• ทักษิณ กลับลำหลอกประชาชน จุดจบสุดท้ายคงไม่สวย
    การพูดเอามัน ตามสไตล์ทักษิณ อาจมีปัญหาตามมาอย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้ การพูดของทักษิณดังกล่าวจะถูกนําเข้ามาพิจารณาในคดียุบพรรคเพื่อไทย ในข้อหาครอบงําพรรคการเมือง
    ในที่สุด ทักษิณ ชินวัตร ก็เผยธาตุแท้ออกมาให้คนไทยได้เห็นกัน จากที่ต้องการกลับประเทศไทยเพื่อมาเลี้ยงหลาน ในฐานะอากงคนหนึ่ง แต่ทุกวันนี้คงเห็นแล้วนอกจากเลี้ยงหลานแล้วยังกลับมาเลี้ยงลูกสาวคนเล็ก แพทองทาน นายกรัฐมนตรีอีกด้วย หลังจากเข้าร่วมสัมมนากับพรรคเพื่อไทยพร้อมกับประกาศไล่แกนนําพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่จริงใจออกจากการเป็นรัฐบาล การประกาศเช่นนั้นด้านหนึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า
    ทักษิณกําลังออกมาปกป้องลูกสาวตัวเอง ซึ่งถ้าเป็นเรื่องครอบครัวปกติทั่วไป ก็คงไม่ผิด แต่พอเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองปฏิเสธไม่ได้ว่าหมิ่นเหม่ และท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายพอสมควร
    เดิมทีการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารประเทศหรือการแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศแม้บางเรื่องที่รัฐบาลดําเนินการในปัจจุบัน จะดันไปสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทักษิณแต่ด้วยความบังเอิญหรือจงใจ
    ก็ยังพอเข้าใจได้ว่า ถ้าจะเอาผิดตามกฎหมายจากเรื่องทํานองนี้อาจเป็นการบังคับใช้กฎหมาย ที่ดูจะเกินเลยไปหน่อย เช่นเดียวกับการเปิดบ้านจันทร์ส่องล่า ให้แกนนําพรรคร่วมรัฐบาลมากินมาม่าด้วยกัน ก็ยังมีช่องทางที่รอดจากคมหอกของกฎหมายไปได้
    แต่การที่ทักษิณออกมาพูดล้วงลึกไปถึงเรื่องภายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น ถือว่าเป็นการล้ําเส้นพอสมควร กล่าวก็คือโดยหลักการแล้วการประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้เป็นการจัดการประชุมที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
    เหมือนกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาพูดง่ายๆ คือการประชุมคณะรัฐมนตรีจะเป็นการประชุมภายในเฉพาะรัฐมนตรี
    นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า นายใหญ่รู้เห็นทุกอย่าง แต่อีกมุมในแง่ทางกฎหมายที่ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองนั้น ก็นับว่าเป็นการพาพรรคเพื่อไทยเข้าสู่กองไฟอย่างเห็นได้ชัด ใน เวลานี้ กกต ได้เห็นไพ่ในมือของพรรคเพื่อไทยเกือบหมดแล้วแต่พรรคเพื่อไทยกลับยังไม่เห็นของในมือกกต เลยแม้แต่น้อย ว่ากกต จะมีทีเด็ดอะไรมาเอาผิดกับพรรคเพื่อไทยดังนั้นคําพูดของนายใหญ่ที่ออกมาจึงเป็นการทําให้พรรคเพื่อไทยเข้าใกล้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปอีกก้าว
    ติดตามเจาะลึกแบบนี้ได้ที่
    #คิงส์โพธิ์ดำ
    ทักษิณ กลับลำหลอกประชาชน จุดจบสุดท้ายคงไม่สวย การพูดเอามัน ตามสไตล์ทักษิณ อาจมีปัญหาตามมาอย่างที่ไม่อาจปฏิเสธได้ การพูดของทักษิณดังกล่าวจะถูกนําเข้ามาพิจารณาในคดียุบพรรคเพื่อไทย ในข้อหาครอบงําพรรคการเมือง ในที่สุด ทักษิณ ชินวัตร ก็เผยธาตุแท้ออกมาให้คนไทยได้เห็นกัน จากที่ต้องการกลับประเทศไทยเพื่อมาเลี้ยงหลาน ในฐานะอากงคนหนึ่ง แต่ทุกวันนี้คงเห็นแล้วนอกจากเลี้ยงหลานแล้วยังกลับมาเลี้ยงลูกสาวคนเล็ก แพทองทาน นายกรัฐมนตรีอีกด้วย หลังจากเข้าร่วมสัมมนากับพรรคเพื่อไทยพร้อมกับประกาศไล่แกนนําพรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่จริงใจออกจากการเป็นรัฐบาล การประกาศเช่นนั้นด้านหนึ่งก็เป็นการแสดงให้เห็นว่า ทักษิณกําลังออกมาปกป้องลูกสาวตัวเอง ซึ่งถ้าเป็นเรื่องครอบครัวปกติทั่วไป ก็คงไม่ผิด แต่พอเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองปฏิเสธไม่ได้ว่าหมิ่นเหม่ และท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายพอสมควร เดิมทีการแสดงความคิดเห็นต่อการบริหารประเทศหรือการแสดงวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศแม้บางเรื่องที่รัฐบาลดําเนินการในปัจจุบัน จะดันไปสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของทักษิณแต่ด้วยความบังเอิญหรือจงใจ ก็ยังพอเข้าใจได้ว่า ถ้าจะเอาผิดตามกฎหมายจากเรื่องทํานองนี้อาจเป็นการบังคับใช้กฎหมาย ที่ดูจะเกินเลยไปหน่อย เช่นเดียวกับการเปิดบ้านจันทร์ส่องล่า ให้แกนนําพรรคร่วมรัฐบาลมากินมาม่าด้วยกัน ก็ยังมีช่องทางที่รอดจากคมหอกของกฎหมายไปได้ แต่การที่ทักษิณออกมาพูดล้วงลึกไปถึงเรื่องภายในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น ถือว่าเป็นการล้ําเส้นพอสมควร กล่าวก็คือโดยหลักการแล้วการประชุมคณะรัฐมนตรีไม่ได้เป็นการจัดการประชุมที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เหมือนกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาพูดง่ายๆ คือการประชุมคณะรัฐมนตรีจะเป็นการประชุมภายในเฉพาะรัฐมนตรี นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า นายใหญ่รู้เห็นทุกอย่าง แต่อีกมุมในแง่ทางกฎหมายที่ว่าด้วยการยุบพรรคการเมืองนั้น ก็นับว่าเป็นการพาพรรคเพื่อไทยเข้าสู่กองไฟอย่างเห็นได้ชัด ใน เวลานี้ กกต ได้เห็นไพ่ในมือของพรรคเพื่อไทยเกือบหมดแล้วแต่พรรคเพื่อไทยกลับยังไม่เห็นของในมือกกต เลยแม้แต่น้อย ว่ากกต จะมีทีเด็ดอะไรมาเอาผิดกับพรรคเพื่อไทยดังนั้นคําพูดของนายใหญ่ที่ออกมาจึงเป็นการทําให้พรรคเพื่อไทยเข้าใกล้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าไปอีกก้าว ติดตามเจาะลึกแบบนี้ได้ที่ #คิงส์โพธิ์ดำ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธาน กกต.เผย คืบหน้า ปมร้องยุบพรรคการเมืองใกล้ขั้นสุดท้าย ดึงเหตุการณ์ "ทักษิณ" สัมมนาหัวหิน เข้าพิจารณาร่วมด้วย

