• ไร้คนประณาม!!! ยิวโจมตีทางอากาศ-ยิงผู้บริสุทธ์ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตขณะขอความช่วยเหลือดับรวม 59 ศพ
    https://www.thai-tai.tv/news/20242/
    .
    #กาซา #อิสราเอล #ปาเลสไตน์ #หยุดยิง #โดนัลด์ทรัมป์ #เนทันยาฮู #ราฟาห์ #วิกฤตมนุษยธรรม #สงครามกาซา #ข่าวต่างประเทศ
    ไร้คนประณาม!!! ยิวโจมตีทางอากาศ-ยิงผู้บริสุทธ์ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตขณะขอความช่วยเหลือดับรวม 59 ศพ https://www.thai-tai.tv/news/20242/ . #กาซา #อิสราเอล #ปาเลสไตน์ #หยุดยิง #โดนัลด์ทรัมป์ #เนทันยาฮู #ราฟาห์ #วิกฤตมนุษยธรรม #สงครามกาซา #ข่าวต่างประเทศ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 39 มุมมอง 0 รีวิว
  • ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน หลั่งไหลกันเดินทางไปตามถนนสายหลัก เพื่อมุ่งหน้ากลับสู่ตอนเหนือของฉนวนกาซาแล้วเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) หลังจากกลุ่มฮามาสตกลงส่งมอบตัวประกันชาวอิสราเอลอีก 3 คนในช่วงต่อไปของสัปดาห์นี้ และกองทหารรัฐยิวก็เริ่มถอนกำลังออกจากการปิดกั้นช่องทางซึ่งสกัดไม่ให้ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ได้เดินทาง
    .
    ประชาชนจำนวนมากมาย บางคนอุ้มทารกเอาไว้ในอ้อมแขน หรือไม่แบกสมบัติข้าวของที่ยังเหลืออยู่เอาไว้บนบ่า มุ่งหน้าเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปตามถนนสายที่ทอดยาวเลียบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
    .
    “มันเหมือนกับฉันเกิดใหม่ขึ้นครั้ง และเราได้รับชัยชนะอีกครั้ง” เป็นคำกล่าวของ อุมม์ โมฮัมเหม็ด อาลี คุณแม่ชาวปาเลสไตน์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนซึ่งเดินตามกันไปอย่างช้าๆ เป็นแถวยาวเหยียดหลายกิโลเมตรบนถนนเลียบทะเลสายดังกล่าว
    .
    พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ชาวบ้านคนแรกเดินมาถึงเมืองกาซาซิตี้ในตอนเช้าตรู่ หลังจากจุดข้ามจากตอนใต้ของกาซา เปิดขึ้นเมื่อเวลา 7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเที่ยงวัน เวลาเมืองไทย) สำหรับจุดข้ามอีกจุดหนึ่งเปิดขึ้นในอีก 3 ชั่วโมงถัดมา โดยเป็นทางสำหรับยวดยานต่างๆ
    .
    “หัวใจผมกำลังเต้นแรง ผมคิดว่าผมจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว” เป็นคำพูดของ โอซามา วัย 50 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและเป็นคุณพ่อของลูก 5 คน ขณะที่เขาเดินทางถึงกาซาซิตี้ “ไม่ว่าการหยุดยิงนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เราก็จะไม่ยอมออกจากกาซาซิตี้และทางตอนเหนือนี่อีกแล้ว ถึงแม้อิสราเอลจะส่งรถถังมาเล่นงานพวกเราแต่ละคนก็ตาม ไม่มีการพลัดถิ่นที่อยู่กันอีกแล้ว”
    .
    หลังจากถูกสั่งให้ออกจากที่พำนักชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลา 15 เดือนของสงครามครั้งนี้ ก็มีเสียงเชียร์เสียงโห่ร้องยินดีปะทุขึ้นจากที่พักพิงหลบภัยและเต็นท์ค่ายพักต่างๆ เมื่อครอบครัวชาวปาเลสไตน์ได้ยินข่าวที่ว่าจุดข้ามจะเปิดให้เดินทางผ่านแล้ว
    .
    “นอนไม่หลับเลย ฉันเก็บข้าวของทุกอย่างและพร้อมเดินทางตั้งแต่แสงตะวันแรกของวันแล้ว” เป็นคำกล่าวของ กอดา คุณแม่ลูก 5 “อย่างน้อยที่สุดเราก็กำลังจะกลับบ้าน ตอนนี้ฉันพูดได้แล้วว่าสงครามยุติแล้ว และฉันหวังว่ามันจะอยู่ในความสงบต่อไปอีก” เธอบอกกับรอยเตอร์ผ่านแอปแชต
    .
