• สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ

    สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่

    ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ

    และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย

    แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว?

    เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย

    ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน

    อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต

    เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้

    ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ

    (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ)

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml
    https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml
    http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf
    http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1
    http://www.guoxue.com/?p=792

    #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    สินเดิมเจ้าสาวจีนโบราณ สวัสดีค่ะ สัปดาห์ที่แล้วคุยถึงเรื่องการหย่าร้างในจีนโบราณ เชื่อว่าเพื่อนเพจหลายท่านต้องเคยผ่านตาพล็อตเรื่องในนิยายที่บอกว่า หากสตรีโดนสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) จะทำให้สูญเสียสินเดิมส่วนตัวไปด้วย แต่ถ้าเป็นการเลิกโดยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย (和离/เหอหลี) สตรีจะไม่สูญเสียสินเดิมนี้ วันนี้เรามาคุยกันในประเด็นนี้ว่าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นขออธิบายเกี่ยวกับธรรมเนียมเรื่องเงินๆ ทองๆ ของการแต่งงาน ไทยเราจะคุ้นเคยกับสินสอดทองหมั้น ซึ่งก็คือเงินและสินทรัพย์ที่ฝ่ายเจ้าบ่าวมอบให้พ่อแม่ของเจ้าสาวเพื่อเป็นการตอบแทนค่าเลี้ยงดูเจ้าสาวมาจนเติบใหญ่ ซึ่งในธรรมเนียมจีนมีการให้สินสอดนี้เช่นกัน เรียกว่า ‘พิ่นหลี่’ (聘礼) หรือ ‘ไฉหลี่’ (彩礼) โดยนำมามอบครอบครัวฝ่ายหญิงให้ในวันที่มาสู่ขอ และในธรรมเนียมจีนยังมีเงินและสินทรัพย์ที่พ่อแม่ของเจ้าสาวมอบให้ลูกสาวในวันออกเรือน เรียกว่า ‘เจี้ยจวง’ (嫁妆) หรือที่บางเพจแปลไว้ว่า ‘สินเดิม’ ซึ่งธรรมเนียมไทยเราไม่มี โดยปกติเจี้ยจวงเหล่านี้จะถูกขนไปบ้านเจ้าบ่าวพร้อมกับขบวนรับตัวเจ้าสาวแบบที่เราเห็นกันในหนัง และรายการทรัพย์สินเหล่านี้จะถูกบันทึกไว้อย่างละเอียด และหมายรวมถึงบ่าวไพร่ส่วนตัวที่ติดสอยห้อยตามมาจากบ้านเจ้าสาวด้วย แล้วใครมีสิทธิในสินเดิมของเจ้าสาว? เดิมในสมัยฉินและฮั่นไม่มีบทกฎหมายแบ่งแยกสิทธิของสามีภรรยาในเรื่องนี้ และด้วยบริบทของสังคมจีนโบราณที่มองว่าสามีภรรยาเป็นคนเดียวกัน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่สามีสามารถใช้จ่ายสินเดิมของเจ้าสาวได้ แต่อย่างไรก็ดี ในสมัยฉินปรากฎกรณีศึกษาที่ตระกูลของฝ่ายชายถูกยึดทรัพย์ทั้งตระกูล แต่ทางการไม่อาจยึดเอาสินเดิมของสะใภ้ไปได้ จึงเห็นได้ว่า แม้ไม่มีการกำหนดแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าสินเดิมเจ้าสาวเป็นสิทธิส่วนตัวของภรรยาหรือหรือของสามี แต่ที่แน่ๆ มันไม่ใช่ทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ตราบใดที่พันธะสมรสยังอยู่ สามีภรรยาใช้ทรัพย์สินส่วนนี้ร่วมกันได้ แต่ทันทีที่พันธะสมรสสิ้นสุดลง ความชัดเจนปรากฏทันที กล่าวคือสินเดิมนี้นับเป็นสินส่วนตัวของภรรยา เป็นต้นว่าในกรณีที่บุรุษตายไป สินเดิมจะอยู่ในความครอบครองของภรรยา ไม่ถูกนับรวมเป็นมรดกเข้าทรัพย์สินกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย ในกรณีที่ทั้งบุรุษและสตรีตายไป สินเดิมจะของนางจะตกเป็นของบุตร