• 17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498
    วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต

    หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า

    “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8”

    ————

    "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด"


    ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด

    เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน

    สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่

    1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้:

    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

    ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้

    แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น

    บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย

    ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498”

    ................

    2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต

    ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว

    ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ

    แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น

    ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’”

    ..................

    3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้:

    “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด

    เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้

    ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗)

    และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’”

    ----------

    ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม

    จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว

    ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย

    ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า)

    ………

    ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย

    —————-

    ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้:


    “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา

    น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ

    น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต

    ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย

    ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย)

    มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.”

    (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย)

    ------------

    จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

    พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ

    แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ

    ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ

    ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…”

    ……….

    ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย

    จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

    ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ

    ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn
    ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    17 กุมภาพันธ์ พ ศ 2498 วันประหารชีวิต สามนักโทษกรณีสวรรคต หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า “มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน พยายามสื่อสารให้เข้าใจว่า รัชกาลที่เก้าเป็นผู้ปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่ 8” ———— "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด" ผู้เขียนขอนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด เพราะมีสื่อต่างๆที่นำเสนอข้อมูลบางตอนที่ “อาจจะ” ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน หากไม่อ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วน สื่อต่างๆที่ว่านี้ ได้แก่ 1. THE STANDARD TEAM เรื่อง “17 กุมภาพันธ์ 2498 – ประหารชีวิต ชิต, บุศย์, เฉลียว จำเลยคดีสวรรคตในหลวง ร.8” เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความดังนี้: “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2478 ขณะมีพระชนมพรรษาเพียง 9 พรรษา พระองค์สวรรคตด้วยพระแสงปืนอย่างมีเงื่อนงำเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตจำเลยทั้ง 3 คน คือ เฉลียว ปทุมรส, ชิต สิงหเสนี และ บุศย์ ปัทมศริน อ้างอิงจากแถลงการณ์กระทรวงมหาดไทย ดังนี้ แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษประหารชีวิตนายเฉลียว ปทุมรส นายชิต สิงหเสนีย์ และนายบุศย์ ปัทมะศิรินทร์ จำเลยในคดีต้องหาว่าประทุษร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล และจำเลยทั้งสามได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา ขอพระราชทานอภัยโทษนั้น บัดนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฎีกาของจำเลยทั้งสามเสีย ทางราชทัณฑ์จึงได้นำตัวจำเลยทั้งสาม ไปประหารชีวิตตามคำพิพากษา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 เวลา 05.00 น. ณ เรือนจำกลางบางขวาง ต่อหน้าคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการเรือนจำกลางบางขวางเป็นประธานกรรมการ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี นายแพทย์เชื้อ พัฒนเจริญ และนายหลอม บุญอ่อน รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกควบคุมเรือนจำกลางบางขวางเป็นกรรมการ ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยเป็นการเสร็จไปแล้ว จึงขอแถลงมาให้ทราบทั่วกันกระทรวงมหาดไทย วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498” ................ 2. สถาบันปรีดี พนมยงค์ เรื่อง “สามจำเลยผู้บริสุทธิ์” โดย สุพจน์ ด่านตระกูล เผยแพร่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 มีข้อความบางตอนดังนี้ “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้งสามคน เมื่อ 12 ตุลาคม 2497 แล้ว ต่อมาในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2497 จำเลยทั้งสามได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้งสามนั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2519 มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถาม จอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. 2498-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ทนจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า 647) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุดตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้เพิ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์’” .................. 3. “ปัจฉิมวาจาของ ๓ นักโทษประหาร” มีข้อความบางตอนดังนี้: “หลังจากที่ศาลฎีกาได้พิพากษาลงโทษให้ประหารชีวิตจำเลยทั้ง ๓ คน เมื่อ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๙๗ แล้วต่อมาในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๗ จำเลยทั้ง ๓ ได้ทำหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ แต่ฎีกาดังกล่าวได้ตกไปในที่สุด เกี่ยวกับการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของจำเลยทั้ง ๓ นั้น พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (บุตรชายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม) ได้เขียนไว้ในหนังสือ "จอมพล ป. พิบูลสงคราม" พิมพ์ที่โรงพิมพ์ศูนย์การพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ มีความตอนหนึ่งเป็นบทสนทนาระหว่าง พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม (ผู้เขียน) กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งขณะนั้นลี้ภัยการเมืองอยู่ในประเทศญี่ปุ่นว่าดังนี้ ‘...ข้าพเจ้าจึงระงับใจไม่ได้ที่ต้องเรียนถามจอมพล ป. พิบูลสงคราม วันหนึ่งที่ประเทศญี่ปุ่นว่า ในฐานะที่เวลานั้น (พ.ศ. ๒๔๙๘-ผู้เขียน) ท่านดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ เหตุใดท่านจึงไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้จำเลยสามคนที่ถูกศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง ได้พยายามทำหน้าที่ของพ่อจนถึงที่สุดแล้ว ในอดีตที่ผ่านมา มีน้อยครั้งที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต้องเสียใจบ้างเมื่อทำอะไรไม่สำเร็จ แต่ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นครั้งใดที่ท่านจะเสียใจหนักยิ่งไปกว่าที่ข้าพเจ้ากำลังเห็นท่านครั้งนั้น ขณะเมื่อได้ตอบคำถามของข้าพเจ้าจบ ด้วยใบหน้าที่เคร่งขรึมและสนเท่ห์ใจไม่เปลี่ยนแปลง’ (จากหนังสือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม หน้า ๖๘๗) และก็สอดคล้องกับหนังสือแจกงานศพของนายชิต สิงหเสนี ที่บุตรสาวของท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือนั้น มีความว่า ‘ภายหลังที่พ่อถูกประหารชีวิตแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ส่งนายฉาย วิโรจน์ศิริ เลขานุการส่วนตัวของท่านไปหาพวกเรา แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลยินดีจะให้การอุปการะความเป็นอยู่การศึกษาแก่พวกเราทุกประการ พวกเราปรึกษาหารือกัน และในที่สุด ตกลงรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพื่อเป็นเครื่องยืนยันในความบริสุทธิ์ของพ่อ รัฐบาลจึงให้ความช่วยเหลือแก่พวกเรา ความช่วยเหลือนี้พึ่งมายกเลิกในสมัยรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์’” ---------- ผู้เขียนได้สืบค้นเงื่อนไขการขอพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ พบว่า บทบัญญัติแห่งธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น ทำให้พระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ต้องถูกลิดรอนลงจากเดิม จากการใช้พระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระมาสู่การใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญแล้ว ยังทำให้แนวความคิดและรูปแบบของการใช้พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเมื่อพุทธศักราช 2477 โดยได้กำหนดรูปแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษไว้ในภาค 7 ว่าด้วยอภัยโทษเปลี่ยนโทษหนักเป็นเบา และลดโทษมาตรา 259 ถึงมาตรา 267 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะเป็นผู้ถวายความเห็นและคำแนะนำเท่านั้น ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ แม้ว่าในบางกรณีความเห็นของกระทรวงมหาดไทยขัดแย้งกับความเห็นของคณะรัฐมนตรีก็ตาม (สรุปและเรียบเรียงจากหัวข้อ พระราชทานอภัยโทษ ฐานข้อมูล สถาบันพระปกเกล้า) ……… ในการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วย —————- ผู้เขียนได้ไปสืบค้นรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งที่ ๘๕/๒๔๙๗ วันพุธที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๙๗ มีข้อความทั้งหมดที่เกี่ยวกับกรณีการขอพระราชทานอภัยลดโทษของนักโทษคดีสวรรคตรัชกาลที่แปด ดังนี้: “๙. เรื่อง นักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน ขอพระราชทานอภัยลดโทษ (กระทรวงมหาดไทยนำส่งฎีกาพร้อมด้วยเอกสารการสอบสวนของนักโทษเด็ดขาดชาย เฉลียว ปทุมรส นักโทษเด็ดขาดชาย ชิต สิงหเสนี และนักโทษเด็ดขาดชาย บุศย์ ปัทมศริน เรือนจำกลาง บางขวาง ต้องโทษฐานสมคบกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล) กำหนดโทษประหารชีวิต ขอพระราชทานชีวิตให้คงไว้ มา น.ช. เฉลียว ฯ อ้างว่า ตนยังมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดไป ไม่เคยคิดที่จะหมิ่มพระบรมเดชานุภาพอย่างใด ขณะนี้ครอบครัวขาดผู้อุปการะ น.ช. ชิต ฯ อ้างว่า บรรพบุรุษในตระกูลของตน ซึ่งมีเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์) เป็นต้นตระกูล ตลอดจนบิดา ได้เคยรับราชการสนองพระเดชพระคุณมาด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์สุจริต ส่วน น.ช. บุศย์ ฯ อ้างว่า ชีวิตของตนได้เติบโตขึ้นมาก็โดยความอุปการะในพระบรมราชตระกูลที่ได้ทรงชุบเลี้ยง การเข้ารับราชการจึงเป็นไปด้วยความจงรักภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (จอมพล ป พิบูลสงคราม) ได้สอบสวนพิจารณาแล้ว ไม่เห็นควรขอพระราชทานอภัยลดโทษได้ให้โดยอ้างว่า เรื่องนี้เป็นการประทุษร้ายแก่บุคคลสำคัญของประเทศตามหลักการของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยแล้วนั้น จะไม่ขอพระราชทานอภัยโทษให้ ควรยกฎีกาเสีย) มติ - เห็นชอบด้วยตามกระทรวงมหาดไทย ให้นำความกราบบังคมทูลได้.” (นอกจาก จอมพล ป จะเป็น รมต มหาดไทยแล้ว ยังเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย) ------------ จากข้อความในรายงานการประชุมคณะรัฐมนตรีข้างต้นและจากการเปลี่ยนแปลงพระราชฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่ถูกลิดรอนลงจากเดิมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์จึงไม่มีพระราชอำนาจที่เด็ดขาดและเป็นอิสระ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามขอบเขตในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์/ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์มักลงมติให้อภัยโทษหรือระงับฎีกาตามความเห็นของคณะรัฐมนตรีเสมอ ขณะเดียวกัน จากคำบอกเล่าของ พล.ต. อนันต์ พิบูลสงคราม ที่กล่าวถึง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ผู้เป็นบิดาว่า “…ท่านตอบข้าพเจ้าทันทีอย่างหนักแน่นว่า พ่อได้ขอพระราชทานอภัยโทษขึ้นไปถึงสามครั้ง…” ………. ผู้เขียนใคร่เรียนขอว่า ถ้ามีใครมีหลักฐานการขอพระราชอภัยโทษอีกสองครั้ง โปรดกรุณานำมาเผยแพร่ด้วย จักเป็นประโยชน์ต่อวงการวิชาการประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์และต่อสาธารณชน ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ ป ล หลังจากศึกษาค้นคว้าข้อมูลแล้ว เห็นว่า มีผู้จงใจทั้งในอดีตและปัจจุบัน ให้รัชกาลที่เก้าเป็นผู้รับผิดชอบการปฏิเสธการขอพระราชทานอภัยลดโทษประหารชีวิตของสามนักโทษ ที่มา : เฟซบุ๊ก Chaiyan Chaiyaporn ของ ศาสตราจารย์ ไชยันต์ ไชยพร
    Like
    2
    0 Comments 0 Shares 1249 Views 0 Reviews
  • 70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม?

    ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย

    ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489

    แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่?

    ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8
    9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม
    ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง

    ลักษณะพระบรมศพ
    มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย

    คำถามที่เกิดขึ้น
    เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์?
    หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ?

    มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต
    หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด

    1. นายเฉลียว ปทุมรส
    อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต

    2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม
    อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์

    3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง
    เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต

    ข้อโต้แย้ง
    มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์

    ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร
    หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ
    - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน
    - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม
    - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม

    17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล
    02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา
    02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร
    02.40 น. นายชิต ถูกประหาร
    03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร

    หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น

    ความน่าสงสัย
    - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน
    - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี

    ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง?
    แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด

    ทฤษฎี "อุบัติเหตุ"
    ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน
    มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน

    ข้อโต้แย้ง
    ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง

    ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์"
    มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง
    ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร

    ข้อโต้แย้ง
    ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ

    ทฤษฎี "แพะรับบาป"
    สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง
    หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย

    คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ
    แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง

    คำถามที่ยังไร้คำตอบ
    - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์?
    - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่?

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568

    #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    70 ปี ยิงเป้าสามมหาดเล็ก พัวพันคดีสวรรคต ร.8 ทฤษฎีสมคบคิดปริศนา ลอบปลงพระชนม์ หรืออัตวินิบาตกรรม? ปริศนาที่ยังไร้คำตอบ เมื่อพูดถึงหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญ ทางประวัติศาสตร์ไทย ที่ยังคงเป็นปริศนา และข้อถกเถียงมาจนถึงทุกวันนี้ "คดีสวรรคต รัชกาลที่ 8" คือหนึ่งในคดี ที่เต็มไปด้วยเงื่อนงำ ทฤษฎีสมคบคิด และข้อสงสัยมากมาย ย้อนกลับไปเมื่อ 70 ปี ที่ผ่านมา ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ณ เรือนจำกลางบางขวาง สามมหาดเล็กในพระองค์ ได้แก่ นายเฉลียว ปทุมรส, นายชิต สิงหเสนี และนายบุศย์ ปัทมศริน ถูกนำตัวเข้าสู่ลานประหาร และถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ตามคำพิพากษาของศาลฎีกา ฐานพัวพันกับการสวรรคต ของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทร มหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 แต่คำถามสำคัญ ที่ยังคงค้างคาใจหลายคนก็คือ คดีนี้จบลงแล้วจริงหรือ? และสามมหาดเล็ก ที่ถูกประหารชีวิตเป็น "แพะรับบาป" หรือไม่? ปูมหลังคดีสวรรคต ในหลวงรัชกาลที่ 8 