    ทั้งพวกเจ้าหน้าที่ฮามาสและชาวกาซาที่เป็นประชาชนธรรมดา ต่างปฏิเสธไม่เอาด้วยกับคำแนะนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้จอร์แดนและอียิปต์ รับชาวปาเลไสตน์จากดินแดนที่พินาศยับเยินจากสงครามแห่งนี้ อพยพเข้าไปพำนักอาศัยให้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังเป็นการกระตุ้นความหวาดกลัวซึ่งมีมายาวนานของชาวปาเลสไตน์ที่ว่า พวกเขากำลังจะถูกผลักไสให้ออกจากบ้านของพวกเขาไปตลอดกาล
    .
    ตามเงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิงที่กระทำกันคราวนี้ ผู้ที่พำนักอาศัยในตอนเหนือกาซา จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ท่ผ่านมา ทว่าในวันอาทิตย์ (26 ) อิสราเอลขัดขวางเรื่องนี้ โดยกล่าวหาฮามาสละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง
    .
    อย่างไรก็ดี ถึงตอนค่ำวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า สามารถตกลงกับฮามาสได้แล้ว โดยฮามาสจะปล่อย อาร์เบล เยฮุด ตัวประกันที่เป็นพลเรือนหญิงที่เดิมคาดว่า จะได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับตัวประกันอีก 3 คนในวันพฤหัสฯ (30) และปล่อยเพิ่มอีก 3 คนในวันเสาร์ (1 ก.พ.)
    .
    คำแถลงยังระบุว่า อิสราเอลจะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เดินทางได้ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ซึ่งฮามาสระบุว่าเป็น “ชัยชนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ และสัญญาณความล้มเหลวของแผนการยึดครองและบังคับย้ายถิ่นฐาน”
    .
    สำหรับคำแนะนำของทรัมป์นั้น อยู่ในลักษณะของการที่เขาเสนอไอเดียกับพวกผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางบนเครื่องบินประจำตำแหน่งแอร์ฟอร์ซ วัน เมื่อวันเสาร์ (25) ว่า จอร์แดนและอียิปต์ ควรอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ราว 2.4 ล้านคนจากกาซาที่พังพินาศจากสงครามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นเสียชีวิตและนำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมเลวร้าย
    .
    ประมุขทำเนียบขาวเสริมว่า จะดึงชาติอาหรับบางชาติเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างที่พักอาศัยเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ก่อนสำทับว่า แนวทางนี้อาจเป็นได้ทั้งแนวทางชั่วคราวหรือถาวร
    .
    ปัจจุบัน จอร์แดนรองรับชาวปาเลสไตน์หลายล้านคนอยู่แล้ว ขณะที่มีชาวปาเลสไตน์อีกหลายหมื่นคนอาศัยอยู่ในอียิปต์ อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศรวมถึงชาติอาหรับอื่นๆ ต่างปฏิเสธแนวคิดในการย้ายชาวปาเลสไตน์จากฉนวนกาซาไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ก็ต้องการให้กาซาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต
    .
    ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ทางด้าน เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังอิสราเอลที่สังกัดพรรคขวาจัด บอกว่า “การคิดนอกกรอบ” เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้จริง และกล่าวยกย่องข้อเสนอของทรัมป์เป็น “ไอเดียเยี่ยมยอด” ซึ่งจะทำให้ชาวปาเลสไตน์มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นในประเทศอื่น พร้อมเสริมว่า จะวางแผนเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้
    .
    สำหรับ ฟรานเชสกา อัลบานีส ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหนก็ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และไร้ความรับผิดชอบ
    .
    บาเซม นาอิม สมาชิกกลุ่มการเมืองของฮามาส ยืนกรานว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่มีวันยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ที่ดูเหมือนเจตนาดีภายใต้ข้ออ้างในการฟื้นฟูกาซา ขณะที่ซามี อาบู ซูฮ์รี เจ้าหน้าที่อีกคน เรียกร้องทรัมป์ไม่ให้เสนอไอเดียผิดพลาดแบบที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยพยายามมาก่อน
    .