    วันนี้(17ธ.ค.) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณียุบพรรคการเมืองว่า ที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่สำนักงานกกต กว่า 100 เรื่อง แต่นายทะเบียนพรรคการเมืองสั่งการยุติไปแล้วเนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ ยังเหลือราวๆ 4-8 เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ บางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการใกล้ขั้นสุดท้ายแล้วที่จะมีการรวบรวมความเห็นเสนอให้นายทะเบียนพิจารณาว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้นายทะเบียนจะต้องพิจารณาว่ายุติเรื่อง หรือส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาต่อไป

    เมื่อถามถึงกรณีคำร้องในทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรี ครอบงำพรรคเพื่อไทย นายอิทธิพร กล่าวว่า เรื่องนี้มีการร้องมาเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมาราวๆ 4 คำร้องก็เป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามมาตรา 93 เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน ซึ่งสั่งให้คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงหลักฐานดำเนินการในส่วนนี้ความคืบหน้าเท่าที่ทราบคือ คณะกรรมการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงพยานหลักฐานได้เรียกผู้ร้องทั้ง 4 คนมาให้ถ้อยคำแล้ว และมีหนังสือไปยังสื่อต่างๆที่ผู้ร้องกล่าวอ้างถึงให้มาให้ข้อเท็จจริงด้วยรวมถึงมีหนังสือถึงหัวหน้าพรรคให้เข้ามาชี้แจงในประเด็นที่ถูกกล่าวหาเรียบร้อยแล้ว ส่วนความคืบหน้าก็อยู่ที่การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนไป

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/politics/detail/9670000120942

