• 10 ปี โศกนาฏกรรม Germanwings เที่ยวบิน 4U9525 เครื่องบินตกที่เทือกเขาแอลป์ จากเหตุ “นักบินผู้ช่วยป่วยจิต” เจตนาฆ่ายกลำ 150 ศพ!

    เหตุการณ์เครื่องบินตกของสายการบิน Germanwings เที่ยวบิน 4U9525 ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางอากาศ ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์การบินของเยอรมนี และกลายเป็นคดีสะเทือนขวัญ ที่ยังคงถูกพูดถึง แม้เวลาจะล่วงเลยไปกว่า 10 ปีแล้ว

    เพราะสิ่งที่ยิ่งกว่าความสูญเสียคือ “ข้อเท็จจริงอันน่าสยดสยอง” ว่าผู้ช่วยนักบิน ตั้งใจทำให้เครื่องบินตก นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้โดยสาร และลูกเรือทั้ง 150 คนบนเครื่อง

    โศกนาฏกรรม เที่ยวบิน 4U9525 วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:41 น. สายการบิน Germanwings เที่ยวบินที่ 4U9525 ได้บินจากบาร์เซโลนา ประเทศสเปน มุ่งหน้าสู่ดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ด้วยเครื่องบิน Airbus A320-200 ที่มีอายุการใช้งาน 24 ปี ผู้โดยสารบนเครื่องมีทั้งหมด 144 คน และลูกเรือ 6 คน รวมถึงกัปตัน " แพทริก ซอน เดนไฮเมอร์" (Patrick Son Denheimer) และผู้ช่วยนักบิน "อันเดรียส ลูบริซ" (Andreas Lubitz)

    การเดินทางที่ควรจะ "ปกติ" เริ่มต้นได้อย่างราบรื่น เครื่องบินไต่ระดับขึ้นไปที่ 38,000 ฟุต แต่เพียงไม่นาน... เครื่องบินก็เริ่มลดระดับลงอย่างผิดปกติ โดยไม่มีการติดต่อกลับจากนักบินผู้ช่วย

    สิบนาทีสุดท้าย ก่อนพุ่งชนเทือกเขาแอลป์ ในช่วงเวลาสิบกว่านาทีสุดท้ายของเที่ยวบิน ลูบิตซ์ นักบินผู้ช่วย ได้ใช้โอกาสที่กัปตันเดนไฮเมอร์ ออกไปจากห้องนักบิน กดล็อกประตูไม่ให้กัปตันกลับเข้าไป และตั้งค่าระบบนำร่องอัตโนมัติ ให้เครื่องบินพุ่งต่ำลงเรื่อยๆ จนกระทั่งชนภูเขาในเขต Massif des Trois-Évêchés ของเทือกเขาแอลป์

    เสียงในห้องนักบินที่บันทึกโดยกล่องดำ (CVR) เผยให้เห็นว่าลูบิตซ์เงียบตลอดเวลาดำเนินการ และไม่ตอบสนองต่อการติดต่อใดๆ แม้แต่เสียงร้องขอความช่วยเหลือของกัปตันเดนไฮเมอร์ และเสียงกรีดร้องของผู้โดยสาร ที่ตระหนักถึงชะตากรรมของตนเอง

    นักบินผู้ช่วยที่ป่วยจิต… และระบบที่พังทลาย ลูบิตซ์มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า และมีอาการจิตเวชที่ซับซ้อนมาก่อน เคยหยุดการฝึกบินกลางคันในปี 2552 ด้วยปัญหาทางจิตใจ แต่ได้รับใบรับรองแพทย์คืนหลังจากผ่านการรักษา

    แม้จะหายป่วยในช่วงหนึ่ง แต่ภายหลังอาการกลับมาอีกครั้งในปี 2557-2558 โดยไม่มีใครในสายการบินรับรู้ เพราะลูบิตซ์เลือก "ปกปิด" ไม่แจ้งข้อมูลนี้กับบริษัท และเพื่อนร่วมงาน เพราะกลัวสูญเสียอาชีพการบิน ที่หลงใหลมาตลอดชีวิต

