• การรถไฟฯ พร้อมรองรับผู้โดยสารเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง กำชับเข้มงวดความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน เผยภาพรวมวันที่ 1 ม.ค. ผู้ใช้บริการรถไฟเกือบ 1.1 แสนคน

    นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ช่วงเช้าของวันนี้ (2 มกราคม 2568) ยังคงมีผู้โดยสารทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของขบวนรถทางไกล และขบวนรถชานเมือง ซึ่งการรถไฟฯ ได้เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเคร่งครัด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000000351

    #MGROnline #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    การรถไฟฯ พร้อมรองรับผู้โดยสารเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง กำชับเข้มงวดความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน เผยภาพรวมวันที่ 1 ม.ค. ผู้ใช้บริการรถไฟเกือบ 1.1 แสนคน • นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ช่วงเช้าของวันนี้ (2 มกราคม 2568) ยังคงมีผู้โดยสารทยอยเดินทางกลับเข้ากรุงเทพฯ เป็นจำนวนมาก ทั้งในส่วนของขบวนรถทางไกล และขบวนรถชานเมือง ซึ่งการรถไฟฯ ได้เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางของพี่น้องประชาชน ตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในการอำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนอย่างเคร่งครัด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/business/detail/9680000000351 • #MGROnline #การรถไฟแห่งประเทศไทย
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 200 มุมมอง 0 รีวิว
  • "การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน
    ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน

    การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น

    ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด

    ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง

    ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย

    ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด

    พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป

    โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
    "การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แถลงการณ์จากกรณีที่มีผู้มาพาดพิง ตามที่มีการรายงานข่าวของสื่อมวลชนว่า นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ซึ่งกำกับดูแลกรมที่ดิน ได้นำอธิบดีกรมที่ดิน รองอธิบดีกรมที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ สส.จังหวัดบุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ และข้าราชการส่วนท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์ พบกับราษฎรที่ครอบครองที่ดินบริเวณเขากระโดง เพื่อยืนยันสิทธิ์การครอบครองที่ดินของราษฎร และกล่าวพาดพิงถึง รฟท. ในทำนองว่า รฟท. จะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชนนั้น ทั้งนี้ รฟท. เห็นว่า การดำเนินการข้างต้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดของประชาชนต่อการดำเนินการของ รฟท. เกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ดังนั้นจึงขอชี้แจงว่า รฟท. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ดินของ รฟท. จึงเป็นที่ดินของรัฐและเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่ง รฟท. มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนกิจการของกรมรถไฟ ดังนั้นบรรดาที่ดินและทรัพย์สินที่เคยเป็นของกรมรถไฟจึงโอนมาเป็นของ รฟท. ซึ่ง รฟท. มีหน้าที่ต้องดูแลที่ดินบริเวณเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ และติดตามเอาที่ดินของ รฟท. ที่มีการยึดถือครอบครองและออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบให้กลับคืนมาเป็นของ รฟท. อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การดำเนินการของ รฟท. เพื่อทวงคืนที่ดินบริเวณเขากระโดง จึงเป็นการดำเนินการโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนแต่อย่างใด ทั้งนี้ที่ดินบริเวณเขากระโดงได้รับการพิสูจน์และยืนยันผ่านกระบวนการทางศาล และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินประมาณ 5,000 ไร่เศษ บริเวณ ตำบลอิสาณ และ ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิของ รฟท. พร้อมกันนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยโดยอ้างถึงคำพิพากษาศาลฎีกาทั้งสองเรื่องข้างต้นแล้วสรุปว่าที่ดินบริเวณพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. นอกจากนี้ คำพิพากษาของศาลปกครองกลางยังระบุด้วยว่า กรมที่ดินมีหน้าที่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการรถไฟฯ ไม่จำต้องไปฟ้องต่อศาลเพื่อให้มีคำพิพากษาทุกแปลง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกรมที่ดินที่จะต้องดำเนินการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับที่ดินของ รฟท. ซึ่งเป็นการออกโดยคลาดเคลื่อนและไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้ง ไม่ได้เป็นการก้าวล่วงสิทธิของประชาชนตามที่มีการกล่าวอ้างแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า เหตุใด รฟท. จึงไม่ยื่นเอกสารแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินชุดเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกา ซึ่งแสดงถึงเขตที่ดินของการรถไฟฯ ที่ครบถ้วน และที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฯ เพื่อให้คณะกรรมการสอบสวนของกรมที่ดินพิจารณานั้น ขอชี้แจงว่า รฟท. ยื่นเอกสารซึ่งแสดงถึงการได้มาของที่ดินรถไฟ รวมถึงเอกสารที่เกี่ยวข้อง ให้กับคณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด และเป็นเอกสารชุดเดียวกันกับที่ยื่นต่อศาลยุติธรรมด้วย ทั้งนี้ปัญหาการออกเอกสารทับซ้อนที่ดินของ รฟท. นั้น หน่วยงานที่เป็นผู้ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน คือ กรมที่ดินและสำนักงานที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยและกรมที่ดินที่จะต้องแก้ไขหรือดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วยการดำเนินการตามขั้นตอนในการเพิกถอนเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินทั้งหมด พร้อมขอขอยืนยันว่า สิทธิในความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินของ รฟท. บริเวณแยกเขากระโดง อันเป็นที่ดินของรัฐ โดยจะดำเนินการทุกอย่างภายในกรอบของกฎหมาย เพื่อให้ที่ดินดังกล่าวกลับคืนมาเป็นที่ดินของ รฟท. เพื่อสงวนไว้เป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินอันเป็นไปเพื่อประโยชน์โดยรวมของประชาชนทุกคนต่อไป โดยการแก้ปัญหาที่ดินเขากระโดงไม่ใช่เรื่องยาก หากกรมที่ดินซึ่งเป็นผู้ออกเอกสารแสดงสิทธิในที่ดินได้ร่วมมือกับ รฟท. ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองกลาง และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีฝ่ายใดนำเอาปัญหาที่ดินเขากระโดง ไปเชื่อมโยงเพื่อเป็นประเด็นการเมือง เพียงหวังเรื่องคะแนนนิยมทางการเมือง เพราะจะทำให้การแก้ปัญหามีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นไปอีก
    Like
    Love
    3
    1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 302 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ อย่าเป็นแค่ละคร สุริยะมอบ รฟท.ฟ้อง 157 อธิบดีกรมที่ดิน ละเลยปฏิบัติหน้าที่ เอื้อตระกูลใหญ่ครอบครองที่ดินเขากระโดง
    #7ดอกจิก
    #สุริยะ
    ♣ อย่าเป็นแค่ละคร สุริยะมอบ รฟท.ฟ้อง 157 อธิบดีกรมที่ดิน ละเลยปฏิบัติหน้าที่ เอื้อตระกูลใหญ่ครอบครองที่ดินเขากระโดง #7ดอกจิก #สุริยะ
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 326 มุมมอง 0 รีวิว
  • สุริยะยืนกราน ที่ดินเขากระโดงเป็นของ รฟท. ไม่รู้สนามฟุตบอล-แข่งรถครอบคลุมหรือไม่
    (19/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ที่ดินเขากระโดง #รฟท. #กรมที่ดิน #ฟ้องร้องที่ดินเขากระโดง
    สุริยะยืนกราน ที่ดินเขากระโดงเป็นของ รฟท. ไม่รู้สนามฟุตบอล-แข่งรถครอบคลุมหรือไม่ (19/11/67) #news1 #ข่าววันนี้ #ข่าวดัง #ที่ดินเขากระโดง #รฟท. #กรมที่ดิน #ฟ้องร้องที่ดินเขากระโดง
    Like
    Haha
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1321 มุมมอง 121 1 รีวิว
  • อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan

    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”

    กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย

    แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ

    อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง

    เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน

    และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร

    ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม

    แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว

    มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา

    ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย

    และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้

    วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้

    แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง

    อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม

    วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง

    วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น


    ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483

    #Thaitimes
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้ วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้ แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1386 มุมมอง 0 รีวิว
  • เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ

    ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร

    เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป

    เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน

    เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว

    ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน

    ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้

    เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย

    อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ

    ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว

    ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป

    เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้

    "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว.

    ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/

    #Thaitimes
    เขาบอกว่า หากใครมีประเด็นก็ไปฟ้องศาล พื้นที่เขากระโดงมีพื้นที่กว่า 5 พันไร่ เท่าที่ทราบตระกูลชิดชอบมีอยู่ 300 ไร่ แล้วอีก 4,700 ไร่ จะผิดแค่ 300 ไร่ได้อย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็ไปพิสูจน์เอา ไม่เกี่ยวกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจในการเพิกถอนหรืออนุญาต อยากจะยุ่งก็ยุ่งไม่ได้เพราะไม่มีอำนาจ ด้านนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่ายังมีรายละเอียดอีกเยอะที่หลายคนไม่รู้ ซึ่ง รฟท.หรือประชาชนเองต้องทำการพิสูจน์สิทธิให้ชัดเจน ตนไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ลองคิดดูว่าในประเทศไทยมีพื้นที่ใดที่กันรางรถไฟออกไป 1 กิโลเมตร ตรงไหนบ้างที่ไม่ใช่ชุมทาง แต่เป็นสถานีใหญ่ๆ มีหรือไม่ หากมี มีที่ไหนบ้างช่วยตอบหน่อย แล้วทำไมต้องเป็นแค่พื้นที่ตรงนี้ รฟท.จะเอาที่ดินไปทำอะไร เขาบอกว่า โดยส่วนตัวได้ติดตามเรื่องนี้มาพอสมควร และมองว่าน่าจะมีแผนที่บางตอนที่หายไป ซึ่งแผนที่ที่นำมาแสดงตนดูแล้วมีคลาดเคลื่อนอยู่ประมาณ 500 เมตร ซึ่งมองว่าน่าจะมีความขัดแย้งกัน แต่ทั้งนี้เราได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 ซึ่งได้มีการพิจารณาไปแล้วว่า กรมที่ดินยังไม่ได้เพิกถอนโฉนดพื้นที่เขากระโดง แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ์การรถไฟฯ แต่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพราะการรถไฟฯ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนที่จะทำให้คณะกรรมการสามารถเพิกถอนได้ ครั้งนี้ก็เป็นสิทธิ์ของการรถไฟฯ ที่จะไปฟ้องร้องตามกฎหมายต่อไป เมื่อถามว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ก็ระบุว่าพื้นที่เขากระโดงต้องเป็นของการรถไฟฯ เพราะถือว่าคำตัดสินของศาลฎีกาเป็นที่สิ้นสุด รมช.มหาดไทยตอบว่า ส่วนตัวมองว่าคำพิพากษาของศาลฎีกา หากอ่านดีๆ จะพบว่ามีฎีกาทับฎีกาอยู่เสมอ ในโอกาสที่จะมีหลักฐานใหม่เข้ามา เพื่อให้เกิดความรอบคอบและความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชน เมื่อถามถึงข้อกังขาว่า หนึ่งในคณะกรรมการตรวจสอบเป็นคนในกลุ่มเพื่อนเนวิน นายทรงศักดิ์กล่าวว่า คิดมากไป ทุกคนที่มาเป็นคณะกรรมการก็มีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว หากการทำหน้าที่ทำอะไรผิดไปและมีคนติดใจ ก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย จะไปมองว่าคนนั้นคนนี้เป็นใครไม่ได้ เพราะการทำงานของแต่ละคนก็มีบรรทัดฐานตามกรอบอยู่แล้ว ซักว่า ในพื้นที่เขากระโดงปรากฏว่ามีการถือครองที่ดินจากคนในตระกูลชิดชอบอยู่กว่า 20 แปลง ได้มีการตรวจสอบอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ นายทรงศักดิ์กล่าวว่า การได้มาของที่ดินเขากระโดงก็ได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน ได้สิทธิ์ตามกฎหมายอยู่แล้ว ส่วนในอนาคตจะเป็นอย่างไรก็เป็นเรื่องของกระบวนการ จะจำกัดว่าตระกูลหนึ่ง จะไม่มีสิทธิ์ไปครอบครองที่ดินเลยก็คงไม่ได้ มีกฎหมายตรงไหนที่ห้ามตระกูลหนึ่งเข้าไปถือสิทธิที่ดินตามกฎหมาย มีหรือไม่ มันไม่มี เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์กัน ขณะที่นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน ชี้แจง งานในส่วนของกรมที่ดินว่าทำอยู่ 3 ส่วน โดยส่วนแรกทำตามคำสั่งศาลปกครอง ส่วนที่สองทำตามข้อกฎหมาย ไม่มีส่วนใดใช้เรื่องดุลยพินิจ และส่วนที่สามทำไปตามข้อเท็จจริงที่มีพยานหลักฐานและกฎหมายที่ชัดเจน เพราะฉะนั้นทุกอย่างสามารถตรวจสอบในเรื่องการดำเนินการได้ เมื่อถามต่อว่า ผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยอยู่ในพรรคภูมิใจไทย จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่าอาจเป็นการฟอกขาว อธิบดีกรมที่ดินยืนยันว่า กระบวนการที่ดำเนินมาทำตั้งแต่ก่อนที่นายอนุทินจะเข้ามา การตั้งคณะกรรมการมีการตั้งก่อน และการหาเอกสารพยานหลักฐานในการดำเนินการก็ทำมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ตนจึงยืนยันว่า ทุกอย่างเป็นไปตามคำสั่งศาลปกครอง ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อย่างไรก็ตาม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้มีความสำคัญ หากเป็นที่ดินของ รฟท.แม้กระทั่งตารางวาก็จะเสียไปไม่ได้ จึงให้ รฟท.ไปเช็กดู ซึ่งได้รับรายงานว่าวันที่ 10 พ.ย.นี้ รฟท.