• “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องเมื่อ 9 ธ.ค.ครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป

    วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000123200

    #MGROnline #สนธิลิ้มทองกุล #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์ #MOU2544 #JC2544

    “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องเมื่อ 9 ธ.ค.ครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป • วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้ • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000123200 • #MGROnline #สนธิลิ้มทองกุล #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์ #MOU2544 #JC2544
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
  • ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ##
    ..
    ..
    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้
    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้
    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม
    .
    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ
    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ
    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้
    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้
    .
    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ
    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย
    .
    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก
    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958
    .
    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล
    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว
    .
    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย
    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน
    .
    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้
    .
    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
    .
    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน
    .
    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที
    .
    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป
    .
    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง
    .
    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป
    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้
    .
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    ## เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) ## .. .. เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม . ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ . ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย . ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 . ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว . ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน . จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ . 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 . 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน . 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที . 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป . 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง . 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ . https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 426 มุมมอง 0 รีวิว
  • “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป
    .
    วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้
    .
    รายละเอียดหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี
    .
    ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗
    วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗
    เรื่อง ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย
    .
    กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
    อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗
    (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ
    (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙
    .
    ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว
    .
    บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้น การแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้น ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป
    .
    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
    ขอแสดงความนับถือ
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123204
    ..............
    Sondhi X
    “สนธิ” ยื่นหนังสือทวงถามนายกฯ ปมยกเลิก MOU2544 และ JC2544 หลังยื่นข้อเรียกร้องครบ 15 วันแล้วยังนิ่งเฉย เสี่ยงทำให้ประเทศเสียอธิปไตยทางทะเล ผิดรัฐธรรมนูญ เตรียมดำเนินการทางกฎหมายตามที่เห็นสมควรต่อไป . วันนี้(24 ธ.ค.) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะได้เดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีให้เพิกถอน MOU 2544 และ JC 2544 ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ (กพร. ฝั่งตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 ร่วมลงนามตั้งแต่ 9.00 น. และยื่นหนังสือเวลา 10.00 น. หลังเคยยื่นหนังสือเรียกร้องเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2567 และครบกำหนด 15 วัน จึงมาทวงถามในวันนี้ . รายละเอียดหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี . ที่ กอ. ๑๙๙/๒๕๖๗ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ เรื่อง ทวงถามการดำเนินการตามหนังสือให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีป ของราชอาณาจักรไทย . กราบเรียนฯพณฯ นายกรัฐมนตรี อ้างถึง (๑) หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กอ.๑๗๒/๒๕๖๗ ลงวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๒) หนังสือสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร ๐๑๐๕.๔/๑๐๖๒๔ ลงวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๗ (๓) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ (๔) ประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๓ ความผิดต่อความมั่นคงภายนอกราชอาณาจักร มาตรา ๑๑๙ – มาตรา ๑๒๙ . ตามที่พวกข้าพเจ้า นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และมวลหมู่ประชาชนจำนวนมาก ได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่กรณี MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ซึ่งมีการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขัดต่อพระบรมราชโองการฯ และฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย อันเป็นการสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียเอกราช อำนาจอธิปไตย สิทธิอธิปไตย และบูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปของราชอาณาจักรไทย โดยขอให้ดำเนินการในประการสำคัญ คือ ขอให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย และขอให้ท่านเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีมติให้ส่ง MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ด้วยหรือไม่ ตามมาตรา ๑๗๘ วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU ๒๕๔๔ และ JC ๒๕๔๔ ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้องตามตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งขอให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชน โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ต่อมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีหนังสือตามที่อ้างถึง (๒) แจ้งว่า ได้นำเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบและนำพิจารณากราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามที่เห็นสมควร และได้ประสานงานส่งเรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ข้าพเจ้าทราบโดยตรงให้ข้าพเจ้าโดยตรง ความละเอียดทราบแล้วนั้น แต่หนังสือดังกล่าวไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้อง รวม ๖ ประการ ซึ่งข้าพเจ้ากับมวลหมู่ประชาชนได้ให้เวลาแก่ท่านดำเนินการและแจ้งตอบเป็นเวลา ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว และดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือดังกล่าว . บัดนี้ ระยะเวลาได้ครบกำหนด ๑๕ วัน แล้ว ท่านและคณะรัฐมนตรียังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามที่ได้ร้องขอตามหนังสือที่อ้างถึง(๑) ให้แก่ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน อีกทั้งได้ปรากฏข้อเท็จจริงในสื่อมวลชนจำนวนมากว่า ท่านได้รับหนังสือและรับรู้ในข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนแล้ว แต่ท่านกลับนิ่งเฉยและไม่ปรากฏคำสัมภาษณ์ว่าจะเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีหรือจัดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งยังไม่ตอบรับใดๆว่าจะจัดให้มีเวทีสาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ในการตัดสินใจในปัญหาสำคัญของประเทศ ตามคำร้องขอในหนังสือตามที่อ้างถึง(๑) ซึ่งเป็นการกระทำที่สวนทางและขัดแย้งกับที่ท่านได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะพูดคุยกับข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชน ดังนั้น การแสดงออกดังกล่าวของท่านและคณะรัฐมนตรี ทำให้ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนเห็นประจักษ์ชัดแจ้งว่า ท่านและคณะรัฐมนตรีจงใจละเลยต่อหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย อันเป็นการกระทำที่ละเลยต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ และมาตรา ๕๗ ตามที่อ้างถึง (๓) ดังนั้น ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจึงเห็นว่า หากท่านและคณะรัฐมนตรียังคงนิ่งเฉยต่อข้อเรียกร้องของข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจนอาจทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตย ข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะถือว่าท่านและคณะรัฐมนตรีได้กระทำการอันเป็นการตระเตรียมหรือสนับสนุนการกระทำความผิดที่จะทำให้ราชอาณาจักรไทยหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรไทยต้องไปอยู่ในอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป รวมทั้งเห็นว่าท่านและคณะรัฐมนตรีมีพฤติการณ์บางประการที่ทำให้เห็นว่าได้ตระเตรียมการเพื่อคบคิดกับผู้นำของประเทศกัมพูชาด้วยความประสงค์ที่จะเป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ทำให้รัฐได้รับความเสียหาย อันอาจเป็นการกระทำความผิดอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๙ และมาตรา ๑๒๐ ประกอบกับมาตรา ๑๒๘ และมาตรา ๑๒๙ ตามที่อ้างถึง (๔) ซึ่งข้าพเจ้าและมวลหมู่ประชาชนจะได้ดำเนินการตามมาตรการทางกฎหมายและตามที่เห็นสมควรเพื่อปกป้องอธิปไตยและสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยต่อไป . จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ ขอแสดงความนับถือ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123204 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 777 มุมมอง 0 รีวิว
  • 9/12/67

    เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ)

    เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้

    วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้

    ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม

    ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ

    ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ

    เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้

    ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้

    ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ

    ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย

    ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก

    ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958

    ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล

    ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว

    ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย

    ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน

    จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้

    1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

    2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน

    3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที

    4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป

    5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง

    6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป

    ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    9/12/67 เปิด 7 ข้อเท็จจริง 6 ข้อเรียกร้อง หนังสือถึงนายกรัฐมนตรีให้หยุดดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 (ฉบับย่อ) เนื่องด้วยหนังสือของนายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ที่จะยื่นหนังสือถึง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในวันนี้ (9 ธันวาคม 2567) มีความยาวถึง 14 หน้าและยังมีสิ่งที่ส่งมาด้วยอีกจำนวนมาก อันจะทำให้สื่อมวลชนอาจไม่สามารถนำเสนอข่าวตามเนื้อหาทั้งหมดได้ครบถ้วน จึงได้จัดทำสรุปเป็นฉบับย่อลงประมาณครึ่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชนดังนี้ วันนี้ (9 มีนาคม 2567) นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ และคณะบุคคลได้ยื่นหนังสือถึงนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้นายกรัฐมนตรีหยุดการปฏิบัติหน้าที่การดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิ์เส้นไหล่ทวีปราชาณาอาณาจักรไทยกับกัมพูชา (MOU 2544) และแถลงการณ์ร่วมระหว่างนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทยกับ นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (JC 2544) เพราะมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการในการประกาศทะเลอาณาเขตและเขตทะเลต่อเนื่อง ตลอดจนประกาศเส้นเขตไหล่ทวีป ตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1985 และกฎหมายอื่น รวมทั้งยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีพระบรมราชโองการประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 ด้วยเหตุผลดังนี้ ข้อ 1 ประเทศไทยได้ลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และหนังสือสัญญาดังกล่าวระบุว่า “เกาะกูด” เป็นของสยาม ข้อ 2 ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2509 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดความกว้างของทะเลอาณาเขตประเทศไทยมีระยะ ”12 ไมล์ทะเล“ โดยวัดจากเส้นฐานที่ใช้สำหรับวัดความกว้างของทะเลอาณาเขต เป็นการประกาศ “อำนาจอธิปไตย” ออกไปจากอาณาเขตพื้นดินและน่านน้ำภายในจนถึงแนวทะเลประชิดชายฝั่ง ซึ่งเรียกว่า“ทะเลอาณาเขต” รวมตลอดถึงห้วงอากาศเหนือทะเลอาณาเขต พื้นท้องทะเล และแผ่นดินใต้พื้นท้องทะเลของทะเลอาณาเขต ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 3 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2512 โดยมีผลบังคับใช้สำหรับประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2511 ส่งผลการยืนยันประกาศพื้นที่ของประเทศไทยทั้ง “น่านน้ำภายใน” และ “ทะเลอาณาเขต”ว่าเป็น “อำนาจอธิปไตย” ของประเทศไทยตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังได้กำหนด “เขตต่อเนื่อง” ขยายไปอีก 12 ไมล์ทะเลต่อจากทะเลอาณาเขต สำหรับเป็นพื้นที่ป้องกันการละเมิดข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร รัษฎากร การเข้าเมือง หรือการอนามัย ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของประเทศไทยอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ยังกำหนดด้วยว่าหากไม่มีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น รัฐทั้งสองอยู่ตรงข้ามหรือประชิดกันให้ใช้ “เส้นมัธยะ” คือ จุดทุกจุดบนเส้นนั้นมีระยะห่างเท่ากันจากจุดที่ใกล้ที่สุดของเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขตของแต่ละรัฐ ต่อมาวันที่ 11 มิถุนายน 2513 ได้มีประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องเส้นฐานตรงและน่านน้ำภายในของประเทศไทย โดยมีเส้นที่ลากเส้นจาก “หลักเขตที่ 73” ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเล็ก ตำบลหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราดไปยังปลายแหลมด้านใต้สุดของ “เกาะกูด” นั้นเป็น “เส้นฐานตรง” โดยพื้นที่เหนือเส้นฐานตรงบริเวณนี้เป็น “น่านน้ำภายใน” ของราชอาณาจักรไทย มีอำนาจอธิปไตยเหมือนแผ่นดินของราชอาณาจักรไทยทุกประการ เมื่อ “เกาะกูด”เป็นของประเทศไทยตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ดังนั้น พื้นที่รอบเกาะกูด 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทย และน่านน้ำภายในของราชอาณาจักรไทย จึงเป็นเขตแดนทางทะเลที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย ผู้ใดและชาติใดจะละเมิดมิได้ ดังนั้นพื้นที่เหนือของเส้นฐานตรงที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ถึงปลายแหลมสุดทิศด้านใต้ของเกาะกูดของราชอาณาจักรไทย จึงอยู่ใน“อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเส้นฐานของเกาะกูดก็เป็นเขตที่อยู่ใน “อำนาจอธิปไตย” ของราชอาณาจักรไทยเช่นเดียวกัน อันเป็นไปตามอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ซึ่งผู้ใดหรือชาติใดจะละเมิดมิได้ ข้อ 4 ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2516 เพื่อประกาศสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย โดยได้แนบแผนที่ซึ่งลากเส้นเขตไหล่ทวีปจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดของประเทศไทยกับเกาะกงของกัมพูชา เป็น “เส้นมัธยะ” แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยไม่มีพื้นที่อ้างสิทธิอธิปไตยจากประเทศอื่น ไม่มีการแบ่งปันการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวไทยให้กับประเทศอื่นใด ซึ่งเป็นไปตามหลัก “เส้นมัธยะ” ของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ค.