    ปัญหานี้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง ในระบบตรวจสอบสุขภาพจิตของนักบิน ที่เน้นแต่การคัดกรองและป้องกัน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบสนับสนุน และการฟื้นฟูผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ อย่างแท้จริง

    เบื้องหลังอาชญากรรม "อันเดรียส ลูบิตซ์" เป็นชายหนุ่มชาวเยอรมัน ที่เติบโตในเมือง Montabaur รักการบินมาตั้งแต่เด็ก เริ่มฝึกบินเครื่องร่อนตั้งแต่อายุ 14 ปี มีเส้นทางที่ดูเหมือนจะรุ่งโรจน์ในอาชีพนักบิน แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจิต ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้กลายเป็นฆาตกรในคราบนักบิน

    ลูบิตซ์ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง เคยมีความคิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง และสุดท้าย ก็เลือกจบชีวิตตัวเองบนเครื่องบิน พร้อมกับพรากชีวิตคนอีก 149 คนไปพร้อมกัน

    มาตรการความปลอดภัย ที่เปลี่ยนแปลงหลังเหตุการณ์
    มาตรการเร่งด่วนที่ถูกนำมาใช้ทันที
    - ต้องมีนักบินสองคนในห้องนักบินตลอดเวลา (Two-Person Cockpit Rule)
    - เข้มงวดกับการตรวจสุขภาพจิตของนักบินมากขึ้น
    - ให้สิทธิ์แพทย์ ในการแจ้งข้อมูลสุขภาพจิตของนักบิน ในกรณีเสี่ยงต่อความปลอดภัย

    แต่ปัจจุบัน หลายฝ่ายมองว่านโยบายเหล่านี้ อาจไม่ได้ป้องกันปัญหาที่แท้จริง เพราะระบบยังคงขาดความยืดหยุ่น ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตของนักบิน

    บทเรียนที่ยังคงถูกถกเถียงในวงการการบิน
    - นักบินหลายคนเลือก "โกหก" เพื่อไม่ให้ประวัติสุขภาพจิต มาทำลายอาชีพการบินของตนเอง
    - ความเข้มงวดเกินไปในระบบใบรับรองแพทย์ อาจทำให้ปัญหาซ่อนอยู่ มากกว่าการเปิดเผยความจริง
    - จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมการยอมรับและสนับสนุน ไม่ใช่การลงโทษคนที่ขอความช่วยเหลือ

    คำถามคือ เราจะป้องกันไม่ให้เกิด "Andreas Lubitz คนต่อไป" ได้อย่างไร?

    เหตุการณ์ที่โลกไม่มีวันลืม โศกนาฏกรรมเที่ยวบิน 4U9525 เป็นตัวอย่างสะท้อนความสำคัญ ของการตรวจสอบสุขภาพจิตนักบิน อย่างเป็นระบบและมีมนุษยธรรม หากไม่มีการปรับปรุง ระบบเดิมจะยังคงสร้างช่องว่าง ให้โศกนาฏกรรมเกิดขึ้นได้อีกครั้ง

    10 ปีผ่านไป... แต่รอยแผลจากวันนั้นยังคงอยู่ และคำถามที่ไร้คำตอบก็คือ "ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ สิ่งนี้จะป้องกันได้ไหม?"

    ความเชื่อใจในนักบินเป็นสิ่งสำคัญ แต่ "ระบบ" ที่สนับสนุนความปลอดภัยนั้น สำคัญยิ่งกว่า!

    10 ปีแห่งบทเรียนที่ไม่มีวันลืม...

