• ยูเครนสูญเสียการผลิตก๊าซไปถึง 40% จากการโจมตีของรัสเซีย

    ▪️ ขณะนี้เคียฟจะต้องนำเข้าก๊าซมากถึง 800 ล้านลูกบาศก์เมตรจากยุโรปในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม และก่อนจะถึงฤดูหนาวหน้า ประเทศจำเป็นต้องสะสมก๊าซประมาณ 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
    “จริงๆแล้วเราอาจอยู่ได้โดยไม่ต้องนำเข้าก๊าซในช่วงฤดูร้อนนี้ แต่การโจมตีของรัสเซียไปที่โรงงานผลิต ทำให้เราต้องพิจารณานำเข้าก๊าซเพื่อชดเชยการสูญเสียกำลังการผลิตในประเทศ” แหล่งข่าวกล่าว

    ▪️ ยูเครนเริ่มเพิ่มการนำเข้าก๊าซในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปริมาณการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า และเกิน 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

    ▪️ จากวิดีโอ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ กองทัพรัสเซียเพิ่งโจมตีโรงงานแปรรูปก๊าซ Gnedintsevsky ที่ใหญ่ที่สุดในยูเครน ในภูมิภาคเชอร์นิฮิฟ (Chernihiv)
    ยูเครนสูญเสียการผลิตก๊าซไปถึง 40% จากการโจมตีของรัสเซีย ▪️ ขณะนี้เคียฟจะต้องนำเข้าก๊าซมากถึง 800 ล้านลูกบาศก์เมตรจากยุโรปในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม และก่อนจะถึงฤดูหนาวหน้า ประเทศจำเป็นต้องสะสมก๊าซประมาณ 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร “จริงๆแล้วเราอาจอยู่ได้โดยไม่ต้องนำเข้าก๊าซในช่วงฤดูร้อนนี้ แต่การโจมตีของรัสเซียไปที่โรงงานผลิต ทำให้เราต้องพิจารณานำเข้าก๊าซเพื่อชดเชยการสูญเสียกำลังการผลิตในประเทศ” แหล่งข่าวกล่าว ▪️ ยูเครนเริ่มเพิ่มการนำเข้าก๊าซในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปริมาณการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า และเกิน 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ▪️ จากวิดีโอ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ กองทัพรัสเซียเพิ่งโจมตีโรงงานแปรรูปก๊าซ Gnedintsevsky ที่ใหญ่ที่สุดในยูเครน ในภูมิภาคเชอร์นิฮิฟ (Chernihiv)
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 219 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประชาชนชาวยูเครนมากกว่า 20 คน!! นัดรวมตัวกัน เพื่อมาร่วมชุมนุมประท้วงโดนัลด์ ทรัมป์ ที่หน้าสถานทูตสหรัฐกลางเมืองเคียฟ

    หลังจากทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีเป็นเผด็จการ และยังล้อเลียนว่าเป็นเพียงนักแสดงตัวตลกที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเพียงเล็กน้อย สร้างความไม่พอใจให้กับชาวยูเครนที่สนับสนุนเซเลนสกีอย่างมาก
    ประชาชนชาวยูเครนมากกว่า 20 คน!! นัดรวมตัวกัน เพื่อมาร่วมชุมนุมประท้วงโดนัลด์ ทรัมป์ ที่หน้าสถานทูตสหรัฐกลางเมืองเคียฟ หลังจากทรัมป์กล่าวหาเซเลนสกีเป็นเผด็จการ และยังล้อเลียนว่าเป็นเพียงนักแสดงตัวตลกที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเพียงเล็กน้อย สร้างความไม่พอใจให้กับชาวยูเครนที่สนับสนุนเซเลนสกีอย่างมาก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 362 มุมมอง 23 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1792 มุมมอง 0 รีวิว
  • รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์

    เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง
    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง

    แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น"

    คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว

    "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว

    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social
    "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์
    เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

    แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ

    "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ

    "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน"

    เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย

    เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO

    https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Vance เตือนเซเรนสกี้จะต้องเสียใจ หาก"ปากเสีย"ใส่ทรัมป์ เจดี แวนซ์เตือนเซเลนสกีว่าอย่าพูดโจมตีทรัมป์ ชี้การ "ปากเสีย" ต่อหน้าจะย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ ได้เตือนประธานาธิบดียูเครนว่าอย่าโจมตีประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยกล่าวว่าการ "พูดให้ร้าย" ต่อสาธารณะจะส่งผลเสียกลับมาหาตัวเอง แวนซ์ให้สัมภาษณ์กับ DailyMail.com ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่ประธานาธิบดีโวโลดีมีร์ เซเลนสกี ของยูเครน กล่าวหาว่าทรัมป์กำลังตกอยู่ใน "แวดวงข่าวปลอมที่รัสเซียสร้างขึ้น" คำพูดที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญของสงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ขณะที่ทรัมป์ผลักดันให้มีการยุติสงครามโดยเร็ว "ความคิดที่ว่าเซเลนสกีจะสามารถเปลี่ยนใจประธานาธิบดีทรัมป์ได้ด้วยการปากเสียใส่เขาผ่านสื่อสาธารณะ—ทุกคนที่รู้จักประธานาธิบดีจะบอกคุณว่านั่นเป็นวิธีที่เลวร้ายมากในการจัดการกับรัฐบาลชุดนี้" แวนซ์กล่าวระหว่างการสัมภาษณ์พิเศษที่สำนักงานของเขาในทำเนียบขาว ขณะเดียวกัน ทรัมป์ก็ออกมาโจมตีเซเลนสกีผ่านแพลตฟอร์ม Truth Social "เผด็จการที่ไม่มีการเลือกตั้ง เซเลนสกีควรเร่งมือให้ไว ไม่อย่างนั้นเขาอาจไม่มีประเทศเหลืออีกต่อไป" ทรัมป์โพสต์ เหตุการณ์นี้ถือเป็นการล่มสลายของความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและเคียฟอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แวนซ์กล่าวว่า เซเลนสกีได้รับ "คำแนะนำที่ผิดพลาด" เกี่ยวกับวิธีจัดการกับรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดใหม่ และในช่วงสามปีที่ผ่านมา เขาถูกทำให้เชื่อว่าเขาจะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีผลกระทบ "แน่นอนว่าเรารักประชาชนชาวยูเครน เราชื่นชมความกล้าหาญของทหารยูเครน แต่เราก็เห็นว่าสงครามนี้จำเป็นต้องจบลงโดยเร็ว" แวนซ์กล่าวต่อ "นี่คือแนวทางของประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา มันไม่ได้อิงอยู่กับข่าวลวงของรัสเซีย แต่มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าโดนัลด์ ทรัมป์ มีความรู้เกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์มาก และมีมุมมองที่ชัดเจนมาเป็นเวลานาน" เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์ได้เริ่มต้นความพยายามผลักดันสันติภาพครั้งใหม่ผ่านการพูดคุยทางโทรศัพท์เป็นเวลา 90 นาที กับประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในเคียฟ เนื่องจากมีความกังวลว่ายูเครนอาจถูกกันออกจากข้อตกลง ขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เริ่มวางแนวทางเบื้องต้น ซึ่งรวมถึงการเสนอว่ายูเครนอาจไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วม NATO https://web.facebook.com/share/p/161bqe2t3S/
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
  • เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน'

    โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย

    - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน
    .
    - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว
    .
    - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่
    .
    - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้”
    .
    - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร
    .
    - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว”
    .
    - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา"
    .
    - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว”
    .
    - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม
    .
    - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ
    .
    - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว
    -------
    CNN
    เซเลนสกี้กล่าวว่าทรัมป์อาศัยอยู่บน 'พื้นที่ข้อมูลบิดเบือน' โวโลดิมีร์ เซเลนสกี กล่าวหาโดนัลด์ ทรัมป์ว่าให้ข้อมูลเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า หนึ่งวันหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวหายูเครนอย่างเท็จว่าเริ่มสงครามกับรัสเซีย - ความคิดเห็นของเซเลนสกี้ เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่กำลังก่อตัวเป็นการแลกเปลี่ยนข้อกล่าวหาต่อสาธารณะมากที่สุดระหว่างเคียฟและวอชิงตัน นับตั้งแต่สงครามเต็มรูปแบบเริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . - เมื่อพูดคุยกับผู้สื่อข่าวในกรุงเคียฟ เซเลนสกีได้โต้แย้งคำกล่าวอ้างที่ไม่มีมูลความจริงหลายกรณีที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวเมื่อวันอังคาร ขณะเดียวกันก็ย้ำจุดยืนของยูเครนว่าข้อตกลงยุติสงครามต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากยูเครน . - “น่าเสียดายที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ผมเคารพเขามากในฐานะผู้นำของประเทศที่เราเคารพนับถืออย่างยิ่ง ประชาชนชาวอเมริกันที่สนับสนุนเราเสมอ น่าเสียดายที่เขาต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่แห่งข้อมูลบิดเบือน” เซเลนสกีกล่าว . - เจ้าหน้าที่ของสหรัฐฯ และรัสเซียได้จัดการเจรจาระดับสูงเพื่อยุติสงครามในยูเครน ณ กรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เมื่อวันอังคาร โดยการประชุมครั้งนี้ไม่ได้จัดขึ้นที่กรุงเคียฟ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องแต่งตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อเจรจายุติสงคราม และกล่าวว่าพวกเขากำลังดำเนินการเพื่อสร้างช่องทางการทูตขึ้นใหม่ . - เซเลนสกีกล่าวว่า แม้ประเทศใดๆ ก็มีสิทธิที่จะหารือเรื่องปัญหาทวิภาคีกับซาอุดีอาระเบีย แต่ข้อเท็จจริงที่ว่าสหรัฐฯ จัดการเจรจาโดยตรงกับรัสเซียนั้น “ช่วยให้ปูตินพ้นจากความโดดเดี่ยวอันยาวนานได้” . - การร้องเรียนของเคียฟเรื่องการถูกปิดกั้นไม่ให้เข้าร่วมการเจรจาเป็นชนวนให้ทรัมป์ออกมาโจมตีด้วยความเท็จในวันอังคาร . - ทรัมป์กล่าวเมื่อช่วงดึกของวันอังคารว่า “วันนี้ผมได้ยินว่า ‘โอ้ เราไม่ได้รับเชิญเลย คุณอยู่ที่นั่นมาสามปีแล้ว คุณควรยุติเรื่องนี้หลังจากสามปี คุณไม่ควรเริ่มเรื่องนี้เลย คุณควรทำข้อตกลงได้แล้ว” . - ความคิดเห็นของทรัมป์ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในกรุงมอสโก โดยที่รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เซอร์เกย์ ลาฟรอฟ ชื่นชมประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่สะท้อนคำพูดของเครมลิน และกล่าวต่อรัฐสภารัสเซีย หรือดูมา ว่าทรัมป์ดูเหมือนจะ "เข้าใจจุดยืนของพวกเรา" . - “ผมคิดว่าทรัมป์เป็นผู้นำตะวันตกคนแรกที่ออกมาพูดต่อสาธารณะว่าสาเหตุของความขัดแย้งในยูเครนคือความพยายามของรัฐบาลชุดก่อนที่จะขยายนาโต” ลาฟรอฟกล่าวกับสมาชิกรัฐสภาเมื่อวันพุธ “ไม่มีผู้นำตะวันตกคนใดเคยพูดแบบนั้นมาก่อน ดังนั้น นั่นจึงเป็นสัญญาณว่าเขาเข้าใจจุดยืนของเราแล้ว” . - รัสเซียโต้แย้งมานานแล้วว่าการขยายตัวของนาโต้ไปทางตะวันออกทำให้ความมั่นคงของประเทศตกอยู่ในอันตราย โดยผู้นำนาโต้สัญญากับรัสเซียว่าพันธมิตรป้องกันประเทศจะไม่ขยายตัวหลังจากสงครามเย็นสิ้นสุดลง นาโต้มีนโยบายเปิดประตูต้อนรับรัฐในยุโรปทุกรัฐให้เข้าร่วมตราบใดที่รัฐเหล่านั้นตรงตามเกณฑ์การเข้าร่วม . - แต่ทรัมป์ไม่ได้หยุดเพียงแค่ตั้งคำถามว่าใครเป็นคนเริ่มสงครามในยูเครน โดยทรัมป์ยังคงตั้งคำถามถึงความชอบธรรมของเซเลนสกี โดยเขาพูดซ้ำแนวทางที่เครมลินมักจะเสนออยู่เสมอ . - เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เซเลนสกีระบุโดยเฉพาะว่าการอ้างว่าคะแนนนิยมของเขาอยู่ที่ 4% มาจากรัสเซีย และเคียฟก็มีหลักฐานบางอย่างที่บ่งชี้ว่าตัวเลขดังกล่าวได้รับการหารือกันระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียแล้ว ------- CNN
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 289 มุมมอง 0 รีวิว
  • คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประจำยูเครน เดินทางมาถึงกรุงเคียฟเพื่อหารือกับเซเลนสกี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลังจากการเจรจาระหว่างสหรัฐกับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อวานนี้

