• ไทยเตรียมร้อง UN! เขมรวางทุ่นระเบิดใหม่ที่ช่องบก อุบลราชธานี

    สถานการณ์ภายหลังเกิดเหตุการณ์กำลังพลได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิด ระหว่างปฏิบัติลาดตระเวนในพื้นที่ชายแดนช่องบก จ.อุบลราชธานี วันนี้ (19 ก.ค. 2568) พลตรี วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ได้เปิดเผยว่า พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ได้ออกมาชี้แจงผลการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุโดย นปท.3 ที่ระบุว่ามีวางทุ่นระเบิดใหม่ จำนวน 8 ทุ่น ในพื้นที่เขตแดนไทย ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาออตตาวา ว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล  แม้ทางฝ่ายกัมพูชาจะไม่ยอมรับ แต่หน่วยจะรายงานข้อเท็จจริงถึงกองทัพบกและรัฐบาล เพื่อประท้วงผ่าน UN ต่อไป พร้อมเตรียมส่งทหารเข้าตรวจพื้นที่ และเก็บกู้ตลอดแนวชายแดน ควบคู่ไปกับใช้การมาตรการตอบโต้ทางทหารอย่างเหมาะสม


              พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อเหตุที่เกิดขึ้น  ด้วยกำลังพลของกองทัพบกเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน โดยทันทีที่ทราบเรื่อง ได้สั่งการให้ต้นสังกัดติดตามการรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูแลด้านสิทธิและสวัสดิการให้กำลังพลและครอบครัวอย่างเต็มที่  พร้อมยืนยันจะดูแลกำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวให้ดีที่สุด โดยกองทัพบกมีความห่วงใยในความรู้สึกของครอบครัว และบุคคลใกล้ชิดของกำลังพลเสมอมา


              โดย ผบ.ทบ. ยังระบุอีกว่า การลาดตระเวนของหน่วยทหารเป็นมาตรการเชิงรุกที่ได้ผลในการตรวจตราและรักษาพื้นที่แนวชายแดนไม่ให้ถูกรุกล้ำ แต่อาจต้องแลกมาด้วยความเสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกนายตระหนักดี และพร้อมทุ่มเทอย่างเต็มกำลังเพื่อภารกิจในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ  และจากการตรวจที่เกิดเหตุตามที่ปรากฏความชัดเจนแล้วว่า ทุ่นระเบิดที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นทุ่นระเบิดที่มีการวางขึ้นใหม่ 


              ข้อมูลนี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สนับสนุนความชอบธรรมของฝ่ายไทยในการดำเนินมาตรการตอบโต้ต่อฝ่ายกัมพูชา ทั้งในด้านการทหารและด้านการต่างประเทศ 


             กองทัพบกขอยืนยันว่า จะปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยและเกียรติภูมิของชาติ ด้วยความรอบคอบ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสายตาสังคมโลก และไม่ตกเป็นเป้าของการบิดเบือนจากฝ่ายที่ไม่หวังดี 


              ที่สำคัญกองทัพบกตระหนักดีว่า ประชาชนของไทยและกัมพูชาไม่ใช่คู่ขัดแย้งกัน ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดน มิใช่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ จึงไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ถูกตีความผิด จนบานปลายไปสู่ความเกลียดชังระหว่างกัน


            ส่วนในเรื่องด่านฯ ผบ.ทบ. เน้นย้ำว่า ในปัจจุบันฝ่ายไทยไม่ได้มีการ “ปิดด่าน” แต่อย่างใด เป็นเพียงการเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการคัดกรองบุคคล และการบริหารเวลาเข้า-ออกให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเท่านั้น


             อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาที่สถานการณ์มีความละเอียดอ่อน การสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือสร้างความแตกแยกได้โดยไม่ตั้งใจ     


