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน

    เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป

    เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

    เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ

    เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง

    แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม

    ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้

    ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ

    เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง

    Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ?

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml
    https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://www.guoxue.com/?p=6176
    https://baike.baidu.com/item/聂政
    https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080
    https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828
    https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928
    https://www.sohu.com/a/214683627_718263
    https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html

    #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    เพลงดนตรีฉินโบราณ กว่างหลิงส่าน สวัสดีค่ะ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> น่าจะจำได้ว่าตระกูลเยียนถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฏและ เซี่ยเวยได้บรรเลงพิณกู่ฉินส่งอำลาเยียนโหวและเยียนหลิงสองครั้ง ชื่อของเพลงพิณนี้คือ ‘กว่างหลิงส่าน’ (广陵散 / เพลงกว่างหลิน) มีคนเคยเขียนบทความเกี่ยวกับเพลงนี้พอสมควร และเพื่อนเพจบางท่านอาจคุ้นเคยกับมันแล้ว (แต่อาจเจอหลายเวอร์ชั่นที่แตกต่าง) Storyฯ เชื่อว่ายังมีอีกหลายท่านที่ไม่เข้าใจถึงเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ในเพลงนี้ เพื่อให้ได้อรรถรสในการดูมากขึ้น วันนี้เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเพลงพิณเพลงนี้กัน เพลงกว่างหลิงส่านถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในสิบสุดยอดเพลงพิณโบราณของจีน เป็นหนึ่งในเพลงพิณที่มีความยาวและความซับซ้อนมากที่สุด มีทั้งหมดสี่สิบห้าท่อนด้วยกัน จึงมีความหลากหลายของท่วงทำนองและความซับซ้อนในการบรรเลง เพื่อนเพจสามารถค้นหาบนเน็ตก็จะพบหลายเวอร์ชั่นที่นักดนตรีชั้นครูหลายท่านบรรเลงไว้ แต่ทั้งหมดจะเป็นการยกบางท่อนมาเล่นเพราะเพลงเต็มนั้นยาวเกินไป เอกสารเกี่ยวกับโน้ตเพลงกว่างหลิงส่านนี้ปรากฏครั้งแรกในตำราดนตรีสมัยหมิงที่ชื่อว่าตำราเสินฉีมี่ผู่ (神奇秘谱) เรียกว่า ‘โน้ต’ อาจทำให้นึกภาพผิด เพราะสมัยโบราณไม่ได้เขียนโน้ตด้วยสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน แต่เป็นการเขียนอธิบายรายละเอียดในลักษณะการบรรยาย จึงมีหน้าตาเป็นเหมือนหนังสือตำรา ในสมุดบันทึกดังกล่าวมีคำหมายเหตุที่เอ่ยถึงหลายชื่อบุคคลและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในสมัยจ้านกั๋ว จึงถูกมองว่าเป็นเพลงเดียวกับเพลงโบราณ ‘เนี่ยเจิ้งชึหานกุยฉวี่’ (聂政刺韩傀曲 /เพลงเนี่ยเจิ้งลอบสังหารหานกุย) ซึ่งเล่าถึงเรื่องราวของเนี่ยเจิ้ง หนึ่งในมือสังหารที่โด่งดังที่สุดในประวัติศาสตร์จีน เรื่องราวของเนี่ยเจิ้งมีสองเวอร์ชั่นว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร Storyฯ สรุปใจความหลักมาให้ฟัง... เนี่ยเจิ้งผู้นี้เป็นคนมีฝีมือดีใจกล้ามีคุณธรรม เขาพาแม่และพี่สาวหลบไปซ่อนตัวอยู่ในชนบทตั้งแต่สมัยหนุ่ม เวอร์ชั่นแรก บอกว่าเขาเป็นลูกขุนนางที่ถูกอ๋องแห่งแคว้นหานฆ่าตายเลยต้องหนี ต่อมาฝึกเพลงพิณจนชำนาญและเข้าวังไปเป็นนักดนตรี ฉวยโอกาสงานรื่นเริงลอบสังหารอ๋องแห่งแคว้นหานสำเร็จ เวอร์ชั่นที่สองซึ่งสอดคล้องกับชื่อเพลงมากกว่านั้น เล่าว่าเขาช่วยคนอื่นแล้วพลั้งมือฆ่าคนตายเลยต้องหนีไปซ่อนตัว ต่อมาเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณเหยียนซุ่ยที่ดูแลแม่ของตนจึงรับงานสังหาร ซึ่งเหยียนซุ่ยคือขุนนางของแคว้นหานที่มีความแค้นกับหานกุย อัครเสนาบดีแคว้นหานที่ขึ้นชื่อว่าใช้อำนาจรังแกคนมากมายและเป็นอาของอ๋องแห่งแคว้นหาน เหยียนซุ่ยกลัวว่าจะถูกหานกุยกำจัดทิ้งเลยจะชิงลงมือก่อน ในเวอร์ชั่นนี้เนี่ยเจิ้งบุกเข้าไปฆ่าหานกุยสำเร็จตามลำพัง แต่ไม่ว่าจะเวอร์ชั่นไหน สิ่งที่พ้องกันคือ หลังจากสังหารอีกฝ่ายเสร็จแล้ว เนี่ยเจิ้งทำลายโฉมลอกหนังหน้าและควักลูกตาของตนออกมา ตายในที่เกิดเหตุโดยไม่มีใครรู้ว่าเขาเป็นใคร ทางการป่าวประกาศหาคนมาให้เบาะแส จวบจนพี่สาวของเขามาตามหาและโศกเศร้าจนกอดศพตายไปจึงรู้ว่าที่แท้มือสังหารคนนี้คือเนี่ยเจิ้ง และเรื่องราวถูกเล่าต่อกันถึงความกล้าหาญของเขา และความกตัญญูยอมทำลายโฉมตัวเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อครอบครัว ต่อมากลายมาเป็นเรื่องราวที่แฝงไว้ซึ่งคำสอนว่าผู้ที่ปกครองบ้านเมืองควรมีคุณธรรม ชื่อเพลงแปรเปลี่ยนเป็นกว่างหลิงส่านตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบได้ แต่ชนรุ่นหลังรู้จักชื่อ ‘ก่วงหลิงส่าน’ นี้เพราะจีคัง เขาคือนักปรัชญา นักเขียนและนักดนตรีชื่อดังในสมัยเว่ยจิ้นแห่งราชวงศ์เหนือใต้ ได้รับการเชิญให้เข้ารับราชการหลายครั้งแต่ก็ปฏิเสธเรื่อยมา เขาเป็นคนตรงและกล้าพูด ยอมหักไม่ยอมงอ ในสมัยที่สองพี่น้องสกุลซือหม่า (ซือหม่าซือและซือหม่าจาว) กุมอำนาจทางการเมือง เขาเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์การปกครองของรัฐบาลอย่างเปิดเผยและรุนแรง ต่อมาเกิดเหตุการณ์ที่เขาต่อต้านทางการเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวของสหายสนิท สุดท้ายถูกจับกุมและประหารชีวิตเมื่อตอนอายุสี่สิบปี ก่อนตายเขาบรรเลงเพลงพิณกว่างหลิงส่านนี้ ตำนานเกี่ยวกับเพลงกว่างหลิงส่านและจีคังมีหลายเวอร์ชั่นเช่นกัน บ้างว่าเพลงนี้เขาได้รับการสอนจากเซียน บ้างว่าได้มาจากวิญญาณ โดยมีเงื่อนไขว่าห้ามสอนต่อ บ้างว่าได้รับการสอนมาจากครอบครัวตระกูลตู้ผู้เชี่ยวชาญเรื่องพิณแต่ต่อมาไร้ผู้สืบทอด บ้างว่าเขาประพันธ์ขึ้นเอง แต่ที่เล่ากันต่อมาเป็นเสียงเดียวกันคือ จีคังบรรเลงเพลงนี้ได้ไพเราะจับใจ เนื่องจากเพลงกว่างหลิงส่านมีหลายท่อนหลายท่วงทำนอง จึงให้ความรู้สึกตามจินตนาการที่หลากหลาย เช่น ภาพม้าศึกออกรบ ความรู้สึกฮึกเหิม แรงต่อต้าน และมีบางช่วงทอดเสียงอ้อยอิ่งคล้ายเศร้าแต่ก็ให้ความหวัง มีคนตีความว่าเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมืองเนื่องจากโน้ตเพลงเน้นการใช้สายพิณเส้นที่หนึ่ง สอง และสาม ซึ่งหมายถึง ‘กง’ หรือราชัน ‘ซาง’ หรือข้าราชสำนัก และ ‘เจวี๋ย’ หรือประชาชน ตามลำดับ (หมายเหตุ อ่านย้อนเกี่ยวกับความหมายของสายพิณกู่ฉินได้ที่ https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/569581261836837) และเพลงนี้ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการยึดมั่นในความถูกต้อง Storyฯ คิดว่าการใช้เพลงกว่างหลิงส่านมาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งในเรื่อง <เล่ห์รักวังคุนหนิง> สะท้อนได้ดีถึงความรู้สึกของตัวละครหลายคนโดยเฉพาะตระกูลเยียนที่ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง และไม่หวั่นเกรงต่อความลำบากหรือผลร้ายที่จะตามมา เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่องนี้แล้ว คิดเห็นเป็นอย่างไรคะ? (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://big5.huaxia.com/c/2023/11/09/1824224.shtml https://catalog.digitalarchives.tw/item/00/07/db/5a.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://www.guoxue.com/?p=6176 https://baike.baidu.com/item/聂政 https://baike.baidu.com/item/聂政刺韩傀/6263080 https://baike.baidu.com/item/广陵散/234828 https://baike.baidu.com/item/嵇康/151928 https://www.sohu.com/a/214683627_718263 https://m.cyol.com/gb/articles/2022-05/11/content_BN2qBSlY7.html #เล่ห์รักวังคุนหนิง #กว่างหลิงส่าน #ตำราเพลงกู่ฉิน #พิณโบราณ #เนี่ยเจิ้ง #จีคัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 393 มุมมอง 0 รีวิว