• หัวหน้าฝ่ายวางแผนของรัฐบาลจีนเผย เศรษฐกิจจีนจะมีมูลค่าเกิน 140 ล้านล้านหยวน (19.5 ล้านล้านดอลลาร์) หรือประมาณ 636 ล้านล้านบาทในปีนี้ ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของจีนเตรียมแผนขับเคลื่อนประเทศหลังจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีปัจจุบันสิ้นสุดลงในช่วงปลายปี 2025

    จีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกกำลังเผชิญกับสงครามการค้าที่ยืดเยื้อกับสหรัฐฯ รวมไปถึงแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดที่ยังแก้ไม่ตก

    “เมื่อมองย้อนกลับไปที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 ความท้าทายที่เราเผชิญนั้นรุนแรงกว่าที่คาดไว้ แต่ความสำเร็จก็เกินความคาดหมาย” เจิ้ง ซานเจี๋ย (Zheng Shanjie) ประธานคณะกรรมการปฏิรูปและการพัฒนาแห่งชาติจีน ระบุในงานแถลงข่าว

    เจิ้ง ชี้ถึงความคืบหน้าที่เกิดขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี 2021–2025 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญๆ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ นวัตกรรมเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000064644

    #Thaitimes #MGROnline #เศรษฐกิจจีน
    หัวหน้าฝ่ายวางแผนของรัฐบาลจีนเผย เศรษฐกิจจีนจะมีมูลค่าเกิน 140 ล้านล้านหยวน (19.5 ล้านล้านดอลลาร์) หรือประมาณ 636 ล้านล้านบาทในปีนี้ ขณะที่ผู้กำหนดนโยบายของจีนเตรียมแผนขับเคลื่อนประเทศหลังจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีปัจจุบันสิ้นสุดลงในช่วงปลายปี 2025 • จีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกกำลังเผชิญกับสงครามการค้าที่ยืดเยื้อกับสหรัฐฯ รวมไปถึงแรงกดดันจากภาวะเงินฝืดที่ยังแก้ไม่ตก • “เมื่อมองย้อนกลับไปที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 ความท้าทายที่เราเผชิญนั้นรุนแรงกว่าที่คาดไว้ แต่ความสำเร็จก็เกินความคาดหมาย” เจิ้ง ซานเจี๋ย (Zheng Shanjie) ประธานคณะกรรมการปฏิรูปและการพัฒนาแห่งชาติจีน ระบุในงานแถลงข่าว • เจิ้ง ชี้ถึงความคืบหน้าที่เกิดขึ้นภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี 2021–2025 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ประเด็นสำคัญๆ เช่น การพัฒนาเศรษฐกิจ นวัตกรรมเทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนไปสู่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/around/detail/9680000064644 • #Thaitimes #MGROnline #เศรษฐกิจจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 126 มุมมอง 0 รีวิว
  • จับตา "การประชุมสองสภา 2025 " ในบริบทพลวัตด้านอำนาจของจีนที่เปลี่ยนไป #การประชุมสองสภา (Two sessions) กิจกรรมทางการเมืองซึ่งมีความสำคัญที่สุดในรอบปีของจีน จะเปิดฉากขึ้นด้วยการประชุมของ #สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน ( CPPCC ) ในวันอังคาร ( 4 มี.ค.) ตามด้วยการประชุม #สภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ในวันพุธ ( 5 มี.ค.)การประชุมสองสภาถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเฝ้าสังเกตการณ์แผนพัฒนาของจีน โดยในปีนี้จะมีการพิจารณาทบทวน #แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ( 2564-2568 ) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศต่อไปด้านนักวิเคราะห์มองว่า การประชุมสองสภาในปี 2568 เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทที่พลวัตหรือพลังการเคลื่อนไหวทางอำนาจ ( #power dynamics) ระหว่างสหรัฐฯกับจีนมีความแตกต่างไปอย่างมากจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งจีนประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาและเป็นช่วงรอยต่อระหว่างการสิ้นสุดวาระการบริหารประเทศของรัฐบาลประธานาธิบดี #โดนัลด์ ทรัมป์สมัยแรก การเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และการกลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยที่ 2 ของทรัมป์เมื่อเดือนมกราคมปีนี้แม้ทรัมป์และไบเดนขับเคี่ยวกันในทางการเมือง แต่ก็มีจุดยืนร่วมกันอย่างหนึ่งนั่นก็คือพยายามขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนทุกวิถีทาง สหรัฐฯ มีการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรและข้อจำกัดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลี่ เฉิง อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์จีนร่วมสมัยและโลกแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงมองว่า แม้ความท้าทายทางเศรษฐกิจภายในประเทศและแรงกดดันจากภายนอกกำลังรุมเร้าจีน แต่การเปลี่ยนแปลงอำนาจบนเวทีโลกไปในทิศทางที่เอื้อต่อจีนนั้นปรากฏชัดเจนยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา“ตะวันออกกำลังรุ่งเรือง และตะวันตกกำลังเสื่อมถอย” ตามที่ชาวจีนหลายคนเชื่อนั้นคือสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ในขณะนี้“จีนได้เปรียบตรงที่เน้นการพัฒนาในระยะยาวมากกว่าผลกำไรในระยะสั้น” อาจารย์เฉิงระบุตามรายงานเผยแพร่เมื่อปีที่แล้วของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ( Information Technology and Innovation Foundation) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในกรุงวอชิงตันนั้น ความพยายามที่ดำเนินมาหลายปีดูเหมือนว่าจะได้รับผลตอบแทนด้วยการที่จีนกลายเป็นผู้นำหรือคู่แข่งขันระดับโลกในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง 5 ภาคส่วน ได้แก่ หุ่นยนต์ พลังงานนิวเคลียร์ ยานยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์ควอนตัม นอกจากนี้จีนยังกำลังตามทันในอีก 4 ด้าน ได้แก่ สารเคมี เครื่องมือเครื่องจักร ยาชีวเภสัชภัณฑ์ ( biopharmaceuticals ) และเซมิคอนดักเตอร์อี้ว์ โจว อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีจีนประจำวิทยาลัยวาสซาร์ในสหรัฐฯ มองว่า การประกาศแผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีนเมื่อปี 2558 ทำให้ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีของจีนได้ก้าวไปไกลเกินกว่าที่ใครๆ เคยคาดคิด และเกินความคาดหวังของผู้วางแผนยุทธศาสตร์เองในตอนนั้นด้วยซ้ำนอกจากนี้ จีนยังเพิ่มการใช้อุปกรณ์ขั้นสูง เช่น โดรน เพื่อเร่งขับเคลื่อนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยและใช้จุดยืนที่กล้าแสดงออกมากขึ้นในการเผชิญหน้าทางทะเลกับสหรัฐฯจึงคาดกันว่า ความพยายามในการรับมือกับนโยบายของทรัมป์และการพยายามรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นวาระสำคัญในการประชุมสองสมัยครั้งนี้และด้วยบริบทของพลวัตทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่เปลี่ยนไป จึงน่าจับตามองว่า ที่ประชุมจะมีการตัดสินใจและการประกาศนโยบายอย่างใดบ้างการตั้งเป้าหมายจีดีพีเติบโตเป็นหนึ่งในการตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุด รวมถึงการประกาศมาตรการเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนการประกาศนโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์ ( เอไอ ) และนวัตกรรม นโยบายที่คาดว่าจะประกาศเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อชีวิตของชาวจีน 1,400 ล้านคนและส่งกระทบต่อต่างชาติด้วยอย่างแน่นอนที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ /โกลบอลไทมส์ภาพประกอบข่าว1 ภาพ : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์2 นักข่าวกำลังทำงานที่ศูนย์สื่อมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมสองสภาประจำปีของจีนที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 - ภาพ : ซินหัว
    จับตา "การประชุมสองสภา 2025 " ในบริบทพลวัตด้านอำนาจของจีนที่เปลี่ยนไป #การประชุมสองสภา (Two sessions) กิจกรรมทางการเมืองซึ่งมีความสำคัญที่สุดในรอบปีของจีน จะเปิดฉากขึ้นด้วยการประชุมของ #สภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งประชาชนจีน ( CPPCC ) ในวันอังคาร ( 4 มี.ค.) ตามด้วยการประชุม #สภาประชาชนแห่งชาติ (NPC) ในวันพุธ ( 5 มี.ค.)การประชุมสองสภาถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเฝ้าสังเกตการณ์แผนพัฒนาของจีน โดยในปีนี้จะมีการพิจารณาทบทวน #แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปีฉบับที่ 14 ( 2564-2568 ) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายของประเทศต่อไปด้านนักวิเคราะห์มองว่า การประชุมสองสภาในปี 2568 เกิดขึ้นท่ามกลางบริบทที่พลวัตหรือพลังการเคลื่อนไหวทางอำนาจ ( #power dynamics) ระหว่างสหรัฐฯกับจีนมีความแตกต่างไปอย่างมากจากเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งจีนประกาศยุทธศาสตร์การพัฒนาและเป็นช่วงรอยต่อระหว่างการสิ้นสุดวาระการบริหารประเทศของรัฐบาลประธานาธิบดี #โดนัลด์ ทรัมป์สมัยแรก การเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และการกลับมารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯสมัยที่ 2 ของทรัมป์เมื่อเดือนมกราคมปีนี้แม้ทรัมป์และไบเดนขับเคี่ยวกันในทางการเมือง แต่ก็มีจุดยืนร่วมกันอย่างหนึ่งนั่นก็คือพยายามขัดขวางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของจีนทุกวิถีทาง สหรัฐฯ มีการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรและข้อจำกัดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนต่อจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลี่ เฉิง อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และผู้อำนวยการก่อตั้งศูนย์จีนร่วมสมัยและโลกแห่งมหาวิทยาลัยฮ่องกงมองว่า แม้ความท้าทายทางเศรษฐกิจภายในประเทศและแรงกดดันจากภายนอกกำลังรุมเร้าจีน แต่การเปลี่ยนแปลงอำนาจบนเวทีโลกไปในทิศทางที่เอื้อต่อจีนนั้นปรากฏชัดเจนยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา“ตะวันออกกำลังรุ่งเรือง และตะวันตกกำลังเสื่อมถอย” ตามที่ชาวจีนหลายคนเชื่อนั้นคือสิ่งที่เรากำลังเห็นอยู่ในขณะนี้“จีนได้เปรียบตรงที่เน้นการพัฒนาในระยะยาวมากกว่าผลกำไรในระยะสั้น” อาจารย์เฉิงระบุตามรายงานเผยแพร่เมื่อปีที่แล้วของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม ( Information Technology and Innovation Foundation) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองในกรุงวอชิงตันนั้น ความพยายามที่ดำเนินมาหลายปีดูเหมือนว่าจะได้รับผลตอบแทนด้วยการที่จีนกลายเป็นผู้นำหรือคู่แข่งขันระดับโลกในด้านเทคโนโลยีขั้นสูง 5 ภาคส่วน ได้แก่ หุ่นยนต์ พลังงานนิวเคลียร์ ยานยนต์ไฟฟ้า ปัญญาประดิษฐ์ และคอมพิวเตอร์ควอนตัม นอกจากนี้จีนยังกำลังตามทันในอีก 4 ด้าน ได้แก่ สารเคมี เครื่องมือเครื่องจักร ยาชีวเภสัชภัณฑ์ ( biopharmaceuticals ) และเซมิคอนดักเตอร์อี้ว์ โจว อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกาภิวัตน์และเทคโนโลยีจีนประจำวิทยาลัยวาสซาร์ในสหรัฐฯ มองว่า การประกาศแผนยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ของจีนเมื่อปี 2558 ทำให้ความสำเร็จด้านเทคโนโลยีของจีนได้ก้าวไปไกลเกินกว่าที่ใครๆ เคยคาดคิด และเกินความคาดหวังของผู้วางแผนยุทธศาสตร์เองในตอนนั้นด้วยซ้ำนอกจากนี้ จีนยังเพิ่มการใช้อุปกรณ์ขั้นสูง เช่น โดรน เพื่อเร่งขับเคลื่อนการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัยและใช้จุดยืนที่กล้าแสดงออกมากขึ้นในการเผชิญหน้าทางทะเลกับสหรัฐฯจึงคาดกันว่า ความพยายามในการรับมือกับนโยบายของทรัมป์และการพยายามรักษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีให้เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ จะเป็นวาระสำคัญในการประชุมสองสมัยครั้งนี้และด้วยบริบทของพลวัตทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯกับจีนที่เปลี่ยนไป จึงน่าจับตามองว่า ที่ประชุมจะมีการตัดสินใจและการประกาศนโยบายอย่างใดบ้างการตั้งเป้าหมายจีดีพีเติบโตเป็นหนึ่งในการตั้งเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ถูกจับตามองมากที่สุด รวมถึงการประกาศมาตรการเชิงนโยบายของรัฐบาลที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอดจนการประกาศนโยบายด้านต่างประเทศ นโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์ ( เอไอ ) และนวัตกรรม นโยบายที่คาดว่าจะประกาศเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อชีวิตของชาวจีน 1,400 ล้านคนและส่งกระทบต่อต่างชาติด้วยอย่างแน่นอนที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ /โกลบอลไทมส์ภาพประกอบข่าว1 ภาพ : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์2 นักข่าวกำลังทำงานที่ศูนย์สื่อมวลชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมสองสภาประจำปีของจีนที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2568 - ภาพ : ซินหัว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1056 มุมมอง 0 รีวิว