ศ. 1958 พระบรมราชโองการประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดเงื่อนไขวิธีการเจรจาตกลงกระหว่างประเทศใกล้เคียงในอนาคตด้วยว่าต้องเป็นไปตามมูลฐานกฎหมายทะเลสากลเท่านั้นไม่ใช่การเจรจาตกลงกันตามอำเภอใจ ทั้งนี้ราชอาณาจักรไทยได้ยึดถือและปกป้องอำนาจอธิปไตยน่านน้ำทะเลภายในและทะเลอาณาเขต ตลอดจนรักษาสิทธิอธิปไตยตามเส้นเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการทุกฉบับ โดยได้ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 มาโดยตลอด และต่อมาประเทศไทยได้มีการลงนามและยึดถือมูลฐานตามที่กำหนดในอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ด้วย ข้อ 5 อย่างไรก็ตาม MOU 2544 ได้แนบแผนที่ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตามพระราชกฤษฎีกาประกาศเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อปี 2515 ก่อให้เกิดการอ้างสิทธิในพื้นที่ไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาที่มีขนาดใหญ่เกินจริง โดยไม่ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” อันเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อประเทศกัมพูชาเกินกว่าหลักมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 การอ้างสิทธิดังกล่าวจึงส่งผลทำให้เป็นการเปลี่ยนแปลง “หลักการ” สำคัญของอำนาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย คือ เกิดการละเมิดอำนาจอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยบริเวณพื้นที่ “น่านน้ำภายใน”เหนือเส้นฐานตรงด้านทิศตะวันออกของเกาะกูด และการละเมิดอำนาจอธิปไตยทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูด และไม่ยึดหลักเส้น “มัธยะ” เพียงอย่างเดียวที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 ตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 แต่กลับไปยึดถือ “เขตแดนแนวทางอื่น” ในการเจรจาตกลงกันเองระหว่างไทยและกัมพูชาในพื้นที่อ้างสิทธิเกินจริงของกัมพูชา รวมพื้นที่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ที่เอื้อประโยชน์ให้แก่กัมพูชาเป็นหลัก ดังนั้นการดำเนินการตาม MOU 2544 ที่ถูกรับรองโดย JC 2544 จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดทะเลอาณาเขต เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2509 และพระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2516 ซึ่งได้ยึดหลัก “เส้นมัธยะ” แห่งมูลฐานตามบทบัญญัติของอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ข้อ 6 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ซึ่งลงนามใน MOU 2544 ได้เคยเขียนบทความเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 ยอมรับว่า MOU 2544 มีสถานะเป็น “สนธิสัญญา” ในขณะที่ นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ อดีตหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซียได้เขียนบทความ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2554 แนะนำว่า ฝ่ายไทยจะต้องรีบบอกเลิก MOU 2544 โดยเร็ว มิฉะนั้นแล้วฝ่ายไทยจะเสียเปรียบหากเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ทั้งนี้การที่ประเทศไทยได้ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่ที่มีการอ้างสิทธิเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาตาม MOU 2544 อาจทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบซ้ำรอยการถูกตัดสินโดย “หลักกฎหมายปิดปาก” ที่ประเทศไทยเคย “รับรู้”และ “ไม่ปฏิเสธ” แผนที่แนบท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 2505 ในการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมาแล้ว ข้อ 7 เมื่อพิจารณาตาม MOU 2544 แล้ว จะพบว่าประเทศไทยมีแต่จะเสียประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะไม่ว่าผลการเจรจาจะเป็นประการใด ประเทศไทยก็จะต้องสูญเสียสิทธิอธิปไตยในพื้นที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทยฝ่ายเดียวให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนาร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาซึ่งมีพื้นที่อย่างน้อย 16,000 ตารางกิโลเมตรขึ้นไปใต้พื้นที่อ้างสิทธิไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชาใต้ละติจูด 11 องศาเหนือ หรือถึงขั้นสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลไปมากกว่านี้ได้ด้วย ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงย่อมส่งผลกระทบในทางเสียหายต่อสิทธิอธิปไตยมากกว่าวิธีการเจรจาด้วย “เส้นมัธยะ” ตามมูลฐานที่บัญญัติเอาไว้ภายใต้อนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 เมื่อ MOU 2544 ซึ่งได้รับรองโดย JC 2544 มีผลทำให้เกิดเป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตหรือเขตอำนาจแห่งรัฐทางทะเลที่ไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภากรณีจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตั้งแต่แรกและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น MOU 2544 ที่รับรองโดย JC 2544 ยังทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาจึงย่อมเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ด้วยเช่นเดียวกัน จึงเรียนมาเพื่อขอให้ท่านหยุดการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการดำเนินการตาม MOU 2544 และ JC 2544 โดยทันที และดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอดังต่อไปนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ 1)ให้ท่านและคณะรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ในการรักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย บูรณภาพแห่งทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่อง และเขตไหล่ทวีปซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติในทะเลด้านอ่าวไทย ผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงแห่งรัฐในพื้นที่ทะเลอาณาเขต เขตต่อเนื่องรอบเกาะกูด รวมทั้งเขตไหล่ทวีปตามพระบรมราชโองการที่ประกาศตามมูลฐานแห่งอนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) อันเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ตามบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 52 ของหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) ให้ท่านเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้ส่ง