    เพื่อความปลอดภัยของทุกชีวิตบนท้องฟ้า

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241018 มี.ค. 2568

    #เที่ยวบิน9525 #Germanwings #โศกนาฏกรรมการบิน #AndreasLubitz #สุขภาพจิตนักบิน #โศกนาฏกรรมเยอรมันวิงส์ #ความปลอดภัยทางการบิน #ห้องนักบิน #อุบัติเหตุการบิน #บินปลอดภัย
    10 ปี โศกนาฏกรรม Germanwings เที่ยวบิน 4U9525 เครื่องบินตกที่เทือกเขาแอลป์ จากเหตุ “นักบินผู้ช่วยป่วยจิต” เจตนาฆ่ายกลำ 150 ศพ! ✈️ เหตุการณ์เครื่องบินตกของสายการบิน Germanwings เที่ยวบิน 4U9525 ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางอากาศ ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง ในประวัติศาสตร์การบินของเยอรมนี และกลายเป็นคดีสะเทือนขวัญ ที่ยังคงถูกพูดถึง แม้เวลาจะล่วงเลยไปกว่า 10 ปีแล้ว 🚨 เพราะสิ่งที่ยิ่งกว่าความสูญเสียคือ “ข้อเท็จจริงอันน่าสยดสยอง” ว่าผู้ช่วยนักบิน ตั้งใจทำให้เครื่องบินตก นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้โดยสาร และลูกเรือทั้ง 150 คนบนเครื่อง ✈️ ✈️ โศกนาฏกรรม เที่ยวบิน 4U9525 วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 10:41 น. สายการบิน Germanwings เที่ยวบินที่ 4U9525 ได้บินจากบาร์เซโลนา ประเทศสเปน มุ่งหน้าสู่ดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี ด้วยเครื่องบิน Airbus A320-200 ที่มีอายุการใช้งาน 24 ปี ผู้โดยสารบนเครื่องมีทั้งหมด 144 คน และลูกเรือ 6 คน รวมถึงกัปตัน " แพทริก ซอน เดนไฮเมอร์" (Patrick Son Denheimer) และผู้ช่วยนักบิน "อันเดรียส ลูบริซ" (Andreas Lubitz) 👨‍✈️ การเดินทางที่ควรจะ "ปกติ" เริ่มต้นได้อย่างราบรื่น เครื่องบินไต่ระดับขึ้นไปที่ 38,000 ฟุต ⛰️ แต่เพียงไม่นาน... เครื่องบินก็เริ่มลดระดับลงอย่างผิดปกติ โดยไม่มีการติดต่อกลับจากนักบินผู้ช่วย ⚠️ 🚨 สิบนาทีสุดท้าย ก่อนพุ่งชนเทือกเขาแอลป์ ในช่วงเวลาสิบกว่านาทีสุดท้ายของเที่ยวบิน ลูบิตซ์ นักบินผู้ช่วย ได้ใช้โอกาสที่กัปตันเดนไฮเมอร์ ออกไปจากห้องนักบิน กดล็อกประตูไม่ให้กัปตันกลับเข้าไป และตั้งค่าระบบนำร่องอัตโนมัติ ให้เครื่องบินพุ่งต่ำลงเรื่อยๆ จนกระทั่งชนภูเขาในเขต Massif des Trois-Évêchés ของเทือกเขาแอลป์ 🏔️ เสียงในห้องนักบินที่บันทึกโดยกล่องดำ (CVR) เผยให้เห็นว่าลูบิตซ์เงียบตลอดเวลาดำเนินการ และไม่ตอบสนองต่อการติดต่อใดๆ แม้แต่เสียงร้องขอความช่วยเหลือของกัปตันเดนไฮเมอร์ และเสียงกรีดร้องของผู้โดยสาร ที่ตระหนักถึงชะตากรรมของตนเอง 😢 ⚠️ นักบินผู้ช่วยที่ป่วยจิต… และระบบที่พังทลาย ลูบิตซ์มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า และมีอาการจิตเวชที่ซับซ้อนมาก่อน เคยหยุดการฝึกบินกลางคันในปี 2552 ด้วยปัญหาทางจิตใจ แต่ได้รับใบรับรองแพทย์คืนหลังจากผ่านการรักษา ✅ แม้จะหายป่วยในช่วงหนึ่ง แต่ภายหลังอาการกลับมาอีกครั้งในปี 2557-2558 โดยไม่มีใครในสายการบินรับรู้ เพราะลูบิตซ์เลือก "ปกปิด" ไม่แจ้งข้อมูลนี้กับบริษัท และเพื่อนร่วมงาน เพราะกลัวสูญเสียอาชีพการบิน ที่หลงใหลมาตลอดชีวิต 🛩️ 👉 ปัญหานี้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง ในระบบตรวจสอบสุขภาพจิตของนักบิน