    สันนิบาตอาหรับคัดค้านไอเดียของทรัมป์เช่นเดียวกัน โดยเตือนว่า ความพยายามบังคับให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากถิ่นฐานเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์
    .
    อัยมาน ซาฟาดี รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดน รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ ยืนยันจุดยืนในการต่อต้านการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไม่ว่าระยะยาวหรือระยะสั้น
    .
    ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ประณามไอเดียของทรัมป์ และประกาศว่า ชาวปาเลสไตน์จะไม่ยอมทิ้งบ้านเกิดอย่างแน่นอน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008688
    ..............
    Sondhi X
    ชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่นจำนวนเรือนหมื่นเรือนแสน หลั่งไหลกันเดินทางไปตามถนนสายหลัก เพื่อมุ่งหน้ากลับสู่ตอนเหนือของฉนวนกาซาแล้วเมื่อวันจันทร์ (27 ม.ค.) หลังจากกลุ่มฮามาสตกลงส่งมอบตัวประกันชาวอิสราเอลอีก 3 คนในช่วงต่อไปของสัปดาห์นี้ และกองทหารรัฐยิวก็เริ่มถอนกำลังออกจากการปิดกั้นช่องทางซึ่งสกัดไม่ให้ผู้พลัดถิ่นเหล่านี้ได้เดินทาง . ประชาชนจำนวนมากมาย บางคนอุ้มทารกเอาไว้ในอ้อมแขน หรือไม่แบกสมบัติข้าวของที่ยังเหลืออยู่เอาไว้บนบ่า มุ่งหน้าเดินเท้าขึ้นเหนือ ไปตามถนนสายที่ทอดยาวเลียบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน . “มันเหมือนกับฉันเกิดใหม่ขึ้นครั้ง และเราได้รับชัยชนะอีกครั้ง” เป็นคำกล่าวของ อุมม์ โมฮัมเหม็ด อาลี คุณแม่ชาวปาเลสไตน์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของฝูงชนซึ่งเดินตามกันไปอย่างช้าๆ เป็นแถวยาวเหยียดหลายกิโลเมตรบนถนนเลียบทะเลสายดังกล่าว . พวกผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า ชาวบ้านคนแรกเดินมาถึงเมืองกาซาซิตี้ในตอนเช้าตรู่ หลังจากจุดข้ามจากตอนใต้ของกาซา เปิดขึ้นเมื่อเวลา 7 โมงเช้าตามเวลาท้องถิ่น (ตรงกับเที่ยงวัน เวลาเมืองไทย) สำหรับจุดข้ามอีกจุดหนึ่งเปิดขึ้นในอีก 3 ชั่วโมงถัดมา โดยเป็นทางสำหรับยวดยานต่างๆ . “หัวใจผมกำลังเต้นแรง ผมคิดว่าผมจะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว” เป็นคำพูดของ โอซามา วัย 50 ปี ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนและเป็นคุณพ่อของลูก 5 คน ขณะที่เขาเดินทางถึงกาซาซิตี้ “ไม่ว่าการหยุดยิงนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ เราก็จะไม่ยอมออกจากกาซาซิตี้และทางตอนเหนือนี่อีกแล้ว ถึงแม้อิสราเอลจะส่งรถถังมาเล่นงานพวกเราแต่ละคนก็ตาม ไม่มีการพลัดถิ่นที่อยู่กันอีกแล้ว” . หลังจากถูกสั่งให้ออกจากที่พำนักชั่วคราวซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอดระยะเวลา 15 เดือนของสงครามครั้งนี้ ก็มีเสียงเชียร์เสียงโห่ร้องยินดีปะทุขึ้นจากที่พักพิงหลบภัยและเต็นท์ค่ายพักต่างๆ เมื่อครอบครัวชาวปาเลสไตน์ได้ยินข่าวที่ว่าจุดข้ามจะเปิดให้เดินทางผ่านแล้ว . “นอนไม่หลับเลย ฉันเก็บข้าวของทุกอย่างและพร้อมเดินทางตั้งแต่แสงตะวันแรกของวันแล้ว” เป็นคำกล่าวของ กอดา คุณแม่ลูก 5 “อย่างน้อยที่สุดเราก็กำลังจะกลับบ้าน ตอนนี้ฉันพูดได้แล้วว่าสงครามยุติแล้ว และฉันหวังว่ามันจะอยู่ในความสงบต่อไปอีก” เธอบอกกับรอยเตอร์ผ่านแอปแชต . ทั้งพวกเจ้าหน้าที่ฮามาสและชาวกาซาที่เป็นประชาชนธรรมดา