    เคลล็อกก์ กล่าวว่าการมาครั้งนี้เพื่อรับฟังทุกสิ่งเกี่ยวกับยูเครน ก่อนจะสรุปให้ทรัมป์ทราบถึงขั้นตอนต่อไป
    คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ประจำยูเครน เดินทางมาถึงกรุงเคียฟเพื่อหารือกับเซเลนสกี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลังจากการเจรจาระหว่างสหรัฐกับรัสเซียที่ซาอุดีอาระเบียเมื่อวานนี้ เคลล็อกก์ กล่าวว่าการมาครั้งนี้เพื่อรับฟังทุกสิ่งเกี่ยวกับยูเครน ก่อนจะสรุปให้ทรัมป์ทราบถึงขั้นตอนต่อไป
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 232 มุมมอง 16 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก
    .
    ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022
    .
    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ
    .
    "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน"
    .
    พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่
    .
    คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50%
    .
    ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72%
    .
    ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บ่งชี้ว่ายูเครนอาจจำเป็นต้องจัดเลือกตั้งใหม่ และเน้นย้ำว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำโดยพฤตินัยของเคียฟในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมนัก . ทรัมป์ แสดงความคิดเห็นไม่กี่ชั่วโมงหลังจากคณะผู้เจรจาของสหรัฐฯและรัสเซีย พบปะกันในกรุงริยาด เมืองหลวงของซาอุดีอาระเบีย เพื่อหารือถึงแนวทางต่างๆในการยุติความขัดแย้งในยูเครน มันถือเป็นการพูดคุยกัยครั้งแรกนับตั้งแต่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำอเมริกาคนก่อนหน้าทรัมป์ ระงับการติดต่อทั้งหมดกับมอสโกในปี 2022 . ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เน้นย้ำมาตลอดว่ามอสโกมองว่า เซเลนสกี ไม่มีความชอบธรรมทางกฎหมายมานานแล้ว สืบเนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปีของเขา สิ้นสุดลงไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2024 และจนถึงตอนนี้ยังไม่มีการจัดเลือกตั้งใหม่ ก็เพราะกฎอัยการศึกที่ประกาศโดยเซเลนสกี . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในวันอังคาร(18ก.พ.) ทรัมป์เน้นย้ำว่าเซเลนสกี ไม่เป็นที่นิยมอย่างมากภายในประเทศของตนเอง "ผู้นำในยูเครน ผมไม่อยากพูดเลยว่า เขามีคะแนนนิยมลดต่ำอยู่แค่ระดับ 4%" ทรัมป์ระบุ . "ตอนที่พวกเขาบอกว่าต้องการเก้าอี้ในโต๊ะเจรจา คุณอาจพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชาวยูเครน มันนานมาแล้วนับตั้งแต่เรามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์เน้นย้ำ "มันไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากผม และออกมาจากประเทศอื่นๆหลายชาติเช่นกัน" . พวกเจ้าที่ยูเครนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการเลือกตั้งใหม่ในระหว่างที่ความขัดแย้งกับรัสเซียยังคงดำเนินอยู่ . คะแนนิยมของเซเลนสกี พุ่งทะลุฟ้าแตะระดับ 90% ในช่วงเดือนแรกๆของความขัดแย้งในปี 2022 แต่นับตั้งแต่นั้นก็ร่วลงสู่ระดับ 50% . ตามหลังความพ่ายแพ้อย่างต่อเนื่องในสมรภูมิรบและปัญหารื้อรังในด้านเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว สื่อมวลชนยูเครนอ้างผลสำรวจของสำนักโพล Socis poll พบว่าเหลือชาวยูเครนแค่ 40% ที่ยังคงเชื่อมั่นในเซเลนสกี ผิดกับ วาเลรี ซาลูซนีย์ อดีตนายพลแห่งกองทัพยูเครน ที่เวลานี้เป็นเอกอัครราชทูตประจำลอนดอน ที่ได้รับความเชื่อมั่นเกือบๆ 72% . ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกวังเครมลินบอกในวันอังคาร(18ก.พ.) ว่า ปูติน เปิดกว้างที่จะเจรจากับ เซเลนสกี แต่ก็ต่อเมื่อประเด็นเกี่ยวกับความชอบธรรมของผู้นำยูเครนได้รับการคลี่คลายแล้วเท่านั้น . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016369 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1808 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย
    .
    ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
    .
    ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี
    .
    "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว
    .
    "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน"
    .
    เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม
    .
    การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก
    .
    นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย
    .
    ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน
    .
    "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว"
    .
    การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก
    .
    ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย
    .
    แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก
    .
    เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน วิพากษ์วิจารณ์การเจรจาระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซีย ที่กีดกันไม่ให้เคียฟเข้าร่วม ระบุความพยายามยุติสงครามต้อง "ยุติธรรม" และบรรดาประเทศยุโรป ในนั้นรวมถึงตุรกี ควรมีส่วนร่วมด้วย . ความเห็นของเขามีขึ้นหลังจากวอชิงตันและมอสโก เผยว่าพวกเขาจะเปิดเผยชื่อคณะทำงานสำหรับเจรจาเส้นทางสู่การยุติสงครามในยูเครน ระหว่างการเจรจาอย่างเป็นทางการระดับสูงครั้งแรกของทั้ง 2 ฝ่าย นับตั้งแต่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน . ความเห็นอันเดือดดาลของผู้นำยูเครน มีขึ้นหลังจากเขาได้พบปะกับประธานาธิบดี เรเจป ตัยยิบ แอร์โดอัน แห่งตุรกี เป็นเวลาเกือบ 3 ชั่วโมง ในกรุงอังการา เมืองหลวงของตุรกี . "ยูเครนและยุโรปในสามัญสำนักอย่างกว้างๆ และนี่รวมถึงสหภาพยุโรป ตุรกีและสหราชอาณาจักร ควรมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนทนาและก่อรูปร่างมาตรการรับประกันความมั่นคงที่จำเป็นร่วมกับอเมริกา ในเรื่องเกี่ยวกับชะตากรรมของเรา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลก" เซเลนสกีกล่าว . "ความพยายามเป็นคนกลางใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง ควรเป็นไปอย่างยุติธรรม" เขากล่าว ประณามเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และรัสเซีย ในริยาด ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (18 ก.พ.) และเน้นย้ำจุดยืนคัดค้าน "การพูดคุยใดๆ ที่ปราศจากยูเครน เกี่ยวกับแนวทางยุติสงครามในยูเครน" . เซเลนสกีเผยว่าเขาไม่ได้รับเชิญให้ร่วมเจรจาในริยาด และตัดสินใจเลื่อนโปรแกรมเดินทางเยือนเมืองหลวงของซาดุอีอาระเบีย จากเดิมที่คาดหมายว่าจะมีขึ้นในวันพุธ (19 ก.พ.) ไปเป็นวันที่ 10 มีนาคม . การยกเครื่องนโยบายเกี่ยวกับรัสเซียของทรัมป์ โหมกระพือความกังวลว่าวอชิงตันกำลังเตรียมการบีบเคียฟให้ยอมเจรจาต่อรองบนเงื่อนไขของมอสโก . นอกเหนือจากการเจรจาในริยาดแล้ว ความกังวลนี้มีมากขึ้นไปอีก เมื่อ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ และ เซอร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย พบปะหารือกันในประเด็นความมั่นคงยุโรปและยูเครน โดยไม่มีตัวแทนใดๆ จากเคียฟหรือบรัสเซลส์เข้าร่วมด้วย . ในส่วนของแอร์โดอัน ที่ยืนอยู่ข้างๆ เซเลนสกี ระหว่างแถลงข่าว ได้เสนอให้ตุรกีเป็นเจ้าภาพการเจรจาใดๆ ในการยุติความขัดแย้ง โดยย้อนให้นึกถึงครั้งที่ทั้ง 2 ฝ่าย พบปะกันในอิสตุนบูลในปี 2022 ไม่กี่สัปดาห์หลังรัสเซียรุกรานยูเครน . "ตุรกีจะเป็นเจ้าภาพในอุดมคติสำหรับความเป็นไปได้ในการเจรจาใดๆ ระหว่างรัสเซีย ยูเครนและอเมริกา ในอนาคตอันใกล้นี้" เขากล่าว พร้อมบอกว่าการเจรจาในอิสตันบูล "เป็นจุดอ้างอิงที่สำคัญและเป็นแพลตฟอร์มที่ฝ่ายต่างๆ เฉียดใกล้ได้ข้อตกลงหนึ่งมากที่สุดแล้ว" . การเดินทางครั้งนี้ของเซเลนสกี ถือเป็นครั้งที่ 3 แล้วที่เขาเดินทางเยือนตุรกี นับตั้งแต่รัสเซียรุกราน โดยคราวนี้เกิดขึ้นในขณะที่เขาพยายามค้ำยันสถานะของเคียฟ ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เอื้อมมือเข้าหามอสโก . ตุรกี ซึ่งเป็นชาติสมาชิกนาโต หาทางคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดีกับ 2 ชาติเพื่อนบ้านคู่สงครามทะเลดำ โดยที่แอร์โดอัน วางสถานะของตนเองในฐานะคนกลางและผู้สร้างสันติระหว่าง 2 ฝ่าย . แม้อังการาจะมอบโดรนแก่ยูเครน แต่ขณะเดียวกัน พวกเขาก็เพิกเฉยปลีกตัวออกต่างจากมาตรการคว่ำบาตรที่นำโดยตะวันตก ที่กำหนดเล่นงานมอสโก . เช่นเดียวกับซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทางตุรกีเล่นบทบาทสำคัญในการเป็นคนกลางแลกเปลี่ยนเชลยศึกหลายรายระหว่างรัสเซียกับยูเครน ข้อตกลงนี้พบเห็นนักโทษหลายร้อยคนถูกปล่อยตัวกลับมาตุภูมิ แม้ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016367 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1833 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย
    .
    ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก
    .
    ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย
    .
    รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว
    .
    การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า
    .
    ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา
    .
    “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน”
    .
    ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง
    .
    ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์
    .
    ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่
    .
    บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย
    .
    การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย
    .
    การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา
    .
    เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ
    .
    โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น
    .
    รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ
    .
    คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน
    .
    ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น
    .
    บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง
    .
    ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ กับรัสเซียเห็นพ้องกันที่จะเริ่มต้นทำงานเพื่อยุติสงครามในยูเครน และปรับปรุงสายสัมพันธ์ทางการทูตและทางเศรษฐกิจระหว่างกัน รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ระบุภายหลังการเจรจากันของคณะผู้แทนสหรัฐฯ ที่นำโดยตัวเขา กับคณะของรัสเซียซึ่งมีรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ เป็นผู้นำ ที่กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยที่ไม่มีตัวแทนจากยูเครนหรือทางยุโรปเข้าร่วมด้วย . ในการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีภายหลังการเจรจากับฝ่ายรัสเซีย รูบิโอกล่าวว่าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงกันอย่างกว้างๆ ที่จะมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ การหวนคืนในเรื่องการให้เจ้าหน้าที่ของแต่ละฝ่ายได้กลับเข้าประจำทำงานในสถานเอกอัครราชทูตของกันและกันในกรุงวอชิงตันและกรุงมอสโก การก่อตั้งทีมงานระดับสูงเพื่อสนับสนุนการเจรจาสันติภาพยูเครน และการสำรวจลู่ทางเพื่อให้มีความสัมพันธ์และความร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น . อย่างไรก็ดี เขาย้ำว่า การพูดจาคราวนี้ถือเป็นหลักหมายของการเริ่มต้นสนทนากัน และยังจำเป็นจะต้องทำงานกันต่อไปอีกมาก . ทั้งนี้ สายสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับรัสเซียได้ตกลงมาสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปีระหว่างที่เกิดสงครามในยูเครน โดยที่สถานเอกอัครราชทูตของแต่ละฝ่ายซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของอีกฝ่ายหนึ่ง ต่างได้รับความกระทบกระเทือนหนักจากการที่ต่างฝ่ายต่างสั่งขับไล่นักการทูตของกันและกันเป็นจำนวนมากหลายๆ ระลอกในช่วงหลายๆ ปีที่ผ่านมา และจากการที่สหรัฐฯ จับมือกับยุโรปในการประกาศใช้มาตรการแซงก์ชันด้านต่างๆ กับรัสเซีย . รูบิโอ ยังกล่าวแสดงความหวังให้การสู้รบขัดแย้งในยูเครนเดินเข้าสู่จุดจบที่สามารถยอมรับกันได้ และสหรัฐฯ กับรัสเซียจะมีโอกาสอันน่าเชื่อถือที่จะจับมือกันในทางภูมิรัฐศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนในทางเศรษฐกิจด้วยประเด็นซึ่งจะเป็นผลดีต่อโลกและก็จะปรับปรุงความสัมพันธ์ของสองประเทศในระยะยาว . การหารือในวันอังคารคราวนี้ ยังมุ่งหมายที่จะแผ้วถางทางให้แก่การประชุมซัมมิตระหว่างประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ทว่าภายหลังการเจรจาสิ้นสุดลง ยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการต่างประเทศของปูติน ซึ่งอยู่ในคณะของฝ่ายรัสเซีย บอกกับสถานีโทรทัศน์แชนเนลวัน ของรัสเซียว่า ยังไม่มีการกำหนดวันแน่นอนสำหรับซัมมิตดังที่ว่านี้ และ “ไม่น่าเป็นไปได้” ที่จะเกิดขึ้นมาในสัปดาห์หน้า . ในส่วนของ ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย เขากล่าวกับพวกผู้สื่อข่าวหลังการหารือว่า “การสนทนากันคราวนี้เป็นประโยชน์มาก” โดยที่เขาอ้างอิงถึงเป้าหมาย 3 ประการเช่นเดียวกับที่รูบิโอพูด และบอกว่าวอชิงตันกับมอสโกตกลงกันที่จะแต่งตั้งคณะตัวแทนที่จะดำเนินการ “การปรึกษาหารืออย่างเป็นประจำ” ในเรื่องยูเครนขึ้นมา . “เราไม่เพียงแค่รับฟัง แต่ยังได้ยินกันและกันอีกด้วย” ลาฟรอฟบอก “และผมมีเหตุผลที่จะเชื่อว่าฝ่ายอเมริกันได้เริ่มต้นที่จะเข้าอกเข้าใจจุดยืนของเราดีขึ้นแล้ว ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูดสรุปโดยมีการลงรายละเอียด ใช้ตัวอย่างเฉพาะเจาะจงต่างๆ โดยยึดโยงอยู่กับคำปราศรัยครั้งแล้วครั้งเล่าของประธานาธิบดีปูติน” . ก่อนหน้าการเจรจาคราวนี้ ทั้งสองฝ่ายดูจะมีความพยายามเน้นย้ำไมให้เกิดการตั้งความหวังมากจนเกินความเป็นจริง . ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงเมื่อวันจันทร์ (17 ก.พ.) ว่า การหารือคราวนี้มุ่งเน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโกเป็นหลัก ตลอดจนถึงการเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับยูเครน และการจัดเตรียมการประชุมสุดยอดระหว่างประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน และประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ . ส่วน แทมมี บรูซ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า การประชุมที่ซาอุดีอาระเบียมีเป้าหมายในการพิจารณาว่า รัสเซียจริงจังกับข้อตกลงสันติภาพแค่ไหน และจะเริ่มต้นการเจรจาอย่างละเอียดได้หรือไม่ . บรูซเสริมว่า แม้ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมการหารือในวันอังคาร แต่การเจรจาสันติภาพที่แท้จริงจะต้องมีเคียฟร่วมวงด้วย . การเจรจาคราวนี้จัดขึ้นที่ที่พระราชวังดิริยาห์ในกรุงริยาด โดยคณะของฝ่ายของสหรัฐฯ นอกจากรัฐมนตรีต่างประเทาศรูบิโอ แล้ว ยังมี ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลาง ขณะที่ฝ่ายรัสเซีย ได้แก่ เซียร์เก ลาฟรอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยอาวุโสของปูติน . รายงานข่าวระบุว่า การหารือเริ่มต้นขึ้นโดยไม่มีการจับมือหรือการแถลงใดๆ แต่มีเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาร์ฮัน และมูซาอัด บิน โมฮัมหมัด อัล-ไอบาน รัฐมนตรีต่างประเทศและที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของซาอุดีอาระเบียตามลำดับร่วมอยู่ด้วย . การหารือครั้งนี้ถือเป็นการหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสองชาติครั้งแรกนับจากที่รัสเซียบุกยูเครน และยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศครั้งใหญ่ของอเมริกา . เปสคอฟแถลงเมื่อวันอังคารระหว่างที่การหารือในริยาดดำเนินอยู่ว่า การแก้ไขวิกฤตยูเครนอย่างยั่งยืนไม่มีทางเป็นไปได้หากไม่พิจารณาสถานการณ์ความมั่นคงของยุโรป และสำทับว่า ยูเครนมีสิทธิอธิปไตยในการเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป แต่รัสเซียคัดค้านการเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ของเคียฟ . โฆษกเครมลินเสริมว่า ปูตินพร้อมคุยกับเซเลนสกีถ้าจำเป็น . รัสเซียยังระบุก่อนการหารือว่า ปูตินและทรัมป์ต้องการออกจาก “ความสัมพันธ์ที่ผิดปกติ” และไม่เห็นความจำเป็นที่ยุโรปจะต้องร่วมเจรจาใดๆ . คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจและประธานกองทุนการลงทุนโดยตรงของรัสเซีย ให้สัมภาษณ์สถานีทีวีของทางการรัสเซียเมื่อวันอังคารว่า เขาคาดหวังว่า จะมีความคืบหน้าภายในเวลา 2-3 เดือน . ในส่วนความคืบหน้าที่อาจนำไปสู่ข้อตกลงหยุดยิงในยูเครนนั้นยังไม่มีความชัดเจน โดยทั้งอเมริกาและรัสเซียต่างออกตัวว่า การหารือในวันอังคารเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่ยาวนานเท่านั้น . บรูซ โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า การหารือที่ริยาดไม่ควรถูกคาดหวังว่า จะมีรายละเอียดหรือมีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเจรจาหยุดยิง . ขณะที่อูชาคอฟให้สัมภาษณ์สื่อของทางการรัสเซียว่า การพูดคุยในวันอังคารเป็นเพียงการหารือถึงวิธีเริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016365 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1861 มุมมอง 0 รีวิว
  • พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1826 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่าเซเลนสกีได้ยกเลิกการเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบียอย่างกะทันหัน โดยเขาจะเดินทางออกจากกรุงอังการา ประเทศตุรกี เพื่อกลับเคียฟทันที