ที่เน้นแต่การคัดกรองและป้องกัน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบสนับสนุน และการฟื้นฟูผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ อย่างแท้จริง 🔍 เบื้องหลังอาชญากรรม "อันเดรียส ลูบิตซ์" เป็นชายหนุ่มชาวเยอรมัน ที่เติบโตในเมือง Montabaur รักการบินมาตั้งแต่เด็ก เริ่มฝึกบินเครื่องร่อนตั้งแต่อายุ 14 ปี มีเส้นทางที่ดูเหมือนจะรุ่งโรจน์ในอาชีพนักบิน แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจิต ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ทำให้กลายเป็นฆาตกรในคราบนักบิน ✈️ ลูบิตซ์ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรัง เคยมีความคิดฆ่าตัวตายหลายครั้ง และสุดท้าย ก็เลือกจบชีวิตตัวเองบนเครื่องบิน พร้อมกับพรากชีวิตคนอีก 149 คนไปพร้อมกัน ⚰️ 📜 มาตรการความปลอดภัย ที่เปลี่ยนแปลงหลังเหตุการณ์ มาตรการเร่งด่วนที่ถูกนำมาใช้ทันที - ต้องมีนักบินสองคนในห้องนักบินตลอดเวลา (Two-Person Cockpit Rule) - เข้มงวดกับการตรวจสุขภาพจิตของนักบินมากขึ้น 📝 - ให้สิทธิ์แพทย์ ในการแจ้งข้อมูลสุขภาพจิตของนักบิน ในกรณีเสี่ยงต่อความปลอดภัย ⚖️ แต่ปัจจุบัน หลายฝ่ายมองว่านโยบายเหล่านี้ อาจไม่ได้ป้องกันปัญหาที่แท้จริง เพราะระบบยังคงขาดความยืดหยุ่น ในการจัดการกับปัญหาสุขภาพจิตของนักบิน 😔 💡 บทเรียนที่ยังคงถูกถกเถียงในวงการการบิน - นักบินหลายคนเลือก "โกหก" เพื่อไม่ให้ประวัติสุขภาพจิต มาทำลายอาชีพการบินของตนเอง - ความเข้มงวดเกินไปในระบบใบรับรองแพทย์ อาจทำให้ปัญหาซ่อนอยู่ มากกว่าการเปิดเผยความจริง - จำเป็นต้องสร้างวัฒนธรรมการยอมรับและสนับสนุน ไม่ใช่การลงโทษคนที่ขอความช่วยเหลือ 🎯 คำถามคือ เราจะป้องกันไม่ให้เกิด "Andreas Lubitz คนต่อไป" ได้อย่างไร? ✨ เหตุการณ์ที่โลกไม่มีวันลืม โศกนาฏกรรมเที่ยวบิน 4U9525 เป็นตัวอย่างสะท้อนความสำคัญ ของการตรวจสอบสุขภาพจิตนักบิน อย่างเป็นระบบและมีมนุษยธรรม หากไม่มีการปรับปรุง ระบบเดิมจะยังคงสร้างช่องว่าง ให้โศกนาฏกรรมเกิดขึ้นได้อีกครั้ง 💔 10 ปีผ่านไป... แต่รอยแผลจากวันนั้นยังคงอยู่ และคำถามที่ไร้คำตอบก็คือ "ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ สิ่งนี้จะป้องกันได้ไหม?" ⏳ ✈️ ความเชื่อใจในนักบินเป็นสิ่งสำคัญ แต่ "ระบบ" ที่สนับสนุนความปลอดภัยนั้น สำคัญยิ่งกว่า! 10 ปีแห่งบทเรียนที่ไม่มีวันลืม... 🕊️ เพื่อความปลอดภัยของทุกชีวิตบนท้องฟ้า 🌤️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 241018 มี.ค. 2568 📌 #เที่ยวบิน9525 #Germanwings #โศกนาฏกรรมการบิน #AndreasLubitz #สุขภาพจิตนักบิน #โศกนาฏกรรมเยอรมันวิงส์ #ความปลอดภัยทางการบิน #ห้องนักบิน #อุบัติเหตุการบิน #บินปลอดภัย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1268 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำรวจเกาหลีใต้บุกค้นสำนักงานของสายการบินเชจู แอร์ บริษัทผู้บริหารจัดการท่าอากาศยานมูอัน รวมถึงสำนักงานการบินพลเรือนประจำภูมิภาคของกระทรวงคมนาคม โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมเครื่องบินเชจู แอร์เมื่อช่วงสิ้นปีที่มีผู้เสียชีวิตถึง 179 คน และเป็นอุบัติเหตุการบินครั้งเลวร้ายที่สุดของเกาหลีใต้