    #MGROnline #ยุบพรรคการเมือง
    ประธาน กกต.เผย คืบหน้า ปมร้องยุบพรรคการเมืองใกล้ขั้นสุดท้าย ดึงเหตุการณ์ "ทักษิณ" สัมมนาหัวหิน เข้าพิจารณาร่วมด้วย • วันนี้(17ธ.ค.) นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการพิจารณาเรื่องร้องเรียนกรณียุบพรรคการเมืองว่า ที่ผ่านมามีเรื่องร้องเรียนเข้าสู่สำนักงานกกต กว่า 100 เรื่อง แต่นายทะเบียนพรรคการเมืองสั่งการยุติไปแล้วเนื่องจากไม่มีหลักฐานเพียงพอ ยังเหลือราวๆ 4-8 เรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ บางเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการใกล้ขั้นสุดท้ายแล้วที่จะมีการรวบรวมความเห็นเสนอให้นายทะเบียนพิจารณาว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้นายทะเบียนจะต้องพิจารณาว่ายุติเรื่อง หรือส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาต่อไป • เมื่อถามถึงกรณีคำร้องในทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรี ครอบงำพรรคเพื่อไทย นายอิทธิพร กล่าวว่า เรื่องนี้มีการร้องมาเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมาราวๆ 4 คำร้องก็เป็นไปตามขั้นตอนการทำงานตามมาตรา 93 เป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน ซึ่งสั่งให้คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงหลักฐานดำเนินการในส่วนนี้ความคืบหน้าเท่าที่ทราบคือ คณะกรรมการรวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริงพยานหลักฐานได้เรียกผู้ร้องทั้ง 4 คนมาให้ถ้อยคำแล้ว และมีหนังสือไปยังสื่อต่างๆที่ผู้ร้องกล่าวอ้างถึงให้มาให้ข้อเท็จจริงด้วยรวมถึงมีหนังสือถึงหัวหน้าพรรคให้เข้ามาชี้แจงในประเด็นที่ถูกกล่าวหาเรียบร้อยแล้ว ส่วนความคืบหน้าก็อยู่ที่การดำเนินการในแต่ละขั้นตอนไป • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/politics/detail/9670000120942 • #MGROnline #ยุบพรรคการเมือง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 116 มุมมอง 0 รีวิว
  • สัญญาณบวก คำร้องยุบ 'เพื่อไทย' เหลือ 6 เรื่องจากครึ่งร้อย
    .
    พรรคเพื่อไทยเวลานี้อาจจะไม่ได้อยู่ช่วงขาขึ้นในทางการเมืองอย่างสุดขีดแต่มุมหนึ่งก็มีแอบมีข่าวดีอยู่บ้างในเรื่องคดีความ โดยก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องกรณีถูกกล่าวหาล้มล้างการปกครอง มาจนถึงล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้ออกมาเปิดเผยว่าพรรคเพื่อไทยเหลือคำร้องยุบพรรคในระหว่างการพิจารณาของกกต. จำนวน 6 เรื่องเท่านั้น
    .
    นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้ยื่นคำร้องยุบพรรคการเมืองทั้งหมด 160 คำร้อง พรรคเพื่อไทยมีคำร้องมากที่สุด จำนวน 53 คำร้อง พรรคประชาชน 3 คำร้อง โดยพรรคเพื่อไทยขณะนี้ตนได้พิจารณาจนเหลือ 6 คำร้อง ในส่วนที่เหลือ 47 คำร้อง สั่งให้ยุติการสอบสวน เพราะบางรายมีอะไรก็ยื่นร้อง บางคนก็ยื่นมาถาม อีกทั้งเรื่องของการล้มล้างการปกครอง ที่ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น ทำให้ไม่มีผลผูกพันถึง กกต.
    .
    นายแสวง ระบุว่า คำร้องครอบงำพรรคการเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้แสดงพยานหลักฐาน. อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรค ได้ขอขยายเวลาออกไป เนื่องด้วยมีคำร้องที่เกี่ยวโยงถึง 6 พรรคการเมือง
    .
    "ยืนยันไม่ได้มีการเข้าไปแทรกแซงในเรื่องระยะเวลาการหาพยานหลักฐาน แต่ก็กำชับให้เร่งมือ บางครั้งช้าเกินไปก็ไม่ดี โดยมั่นใจว่าในสำนวน คณะกรรมการสอบสวนจะทราบขอบเขต และโอกาสที่จะให้กับฝ่ายไหน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย" เลขากกต. ระบุ
    ..............
    Sondhi X
    สัญญาณบวก คำร้องยุบ 'เพื่อไทย' เหลือ 6 เรื่องจากครึ่งร้อย . พรรคเพื่อไทยเวลานี้อาจจะไม่ได้อยู่ช่วงขาขึ้นในทางการเมืองอย่างสุดขีดแต่มุมหนึ่งก็มีแอบมีข่าวดีอยู่บ้างในเรื่องคดีความ โดยก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องกรณีถูกกล่าวหาล้มล้างการปกครอง มาจนถึงล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ได้ออกมาเปิดเผยว่าพรรคเพื่อไทยเหลือคำร้องยุบพรรคในระหว่างการพิจารณาของกกต. จำนวน 6 เรื่องเท่านั้น . นายแสวง บุญมี เลขาธิการกกต. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้ยื่นคำร้องยุบพรรคการเมืองทั้งหมด 160 คำร้อง พรรคเพื่อไทยมีคำร้องมากที่สุด จำนวน 53 คำร้อง พรรคประชาชน 3 คำร้อง โดยพรรคเพื่อไทยขณะนี้ตนได้พิจารณาจนเหลือ 6 คำร้อง ในส่วนที่เหลือ 47 คำร้อง สั่งให้ยุติการสอบสวน เพราะบางรายมีอะไรก็ยื่นร้อง บางคนก็ยื่นมาถาม อีกทั้งเรื่องของการล้มล้างการปกครอง ที่ก่อนหน้านี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องนั้น ทำให้ไม่มีผลผูกพันถึง กกต. . นายแสวง ระบุว่า คำร้องครอบงำพรรคการเมือง ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมพยานหลักฐาน โดยเปิดโอกาสให้ผู้ร้องและผู้ร้องได้แสดงพยานหลักฐาน. อย่างไรก็ตามคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรค ได้ขอขยายเวลาออกไป เนื่องด้วยมีคำร้องที่เกี่ยวโยงถึง 6 พรรคการเมือง . "ยืนยันไม่ได้มีการเข้าไปแทรกแซงในเรื่องระยะเวลาการหาพยานหลักฐาน แต่ก็กำชับให้เร่งมือ บางครั้งช้าเกินไปก็ไม่ดี โดยมั่นใจว่าในสำนวน คณะกรรมการสอบสวนจะทราบขอบเขต และโอกาสที่จะให้กับฝ่ายไหน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย" เลขากกต. ระบุ .............. Sondhi X
    Like
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 486 มุมมอง 0 รีวิว
  • อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan

    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้”

    กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย

    แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ

    อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง

    เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน

    และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร

    ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม

    แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว

    มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา

    ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย

    และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้

    วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้

    แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง

    อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม

    วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง

    วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น


    ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483

    #Thaitimes
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน โดย: สุรวิชช์ วีรวรรณ https://www.facebook.com/surawich.verawan การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็นที่ข้อยุติว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินของ รฟท.จึงเห็นควรยุติเรื่องในกรณีนี้” กำลังท้าทายกับกระแสสังคมและกระบวนการยุติธรรมที่เป็นบรรทัดฐานของประเทศ เข้าใจครับว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวแต่งตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองในคดีที่การรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน แต่นัยของคำสั่งนั้นหากอ่านคำพิพากษาของศาลปกครองแล้ว จะพบว่า ศาลต้องการให้ตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเพิกถอนสิทธิการถือครองที่ดินตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ผู้ถือครองที่ดินเขากระโดงจำนวน 37 แปลงฟ้องการรถไฟฯ (คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 8027/2561 และ 842-876/260 ) แต่คำพิพากษาศาลฎีกาชี้ชัดว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ซึ่งศาลปกครองหมายรวมถึงแปลงอื่นที่อยู่นอกเหนือแปลงที่นำขึ้นสู่ศาลฎีกาด้วย แต่กรมที่ดินซึ่งตั้งกรรมการขึ้นตามคำสั่งศาลปกครองกลับมีมติว่า การรถไฟฯ ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิในที่ดินเขากระโดงทั้งที่ศาลฎีกาชี้แล้วว่าที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯแม้ว่า อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย บอกว่า ไม่ได้สั่งการอะไรกรมที่ดิน แต่คำถามว่า มีใครบ้างที่จะเชื่อ อนุทินอ้างว่า คณะกรรมการชุดดังกล่าวที่ตั้งขึ้นตามคำสั่งของศาลปกครองตั้งขึ้นมาก่อนที่พรรคภูมิใจไทยและตัวเองจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย แต่จุดหมายสำคัญก็คือ กรรมการชุดนี้สามารถมีมติได้ในวันที่พรรคภูมิใจไทยมีอำนาจในกระทรวงมหาดไทย และอนุทินมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีและเมื่อไม่นานมานี้อธิบดีกรมที่ดินคนหนึ่งก็ได้ชิงลาออกไป ซึ่งกล่าวขานกันว่า เพราะปมที่ดินเขากระโดงนั่นเอง เป็นที่รู้กันว่า ในจำนวนที่ดิน 800 กว่าแปลงในพื้นที่เขากระโดงนั้น ผู้ถือครองรายใหญ่ก็คือ ตระกูลชิดชอบ ไปถามพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ก็รู้เรื่องนี้ดีเพราะเคยอภิปรายนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ ในสภาฯ เพียงแต่วันนี้ พ.ต.อ.ทวีอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลเดียวกับพรรคภูมิใจไทยเท่านั้น แน่นอนถึงตอนนี้พ.ต.อ.ทวีก็ต้องการรักษาสายสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ต่างกับที่เคยหวงแหนสมบัติของชาติในขณะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าคนที่อยู่เบื้องหลังพรรคภูมิใจไทยก็คือนายเนวิน ชิดชอบ ที่เป็นเจ้าของพรรคตัวจริงในทางพฤตินัย จะเห็นได้ว่าในงานวันเกิดของนายเนวินนั้นข้าราชการระดับสูงที่อยู่ภายใต้กระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยกำกับนั้นจะต้องเข้าไปร่วมงานถึงบุรีรัมย์เพื่อแสดงตัวให้เห็น เพราะเขารู้ว่าใครคือ คนที่ให้คุณให้โทษได้ และในหมู่ข้าราชการก็รู้กันว่า การโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในกระทรวงของพรรคภูมิใจไทยนั้นคนที่มีบทบาทสำคัญคือใคร ก็ต้องรอดูต่อไปว่า ระหว่างอำนาจทางการเมืองกับความยุติธรรมทางกฎหมายที่เป็นขื่อแปของบ้านเมืองอย่างไหนจะศักดิ์สิทธิ์กว่ากัน คำสั่งของกรมที่ดินจะใหญ่กว่าคำพิพากษาของศาลฎีกาไหม แต่ต้องยอมรับนะครับว่า การเล่นการเมืองอยู่หลังม่านของคนคนหนึ่งวันนี้นั้นทำให้กระบวนการตรวจสอบคนที่อยู่ในอำนาจทางการเมืองไม่สามารถทำได้ เพราะไม่ได้มีตำแหน่งใดในรัฐบาล หรือแม้แต่เป็นผู้บริหารพรรค เพียงแต่เป็นสมาชิกของพรรคที่สามารถเตะตูดหัวหน้าพรรคได้เท่านั้น ทำให้กลายเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ผู้มีอิทธิพลทางการเมืองใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นการเมืองอยู่หลังฉาก แต่มีอำนาจสั่งการทุกกระทรวงที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคที่ข้าราชการทุกคนต้องเกรงใจและหวั่นกลัว มาที่เรื่อง สว.