              ผบ.ทบ. ขอให้สังคมเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่า ทุกคนต่างทุ่มเท เสียสละ ทำหน้าที่ในด่านหน้าแทนพวกเราทุกคน ซึ่งกำลังใจจากสังคม อาจเป็นเหมือนของขวัญอันทรงคุณค่ายิ่ง  รวมถึงความสามัคคีกันของคนในชาติย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในยามนี้
    ไทยเตรียมร้อง UN! เขมรวางทุ่นระเบิดใหม่ที่ช่องบก อุบลราชธานี สถานการณ์ภายหลังเกิดเหตุการณ์กำลังพลได้รับบาดเจ็บจากทุ่นระเบิด ระหว่างปฏิบัติลาดตระเวนในพื้นที่ชายแดนช่องบก จ.อุบลราชธานี วันนี้ (19 ก.ค. 2568) พลตรี วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก ได้เปิดเผยว่า พลโท บุญสิน พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2 ได้ออกมาชี้แจงผลการตรวจสอบพื้นที่เกิดเหตุโดย นปท.3 ที่ระบุว่ามีวางทุ่นระเบิดใหม่ จำนวน 8 ทุ่น ในพื้นที่เขตแดนไทย ซึ่งขัดต่ออนุสัญญาออตตาวา ว่าด้วยการห้ามใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล  แม้ทางฝ่ายกัมพูชาจะไม่ยอมรับ แต่หน่วยจะรายงานข้อเท็จจริงถึงกองทัพบกและรัฐบาล เพื่อประท้วงผ่าน UN ต่อไป พร้อมเตรียมส่งทหารเข้าตรวจพื้นที่ และเก็บกู้ตลอดแนวชายแดน ควบคู่ไปกับใช้การมาตรการตอบโต้ทางทหารอย่างเหมาะสม           พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งต่อเหตุที่เกิดขึ้น  ด้วยกำลังพลของกองทัพบกเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัวเดียวกัน โดยทันทีที่ทราบเรื่อง ได้สั่งการให้ต้นสังกัดติดตามการรักษาพยาบาลอย่างใกล้ชิด รวมถึงดูแลด้านสิทธิและสวัสดิการให้กำลังพลและครอบครัวอย่างเต็มที่  พร้อมยืนยันจะดูแลกำลังพลที่ได้รับบาดเจ็บและครอบครัวให้ดีที่สุด โดยกองทัพบกมีความห่วงใยในความรู้สึกของครอบครัว และบุคคลใกล้ชิดของกำลังพลเสมอมา           โดย ผบ.ทบ. ยังระบุอีกว่า การลาดตระเวนของหน่วยทหารเป็นมาตรการเชิงรุกที่ได้ผลในการตรวจตราและรักษาพื้นที่แนวชายแดนไม่ให้ถูกรุกล้ำ แต่อาจต้องแลกมาด้วยความเสี่ยง ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกนายตระหนักดี และพร้อมทุ่มเทอย่างเต็มกำลังเพื่อภารกิจในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ  และจากการตรวจที่เกิดเหตุตามที่ปรากฏความชัดเจนแล้วว่า ทุ่นระเบิดที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นทุ่นระเบิดที่มีการวางขึ้นใหม่            ข้อมูลนี้ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สนับสนุนความชอบธรรมของฝ่ายไทยในการดำเนินมาตรการตอบโต้ต่อฝ่ายกัมพูชา ทั้งในด้านการทหารและด้านการต่างประเทศ           กองทัพบกขอยืนยันว่า จะปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องอธิปไตยและเกียรติภูมิของชาติ ด้วยความรอบคอบ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในสายตาสังคมโลก และไม่ตกเป็นเป้าของการบิดเบือนจากฝ่ายที่ไม่หวังดี            ที่สำคัญกองทัพบกตระหนักดีว่า ประชาชนของไทยและกัมพูชาไม่ใช่คู่ขัดแย้งกัน ความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดน มิใช่ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ จึงไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์ถูกตีความผิด จนบานปลายไปสู่ความเกลียดชังระหว่างกัน         ส่วนในเรื่องด่านฯ ผบ.ทบ. เน้นย้ำว่า ในปัจจุบันฝ่ายไทยไม่ได้มีการ “ปิดด่าน” แต่อย่างใด เป็นเพียงการเพิ่มความเข้มงวดในมาตรการคัดกรองบุคคล และการบริหารเวลาเข้า-ออกให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นเท่านั้น          อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาที่สถานการณ์มีความละเอียดอ่อน การสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือสร้างความแตกแยกได้โดยไม่ตั้งใจ                ผบ.ทบ. ขอให้สังคมเชื่อมั่นในเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานว่า ทุกคนต่างทุ่มเท เสียสละ ทำหน้าที่ในด่านหน้าแทนพวกเราทุกคน ซึ่งกำลังใจจากสังคม อาจเป็นเหมือนของขวัญอันทรงคุณค่ายิ่ง  รวมถึงความสามัคคีกันของคนในชาติย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในยามนี้
    0 Comments 0 Shares 139 Views 0 Reviews
  • "แม่ทัพภาค 2" แถลงยัน! กัมพูชาวางทุ่นระเบิดใหม่นับร้อยที่ช่องบก จ่อฟ้อง UN และเตรียมตอบโต้ทางทหาร
    https://www.thai-tai.tv/news/20399/
    .
    #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ทุ่นระเบิดใหม่ #ช่องบก #แม่ทัพภาค2 #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ชายแดนไทยกัมพูชา #ตอบโต้ทางทหาร #UN #อธิปไตยไทย
    "แม่ทัพภาค 2" แถลงยัน! กัมพูชาวางทุ่นระเบิดใหม่นับร้อยที่ช่องบก จ่อฟ้อง UN และเตรียมตอบโต้ทางทหาร https://www.thai-tai.tv/news/20399/ . #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ทุ่นระเบิดใหม่ #ช่องบก #แม่ทัพภาค2 #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ชายแดนไทยกัมพูชา #ตอบโต้ทางทหาร #UN #อธิปไตยไทย
    0 Comments 0 Shares 42 Views 0 Reviews
  • "แม่ทัพภาค 2" แถลงยัน! กัมพูชาวางทุ่นระเบิดใหม่นับร้อยที่ช่องบก จ่อฟ้อง UN และเตรียมตอบโต้ทางทหาร
    https://www.thai-tai.tv/news/20399/
    .
    #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ทุ่นระเบิดใหม่ #ช่องบก #แม่ทัพภาค2 #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ชายแดนไทยกัมพูชา #ตอบโต้ทางทหาร #UN #อธิปไตยไทย
    "แม่ทัพภาค 2" แถลงยัน! กัมพูชาวางทุ่นระเบิดใหม่นับร้อยที่ช่องบก จ่อฟ้อง UN และเตรียมตอบโต้ทางทหาร https://www.thai-tai.tv/news/20399/ . #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ทุ่นระเบิดใหม่ #ช่องบก #แม่ทัพภาค2 #กัมพูชาละเมิดอนุสัญญาออตตาวา #ชายแดนไทยกัมพูชา #ตอบโต้ทางทหาร #UN #อธิปไตยไทย
    0 Comments 0 Shares 41 Views 0 Reviews
  • “การตอบโต้ทางทหารครั้งใหม่ จะยิ่งรุนแรงและรุนแรงกว่าเดิม”

    พลเรือเอก มูซาวี เสนาธิการทหารคนใหม่ของอิหร่าน
    “การตอบโต้ทางทหารครั้งใหม่ จะยิ่งรุนแรงและรุนแรงกว่าเดิม” พลเรือเอก มูซาวี เสนาธิการทหารคนใหม่ของอิหร่าน
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 134 Views 0 0 Reviews
  • 'ฮุน มาเน็ต' กร้าวพร้อมตอบโต้ทางทหาร ถ้าถูกไทยบุกรุก บอกวางแผนตั้งกลไกแก้ไขข้อพิพาท กอด 1 : 200,000 รอแล้ว
    https://www.thai-tai.tv/news/19259/
    'ฮุน มาเน็ต' กร้าวพร้อมตอบโต้ทางทหาร ถ้าถูกไทยบุกรุก บอกวางแผนตั้งกลไกแก้ไขข้อพิพาท กอด 1 : 200,000 รอแล้ว https://www.thai-tai.tv/news/19259/
    0 Comments 0 Shares 71 Views 0 Reviews
  • " ที่มาของคำว่าทรัมป์บ้า!!!!! "