    .
    เที่ยวบิน 2216 ของเชจู แอร์ ที่ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในกรุงเทพฯ มุ่งหน้าเมืองมูอัน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ ประสบอุบัติเหตุขณะลงจอดเนื่องจากล้อไม่กาง ทำให้ส่วนท้องเครื่องบินไถลไปตามรันเวย์และชนกับแผงคอนกรีตที่สุดรันเวย์ก่อนระเบิดพร้อมกับเกิดเพลิงลุกท่วมเมื่อวันอาทิตย์ (29 ธ.ค.) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 179 คน ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 2 คน จากผู้โดยสารและลูกเรือรวมทั้งหมด 181 คน
    .
    กล่องดำทั้ง 2 กล่องของเที่ยวบินนี้ถูกค้นพบเก็บกู้มาได้แล้ว และจู จองวาน รัฐมนตรีช่วยคมนาคมฝ่ายการบินพลเรือน แถลงในวันพฤหัสฯ (2) ว่า การแปลงข้อมูลจากกล่องดำที่เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงในห้องนักบิน ให้เป็นไฟล์เสียงนั้นเสร็จสิ้นแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการสอบสวน ส่วนกล่องดำอีกกล่องหนึ่งที่เป็นบันทึกข้อมูลการบิน ซึ่งปรากฏว่าได้รับความเสียหายนั้น ได้จัดส่งไปให้ทางอเมริกาช่วยวิเคราะห์แล้ว
    .
    วันเดียวกันนั้น ตำรวจจังหวัดชอลลาแถลงว่า ได้ยกกำลังเข้าค้นสำนักงานบริษัทผู้ดำเนินการท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ซึ่งเป็นจุดที่เที่ยวบิน 2216 ของเชจู แอร์ประสบอุบัติเหตุ สำนักงานการบินพลเรือนประจำภูมิภาคของกระทรวงคมนาคมในเมืองมูอัน และสำนักงานของเชจู แอร์ในกรุงโซล เพื่อยึดเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการซ่อมบำรุงเครื่องบิน ตลอดจนถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ ภายในสนามบิน
    .
    สำนักข่าวยอนฮัปรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ว่า การเข้าตรวจค้นคราวนี้ใช้หมายค้นซึ่งได้รับอนุมัติโดยอิงกับข้อกล่าวหาว่ามีการประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต
    .
    เวลาเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางอากาศหลายคนซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับสาเหตุของการระเบิดของเครื่องบิน กำลังพุ่งความสนใจไปที่การถมคันทางที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเสาสัญญาณบอกตำแหน่งแนวกึ่งกลางรันเวย์ที่ใช้นำทางในการลงจอด โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นระบุว่า อยู่ใกล้ปลายรันเวย์มากเกินไป
    .
    นัจเมดิน เมชเกติ ศาสตราจารย์วิศวกรรมของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ชี้ว่า โครงสร้างตายตัวของเสาสัญญาณดังกล่าวถูกพิสูจน์แล้วว่ามีอันตราย เมื่อเครื่องบินไถลเข้าชน และเสริมว่า เสาสัญญาณนำทางของสนามบินมูอันมีแนวโน้มว่า ติดตั้งอยู่บนโครงสร้างคอนกรีตแทนที่จะเป็นเสาหรือหอโลหะตามมาตรฐานทั่วไป
    .
    ขณะที่รัฐมนตรีช่วยจู บอกว่า กระทรวงคมนาคมกำลังตรวจสอบอุปกรณ์ระบุตำแหน่งแนวกึ่งกลางรันเวย์ในสนามบินทั่วประเทศ
    .