คนอื่นในตระกูลฝ่ายชายไม่มีเอี่ยว แต่ถ้านางไม่มีบุตร สินเดิมนี้ต้องถูกนำส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของสตรี (แต่ในขณะเดียวกันฝ่ายชายก็สามารถเรียกร้องสินสอดคืนได้เช่นกัน) และในกรณีเลิกรากันไม่ว่าด้วยวิธีใด ซึ่งหมายรวมถึงการที่ภรรยาถูกสามีทิ้ง นางจะสามารถนำสินเดิมของนางติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ต่อมาในสมัยถังและซ่ง มีบัญญัติกฎหมายขึ้นเกี่ยวกับการแต่งงานหย่าร้างและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้อง ในยุคสมัยนี้สินเดิมเป็นสิทธิของสตรี และไม่นับเป็นสมบัติกองกลางของตระกูลฝ่ายชาย คนในตระกูลฝ่ายชายจับต้องไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว สามีมักใช้เงินส่วนนี้ได้ด้วยความเชื่อของฝ่ายหญิงว่าสามีภรรยาคือคนเดียวกัน แต่ด้วยสภาพสังคมที่เน้นความเป็นสุภาพบุรุษแล้ว สามีจะเอาไปใช้ก็ต่อเมื่อภรรยาอนุญาต และโดยหลักการคือใช้ประโยชน์ได้แต่เอาไปขายไม่ได้ (เช่น โฉนดที่ดิน ร้านค้า) และชายใดเอาสินเดิมของภรรยาไปใช้มักถูกสังคมดูแคลน อย่างไรก็ดี มีสารพัดวิธีที่สินเดิมของเจ้าสาวจะหมดไปกับครอบครัวฝ่ายชาย ในกรณีที่ฐานะครอบครัวเจ้าบ่าวยากจน เจ้าสาวมักเอาสินเดิมมาแปลงเป็นเงินนำออกมาช่วยจุนเจือดำรงชีพซึ่งรวมถึงการดูแลพ่อแม่สามี หรือส่งสามีเรียนหนังสือเพื่อไปสอบราชบัณฑิต หรือช่วยจัดงานแต่งน้องสามี เป็นต้น ถือว่าเป็นวิธีแสดงจรรยาและความกตัญญูต่อครอบครัวฝ่ายสามี แต่ในทางกลับกัน หากฝ่ายชายมีฐานะมีอันจะกิน สินเดิมนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อให้ลูกสำหรับแต่งงานในอนาคต เรียกได้ว่าในยุคสมัยถังซ่งนี้ โดยหลักการแล้วสตรีมีสิทธิทางกฎหมายชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับสินเดิมของตน แต่ก็มีข้อจำกัดเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในกรณีที่สตรีตายไปโดยไม่มีบุตรหรือแต่งตั้งทายาทไว้ สินเดิมนี้จะไม่ต้องถูกส่งคืนให้ครอบครัวเดิมของนาง และในกรณีที่สตรีถูกสามีทิ้งหรือขับ (休/ซิว) หรือกรณีถูกศาลบังคับหย่าด้วยความผิดของฝ่ายหญิง สตรีไม่สามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ และนับจากสมัยหยวนเป็นต้นมา มีกฎหมายกำหนดเพิ่มเติมอีกด้วยว่า ในกรณีที่สตรีไปแต่งงานใหม่หลังจากหย่าร้าง (แม้ว่าจะเป็นการหย่าร้างด้วยความสมัครใจ) หรือแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียไป สตรีไม่อาจนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้ ดังนั้น สตรีเมื่อหย่าร้างแล้วสามารถนำสินเดิมติดตัวออกจากบ้านฝ่ายชายไปได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับยุคสมัยค่ะ (หมายเหตุ บทความข้างต้น เป็นข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบริบทการหย่าร้างเท่านั้น Storyฯ ไม่ได้ค้นคว้าลงลึกถึงสิทธิตามกฎหมายในการครอบครองสินทรัพย์ต่างๆ ของสตรีในแต่ละยุคสมัย เช่นการครอบครองที่ดินซึ่งมีลักษณะเฉพาะ หรือการสืบทอดสินทรัพย์ฝั่งสามี ฯลฯ) (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://www.cosmopolitan.com/tw/entertainment/movies/g62051067/are-you-the-one-ending/ Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.spp.gov.cn/spp/llyj/202104/t20210414_515602.shtml https://www.chinacourt.org/article/detail/2021/07/id/6125052.shtml http://www.xnwbw.com/page/1/2024-11/21/A18/20241121A18_pdf.pdf http://m.dyzxw.org/?act=a&aid=193698&cid=1 http://www.guoxue.com/?p=792 #สินเดิมเจ้าสาว #การแต่งงานจีนโบราณ #เจี้ยจวง #ซ่อนรักชายาลับ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 316 มุมมอง 0 รีวิว
  • จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว

    สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ

    เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ)

    พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว

    แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว

    และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น

    แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน
    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm
    https://baike.baidu.com/item/障车/1624835
    https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。
    https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm

    #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน

    จ้างเชอ ธรรมเนียมกีดขวางรถเจ้าสาว สวัสดีค่ะ วันนี้มาคุยกันเกี่ยวกับเกร็ดเล็กๆ ว่าด้วยการแต่งงานจีนโบราณ เพื่อนเพจที่ได้ดูเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> คงจำได้ว่าในฉากที่องค์หญิงหลี่หรงแต่งงานนั้น องค์ชายรัชทายาทหลี่ชวนได้นั่งรถม้านำขบวนรถเจ้าสาวพร้อมโปรยเงินให้ชาวบ้านที่มาอออยู่เต็มถนน จริงๆ แล้วพวกชาวบ้านไม่ได้มารอรับขบวนเสด็จขององค์หญิง หากแต่มันเป็นประเพณีการกีดขวางรถเจ้าสาวหรือที่เรียกว่า ‘จ้างเชอ’ (障车 แปลตรงตัวว่า ขวางรถ) พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยกับประเพณีการกั้นประตูตอนเจ้าบ่าวมารับตัวเจ้าสาว ซึ่งเป็นการกั้นก่อนที่เจ้าบ่าวจะเข้าถึงตัวเจ้าสาว แต่การกีดขวางรถเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้เป็นการกีดขวางขบวนรถเจ้าสาวหลังจากที่เจ้าบ่าวรับตัวเจ้าสาวแล้วและกำลังจะพาเจ้าสาวเดินทางกลับบ้านเจ้าบ่าวเพื่อเข้าพิธีกราบไหว้ฟ้าดิน ทั้งนี้ ตามประเพณีดั้งเดิม การกีดขวางรถนี้เป็นการกระทำโดยครอบครัวฝ่ายหญิงเพื่อแสดงออกถึงความอาลัยอาวรณ์ในตัวเจ้าสาว แต่เดิมในสมัยโบราณนั้น พิธีการแต่งงานจะเน้นเรียบขรึมสุขุมเพราะมองว่าเป็นพิธีที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ครึกครื้นเอิกเกริกและไม่มีการกีดขวางขบวนเจ้าสาว ต่อมาในยุคสมัยราชวงศ์เหนือใต้จึงเกิดประเพณีกีดขวางขบวนเจ้าสาวหรือจ้างเชอนี้ขึ้น และเป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยสุยและถัง โดยในสมัยถังนั้น เป็นยุคสมัยที่เน้นความครึกครื้นและนิยมการแต่งกลอน มีการให้เจ้าบ่าวแต่งกลอนเร่งเจ้าสาวหรือ ‘ชุยจวงซือ’ ก่อนจะเข้าถึงตัวเจ้าสาวได้ (Storyฯ เคยเขียนถึงธรรมเนียมคล้ายคลึงกันในสมัยซ่ง https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid05s41d5RQU7QjyxytQ3KKM5YDxA5cE2wNCLQDJZtP6YXRh844ki7rSrhXaGPr3zLil) และเมื่อรับตัวเจ้าสาวแล้วก็จะถูกกั้นขบวนหรือจ้างเชอ และเจ้าบ่าวต้องแต่งกลอนเพื่อขอให้เปิดทาง ต่อมาพัฒนามาเป็นการกีดขวางเพื่อให้ฝ่ายชายต้องจ่ายเงินก่อนจะพาขบวนรถเจ้าสาวออกไปได้และอาจแห่กันมายืนออกันทั้งหมู่บ้าน ไม่ใช่แค่ครอบครัวของเจ้าสาว และเมื่อมาถึงบ้านเจ้าบ่าวแล้ว ในสมัยถังจะมีการเดินบนพรมที่มีคนนำมาสลับวางอย่างที่เห็นในเรื่อง <องค์หญิงใหญ่> เรียกว่า ‘จ่วนสี’ (转席) เป็นเคล็ดว่าให้สืบทอดรุ่นต่อรุ่น แน่นอนว่าธรรมเนียมปฏิบัติเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและตามพื้นที่ จากเดิมใช้รถม้ารับเจ้าสาวก็เปลี่ยนมาเป็นใช้เกี้ยวในสมัยซ่ง และในบางพื้นที่ก็เปลี่ยนจากการให้บ่าวสาวเดินบนพรมที่สลับวางมาเป็นให้เจ้าสาวก้าวข้ามอานม้า (ซึ่งออกเสียงใกล้กับคำว่า ‘อัน’ ที่แปลว่าปลอดภัยสุขสงบ) หรือก้าวข้ามเตาเป็นเคล็ดว่าให้แคล้วคลาดจากสิ่งอัปมงคลแทน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจากในละครและจาก: https://today.line.me/tw/v2/article/x2wrzLn Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: http://paper.people.com.cn/rmlt/html/2023-07/01/content_26011443.htm https://baike.baidu.com/item/障车/1624835 https://m.thepaper.cn/baijiahao_15953346#:~:text=新娘上了车,女方,之为“转席”。 https://zqb.cyol.com/html/2020-11/10/nw.D110000zgqnb_20201110_1-10.htm #องค์หญิงใหญ่ #พิธีแต่งงานจีนโบราณ #รับตัวเจ้าสาวจีนโบราณ #สาระจีน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 376 มุมมอง 0 รีวิว