MOU 2544 และ JC 2544 ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 224 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ตั้งแต่แรก และขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หรือไม่ รวมทั้งขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 1 และมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ด้วยหรือไม่ อันเป็นการดำเนินการตามมาตรา 178 วรรคห้า ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้ได้ข้อยุติในข้อสงสัยนี้เสียก่อน 3) หากดำเนินการตาม ๒) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544และ JC 2544 ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ให้ยกเลิกการเจรจาตาม MOU 2544 และ JC 2544 เพื่อปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาทันที 4) หากดำเนินการตาม 2) แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า MOU 2544 และ JC 2544 ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ก็ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีการเจรจากับกัมพูชาเพื่อยกเลิก MOU 2544 และ JC 2544 ทันที โดยให้เจรจากันใหม่ภายใต้การกำหนดขอบเขตเฉพาะพื้นที่พัฒนาร่วมบนพื้นฐานโดยใช้หลักการของ “เส้นมัธยะ” ในการอ้างสิทธิไหล่ทวีปทับซ้อนตามจริงของมูลฐานแห่งบทบัญญัติอนุสัญญากรุงเจนีวา ว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1958 ประกอบกับอนุสัญญาสหประชาชาติด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.1982 แล้วนำผลของการเจรจาเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้เจรจาเสร็จสิ้น ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์เพื่อทรงมีพระราชวินิจฉัยและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศเป็นพระราชโองการ เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของมาตรา 1 และมาตรา 178 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ต่อไป 5) ระงับการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) ตาม MOU 2544 และ JC 2544ไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยและมีการดำเนินการให้ถูกต้อง 6) ให้จัดเวทีสาธารณะให้แก่ประชาชนในเรื่อง MOU 2544 และ JC 2544 โดยให้มีความเห็นของผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ทั้งที่มีความเห็นต่างและที่มีความเห็นด้วยในเวทีอภิปรายสาธารณะซึ่งมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ในสัดส่วนของเวลาที่เท่ากัน เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญของประเทศไทยต่อไป ทั้งนี้ขอให้ท่านเสนอหนังสือฉบับนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา และหากคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีผลเป็นประการใดขอได้โปรดแจ้งข้าพเจ้าได้ทราบ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาหนังสือฉบับนี้ https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1110891340404565/?
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 627 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัว "สนธิ" ลงถนน ต้าน MOU 2544 รัฐยกอธิปไตยไทยให้เขมร.คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัวว่าผมจะลงถนนต้าน MOU 2544 ผมอยากพูดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คนที่ออกมาต่อต้านผม ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไม่ได้กระเดียด จะได้เข้าใจ ผมสรุปสั้นๆ ก็แล้วกัน ผมจะชวนพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล หากรัฐบาลกระทำการอันใดก็ตามในเรื่อง MOU 2544 ที่เป็นการส่อเจตนาที่ยอมเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลของเราให้กับฝ่ายเขมร นั่นล่ะ ผมถือว่าเป็นเรื่องเป็นราวกับผมแล้ว และผมเชื่อว่าก็จะเป็นเรื่องเป็นราวกับท่านผู้ชมด้วย ที่รักชาติ รักบ้านรักเมือง รักพระมหากษัตริย์.เดิมทีเรากำหนดว่าผมจะไปยื่นหนังสือให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในวันที่ 2 คือวันจันทร์ที่จะถึงนี้ แต่เผอิญทนายความผมบอกว่าวันที่ 2 ผมติดภารกิจที่ศาล ตกลงเราจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 10.00 น. ผมและอาจารย์ปานเทพ จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้ท่านนายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณี MOU ไทย-กัมพูชา 2544 พร้อมกับกล่าวหารัฐบาลชุดนี้ด้วยว่า ให้ระวังว่ากำลังจะมีการกระทำที่เป็นการยกอธิปไตยรอบเกาะกูดให้กัมพูชาอย่างไม่ถูกต้อง ถ้าท่านผู้ชมสนใจ อยากไปยื่นหนังสือ ก็ไปได้ แต่ท่านอย่าไปชุมนุมบนท้องถนนนะครับ.ความเคลื่อนไหวของผมไปกระตุกต่อมของรัฐบาลเพื่อไทย แต่ละคนดาหน้าออกมาพูดถึงเรื่องการลงถนนกันใหญ่ ตั้งแต่คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรัฐมนตรีกลาโหม เปรยแกมขู่ผม คุณภูมิธรรมนี่ความจำสั้น สมัยที่พวกเสื้อแดงของคุณออกมาประท้วง ประเทศชาติทั้งประเทศ ทั้งเผาบ้านเผาเมือง มิหนำซ้ำ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็รีบออกมา แล้วก็ยังมีคนอย่างเช่นคุณชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพายัพ ปั้นเกตุ อดีตหัวหน้า นปช.ตอนนี้มีบทบาทมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คุณบอกว่าการต่อสู้ การทำให้ประเทศชาติต้องวุ่นวายถดถอยไปนั้น ถ้าคุณพูดมีความหมายอย่างนี้ ก็แปลว่าคุณเห็นด้วยกับอำนาจทางการเมืองที่ทำให้การฉ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้นได้จากคนที่มีอำนาจทางการเมือง ใช่หรือเปล่า .คุณรู้ไหม 2548 ที่ผมออกมา มาถึง 2566 สิบแปดปี ที่ผมสู้ ความจริงที่มีหนึ่งเดียวก็เลยปรากฏออกมาในประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อสิงหาคม 2566 ที่ “นายคุณ”กลับมาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ยอมรับสารภาพผิดการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องๆ นี่เป็นหลักฐานเป็นประจักษ์พยานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา จะโกหกอะไร โกหกได้ แต่โกหกความจริงที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างไร นั่นข้อแรก. ประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอย ความไม่โปร่งใสของรัฐบาลชุดอุ๊งอิ๊งค์ ที่ได้รับอิทธิพลจากนายคุณ คือพ่อเขา นี่ผมยังไม่ได้พูดเรื่องการรักษาตัวบนชั้น 14 คุณก็รู้ว่านายคุณโกงเวลาติดคุก ผมคิดในใจว่ามันทุเรศ ปล่อยให้ชาวบ้านเขารุมเหยียบกันดีกว่า.