    หลังจากทราบว่าการเจรจาระหว่างจากรัสเซียสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นลง ไม่มีท่าทีเชิญให้เขาเข้าร่วมอีกครั้ง

    “เราไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับเรา ผมไม่ชอบเรื่องบังเอิญ ดังนั้น ผมคิดว่าจะไม่ไปซาอุดีอาระเบีย” เซเลนสกีกล่าวระหว่างการบรรยายสรุปหลังการประชุมกับประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกันของตุรกี
    มีรายงานว่าเซเลนสกีได้ยกเลิกการเดินทางไปยังซาอุดีอาระเบียอย่างกะทันหัน โดยเขาจะเดินทางออกจากกรุงอังการา ประเทศตุรกี เพื่อกลับเคียฟทันที หลังจากทราบว่าการเจรจาระหว่างจากรัสเซียสหรัฐอเมริกาเสร็จสิ้นลง ไม่มีท่าทีเชิญให้เขาเข้าร่วมอีกครั้ง “เราไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมระหว่างรัสเซียและสหรัฐฯ ในซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นเรื่องเซอร์ไพรส์สำหรับเรา ผมไม่ชอบเรื่องบังเอิญ ดังนั้น ผมคิดว่าจะไม่ไปซาอุดีอาระเบีย” เซเลนสกีกล่าวระหว่างการบรรยายสรุปหลังการประชุมกับประธานาธิบดีเรเซป เออร์โดกันของตุรกี
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • คิริลล์ ดมิทรีเยฟ (Kirill Dmitriev) หัวหน้ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย (RDIF - Russian Direct Investment Fund) ซึ่งได้เข้าร่วมทีมเจรจาระดับสูงระหว่างสหรัฐกับรัสเซียครั้งนี้ด้วย บ่งชี้ถึงความต้องการของรัสเซียที่มีแนวโน้มจะให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียลงซึ่งอดีตนายธนาคารจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานช่วงแรกระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน ในสมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งปธน.วาระแรกระหว่างปี 2559-2563