ได้ยื่นขอต่อศาลปกครองกลาง แจ้งว่าอธิบดีกรมที่ดินปฏิบัติตามคำพิพากษาไม่ครบถ้วน ขอให้ศาลปกครองพิจารณาหรือไต่สวนกำหนดวิธีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ในการร่วมกันชี้แนวเขตที่ดินของ รฟท. และให้พิจารณามีคำสั่งในประเด็นต่างๆ ต่อไป ซึ่งผู้ว่าฯ รฟท.ได้ทำหนังสือถึงกรมที่ดินเพื่อยื่นคัดค้านหนังสือของอธิบดีกรมที่ดิน ตามมาตรา 44 พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง ซึ่งในนั้นระบุว่าเราต้องยื่นภายใน 15 วัน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 12 พ.ย. และเราส่งไปเรียบร้อยแล้ววันที่ 11 พ.ย. รฟท.รู้กฎหมายอยู่ จะไปหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินกว่า 900 แปลง ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ยังมีเวลา ยืนยันว่าจะดูให้รอบคอบ ถามว่า เรื่องนี้เรื้อรังมานานจะเคลียร์ให้จบภายในช่วงที่เป็นรัฐมนตรีหรือไม่ รมว.คมนาคมตอบว่า เรื่องนี้ต้องดำเนินการตามกฎหมาย มันไม่ช้าอยู่แล้ว ซักว่า จำเป็นต้องพูดคุยกับนายอนุทินหรือไม่ นายสุริยะชี้แจงว่า เป็นระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ เมื่อกรมที่ดินบอกว่าเป็นที่ของเขา ไม่ได้เป็นที่ของ รฟท. เพราะมีหลักฐานไม่เพียงพอ แต่ รฟท.เชื่อว่ามีหลักฐานเพียงพอ ก็ได้ดำเนินการไป เมื่อถามว่า มีการมองว่าที่ดินหลายแปลงในเขากระโดงเป็นของตระกูลชิดชอบ นายสุริยะกล่าวว่า ไม่อยากให้เรื่องขยายเป็นประเด็นการเมือง อยากให้ว่าไปตามกระบวนการ หรือ รฟท.เห็นว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไรเมื่ออธิบดีกรมที่ดินชี้มาแบบนี้ รฟท.เห็นว่าไม่ใช่ก็ต้องพยายามรักษาสิทธิ์ของ รฟท.ไว้ "คิดว่าเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามกฎหมาย อย่าไปมองว่าใครอยู่พรรคไหนหรือมีความขัดแย้งกัน" รมว.คมนาคมกล่าว. ที่มา https://www.thaipost.net/one-newspaper/688793/ #Thaitimes
    WWW.THAIPOST.NET
    มท.ปัดเอื้อที่ดินเขากระโดง ‘สุริยะ’ลั่นรฟท.ไม่ยอมแน่!
    "อนุทิน" ยัน “คดีเขากระโดง” ไม่มีแทรกแซง ไม่มีช่วยเพื่อน ทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย
    Sad
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 830 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣️ กรมที่ดิน หน่วยงานในสังกัด เสี่ยหนู มท.1 ทำหนังสือแจ้ง รฟท. ไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดง เพราะไม่มีหลักฐานยันว่าเป็นที่การรถไฟฯ ส่งผลให้ประชาชนรอบที่ดินเขากระโดง ครอบครัวชิดชอบ และธุรกิจในเครือ หลุดรอดจากการบุกรุกที่ดิน
    #7ดอกจิก
    ♣️ กรมที่ดิน หน่วยงานในสังกัด เสี่ยหนู มท.1 ทำหนังสือแจ้ง รฟท. ไม่เพิกถอนที่ดินเขากระโดง เพราะไม่มีหลักฐานยันว่าเป็นที่การรถไฟฯ ส่งผลให้ประชาชนรอบที่ดินเขากระโดง ครอบครัวชิดชอบ และธุรกิจในเครือ หลุดรอดจากการบุกรุกที่ดิน #7ดอกจิก
    Angry
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 453 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยืดเยื้อต่อเนื่อง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เลื่อนเสนอ ครม.เคาะแก้สัญญา
    .
    เริ่มส่งสัญญาณส่อเค้ายืดเยื้ออีกแล้วสำหรับการเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศอย่างมั่นใจว่าการแก้ไขสัญญากับเอกชนจะจบและเสนอให้คณะรัฐมนตรีเคาะได้ภายในเดือนตุลาคม ปรากฎว่าต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดอีกครั้ง
    .
    โดยนายสุริยะ ยอมรับว่า สัปดาห์นี้เรื่องดังกล่าวยังไม่เข้าที่ประชุม ครม. เพราะต้องไปดูรายระเอียดอีกรอบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งไปที่คณะกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดูแลอยู่
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานว่าประเด็นที่กระทรวงคมนาคมต้องนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง คือ การแก้ไขสัญญาใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่
    .
    1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน จากเดิมเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง รัฐจะแบ่งจ่าย 149,650 ล้านบาท ปรับเป็นลักษณะสร้างไปจ่ายไป
    .
    2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่ากัน
    .
    3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนหากอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลง จนทำให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้
    .
    4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน และ
    .
    5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น