    Foreign Policy : ทรัมป์เคยพ่ายแพ้ต่ออิหร่านมาแล้ว
    กลยุทธ์ "ทฤษฎีคนบ้า" (Madman Theory) ของทรัมป์ในเวทีการเผชิญหน้ากับอิหร่าน กลับกลายเป็นหมากที่ไม่ได้ผล เพราะอิหร่านมองทะลุถึงเจตนาและวิธีการของทรัมป์อย่างชัดเจน
    นิตยสาร ฟอเรน โพลิซี (Foreign Policy) ซึ่งเป็นสื่อวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นสำคัญ โดยระบุว่า อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีคนบ้า" ในการสร้างภาพลักษณ์ตนเองให้ดูเป็นผู้นำที่คาดเดาไม่ได้และเต็มไปด้วยความอันตราย แต่คำถามสำคัญคือ วิธีการนี้สามารถบีบให้อิหร่านเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรือไม่ หรือกลับทำให้ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงขึ้น?
    ทรัมป์เป็นที่รู้จักจากแนวทางที่ผิดแผกไปจากผู้นำทั่วไปในด้านการทูต หนึ่งในกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้อย่างต่อเนื่องคือ "ทฤษฎีคนบ้า" ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคสงครามเย็นในสมัยริชาร์ด นิกสัน แนวคิดนี้เชื่อว่า ผู้นำสามารถบีบให้คู่ต่อสู้ยอมอ่อนข้อได้โดยการแสดงออกถึงความไม่แน่นอนและการข่มขู่ที่ดูรุนแรง แต่สำหรับเวทีการปะทะกับอิหร่าน คำถามคือ ทฤษฎีนี้ช่วยทรัมป์ได้จริงหรือไม่ หรือกลับเป็นชนวนที่ทำให้สถานการณ์ยิ่งดิ่งลึกสู่ความรุนแรง?

    ทรัมป์และกลยุทธ์การเจรจาที่อิหร่านไม่สะทกสะท้าน
    โดนัลด์ ทรัมป์เคยพูดถึงแนวทางการเจรจาของเขาอย่างภาคภูมิใจ โดยในการสัมภาษณ์เมื่อปี 2018 เขากล่าวว่า "ผมเป็นนักเจรจาที่มักจะวางตัวเลือกที่หลากหลายไว้บนโต๊ะ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาก้าวต่อไปของผมได้" หนึ่งในตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของแนวทางนี้คือการข่มขู่ "ทำลายล้างอย่างสมบูรณ์" เกาหลีเหนือ ในสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ แต่เมื่อใช้วิธีเดียวกันนี้กับอิหร่าน ผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามที่ทรัมป์หวังไว้

    นโยบาย “กดดันสูงสุด” และความล้มเหลวในการบีบอิหร่าน
    ในปี 2018 ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) และเริ่มดำเนินนโยบาย "กดดันสูงสุด" (Maximum Pressure) ด้วยความหวังว่าอิหร่านจะยอมรับข้อตกลงใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม จอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในขณะนั้น เปิดเผยในหนังสือของเขาว่า ทรัมป์เชื่อมั่นว่า "อิหร่านจะไม่สามารถทนต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจได้ และในที่สุดจะกลับมาที่โต๊ะเจรจา"

    การตอบโต้ของอิหร่าน: ท้าทายทุกแรงกดดัน
    แต่ความเป็นจริงกลับแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง อิหร่านไม่ได้เพียงแค่ปฏิเสธการเจรจา แต่ยังขยายโครงการนิวเคลียร์และเพิ่มปฏิบัติการของกลุ่มตัวแทนในภูมิภาคเพื่อแสดงถึงความไม่ยอมจำนน มูฮัมหมัด ญาวาด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่านในขณะนั้น กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "ทรัมป์คิดว่าแรงกดดันจะทำให้เราอ่อนข้อ แต่ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าชาวอิหร่านยืนหยัดในหน้าความกดดันเสมอ" ความพยายามของทรัมป์ในการบีบอิหร่านด้วยนโยบายกดดันสูงสุดจึงกลายเป็นการเดินเกมที่ไม่ได้ผล อิหร่านตอบโต้ด้วยการยืนหยัดและแสดงศักยภาพของตนเองให้เห็นอย่างชัดเจนในเวทีระหว่างประเทศ

    ปมร้อน: การสังหารสุไลมานีและความล้มเหลวของ "ทฤษฎีคนบ้า"
    หนึ่งในการตัดสินใจที่สร้างความสั่นสะเทือนที่สุดของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คือการออกคำสั่งให้สังหาร นายพลกอเซ็ม สุไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ในเดือนมกราคม 2020 การโจมตีนี้เกิดขึ้นใกล้สนามบินกรุงแบกแดด และนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน อิหร่านตอบโต้การสังหารสุไลมานีด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีฐานทัพอเมริกันในอิรัก พร้อมประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดที่ระบุไว้ในข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) อีกต่อไป
    เมื่อ "ทฤษฎีคนบ้า" ไม่ได้ผล
    โรซานา แมคมานัส ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต อธิบายว่า "ทฤษฎีคนบ้า" จะได้ผลก็ต่อเมื่อคู่ต่อสู้เชื่อว่าผู้นำมีความไม่แน่นอนจริงในบางเรื่อง แต่หากผู้นำนั้นดูไม่สมเหตุสมผลจนเกินไป ความเชื่อถือในคำขู่จะลดลง และกลยุทธ์จะล้มเหลว ในกรณีของทรัมป์ นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า พฤติกรรมของเขาเริ่มคาดเดาได้มากเกินไป เช่น การตัดสินใจไม่ตอบโต้ทางทหารหลังจากอิหร่านยิงโดรนอเมริกันตกในเดือนมิถุนายน 2019 การกระทำดังกล่าวส่งสัญญาณชัดเจนว่า ทรัมป์ไม่ต้องการทำสงคราม การส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันนี้ทำให้อิหร่านไม่ยอมรับคำขู่ของเขาอย่างจริงจัง นโยบาย "กดดันสูงสุด" ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มุ่งหวังให้อิหร่านอ่อนข้อและยอมทำตามข้อตกลงที่เข้มงวดกว่าเดิม กลับกลายเป็นหอกที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงตัวเอง อิหร่านไม่เพียงแต่ยืนหยัดต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจ แต่ยังใช้โอกาสนี้ขยายโครงการนิวเคลียร์และเสริมสร้างอิทธิพลในภูมิภาคให้แข็งแกร่งขึ้น
    เรซานา แมคมานัส นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ออกโรงเตือนว่า "ผู้นำควรระวังไม่ให้ชื่อเสียงในความบ้าบิ่นกลายเป็นจุดอ่อนของตนเอง" เพราะเมื่อฝ่ายตรงข้ามเริ่มเข้าใจเกมและการกระทำที่ดูเหมือนเหนือความคาดหมาย กลยุทธ์ดังกล่าวอาจกลับกลายเป็นไร้ประสิทธิภาพ

    ดังนั้น หากทรัมป์ตัดสินใจหวนกลับมาใช้ "ทฤษฎีคนบ้า" อีกครั้ง สิ่งสำคัญที่เขาต้องพิจารณาคือคู่แข่ง โดยเฉพาะอิหร่าน ต่างคุ้นเคยกับเกมนี้ดีและพร้อมรับมือด้วยกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดกว่าเดิม ทรัมป์ไม่สามารถพึ่งพาความคาดเดาไม่ได้แบบเดิมอีกต่อไป เพราะการเล่นเกมซ้ำที่ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจดี อาจกลายเป็นหายนะในทางการทูต

    (เรียบเรียงโดยสมาคมนักเรียนไทยในอีร่าน)
    " ที่มาของคำว่าทรัมป์บ้า!!!!! " Foreign Policy : ทรัมป์เคยพ่ายแพ้ต่ออิหร่านมาแล้ว กลยุทธ์ "ทฤษฎีคนบ้า" (Madman Theory) ของทรัมป์ในเวทีการเผชิญหน้ากับอิหร่าน กลับกลายเป็นหมากที่ไม่ได้ผล เพราะอิหร่านมองทะลุถึงเจตนาและวิธีการของทรัมป์อย่างชัดเจน นิตยสาร ฟอเรน โพลิซี (Foreign Policy) ซึ่งเป็นสื่อวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ได้ตีพิมพ์บทความชิ้นสำคัญ โดยระบุว่า อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า "ทฤษฎีคนบ้า" ในการสร้างภาพลักษณ์ตนเองให้ดูเป็นผู้นำที่คาดเดาไม่ได้และเต็มไปด้วยความอันตราย แต่คำถามสำคัญคือ วิธีการนี้สามารถบีบให้อิหร่านเปลี่ยนพฤติกรรมได้หรือไม่ หรือกลับทำให้ความขัดแย้งยิ่งรุนแรงขึ้น? ทรัมป์เป็นที่รู้จักจากแนวทางที่ผิดแผกไปจากผู้นำทั่วไปในด้านการทูต หนึ่งในกลยุทธ์ที่เขานำมาใช้อย่างต่อเนื่องคือ "ทฤษฎีคนบ้า" ซึ่งมีรากฐานมาจากยุคสงครามเย็นในสมัยริชาร์ด นิกสัน แนวคิดนี้เชื่อว่า ผู้นำสามารถบีบให้คู่ต่อสู้ยอมอ่อนข้อได้โดยการแสดงออกถึงความไม่แน่นอนและการข่มขู่ที่ดูรุนแรง แต่สำหรับเวทีการปะทะกับอิหร่าน คำถามคือ ทฤษฎีนี้ช่วยทรัมป์ได้จริงหรือไม่ หรือกลับเป็นชนวนที่ทำให้สถานการณ์ยิ่งดิ่งลึกสู่ความรุนแรง? ทรัมป์และกลยุทธ์การเจรจาที่อิหร่านไม่สะทกสะท้าน โดนัลด์ ทรัมป์เคยพูดถึงแนวทางการเจรจาของเขาอย่างภาคภูมิใจ โดยในการสัมภาษณ์เมื่อปี 2018 เขากล่าวว่า "ผมเป็นนักเจรจาที่มักจะวางตัวเลือกที่หลากหลายไว้บนโต๊ะ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่อาจคาดเดาก้าวต่อไปของผมได้" หนึ่งในตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดของแนวทางนี้คือการข่มขู่ "ทำลายล้างอย่างสมบูรณ์" เกาหลีเหนือ ในสุนทรพจน์ที่สหประชาชาติ แต่เมื่อใช้วิธีเดียวกันนี้กับอิหร่าน ผลลัพธ์กลับไม่เป็นไปตามที่ทรัมป์หวังไว้ นโยบาย “กดดันสูงสุด” และความล้มเหลวในการบีบอิหร่าน ในปี 2018 ทรัมป์ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) และเริ่มดำเนินนโยบาย "กดดันสูงสุด" (Maximum Pressure) ด้วยความหวังว่าอิหร่านจะยอมรับข้อตกลงใหม่ที่เข้มงวดกว่าเดิม จอห์น โบลตัน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในขณะนั้น เปิดเผยในหนังสือของเขาว่า ทรัมป์เชื่อมั่นว่า "อิหร่านจะไม่สามารถทนต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจได้ และในที่สุดจะกลับมาที่โต๊ะเจรจา" การตอบโต้ของอิหร่าน: ท้าทายทุกแรงกดดัน แต่ความเป็นจริงกลับแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง อิหร่านไม่ได้เพียงแค่ปฏิเสธการเจรจา แต่ยังขยายโครงการนิวเคลียร์และเพิ่มปฏิบัติการของกลุ่มตัวแทนในภูมิภาคเพื่อแสดงถึงความไม่ยอมจำนน มูฮัมหมัด ญาวาด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศของอิหร่านในขณะนั้น กล่าวอย่างหนักแน่นว่า "ทรัมป์คิดว่าแรงกดดันจะทำให้เราอ่อนข้อ แต่ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าชาวอิหร่านยืนหยัดในหน้าความกดดันเสมอ" ความพยายามของทรัมป์ในการบีบอิหร่านด้วยนโยบายกดดันสูงสุดจึงกลายเป็นการเดินเกมที่ไม่ได้ผล อิหร่านตอบโต้ด้วยการยืนหยัดและแสดงศักยภาพของตนเองให้เห็นอย่างชัดเจนในเวทีระหว่างประเทศ ปมร้อน: การสังหารสุไลมานีและความล้มเหลวของ "ทฤษฎีคนบ้า" หนึ่งในการตัดสินใจที่สร้างความสั่นสะเทือนที่สุดของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ คือการออกคำสั่งให้สังหาร นายพลกอเซ็ม สุไลมานี ผู้บัญชาการกองกำลังคุดส์ของกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน ในเดือนมกราคม 2020 การโจมตีนี้เกิดขึ้นใกล้สนามบินกรุงแบกแดด และนำไปสู่การยกระดับความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่าน อิหร่านตอบโต้การสังหารสุไลมานีด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีฐานทัพอเมริกันในอิรัก พร้อมประกาศว่าจะไม่ปฏิบัติตามข้อจำกัดที่ระบุไว้ในข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) อีกต่อไป เมื่อ "ทฤษฎีคนบ้า" ไม่ได้ผล โรซานา แมคมานัส ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต อธิบายว่า "ทฤษฎีคนบ้า" จะได้ผลก็ต่อเมื่อคู่ต่อสู้เชื่อว่าผู้นำมีความไม่แน่นอนจริงในบางเรื่อง แต่หากผู้นำนั้นดูไม่สมเหตุสมผลจนเกินไป ความเชื่อถือในคำขู่จะลดลง และกลยุทธ์จะล้มเหลว ในกรณีของทรัมป์ นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า พฤติกรรมของเขาเริ่มคาดเดาได้มากเกินไป เช่น การตัดสินใจไม่ตอบโต้ทางทหารหลังจากอิหร่านยิงโดรนอเมริกันตกในเดือนมิถุนายน 2019 การกระทำดังกล่าวส่งสัญญาณชัดเจนว่า ทรัมป์ไม่ต้องการทำสงคราม การส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันนี้ทำให้อิหร่านไม่ยอมรับคำขู่ของเขาอย่างจริงจัง นโยบาย "กดดันสูงสุด" ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มุ่งหวังให้อิหร่านอ่อนข้อและยอมทำตามข้อตกลงที่เข้มงวดกว่าเดิม กลับกลายเป็นหอกที่ย้อนกลับมาทิ่มแทงตัวเอง อิหร่านไม่เพียงแต่ยืนหยัดต่อแรงกดดันทางเศรษฐกิจ แต่ยังใช้โอกาสนี้ขยายโครงการนิวเคลียร์และเสริมสร้างอิทธิพลในภูมิภาคให้แข็งแกร่งขึ้น เรซานา แมคมานัส นักรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ออกโรงเตือนว่า "ผู้นำควรระวังไม่ให้ชื่อเสียงในความบ้าบิ่นกลายเป็นจุดอ่อนของตนเอง" เพราะเมื่อฝ่ายตรงข้ามเริ่มเข้าใจเกมและการกระทำที่ดูเหมือนเหนือความคาดหมาย กลยุทธ์ดังกล่าวอาจกลับกลายเป็นไร้ประสิทธิภาพ ดังนั้น หากทรัมป์ตัดสินใจหวนกลับมาใช้ "ทฤษฎีคนบ้า" อีกครั้ง สิ่งสำคัญที่เขาต้องพิจารณาคือคู่แข่ง โดยเฉพาะอิหร่าน ต่างคุ้นเคยกับเกมนี้ดีและพร้อมรับมือด้วยกลยุทธ์ที่ชาญฉลาดกว่าเดิม ทรัมป์ไม่สามารถพึ่งพาความคาดเดาไม่ได้แบบเดิมอีกต่อไป เพราะการเล่นเกมซ้ำที่ฝ่ายตรงข้ามเข้าใจดี อาจกลายเป็นหายนะในทางการทูต (เรียบเรียงโดยสมาคมนักเรียนไทยในอีร่าน)
    0 Comments 0 Shares 773 Views 0 Reviews
  • นายพลจาวาด กาฟารี แห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) เดินทางถึงซีเรียแล้ว และเริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันทันที เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในการประสานงานทางทหารของกองทัพซีเรียและกลุ่มพันธมิตรของแกนต่อต้าน เช่น ฟาติมียูนและเซเนบียูน การกลับมาของเขามีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเตรียมการสำหรับปฏิบัติการตอบโต้ทางทหารครั้งใหญ่