    ก่อนเข้าร่วมการประชุม ดมิทรีเยฟ กล่าวว่า มาตรการลงโทษของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย มีแต่จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหาย เพราะที่ผ่านมาพวกเขาสูญเสียเงินไปแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ หลังต้องทิ้งธุรกิจเพื่อจากออกจากรัสเซียไป

    “สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ธุรกิจอเมริกันสูญเสียเงินราว 3 แสนล้านดอลลาร์จากการถอนตัวออกจากรัสเซีย นี่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อหลายประเทศจากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าหนทางข้างหน้าคือการหาทางออกร่วมกัน” ดมิทรีเยฟกล่าว

    ดมิทรีเยฟ เกิดที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีปูติน ให้เป็น CEO ของกองทุน RDIF ตั้งแต่ปี 2011

    เขามีประวัติการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งเคยทำงานในบริษัทระดับโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs, McKinsey, General Electric (GE) และ Société Générale
    คิริลล์ ดมิทรีเยฟ (Kirill Dmitriev) หัวหน้ากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย (RDIF - Russian Direct Investment Fund) ซึ่งได้เข้าร่วมทีมเจรจาระดับสูงระหว่างสหรัฐกับรัสเซียครั้งนี้ด้วย บ่งชี้ถึงความต้องการของรัสเซียที่มีแนวโน้มจะให้สหรัฐลดมาตรการคว่ำบาตรที่มีต่อรัสเซียลงซึ่งอดีตนายธนาคารจากโกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) เคยมีบทบาทสำคัญในการประสานงานช่วงแรกระหว่างมอสโกกับวอชิงตัน ในสมัยที่ทรัมป์ดำรงตำแหน่งปธน.วาระแรกระหว่างปี 2559-2563 ก่อนเข้าร่วมการประชุม ดมิทรีเยฟ กล่าวว่า มาตรการลงโทษของสหรัฐที่มีต่อรัสเซีย มีแต่จะทำให้ธุรกิจของอเมริกาเสียหาย เพราะที่ผ่านมาพวกเขาสูญเสียเงินไปแล้วประมาณ 300,000 ล้านดอลลาร์ หลังต้องทิ้งธุรกิจเพื่อจากออกจากรัสเซียไป “สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ธุรกิจอเมริกันสูญเสียเงินราว 3 แสนล้านดอลลาร์จากการถอนตัวออกจากรัสเซีย นี่คือผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวงต่อหลายประเทศจากสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น และเราเชื่อว่าหนทางข้างหน้าคือการหาทางออกร่วมกัน” ดมิทรีเยฟกล่าว ดมิทรีเยฟ เกิดที่กรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต และได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีปูติน ให้เป็น CEO ของกองทุน RDIF ตั้งแต่ปี 2011 เขามีประวัติการทำงานที่น่าสนใจ ซึ่งเคยทำงานในบริษัทระดับโลกหลายแห่งไม่ว่าจะเป็น Goldman Sachs, McKinsey, General Electric (GE) และ Société Générale
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 296 มุมมอง 15 0 รีวิว
  • คณะผู้แทนรัสเซียเดินทางมาถึงสถานที่เจรจากับตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐในริยาดแล้ว

    การเจรจาในกรุงริยาดจะเป็นการเจรจากันระหว่างมอสโกและวอชิงตันเท่านั้น โดยไม่มีตัวแทนจากเคียฟเข้าร่วม ตามที่ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซีย เปิดเผยต่อสื่อมวลชน

    คณะผู้แทนรัสเซียเดินทางมาถึงสถานที่เจรจากับตัวแทนของรัฐบาลสหรัฐในริยาดแล้ว การเจรจาในกรุงริยาดจะเป็นการเจรจากันระหว่างมอสโกและวอชิงตันเท่านั้น โดยไม่มีตัวแทนจากเคียฟเข้าร่วม ตามที่ยูริ อูชาคอฟ ผู้ช่วยประธานาธิบดีรัสเซีย เปิดเผยต่อสื่อมวลชน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 124 มุมมอง 0 รีวิว
  • เช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียประท้วงการถูกกีดกันจากประชุมปารีส

    สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้นำยุโรปที่ปารีส

    แหล่งข่าวจากรัฐบาลเช็กระบุว่าไม่มีประเทศยุโรปใดรับผู้ลี้ภัยยูเครนต่อประชากรมากกว่าเช็ก พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการส่งกำลังบำรุงอาวุธให้ยูเครน โดยเฉพาะการจัดหากระสุนให้เคียฟ "นอกจากโปแลนด์แล้ว ไม่มีประเทศใดใกล้ชิดสงครามมากกว่าเช็ก" เจ้าหน้าที่กล่าว พร้อมวิจารณ์ "ความหยิ่งยโส" ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ที่กีดกันพวกเขา

    ด้าน Cristian Diaconescu ที่ปรึกษาด้านกลาโหมและความมั่นคงของโรมาเนียแสดงความผิดหวังที่ถูกกีดกัน "แม้จะทุ่มเทช่วยเหลือมาตลอด" แต่ยืนยันว่าหากมีการประชุมต่อเนื่อง พวกเขาก็พร้อมจะมีส่วนร่วม