ต่างปฏิเสธไม่เอาด้วยกับคำแนะนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่เรียกร้องให้จอร์แดนและอียิปต์ รับชาวปาเลไสตน์จากดินแดนที่พินาศยับเยินจากสงครามแห่งนี้ อพยพเข้าไปพำนักอาศัยให้มากขึ้น มิหนำซ้ำยังเป็นการกระตุ้นความหวาดกลัวซึ่งมีมายาวนานของชาวปาเลสไตน์ที่ว่า พวกเขากำลังจะถูกผลักไสให้ออกจากบ้านของพวกเขาไปตลอดกาล . ตามเงื่อนไขของข้อตกลงหยุดยิงที่กระทำกันคราวนี้ ผู้ที่พำนักอาศัยในตอนเหนือกาซา จะได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับบ้านได้ตั้งแต่ช่วงสุดสัปดาห์ท่ผ่านมา ทว่าในวันอาทิตย์ (26 ) อิสราเอลขัดขวางเรื่องนี้ โดยกล่าวหาฮามาสละเมิดเงื่อนไขในข้อตกลง . อย่างไรก็ดี ถึงตอนค่ำวันเดียวกัน สำนักนายกรัฐมนตรีอิสราเอลแถลงว่า สามารถตกลงกับฮามาสได้แล้ว โดยฮามาสจะปล่อย อาร์เบล เยฮุด ตัวประกันที่เป็นพลเรือนหญิงที่เดิมคาดว่า จะได้รับการปล่อยตัวตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา พร้อมกับตัวประกันอีก 3 คนในวันพฤหัสฯ (30) และปล่อยเพิ่มอีก 3 คนในวันเสาร์ (1 ก.พ.) . คำแถลงยังระบุว่า อิสราเอลจะอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์เดินทางได้ตั้งแต่เช้าวันจันทร์ ซึ่งฮามาสระบุว่าเป็น “ชัยชนะสำหรับชาวปาเลสไตน์ และสัญญาณความล้มเหลวของแผนการยึดครองและบังคับย้ายถิ่นฐาน” . สำหรับคำแนะนำของทรัมป์นั้น อยู่ในลักษณะของการที่เขาเสนอไอเดียกับพวกผู้สื่อข่าวระหว่างเดินทางบนเครื่องบินประจำตำแหน่งแอร์ฟอร์ซ วัน เมื่อวันเสาร์ (25) ว่า จอร์แดนและอียิปต์ ควรอ้าแขนรับชาวปาเลสไตน์ราว 2.4 ล้านคนจากกาซาที่พังพินาศจากสงครามที่ทำให้ประชาชนนับหมื่นเสียชีวิตและนำไปสู่วิกฤตมนุษยธรรมเลวร้าย . ประมุขทำเนียบขาวเสริมว่า จะดึงชาติอาหรับบางชาติเข้ามามีส่วนร่วม และสร้างที่พักอาศัยเพื่อให้ชาวปาเลสไตน์ได้ใช้ชีวิตอย่างสงบ ก่อนสำทับว่า แนวทางนี้อาจเป็นได้ทั้งแนวทางชั่วคราวหรือถาวร . ปัจจุบัน จอร์แดนรองรับชาวปาเลสไตน์หลายล้านคนอยู่แล้ว ขณะที่มีชาวปาเลสไตน์อีกหลายหมื่นคนอาศัยอยู่ในอียิปต์ อย่างไรก็ดี ทั้งสองประเทศรวมถึงชาติอาหรับอื่นๆ ต่างปฏิเสธแนวคิดในการย้ายชาวปาเลสไตน์จากฉนวนกาซาไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันชาวปาเลสไตน์ก็ต้องการให้กาซาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต . ขณะที่นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ก็แสดงท่าทีคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ทางด้าน เบซาเลล สโมทริช รัฐมนตรีคลังอิสราเอลที่สังกัดพรรคขวาจัด บอกว่า “การคิดนอกกรอบ” เท่านั้นที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้จริง และกล่าวยกย่องข้อเสนอของทรัมป์เป็น “ไอเดียเยี่ยมยอด” ซึ่งจะทำให้ชาวปาเลสไตน์มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ที่ดีขึ้นในประเทศอื่น พร้อมเสริมว่า จะวางแผนเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอนี้ . สำหรับ ฟรานเชสกา อัลบานีส ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า การกวาดล้างเผ่าพันธุ์ก็เป็นการคิดนอกกรอบ ซึ่งไม่ว่าจะด้วยรูปแบบไหนก็ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม และไร้ความรับผิดชอบ . บาเซม นาอิม สมาชิกกลุ่มการเมืองของฮามาส ยืนกรานว่า ชาวปาเลสไตน์ไม่มีวันยอมรับข้อเสนอของทรัมป์ที่ดูเหมือนเจตนาดีภายใต้ข้ออ้างในการฟื้นฟูกาซา ขณะที่ซามี อาบู ซูฮ์รี