• นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า

    “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44

    ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า

    หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ

    ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป

    รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

    รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป

    รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน

    รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต

    ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้

    **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว

    ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์

    ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ

    ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน"

    สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์"

    ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว

    **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ

    ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้

    ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ

    การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ **

    **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน

    ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ

    ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ

    แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง

    ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์

    ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป

    ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ

    MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน

    การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต

    ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ”

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567

    นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
    ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ

    https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    นาย ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ แสดงทัศนะประเด็นอดีตโฆษกทร. สนับสนุน MOU44 ว่าดูละเอียดหรือยัง? เนื้อหาเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนระบุว่า “ผมท้าทาย เชิญชวน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม และรัฐมนตรีต่างประเทศ ให้ออกมาโต้แย้งประเด็นเทคนิคที่ทีมพรรคพลังประชารัฐเปิดเผยปัญหาแก่ประชาชนเรื่อง MOU44 ยังไม่มีคนใดคนหนึ่งออกมาชี้แจง มีแต่พลเรือเอกจุมพล ลุมพิกานนท์ อดีตโฆษกกองทัพเรือ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการรักษาประโยชน์ของชาติทางทะเล ติดต่อขอให้ข้อมูลแก่ PPTV ในคลิปข้างล่าง PPTV ระบุว่า หลังจากที่ PPTV นำเสนอเรื่องข้อตกลงความร่วมมือ MOU44 ระหว่างไทยกับกัมพูชา ที่หลายคนออกมาให้ความเห็นว่า อาจจะทำให้ไทยเสียเขตแดนทางทะเลให้กับกัมพูชาในอนาคต ซึ่งรวมถึงเกาะกูดด้วย เพราะเส้นเขตแดนที่ทางกัมพูชาลากมามันข้ามเกาะกูดมาเลย หลายคนจึงอยากจะให้ยกเลิก MOU44 ฉบับนี้ แต่ล่าสุด หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ ออกมาให้ความเห็นอีกทาง ว่าไม่ควรจะยกเลิก MOU44 เพราะไม่ได้ทำให้ไทยเสียเปรียบ ตรงกันข้าม นี่คือสารตั้งต้นที่จะทำให้เกิดการเจรจา แต่ถ้ายกเลิกต่างหากอาจจะมีผลเสียตามมาเพียบ ผมเชื่อว่าพลเรือเอกจุมพล ในฐานะเจ้าหน้าที่กองทัพเรือระดับสูง ย่อมมีเลือดรักชาติอยู่เต็มเปี่ยม แต่ขอเรียนด้วยความเคารพว่า คนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองมากเกินไป รูป 1 ท่านกล่าวว่า ชัดเจนว่าเกาะกูดเป็นของไทย จบตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ชัดเจน ตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 รูป 2 แสดงขั้นตอนเวลาที่เวียดนาม กัมพูชา และไทยประกาศเขตแดนไหล่ทวีป รูป 3 ท่านกล่าวว่า MOU44 ฉบับนี้จะเป็นกรอบที่ทั้งสองประเทศจะหยิบขึ้นมาเจรจากันต่อว่า เขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน รวมถึงเจรจาผลประโยชน์ในเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน รูป 4 แสดงเขตพื้นที่พัฒนาร่วมกัน Joint Development Area (สีแดง) ส่วนพื้นที่ที่อยู่เหนือเส้นรุ้งที่ 11 องศา (สีน้ำเงิน) เป็นพื้นที่ทำการแบ่งเขต ผมให้ข้อสังเกตแก่ท่านพลเรือเอกจุมพล