    ประธานาธิบดี Nataša Pirc Musar แห่งสโลวีเนียวิจารณ์การเลือกเชิญว่าส่งสัญญาณว่า "สมาชิก EU ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม" และเสริมว่า "นี่ไม่ใช่ยุโรปที่จะเป็นพันธมิตรที่คู่ควรกับสหรัฐฯ"
    เช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียประท้วงการถูกกีดกันจากประชุมปารีส สาธารณรัฐเช็ก โรมาเนีย และสโลวีเนียแสดงความไม่พอใจที่ไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมผู้นำยุโรปที่ปารีส แหล่งข่าวจากรัฐบาลเช็กระบุว่าไม่มีประเทศยุโรปใดรับผู้ลี้ภัยยูเครนต่อประชากรมากกว่าเช็ก พร้อมเน้นย้ำบทบาทสำคัญในการส่งกำลังบำรุงอาวุธให้ยูเครน โดยเฉพาะการจัดหากระสุนให้เคียฟ "นอกจากโปแลนด์แล้ว ไม่มีประเทศใดใกล้ชิดสงครามมากกว่าเช็ก" เจ้าหน้าที่กล่าว พร้อมวิจารณ์ "ความหยิ่งยโส" ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส Emmanuel Macron ที่กีดกันพวกเขา ด้าน Cristian Diaconescu ที่ปรึกษาด้านกลาโหมและความมั่นคงของโรมาเนียแสดงความผิดหวังที่ถูกกีดกัน "แม้จะทุ่มเทช่วยเหลือมาตลอด" แต่ยืนยันว่าหากมีการประชุมต่อเนื่อง พวกเขาก็พร้อมจะมีส่วนร่วม ประธานาธิบดี Nataša Pirc Musar แห่งสโลวีเนียวิจารณ์การเลือกเชิญว่าส่งสัญญาณว่า "สมาชิก EU ไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม" และเสริมว่า "นี่ไม่ใช่ยุโรปที่จะเป็นพันธมิตรที่คู่ควรกับสหรัฐฯ"
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 191 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดรน Geran ของรัสเซีย ผ่านระบบป้องกันภัยของยูเครน พุ่งเข้าโจมตีสถานที่แห่งหนึ่งในเมืองเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน
    โดรน Geran ของรัสเซีย ผ่านระบบป้องกันภัยของยูเครน พุ่งเข้าโจมตีสถานที่แห่งหนึ่งในเมืองเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 190 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป
    .
    ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.)
    .
    "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว
    .
    ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014
    .
    ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด"
    .
    คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย
    .
    ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ"
    .
    เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา"
    .
    ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน"
    .
    ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน
    .
    เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน กล่าวระหว่างให้สัมภาษณ์สหรัฐฯกำลังพยายาม "สร้างความพึงพอใจ" แก่รัสเซีย ในการเจรจาเกี่ยวกับยูเครน และเตือนถึงความอ่อนแอทางทหารของยุโรป . ในปฏิกิริยาที่มีต่อท่าทีของพวกเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ ไปในทิศทางประนีประนอมกับรัสเซีย ทางเซเลนสกีกล่าวว่า "เวลานี้ สหรัฐฯ กำลังพูดในสิ่งต่างๆ ที่เป็นผลดีกับปูตินมากๆ เพราะพวกเขาอยากสร้างความพึงพอใจแก่เขา" ผู้นำยูเครนระบุ ระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่บันทึกเทปเอาไว้ ในเมืองมิวนิกเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) . "พวกต้องการพบปะกันอย่างเร่งด่วนและมีชัยอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ก็แค่ข้อตกลงหยุดยิง ไม่ใช่ชัยชนะ" เซเลนสกีกล่าว . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สร้างความตกตะลึงแก่บรรดาพันธมิตร ด้วยการเปิดเผยว่าเขาได้พูดคุยโดยตรงกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย เกี่ยวกับกระบวนการเดินหน้ายุติสงครามในยูเครนอย่างรวดเร็ว . ขณะเดียวกัน พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ดูเหมือนจะตัดความเป็นไปได้ที่ยูเครนจะเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกนาโต หรือทวงคืนดินแดนทั้งหมดที่สูญเสียไปตั้งแต่ปี 2014 . ในแนวโน้มของข้อตกลงใดๆ ในอนาคต เซเลนสกีบอกว่า "เราจะไม่ลงนามสิ่งใดเพียงเพื่อได้รับเสียงชื่นชม และขอเน้นย้ำว่าชะตากรรมของประเทศของเราสำหรับหลายชั่วอายุคนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง" เขากล่าว พร้อมปฏิเสธความคิดยอมสละดินแดนของยูเครนที่ถูกรัสเซียยึดไป "เราจะทวงคืนมันทั้งหมด" . คำกล่าวนี้ของเซเลนสกี เป็นเทปบันทึกการสัมภาษณ์ซึ่งมีขึ้นระหว่างการประชุมความมั่นคงที่เมืองมิวนิก เป็นเวลา 3 วัน สิ้นสุดในวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ก่อนหน้านี้พวกผู้ยุโรปจะจัดประชุมหารือฉุกเฉินในกรุงปารีส เพื่อระดมวิธีรับมืออเมริกา หลังจากตลอดสัปดาห์ที่แล้วคณะบริหารทรัมป์เดินเกมรุกทางการทูตที่ดูเหมือนอ้าแขนรับรัสเซียและเมินเฉยทอดทิ้งพันธมิตรเก่าแก่อย่างยุโรป และเวลานี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุย . ประธานาธิบดียูเครนเตือนว่ายุโรปจะอยู่ในสถานะอ่อนแอ หากไม่อาจพึ่งพิงร่มเงาความมั่นคงของสหรัฐฯ "แม้มีการยกระดับความพร้อมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในแง่ของความเข้มแข็งทางทหาร จำนวนของกำลังพลสู้รบ กองเรือ กองทัพอากาศและโดรน แต่ผมคิดโดยสัตย์จริงว่า ณ วันนี้ ยุโรปนั้นอ่อนแอ" . เซเลนสกี อ้างว่า ยูเครน มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา และ "ปูตินไม่สามารถรุกรานยึดครองเรา ในหนทางที่เขาต้องการ" อย่างไรก็ตามเขาเตือนว่า "ยูเครนจะไม่อาจได้รับชัยชนะหากปราศจากแรงสนับสนุนจากอเมริกา" . ผู้นำยูเครนเผยด้วยว่าเขาและทรัมป์ได้พูดคุยกันเกี่ยวกับการประจำการทหารต่างชาติ เพื่อพิทักษ์ข้อตกลงหยุดยิงใดๆ ในอนาคต "ผมบอกกับเขาไปว่า อเมริกาควรเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งนี้ เพราะไม่เช่นนั้น เราอาจสูญเสียความเป็นหนึ่งเดียวกัน" . ณ ที่ประชุมบรรดาผู้สนับสนุนเคียฟในบรัสเซลส์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เฮกเซธ ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ใดๆ ที่สหรัฐฯ จะประจำการทหารในยูเครน . เมื่อถามว่าเขาจะยอมสละตำแหน่งประธานาธิบดีหรือไม่ ถ้ามันมีความจำเป็นเพื่อข้อตกลงหนึ่งๆ เซเลนสกี บอกว่า "เพื่อสันติภาพแล้ว ผมพร้อมทำในทุกอย่าง" เขากล่าว "ถ้าพรุ่งนี้ยูเครนได้รับการตอบรับเข้าร่วมอียูและนาโต ถ้าทหารรัสเซียถอนทหารและเราได้รับคำรับประกันความมั่นคง ผมคงไม่ต้องการอะไรที่มากไปกว่านี้อีกแล้ว" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015976 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1481 มุมมอง 1 รีวิว
  • เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า
    .
    การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022
    .
    คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว
    .
    รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่
    .
    ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
    .
    ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก
    .
    อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้
    .
    ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ
    .
    แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น
    .
    การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ
    .
    กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน
    .
    นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972
    ..............
    Sondhi X
    เครมลินแถลงเอง เซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศ และยูริ อูชาคอฟ ที่ปรึกษาด้านนโยบายต่างประเทศของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน จะนำคณะเจรจาหารือกับทีมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอเมริกาที่นำโดยมาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มต้นวันอังคาร (18 ก.พ.) ที่กรุงริยาด ของซาอุดีอาระเบีย ขณะที่รูบิโอพยายามคลายความกังวลโดยยืนยันว่า ยูเครนและยุโรปจะยังมีส่วนร่วมในการเจรจาข้อตกลงสันติภาพ หากการหารือระหว่างวอชิงตัน-มอสโกคืบหน้า . การหารือที่เมืองหลวงซาอุดีอาระเบียคราวนี้ เกิดขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ พูดคุยทางโทรศัพท์กับปูตินเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากนั้นเขาแถลงว่าน่าจะได้พบปะแบบพบหน้ากับผู้นำเครมลินในเร็วๆ นี้ โดยอาจจะเป็นที่ซาอุดีอาระเบีย นอกจากนั้นทางสหรัฐฯยังเคลื่อนไหวแต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่จะไปหารือกับฝ่ายรัสเซีย โดยเห็นกันว่าเพื่อปูทางสำหรับการประชุมซัมมิตทรัมป์-ปูติน เวลาเดียวกันก็เป็นการเริ่มต้นเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งในยูเครนตามที่ทรัมป์เคยหาเสียงไว้ ทั้งนี้ความเคลื่อนไหวคราวนี้ของทรัมป์ ยังถือเป็นการสิ้นสุดการโดดเดี่ยวมอสโกจากกรณีบุกยูเครนเมื่อวันที่ 22 ก.พ.2022 . คณะของสหรัฐฯ นั้น นอกจากรูบิโอที่เดินทางถึงกรุงริยาดตั้งแต่ค่ำวันอาทิตย์ (16) แล้ว ยังประกอบด้วย ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทำเนียบขาว . รูบิโอกล่าวกับทีวีสหรัฐฯเมื่อวันอาทิตย์ (16 ก.พ.) ว่า ช่วงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์นับจากนี้ จะตัดสินว่า ปูตินจริงจังกับการสร้างสันติภาพหรือไม่ . ด้านวิตคอฟฟ์ให้สัมภาษณ์รายการ “ซันเดย์ มอร์นิง ฟิวเจอร์” ของฟ็อกซ์ นิวส์ว่า ตนและวอลซ์จะดำเนินการประชุมตามแนวทางที่ทรัมป์กำหนด และหวังว่าจะมีความคืบหน้าบางอย่างเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน . ในอีกด้านหนึ่ง ดมิตริ เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน แถลงในวันจันทร์ว่า ราฟลอฟและอูชาคอฟจะร่วมหารือกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ เกี่ยวกับการจัดเตรียมการหารือระหว่างปูตินกับทรัมป์ และเรื่องเกี่ยวกับข้อตกลงสันติภาพในยูเครนที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงฟื้นความสัมพันธ์วอชิงตัน-มอสโก . อย่างไรก็ดี เปสคอฟปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นว่า ปูตินกับทรัมป์จะพบกันปลายเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบียหรือไม่ ขณะที่เมื่อวันอาทิตย์ ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่า ยังไม่ได้กำหนดวันเวลาที่จะพบกับผู้นำรัสเซีย แต่น่าจะเป็นเร็วๆ นี้ . ในส่วนประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครนนั้น รายงานระบุว่าได้ เดินทางถึงสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ตั้งแต่วันอาทิตย์ รวมทั้งเล็งเยือนซาอุดีอาระเบียและตุรกีต่อ แต่ยืนยันว่า ไม่มีแผนพบกับเจ้าหน้าที่รัสเซียหรือสหรัฐฯ ขณะที่เชื่อกันว่า ยูเครนไม่ได้รับเชิญให้ร่วมหารือที่ซาอุดีอาระเบียเป็นเจ้าภาพ . แอนดริว เยอร์แมค ที่ปรึกษาระดับสูงของเซเลนสกี เปิดเผยเมื่อวันอาทิตย์ว่า ไม่มีความเป็นไปได้ที่เจ้าหน้าที่ยูเครนกับรัสเซียจะประชุมกันโดยตรงในอนาคตอันใกล้ อย่างน้อยจนกว่ายูเครนจะร่างแผนการเพื่อยุติสงครามและสร้างสันติภาพเสร็จสิ้น . การหารือระหว่างคณะเจ้าหน้าที่อเมริกาและรัสเซียยังเกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลว่า ยูเครนและยุโรปกำลังถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก คีธ เคลล็อก ผู้แทนพิเศษด้านยูเครนและรัสเซียของทรัมป์ ประกาศชัดเจนเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาสันติภาพ . กระนั้น เมื่อวันอาทิตย์ รูบิโอได้พยายามคลายความกังวลเรื่องนี้โดยบอกว่า ทั้งเคียฟและยุโรปจะมีส่วนร่วมใน “การเจรจาจริง” ที่จะเกิดขึ้นมา หากการหารือระหว่างอเมริกากับรัสเซียมีความคืบหน้า และสำทับว่า การหารือในขณะนี้เป็นแค่โอกาสในการหยั่งเชิงว่า รัสเซียจะจริงจังแค่ไหน . นอกจากนั้น วิตคอฟฟ์ยังตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่ยูเครนได้พบกับเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ หลายคนระหว่างการประชุมความมั่นคงที่มิวนิกเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ทรัมป์ก็ได้พูดคุยกับเซเลนสกีเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015972 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1361 มุมมอง 0 รีวิว