    การสอบสวนเหตุโศกนาฏกรรมเที่ยวบินเชจู แอร์ ที่ดำเนินกันอยู่ในขณะนี้ นอกจากทางฝ่ายเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้แล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของอเมริกา (เอ็นทีเอสบี) สำนักงานการบินกลางของรัฐบาลสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) และตัวแทนจากบริษัทโบอิ้งร่วมตรวจสอบด้วย
    .
    นอกจากนั้น เกาหลีใต้ยังประกาศตรวจสอบเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ทุกลำที่ดำเนินการโดยสายการบินของเกาหลีใต้ โดยเน้นที่ชุดฐานล้อที่ดูเหมือนขัดข้องระหว่างเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันอาทิตย์
    .
    ชอย ซังม็อก รักษาการประธานาธิบดี แถลงเมื่อวันพฤหัสฯ ว่า ต้องเร่งดำเนินการทันที หากการตรวจสอบดังกล่าวพบปัญหาใดๆ นอกจากนั้น กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องตรวจสอบการซ่อมบำรุงอย่างละเอียด รวมทั้งให้ความรู้และการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม
    .
    ก่อนหน้านี้ มีการเปิดเผยว่าสายการบิน 6 แห่งของเกาหลีใต้ใช้เครื่องโบอิ้ง 737-800 รวมทั้งสิ้น 101 ลำ
    .
    ชอยยังขอให้ช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่ รวมทั้งขอให้ตำรวจดำเนินการกับผู้ที่โพสต์ข้อความประสงค์ร้ายและข่าวปลอมเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมนี้บนโซเชียลมีเดีย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000529
    ..............
    Sondhi X
    ตำรวจเกาหลีใต้บุกค้นสำนักงานของสายการบินเชจู แอร์ บริษัทผู้บริหารจัดการท่าอากาศยานมูอัน รวมถึงสำนักงานการบินพลเรือนประจำภูมิภาคของกระทรวงคมนาคม โดยเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวนหาสาเหตุของโศกนาฏกรรมเครื่องบินเชจู แอร์เมื่อช่วงสิ้นปีที่มีผู้เสียชีวิตถึง 179 คน และเป็นอุบัติเหตุการบินครั้งเลวร้ายที่สุดของเกาหลีใต้ . เที่ยวบิน 2216 ของเชจู แอร์ ที่ออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในกรุงเทพฯ มุ่งหน้าเมืองมูอัน ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้ ประสบอุบัติเหตุขณะลงจอดเนื่องจากล้อไม่กาง ทำให้ส่วนท้องเครื่องบินไถลไปตามรันเวย์และชนกับแผงคอนกรีตที่สุดรันเวย์ก่อนระเบิดพร้อมกับเกิดเพลิงลุกท่วมเมื่อวันอาทิตย์ (29 ธ.ค.) เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 179 คน ในจำนวนนี้เป็นคนไทย 2 คน จากผู้โดยสารและลูกเรือรวมทั้งหมด 181 คน . กล่องดำทั้ง 2 กล่องของเที่ยวบินนี้ถูกค้นพบเก็บกู้มาได้แล้ว และจู จองวาน รัฐมนตรีช่วยคมนาคมฝ่ายการบินพลเรือน แถลงในวันพฤหัสฯ (2) ว่า การแปลงข้อมูลจากกล่องดำที่เป็นอุปกรณ์บันทึกเสียงในห้องนักบิน ให้เป็นไฟล์เสียงนั้นเสร็จสิ้นแล้ว แต่ไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชนได้เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการสอบสวน ส่วนกล่องดำอีกกล่องหนึ่งที่เป็นบันทึกข้อมูลการบิน ซึ่งปรากฏว่าได้รับความเสียหายนั้น ได้จัดส่งไปให้ทางอเมริกาช่วยวิเคราะห์แล้ว . วันเดียวกันนั้น ตำรวจจังหวัดชอลลาแถลงว่า ได้ยกกำลังเข้าค้นสำนักงานบริษัทผู้ดำเนินการท่าอากาศยานนานาชาติมูอัน ซึ่งเป็นจุดที่เที่ยวบิน 2216 ของเชจู แอร์ประสบอุบัติเหตุ สำนักงานการบินพลเรือนประจำภูมิภาคของกระทรวงคมนาคมในเมืองมูอัน