    นายพลวากาฟารี เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้บัญชาการทหารรัสเซีย คือ พลเอกซูโรวิกินและพลเอกไชโก(ปัจจุบันกลับมารับหน้าที่ผู้บัญชาการกองกำลังรัสเซียในซีเรียอีกครั้ง) พวกเขาพิสูจน์แล้วว่า ที่ผ่านมามีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในอดีต ทำให้กองทัพซีเรียได้รับชัยชนะเชิงยุทธศาสตร์ การที่เขาอยู่ในภูมิภาคนี้แสดงให้เห็นว่า "ทุกฝ่ายพร้อมสำหรับการดำเนินการที่เด็ดขาดและรุนแรง"
    นายพลจาวาด กาฟารี แห่งกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (IRGC) เดินทางถึงซีเรียแล้ว และเริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันทันที เขาเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญในการประสานงานทางทหารของกองทัพซีเรียและกลุ่มพันธมิตรของแกนต่อต้าน เช่น ฟาติมียูนและเซเนบียูน การกลับมาของเขามีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเตรียมการสำหรับปฏิบัติการตอบโต้ทางทหารครั้งใหญ่ นายพลวากาฟารี เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้บัญชาการทหารรัสเซีย คือ พลเอกซูโรวิกินและพลเอกไชโก(ปัจจุบันกลับมารับหน้าที่ผู้บัญชาการกองกำลังรัสเซียในซีเรียอีกครั้ง) พวกเขาพิสูจน์แล้วว่า ที่ผ่านมามีประสิทธิภาพในการปฏิบัติการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายในอดีต ทำให้กองทัพซีเรียได้รับชัยชนะเชิงยุทธศาสตร์ การที่เขาอยู่ในภูมิภาคนี้แสดงให้เห็นว่า "ทุกฝ่ายพร้อมสำหรับการดำเนินการที่เด็ดขาดและรุนแรง"
    0 Comments 0 Shares 468 Views 9 0 Reviews
  • นักวิเคราะห์คาดอิหร่านไม่ผลีผลามตอบโต้ เนื่องจากอาจกลายเป็นการเผยให้เห็นจุดอ่อนของตัวเองและกระตุ้นให้กองทัพยิวล้างแค้นรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะที่อิสราเอลเองก็ไม่อยากให้สถานการณ์ลุกลามจึงล็อกเป้าโจมตีจำกัด เพื่อให้เตหะรานสามารถรักษาหน้าและละเว้นการตอบโต้ทางทหารได้ง่ายขึ้น
    .
    จากระดับความรุนแรงของการโจมตีของอิสราเอลเมื่อวันเสาร์ (25 ต.ค.) เหล่าผู้สังเกตการณ์ในแวดวงภูมิรัฐศาสตร์ตะวันออกกลางมองว่า แนวโน้มการตอบโต้ที่เป็นไปได้ของอิหร่านคือ การรัวขีปนาวุธอีกชุดใหญ่ซึ่งจะถือเป็นชุดที่ 3 สำหรับปีนี้
    .
    การตอบโต้ทางทหารจะเปิดโอกาสให้ผู้นำในเตหะรานได้โชว์ความแข็งแกร่งไม่เฉพาะกับพลเมืองของตนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มฮามาสในกาซาและฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนที่กำลังรบพุ่งกับอิสราเอล และเป็นกองหน้าในอักษะการต่อต้านของอิหร่าน
    .
    ทว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่า ผู้นำอิหร่านจะเลือกวิธีดังกล่าว และนักวิเคราะห์บางคนมองว่า เตหะรานอาจยังไม่ตอบโต้ด้วยกำลังในขณะนี้ เนื่องจากจะกลายเป็นการเปิดเผยจุดอ่อนของตัวเองและกระตุ้นให้อิสราเอลล้างแค้นรุนแรงยิ่งขึ้น
    .
    ซานัม วาคิล ผู้อำนวยการโปรแกรมตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของกลุ่มคลังสมอง ชัทแธมเฮาส์ ในลอนดอน ชี้ว่า อิหร่านจะทำให้ดูเหมือนการโจมตีของอิสราเอลส่งผลกระทบน้อยมาก ทั้งที่ในความเป็นจริงรุนแรงมาก เนื่องจากอิหร่านถูกจำกัดทั้งทางทหารและการเมือง รวมถึงความไม่แน่นอนจากผลการเลือกตั้งในอเมริกาและผลกระทบที่จะมีต่อนโยบายตะวันออกกลาง
    .
    เอพีรายงานว่า แม้สงครามตะวันออกกลางกำลังเดือดพล่าน แต่มาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีสายปฏิรูปของอิหร่าน กลับส่งสัญญาณว่า ต้องการทำข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่กับอเมริกาเพื่อผ่อนคลายมาตรการแซงก์ชันของนานาชาติ
    .
    คำแถลงที่ใช้ถ้อยคำระมัดระวังของกองทัพอิหร่านที่ออกมาเมื่อคืนวันเสาร์ดูเหมือนเปิดช่องให้อิหร่านถอยออกมาจากการกระทำที่จะกระตุ้นให้สถานการณ์ลุกลาม นอกจากนั้นยังบ่งชี้ว่า การหยุดยิงในฉนวนกาซาและเลบานอนสำคัญกว่าการแก้แค้นอิสราเอล
    .
    อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดและเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของอิหร่าน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีของอิสราเอลอย่างระมัดระวังเช่นกัน โดยบอกว่า ไม่ควรขยายความให้กลายเป็นเรื่องใหญ่เกินจริงหรือทำให้ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญ รวมทั้งไม่ได้เรียกร้องให้ตอบโต้ทางทหารทันที