เจ้าหน้าที่อีกคน เรียกร้องทรัมป์ไม่ให้เสนอไอเดียผิดพลาดแบบที่อดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดน เคยพยายามมาก่อน . สันนิบาตอาหรับคัดค้านไอเดียของทรัมป์เช่นเดียวกัน โดยเตือนว่า ความพยายามบังคับให้ชาวปาเลสไตน์อพยพออกจากถิ่นฐานเท่ากับเป็นการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ . อัยมาน ซาฟาดี รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดน รวมทั้งกระทรวงต่างประเทศอียิปต์ ยืนยันจุดยืนในการต่อต้านการอพยพชาวปาเลสไตน์ออกจากกาซาไม่ว่าระยะยาวหรือระยะสั้น . ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาสของปาเลสไตน์ที่ได้รับการสนับสนุนจากตะวันตก ประณามไอเดียของทรัมป์ และประกาศว่า ชาวปาเลสไตน์จะไม่ยอมทิ้งบ้านเกิดอย่างแน่นอน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008688 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1744 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐสภาอิสราเอลลงมติ ผ่านกฎหมายห้าม UNRWA หน่วยงานของสหประชาชาติที่รับผิดชอบดำเนินงานด้านบรรเทาทุกข์แก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ปฏิบัติงานภายในอิสราเอล และดินแดนยึดครอง ถึงแม้ถูกคัดค้านจากประชาคมระหว่างประเทศ และสร้างความกังวลแม้กระทั่งในหมู่ชาติพันธมิตรตะวันตกของรัฐยิวที่เกรงว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะยิ่งโหมกระพือวิกฤตมนุษยธรรมในฉนวนกาซา
    .
    UNRWA ซึ่งมีชื่อเต็มว่า สำนักงานบรรเทาทุกข์และปฏิบัติงานเพื่อผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้แห่งสหประชาชาติ ได้ดำเนินงานในการจัดหาจัดส่งความช่วยเหลือที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์มาเป็นเวลากว่า 70 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่อิสราเอลถล่มโจมตีทางอากาศและยกกำลังภาคพื้นดินเข้าไปปฏิบัติงานกวาดล้างในกาซานั้น หน่วยงานแห่งนี้ซึ่งว่าจ้างผู้คนจำนวนนับพันนับหมื่นในกาซา เป็นผู้ที่คอยจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานต่างๆ ให้แก่พลเมืองแทบทั้งหมดในดินแดนแคบๆ ติดชายฝั่งทะเลแห่งนี้ โดยจัดส่งผ่านทางอิสราเอล
    .
    ขณะที่เจ้าหน้าที่อิสราเอลอ้างว่า มีเจ้าหน้าที่ของ UNRWA จำนวนหนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่กลุ่มฮามาสบุกโจมตีภาคใต้อิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ปีที่แล้ว และยังกล่าวหาเจ้าหน้าที่ UNRWA บางคนว่าเป็นสมาชิกฮามาส หรือกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ
    .
    “เจ้าหน้าที่ UNRWA ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายต่อต้านอิสราเอลจะต้องถูกเอาตัวมารับผิด” นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู แห่งอิสราเอล แถลง
    .
    ทางด้าน ฟิลิปเป ลาซซารินี ผู้อำนวยการ UNRWA วิจารณ์การลงมติของรัฐสภาอิสราเอลว่าขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ และฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ
    .
    “นี่เป็นอีกครั้งที่มีความพยายามดิสเครดิต UNRWA และลดทอนบทบาทของเราในการมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบริการแก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์” ลาซซารินี โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์ม X
    .