และสำนักงานของเชจู แอร์ในกรุงโซล เพื่อยึดเอกสารและหลักฐานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการซ่อมบำรุงเครื่องบิน ตลอดจนถึงการดำเนินการเกี่ยวกับสิ่งอำนวยสะดวกต่างๆ ภายในสนามบิน . สำนักข่าวยอนฮัปรายงานโดยอ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ว่า การเข้าตรวจค้นคราวนี้ใช้หมายค้นซึ่งได้รับอนุมัติโดยอิงกับข้อกล่าวหาว่ามีการประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบวิชาชีพจนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต . เวลาเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางอากาศหลายคนซึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับสาเหตุของการระเบิดของเครื่องบิน กำลังพุ่งความสนใจไปที่การถมคันทางที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเสาสัญญาณบอกตำแหน่งแนวกึ่งกลางรันเวย์ที่ใช้นำทางในการลงจอด โดยที่ผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นระบุว่า อยู่ใกล้ปลายรันเวย์มากเกินไป . นัจเมดิน เมชเกติ ศาสตราจารย์วิศวกรรมของมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ชี้ว่า โครงสร้างตายตัวของเสาสัญญาณดังกล่าวถูกพิสูจน์แล้วว่ามีอันตราย เมื่อเครื่องบินไถลเข้าชน และเสริมว่า เสาสัญญาณนำทางของสนามบินมูอันมีแนวโน้มว่า ติดตั้งอยู่บนโครงสร้างคอนกรีตแทนที่จะเป็นเสาหรือหอโลหะตามมาตรฐานทั่วไป . ขณะที่รัฐมนตรีช่วยจู บอกว่า กระทรวงคมนาคมกำลังตรวจสอบอุปกรณ์ระบุตำแหน่งแนวกึ่งกลางรันเวย์ในสนามบินทั่วประเทศ . การสอบสวนเหตุโศกนาฏกรรมเที่ยวบินเชจู แอร์ ที่ดำเนินกันอยู่ในขณะนี้ นอกจากทางฝ่ายเจ้าหน้าที่เกาหลีใต้แล้ว ยังมีเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการความปลอดภัยในการขนส่งแห่งชาติของอเมริกา (เอ็นทีเอสบี) สำนักงานการบินกลางของรัฐบาลสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) และตัวแทนจากบริษัทโบอิ้งร่วมตรวจสอบด้วย . นอกจากนั้น เกาหลีใต้ยังประกาศตรวจสอบเครื่องบินโบอิ้ง 737-800 ทุกลำที่ดำเนินการโดยสายการบินของเกาหลีใต้ โดยเน้นที่ชุดฐานล้อที่ดูเหมือนขัดข้องระหว่างเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันอาทิตย์ . ชอย ซังม็อก รักษาการประธานาธิบดี แถลงเมื่อวันพฤหัสฯ ว่า ต้องเร่งดำเนินการทันที หากการตรวจสอบดังกล่าวพบปัญหาใดๆ นอกจากนั้น กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องตรวจสอบการซ่อมบำรุงอย่างละเอียด รวมทั้งให้ความรู้และการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม . ก่อนหน้านี้ มีการเปิดเผยว่าสายการบิน 6 แห่งของเกาหลีใต้ใช้เครื่องโบอิ้ง 737-800 รวมทั้งสิ้น 101 ลำ . ชอยยังขอให้ช่วยเหลือครอบครัวผู้เสียชีวิตอย่างเต็มที่ รวมทั้งขอให้ตำรวจดำเนินการกับผู้ที่โพสต์ข้อความประสงค์ร้ายและข่าวปลอมเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมนี้บนโซเชียลมีเดีย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000000529 .............. Sondhi X
    Like
    6
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1789 มุมมอง 0 รีวิว