แล้วพฤติกรรมต่างๆ ของนายคุณ รวมทั้งท่านนายกฯ แพทองธาร ก็พูดตลอดเวลา ว่าทะเลาะกันทำไมเรื่องพื้นที่ เอาสัมปทานมาแบ่งกัน 50-50 ใครเป็นคนพูด คุณณัฐวุฒิ คุณพายัพ ปั้นเกตุ คุณชูศักดิ์ ศิรินิล คุณภูมิธรรม เวชยชัย ใครเป็นคนพูด "ต้องแบ่งกัน 50-50" ทั้งนายคุณพูด ทั้งลูกสาวคนเล็กสุดที่รักของนายคุณก็พูด และความสนิทสนมระหว่างสมเด็จฮุน เซน ซึ่งเป็นบิดาของฮุน มาแณต นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กับนายคุณ สนิทสนมมากอย่างที่ไม่จำเป็นต้องอธิบาย มันเห็นได้ชัด ทำให้คนเขาอนุมานได้ และเขาเกิดความไม่ไว้วางใจพวกคุณ.ผมจะเรียนให้ทราบ ตั้งแต่วันแรก ปี 2548 ที่ผมตัดสินใจจะลงถนนสู้กับนายคุณ คุณไปดูคลิปเก่าๆ ไปดูข้อมูลเก่าๆ คุณจะจำได้ว่าผมพูดว่าอย่างนี้ จำใส่ใจไว้นะ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผมบอกว่า ถึงจะเป็นผมเพียงคนเดียวออกมาสู้ ผมก็จะสู้ ผมพูดอย่างนี้ครับ เรื่องนี้ก็เช่นกัน ถึงจะเป็นผมคนเดียว ผมก็จะออกมา ผมเอาความจริงที่มีหนึ่งเดียวให้กับประชาชนเขาทราบ และผมเชื่อว่ามีประชาชนคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่เขาเห็นด้วยว่าผมทำถูกต้อง นี่คือสมบัติของชาติ
    คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัว "สนธิ" ลงถนน ต้าน MOU 2544 รัฐยกอธิปไตยไทยให้เขมร.คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัวว่าผมจะลงถนนต้าน MOU 2544 ผมอยากพูดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คนที่ออกมาต่อต้านผม ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไม่ได้กระเดียด จะได้เข้าใจ ผมสรุปสั้นๆ ก็แล้วกัน ผมจะชวนพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล หากรัฐบาลกระทำการอันใดก็ตามในเรื่อง MOU 2544 ที่เป็นการส่อเจตนาที่ยอมเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลของเราให้กับฝ่ายเขมร นั่นล่ะ ผมถือว่าเป็นเรื่องเป็นราวกับผมแล้ว และผมเชื่อว่าก็จะเป็นเรื่องเป็นราวกับท่านผู้ชมด้วย ที่รักชาติ รักบ้านรักเมือง รักพระมหากษัตริย์.เดิมทีเรากำหนดว่าผมจะไปยื่นหนังสือให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในวันที่ 2 คือวันจันทร์ที่จะถึงนี้ แต่เผอิญทนายความผมบอกว่าวันที่ 2 ผมติดภารกิจที่ศาล ตกลงเราจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 10.00 น. ผมและอาจารย์ปานเทพ จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้ท่านนายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณี MOU ไทย-กัมพูชา 2544 พร้อมกับกล่าวหารัฐบาลชุดนี้ด้วยว่า ให้ระวังว่ากำลังจะมีการกระทำที่เป็นการยกอธิปไตยรอบเกาะกูดให้กัมพูชาอย่างไม่ถูกต้อง ถ้าท่านผู้ชมสนใจ อยากไปยื่นหนังสือ ก็ไปได้ แต่ท่านอย่าไปชุมนุมบนท้องถนนนะครับ.ความเคลื่อนไหวของผมไปกระตุกต่อมของรัฐบาลเพื่อไทย แต่ละคนดาหน้าออกมาพูดถึงเรื่องการลงถนนกันใหญ่ ตั้งแต่คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรัฐมนตรีกลาโหม เปรยแกมขู่ผม คุณภูมิธรรมนี่ความจำสั้น สมัยที่พวกเสื้อแดงของคุณออกมาประท้วง ประเทศชาติทั้งประเทศ ทั้งเผาบ้านเผาเมือง มิหนำซ้ำ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็รีบออกมา แล้วก็ยังมีคนอย่างเช่นคุณชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพายัพ ปั้นเกตุ อดีตหัวหน้า นปช.ตอนนี้มีบทบาทมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คุณบอกว่าการต่อสู้ การทำให้ประเทศชาติต้องวุ่นวายถดถอยไปนั้น ถ้าคุณพูดมีความหมายอย่างนี้ ก็แปลว่าคุณเห็นด้วยกับอำนาจทางการเมืองที่ทำให้การฉ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้นได้จากคนที่มีอำนาจทางการเมือง ใช่หรือเปล่า .คุณรู้ไหม 2548 ที่ผมออกมา มาถึง 2566 สิบแปดปี ที่ผมสู้ ความจริงที่มีหนึ่งเดียวก็เลยปรากฏออกมาในประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อสิงหาคม 2566 ที่ “นายคุณ”กลับมาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ยอมรับสารภาพผิดการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องๆ นี่เป็นหลักฐานเป็นประจักษ์พยานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา จะโกหกอะไร โกหกได้ แต่โกหกความจริงที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างไร นั่นข้อแรก. ประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอย ความไม่โปร่งใสของรัฐบาลชุดอุ๊งอิ๊งค์ ที่ได้รับอิทธิพลจากนายคุณ คือพ่อเขา นี่ผมยังไม่ได้พูดเรื่องการรักษาตัวบนชั้น 14 คุณก็รู้ว่านายคุณโกงเวลาติดคุก ผมคิดในใจว่ามันทุเรศ ปล่อยให้ชาวบ้านเขารุมเหยียบกันดีกว่า.แล้วพฤติกรรมต่างๆ ของนายคุณ รวมทั้งท่านนายกฯ แพทองธาร ก็พูดตลอดเวลา ว่าทะเลาะกันทำไมเรื่องพื้นที่ เอาสัมปทานมาแบ่งกัน 50-50 ใครเป็นคนพูด คุณณัฐวุฒิ คุณพายัพ ปั้นเกตุ คุณชูศักดิ์ ศิรินิล คุณภูมิธรรม เวชยชัย ใครเป็นคนพูด "ต้องแบ่งกัน 50-50" ทั้งนายคุณพูด ทั้งลูกสาวคนเล็กสุดที่รักของนายคุณก็พูด และความสนิทสนมระหว่างสมเด็จฮุน เซน ซึ่งเป็นบิดาของฮุน มาแณต นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กับนายคุณ สนิทสนมมากอย่างที่ไม่จำเป็นต้องอธิบาย มันเห็นได้ชัด ทำให้คนเขาอนุมานได้ และเขาเกิดความไม่ไว้วางใจพวกคุณ.ผมจะเรียนให้ทราบ ตั้งแต่วันแรก ปี 2548 ที่ผมตัดสินใจจะลงถนนสู้กับนายคุณ คุณไปดูคลิปเก่าๆ ไปดูข้อมูลเก่าๆ คุณจะจำได้ว่าผมพูดว่าอย่างนี้ จำใส่ใจไว้นะ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผมบอกว่า ถึงจะเป็นผมเพียงคนเดียวออกมาสู้ ผมก็จะสู้ ผมพูดอย่างนี้ครับ เรื่องนี้ก็เช่นกัน ถึงจะเป็นผมคนเดียว ผมก็จะออกมา ผมเอาความจริงที่มีหนึ่งเดียวให้กับประชาชนเขาทราบ และผมเชื่อว่ามีประชาชนคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่เขาเห็นด้วยว่าผมทำถูกต้อง นี่คือสมบัติของชาติ
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 576 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัว "สนธิ" ลงถนน ต้าน MOU 2544 รัฐยกอธิปไตยไทยให้เขมร
    .
    คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัวว่าผมจะลงถนนต้าน MOU 2544 ผมอยากพูดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คนที่ออกมาต่อต้านผม ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไม่ได้กระเดียด จะได้เข้าใจ ผมสรุปสั้นๆ ก็แล้วกัน ผมจะชวนพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล หากรัฐบาลกระทำการอันใดก็ตามในเรื่อง MOU 2544 ที่เป็นการส่อเจตนาที่ยอมเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลของเราให้กับฝ่ายเขมร นั่นล่ะ ผมถือว่าเป็นเรื่องเป็นราวกับผมแล้ว และผมเชื่อว่าก็จะเป็นเรื่องเป็นราวกับท่านผู้ชมด้วย ที่รักชาติ รักบ้านรักเมือง รักพระมหากษัตริย์
    .