นอกจากในวันนี้พรรคภูมิใจไทยจะเป็นพรรคอันดับสองในสภาผู้แทนราษฎร แต่เป็นที่รู้กันว่า สว.กว่า 150 คนนั้นอยู่ภายใต้การกำกับของใครที่เรียกว่ากันว่า สว.สีน้ำเงินนั่นเอง แล้วอำนาจที่สำคัญของ สว.ก็คือ การแต่งตั้งองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็น ป.ป.ช. กกต. ศาลรัฐธรรมนูญ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ฯลฯ ซึ่งทำให้หากใครจะขึ้นสู่ตำแหน่งดังกล่าวก็จะต้องวิ่งเข้าหาเจ้าของ สว.เพื่อให้ สว.ยกมือให้ หากผ่านการคัดเลือกของคณะกรรมการสรรหาเข้าสู่วุฒิสภามา ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าตระหนกและเป็นอันตรายมากหากอำนาจการแต่งตั้งองค์กรอิสระอยู่ในอำนาจของใครบางคนหรือคนเพียงคนเดียวในทางพฤตินัย และหากมีการประชุมรัฐสภาคือประชุมร่วมระหว่าง สส. และ สว.เสียงของพรรคภูมิใจไทยและ สว.จะรวมกันเป็นเสียงข้างมากในรัฐสภา และการดำเนินการใดที่จะต้องผ่านรัฐสภาเช่น การแก้รัฐธรรมนูญก็จะตกอยู่ภายใต้การกำกับของเจ้าของสว.ที่จะต้องการให้เป็นไปในทิศทางไหนก็ได้ วันนี้พรรคภูมิใจไทยแม้ว่าจะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลอันดับสอง แต่ก็มีอิทธิพลเหนือพรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำรัฐบาลไปแล้ว แม้ว่า เราจะเห็นอนุทินนอบน้อมต่ออุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และพร้อมจะยืนเป็นวอลเปเปอร์หรือพี่เลี้ยงของอุ๊งอิ๊งค์ตลอดเวลาก็ตาม พรรคภูมิใจไทยจึงขบเหลี่ยมอยู่กับพรรคเพื่อไทยหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกัญชา เรื่องเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ รวมถึงการทำประชามติเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เพราะรู้ว่าอย่างไรเสียพรรคเพื่อไทยก็ไม่สามารถสลัดพรรคภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วมรัฐบาลได้ แล้วคอยดูว่า กรณีที่ดินเขากระโดง แม้ว่านายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม จากพรรคเพื่อไทยซึ่งกำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทยจะแสดงให้เห็นว่า ไม่อาจยอมรับคำสั่งของคณะกรรมการของกรมที่ดินในกรณีที่ดินเขากระโดงได้ แต่ก็ต้องดูว่า สุดท้ายแล้วเป็นเพียงการแสดงออกไปตามบทบาทที่ตัวเองเล่นอยู่ แต่จะรุกไล่เอาจริงเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศจนสุดทางไหม หรือเป็นเพียงการแสดงอำนาจออกมาให้เห็นเพียงเพื่อคะคานแลกเปลี่ยนต่อรองผลประโยชน์กันทางการเมืองเท่านั้นเอง อิทธิพลของคนโตแห่งบุรีรัมย์ยังสะท้อนอยู่ในองค์กรอิสระอย่าง กกต. เห็นไหมว่า เมื่อไม่นานอยู่ดีๆ นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต.ก็ออกมาบอกว่า กรณีของพรรคภูมิใจไทยที่ถูกร้องเรียนในลักษณะความผิดที่คล้ายคลึงกับพรรคก้าวไกลที่ถูกศาลวินิจฉัยยุบพรรคนั้น ไม่ได้เป็นความผิดแห่งการยุบพรรคการเมืองเลยไม่เป็นเหตุแห่งการยุบพรรคการเมือง ทั้งที่บอกว่ายังอยู่ในระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ตั้งขึ้นยังไม่มีบทสรุปออกมา จึงไม่ใช่เรื่องที่เลขาธิการ กกต.จะออกมาแถลงชี้นำหรือออกมาแถลงแม้หลายคนจะตั้งคำถามว่า การสอบสวนกรณีดังกล่าวของพรรคภูมิใจไทยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นจะใช้เวลานานมากก็ตาม วันนี้เราคงเห็นแล้วว่า สำหรับนักการเมืองแล้วระหว่างผลประโยชน์ของประเทศชาติกับผลประโยชน์ของตัวเองนั้นอย่างไหนสำคัญกว่าในบทบาทของคนที่เข้ามาเล่นการเมือง จะมีคนกี่คนที่เข้ามาเล่นการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของชาติอย่างแท้จริง และมีกฎเกณฑ์กติกาไหนที่จะตรวจสอบนักการเมืองที่มุ่งแต่จะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพวกพ้องได้อย่างแท้จริง วันนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า ทำไมพรรคภูมิใจไทยพรรคสีน้ำเงินจึงเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ที่มา https://mgronline.com/daily/detail/9670000109483 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    อำนาจภายใต้การเมืองสีน้ำเงิน
    การที่อธิบดีกรมที่ดินที่อยู่ภายใต้พรรคภูมิใจไทย ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่า “คณะกรรมการสอบสวนฯ มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นสมควรไม่เพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินการรถไฟฯ บริเวณแยกเขากระโดงเนื่องจาก รฟท. ไม่มีหลักฐานเป็
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1156 มุมมอง 0 รีวิว