ในประเด็นจุดแยบยลทางกฎหมาย ดังนี้ **หนึ่ง MOU44 ยอมรับกรอบขอบเขต boundaries พื้นที่สีแดงไปแล้ว ในรูป 5 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายพื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 2 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 2 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ ถ้อยคำในรูป 5 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" ในรูป 6 จะเห็นได้ว่า คำบรรยายหน้าที่ของคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค พื้นที่สีน้ำเงิน ข้อ 3 (ข) คือเพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน ตามที่ท่านว่า ส่วนคำบรรยายพื้นที่สีแดง ข้อ 3 (ก) คือเพื่อเจรจาผลประโยชน์ล้วนๆ ถ้อยคำในรูป 6 ไม่มีข้อใดที่สามารถอ่านได้ว่า สำหรับพื้นที่สีแดงนั้น "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" สรุปแล้ว ใน MOU44 ทั้งสองประเทศได้กำหนด "พื้นที่พัฒนาร่วม" "Joint Development Area" ขึ้นมา มิใช่ "เพื่อกำหนดเขตแดนทางทะเลของใครควรจะอยู่ตรงไหน" แต่ "เพื่อเจรจาผลประโยชน์" ดังนั้น ใน MOU44 ทั้งสองประเทศจึงพอใจในกรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วมไปแล้ว **สอง กรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วมที่ยอมรับกันไปแล้วนั้น ไม่ตรงตามสนธิสัญญาฯ ทั้งนี้ กรอบขอบเขต boundaries ของพื้นที่พัฒนาร่วม ด้านทิศตะวันตก ในรูป 7 เส้นสีแดง นั้น เส้นสีแดงดังกล่าว เกิดขึ้นได้ มีสารตั้งต้น มีต้นกำเนิด เกิดจากเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูด ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ อธิบายแบบชาวบ้าน ถ้าไม่มีเส้นแบ่งเขตที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดไปจนถึงตำแหน่ง P เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ย่อมไม่สามารถตั้งต้นจากตำแหน่ง P เกิดขึ้นได้ ดังนั้น เส้นแบ่งเขตทิศเหนือ-ใต้ ที่ตั้งต้นจากตำแหน่ง P จึงไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ และ การที่รัฐบาลไทยไปยอมรับเส้นแบ่งเขตสีแดงดังกล่าว ก็ย่อมแสดงว่า ** ไม่ขัดข้องกับตำแหน่ง P ** ทั้งที่ไม่ตรงตามจุดเริ่มต้นในสนธิสัญญาฯ ** **สาม JDA ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ถ้าดูแผนที่ JDA ไทย-มาเลเซีย จะเห็นได้ว่า ตีกรอบขอบเขต boundaries ด้วยเส้นเขตแดน ที่ทั้งสองประเทศอ้างอนุสัญญาสหประชาชาติฯ แตกต่างกัน โดยไทยถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่มาเลเซียไม่ถือว่าเป็นเกาะ ต่อมามีการแก้ไขอนุสัญญาสหประชาชาติฯ ไม่ถือโขดหิน โลซิน เป็นเกาะ ที่สามารถใช้วางอาณาเขตกินแดนได้ แต่เนื่องจาก JDA ไทย-มาเลเซียได้เกิดขึ้นลงนามไปก่อนหน้า ไทยจึงได้ประโยชน์ระหว่างที่ JDA มีผลบังคับ แต่กรณีเส้นที่กัมพูชาลากผ่านเกาะกูดนั้น เป็นการลากเส้นโดยอ้างสนธิสัญญาฯ อย่างที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น บัดนี้เมื่อคนไทยทราบถึงปัญหา จึงย่อมต้องเรียกร้องให้ ยกเลิกการอ้างที่ไม่ถูกต้อง การลากเส้นที่ขัดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ออกไปก่อนเริ่มต้นเจรจาแบ่งผลประโยชน์ ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งผลประโยชน์ จะสามารถทำได้เร็วถ้าทั้งสองประเทศยึดมั่นในความเป็นธรรม ไม่จำเป็นต้องอาศัยความสัมพันธ์ครอบครัว แต่ถ้ามีวาระซ่อนเร้น ถ้าคนไทยจะเสียเปรียบ ผมก็จะคัดค้านต่อไป ผมจึงขอสรุปว่า ประชาชนคนไทยไม่ควรฝากความหวังไว้กับนักการเมืองที่ไปเจรจาโดยยอมรับสิ่งที่กัมพูชา ดำเนินการไปผิดกับเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ MOU44 ยอมรับพื้นที่พัฒนาร่วมที่กินล้ำทะเลจากตำแหน่ง P ที่ทำให้ไทยเสียประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นของประชาชนทุกคน การยอมรับเส้นกรอบขอบเขตของพื้นที่พัฒนาร่วม ที่เริ่มจากตำแหน่ง P อันสืบเนื่องมากจากเส้นที่ผิดเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาฯ ย่อมจะทำให้ไทยเสี่ยงเสียดินแดนได้ในอนาคต ถ้าท่านพลเรือเอกจุมพลไม่เชื่อผม ขอให้ท่านอ่านถ้อยคำใน MOU44 เองได้เลยครับ” วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ https://youtu.be/PEArT6M-wDE?si=NuuT8XefJDmOCmnO ที่มา https://www.facebook.com/share/p/1EgDTTKTHn/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 867 มุมมอง 0 รีวิว
  • ""ธุรกิจขายสินค้าโดยวิธีการสมัครสมาชิก และให้สมาชิกซื้อสินค้านั้น จะเป็นการฉ้อโกงหรือไม่ จะดูจาก ""#รายได้"" ว่า ได้มาจากอะไร ซึ่งศาลฎีกาเองก็ดูจากรายได้เช่นกัน ว่า #รายได้ที่แท้จริงนั้นมาจากอะไร โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ประเภท