    เดิมทีเรากำหนดว่าผมจะไปยื่นหนังสือให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในวันที่ 2 คือวันจันทร์ที่จะถึงนี้ แต่เผอิญทนายความผมบอกว่าวันที่ 2 ผมติดภารกิจที่ศาล ตกลงเราจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 10.00 น. ผมและอาจารย์ปานเทพ จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้ท่านนายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณี MOU ไทย-กัมพูชา 2544 พร้อมกับกล่าวหารัฐบาลชุดนี้ด้วยว่า ให้ระวังว่ากำลังจะมีการกระทำที่เป็นการยกอธิปไตยรอบเกาะกูดให้กัมพูชาอย่างไม่ถูกต้อง ถ้าท่านผู้ชมสนใจ อยากไปยื่นหนังสือ ก็ไปได้ แต่ท่านอย่าไปชุมนุมบนท้องถนนนะครับ
    .
    ความเคลื่อนไหวของผมไปกระตุกต่อมของรัฐบาลเพื่อไทย แต่ละคนดาหน้าออกมาพูดถึงเรื่องการลงถนนกันใหญ่ ตั้งแต่คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรัฐมนตรีกลาโหม เปรยแกมขู่ผม คุณภูมิธรรมนี่ความจำสั้น สมัยที่พวกเสื้อแดงของคุณออกมาประท้วง ประเทศชาติทั้งประเทศ ทั้งเผาบ้านเผาเมือง มิหนำซ้ำ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็รีบออกมา แล้วก็ยังมีคนอย่างเช่นคุณชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพายัพ ปั้นเกตุ อดีตหัวหน้า นปช.ตอนนี้มีบทบาทมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คุณบอกว่าการต่อสู้ การทำให้ประเทศชาติต้องวุ่นวายถดถอยไปนั้น ถ้าคุณพูดมีความหมายอย่างนี้ ก็แปลว่าคุณเห็นด้วยกับอำนาจทางการเมืองที่ทำให้การฉ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้นได้จากคนที่มีอำนาจทางการเมือง ใช่หรือเปล่า
    .
    คุณรู้ไหม 2548 ที่ผมออกมา มาถึง 2566 สิบแปดปี ที่ผมสู้ ความจริงที่มีหนึ่งเดียวก็เลยปรากฏออกมาในประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อสิงหาคม 2566 ที่ “นายคุณ”กลับมาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ยอมรับสารภาพผิดการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องๆ นี่เป็นหลักฐานเป็นประจักษ์พยานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา จะโกหกอะไร โกหกได้ แต่โกหกความจริงที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างไร นั่นข้อแรก
    .
    ประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอย ความไม่โปร่งใสของรัฐบาลชุดอุ๊งอิ๊งค์ ที่ได้รับอิทธิพลจากนายคุณ คือพ่อเขา นี่ผมยังไม่ได้พูดเรื่องการรักษาตัวบนชั้น 14 คุณก็รู้ว่านายคุณโกงเวลาติดคุก ผมคิดในใจว่ามันทุเรศ ปล่อยให้ชาวบ้านเขารุมเหยียบกันดีกว่า
    .
    แล้วพฤติกรรมต่างๆ ของนายคุณ รวมทั้งท่านนายกฯ แพทองธาร ก็พูดตลอดเวลา ว่าทะเลาะกันทำไมเรื่องพื้นที่ เอาสัมปทานมาแบ่งกัน 50-50 ใครเป็นคนพูด คุณณัฐวุฒิ คุณพายัพ ปั้นเกตุ คุณชูศักดิ์ ศิรินิล คุณภูมิธรรม เวชยชัย ใครเป็นคนพูด "ต้องแบ่งกัน 50-50" ทั้งนายคุณพูด ทั้งลูกสาวคนเล็กสุดที่รักของนายคุณก็พูด และความสนิทสนมระหว่างสมเด็จฮุน เซน ซึ่งเป็นบิดาของฮุน มาแณต นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กับนายคุณ สนิทสนมมากอย่างที่ไม่จำเป็นต้องอธิบาย มันเห็นได้ชัด ทำให้คนเขาอนุมานได้ และเขาเกิดความไม่ไว้วางใจพวกคุณ
    .
    ผมจะเรียนให้ทราบ ตั้งแต่วันแรก ปี 2548 ที่ผมตัดสินใจจะลงถนนสู้กับนายคุณ คุณไปดูคลิปเก่าๆ ไปดูข้อมูลเก่าๆ คุณจะจำได้ว่าผมพูดว่าอย่างนี้ จำใส่ใจไว้นะ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผมบอกว่า ถึงจะเป็นผมเพียงคนเดียวออกมาสู้ ผมก็จะสู้ ผมพูดอย่างนี้ครับ เรื่องนี้ก็เช่นกัน ถึงจะเป็นผมคนเดียว ผมก็จะออกมา ผมเอาความจริงที่มีหนึ่งเดียวให้กับประชาชนเขาทราบ และผมเชื่อว่ามีประชาชนคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่เขาเห็นด้วยว่าผมทำถูกต้อง นี่คือสมบัติของชาติ
    คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัว "สนธิ" ลงถนน ต้าน MOU 2544 รัฐยกอธิปไตยไทยให้เขมร . คนในรัฐบาลนั่งไม่ติด กลัวว่าผมจะลงถนนต้าน MOU 2544 ผมอยากพูดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คนที่ออกมาต่อต้านผม ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไม่ได้กระเดียด จะได้เข้าใจ ผมสรุปสั้นๆ ก็แล้วกัน ผมจะชวนพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายลุกขึ้นมาต่อต้านรัฐบาล หากรัฐบาลกระทำการอันใดก็ตามในเรื่อง MOU 2544 ที่เป็นการส่อเจตนาที่ยอมเสียอำนาจอธิปไตยทางทะเลของเราให้กับฝ่ายเขมร นั่นล่ะ ผมถือว่าเป็นเรื่องเป็นราวกับผมแล้ว และผมเชื่อว่าก็จะเป็นเรื่องเป็นราวกับท่านผู้ชมด้วย ที่รักชาติ รักบ้านรักเมือง รักพระมหากษัตริย์ . เดิมทีเรากำหนดว่าผมจะไปยื่นหนังสือให้กับท่านนายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร ในวันที่ 2 คือวันจันทร์ที่จะถึงนี้ แต่เผอิญทนายความผมบอกว่าวันที่ 2 ผมติดภารกิจที่ศาล ตกลงเราจะเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 ธันวาคม เวลา 10.00 น. ผมและอาจารย์ปานเทพ จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้ท่านนายกรัฐมนตรีชี้แจงกรณี MOU ไทย-กัมพูชา 2544 พร้อมกับกล่าวหารัฐบาลชุดนี้ด้วยว่า ให้ระวังว่ากำลังจะมีการกระทำที่เป็นการยกอธิปไตยรอบเกาะกูดให้กัมพูชาอย่างไม่ถูกต้อง ถ้าท่านผู้ชมสนใจ อยากไปยื่นหนังสือ ก็ไปได้ แต่ท่านอย่าไปชุมนุมบนท้องถนนนะครับ . ความเคลื่อนไหวของผมไปกระตุกต่อมของรัฐบาลเพื่อไทย แต่ละคนดาหน้าออกมาพูดถึงเรื่องการลงถนนกันใหญ่ ตั้งแต่คุณภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรัฐมนตรีกลาโหม เปรยแกมขู่ผม คุณภูมิธรรมนี่ความจำสั้น สมัยที่พวกเสื้อแดงของคุณออกมาประท้วง ประเทศชาติทั้งประเทศ ทั้งเผาบ้านเผาเมือง มิหนำซ้ำ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ก็รีบออกมา แล้วก็ยังมีคนอย่างเช่นคุณชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ และอีกท่านหนึ่ง คือ คุณพายัพ ปั้นเกตุ อดีตหัวหน้า นปช.