    ในส่วนของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส แถลงในวันจันทร์ (28) ว่า หากมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่อิสราเอลผ่านออกมาฉบับนี้ มันก็ “อาจส่งผลต่อเนื่องเป็นความวิบัติหายนะสำหรับพวกผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้”
    .
    เขาระบุว่า ไม่มีใครสามารถปฏิบัติงานแทนที่ UNRWA ได้ พร้อมกับบอกว่าจะรายงานเรื่องนี้ให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติรับทราบ
    .
    ขณะที่หลายหน่วยงานของยูเอ็นแถลงในวันอังคาร (29) ว่า การตัดสินใจเช่นนี้ของอิสราเอลจะส่งผลทำให้มีเด็กๆ ในกาซาล้มตายกันมากขึ้น และหากมีการปฏิบัติตามอย่างเต็มที่จะถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการมุ่งลงโทษหมู่แบบไม่มีการจำแนกแยกแยะต่อชาวกาซา ทั้งนี้การมุ่งลงโทษหมู่แก่ประชาชน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติการณ์อาชญากรรมสงคราม
    .
    “ถ้า UNRWA ไม่สามารถดำเนินงานได้ มันก็น่าจะได้เห็นการล้มครืนของระบบมนุษยธรรมในกาซา” เป็นคำกล่าวของโฆษกกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เจมส์ เอลเดอร์ ซึ่งได้ปฏิบัติงานอย่างกว้างขวางในกาซานับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว “ดังนั้น การตัดสินเช่นนี้อย่างฉับพลันย่อมหมายความว่ามีการค้นพบวิธีการใหม่ในการเข่นฆ่าเด็กๆ”
    .
    จากข้อมูลของพวกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปาเลสไตน์ระบุว่า มีเด็กๆ มากกว่า 13,300 คนที่ได้รับการระบุอัตลักษณ์และยืนยันว่าถูกฆ่าตายไปในสงครามกาซา โดยจำนวนมากกว่านั้นอีกเชื่อกันว่าเสียชีวิตจากโรคภัยต่างๆ ภายหลังระบบการแพทย์ของดินแดนนี้ล่มสลายและเกิดการขาดแคลนอาหารและน้ำ
    .
    สำนักงานของยูเอ็นแห่งอื่นๆ ก็พูดถึงงานที่ UNRWA ทำอยู่ว่า เป็นสิ่งที่ไม่อาจปล่อยให้ขาดหายไปได้
    .
    ทาริก จาซาเรวิก แห่งองค์การอนามัยโลก (WHO) บอกว่า พวกเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพที่กำลังช่วยเหลือโครงการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอสำหรับเด็กๆ ในกาซาซึ่งเป็นโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ ราวหนึ่งในสามคือผู้ที่ทำงานกับ UNRWA เขากล่าวพร้อมกับย้ำว่า UNRWA มีเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขราว 1,000 คนในกาซา
    .
    ส่วน เอมี โป๊ป ผู้อำนวยการขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอพยพ (IOM) แถลงว่า ทางหน่วยงานของเธอสามารถทำงานบรรเทาทุกข์ให้มากขึ้นกว่านี้แก่ชาวปาเลสไตน์ที่ตกอยู่ในวิกฤต ทว่า IOM ไม่สามารถทำงานแทนที่ UNRWA ในกาซาได้แน่นอน
    .
    อนึ่ง การโหวตร่างกฎหมายใหม่ของอิสราเอลคราวนี้ ยังมีขึ้นในวันเดียวกับที่กองกำลังรถถังยิวจู่โจมลึกเข้าไปยังตอนเหนือของกาซา จนทำให้พลเรือนราว 100,000 คนติดอยู่ในพื้นที่สู้รบตามข้อมูลจากหน่วยฉุกเฉินปาเลสไตน์ ขณะที่กองทัพอิสราเอลอ้างว่า พวกเขากำลังปฏิบัติการกวาดล้างพวกนักรบฮามาสไม่ให้รวมกลุ่มกันได้อีก
    .
    ทั้งนี้ สำนักงานบริการฉุกเฉินเพื่อพลเรือนปาเลสไตน์รายงานว่า มีพลเรือนราว 100,000 คนติดอยู่ภายในค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย เบตลาฮิยา และเบตฮานูน โดยปราศจากทั้งทีมแพทย์และอาหารน้ำดื่ม และเวลานี้ทางหน่วยงานไม่สามารถดำเนินภารกิจต่อไปได้ เนื่องจากอิสราเอลได้เดินหน้าถล่มพื้นที่ตอนเหนือกาซามาเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้ว
    .
