• ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ

    Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้

    สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้:

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl)

    2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ
    2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป
    2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า:
    - สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ)
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่
    2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2)
    - สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี
    - ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน
    - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่);
    - หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3)
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก
    - อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน
    2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า:
    - เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน)
    - ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้)

    สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ

    3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
    - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3)
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน

    สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ

    4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว
    - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว
    - บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง)

    5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ:
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2)
    - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา
    - บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา)
    - บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน
    - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน)

    การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้

    การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว

    ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3

    ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

    โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791
    https://baike.baidu.com/item/齐衰
    https://www.sohu.com/a/124382586_555629
    https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html

    #หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ ตอนที่ 2 สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยกันเรื่องการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์โจว หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน วันนี้เรามาคุยกันต่อค่ะ Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน (ซึ่งค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่อาจมีบางรายการแตกต่างกับปัจจุบัน) โดยยกมาเฉพาะสำหรับชาวบ้านไม่รวมราชนิกูล เพื่อนเพจดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 ส่วนการจัดลำดับเครือญาตินั้น เนื่องจากภาษาไทยเราไม่มีคำระบุเครือญาติได้ชัดเจนเหมือนจีน พอกล่าวถึงญาติห่างๆ จะสับสน Storyฯ จึงจัดทำเป็นผังตารางในรูปประกอบ 2 ในรูปแบบของพงศาวลีให้ง่ายสำหรับความเข้าใจ ซึ่งแตกต่างจากหน้าตาผังอู่ฝูในภาษาจีนที่บางท่านอาจเคยเห็น และนอกจากนี้ยังมีบางข้อมูลที่ไม่สามารถเขียนรวมอยู่ในผังได้ สรุปหลักสำคัญของ ‘อู่ฝู’ มีดังนี้: 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) เป็นชุดเนื้อหยาบที่สุด ใช้สำหรับไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่โดยลูกชายและภรรยา รวมถึงลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (กล่าวคือ ยังไม่ออกเรือน หรือเป็นหม้ายไร้บุตรหวนกลับเข้าเรือน) รายละเอียดคุยไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02iGKyX4S6jcPqcr2kS6aigeGEv2v7oL2HB7WYx7UFHUkXV9i8hBPR33HyxRCnZ19kl) 2. ระดับที่สอง ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จือชุย’ (齐衰) ดูจากรูปหน้าตาคล้ายกับชุดจ่านชุย ทำจากผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบเช่นกัน แต่มีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม้เท้าทำจากไม้คนละชนิด