ตอนนี้มีบทบาทมาเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คุณบอกว่าการต่อสู้ การทำให้ประเทศชาติต้องวุ่นวายถดถอยไปนั้น ถ้าคุณพูดมีความหมายอย่างนี้ ก็แปลว่าคุณเห็นด้วยกับอำนาจทางการเมืองที่ทำให้การฉ้อราษฎร์บังหลวงเกิดขึ้นได้จากคนที่มีอำนาจทางการเมือง ใช่หรือเปล่า . คุณรู้ไหม 2548 ที่ผมออกมา มาถึง 2566 สิบแปดปี ที่ผมสู้ ความจริงที่มีหนึ่งเดียวก็เลยปรากฏออกมาในประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อสิงหาคม 2566 ที่ “นายคุณ”กลับมาเพื่อขอพระราชทานอภัยโทษ ยอมรับสารภาพผิดการทุจริตคอร์รัปชันเป็นเรื่องๆ นี่เป็นหลักฐานเป็นประจักษ์พยานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา จะโกหกอะไร โกหกได้ แต่โกหกความจริงที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างไร นั่นข้อแรก . ประวัติศาสตร์มักจะย้อนรอย ความไม่โปร่งใสของรัฐบาลชุดอุ๊งอิ๊งค์ ที่ได้รับอิทธิพลจากนายคุณ คือพ่อเขา นี่ผมยังไม่ได้พูดเรื่องการรักษาตัวบนชั้น 14 คุณก็รู้ว่านายคุณโกงเวลาติดคุก ผมคิดในใจว่ามันทุเรศ ปล่อยให้ชาวบ้านเขารุมเหยียบกันดีกว่า . แล้วพฤติกรรมต่างๆ ของนายคุณ รวมทั้งท่านนายกฯ แพทองธาร ก็พูดตลอดเวลา ว่าทะเลาะกันทำไมเรื่องพื้นที่ เอาสัมปทานมาแบ่งกัน 50-50 ใครเป็นคนพูด คุณณัฐวุฒิ คุณพายัพ ปั้นเกตุ คุณชูศักดิ์ ศิรินิล คุณภูมิธรรม เวชยชัย ใครเป็นคนพูด "ต้องแบ่งกัน 50-50" ทั้งนายคุณพูด ทั้งลูกสาวคนเล็กสุดที่รักของนายคุณก็พูด และความสนิทสนมระหว่างสมเด็จฮุน เซน ซึ่งเป็นบิดาของฮุน มาแณต นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน กับนายคุณ สนิทสนมมากอย่างที่ไม่จำเป็นต้องอธิบาย มันเห็นได้ชัด ทำให้คนเขาอนุมานได้ และเขาเกิดความไม่ไว้วางใจพวกคุณ . ผมจะเรียนให้ทราบ ตั้งแต่วันแรก ปี 2548 ที่ผมตัดสินใจจะลงถนนสู้กับนายคุณ คุณไปดูคลิปเก่าๆ ไปดูข้อมูลเก่าๆ คุณจะจำได้ว่าผมพูดว่าอย่างนี้ จำใส่ใจไว้นะ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผมบอกว่า ถึงจะเป็นผมเพียงคนเดียวออกมาสู้ ผมก็จะสู้ ผมพูดอย่างนี้ครับ เรื่องนี้ก็เช่นกัน ถึงจะเป็นผมคนเดียว ผมก็จะออกมา ผมเอาความจริงที่มีหนึ่งเดียวให้กับประชาชนเขาทราบ และผมเชื่อว่ามีประชาชนคนไทยอีกจำนวนไม่น้อยเลยที่เขาเห็นด้วยว่าผมทำถูกต้อง นี่คือสมบัติของชาติ
    Like
    5
    2 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 993 มุมมอง 0 รีวิว
  • ศาลไม่รับคดีล้มล้าง ขาดหลักฐานชัดเจน จับตาคดีในมือ กกต.-ปปช.
    .
    ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย
    .
    สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต
    .
    ประเด็นที่ 2 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา
    .
    ประเด็นที่ 3 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    .
    ประเด็นที่ 4 นายทักษิณสั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ
    .
    ประเด็นที่ 5 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล
    .
    ประเด็นที่ 6 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของนายทักษิณที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
    .
    ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ
    .
    ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6
    .
    สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย
    .
    ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
    .
    ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายนภดล เทพพิทักษ์ เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้
    .
    ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีตส.ว. แสดงความคิดเห็นว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกษรที่ขอให้สั่งหยุดการกระทำของคุณทักษิณและ พท.ทั้ง 6 ประเด็น เพราะข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯแต่ข้อเท็จจริงทั้ง 6 ประเด็นก็ยังมีผู้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.และ กกต.กล่าวหานายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมทำผิดตามกฎหมายอื่นที่มีโทษรุนแรงทั้งต่อบุคคลและพรรคการเมือง ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องไปสิ้นสุดการพิจารณาที่ศาลยุติธรรมหรือ ศาลรัฐธรรมนูญได้อีกเป็นหลายกรณี ประชาชนพลเมืองดีของไทยจึงยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไป
    ..............
    Sondhi X
    ศาลไม่รับคดีล้มล้าง ขาดหลักฐานชัดเจน จับตาคดีในมือ กกต.-ปปช. . ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีมติยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 1) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อพิจารณารับหรือไม่รับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัย . สำหรับคำร้องที่นายธีรยุทธยื่นมี 6 ประเด็น ประกอบด้วย ประเด็นที่ 1 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่นายทักษิณ ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต . ประเด็นที่ 2 นายทักษิณสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา . ประเด็นที่ 3 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิม ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข . ประเด็นที่ 4 นายทักษิณสั่งการแทนพรรคเพื่อไทย โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของนายทักษิณ . ประเด็นที่ 5 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยมีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล . ประเด็นที่ 6 นายทักษิณสั่งการให้พรรคเพื่อไทยนำนโยบายของนายทักษิณที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา . ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่า บุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมาย และความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ . ข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6 . สำหรับประเด็นที่ 2 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติโดยเสียงข้างมาก (7 ต่อ 2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย . ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง . ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ นายจิรนิติ หะวานนท์ และนายนภดล เทพพิทักษ์ เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้ . ด้านดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีตส.ว. แสดงความคิดเห็นว่าแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะสั่งไม่รับคำร้องของนายธีรยุทธ์ สุวรรณเกษรที่ขอให้สั่งหยุดการกระทำของคุณทักษิณและ พท.ทั้ง 6 ประเด็น เพราะข้อเท็จจริงยังไม่เพียงพอที่จะชี้ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองฯแต่ข้อเท็จจริงทั้ง 6 ประเด็นก็ยังมีผู้ยื่นคำร้องต่อ ปปช.และ กกต.กล่าวหานายทักษิณ พรรคเพื่อไทยและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องร่วมทำผิดตามกฎหมายอื่นที่มีโทษรุนแรงทั้งต่อบุคคลและพรรคการเมือง ที่อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องไปสิ้นสุดการพิจารณาที่ศาลยุติธรรมหรือ ศาลรัฐธรรมนูญได้อีกเป็นหลายกรณี ประชาชนพลเมืองดีของไทยจึงยังมีเรื่องสำคัญที่ต้องติดตามกันต่อไป .............. Sondhi X
    Sad
    Like
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1898 มุมมอง 0 รีวิว
  • คำพผูดของ"พูมทำ" บิดพลิ้วได้เหมือนเปลือกถั่ว ตามระดับภูมิปัญญาคิดคดของตน