  • กกต.ขีดเส้น 30 วัน ยุบ6พรรคการเมือง เพื่อไทยโวยโดนล้างแค้น
    .
    คดียุบพรรคการเมืองกลับมาเป็นประเด็นทางการเมืองอีกครั้งภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรคเพื่อไทยและ6พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้ครอบงำพรรคเพื่อไทย
    .
    ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระบวนการหลังจากนี้ ทางคณะกรรมการสอบสวนจะต้องตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่างๆ พยานบุคคล ซึ่งอาจจะต้องเชิญผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่หากข้อมูล พยานเอกสาร และหลักฐาน ยังไม่ครบถ้วนที่จะสรุปความเห็นของสำนวนเสนอนายทะเบียนพรรคได้ สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาได้อีกครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
    .
    ขณะที่ มีท่าทีจากเลขาธิการพรรคเพื่อไทยอย่างนายสรวงศ์ เทียนทอง ระบุว่า พรรคมีข้อมูลและหลักฐานเพียงพอที่จะต่อสู้ประเด็นนี้ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่งอยากให้หน่วยงานต่างๆ คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ เพราะทุกครั้งที่มีการร้องเรียนและหน่วยงานที่รับผิดชอบรับมาเป็นประเด็น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนตลอดจนนักท่องเที่ยวก็จะหายไปทันที
    .
    "ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะทุกอย่างประดังเข้ามาหลังจากที่เราประกาศไม่ร่วมงานกับพรรคการเมืองนี้" นายสรวงศ์ ตอบคำถามที่ถามว่ามองว่าเป็นเกมการเมืองหลังจากที่เราผลักพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่
    ..............
    Sondhi X
    กกต.ขีดเส้น 30 วัน ยุบ6พรรคการเมือง เพื่อไทยโวยโดนล้างแค้น . คดียุบพรรคการเมืองกลับมาเป็นประเด็นทางการเมืองอีกครั้งภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนคำร้องยุบพรรคเพื่อไทยและ6พรรคร่วมรัฐบาลเดิม จากกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยได้ครอบงำพรรคเพื่อไทย . ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระบวนการหลังจากนี้ ทางคณะกรรมการสอบสวนจะต้องตรวจสอบเอกสาร หลักฐานต่างๆ พยานบุคคล ซึ่งอาจจะต้องเชิญผู้ร้องและผู้ถูกร้องมาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่หากข้อมูล พยานเอกสาร และหลักฐาน ยังไม่ครบถ้วนที่จะสรุปความเห็นของสำนวนเสนอนายทะเบียนพรรคได้ สามารถยื่นขอขยายระยะเวลาได้อีกครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน จนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ . ขณะที่ มีท่าทีจากเลขาธิการพรรคเพื่อไทยอย่างนายสรวงศ์ เทียนทอง ระบุว่า พรรคมีข้อมูลและหลักฐานเพียงพอที่จะต่อสู้ประเด็นนี้ แต่ในฐานะประชาชนคนหนึ่งอยากให้หน่วยงานต่างๆ คำนึงถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับประเทศชาติ เพราะทุกครั้งที่มีการร้องเรียนและหน่วยงานที่รับผิดชอบรับมาเป็นประเด็น ความเชื่อมั่นของนักลงทุนตลอดจนนักท่องเที่ยวก็จะหายไปทันที . "ชัดเจนอยู่แล้ว เพราะทุกอย่างประดังเข้ามาหลังจากที่เราประกาศไม่ร่วมงานกับพรรคการเมืองนี้" นายสรวงศ์ ตอบคำถามที่ถามว่ามองว่าเป็นเกมการเมืองหลังจากที่เราผลักพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ .............. Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 868 มุมมอง 0 รีวิว
  • #แอมแนสตี้เหิมสั่งศาลรัฐธรรมนูญเปลี่ยนคำตัดสินยุบพรรค
    แอมแนสตี้ องค์กรต่างชาติที่มีพฤติกรรมสนับสนุน
    พฤติกรรมของพรรคก้าวไกล พรรคที่ได้รับการพิจารณา
    ตัดสินว่าเป็นพรรคที่ล้มล้างการปกครองนั้น
    พบว่าหลังศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทยได้ทำการตัดสิน
    แอมแนสตี้ ได้ออกแถลงการที่เป็นการก้าวล่วงอำนาจตุลาการของประเทศไทย
    โดยมีเนื้อหาดังนี้
    นที่ 7 ส.ค. 67 ดีโพรซ มูเชนา ผู้อำนวยการอาวุโส แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เห็นชอบกับการยุบพรรคก้าวไกล เป็นการตัดสินใจที่ไร้ความชอบธรรม ซึ่งเผยให้เห็นความเพิกเฉยโดยสิ้นเชิงของทางการไทย ต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทย
    “การยุบพรรคการเมือง เพียงเพราะเสนอให้ปฏิรูปกฎหมาย ถือเป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการสมาคม เป็นการละเมิดต่อสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเพียงแต่เสนอกฎหมายตามหน้าที่เท่านั้น”