สตรีแต่งกายเหมือนกับบุรุษและใช้เนื้อผ้าเดียวกัน มีการคลุมหัวเหมือนแบบจ่านชุย ส่วนระยะเวลาไว้ทุกข์ในระดับนี้แบ่งย่อยออกเป็นสี่แบบ 2.1 แบบที่หนึ่ง คือสามปี ถือไม้เท้า: ในสมัยหมิงไม่มีอีกต่อไป 2.2 แบบที่สอง คือหนึ่งปี ถือไม้เท้า: - สามี: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยา - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับแม่เล็ก (คืออนุภรรยาของพ่อ) - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อเลี้ยง กรณีแม่แต่งงานใหม่ 2.3 แบบที่สาม คือหนึ่งปี ไม่ถือไม้เท้า เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติสนิทและญาติผู้ใหญ่สายตรง (ดูตามผังในรูปประกอบ 2) - สะใภ้: ไว้ทุกข์ให้กับพี่น้องชายของสามี; ลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของพี่น้องชายสามี - ลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อแม่ของตน - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชาย ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน และลูกสะใภ้ใหญ่ (คือภรรยาของลูกชายคนโตอันเกิดจากแม่ใหญ่); - หลาน: ไว้ทุกข์ให้กับปู่ย่า ทั้งนี้หมายรวมถึงหลานสาวที่ออกเรือนไปแล้วด้วย (แต่หลานสะใภ้ไว้ทุกข์ในระดับ 3) - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายคนโต (ลูกของลูกชาย) ในสายภรรยาเอก - อนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับภรรยาเอก; บุตรชายทุกคนของสามีไม่ว่าจะเกิดจากแม่ใด รวมบุตรชายของตน; พ่อแม่ของตน 2.4 แบบที่สี่ คือ สามถึงห้าเดือน ไม่ถือไม้เท้า: - เหลนไว้ทุกข์ให้กับปู่ทวดย่าทวด ระยะเวลาห้าเดือน โดยหมายรวมถึงเหลนสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไว้ทุกข์ให้ปู่ทวดย่าทวดของสามีด้วยชุดซือหมาแบบ 5 ระยะเวลาสามเดือน) - ลื่อ (ลูกของเหลน) ไว้ทุกข์ให้กับปู่เทียดย่าเทียด ระยะสามเดือน หมายรวมถึงลื่อสาวที่ออกเรือนไปแล้ว (หมายเหตุ สะใภ้ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้) สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับ 2.2-2.4 นี้ ชีวิตความเป็นอยู่จะสบายขึ้นกว่าระดับแรกหน่อย ก็คืองดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และพอพ้นสามเดือนก็กินดื่มได้ปกติแต่กินกันเองไม่ร่วมกินดื่มกับผู้อื่นเพราะจะกลายเป็นการสังสรรค์ ในส่วนของที่พักนั้น หากเคร่งครัดมาก สามเดือนแรกบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะ พ้นสามเดือนจึงกลับไปนอนบ้านได้ปกติ ซึ่งสาเหตุที่ยึดเกณฑ์สามเดือนก็คือ สามเดือนจึงทำพิธีฝังศพ 3. ระดับที่สาม ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ต้ากง’ (大功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดขึ้น เป็นผ้าต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าเชือกสาน สตรีแต่งกายแบบบุรุษ ผมเปลี่ยนจากผ้าคลุมหัวเป็นผ้าโพกมวย ระยะเวลาไว้ทุกข์เก้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) - พ่อแม่: ไว้ทุกข์ให้กับลูกสะใภ้ (ยกเว้นลูกสะใภ้คนโตที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานชายทุกคน (ยกเว้นหลานชายคนโตสายภรรยาเอกที่ไว้ทุกข์ในระดับ 2.3) และหลานสาวที่ยังอยู่ในเรือน - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้แก่ลุงและอา (พี่น้องชายของพ่อ) ของตน; ป้าและอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ของตนที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องชายของตน รวมลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน; พี่น้องสาวของตนที่ยังอยู่ในเรือน สำหรับการไว้ทุกข์ในระดับต้ากงนี้ งดอาหารเพียงสามมื้อ (คือวันเดียว) จากนั้นในสามเดือนแรกกินข้าวต้ม งดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุรา โดยมีข้อยกเว้นคือผู้สูงอายุและผู้ป่วยตามที่ได้กล่าวไปในสัปดาห์ที่แล้ว และบุรุษอาจย้ายออกมาอยู่กระท่อมแบบสมถะไม่นอนเตียง พอพ้นสามเดือนก็กินอยู่ได้ปกติ 4. ระดับที่สี่ ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘เสี่ยวกง’ (小功) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อบางละเอียดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า สวมรองเท้าปกติได้ ระยะเวลาไว้ทุกข์ห้าเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) และลูกชายของพี่น้องหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว - ปู่ย่า: ไว้ทุกข์ให้กับหลานสะใภ้คนโตในสายภรรยาเอก (ภรรยาของลูกชายของลูกชาย); หลานสาว (ลูกสาวของลูกชาย) ที่ออกเรือนไปแล้ว - บุตรของแม่เล็ก: ไว้ทุกข์ให้พ่อแม่พี่น้องชายหญิงของแม่ใหญ่ เฉพาะในกรณีที่แม่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายและลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือนของลุงอาชายของตน (คือลูกพี่ลูกน้อง) 5. ระดับที่ห้า ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘ซือหมา’ (缌麻) ทำจากผ้ากระสอบเนื้อละเอียดที่สุดต้มสุกและมีการเย็บเก็บชายผ้าเรียบร้อย ไม่ต้องมีไม้เท้า ระยะเวลาไว้ทุกข์สามเดือน เป็นการไว้ทุกข์สำหรับ: - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับญาติที่ห่างออกมาอีกลำดับขั้น (ดูผังในรูปประกอบ 2) - บุรุษ และสตรีที่ยังอยู่ในเรือน: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายของป้าอาหญิง (พี่น้องสาวของพ่อ) ที่ออกเรือนไปแล้ว; ลูกชายของพี่น้องชายหญิงของแม่ รวมภรรยา - บุรุษ: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อตาแม่ยาย (พ่อแม่ของภรรยา) - บุรุษและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้หลานชายหญิง (ลูกของลูกชาย) ของลูกสาวที่ออกเรือนไปแล้ว รวมภรรยาของหลานชาย - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับญาติผู้ใหญ่ของตนคือ พี่น้องชายของปู่และภรรยา รวมลูกชายและภรรยา; พี่น้องสาวของปู่ที่ยังอยู่ในเรือน - สตรีที่ออกเรือนไปแล้ว: ไว้ทุกข์ให้กับลูกชายหญิงของลูกชายของลุงอาชายของตน (คือลูกของลูกพี่ลูกน้องสาวของตน); ลูกสาวของลุงอาชายที่ออกเรือนไปแล้ว (คือลูกพี่ลูกน้องสาวของตน) การไว้ทุกข์ระดับ 4 และ 5 นี้ นับเป็นการไว้ทุกข์แบบเบา มีการอดอาหารเพียงหนึ่งหรือสองมื้อ แรกงดผักผลไม้เนื้อสัตว์และสุราสามเดือน หลังจากนั้นกินดื่มปกติ และในช่วงเวลาไว้ทุกข์สามารถหลับนอนในห้องนอนเดิมนอนเตียงได้ การนับลำดับญาติเพื่อการไว้ทุกข์อาจฟังดูซับซ้อน แต่จากผังลำดับญาติจะเห็นได้ว่าหลักการในการนับความอาวุโสคือ ญาติในรุ่นเดียวกัน ถ้าเป็นพ่อคนเดียวกัน (คือพี่น้อง) ห่างออกไปหนึ่งขั้น หากเป็นปู่คนเดียวกัน ห่างออกไปสองขั้น หากเป็นปู่ทวดคนเดียวกัน ห่างออกไปสามขั้น และหากเป็นปู่เทียดคนเดียวกัน ห่างออกไปสี่ขั้น และจบอู่ฝูที่ลำดับญาติขึ้นสี่รุ่นลงสี่รุ่นรวมตนเองเป็นเก้ารุ่น เกณฑ์นี้ใช้สำหรับบุรุษหรือสตรีที่ยังอยู่ในเรือน และมีการกล่าวไว้ว่า พอพ้นเกณฑ์อู่ฝูนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นญาติครอบครัวเดียวกันแล้ว ส่วนสตรีที่ออกเรือนไปแล้ว ให้ด้อยศักดิ์ลงหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) และสำหรับสตรีที่แต่งเข้ามาเป็นสะใภ้นั้น ไว้ทุกข์เทียบเท่าสามีให้รุ่นลูกลงไป แต่สำหรับการไว้ทุกข์ให้รุ่นเดียวกันและรุ่นอาวุโสกว่าให้ด้อยศักดิ์จากสามีหนึ่งขั้น (ยกเว้นกรณีที่กล่าวไว้แล้วในรายละเอียดข้างต้น) เช่น ไว้ทุกข์ให้พี่น้องสาวที่ออกเรือนไปแล้วของสามีในระดับ 4 ในขณะที่สามีไว้ทุกข์ในระดับ 3 ทั้งนี้ เนื่องจากการลำดับญาติมีความซับซ้อนและสรรพนามของไทยไม่ระบุเจาะจงเท่าของจีน อีกทั้งปัจจุบันมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และข้อมูลก็ไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสะใภ้และเขย หากมีตกหล่นผิดเพี้ยนไปแต่ประการใด Storyฯ ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย โดยทั่วไปแล้ว ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นการไว้ทุกข์ระดับใด ห้ามสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ทั้งนี้ ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตามที่กล่าวมาข้างต้นตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดไว้ทุกข์แบบเรียบง่ายหรือเปลี่ยนเป็นชุดขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม แน่นอนว่าพิธีการไว้ทุกข์มีความซับซ้อนมากกว่าที่เขียน ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของชุดและกิจกรรมประจำวันต่างๆ และพิธีการเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามการเวลา ปัจจุบันยังมีธรรมเนียมการไว้ทุกข์นับตามอู่ฝูอยู่บ้างในประเทศจีนแต่ก็คลายความเคร่งครัดไป และสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีนนั้น ปัจจุบันโดยส่วนใหญ่จะไม่นับถึงรุ่นทวดเดียวกันแล้ว เพื่อนเพจท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างไร เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังหน่อยค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://historyindrama.wixsite.com/historyindrama/single-post/2018/03/17/-風起長林-披麻戴孝 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 https://baike.baidu.com/item/齐衰 https://www.sohu.com/a/124382586_555629 https://k.sina.cn/article_6093535129_16b33f79900100pcu5.html #หลางหยาป่าง2 #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 676 มุมมอง 0 รีวิว
  • ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1)

    สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป

    วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ

    การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน

    ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ

    ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง?

    รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1

    1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า

    ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ:
    - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย
    อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน
    - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย
    - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี

    สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว

    ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน

    ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้
    จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม

    ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม

    นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ

    ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย

    ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก

    แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ

    สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
    https://www.sohu.com/a/790545230_121948376
    https://kknews.cc/news/j5bqeq.html
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296
    https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs
    https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb
    https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602
    https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791

    #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    ระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ (ตอน 1) สืบเนื่องจากมีเพื่อนเพจถามเข้ามาถึงระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ และ Storyฯ ได้ดู <องค์หญิงใหญ่> ซึ่งในเรื่องนี้ พระเอกจำเป็นต้องกลับบ้านนอกไว้ทุกข์ให้กับพ่อที่ตายไปเป็นเวลาสามปีจึงจะกลับมาเมืองหลวงอีกครั้ง ทำให้พลาดโอกาสก้าวหน้าทางราชการไป วันนี้เราจึงมาคุยกันเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์นี้ บทความยาวมากจึงขอแบ่งเป็นสองตอนนะคะ การไว้ทุกข์เรียกว่า ‘โส่วเซี่ยว’ (守孝 แปลได้ว่า รักษาความกตัญญู) หรือมีอีกวิธีเรียกคือ ‘ฝูซาง’ (服丧 แปลได้ว่า สวมใส่ความทุกข์) ซึ่งสะท้อนถึงการแบ่งการไว้ทุกข์ออกเป็นห้าระดับตามชื่อของชุดไว้ทุกข์ หรือที่เรียกว่า ‘อู่ฝู’ (五服 แปลตรงตัวว่า ห้าชุด) โดยแต่ละระดับมีระยะเวลาไว้ทุกข์ที่ต่างกัน ‘อู่ฝู’ แรกปรากฏในบันทึกอี้หลี่ (仪礼) เป็นพิธีการสมัยราชวงศ์โจว โดยการแบ่งแยกระดับขั้นการไว้ทุกข์นี้เป็นไปตามลำดับความสนิทของญาติ และในรายละเอียดมีการจำแนกตามอายุ (เช่น ถึงวัยเติบใหญ่แล้วหรือไม่) และบรรดาศักดิ์ของผู้ตาย รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ‘อู่ฝู’ มีอะไรบ้าง? รายละเอียดและระยะเวลาไว้ทุกข์เหล่านี้ต่อมาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย และเนื่องจากหลายแหล่งข้อมูลมีความแตกต่าง Storyฯ ขออิงตามประมวลกฏหมายต้าหมิงหุ้ยเตี่ยนที่ถูกจัดทำขึ้นในรัชสมัยว่านลี่ขององค์จูอี้จวิน ซึ่งมีการแก้ไขไปจากเดิม ตัวอย่างเช่น เปลี่ยนการไว้ทุกข์ให้แม่มาเป็นแบบเดียวกับไว้ทุกข์ให้พ่อ เพื่อนเพจสามารถดูชุดไว้ทุกข์สมัยหมิงได้ตามรูปประกอบ 1 1. ระดับที่หนึ่ง เป็นการไว้ทุกข์ขั้นสูงสุด ชุดไว้ทุกข์เรียกว่า ‘จ่านชุย’ (斩衰) สรุปโดยคร่าวคือทำจากชุดผ้ากระสอบดิบเนื้อหยาบ ไม่มีการเนาหรือเย็บ ไม่เย็บเก็บชายผ้า เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์สนิทสุดที่ถูกสะบั้นลง ใช้เชือกถักหยาบแทนเข็มขัด ถือไม้เท้ายาวถึงหน้าอกทำจากไม้ไผ่ เป็นสัญลักษณ์ว่าโศกเศร้าจนไม่สามารถยืนได้ (เด็กไม่ต้องถือไม้เท้า) รองเท้าทำจากหญ้า ชุดจ่านชุยเป็นชุดไว้ทุกข์สำหรับ: - ลูกชายและภรรยา: ไว้ทุกข์ให้กับพ่อและแม่ ทั้งนี้ ‘แม่’ หมายรวมถึงภรรยาเอกของพ่อ (ขอเรียกว่า แม่ใหญ่) แม่ผู้เลี้ยงดู และแม่แท้ๆ ดังนั้น ลูกทุกคนรวมทั้งลูกของอนุภรรยาต้องไว้ทุกข์ให้แม่ใหญ่ด้วยจ่านชุย แต่ลูกของแม่ใหญ่ไม่ต้องไว้ทุกข์ให้อนุภรรยาของพ่อ (ขอเรียกว่าแม่เล็ก) ด้วยจ่านชุย อนึ่ง ในกรณีที่ลูกชายเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้หลานชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน และในกรณีที่ทั้งลูกชายและหลานชายคนโตสายภรรยาเอกเสียชีวิตไปก่อนหน้านี้ ให้เหลนชายคนโตสายภรรยาเอกทำหน้าที่ไว้ทุกข์แทน - ลูกสาวที่ยังอยู่ในเรือน (คือยังไม่แต่งงานหรือเป็นหม้ายไร้บุตรแล้วกลับมาอยู่บ้าน) ไว้ทุกข์ตามเกณฑ์เดียวกับลูกชาย - ภรรยาและอนุภรรยา: ไว้ทุกข์ให้แก่สามี สำหรับชุดจ่านชุยของสตรีนั้น แต่งกายเหมือนชายแต่ใช้ผ้ากระสอบกว้างหนึ่งนิ้วคาดหน้าผาก ปักปิ่นที่ทำจากไม้ไผ่ และมีผ้าคลุมหัว ระยะเวลาสวมชุดจ่านชุยไว้ทุกข์คือสามปี แต่จริงๆ แล้ววิธีนับคือสองปีเต็มกับอีกหนึ่งเดือน แรกเริ่มนับเป็นยี่สิบห้าเดือน ต่อมาเนื่องจากมีการปรับปรุงปฏิทินจีนและในบางปีอาจมีสิบสามเดือนในหนึ่งปี ระยะเวลาจ่านชุยจึงเปลี่ยนเป็นยี่สิบเจ็ดเดือน เพื่อว่าจะอย่างไรเสียก็ต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเดือนในปีที่สาม และสาเหตุที่ระบุเป็น ‘สามปี’ นี้ เป็นไปตามแนวคิดและคำสอนของขงจื๊อที่ว่า พ่อแม่เลี้ยงดูเราจนสามปี ลูกจึงออกจากอ้อมอกพ่อแม่เดินเหินได้คล่อง ในระหว่างนั้นคอยอุ้มคอยดูแลสารพัด ผู้เป็นลูกก็ควรไว้ทุกข์เพื่อแสดงความกตัญญูให้บุพการีได้ในระยะเวลาเดียวกัน ในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติที่สืบทอดมาตามคำสอนของขงจื๊ออีกเช่นกัน กล่าวคือ สามวันแรกห้ามกินข้าวกินน้ำ พ้นสามวันกินข้าวต้มได้ พ้นสามเดือนจึงจะอาบน้ำสระผมได้ พ้นหนึ่งปีเปลี่ยนหมวกเป็นมัดมวยผมด้วยผ้ากระสอบ และพ้นสามปีจึงจะใช้ชีวิตปกติได้ จริงแล้วในช่วงเวลาสามปีนี้ไม่ได้จำเป็นต้องสวมชุดไว้ทุกข์เต็มยศตลอดเวลา แต่จะใส่เฉพาะวันพิธีการสำคัญที่เกี่ยวข้อง นอกนั้นใส่ชุดกระสอบปกติไม่ต้องถือไม้เท้า หรือค่อยๆ เปลี่ยนเป็นชุดสีขาวเรียบง่ายได้ ทั้งนี้มีตามหลักเกณฑ์เหมือนกัน แต่ Storyฯ ไม่ได้หาข้อมูลลงลึกเพิ่มเติม ในเรื่องอาหารการกินมีรายละเอียดเพิ่มเติมว่า ในระยะเวลาไว้ทุกข์ห้ามดื่มสุรา ส่วนอาหารที่กินเน้นข้าวต้มจืด พ้นหนึ่งปีจึงจะกินผักผลไม้ได้ พ้นสองปีจึงจะกินอาหารปรุงรสด้วยซีอิ๊วและน้ำส้มสายชูได้ พ้นสามปีจึงจะกินเนื้อสัตว์ได้ แต่ทั้งนี้ หลักการมีอีกว่า การไว้ทุกข์ไม่ควรทำให้ป่วย ดังนั้นในช่วงไว้ทุกข์นี้ ผู้ที่แก่ชรา (พ้นวัยเจ็ดสิบในสมัยโบราณถือว่าแก่มาก) ให้กินผักผลไม้กินเนื้อสัตว์ได้ และดื่มสุราได้ (เพราะสุราสมัยโบราณมักเป็นเหล้ายา) และผู้ป่วยหรือเด็กก็อนุโลมให้กินได้ตามความเหมาะสม เมื่อหายป่วยค่อยกลับมากินแบบไว้ทุกข์ตามเดิม นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมนอนเฝ้าโลงและเฝ้าหลุมศพ (ฝ่ายหญิงไม่ต้อง) โดยมีหลายระดับที่แตกต่างสำหรับบ้านนอก เช่นเป็นเพิงธรรมดา ต่อมาล้อมผนังได้ เสริมผนังด้วยดิน ปรับปรุงเป็นกระท่อมหลังเล็กผนังฉาบขี้เถ้า (เรียกว่า เอ้อซึ / 垩室) ปูพื้นนอนได้ ห้ามนอนเตียงจนพ้นสองปี ฯลฯ ซึ่งธรรมเนียมเหล่านี้ผ่อนคลายไปตามยุคสมัย Storyฯ ของไม่ลงรายละเอียด แต่ไม่เปลี่ยนคือในช่วงเวลาไว้ทุกข์นี้ ห้ามจัดงานสังสรรค์รื่นเริง ห้ามจัดงานมงคล สามีภรรยาห้ามมีเพศสัมพันธ์กันและอาจถึงขนาดต้องแยกห้องนอน กินอยู่อย่างสมถะ ไม่แต่งหน้าแต่งตาใส่เครื่องประดับ ฯลฯ ในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> พระเอกต้องลาราชการไปไว้ทุกข์ให้พ่อที่บ้านเกิดถึงสามปี (ซึ่งก็คือยี่สิบเจ็ดเดือนตามที่อธิบายมาข้างต้น) เกณฑ์ปฏิบัตินี้เรียกว่า ‘ติงโยว’ (丁忧) ใช้สำหรับการไว้ทุกข์ให้พ่อของขุนนาง เป็นกฎเกณฑ์ที่มีมาแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นอันสืบเนื่องมาจากแนวคิดของขงจื๊อ ต่อมามีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัยจนหมายรวมถึงการไว้ทุกข์ให้แม่ด้วย ในช่วงติงโยวนี้ ผู้ที่ไว้ทุกข์อยู่ห้ามรับราชการ ห้ามสอบราชบัณฑิต เว้นแต่จะมีคำสั่งหรือพระราชโองการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ (เช่น ในระหว่างทำศึก) และต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ หากไม่แจ้งหรือโกหกจะมีโทษ ทั้งนี้ เพราะการไว้ทุกข์เป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูอันเป็นหนึ่งในจรรยาหลักที่พึงมีของข้าราชสำนัก แน่นอนว่าพิธีการ ธรรมเนียมปฏิบัติ และรายละเอียดขององค์ประกอบของชุดไว้ทุกข์มีรายละเอียดมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่ง Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าในเชิงลึกเพราะรายละเอียดเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน หากเพื่อนเพจท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เม้นท์เข้ามาเล่าสู่กันฟังได้ค่ะ สัปดาห์หน้าเรามาคุยต่อถึงการไว้ทุกข์ระดับอื่น ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการนับลำดับญาติด้วย ติดตามต่อในตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.sohu.com/a/790545230_121948376 https://kknews.cc/news/j5bqeq.html Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.thepaper.cn/baijiahao_12081296 https://ctext.org/yili/sang-fu/zhs https://ctext.org/wiki.pl?if=gb&chapter=880555&remap=gb https://baike.baidu.com/item/斩衰/1296602 https://baike.baidu.com/item/丧服制度/5983791 #องค์หญิงใหญ่ #ไว้ทุกข์จีน #อู่ฝู #ติงโยว #การลำดับญาติจีน #สาระจีน
    WWW.SOHU.COM
    度华年:了解裴文宣父亲对老婆好的方式 才懂前世驸马公主注定分离_李蓉跟_裴礼_事情
    裴礼之的家庭观就是, 身为丈夫就应当保护妻儿给她最好的生活,不管家里家外发生的事情都揽在了自己身上,所有的责任义务也都是自己一个人扛。 而这在李蓉看来,是你站在了我的对立面,是你不再要我,是你放弃了我们…
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 670 มุมมอง 0 รีวิว