    ประเภทที่ 1. #รายได้จากการสมัครสมาชิก ถ้ารายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครสมาชิก และมีแนวทางการประกอบกิจการไปที่การแนะนำให้หาสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ วิธีการแบบนี้ เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่ ถือว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชนได้ #เพราะไม่ได้เน้นที่การขายสินค้าและรายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการขายสินค้า

    ประเภทที่ 2. #รายได้มาจากการสมัครสมาชิก และ #การบังคับซื้อสินค้า วิธีการนี้ดูเผินๆเหมือนจะเป็นการตั้งใจประกอบธุรกิจ แต่ถ้าดูให้ละเอียดจะพบว่า ไม่ได้มีเจตนาประกอบธุรกิจจริงๆ #แต่เป็นการหลอกให้ซื้อสินค้าไปเยอะๆแต่ไม่สามารถขายสินค้าได้ ฉะนั้น รายได้จริงๆของเจ้าของธุรกิจ จึงไม่ใช่ผลกำไรจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการให้สมาชิกต้องซื้อสินค้าจำนวนหนึ่ง [** รายได้ของธุรกิจ จะต้องได้จากการขายสินให้คนทั่วไป ไม่ใช่รายได้จากการบังคับให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวน มากๆ / เรียกว่า ""รายได้หรือกำไรเทียม"" ] วิธีการแบบนี้เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่เช่นกัน เพราะรายได้ที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เกิดจากการหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมากๆ

    ประเภที่ 3. #รายได้มาจากการาขายสินค้าทั่วไป ธุรกิจประเภทนี้ถือเป็นธุรกิจทั่วๆไป คือ นำสินออกขาย ถ้าขายได้ก็ได้กำไร ถ้าขายไม่ได้ก็ขาดทุน โดยจะไม่มีรายได้จากค่าสมาชิก หรือรายได้จากการบังคับซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ

    #ธุรกิจที่กำลังเป็นข่าวดังอยู่ในตอนนี้ เข้าลักษณะที่ 2. คือ มีสินค้าจริง แต่จะให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ #แต่สินค้าจะขายไม่ได้ หรือจะขายได้น้อย #และถ้าไปดูรายได้ของบริษัทแม่จริงๆ ก็จะพบว่ รายได้หรือกำไร #มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก ส่วนสมาชิกจะนำสินค้าไปขายได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    เมื่อรายได้หรือกำไรของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่คนทั่วไป แต่เกิดจากการซื้ของสมาชิกเอง ก็แสดงว่า #รายได้หรือกำไรของบริษัทนั้นมีขึ้นก่อนที่จะนำสินค้าออกขายให้แก่คนทั่วไปโดยสมาชิก

    ดู ไทมไลน์ ดังนี้
    1. ผลิตสินค้า
    2.หาสมาชิก
    3. ให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมาก [** รายได้ของบริษัท]
    4. สมาชิกนำสินค้าที่ซื้อไปขาย

    จะเห็นว่า รายได้ของบริษัท #เกิดขึ้นก่อน ที่สมาชิกจะเอาสินค้าไปขาย และเป็นรายได้ที่มาจากสมาชิกเอง

    วิธีการที่จะหลอกสมาชิกให้มาสมัครเป็นสมาชิก และให้ซื้อสินค้าในจำนวนมากๆได้นั้น จะต้องอาศัยเครื่องมือ ที่เรียกว่า ""#ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์"" ธุรกิจพวกนี้จะให้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาช่วยโปรโมทธุรกิจของตนเอง

    "" #โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าให้เยอะขึ้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกนำสินค้าไปขายได้ง่ายขึ้น ..........""

    ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2901/2547 วินิจฉัยว่า
    "" ถ้ารายได้หรือผลกำไร มาจากค่าสมัครสมาชิก และจะได้มากขึ้นเมื่อสามารถชักชวนคนอื่นให้เข้ามาเป็นสมาชิกได้ #อันแสดงว่ารายได้หรือผลกำไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสินค้าหรือบริการ แต่ขึ้นอยู่กับการชักชวนหรือการหาสมาชิกให้ได้จำนวนมากๆ #และเมื่อรายได้หรือผลกำไรเกิดจากค่าสมัครสมาชิกไม่ได้เกิดจากสินค้าหรือบริการโดยตรง จึงต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน" ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ม. 3 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ....."

    ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1172/2566 วินิจฉัยว่า
    "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนในกิจการและธุรกิจของจำเลย #แต่จำเลยกลับไม่มีกิจการใดๆเลยที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้ตามที่จำเลยโฆษณา ดังนั้น การโฆษณาชักชวนของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวง อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ""

    ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 326/2566 วินิจฉัยว่า
    "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน กับ บริษัท อ. แต่กลับพบว่า ในขณะที่จำเลยชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนนั้น บริษัท อ. #ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทหรือไม่นั้น ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่า บริษัท อ.นั้น ยังไม่ได้จดทะเบียนตั้งบริษัท #แต่กลับปกปิดความจริงข้อนี้เอาไว้ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง .....""

    #คดีตามข่าว เส้นแบ่งว่าจะเป็นฉ้อโกงหรือไม่ ให้ดูจากรายได้ของบริษัท ว่า รายได้หรือกำไรมาจากการที่สมาชิกขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ หรือเป็นรายได้หรือกำไรที่ได้มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิกเอง ถ้ารายได้ของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วๆไป แต่เกิดจากการบังคับหรือหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ แบบนี้ก็จะเข้าข่ายฉ้อโกง โดยศาลจะถือว่า ""#รู้อยู่แล้วว่าสินค้าไม่สามารถขายได้"" และการใช้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาโฆษณานั้น #ก็ด้วยวัตถุประสงค์ให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการขายหรือช่วยให้สมาชิกขายสินค้าได้แต่อย่างใด

    (1) รายได้บริษัท มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก
    (2) การใช้ดารามาโฆษณา เพื่อให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น
    (3) บริษัทได้รายได้ไปก่อนที่สมาชิกจะนำสินค้าไปขาย
    (4) พยายามชักจูงใจให้สมาชิกซื้อสินค้ามากกว่าขายสินค้าทั่วไป
    (5) สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะโฆษณาไม่ใช่เกิดจากการใช้จริง
    (6) บริษัทเน้นรายได้ที่จะไดจากสมาชิกเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่าสมาชิกจะขายสินค้าได้หรือไม่
    (7) สุดท้ายบริษัทเท่านั้นที่มีรายได้ ส่วนสมาชิกส่วนใหญ่ขาดทุน เพราะขายสินค้าไม่ได้ แต่ต้องจ่ายเงินให้บริษัทเพื่อซื้อสินค้าไปก่อน
    (8) สมาชิกสนใจธุรกิจ เพราะ การโฆษณาชวนเชื่อ #ไม่ได้สนใจ #เพราะสินค้าขายดี

    จะเห็นว่า ธุรกิจแบบนี้ มีลักษณะที่ดูยากว่าเป็นการฉ้อโกง เพราะเขามีตัวสินค้าอยู่จริง และสินค้าเขาอาจจะดีจริงก็ได้เช่นกัน #แต่ขอให้ดูรายได้ของบริษัทว่ามาจากอะไร เพราะศาลเองก็จะดูเช่นกันว่า ถ้ามีเจตนาจะขายสินค้าหรือบริการจริงๆ ก็จะต้องเน้นไปที่การขายสินค้าหรือบริการ #และรายได้หลักก็ควรเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการแก่บุคคลทั่วไป ไม่ใช่รายได้หลักเกิดจากการให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ รายได้หลักเกิดการการซื้อสินค้าของสมาชิก #ก็ย่อมแสดงว่า บริษัททราบอยู่ก่อนแล้ว่าสินค้าหรือบริการ ไม่สามารถขายได้หรือถ้าขายได้ก็ทำรายได้ไม่ถึงกับที่ตนเองโฆษณา #ซึ่งในที่สุดสมาชิกก็จะขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ได้ อันถือว่าผิดหลักการค้าขายทั่วไป ที่จะต้อนเน้นไปที่การขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ไม่ใช่เน้นส่งเสริมให้สมาชิกซื้อสินค้าเยอะๆ ""

    Cr: คดีโลกคดีธรรม
    ""ธุรกิจขายสินค้าโดยวิธีการสมัครสมาชิก และให้สมาชิกซื้อสินค้านั้น จะเป็นการฉ้อโกงหรือไม่ จะดูจาก ""#รายได้"" ว่า ได้มาจากอะไร ซึ่งศาลฎีกาเองก็ดูจากรายได้เช่นกัน ว่า #รายได้ที่แท้จริงนั้นมาจากอะไร โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1. #รายได้จากการสมัครสมาชิก ถ้ารายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครสมาชิก และมีแนวทางการประกอบกิจการไปที่การแนะนำให้หาสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ วิธีการแบบนี้ เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่ ถือว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชนได้ #เพราะไม่ได้เน้นที่การขายสินค้าและรายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการขายสินค้า ประเภทที่ 2. #รายได้มาจากการสมัครสมาชิก และ #การบังคับซื้อสินค้า วิธีการนี้ดูเผินๆเหมือนจะเป็นการตั้งใจประกอบธุรกิจ แต่ถ้าดูให้ละเอียดจะพบว่า ไม่ได้มีเจตนาประกอบธุรกิจจริงๆ #แต่เป็นการหลอกให้ซื้อสินค้าไปเยอะๆแต่ไม่สามารถขายสินค้าได้ ฉะนั้น รายได้จริงๆของเจ้าของธุรกิจ จึงไม่ใช่ผลกำไรจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการให้สมาชิกต้องซื้อสินค้าจำนวนหนึ่ง [** รายได้ของธุรกิจ จะต้องได้จากการขายสินให้คนทั่วไป ไม่ใช่รายได้จากการบังคับให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวน มากๆ / เรียกว่า ""รายได้หรือกำไรเทียม"" ] วิธีการแบบนี้เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่เช่นกัน เพราะรายได้ที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เกิดจากการหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมากๆ ประเภที่ 3. #รายได้มาจากการาขายสินค้าทั่วไป ธุรกิจประเภทนี้ถือเป็นธุรกิจทั่วๆไป คือ นำสินออกขาย ถ้าขายได้ก็ได้กำไร ถ้าขายไม่ได้ก็ขาดทุน โดยจะไม่มีรายได้จากค่าสมาชิก หรือรายได้จากการบังคับซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ #ธุรกิจที่กำลังเป็นข่าวดังอยู่ในตอนนี้ เข้าลักษณะที่ 2. คือ มีสินค้าจริง แต่จะให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ #แต่สินค้าจะขายไม่ได้ หรือจะขายได้น้อย #และถ้าไปดูรายได้ของบริษัทแม่จริงๆ ก็จะพบว่ รายได้หรือกำไร #มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก ส่วนสมาชิกจะนำสินค้าไปขายได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อรายได้หรือกำไรของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่คนทั่วไป แต่เกิดจากการซื้ของสมาชิกเอง ก็แสดงว่า #รายได้หรือกำไรของบริษัทนั้นมีขึ้นก่อนที่จะนำสินค้าออกขายให้แก่คนทั่วไปโดยสมาชิก ดู ไทมไลน์ ดังนี้ 1. ผลิตสินค้า 2.หาสมาชิก 3. ให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมาก [** รายได้ของบริษัท] 4. สมาชิกนำสินค้าที่ซื้อไปขาย จะเห็นว่า รายได้ของบริษัท #เกิดขึ้นก่อน ที่สมาชิกจะเอาสินค้าไปขาย และเป็นรายได้ที่มาจากสมาชิกเอง วิธีการที่จะหลอกสมาชิกให้มาสมัครเป็นสมาชิก และให้ซื้อสินค้าในจำนวนมากๆได้นั้น จะต้องอาศัยเครื่องมือ ที่เรียกว่า ""#ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์"" ธุรกิจพวกนี้จะให้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาช่วยโปรโมทธุรกิจของตนเอง "" #โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าให้เยอะขึ้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกนำสินค้าไปขายได้ง่ายขึ้น .........."" ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2901/2547 วินิจฉัยว่า "" ถ้ารายได้หรือผลกำไร มาจากค่าสมัครสมาชิก และจะได้มากขึ้นเมื่อสามารถชักชวนคนอื่นให้เข้ามาเป็นสมาชิกได้ #อันแสดงว่ารายได้หรือผลกำไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสินค้าหรือบริการ แต่ขึ้นอยู่กับการชักชวนหรือการหาสมาชิกให้ได้จำนวนมากๆ #และเมื่อรายได้หรือผลกำไรเกิดจากค่าสมัครสมาชิกไม่ได้เกิดจากสินค้าหรือบริการโดยตรง จึงต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน" ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ม. 3 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ....." ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1172/2566 วินิจฉัยว่า "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนในกิจการและธุรกิจของจำเลย #แต่จำเลยกลับไม่มีกิจการใดๆเลยที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้ตามที่จำเลยโฆษณา ดังนั้น การโฆษณาชักชวนของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวง อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน "" ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 326/2566 วินิจฉัยว่า "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน กับ บริษัท อ. แต่กลับพบว่า ในขณะที่จำเลยชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนนั้น บริษัท อ. #ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทหรือไม่นั้น ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่า บริษัท อ.นั้น ยังไม่ได้จดทะเบียนตั้งบริษัท #แต่กลับปกปิดความจริงข้อนี้เอาไว้ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ....."" #คดีตามข่าว เส้นแบ่งว่าจะเป็นฉ้อโกงหรือไม่ ให้ดูจากรายได้ของบริษัท ว่า รายได้หรือกำไรมาจากการที่สมาชิกขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ หรือเป็นรายได้หรือกำไรที่ได้มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิกเอง ถ้ารายได้ของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วๆไป แต่เกิดจากการบังคับหรือหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ แบบนี้ก็จะเข้าข่ายฉ้อโกง โดยศาลจะถือว่า ""#รู้อยู่แล้วว่าสินค้าไม่สามารถขายได้"" และการใช้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาโฆษณานั้น #ก็ด้วยวัตถุประสงค์ให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการขายหรือช่วยให้สมาชิกขายสินค้าได้แต่อย่างใด (1) รายได้บริษัท มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก (2) การใช้ดารามาโฆษณา เพื่อให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น (3) บริษัทได้รายได้ไปก่อนที่สมาชิกจะนำสินค้าไปขาย (4) พยายามชักจูงใจให้สมาชิกซื้อสินค้ามากกว่าขายสินค้าทั่วไป (5) สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะโฆษณาไม่ใช่เกิดจากการใช้จริง (6) บริษัทเน้นรายได้ที่จะไดจากสมาชิกเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่าสมาชิกจะขายสินค้าได้หรือไม่ (7) สุดท้ายบริษัทเท่านั้นที่มีรายได้ ส่วนสมาชิกส่วนใหญ่ขาดทุน เพราะขายสินค้าไม่ได้ แต่ต้องจ่ายเงินให้บริษัทเพื่อซื้อสินค้าไปก่อน (8) สมาชิกสนใจธุรกิจ เพราะ การโฆษณาชวนเชื่อ #ไม่ได้สนใจ #เพราะสินค้าขายดี จะเห็นว่า ธุรกิจแบบนี้ มีลักษณะที่ดูยากว่าเป็นการฉ้อโกง เพราะเขามีตัวสินค้าอยู่จริง และสินค้าเขาอาจจะดีจริงก็ได้เช่นกัน #แต่ขอให้ดูรายได้ของบริษัทว่ามาจากอะไร เพราะศาลเองก็จะดูเช่นกันว่า ถ้ามีเจตนาจะขายสินค้าหรือบริการจริงๆ ก็จะต้องเน้นไปที่การขายสินค้าหรือบริการ #และรายได้หลักก็ควรเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการแก่บุคคลทั่วไป ไม่ใช่รายได้หลักเกิดจากการให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ รายได้หลักเกิดการการซื้อสินค้าของสมาชิก #ก็ย่อมแสดงว่า บริษัททราบอยู่ก่อนแล้ว่าสินค้าหรือบริการ ไม่สามารถขายได้หรือถ้าขายได้ก็ทำรายได้ไม่ถึงกับที่ตนเองโฆษณา #ซึ่งในที่สุดสมาชิกก็จะขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ได้ อันถือว่าผิดหลักการค้าขายทั่วไป ที่จะต้อนเน้นไปที่การขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ไม่ใช่เน้นส่งเสริมให้สมาชิกซื้อสินค้าเยอะๆ "" Cr: คดีโลกคดีธรรม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1002 มุมมอง 0 รีวิว