  • วอชิงตันคาดหมายว่าเคียฟจะจ่ายคืนสหรัฐฯ สำหรับสิ่งต่างๆที่อเมริกาได้ลงทุนไปในความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย จากคำกล่าวของ ไมเคล วอลท์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์นิวส์เมื่อวันอาทิตย์(16ก.พ.) เขาอ้างว่าการชดใช้คืนประชาชนชาวอเมริกา เป็นหนทางที่ดีที่สุดสหรับยูเครน สำหรับรับประกันว่าจะยังคงได้รับความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต
    .
    ความเห็นของวอล์ทซ มีขึ้นหลังจากมีข่าวว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปฏิเสธลงนามในเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ให้สิทธิอเมริกาเข้าถึงแหล่งแร่ในอนาคตของยูเครน 50% และพยายามหาข้อตกลงที่ดีกว่านั้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆนี้ เรียกร้องแร่แรร์เอิร์ทในมูลค่าเทียบเท่ากับ 500,000 ล้านดอลลาร์ จากยูเครน แลกกับเงินที่วอชิงตันมอบให้แก่เคียฟไปแล้วกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของความช่วยเหลือต่างๆนานา ท่ามกลางความขัดแย้งกับมอสโก
    .
    "ประชาชนชาวอเมริกาควรได้รับการหักลบกลบหนี้ ควรได้รับการจ่ายคืนในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใด สำหรับเงินหลายแสนล้านดอลลาร์ที่พวกเขาลงทุนไปในสงครามนี้" วอลท์ซกล่าวในวันอาทิตย์(16ก.พ.) "ผมคิดว่า คงไม่มีสิ่งใดที่สามารถทำให้ประชาชนชาวอเมริกามีความสบายใจกับการลงทุนในอนาคตได้ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอเมริกา"
    .
    ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติบอกด้วยว่า "เซเลนสกีจะฉลาดมาก หากเข้าสู่ข้อตกลงนี้กับสหรัฐฯ"
    .
    ก่อนหน้านี้ เซเลนสกี เคยเน้นย้ำว่าเขาต้องการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่แค่เพียงส่งมอบทรัพยากรทางธรรมชาติของยูเครนให้สหรัฐไปเฉยๆ ขณะเดียวกัน เดนิส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน เสนออนุมัติให้อียูเข้าถึงทรัพยากรของยูเครนเช่นกัน แลกกับความร่วมมือกับเคียฟและการลงทุนในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ
    .
    วอลท์ซ อ้างว่าสหรัฐฯแบกรับภาระหนักในความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินที่ตะวันตกมอบให้แก่เคียฟ โดยอย่างเป็นทางการแล้ว สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2022 ในนั้นส่วนหนึ่งในเงินดังกล่าว ได้ส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมต่างๆของอเมริกาและความเคลื่อนไหวต่างๆของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง
    .
    อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันคีลเพื่อการศึกษาเศรษฐกิจโลก พบว่าจนถึงเดือนตุลาคม 2024 สหรัฐฯมอบความช่วยเหลือทั้งด้านการทหารและทางการเงินแก่ยูเครนไปแล้วราวๆ 92,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนบรรดาชาติอียูและสหราชอาณาจักร จัดสรรงบประมาณรวมกัน 131,000 ล้านดอลลาร์
    .
    รายงานของเวิลด์อีโคโนมิค ฟอรัม ในปี 2024 เน้นว่ายูเครนมีศักยภาพล้นเหลือในฐานะผู้จัดหารายใหญ่ของโลก สำหรับป้อนวัตถุดิบสำคัญๆที่จำเป็นในด้านกลาโหม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสีเขียว นอกจากนี้แล้วประเทศแห่งนี้ยังมีแหล่งสำรองลิเธียมและไททาเนียมใหญ่ที่สุดในยุโรป แม้ทั้ง 2 ชนิด ไม่ถูกจัดว่าเป็นองค์ประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ
    .
    อย่างไรก็ตาม เซเลนสกี เคยยอมรับว่าดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่นั้น เวลานี้ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียและอ้างอิงข้อมูลจากนิตยสารฟอร์บส์ พบว่าความมั่นคงด้านแร่ธาตุในอดีตของยูเครน มูลค่าราวๆ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่้งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในปี 2022
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015547
    ..............
    Sondhi X
    วอชิงตันคาดหมายว่าเคียฟจะจ่ายคืนสหรัฐฯ สำหรับสิ่งต่างๆที่อเมริกาได้ลงทุนไปในความขัดแย้งระหว่างยูเครนกับรัสเซีย จากคำกล่าวของ ไมเคล วอลท์ซ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ระหว่างให้สัมภาษณ์กับฟ็อกซ์นิวส์เมื่อวันอาทิตย์(16ก.พ.) เขาอ้างว่าการชดใช้คืนประชาชนชาวอเมริกา เป็นหนทางที่ดีที่สุดสหรับยูเครน สำหรับรับประกันว่าจะยังคงได้รับความช่วยเหลือต่อไปในอนาคต . ความเห็นของวอล์ทซ มีขึ้นหลังจากมีข่าวว่า โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ปฏิเสธลงนามในเอกสารฉบับหนึ่ง ที่ให้สิทธิอเมริกาเข้าถึงแหล่งแร่ในอนาคตของยูเครน 50% และพยายามหาข้อตกลงที่ดีกว่านั้น ในขณะที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆนี้ เรียกร้องแร่แรร์เอิร์ทในมูลค่าเทียบเท่ากับ 500,000 ล้านดอลลาร์ จากยูเครน แลกกับเงินที่วอชิงตันมอบให้แก่เคียฟไปแล้วกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์ ในรูปแบบของความช่วยเหลือต่างๆนานา ท่ามกลางความขัดแย้งกับมอสโก . "ประชาชนชาวอเมริกาควรได้รับการหักลบกลบหนี้ ควรได้รับการจ่ายคืนในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใด สำหรับเงินหลายแสนล้านดอลลาร์ที่พวกเขาลงทุนไปในสงครามนี้" วอลท์ซกล่าวในวันอาทิตย์(16ก.พ.) "ผมคิดว่า คงไม่มีสิ่งใดที่สามารถทำให้ประชาชนชาวอเมริกามีความสบายใจกับการลงทุนในอนาคตได้ ถ้าหากว่าเราไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนและอำนวยประโยชน์แก่ประชาชนอเมริกา" . ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติบอกด้วยว่า "เซเลนสกีจะฉลาดมาก หากเข้าสู่ข้อตกลงนี้กับสหรัฐฯ" . ก่อนหน้านี้ เซเลนสกี เคยเน้นย้ำว่าเขาต้องการสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนผลประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่แค่เพียงส่งมอบทรัพยากรทางธรรมชาติของยูเครนให้สหรัฐไปเฉยๆ ขณะเดียวกัน เดนิส ชมีกัล นายกรัฐมนตรียูเครน เสนออนุมัติให้อียูเข้าถึงทรัพยากรของยูเครนเช่นกัน แลกกับความร่วมมือกับเคียฟและการลงทุนในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ . วอลท์ซ อ้างว่าสหรัฐฯแบกรับภาระหนักในความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินที่ตะวันตกมอบให้แก่เคียฟ โดยอย่างเป็นทางการแล้ว สภาคองเกรสอนุมัติเงินช่วยเหลือแก่ยูเครนไปแล้วกว่า 175,000 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่ปี 2022 ในนั้นส่วนหนึ่งในเงินดังกล่าว ได้ส่งผ่านไปยังอุตสาหกรรมต่างๆของอเมริกาและความเคลื่อนไหวต่างๆของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง . อ้างอิงข้อมูลจากสถาบันคีลเพื่อการศึกษาเศรษฐกิจโลก พบว่าจนถึงเดือนตุลาคม 2024 สหรัฐฯมอบความช่วยเหลือทั้งด้านการทหารและทางการเงินแก่ยูเครนไปแล้วราวๆ 92,000 ล้านดอลลาร์ ส่วนบรรดาชาติอียูและสหราชอาณาจักร จัดสรรงบประมาณรวมกัน 131,000 ล้านดอลลาร์ . รายงานของเวิลด์อีโคโนมิค ฟอรัม ในปี 2024 เน้นว่ายูเครนมีศักยภาพล้นเหลือในฐานะผู้จัดหารายใหญ่ของโลก สำหรับป้อนวัตถุดิบสำคัญๆที่จำเป็นในด้านกลาโหม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสีเขียว นอกจากนี้แล้วประเทศแห่งนี้ยังมีแหล่งสำรองลิเธียมและไททาเนียมใหญ่ที่สุดในยุโรป แม้ทั้ง 2 ชนิด ไม่ถูกจัดว่าเป็นองค์ประกอบของแร่แรร์เอิร์ธ . อย่างไรก็ตาม เซเลนสกี เคยยอมรับว่าดินแดนที่อุดมไปด้วยแร่นั้น เวลานี้ส่วนใหญ่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัสเซียและอ้างอิงข้อมูลจากนิตยสารฟอร์บส์ พบว่าความมั่นคงด้านแร่ธาตุในอดีตของยูเครน มูลค่าราวๆ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่้งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในปี 2022 . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015547 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    10
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1283 มุมมอง 1 รีวิว
  • เซเลนสกีเผยเอง สั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีลงนามทำความตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุมีค่า รวมทั้งแรร์เอิร์ธ ของยูเครน เนื่องจากข้อเสนอของวอชิงตันเน้นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ มากเกินไป แต่ละเลยการรับประกันความมั่นคงของเคียฟอย่างเฉพาะเจาะจง ด้านทำเนียบขาวโต้ผู้นำยูเครนมองข้ามโอกาสระยะยาว อ้างลอยๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาคือการรับประกันที่จะป้องกันการถูกรุกรานในอนาคตและเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน
    .
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะร่วมการประชุมความมั่นคงประจำปีที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ว่า เขาออกคำสั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีของยูเครนลงนามในร่างข้อตกลงที่ฝ่ายสหรัฐฯ เสนอมา เนื่องจากมองว่า อเมริกาไม่พร้อมปกป้องยูเครน
    .
    พวกเจ้าหน้าที่ของยูเครนทั้งในปัจจุบันและในอดีต ซึ่งรับรู้ข้อมูลการเจรจาเผยว่า ข้อเสนอดังกล่าวที่เป็นประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ โดยมีเซเลนสกีเป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายเคียฟ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของสหรัฐฯ เป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายวอชิงตัน ระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายต่างเดินทางไปร่วมงานประชุมความมั่นคงมิวนิกเมื่อวันศุกร์ (14 ) นั้น มุ่งเน้นเพียงว่า อเมริกาจะสามารถใช้แร่ธาตุมีค่า ตลอดจน แรร์เอิร์ธ ของยูเครนเป็นค่าชดเชยความช่วยเหลือที่ผ่านมาของสหรัฐฯ ภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และความช่วยเหลือที่จะมีขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร
    .
    ทั้งนี้ ยูเครนเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรแร่สำคัญๆ หลายตัวอุดมสมบูรณ์มาก โดยแร่เหล่านั้นนำไปใช้ในการผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมกลาโหมและนิวเคลียร์ ซึ่งคณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า สนใจเข้าถึงแร่เหล่านั้นเพื่อลดการพึ่งพาจีน ทว่า เซเลนสกียื่นข้อแลกเปลี่ยนให้อเมริกาให้การรับประกันความมั่นคงแก่ยูเครนจากการรุกรานของรัสเซียในอนาคต
    .
    เซเลนสกีไม่ได้ให้รายละเอียดว่า เหตุใดจึงห้ามเจ้าหน้าที่ยูเครนลงนามข้อตกลงดังกล่าวที่ สกอตต์ แบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ยื่นให้พิจารณาระหว่างที่เขาไปเยือนเคียฟเมื่อวันพุธ (12) ทว่า อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนคนหนึ่งระบุว่า ร่างข้อตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาแบบข้อตกลงล่าอาณานิคม เซเลนสกีจึงไม่อาจยอมรับได้
    .
    ทางด้านไบรอัน ฮิวจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ไม่ได้ยืนยันโดยตรงเกี่ยวกับข้อเสนอที่เป็นปัญหา แต่แถลงว่า เซเลนสกีมองการณ์แค่สั้นๆ เกี่ยวกับโอกาสที่ดีเยี่ยมที่คณะบริหารทรัมป์หยิบยื่นให้ยูเครน เนื่องจากข้อตกลงแร่ธาตุหายากของยูเครนนี้ จะทำให้ผู้เสียภาษีในอเมริกาได้เงินที่ส่งไปช่วยเคียฟคืน ขณะที่เศรษฐกิจยูเครนก็จะเจริญเติบโต
    .
    เขาสำทับว่า ทำเนียบขาวเชื่อว่า การที่ยูเครนเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาเป็นการรับประกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน ซึ่งยูเครนจำเป็นต้องยอมรับประเด็นนี้เช่นเดียวกับที่อเมริกาและรัสเซียต่างยอมรับ
    .
    ทว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนแจงว่า ระหว่างการหารือในมิวนิก เจ้าหน้าที่อเมริกันคิดแต่เรื่องการค้าและมุ่งเน้นประเด็นการสำรวจแร่และรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนในการสำรวจแร่ร่วมกับยูเครน แต่ไม่มีการหารือเกี่ยวกับมูลค่าที่เป็นไปได้ของแหล่งแร่ในยูเครนซึ่งมีจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ หรือว่ายังเข้าไปสำรวจขุดค้นไม่ได้เนื่องจากอยู่ใกล้แนวรบ
    .
    นอกจากนั้นข้อเสนอของอเมริกายังไม่ได้กล่าวถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยแหล่งแร่ในกรณีที่รัสเซียยังคงสู้รบในยูเครน รวมทั้งไม่มีคำตอบเกี่ยวกับวิธีถลุงแร่ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและโครงสร้างพื้นฐานของยูเครน
    .
    เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนสำทับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายของยูเครน และได้รับการยอมรับจากประชาชนยูเครน
    .
    กระนั้นก็ตาม เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่า เซเลนสกีและแวนซ์ไม่ได้หารือรายละเอียดของข้อเสนอของอเมริการะหว่างพบกันเมื่อวันศุกร์ และการประชุมเป็นไปอย่างดีมากและมีสาระสำคัญ โดยแวนซ์กล่าวชัดเจนว่า เป้าหมายหลักของทรัมป์คือการบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนและยาวนาน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015542
    ..............
    Sondhi X
    เซเลนสกีเผยเอง สั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีลงนามทำความตกลงให้อเมริกาเข้าถึงแร่ธาตุมีค่า รวมทั้งแรร์เอิร์ธ ของยูเครน เนื่องจากข้อเสนอของวอชิงตันเน้นผลประโยชน์ของสหรัฐฯ มากเกินไป แต่ละเลยการรับประกันความมั่นคงของเคียฟอย่างเฉพาะเจาะจง ด้านทำเนียบขาวโต้ผู้นำยูเครนมองข้ามโอกาสระยะยาว อ้างลอยๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาคือการรับประกันที่จะป้องกันการถูกรุกรานในอนาคตและเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน . ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกีของยูเครน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอพีเมื่อวันเสาร์ (15 ก.พ.) ขณะร่วมการประชุมความมั่นคงประจำปีที่เมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ว่า เขาออกคำสั่งห้ามบรรดารัฐมนตรีของยูเครนลงนามในร่างข้อตกลงที่ฝ่ายสหรัฐฯ เสนอมา เนื่องจากมองว่า อเมริกาไม่พร้อมปกป้องยูเครน . พวกเจ้าหน้าที่ของยูเครนทั้งในปัจจุบันและในอดีต ซึ่งรับรู้ข้อมูลการเจรจาเผยว่า ข้อเสนอดังกล่าวที่เป็นประเด็นสำคัญในการหารือทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ โดยมีเซเลนสกีเป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายเคียฟ และรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของสหรัฐฯ เป็นผู้นำการเจรจาของฝ่ายวอชิงตัน ระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายต่างเดินทางไปร่วมงานประชุมความมั่นคงมิวนิกเมื่อวันศุกร์ (14 ) นั้น มุ่งเน้นเพียงว่า อเมริกาจะสามารถใช้แร่ธาตุมีค่า ตลอดจน แรร์เอิร์ธ ของยูเครนเป็นค่าชดเชยความช่วยเหลือที่ผ่านมาของสหรัฐฯ ภายใต้คณะบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และความช่วยเหลือที่จะมีขึ้นอีกในอนาคตได้อย่างไร . ทั้งนี้ ยูเครนเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรแร่สำคัญๆ หลายตัวอุดมสมบูรณ์มาก โดยแร่เหล่านั้นนำไปใช้ในการผลิตเครื่องบิน อุตสาหกรรมกลาโหมและนิวเคลียร์ ซึ่งคณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งสัญญาณว่า สนใจเข้าถึงแร่เหล่านั้นเพื่อลดการพึ่งพาจีน ทว่า เซเลนสกียื่นข้อแลกเปลี่ยนให้อเมริกาให้การรับประกันความมั่นคงแก่ยูเครนจากการรุกรานของรัสเซียในอนาคต . เซเลนสกีไม่ได้ให้รายละเอียดว่า เหตุใดจึงห้ามเจ้าหน้าที่ยูเครนลงนามข้อตกลงดังกล่าวที่ สกอตต์ แบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ยื่นให้พิจารณาระหว่างที่เขาไปเยือนเคียฟเมื่อวันพุธ (12) ทว่า อดีตเจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนคนหนึ่งระบุว่า ร่างข้อตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาแบบข้อตกลงล่าอาณานิคม เซเลนสกีจึงไม่อาจยอมรับได้ . ทางด้านไบรอัน ฮิวจ์ โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของทำเนียบขาว ไม่ได้ยืนยันโดยตรงเกี่ยวกับข้อเสนอที่เป็นปัญหา แต่แถลงว่า เซเลนสกีมองการณ์แค่สั้นๆ เกี่ยวกับโอกาสที่ดีเยี่ยมที่คณะบริหารทรัมป์หยิบยื่นให้ยูเครน เนื่องจากข้อตกลงแร่ธาตุหายากของยูเครนนี้ จะทำให้ผู้เสียภาษีในอเมริกาได้เงินที่ส่งไปช่วยเคียฟคืน ขณะที่เศรษฐกิจยูเครนก็จะเจริญเติบโต . เขาสำทับว่า ทำเนียบขาวเชื่อว่า การที่ยูเครนเชื่อมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับอเมริกาเป็นการรับประกันที่ดีที่สุดในการป้องกันการถูกรุกรานในอนาคต และเป็นส่วนหนึ่งของสันติภาพที่ยืนนาน ซึ่งยูเครนจำเป็นต้องยอมรับประเด็นนี้เช่นเดียวกับที่อเมริกาและรัสเซียต่างยอมรับ . ทว่า เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนแจงว่า ระหว่างการหารือในมิวนิก เจ้าหน้าที่อเมริกันคิดแต่เรื่องการค้าและมุ่งเน้นประเด็นการสำรวจแร่และรูปแบบการเป็นหุ้นส่วนในการสำรวจแร่ร่วมกับยูเครน แต่ไม่มีการหารือเกี่ยวกับมูลค่าที่เป็นไปได้ของแหล่งแร่ในยูเครนซึ่งมีจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการสำรวจ หรือว่ายังเข้าไปสำรวจขุดค้นไม่ได้เนื่องจากอยู่ใกล้แนวรบ . นอกจากนั้นข้อเสนอของอเมริกายังไม่ได้กล่าวถึงวิธีการรักษาความปลอดภัยแหล่งแร่ในกรณีที่รัสเซียยังคงสู้รบในยูเครน รวมทั้งไม่มีคำตอบเกี่ยวกับวิธีถลุงแร่ที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนและโครงสร้างพื้นฐานของยูเครน . เจ้าหน้าที่อาวุโสของยูเครนสำทับว่า ข้อตกลงเช่นนี้จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายของยูเครน และได้รับการยอมรับจากประชาชนยูเครน . กระนั้นก็ตาม เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวระบุว่า เซเลนสกีและแวนซ์ไม่ได้หารือรายละเอียดของข้อเสนอของอเมริการะหว่างพบกันเมื่อวันศุกร์ และการประชุมเป็นไปอย่างดีมากและมีสาระสำคัญ โดยแวนซ์กล่าวชัดเจนว่า เป้าหมายหลักของทรัมป์คือการบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืนและยาวนาน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015542 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1233 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
    .
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
    .
    ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
    .
    ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
    .
    ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
    .
    ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
    .
    ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
    .
    รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
    .
    ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
    .
    ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
    .
    การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
    .
    เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
    .
    ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
    .
    นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
    .
    กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
    ..............
    Sondhi X
    ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ . ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้ . ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ . ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย . ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง . ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ . ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ . รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น” . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน . ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป . ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง . การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน . เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม . ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน . นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต . กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1217 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับยูเครน หลังจากยุโรปถูกกีดกันจากสหรัฐในการเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ

    ฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน หลังจากที่ทีมของทรัมป์ตัดยุโรปออกจากการเจรจากับรัสเซีย

    การประชุมดังกล่าว ซึ่งจะมีอังกฤษ เยอรมนี โปแลนด์ และเจ้าหน้าที่นาโตเข้าร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทบาทของยุโรปในการช่วยเหลือเคียฟและรักษาความปลอดภัยของยุโรปตะวันตก

    หลายปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นผู้นำยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ พยายามมาตลอดในการออกจากอิทธิพลของสหรัฐ มาจับตาดูว่าครั้งนี้พวกเขาจะสามารถดำเนินการอย่างจริงจังได้หรือไม่
    ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฉุกเฉินเกี่ยวกับยูเครน หลังจากยุโรปถูกกีดกันจากสหรัฐในการเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาสันติภาพ ฝรั่งเศสจะเรียกประชุมผู้นำยุโรปในวันจันทร์เพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคงของยูเครน หลังจากที่ทีมของทรัมป์ตัดยุโรปออกจากการเจรจากับรัสเซีย การประชุมดังกล่าว ซึ่งจะมีอังกฤษ เยอรมนี โปแลนด์ และเจ้าหน้าที่นาโตเข้าร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปบทบาทของยุโรปในการช่วยเหลือเคียฟและรักษาความปลอดภัยของยุโรปตะวันตก หลายปีที่ผ่านมา ประเทศที่เป็นผู้นำยุโรป เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ พยายามมาตลอดในการออกจากอิทธิพลของสหรัฐ มาจับตาดูว่าครั้งนี้พวกเขาจะสามารถดำเนินการอย่างจริงจังได้หรือไม่
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 211 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น
    .
    เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง"
    .
    ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป
    .
    "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป"
    .
    เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ"
    .
    เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน
    .
    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน"
    .
    ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา
    .
    จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน
    .
    ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้
    .
    ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ
    .
    เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป"
    .
    อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015321
    ..................
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องในวันเสาร์ (15 ก.พ.) ให้จัดตั้งกองทัพยุโรป ระบุทวีปแห่งนี้ไม่อาจแน่ใจได้อีกต่อไปว่าจะได้รับการปกป้องจากสหรัฐฯ และจะได้รับความเคารพจากวอชิงตันก็ต่อเมื่อมีกองกำลังที่เข้มแข็งเท่านั้น . เขาประกาศกร้าวด้วยว่าเคียฟจะไม่มีวันยอมรับข้อตกลงใดๆ ในการยุติสงครามรัสเซียและยูเครน ที่จัดทำลับหลังพวกเขา และคาดเดาว่าประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย จะพยายามโน้มน้าวให้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เดินทางไปยังกรุงมอสโก ร่วมพิธีสวนสนามวาระครบรอบชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พฤษภาคม "ไม่ใช่ในฐานะผู้นำที่ให้ความเคารพ แต่เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ของเขาเอง" . ในถ้อยแถลงที่มีต่อที่ประชุมด้านความมั่นคงประจำปีในเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมนี ทางเซเลนสกี บอกว่าคำกล่าวของรองประธานาธิบดีเจ.ดี. แวนซ์ แห่งสหรัฐฯ หนึ่งวันก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ กำลังเปลี่ยนไป . "ขอพูดด้วยความสัตย์จริง ตอนนี้เราไม่อาจตัดความเป็นไปได้ที่อเมริกาอาจบอกปัดยุโรปในประเด็นต่างๆ ที่คุกคามพวกเขา" เซเลนสกีกล่าว ในขณะที่สงครามระหว่างยูเครนกับรัสเซีย ซึ่งจุดชนวนหนึ่งจากการรุกรานของมอสโก ใกล้ล่วงเลยเข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว "พวกผู้นำหลายคน พูดกันว่ายุโรปจำเป็นต้องมีกองทัพและทหารของตนเอง กองทัพแห่งยุโรป และผมเชื่ออย่างจริงจังว่ามันถึงเวลาแล้ว จำเป็นต้องจัดตั้งกองทัพแห่งยุโรป" . เซเลนสกี บอกว่ากองทัพยุโรป ซึ่งจะรวมถึงยูเครน มีความจำเป็นเพื่อที่อนาคตของทวีปแห่งนี้จะพึ่งพิงเฉพาะแค่ยุโรป และการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับยุโรปจะดำเนินการในยุโรป" เขากล่าว พร้อมระบุ "อเมริกาต้องการยุโรปในฐานะตลาดหนึ่งๆ หรือไม่? ใช่ แต่ในฐานะพันธมิตรละ? ผมไม่รู้ ถ้าต้องการให้คำตอบออกมาเป็นใช่ ยุโรปจำเป็นต้องส่งเสียงเป็นหนึ่งเดียว ไม่ใช่เสียงที่แตกต่างกันนับสิบ" . เจ้าหน้าที่ในรัฐบาลของทรัมป์ แสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ว่าพวกเขาคาดหมายว่าบรรดาพันธมิตรยุโรปในนาโต ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหลักสำหรับความมั่นคงของตนเอง เนื่องจากเวลานี้อเมริกาให้ลำดับความสำคัญไปที่เรื่องอื่นๆ เช่น ความมั่นคงตามชายแดนและการตอบโต้จีน . อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ บอกว่าพวกเขายังคงมุ่งมั่นในพันธมิตรทหารข้ามแอตแลนติกหรือนาโต "อเมริกาจำเป็นต้องได้เห็นว่ายุโรปกำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางไหน" เซเลนสกี "ทิศทางนโยบายยุโรปไม่ควรเป็นแค่คำสัญญา แต่มันควรเป็นว่าอเมริกาต้องการยืนหยัดเคียงข้างยุโรปอย่างแข็งขัน" . ทรัมป์ สร้างความตกตะลึงแก่พันธมิตรยุโรป โดยการต่อสายพูดคุยกับปูตินเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ โดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับพวกเขาล่วงหน้า พร้อมทั้งยังประกาศเริ่มเจรจาสันติภาพยูเครนในทันที ทั้งนี้ เซเลนสกี บอกกับที่ประชุม เชื่อว่ามันจะ "อันตราย" หากว่า ทรัมป์ พบปะกับ ปูติน ก่อนเขา . จนถึงตอนนี้รัฐบาลของทรัมป์กำลังสร้างความคลางแคลงใจกับบรรดาพันธมิตรยุโรปบางส่วน ว่าพวกเขากำลังยอมอ่อนข้อแก่ปูติน โดยที่ยูเครนต้องเป็นผู้ชดใช้ ก่อนการเจรจาใดๆ เริ่มต้นขึ้น ในขณะที่ความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางส่วนของสหรัฐฯ ก็ยิ่งเพิ่มความสับสน . ด้วยเหตุนี้ เซเลนสกี จึงเตือนพวกผู้นำยุโรปอีกรอบว่า ประเทศของพวกเขาอาจเป็นรายต่อไปที่ต้องเจอการโจมตีของรัสเซีย "ถ้าสงครามนี้ (ยูเครน-รัสเซีย) จบลงในหนทางผิดๆ ปูตินจะมีทหารที่ผ่านการสู้รบมากมาย ซึ่งไม่รู้อะไรอย่างอื่นเลย นอกเหนือจากการฆ่าและปล้นสะดม" เขากล่าว อ้างถึงรายงานข่าวกรองที่บ่งชี้ว่ารัสเซียจะส่งทหารเข้าไปยังเบลารุส พันธมิตรใกล้ชิดและอีกหนึ่งเพื่อนบ้านของยูเครนในฤดูร้อนนี้ . ความร่วมมือทางทหารในบรรดาชาติยุโรปเป็นเป้าหมายหลักภายในนาโต แต่จนถึงตอนนี้รัฐบาลชาติต่างๆ ยังคงปฏิเสธเสียงเรียกร้องให้จัดตั้งกองทัพเดี่ยวของยุโรปขึ้นมา อ้างว่าการป้องกันตนเองเป็นเรื่องของอธิปไตยแห่งชาติ . เซเลนสกี โต้แย้งว่าการที่ยุโรปเสริมความเข้มแข็งด้านการทหาร ไม่ใช่จะเป็นผลดีเฉพาะกับความมั่นคง แต่ยังรวมถึงเศรษฐกิจของทวีปด้วย "มันไม่ใช่แค่เรื่องเกี่ยวกับสต๊อกอาวุธ แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจ้างงาน ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและแนวโน้มเศรษฐกิจสำหรับยุโรป" . อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระดับสูงจากชาติยุโรปตะวันตกแห่งหนึ่ง ที่เป็นสมาชิกของอียู แสดงความเคลือบแคลงต่อข้อเสนอของเซเลนสกี ในการจัดตั้งกองทัพยุโรป โดยบอกว่า "มีกองทหารยุโรปอยู่แล้ว ที่เรียกกันว่านาโต" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015321 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    Sad
    15
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1497 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดมิทรี เมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย โพสต์ข้อความบน "X" เย้ยหยันเซเลนสกี:

    "ตัวตลกแห่งเคียฟ 🤡 ตำหนิทรัมป์ในทุกเรื่องที่เป็นไปได้ นั่นคือการที่ขอทานและโจรที่หมดสภาพถ่มน้ำลายใส่มือของผู้ให้ คำถามคือ ทรัมป์จะตอบแทนเค้าอย่างไร"

    The Kiev clown 🤡 chastised Trump for everything possible. That is, the washed-up beggar & thief spat into the giver's hand. The question is, how will Trump react?

    ในอีกความหมายของเมดเวเดฟคือ สุนัขที่เลี้ยงไม่เชื่อง กำลังแว้งกัดเจ้านายของมัน รอดูว่าเจ้านายจะทำอย่างไรกับสุนัขตัวนี้
    ดมิทรี เมดเวเดฟ รองประธานสภาความมั่นคงรัสเซีย โพสต์ข้อความบน "X" เย้ยหยันเซเลนสกี: "ตัวตลกแห่งเคียฟ 🤡 ตำหนิทรัมป์ในทุกเรื่องที่เป็นไปได้ นั่นคือการที่ขอทานและโจรที่หมดสภาพถ่มน้ำลายใส่มือของผู้ให้ คำถามคือ ทรัมป์จะตอบแทนเค้าอย่างไร" The Kiev clown 🤡 chastised Trump for everything possible. That is, the washed-up beggar & thief spat into the giver's hand. The question is, how will Trump react? ในอีกความหมายของเมดเวเดฟคือ สุนัขที่เลี้ยงไม่เชื่อง กำลังแว้งกัดเจ้านายของมัน รอดูว่าเจ้านายจะทำอย่างไรกับสุนัขตัวนี้
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 261 มุมมอง 0 รีวิว
  • เครมลินออกมาปฏิเสธว่าเป็นฝ่ายโจมตีโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล จากข้อกล่าวหาของยูเครน และตอบโต้ว่านี่เป็นการยั่วยุและสร้างเรื่องโกหกของยูเครน:

    “รัสเซียไม่เคยโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ของยูเครน การกล่าวหาว่ามอสโกมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีดังกล่าวเป็นการยั่วยุและโกหก” เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าว

    หลังการโจมตีเชอร์โนบิล เซเลนสกีโพสต์ข้อความบน "X" เพื่อพยายามจะฟ้องสื่อในมิวนิคว่า "รัสเซียกำลังแสดงออกให้เห็นว่าไม่เต็มใจที่จะสร้างสันติภาพโดยการโจมตีไปที่เตาปฏิกรณ์ที่ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลโดยเจตนา"

    Rogov สส.ของรัสเซีย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงของรัสเซีย กล่าวกับสำนักข่าว RIA Novosti ว่า การโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลของเคียฟก่อนการประชุมมิวนิคเป็นการยั่วยุที่มุ่งเป้าไปที่การขัดขวางการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกา
    เครมลินออกมาปฏิเสธว่าเป็นฝ่ายโจมตีโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล จากข้อกล่าวหาของยูเครน และตอบโต้ว่านี่เป็นการยั่วยุและสร้างเรื่องโกหกของยูเครน: “รัสเซียไม่เคยโจมตีโครงสร้างพื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ของยูเครน การกล่าวหาว่ามอสโกมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจมตีดังกล่าวเป็นการยั่วยุและโกหก” เปสคอฟ โฆษกเครมลินกล่าว หลังการโจมตีเชอร์โนบิล เซเลนสกีโพสต์ข้อความบน "X" เพื่อพยายามจะฟ้องสื่อในมิวนิคว่า "รัสเซียกำลังแสดงออกให้เห็นว่าไม่เต็มใจที่จะสร้างสันติภาพโดยการโจมตีไปที่เตาปฏิกรณ์ที่ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลโดยเจตนา" Rogov สส.ของรัสเซีย และเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงของรัสเซีย กล่าวกับสำนักข่าว RIA Novosti ว่า การโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลของเคียฟก่อนการประชุมมิวนิคเป็นการยั่วยุที่มุ่งเป้าไปที่การขัดขวางการเจรจาระหว่างรัสเซียและสหรัฐอเมริกา
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ข้อตกลงใดๆ ที่ทำลับหลังเราจะไม่มีผลใดๆ ต้องมียุโรปและยูเครนอยู่ในการเจรจาด้วย"
    คายา คัลลาส (Kaja Kallas) หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป:

    "ยุโรปพร้อมจะสนับสนุนยูเครน ในกรณีที่เคียฟไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงสันติภาพที่สรุประหว่างสหรัฐและรัสเซีย"

    คัลลาสยังกล่าวพาดพิงไปถึงสหรัฐอีกว่า การที่ยูเครนถูกปฏิเสธการเป็นสมาชิกนาโตเพื่อแลกกับ "การรับประกันความปลอดภัย" นั้น ไม่ใช่การยุติปัญหาอย่างสันติ แต่เป็นการยอมจำนนต่อเครมลิน
    "ข้อตกลงใดๆ ที่ทำลับหลังเราจะไม่มีผลใดๆ ต้องมียุโรปและยูเครนอยู่ในการเจรจาด้วย" คายา คัลลาส (Kaja Kallas) หัวหน้าฝ่ายนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป: "ยุโรปพร้อมจะสนับสนุนยูเครน ในกรณีที่เคียฟไม่เห็นด้วยกับข้อตกลงสันติภาพที่สรุประหว่างสหรัฐและรัสเซีย" คัลลาสยังกล่าวพาดพิงไปถึงสหรัฐอีกว่า การที่ยูเครนถูกปฏิเสธการเป็นสมาชิกนาโตเพื่อแลกกับ "การรับประกันความปลอดภัย" นั้น ไม่ใช่การยุติปัญหาอย่างสันติ แต่เป็นการยอมจำนนต่อเครมลิน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 20 0 รีวิว
Pages Boosts