    กองทัพอิสราเอลยังได้มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นกลุ่มติดอาวุธ 100 คนภายในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย ในขณะที่กลุ่มฮามาส ซึ่งเป็นผู้บริหารปกครองดินแดนกาซา และบุคลากรทางการแพทย์ยืนยันว่า สถานพยาบาลแห่งนี้ไม่มีกลุ่มติดอาวุธหลบซ่อนอยู่อย่างที่อิสราเอลอ้าง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000104389
    ..............
    Sondhi X
    รัฐสภาอิสราเอลลงมติ ผ่านกฎหมายห้าม UNRWA หน่วยงานของสหประชาชาติที่รับผิดชอบดำเนินงานด้านบรรเทาทุกข์แก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ ปฏิบัติงานภายในอิสราเอล และดินแดนยึดครอง ถึงแม้ถูกคัดค้านจากประชาคมระหว่างประเทศ และสร้างความกังวลแม้กระทั่งในหมู่ชาติพันธมิตรตะวันตกของรัฐยิวที่เกรงว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้จะยิ่งโหมกระพือวิกฤตมนุษยธรรมในฉนวนกาซา . UNRWA ซึ่งมีชื่อเต็มว่า สำนักงานบรรเทาทุกข์และปฏิบัติงานเพื่อผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในตะวันออกใกล้แห่งสหประชาชาติ ได้ดำเนินงานในการจัดหาจัดส่งความช่วยเหลือที่จำเป็นต่างๆ ให้แก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์มาเป็นเวลากว่า 70 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลากว่า 1 ปีที่อิสราเอลถล่มโจมตีทางอากาศและยกกำลังภาคพื้นดินเข้าไปปฏิบัติงานกวาดล้างในกาซานั้น หน่วยงานแห่งนี้ซึ่งว่าจ้างผู้คนจำนวนนับพันนับหมื่นในกาซา เป็นผู้ที่คอยจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานต่างๆ ให้แก่พลเมืองแทบทั้งหมดในดินแดนแคบๆ ติดชายฝั่งทะเลแห่งนี้ โดยจัดส่งผ่านทางอิสราเอล . ขณะที่เจ้าหน้าที่อิสราเอลอ้างว่า มีเจ้าหน้าที่ของ UNRWA จำนวนหนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่กลุ่มฮามาสบุกโจมตีภาคใต้อิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ปีที่แล้ว และยังกล่าวหาเจ้าหน้าที่ UNRWA บางคนว่าเป็นสมาชิกฮามาส หรือกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ . “เจ้าหน้าที่ UNRWA ที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมก่อการร้ายต่อต้านอิสราเอลจะต้องถูกเอาตัวมารับผิด” นายกรัฐมนตรี เบนจามิน เนทันยาฮู แห่งอิสราเอล แถลง . ทางด้าน ฟิลิปเป ลาซซารินี ผู้อำนวยการ UNRWA วิจารณ์การลงมติของรัฐสภาอิสราเอลว่าขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ และฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ . “นี่เป็นอีกครั้งที่มีความพยายามดิสเครดิต UNRWA และลดทอนบทบาทของเราในการมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบริการแก่ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์” ลาซซารินี โพสต์ข้อความผ่านแพลตฟอร์ม X . ในส่วนของเลขาธิการใหญ่สหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส แถลงในวันจันทร์ (28) ว่า หากมีการปฏิบัติตามกฎหมายที่อิสราเอลผ่านออกมาฉบับนี้ มันก็ “อาจส่งผลต่อเนื่องเป็นความวิบัติหายนะสำหรับพวกผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ในดินแดนของปาเลสไตน์ที่ถูกอิสราเอลยึดครอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้” . เขาระบุว่า ไม่มีใครสามารถปฏิบัติงานแทนที่ UNRWA ได้ พร้อมกับบอกว่าจะรายงานเรื่องนี้ให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติรับทราบ . ขณะที่หลายหน่วยงานของยูเอ็นแถลงในวันอังคาร (29) ว่า การตัดสินใจเช่นนี้ของอิสราเอลจะส่งผลทำให้มีเด็กๆ ในกาซาล้มตายกันมากขึ้น และหากมีการปฏิบัติตามอย่างเต็มที่จะถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการมุ่งลงโทษหมู่แบบไม่มีการจำแนกแยกแยะต่อชาวกาซา ทั้งนี้การมุ่งลงโทษหมู่แก่ประชาชน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของพฤติการณ์อาชญากรรมสงคราม . “ถ้า UNRWA ไม่สามารถดำเนินงานได้ มันก็น่าจะได้เห็นการล้มครืนของระบบมนุษยธรรมในกาซา” เป็นคำกล่าวของโฆษกกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) เจมส์ เอลเดอร์ ซึ่งได้ปฏิบัติงานอย่างกว้างขวางในกาซานับตั้งแต่สงครามเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว “ดังนั้น การตัดสินเช่นนี้อย่างฉับพลันย่อมหมายความว่ามีการค้นพบวิธีการใหม่ในการเข่นฆ่าเด็กๆ” . จากข้อมูลของพวกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปาเลสไตน์ระบุว่า มีเด็กๆ มากกว่า 13,300 คนที่ได้รับการระบุอัตลักษณ์และยืนยันว่าถูกฆ่าตายไปในสงครามกาซา โดยจำนวนมากกว่านั้นอีกเชื่อกันว่าเสียชีวิตจากโรคภัยต่างๆ ภายหลังระบบการแพทย์ของดินแดนนี้ล่มสลายและเกิดการขาดแคลนอาหารและน้ำ . สำนักงานของยูเอ็นแห่งอื่นๆ ก็พูดถึงงานที่ UNRWA ทำอยู่ว่า เป็นสิ่งที่ไม่อาจปล่อยให้ขาดหายไปได้ . ทาริก จาซาเรวิก แห่งองค์การอนามัยโลก (WHO) บอกว่า พวกเจ้าหน้าที่ดูแลสุขภาพที่กำลังช่วยเหลือโครงการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอสำหรับเด็กๆ ในกาซาซึ่งเป็นโครงการที่กำลังดำเนินอยู่ในเวลานี้ ราวหนึ่งในสามคือผู้ที่ทำงานกับ UNRWA เขากล่าวพร้อมกับย้ำว่า UNRWA มีเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขราว 1,000 คนในกาซา . ส่วน เอมี โป๊ป ผู้อำนวยการขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการอพยพ (IOM) แถลงว่า ทางหน่วยงานของเธอสามารถทำงานบรรเทาทุกข์ให้มากขึ้นกว่านี้แก่ชาวปาเลสไตน์ที่ตกอยู่ในวิกฤต ทว่า IOM ไม่สามารถทำงานแทนที่ UNRWA ในกาซาได้แน่นอน . อนึ่ง การโหวตร่างกฎหมายใหม่ของอิสราเอลคราวนี้ ยังมีขึ้นในวันเดียวกับที่กองกำลังรถถังยิวจู่โจมลึกเข้าไปยังตอนเหนือของกาซา จนทำให้พลเรือนราว 100,000 คนติดอยู่ในพื้นที่สู้รบตามข้อมูลจากหน่วยฉุกเฉินปาเลสไตน์ ขณะที่กองทัพอิสราเอลอ้างว่า พวกเขากำลังปฏิบัติการกวาดล้างพวกนักรบฮามาสไม่ให้รวมกลุ่มกันได้อีก . ทั้งนี้ สำนักงานบริการฉุกเฉินเพื่อพลเรือนปาเลสไตน์รายงานว่า มีพลเรือนราว 100,000 คนติดอยู่ภายในค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย เบตลาฮิยา และเบตฮานูน โดยปราศจากทั้งทีมแพทย์และอาหารน้ำดื่ม และเวลานี้ทางหน่วยงานไม่สามารถดำเนินภารกิจต่อไปได้ เนื่องจากอิสราเอลได้เดินหน้าถล่มพื้นที่ตอนเหนือกาซามาเป็นเวลา 3 สัปดาห์แล้ว . กองทัพอิสราเอลยังได้มีการจับกุมผู้ต้องสงสัยเป็นกลุ่มติดอาวุธ 100 คนภายในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลีย ในขณะที่กลุ่มฮามาส ซึ่งเป็นผู้บริหารปกครองดินแดนกาซา และบุคลากรทางการแพทย์ยืนยันว่า สถานพยาบาลแห่งนี้ไม่มีกลุ่มติดอาวุธหลบซ่อนอยู่อย่างที่อิสราเอลอ้าง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000104389 .............. Sondhi X
    Like
    Angry
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2024 มุมมอง 0 รีวิว