    “การคุกคามอย่างต่อเนื่องของทางการไทยต่อนักการเมืองฝ่ายค้าน เป็นภาพสะท้อนถึงความย้อนแย้งอย่างสิ้นเชิงกับคำมั่นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยประกาศ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำโลกด้านสิทธิมนุษยชน โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทางการไทยต้องกลับคำวินิจฉัยที่สั่งให้ยุบพรรคอย่างเร่งด่วน และยุติการใช้กฎหมายเป็นอาวุธ เพื่อข่มขู่และคุกคามผู้วิจารณ์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักการเมืองฝ่ายค้าน”
    เพจคิงส์โพธิ์แดงและปวงชนไทยผู้ภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตย์
    จึงเรียนถึงรัฐบาลไทย และกองทัพไทยได้พิจารณาในการดำเนินการกับองค์กรดังกล่าว ที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในกาาคุกคามอำนาจอธิปไตยของประเทศ รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนให้กลุ่มคนสร้างความสับสนวุ่นวายเพื่อการล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    มิเช่นนั้นแล้ว หากปล่อยให้องค์กรแอมแนสตี้ ยังคงมีพฤติการเช่นนี้อยู่คงเกิดผลเสียหายต่อเอกราชและความมั่นคงของประเทศไทยอย่างแน่นอน
    ฝากแฟนเพจคิงส์โพธิ์แดงช่วยส่งต่อไป
    ให้รัฐบาลและกองทัพไทยได้รับรู้รับทราบและดำเนินการหยุดยั้งแอมแนสตี้อย่างถาวรต่อไป
    #คิงส์โพธิ์แดง
    #แอมแนสตี้เหิมสั่งศาลรัฐธรรมนูญเปลี่ยนคำตัดสินยุบพรรค แอมแนสตี้ องค์กรต่างชาติที่มีพฤติกรรมสนับสนุน พฤติกรรมของพรรคก้าวไกล พรรคที่ได้รับการพิจารณา ตัดสินว่าเป็นพรรคที่ล้มล้างการปกครองนั้น พบว่าหลังศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทยได้ทำการตัดสิน แอมแนสตี้ ได้ออกแถลงการที่เป็นการก้าวล่วงอำนาจตุลาการของประเทศไทย โดยมีเนื้อหาดังนี้ นที่ 7 ส.ค. 67 ดีโพรซ มูเชนา ผู้อำนวยการอาวุโส แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เห็นชอบกับการยุบพรรคก้าวไกล เป็นการตัดสินใจที่ไร้ความชอบธรรม ซึ่งเผยให้เห็นความเพิกเฉยโดยสิ้นเชิงของทางการไทย ต่อพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทย “การยุบพรรคการเมือง เพียงเพราะเสนอให้ปฏิรูปกฎหมาย ถือเป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่อสิทธิในเสรีภาพการแสดงออกและการสมาคม เป็นการละเมิดต่อสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเพียงแต่เสนอกฎหมายตามหน้าที่เท่านั้น” “การคุกคามอย่างต่อเนื่องของทางการไทยต่อนักการเมืองฝ่ายค้าน เป็นภาพสะท้อนถึงความย้อนแย้งอย่างสิ้นเชิงกับคำมั่นสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยประกาศ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำโลกด้านสิทธิมนุษยชน โดยการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ทางการไทยต้องกลับคำวินิจฉัยที่สั่งให้ยุบพรรคอย่างเร่งด่วน และยุติการใช้กฎหมายเป็นอาวุธ เพื่อข่มขู่และคุกคามผู้วิจารณ์ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักการเมืองฝ่ายค้าน” เพจคิงส์โพธิ์แดงและปวงชนไทยผู้ภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตย์ จึงเรียนถึงรัฐบาลไทย และกองทัพไทยได้พิจารณาในการดำเนินการกับองค์กรดังกล่าว ที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนในกาาคุกคามอำนาจอธิปไตยของประเทศ รวมถึงเป็นผู้สนับสนุนให้กลุ่มคนสร้างความสับสนวุ่นวายเพื่อการล้มล้างการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มิเช่นนั้นแล้ว หากปล่อยให้องค์กรแอมแนสตี้ ยังคงมีพฤติการเช่นนี้อยู่คงเกิดผลเสียหายต่อเอกราชและความมั่นคงของประเทศไทยอย่างแน่นอน ฝากแฟนเพจคิงส์โพธิ์แดงช่วยส่งต่อไป ให้รัฐบาลและกองทัพไทยได้รับรู้รับทราบและดำเนินการหยุดยั้งแอมแนสตี้อย่างถาวรต่อไป #คิงส์โพธิ์แดง
    Like
    Angry
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 533 มุมมอง 0 รีวิว
  • ”สิงหาสับ“ นิด้าสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” เดือนแห่งการตัดสินผู้มีกรรมหนักคดีใหญ่ ในประเด็นร้อนโพลความเห็นทางการเมือง เรื่องเศรษฐากับการเปลี่ยนนายกฯ,ยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่และทักษิณพ้นโทษจะช่วยพรรคเพื่อไทยทำงานดีขึ้นหรือไม่?

