• Turtle X ธนาซิตี้ คีรีสยายปีกสะดวกซื้อ

    เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา สำหรับเทอร์เทิล เอ็กซ์ (Turtle X) ร้านสะดวกซื้อแบบสแตนด์อะโลนแห่งแรก นอกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ภายในโครงการธนาซิตี้ บางนา-ตราด กม.14 จ.สมุทรปราการ ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จำกัด (มหำชน) หรือ TURTLE ผู้ให้บริการค้าปลีกในระบบขนส่งมวลชนของกลุ่มบริษัทบีทีเอส (BTS Group) ที่มีนายคีรี กาญจนพาสน์ เป็นเจ้าของ

    นับตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อเทอร์เทิล (Turtle) เปิดสาขาแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เซนต์หลุยส์ เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ก่อนขยายไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน 22 แห่ง กระทั่งเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก เทอร์เทิล อี (Turtle e) บนสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีลาดพร้าว สถานีบางกะปิ และสถานีสวนหลวง ร.9 เมื่อเดือน ส.ค. 2567 และเปิดร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ นอกสถานีที่อาคารยูนิคอร์น พญาไท

    ถึงกระนั้น ร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ ธนาซิตี้ ถือเป็นสาขาแรกที่เปิดแบบสแตนด์อะโลน เจาะกลุ่มลูกค้าผู้อยู่อาศัยในโครงการธนาซิตี้ เช่น คอนโดมิเนียมนูเวล 6 อาคาร กว่า 900 ยูนิต สนามกอล์ฟธนาซิตี้ คันทรี่ คลับ โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ และสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ ที่มีพนักงานกว่า 200 ชีวิต จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ของใช้ส่วนตัว และของใช้ภายในบ้าน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และเร็วๆ นี้จะมีร้านเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญชื่อดัง อ๊อตเทริ (Otteri) เปิดให้บริการที่ด้านข้างของร้านอีกด้วย

    ร้านเทอร์เทิล ได้ร่วมกับ แรบบิท รีวอร์ดส (Rabbit Rewards) ออกโปรแกรมสมาชิกเทอร์เทิล คลับ (Turtle Club) โดยมีสิทธิประโยชน์ ได้แก่ สินค้าราคาพิเศษเฉพาะสมาชิก (Member Price) ทุกการใช้จ่าย 20 บาท รับ 1 พอยท์ สามารถสะสมพอยท์ร่วมกับการใช้บัตรแรบบิท (Rabbit Card) โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือใช้จ่ายผ่านบัตรแรบบิทที่ร้านค้า เพื่อนำมาแลกส่วนลด แลกดีล และส่วนลดพิเศษที่ร้านเทอร์เทิล แลกเที่ยวเดินทางฟรี หรือแลกดีลบนแอปพลิเคชัน Rabbit Rewards เป็นต้น

    สิ่งที่ร้านเทอร์เทิลสร้างความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปคือ สินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มชงสด เบเกอรี่ และอาหารพร้อมทาน เจาะกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม ราคาจะสูงกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปเล็กน้อย รวมทั้งยังมีสินค้าประเภทไลฟ์สไตล์วางจำหน่ายอีกด้วย น่าสนใจว่าร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ สแตนด์อะโลนแบบนี้จะขยายไปยังทำเลใดต่อไป โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์

    #Newskit
    Turtle X ธนาซิตี้ คีรีสยายปีกสะดวกซื้อ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 14 มี.ค. ที่ผ่านมา สำหรับเทอร์เทิล เอ็กซ์ (Turtle X) ร้านสะดวกซื้อแบบสแตนด์อะโลนแห่งแรก นอกสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส บนพื้นที่ 300 ตารางเมตร ภายในโครงการธนาซิตี้ บางนา-ตราด กม.14 จ.สมุทรปราการ ภายใต้การบริหารงานโดย บริษัท ซุปเปอร์ เทอร์เทิล จำกัด (มหำชน) หรือ TURTLE ผู้ให้บริการค้าปลีกในระบบขนส่งมวลชนของกลุ่มบริษัทบีทีเอส (BTS Group) ที่มีนายคีรี กาญจนพาสน์ เป็นเจ้าของ นับตั้งแต่ร้านสะดวกซื้อเทอร์เทิล (Turtle) เปิดสาขาแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เซนต์หลุยส์ เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ก่อนขยายไปยังสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน 22 แห่ง กระทั่งเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก เทอร์เทิล อี (Turtle e) บนสถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีลาดพร้าว สถานีบางกะปิ และสถานีสวนหลวง ร.9 เมื่อเดือน ส.ค. 2567 และเปิดร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ นอกสถานีที่อาคารยูนิคอร์น พญาไท ถึงกระนั้น ร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ ธนาซิตี้ ถือเป็นสาขาแรกที่เปิดแบบสแตนด์อะโลน เจาะกลุ่มลูกค้าผู้อยู่อาศัยในโครงการธนาซิตี้ เช่น คอนโดมิเนียมนูเวล 6 อาคาร กว่า 900 ยูนิต สนามกอล์ฟธนาซิตี้ คันทรี่ คลับ โรงเรียนนานาชาติเวอร์โซ และสถานีโทรทัศน์ท็อปนิวส์ ที่มีพนักงานกว่า 200 ชีวิต จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่ ของใช้ส่วนตัว และของใช้ภายในบ้าน เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และเร็วๆ นี้จะมีร้านเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญชื่อดัง อ๊อตเทริ (Otteri) เปิดให้บริการที่ด้านข้างของร้านอีกด้วย ร้านเทอร์เทิล ได้ร่วมกับ แรบบิท รีวอร์ดส (Rabbit Rewards) ออกโปรแกรมสมาชิกเทอร์เทิล คลับ (Turtle Club) โดยมีสิทธิประโยชน์ ได้แก่ สินค้าราคาพิเศษเฉพาะสมาชิก (Member Price) ทุกการใช้จ่าย 20 บาท รับ 1 พอยท์ สามารถสะสมพอยท์ร่วมกับการใช้บัตรแรบบิท (Rabbit Card) โดยสารรถไฟฟ้าบีทีเอส หรือใช้จ่ายผ่านบัตรแรบบิทที่ร้านค้า เพื่อนำมาแลกส่วนลด แลกดีล และส่วนลดพิเศษที่ร้านเทอร์เทิล แลกเที่ยวเดินทางฟรี หรือแลกดีลบนแอปพลิเคชัน Rabbit Rewards เป็นต้น สิ่งที่ร้านเทอร์เทิลสร้างความแตกต่างจากร้านสะดวกซื้อทั่วไปคือ สินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มชงสด เบเกอรี่ และอาหารพร้อมทาน เจาะกลุ่มลูกค้าระดับพรีเมียม ราคาจะสูงกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไปเล็กน้อย รวมทั้งยังมีสินค้าประเภทไลฟ์สไตล์วางจำหน่ายอีกด้วย น่าสนใจว่าร้านเทอร์เทิล เอ็กซ์ สแตนด์อะโลนแบบนี้จะขยายไปยังทำเลใดต่อไป โดยเฉพาะโครงการอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มนายคีรี กาญจนพาสน์ #Newskit
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 666 มุมมอง 0 รีวิว
  • 87 ปี “สนามศุภชลาศัย” ตำนานสนามกีฬาแห่งชาติไทย อนาคตที่ไม่แน่นอน ควรพัฒนา หรือว่า… อนุรักษ์?

    "สนามศุภชลาศัย" หรือที่เรียกกันว่า "สนามกีฬาแห่งชาติ" เป็นสนามกีฬา ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 87 ปี นับตั้งแต่เปิดใช้งานครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2481 สนามแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติ และนานาชาติมากมาย ตั้งแต่ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ฟุตบอลทีมชาติ ไปจนถึงคอนเสิร์ตระดับโลก อย่างเช่นการแสดงของไมเคิล แจ็กสัน ในปี พ.ศ. 2536

    แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อนาคตของสนามศุภชลาศัย ตกอยู่ในความไม่แน่นอน เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าที่ดิ นระหว่างกรมพลศึกษา หรือสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า…

    เราควรพัฒนาสนามศุภฯ ให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน ในปัจจุบันหรือไม่?
    หรือควรอนุรักษ์ให้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ในรูปแบบดั้งเดิม เพื่อคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์? 🏟️

    🔹 จุดกำเนิดสนามกีฬาแห่งชาติ
    ก่อนหน้าที่จะมีสนามศุภชลาศัย การแข่งขันกีฬาของไทย มักจัดขึ้นที่สนามของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมา ได้ย้ายไปที่ท้องสนามหลวง

    จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ผลักดันให้มีสนามกีฬากลางประจำชาติ และได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณที่เคยเป็นวังวินด์เซอร์ เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานแห่งชาติ

    🔹 เปลี่ยนชื่อเป็น “สนามศุภชลาศัย”
    - พ.ศ. 2481 สนามกรีฑาสถานแห่งชาติ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ
    - พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย

    สนามศุภชลาศัยกลายเป็น ศูนย์กลางของวงการกีฬาประเทศไทย และเป็นสนามกีฬามาตรฐาน แห่งแรกในเอเชีย

    สนามศุภฯ กับการแข่งขันระดับชาติ และนานาชาติ
    สนามศุภชลาศัย ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญ หลายรายการ ได้แก่