    ข้าวเก่าเก็บ 15 ปี ยังสามารถพูดให้กินได้มาแล้ว นับประสาอะไรกับ MOU44 เขาจะบิดให้เสียสิทธิ์และอธิปไตยทางทะเลไม่ได้..

    คำว่า "แบ่งกันคนละครึ่ง" นั้นแหละ เสร็จฮุนเซน
    แน่ ๆๆ
    คำพผูดของ"พูมทำ" บิดพลิ้วได้เหมือนเปลือกถั่ว ตามระดับภูมิปัญญาคิดคดของตน ข้าวเก่าเก็บ 15 ปี ยังสามารถพูดให้กินได้มาแล้ว นับประสาอะไรกับ MOU44 เขาจะบิดให้เสียสิทธิ์และอธิปไตยทางทะเลไม่ได้.. คำว่า "แบ่งกันคนละครึ่ง" นั้นแหละ เสร็จฮุนเซน แน่ ๆๆ
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 247 มุมมอง 0 รีวิว
  • คนโกง คิดคดทุรยศต่อชาติ เป็นปัญหาต่อประเทศ มิใช่รัฐธรรมนูญ มิใช่ ม.112

    แต่ MOU 44 ทำในรัฐบาลทักสิน เป็นปัญหา รัฐบาลลูกไม่ยอมแก้ แต่กลับนำมาอ้างเพื่อแบ่งผลประโยชน์กับมะกันและขะแม
    โดยไม่สนใจการเสียสิทธิ์และอธิปไตยทางทะเลอ่าวไทย ตามพระราชโองการของพ่อ ร.๙
    เมื่อ พค. พ.ศ. 2516
    คนโกง คิดคดทุรยศต่อชาติ เป็นปัญหาต่อประเทศ มิใช่รัฐธรรมนูญ มิใช่ ม.112 แต่ MOU 44 ทำในรัฐบาลทักสิน เป็นปัญหา รัฐบาลลูกไม่ยอมแก้ แต่กลับนำมาอ้างเพื่อแบ่งผลประโยชน์กับมะกันและขะแม โดยไม่สนใจการเสียสิทธิ์และอธิปไตยทางทะเลอ่าวไทย ตามพระราชโองการของพ่อ ร.๙ เมื่อ พค. พ.ศ. 2516
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 169 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1258 มุมมอง 0 รีวิว
  • เปิดเอกสารลับ ‼️เอกสารหลุด ‼️ เขมรใช้เอกสารข้อตกลงกับไทย ไปขอเขาพระวิหารขึ้นมรดกโลก แต่ในเอกสารพูดถึงการแบ่งปันปิโตรเลียมในทะเล อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #อธิปไตยทางทะเล #เขาพระวิหาร #เขมรปลิ้นปล้อน #นักโทษเด็ดขาดขายชาติ
    เปิดเอกสารลับ ‼️เอกสารหลุด ‼️ เขมรใช้เอกสารข้อตกลงกับไทย ไปขอเขาพระวิหารขึ้นมรดกโลก แต่ในเอกสารพูดถึงการแบ่งปันปิโตรเลียมในทะเล อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #อธิปไตยทางทะเล #เขาพระวิหาร #เขมรปลิ้นปล้อน #นักโทษเด็ดขาดขายชาติ
    Sad
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 332 มุมมอง 24 0 รีวิว
  • ‼️เอกสารหลุด ‼️
    เขมรใช้เอกสารข้อตกลงกับไทย ไปขอเขาพระวิหารขึ้นมรดกโลก
    แต่ในเอกสารพูดถึงการแบ่งปันปิโตรเลียมในทะเล

    อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #อธิปไตยทางทะเล #เขาพระวิหาร #เขมรปลิ้นปล้อน #นักโทษเด็ดขาดขายชาติ
    ‼️เอกสารหลุด ‼️ เขมรใช้เอกสารข้อตกลงกับไทย ไปขอเขาพระวิหารขึ้นมรดกโลก แต่ในเอกสารพูดถึงการแบ่งปันปิโตรเลียมในทะเล อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #อธิปไตยทางทะเล #เขาพระวิหาร #เขมรปลิ้นปล้อน #นักโทษเด็ดขาดขายชาติ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 339 มุมมอง 122 0 รีวิว
  • อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #พื้นที่ทับซ้อน #อธิปไตยอ่าวไทย
    ตัดคลิปจากแนวหน้าออนไลน์
    youtube.com/live/eCvsgJgNm…
    อธิปไตยทางทะเลและบูรณภาพแห่งดินแดนไทย จะเสียไปไม่ได้ แม้แต่ตารางนิ้วเดียว #เกาะกูด #พื้นที่ทับซ้อน #อธิปไตยอ่าวไทย ตัดคลิปจากแนวหน้าออนไลน์ youtube.com/live/eCvsgJgNm…
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 306 มุมมอง 139 0 รีวิว
  • ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน

    22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567)

    นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้

    ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต

    ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

    ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

    ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1

    ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

    ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา

    ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว

    ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุด ขอทราบการดำเนินการ-รวบรวมหลักฐาน ตามคำร้อง "ธีรยุทธ " ปม "ทักษิณ-เพื่อไทย" ล้มล้างการปกครองฯ ภายใน 15 วัน 22 ตุลาคม .2567- ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นเป็นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 (เรื่องพิจารณาที่ 36/2567) นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร (ผู้ร้อง) ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูญ วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูกร้องที่ 3) และพรรคเพื่อไทย (ผู้ถูกร้องที่ 2) ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 6 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ และโรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ ในระหว่างรับโทษจำคุก เพื่อให้ไม่ต้องรับโทษในเรือนจำ ทั้งที่ไม่พบว่ามีอาการป่วยขั้นวิกฤต ประเด็นที่ 2 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์แก่อดีตนายกรัฐมนตรีของประเทศกัมพูชา ให้มีการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติและทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของประเทศไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา ประเด็นที่ 3 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชน ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมืองของพรรคก้าวไกลเดิมที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธธธรรมนูญว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเด็นที่ 4 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการแทนผู้ถูกร้องที่ 2 โดยเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมตรี เพื่อหารือการเสนอชื่อบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 ประเด็นที่ 5 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาล ประเด็นที่ 6 ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 24 ก.ย.2567 ขอให้อัยการสูงสุดร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องทั้งสองเลิกการกระทำ แต่อัยการสูงสุดมิได้ดำเนินการภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสาม ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญญเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 เลิกกระทำการดังกล่าวและให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เลิกยินยอมให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้เป็นเครื่องมือกระทำการดังกล่าว ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาโดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าจะรับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่ ในชั้นนี้ ให้มีหนังสือแจ้งอัยการสูงสุดเพื่อขอทราบว่าได้ดำเนินการตามคำร้องของผู้ร้องไปแล้วอย่างไร และรวบรวมพยานหลักฐานได้เพียงใด โดยให้จัดส่งต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ที่มา https://www.facebook.com/share/p/AQ6ESAWFP4idRqEr/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 864 มุมมอง 0 รีวิว