    .
    นักวิเคราะห์ยังมองว่า การที่อิสราเอลจำกัดเป้าหมายการโจมตีที่กองร้อยขีปนาวุธต่อต้านการโจมตีทางอากาศและโรงงานผลิตขีปนาวุธ ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านมีช่องโหว่มากขึ้นและเปิดทางให้อิสราเอลโจมตีได้ง่ายขึ้น
    .
    ขณะเดียวกัน อาลี เวซ ผู้อำนวยการโครงการอิหร่านของอินเตอร์เนชันแนล ไครซิส กรุ๊ป ระบุว่า ความพยายามในการตอบโต้ของอิหร่านจะถูกจำกัดจากข้อเท็จจริงที่ว่า กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของอิหร่านในการต่อสู้กับอิสราเอลได้รับความเสียหายอย่างหนัก ขณะที่ระบบอาวุธตามแบบส่วนใหญ่ถูกตอบโต้กลับเป็นสองเท่า และเขาคิดว่า ตอนนี้อิหร่านจะยังไม่ตอบโต้ด้วยกำลัง
    .
    ผู้เชี่ยวชาญในตะวันออกกลางบางคน อาทิ โยเอล กูแซนสกี้ ที่เคยทำงานให้สภาความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลและปัจจุบันเป็นนักวิจัยของสถาบันศึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในเทลอาวีฟ บอกว่า การที่อิสราเอลตัดสินใจโฟกัสเป้าหมายทางทหารอย่างเดียวมีจุดประสงค์เพื่อให้อิหร่าน “รักษาหน้า” และละเว้นจากการทำให้สถานการณ์ลุกลามได้ง่ายขึ้น
    .
    อย่างไรก็ดี กูแซนสกีสำทับว่า เป้าหมายการโจมตีของอิสราเอลส่วนหนึ่งอาจสะท้อนแสนยานุภาพของกองทัพยิวที่ไม่สามารถทำลายโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ตามลำพัง แต่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากอเมริกา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอิสราเอลสามารถยกระดับการโจมตีหากอิหร่านตอบโต้ เนื่องจากองค์ประกอบหลายอย่างในระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านถูกทำลายไปแล้ว
    .
    แม้ยังไม่อาจสรุปได้ว่า อิหร่านจะแก้เกมอิสราเอลอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ สถานการณ์ในตะวันออกกลางตอนนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
    .
    ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาผู้นำและนักยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ต่างคาดเดาว่า วันหนึ่งอิสราเอลจะเปิดฉากโจมตีอิหร่านโดยตรงหรือไม่และอย่างไร รวมทั้งสงสัยว่า ถ้าอิหร่านเป็นฝ่ายโจมตีอิสราเอลโดยตรงจะออกมาแบบไหน
    .
    แต่ในสถานการณ์จริงวันนี้ เวซชี้ว่า ดูเหมือนทั้งสองฝ่ายยังไม่มีแผนการชัดเจน รวมทั้งอาวุธที่ใช้โจมตีและระบบป้องกันห่างชั้นกันมาก และสำทับว่า ขณะที่ทั้งอิสราเอลและอิหร่านกำลังเปรียบเทียบและคำนวณว่า การดำเนินการของตนจะทำให้สถานการณ์ลุกลามรวดเร็วเพียงใดนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างเผชิญสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เส้นแดงใหม่ดูลางเลือน และเส้นแดงเก่าเจือจางกลายเป็นสีชมพู
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000103969
    ..............
    Sondhi X
    นักวิเคราะห์คาดอิหร่านไม่ผลีผลามตอบโต้ เนื่องจากอาจกลายเป็นการเผยให้เห็นจุดอ่อนของตัวเองและกระตุ้นให้กองทัพยิวล้างแค้นรุนแรงยิ่งขึ้น ขณะที่อิสราเอลเองก็ไม่อยากให้สถานการณ์ลุกลามจึงล็อกเป้าโจมตีจำกัด เพื่อให้เตหะรานสามารถรักษาหน้าและละเว้นการตอบโต้ทางทหารได้ง่ายขึ้น . จากระดับความรุนแรงของการโจมตีของอิสราเอลเมื่อวันเสาร์ (25 ต.ค.) เหล่าผู้สังเกตการณ์ในแวดวงภูมิรัฐศาสตร์ตะวันออกกลางมองว่า แนวโน้มการตอบโต้ที่เป็นไปได้ของอิหร่านคือ การรัวขีปนาวุธอีกชุดใหญ่ซึ่งจะถือเป็นชุดที่ 3 สำหรับปีนี้ . การตอบโต้ทางทหารจะเปิดโอกาสให้ผู้นำในเตหะรานได้โชว์ความแข็งแกร่งไม่เฉพาะกับพลเมืองของตนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลุ่มฮามาสในกาซาและฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนที่กำลังรบพุ่งกับอิสราเอล และเป็นกองหน้าในอักษะการต่อต้านของอิหร่าน . ทว่า ยังเร็วเกินไปที่จะระบุว่า ผู้นำอิหร่านจะเลือกวิธีดังกล่าว และนักวิเคราะห์บางคนมองว่า เตหะรานอาจยังไม่ตอบโต้ด้วยกำลังในขณะนี้ เนื่องจากจะกลายเป็นการเปิดเผยจุดอ่อนของตัวเองและกระตุ้นให้อิสราเอลล้างแค้นรุนแรงยิ่งขึ้น . ซานัม วาคิล ผู้อำนวยการโปรแกรมตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือของกลุ่มคลังสมอง ชัทแธมเฮาส์ ในลอนดอน