    🏆 กีฬาระดับอาเซียน และเอเชีย
    - พ.ศ. 2502 กีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1
    - พ.ศ. 2509 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5
    - พ.ศ. 2513 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6
    - พ.ศ. 2518 กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8

    ⚽ การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ
    ฟุตบอลทีมชาติไทย ใช้สนามศุภฯ เป็นรังเหย้ามานานหลายสิบปี
    พ.ศ. 2536 ใช้จัดการแข่งขัน ฟุตบอลเยาวชนโลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี

    🎤 งานบันเทิงระดับโลก
    สนามศุภชลาศัย ไม่เพียงแต่ใช้แข่งขันกีฬา แต่ยังถูกใช้เป็นสถานที่ จัดคอนเสิร์ตระดับโลก
    - พ.ศ. 2536 คอนเสิร์ตของ ไมเคิล แจ็กสัน
    - พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ตของ บิ๊กแบง (BIGBANG)

    ปัญหาสัญญาเช่าที่ดิน และอนาคตที่คลอนแคลน
    💰 ค่าเช่าที่พุ่งสูงขึ้น
    หลังจากสัญญาเช่ายาว หมดลงในปี พ.ศ. 2555 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอปรับค่าเช่าที่จาก 3 ล้านบาทต่อปี เป็น 153 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นภาระหนัก สำหรับกรมพลศึกษา

    📉 ผลกระทบต่อการพัฒนา
    เนื่องจากการเช่าแบบปีต่อปี กรมพลศึกษาไม่สามารถลงทุนปรับปรุงสนามได้ เพราะต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน และหากคืนพื้นที่ในอนาคต การลงทุนอาจสูญเปล่า

    ปัจจุบันสนามศุภฯ เก่าและทรุดโทรม พื้นสนามหญ้า ห้องน้ำ ห้องพักนักกีฬา อัฒจันทร์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

    สนามศุภฯ ควรพัฒนา หรือควรอนุรักษ์?
    🔹 ฝ่ายที่ต้องการพัฒนา
    - ต้องการปรับปรุงสนาม ให้ทันสมัยเทียบเท่า สนามกีฬาในต่างประเทศ
    - เพิ่มขีดความสามารถ ในการจัดการแข่งขันระดับโลก
    - ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    🔹 ฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์
    - สนามศุภฯ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ควรคงไว้ในรูปแบบดั้งเดิม
    - มีศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ออกแบบโดย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น ตราสัญลักษณ์องค์พระพลบดี
    - การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน จะทำให้การรื้อสร้างใหม่ เป็นไปได้ยาก

    สนามศุภชลาศัยควรไปทางไหนต่อ?
    ✅ ข้อสรุปสำคัญ
    - หากพัฒนา สนามจะสามารถรองรับการแข่งขันระดับโลก แต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล
    - หากอนุรักษ์ จะรักษาประวัติศาสตร์ไว้ได้ แต่สนามอาจไม่ได้มาตรฐานสำหรับการแข่งขันในอนาคต
    - ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การบูรณะให้สนามมีมาตรฐานสากล ในขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 100958 ก.พ. 2568