    ขณะเดียวกัน เริ่มมีเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว ทั้งๆที่ฝ่ายรัฐกับเอกชนได้ลงนามไปแล้วแต่ไม่อาจเดินหน้าโครงการได้ เนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายเอกชนอ้างเหตุผลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
    .............
    Sondhi X
    ยืดเยื้อต่อเนื่อง รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เลื่อนเสนอ ครม.เคาะแก้สัญญา . เริ่มส่งสัญญาณส่อเค้ายืดเยื้ออีกแล้วสำหรับการเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากเดิมที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศอย่างมั่นใจว่าการแก้ไขสัญญากับเอกชนจะจบและเสนอให้คณะรัฐมนตรีเคาะได้ภายในเดือนตุลาคม ปรากฎว่าต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนดอีกครั้ง . โดยนายสุริยะ ยอมรับว่า สัปดาห์นี้เรื่องดังกล่าวยังไม่เข้าที่ประชุม ครม. เพราะต้องไปดูรายระเอียดอีกรอบ ซึ่งขณะนี้ได้มีการส่งไปที่คณะกรรมการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดูแลอยู่ . ทั้งนี้ มีรายงานว่าประเด็นที่กระทรวงคมนาคมต้องนำกลับมาพิจารณาอีกครั้ง คือ การแก้ไขสัญญาใน 5 ประเด็นสำคัญได้แก่ . 1.วิธีชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุน จากเดิมเมื่อเอกชนเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง รัฐจะแบ่งจ่าย 149,650 ล้านบาท ปรับเป็นลักษณะสร้างไปจ่ายไป . 2.กำหนดการชำระค่าสิทธิให้ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดยให้เอกชนแบ่งชำระค่าสิทธิ 10,671 ล้านบาท เป็น 7 งวด เป็นรายปี จำนวนเท่ากัน . 3.กำหนดส่วนแบ่งผลประโยชน์ตอบแทนหากอนาคตอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการลดลง จนทำให้เอกชนได้ผลประโยชน์ตอบแทนเพิ่มขึ้นเกิน 5.52% รฟท.มีสิทธิเรียกให้เอกชนชําระส่วนแบ่งผลประโยชน์เพิ่มได้ . 4.การยกเว้นเงื่อนไขการออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน และ . 5.การป้องกันปัญหาในอนาคตที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการ โดยปรับปรุงข้อสัญญาในส่วนเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ให้สอดคล้องกับสัญญาร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในโครงการอื่น ขณะเดียวกัน เริ่มมีเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการแก้ไขสัญญาดังกล่าว ทั้งๆที่ฝ่ายรัฐกับเอกชนได้ลงนามไปแล้วแต่ไม่อาจเดินหน้าโครงการได้ เนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายเอกชนอ้างเหตุผลเรื่องภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ............. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1011 มุมมอง 0 รีวิว
  • ♣ สุรพงศ์ รมช.คมนาคม คนจากเจ้่าสัวคีรี เตรียมของคลัง-สำนักงบ แฮร์คัทหนี้ รฟท. 3 แสนล้าน พร้อมขอรัฐบาลเพิ่มเงินชดเชยบริการเชิงสังคมเพิ่ม ถ้าคนมาเป็น รมต.แก้ปัญหาแบบนี้ใครก็เป็นได้
    #7ดอกจิก
    #ยังไม่อิ่ม
    ♣ สุรพงศ์ รมช.คมนาคม คนจากเจ้่าสัวคีรี เตรียมของคลัง-สำนักงบ แฮร์คัทหนี้ รฟท. 3 แสนล้าน พร้อมขอรัฐบาลเพิ่มเงินชดเชยบริการเชิงสังคมเพิ่ม ถ้าคนมาเป็น รมต.แก้ปัญหาแบบนี้ใครก็เป็นได้ #7ดอกจิก #ยังไม่อิ่ม
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 527 มุมมอง 0 รีวิว
  • “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    “คมนาคม”เตรียมพร้อมรองรับการเดินทางประชาชน ร่วมงานเฉลิมพระเกียรติ บริเวณท้องสนามหลวง 28 ก.ค. 67 ขสมก.จัดรถเมล์ฟรี 10 กลุ่มเส้นทาง เรือโดยสารฟรี 6 เส้นทาง ใช้รถไฟฟ้า ต่อเรือข้ามฟากฟรี รฟท.บริการฟรีขบวนพิเศษ 3 เส้นทางเข้า กทม. ทางด่วนฟรี 3 สาย อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063787 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    17
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1133 มุมมอง 0 รีวิว
  • บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    บอร์ดรฟท. เคาะลงทุน”รถไฟไทย-จีน”เฟส 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคายวงเงิน 3.41 แสนล้านบาท คาดสร้างเสร็จปี 72 พร้อมไฟเขียวจ้างออกแบบสะพานรถไฟ ”หนองคาย-เวียงจันทน์” แห่งใหม่แยก รองรับการขนส่งทางราง อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000063221 #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    Like
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1199 มุมมอง 0 รีวิว