ชี้ว่า อิหร่านจะทำให้ดูเหมือนการโจมตีของอิสราเอลส่งผลกระทบน้อยมาก ทั้งที่ในความเป็นจริงรุนแรงมาก เนื่องจากอิหร่านถูกจำกัดทั้งทางทหารและการเมือง รวมถึงความไม่แน่นอนจากผลการเลือกตั้งในอเมริกาและผลกระทบที่จะมีต่อนโยบายตะวันออกกลาง . เอพีรายงานว่า แม้สงครามตะวันออกกลางกำลังเดือดพล่าน แต่มาซูด เปเซชเคียน ประธานาธิบดีสายปฏิรูปของอิหร่าน กลับส่งสัญญาณว่า ต้องการทำข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่กับอเมริกาเพื่อผ่อนคลายมาตรการแซงก์ชันของนานาชาติ . คำแถลงที่ใช้ถ้อยคำระมัดระวังของกองทัพอิหร่านที่ออกมาเมื่อคืนวันเสาร์ดูเหมือนเปิดช่องให้อิหร่านถอยออกมาจากการกระทำที่จะกระตุ้นให้สถานการณ์ลุกลาม นอกจากนั้นยังบ่งชี้ว่า การหยุดยิงในฉนวนกาซาและเลบานอนสำคัญกว่าการแก้แค้นอิสราเอล . อยาตอลเลาะห์ อาลี คอเมเนอี ผู้นำสูงสุดและเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจสูงสุดของอิหร่าน แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการโจมตีของอิสราเอลอย่างระมัดระวังเช่นกัน โดยบอกว่า ไม่ควรขยายความให้กลายเป็นเรื่องใหญ่เกินจริงหรือทำให้ดูเหมือนเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สำคัญ รวมทั้งไม่ได้เรียกร้องให้ตอบโต้ทางทหารทันที . นักวิเคราะห์ยังมองว่า การที่อิสราเอลจำกัดเป้าหมายการโจมตีที่กองร้อยขีปนาวุธต่อต้านการโจมตีทางอากาศและโรงงานผลิตขีปนาวุธ ทำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านมีช่องโหว่มากขึ้นและเปิดทางให้อิสราเอลโจมตีได้ง่ายขึ้น . ขณะเดียวกัน อาลี เวซ ผู้อำนวยการโครงการอิหร่านของอินเตอร์เนชันแนล ไครซิส กรุ๊ป ระบุว่า ความพยายามในการตอบโต้ของอิหร่านจะถูกจำกัดจากข้อเท็จจริงที่ว่า กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่สุดของอิหร่านในการต่อสู้กับอิสราเอลได้รับความเสียหายอย่างหนัก ขณะที่ระบบอาวุธตามแบบส่วนใหญ่ถูกตอบโต้กลับเป็นสองเท่า และเขาคิดว่า ตอนนี้อิหร่านจะยังไม่ตอบโต้ด้วยกำลัง . ผู้เชี่ยวชาญในตะวันออกกลางบางคน อาทิ โยเอล กูแซนสกี้ ที่เคยทำงานให้สภาความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอลและปัจจุบันเป็นนักวิจัยของสถาบันศึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติในเทลอาวีฟ บอกว่า การที่อิสราเอลตัดสินใจโฟกัสเป้าหมายทางทหารอย่างเดียวมีจุดประสงค์เพื่อให้อิหร่าน “รักษาหน้า” และละเว้นจากการทำให้สถานการณ์ลุกลามได้ง่ายขึ้น . อย่างไรก็ดี กูแซนสกีสำทับว่า เป้าหมายการโจมตีของอิสราเอลส่วนหนึ่งอาจสะท้อนแสนยานุภาพของกองทัพยิวที่ไม่สามารถทำลายโรงงานนิวเคลียร์ของอิหร่านได้ตามลำพัง แต่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากอเมริกา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอิสราเอลสามารถยกระดับการโจมตีหากอิหร่านตอบโต้ เนื่องจากองค์ประกอบหลายอย่างในระบบป้องกันภัยทางอากาศของอิหร่านถูกทำลายไปแล้ว . แม้ยังไม่อาจสรุปได้ว่า อิหร่านจะแก้เกมอิสราเอลอย่างไร แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ สถานการณ์ในตะวันออกกลางตอนนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน . ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา บรรดาผู้นำและนักยุทธศาสตร์ในภูมิภาคนี้ต่างคาดเดาว่า วันหนึ่งอิสราเอลจะเปิดฉากโจมตีอิหร่านโดยตรงหรือไม่และอย่างไร รวมทั้งสงสัยว่า ถ้าอิหร่านเป็นฝ่ายโจมตีอิสราเอลโดยตรงจะออกมาแบบไหน . แต่ในสถานการณ์จริงวันนี้ เวซชี้ว่า ดูเหมือนทั้งสองฝ่ายยังไม่มีแผนการชัดเจน รวมทั้งอาวุธที่ใช้โจมตีและระบบป้องกันห่างชั้นกันมาก และสำทับว่า ขณะที่ทั้งอิสราเอลและอิหร่านกำลังเปรียบเทียบและคำนวณว่า การดำเนินการของตนจะทำให้สถานการณ์ลุกลามรวดเร็วเพียงใดนั้น ทั้งสองฝ่ายต่างเผชิญสถานการณ์ที่ไม่เคยพบเจอมาก่อน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่เส้นแดงใหม่ดูลางเลือน และเส้นแดงเก่าเจือจางกลายเป็นสีชมพู . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000103969 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 Comments 0 Shares 1892 Views 0 Reviews
  • สหรัฐฯชี้แจงอย่างชัดเจนว่า ไม่ได้ต้องการทำสงครามกับอิหร่าน และตั้งใจจะขอความชัดเจนจากอิสราเอลเกี่ยวกับแผนตอบโต้ทางทหารต่อการโจมตีด้วยขีปนาวุธของเตหะราน, เพนตากอนกล่าว