    🏷️ #สนามศุภชลาศัย #สนามกีฬาแห่งชาติ #ThailandStadium #กีฬาประเทศไทย #อนาคตสนามศุภ #สนามศุภต้องรอด #ฟุตบอลไทย #ศิลปะไทย #อนุรักษ์หรือพัฒนา #SEOGuide
    87 ปี “สนามศุภชลาศัย” ตำนานสนามกีฬาแห่งชาติไทย อนาคตที่ไม่แน่นอน ควรพัฒนา หรือว่า… อนุรักษ์? "สนามศุภชลาศัย" หรือที่เรียกกันว่า "สนามกีฬาแห่งชาติ" เป็นสนามกีฬา ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 87 ปี นับตั้งแต่เปิดใช้งานครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2481 สนามแห่งนี้ เคยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติ และนานาชาติมากมาย ตั้งแต่ซีเกมส์ เอเชียนเกมส์ ฟุตบอลทีมชาติ ไปจนถึงคอนเสิร์ตระดับโลก อย่างเช่นการแสดงของไมเคิล แจ็กสัน ในปี พ.ศ. 2536 แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา อนาคตของสนามศุภชลาศัย ตกอยู่ในความไม่แน่นอน เนื่องจากข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าที่ดิ นระหว่างกรมพลศึกษา หรือสำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า… เราควรพัฒนาสนามศุภฯ ให้ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์การใช้งาน ในปัจจุบันหรือไม่? หรือควรอนุรักษ์ให้เป็นสนามกีฬาแห่งชาติ ในรูปแบบดั้งเดิม เพื่อคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์? 🏟️ 🔹 จุดกำเนิดสนามกีฬาแห่งชาติ ก่อนหน้าที่จะมีสนามศุภชลาศัย การแข่งขันกีฬาของไทย มักจัดขึ้นที่สนามของ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมา ได้ย้ายไปที่ท้องสนามหลวง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2477 นาวาโทหลวงศุภชลาศัย ร.น. อธิบดีกรมพลศึกษาคนแรก ได้ผลักดันให้มีสนามกีฬากลางประจำชาติ และได้ทำสัญญาเช่าพื้นที่ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณที่เคยเป็นวังวินด์เซอร์ เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานแห่งชาติ 🔹 เปลี่ยนชื่อเป็น “สนามศุภชลาศัย” - พ.ศ. 2481 สนามกรีฑาสถานแห่งชาติ เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ - พ.ศ. 2484 กรมพลศึกษาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สนามศุภชลาศัยกรีฑาสถานแห่งชาติ" เพื่อเป็นเกียรติแก่ หลวงศุภชลาศัย สนามศุภชลาศัยกลายเป็น ศูนย์กลางของวงการกีฬาประเทศไทย และเป็นสนามกีฬามาตรฐาน แห่งแรกในเอเชีย สนามศุภฯ กับการแข่งขันระดับชาติ และนานาชาติ สนามศุภชลาศัย ได้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญ หลายรายการ ได้แก่ 🏆 กีฬาระดับอาเซียน และเอเชีย - พ.ศ. 2502 กีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 - พ.ศ. 2509 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 5 - พ.ศ. 2513 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 6 - พ.ศ. 2518 กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8 ⚽ การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ ฟุตบอลทีมชาติไทย ใช้สนามศุภฯ เป็นรังเหย้ามานานหลายสิบปี พ.ศ. 2536 ใช้จัดการแข่งขัน ฟุตบอลเยาวชนโลก รุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี 🎤 งานบันเทิงระดับโลก สนามศุภชลาศัย ไม่เพียงแต่ใช้แข่งขันกีฬา แต่ยังถูกใช้เป็นสถานที่ จัดคอนเสิร์ตระดับโลก - พ.ศ. 2536 คอนเสิร์ตของ ไมเคิล แจ็กสัน - พ.ศ. 2555 คอนเสิร์ตของ บิ๊กแบง (BIGBANG) ปัญหาสัญญาเช่าที่ดิน และอนาคตที่คลอนแคลน 💰 ค่าเช่าที่พุ่งสูงขึ้น หลังจากสัญญาเช่ายาว หมดลงในปี พ.ศ. 2555 ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ขอปรับค่าเช่าที่จาก 3 ล้านบาทต่อปี เป็น 153 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นภาระหนัก สำหรับกรมพลศึกษา 📉 ผลกระทบต่อการพัฒนา เนื่องจากการเช่าแบบปีต่อปี กรมพลศึกษาไม่สามารถลงทุนปรับปรุงสนามได้ เพราะต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน และหากคืนพื้นที่ในอนาคต การลงทุนอาจสูญเปล่า ปัจจุบันสนามศุภฯ เก่าและทรุดโทรม พื้นสนามหญ้า ห้องน้ำ ห้องพักนักกีฬา อัฒจันทร์ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร สนามศุภฯ ควรพัฒนา หรือควรอนุรักษ์? 🔹 ฝ่ายที่ต้องการพัฒนา - ต้องการปรับปรุงสนาม ให้ทันสมัยเทียบเท่า สนามกีฬาในต่างประเทศ - เพิ่มขีดความสามารถ ในการจัดการแข่งขันระดับโลก - ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 🔹 ฝ่ายที่ต้องการอนุรักษ์ - สนามศุภฯ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ควรคงไว้ในรูปแบบดั้งเดิม - มีศิลปะสถาปัตยกรรม ที่ออกแบบโดย อาจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น ตราสัญลักษณ์องค์พระพลบดี - การขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน จะทำให้การรื้อสร้างใหม่ เป็นไปได้ยาก สนามศุภชลาศัยควรไปทางไหนต่อ? ✅ ข้อสรุปสำคัญ - หากพัฒนา สนามจะสามารถรองรับการแข่งขันระดับโลก แต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล - หากอนุรักษ์ จะรักษาประวัติศาสตร์ไว้ได้ แต่สนามอาจไม่ได้มาตรฐานสำหรับการแข่งขันในอนาคต - ทางออกที่เป็นไปได้ คือ การบูรณะให้สนามมีมาตรฐานสากล ในขณะที่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 100958 ก.พ. 2568 🏷️ #สนามศุภชลาศัย #สนามกีฬาแห่งชาติ #ThailandStadium #กีฬาประเทศไทย #อนาคตสนามศุภ #สนามศุภต้องรอด #ฟุตบอลไทย #ศิลปะไทย #อนุรักษ์หรือพัฒนา #SEOGuide
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1001 มุมมอง 0 รีวิว