    4 สิงหาคม 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

    จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้

    ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

    ที่มา : นิด้าโพล

    #Thaitimes
    ”สิงหาสับ“ นิด้าสำรวจความเห็นประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” เดือนแห่งการตัดสินผู้มีกรรมหนักคดีใหญ่ ในประเด็นร้อนโพลความเห็นทางการเมือง เรื่องเศรษฐากับการเปลี่ยนนายกฯ,ยุบพรรคก้าวไกลหรือไม่และทักษิณพ้นโทษจะช่วยพรรคเพื่อไทยทำงานดีขึ้นหรือไม่? 4 สิงหาคม 2567-ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “Believe It or Not! ทางการเมืองไทย ตอน เดือนพิพากษา” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม ถึง 1 สิงหาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 45.42 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 29.62 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 15.27 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.63 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.06 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 313 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับบุคคลที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่จากพรรคร่วมรัฐบาล หากมีการเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.95 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา ร้อยละ 30.99 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) ร้อยละ 11.82 ระบุว่าเป็น พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) ร้อยละ 8.31 ระบุว่าเป็น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 2.23 ระบุว่าเป็น นายชัยเกษม นิติสิริ (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 14.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ด้านความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 32.44 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 27.94 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 24.20 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 13.44 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.98 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามตัวอย่างที่ระบุว่า เชื่อมากและค่อนข้างเชื่อว่าจะมีการยุบพรรคการเมืองในเดือนสิงหาคมนี้ (จำนวน 493 หน่วยตัวอย่าง) เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ สส. จากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ จะไปสังกัดกับพรรคร่วมรัฐบาล พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 40.97 ระบุว่า ค่อนข้างเป็นไปได้ รองลงมา ร้อยละ 27.99 ระบุว่า เป็นไปได้มาก ร้อยละ 16.84 ระบุว่า เป็นไปไม่ได้เลย และร้อยละ 14.20 ระบุว่า ไม่ค่อยเป็นไปได้ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนเกี่ยวกับการพ้นโทษของคุณทักษิณ ชินวัตร จะทำให้รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทยทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 41.83 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 26.87 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 19.01 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 11.45 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 0.84 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ที่มา : นิด้าโพล #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 845 มุมมอง 0 รีวิว