    “เราจะไม่คาดเดาว่าการตอบโต้จะเป็นอย่างไร,” ตัวแทนฝ่ายข่าวของเพนตากอนกล่าว, โดยปิดปากคำถามเกี่ยวกับการสนับสนุนที่เป็นไปได้ของสหรัฐฯ ต่อการรุกเชิงสมมติฐานของกองทัพอิสราเอลในดินแดนอิหร่าน
    .
    The US has made it clear that it is not seeking war with Iran and intends to obtain clarity from Israel regarding its plans for a military response to Tehran’s missile strike, the Pentagon said.

    “We will not speculate on what that response will be,” a Pentagon press office representative said, shutting down questions about possible US support for hypothetical offensive actions by the Israeli army on Iranian territory.

    (อเมริกุ๊ยนี่สันดานแม่งโคตรตอแหลจริงๆ)
    .
    2:56 AM · Oct 9, 2024 · 2,768 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1843742380178190513
    🤣สหรัฐฯชี้แจงอย่างชัดเจนว่า ไม่ได้ต้องการทำสงครามกับอิหร่าน และตั้งใจจะขอความชัดเจนจากอิสราเอลเกี่ยวกับแผนตอบโต้ทางทหารต่อการโจมตีด้วยขีปนาวุธของเตหะราน, เพนตากอนกล่าว🤣 “เราจะไม่คาดเดาว่าการตอบโต้จะเป็นอย่างไร,” ตัวแทนฝ่ายข่าวของเพนตากอนกล่าว, โดยปิดปากคำถามเกี่ยวกับการสนับสนุนที่เป็นไปได้ของสหรัฐฯ ต่อการรุกเชิงสมมติฐานของกองทัพอิสราเอลในดินแดนอิหร่าน . The US has made it clear that it is not seeking war with Iran and intends to obtain clarity from Israel regarding its plans for a military response to Tehran’s missile strike, the Pentagon said. “We will not speculate on what that response will be,” a Pentagon press office representative said, shutting down questions about possible US support for hypothetical offensive actions by the Israeli army on Iranian territory. (อเมริกุ๊ยนี่สันดานแม่งโคตรตอแหลจริงๆ) . 2:56 AM · Oct 9, 2024 · 2,768 Views https://x.com/SputnikInt/status/1843742380178190513
    Haha
    2
    0 Comments 0 Shares 190 Views 0 Reviews