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 วันแห่งโศกนาฏกรรม ช่วงสายวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน ภายในห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน พระบรมมหาราชวัง 🔎 ลักษณะพระบรมศพ มีบาดแผล กลางพระนลาฏ หรือหน้าผาก ทะลุผ่านพระปฤษฎางค์ หรือท้ายทอย ข้างพระบรมศพพบ ปืนพกสั้น โคลต์ .45 ตกอยู่ ด้ามปืนหันออกจากพระวรกาย 💡 คำถามที่เกิดขึ้น เป็นอุบัติเหตุ หรือการลอบปลงพระชนม์? หากเป็นอัตวินิบาตกรรม เหตุใดจึงมีบาดแผล กระสุนทะลุจากหน้าผากไปท้ายทอย ซึ่งขัดแย้งกับ กลไกการยิงตัวตาย ตามธรรมชาติ? มหาดเล็กทั้งสามนาย จากข้าราชการใกล้ชิด สู่จำเลยประหารชีวิต หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่นาน รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งในช่วงแรก ไม่มีใครถูกกล่าวหา แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 คดีได้ถูกพลิกกลับ โดยบุคคลที่ตกเป็นเป้าหมาย ถูกดำเนินคดีในข้อหาสมรู้ร่วมคิด 1. นายเฉลียว ปทุมรส อดีตมหาดเล็ก และราชเลขานุการในพระองค์ รัชกาลที่ 8 สมาชิกคณะราษฎรสายพลเรือน ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนลอบปลงพระชนม์ ถูกศาลฎีกาพิพากษา ตัดสินประหารชีวิต 2. นายชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทม อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในวันเกิดเหตุ ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรู้เห็นกับเหตุการณ์ และถูกศาลฎีกา พิพากษายืน ประหารชีวิตตามศาลอุทธรณ์ 3. นายบุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมอีกคนหนึ่ง เป็นหนึ่งในบุคคลสุดท้าย ที่เห็นในหลวงรัชกาลที่ 8 ก่อนสวรรคต ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องในการปลงพระชนม์ และถูกศาลฎีกา พิกากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ตัดสินประหารชีวิต 💭 ข้อโต้แย้ง มหาดเล็กทั้งสามนาย ยืนยันว่าตนเองบริสุทธิ์ จนถึงวินาทีสุดท้าย ไม่มีหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ชัดเจน ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ศาลฎีกาตัดสิน คำพิพากษาที่นำไปสู่ลานประหาร หลังการสอบสวน คดีนี้ผ่านการพิจารณาของ ศาล 3 ระดับ - ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิต ทั้งสามคน - ศาลอุทธรณ์ ยืนยันคำพิพากษาเดิม - ศาลฎีกา พิพากษายืน ตามคำตัดสินเดิม 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 วันที่สามมหาดเล็ก ถูกยิงเป้าด้วยปืนกล ⏰ 02.00 น. อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ⏰ 02.20 น. นายเฉลียว ถูกประหาร ⏰ 02.40 น. นายชิต ถูกประหาร ⏰ 03.00 น. นายบุศย์ ถูกประหาร หลังจากการยิงเป้าประหารชีวิต ศพนักโทษทั้ง 3 ราย ถูกใส่ในช่องเก็บศพ เเล้วนำร่างออกจากประตูเเดง หรือประตูผีของวัดบางแพรกใต้ ในวันรุ่งขึ้น 👀 ความน่าสงสัย - คำร้องขออภัยโทษถูก "ยกฎีกา" อย่างกะทันหัน - ไม่มีการสืบสวนใหม่ แม้จะมีหลักฐานที่อาจเปลี่ยนคดี ทฤษฎีสมคบคิด ใครคือผู้ต้องสงสัยที่แท้จริง? แม้ว่าศาลจะตัดสินประหารชีวิต สามมหาดเล็กไปแล้ว แต่ปริศนาการสวรรคต ยังคงเป็นหัวข้อ ที่ถูกตั้งคำถามอยู่ตลอด 🕵️‍♂️ ทฤษฎี "อุบัติเหตุ" ในหลวงรัชกาลที่ 8 อาจทรงทำปืนลั่นเองขณะถือปืน มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงสนใจปืน และเคยมีอุบัติเหตุปืนลั่นมาก่อน 🔴 ข้อโต้แย้ง ตำแหน่งบาดแผล ไม่สอดคล้องกับอุบัติเหตุ จากการยิงตัวเอง 🏴‍☠️ ทฤษฎี "ลอบปลงพระชนม์" มีการตั้งข้อสงสัยว่า ฝ่ายการเมืองบางกลุ่ม อาจอยู่เบื้องหลัง ขณะนั้นมีความขัดแย้งทางการเมือง ระหว่างกลุ่มนิยมเจ้า กับคณะราษฎร 🔴 ข้อโต้แย้ง ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ลงมือ 🤔 ทฤษฎี "แพะรับบาป" สามมหาดเล็ก อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการปกปิดความจริง หลักฐานหลายอย่างถูกทำลาย หรือไม่ถูกเปิดเผย คดีปริศนาที่ยังไร้คำตอบ แม้เวลาจะผ่านไปกว่า 70 ปี แต่คดีสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 8 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน อย่างกว้างขวาง ข้อมูลที่มีอยู่ ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร และใครคือผู้กระทำผิดตัวจริง ⏳ คำถามที่ยังไร้คำตอบ 🔥 - ในหลวงรัชกาลที่ 8 ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือถูกลอบปลงพระชนม์? - สามมหาดเล็กที่ถูกประหาร เป็นแพะรับบาปหรือไม่? ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 171005 ก.พ. 2568 #คดีสวรรคต #รัชกาลที่8 #70ปีปริศนา #สมคบคิด #ลับลวงพราง #ประวัติศาสตร์ไทย #คดีสะเทือนขวัญ #ยิงเป้าสามมหาดเล็ก #ThailandMystery #HistoryUnsolved
    0 Comments 0 Shares 1470 Views 0 Reviews