ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
.
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
.
ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
.
ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
.
ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
.
ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
.
ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
.
รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
.
นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
.
ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
.
ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
.
การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
.
เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
.
ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
.
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
.
กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
..............
Sondhi X
อ่านเพิ่มเติม .
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
.
ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
.
ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
.
ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
.
ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
.
ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
.
รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
.
นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
.
ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
.
ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
.
การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
.
เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
.
ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
.
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
.
กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
..............
Sondhi X
ผู้นำยุโรปว้าวุ่นหนัก หวั่นถูกกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมในการเจรจายุติสงครามยูเครน ขณะที่อเมริกาประกาศชัดยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการหารือดังกล่าว แถมยังประกาศรายชื่อทีมเจ้าหน้าที่อาวุโสไปประชุมกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟในซาอุดีอาระเบีย ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา-รัสเซีย ก็โทรศัพท์หารือกัน โดยระบุว่าคุยกันทั้งเรื่องสถานการณ์ในยูเครน และการหาทางปรับปรุงความสัมพันธ์ของ 2 ประเทศ
.
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้ยุโรปปั่นป่วนหนัก เมื่อประกาศในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย แถมยังระบุว่าเขาน่าจะได้พบปะแบบเจอตัวกับปูตินเร็วๆ นี้ เพื่อเริ่มการหารือยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน โดยที่การพูดจากับผู้นำรัสเซียนี้ ทรัมป์ไม่เคยบอกกล่าวกับพวกผู้นำของยุโรปมาก่อนเลย จึงทำให้เหล่าพันธมิตรของสหรัฐฯ ในยุโรปกลุ้มหนักว่า ผลประโยชน์ของพวกตนอาจถูกละเลยเพิกเฉย เมื่อวอชิงตันกับมอสโกจะคุยกันโดยตรง ไม่เอายุโรปเข้าร่วมด้วยเช่นนี้
.
ต่อมาในวันเสาร์ (15 ก.พ.) เจ้าหน้าที่สหรัฐฯหลายรายเผยว่า มาร์โค รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ และสตีฟ วิตคอฟฟ์ ผู้แทนพิเศษด้านตะวันออกกลางของทรัมป์ จะเดินทางไปซาอุดีอาระเบียเพื่อหารือเกี่ยวกับการทำความตกลงหยุดยิงในยูเครนกับคณะเจรจาของมอสโกและเคียฟ
.
ยังไม่มีการระบุชัดเจนว่า การประชุมเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อใ ดหรือกำหนดเวลาที่ทีมเจ้าหน้าที่ดังกล่าวจะออกเดินทาง แต่เฉพาะตัวรัฐมนตรีต่างประเทศรูบิโอนั้น ได้ออกเดินทางไปยังตะวันออกกลางแล้ว โดยไปถึงอิสราเอลในวันเสาร์ (15) อีกทั้งมีกำหนดการที่จะไปเยือนซาอุดีอาระเบียด้วย
.
ในวันเสาร์เช่นกัน รูบิโอได้หารือทางโทรศัพท์กับเซียร์เก ราฟลอฟ รัฐมนตรีต่างประเทศรัสเซีย ซึ่งต่อมากระทรวงการต่างประเทศรัสเซียแถลงว่า มีการตกลงคงการติดต่อเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความสัมพันธ์ การขจัดอุปสรรคฝ่ายเดียวที่ตกทอดมาจากคณะบริหารชุดก่อนของสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือด้านการค้า เศรษฐกิจ และการลงทุนที่เป็นประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ทั้งสองชาติยังแสดงความกระตือรือร้นในการดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ในตะวันออกกลาง
.
ทางด้านกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า รูบิโอยืนยันความมุ่งมั่นของทรัมป์ในการหาทางยุติการสู้รบขัดแย้งในยูเครน และหารือเกี่ยวกับโอกาสในการร่วมมือกันในประเด็นปัญหาทวิภาคีอื่นๆ
.
ส่วนที่มิวนิก มาร์ก รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) กล่าวในที่ประชุมผู้วางนโยบายระดับสูงเมื่อวันเสาร์ว่า ยุโรปต้องมี “ข้อเสนอที่ดี” เพื่อรับประกันสันติภาพในยูเครน หากต้องการเข้าร่วมการเจรจาที่อเมริกาเป็นแกนนำ
.
รึตเตอเสริมว่า จะเดินทางไปปารีสในวันจันทร์ (17 ก.พ.) เพื่อร่วมการประชุมผู้นำยุโรปที่จัดโดยประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการหารือเกี่ยวกับ “การประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่อาจเกิดขึ้น”
.
นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษ ขานรับว่า ยุโรปต้องรับบทบาทมากขึ้นในนาโต และร่วมมือกับอเมริกาเพื่อปกป้องอนาคตของยูเครน
.
ทางด้านประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าว เรียกร้องในงานประชุมความมั่นคงมิวนิกให้สร้างกองทัพยุโรป เนื่องจากยุโรปอาจไม่สามารถพึ่งพิงอเมริกาได้อีกต่อไป
.
ทั้งนี้ แนวคิดเช่นนี้เคยมีการถกเถียงมาแล้วเมื่อหลายปีก่อนโดยปราศจากความคืบหน้าใดๆ และดูเหมือนการเรียกร้องของเซเลนสกีไม่มีน้ำหนักพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
.
การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นหลังจากเมื่อวันศุกร์ (14) เซเลนสกีได้พบกับรองประธานาธิบดีเจดี แวนซ์ของอเมริกา และพยายามขอความมั่นใจว่า เคียฟจะไม่ถูกทิ้งระหว่างที่ทรัมป์เจรจากับปูติน
.
เซเลนสกียังยืนกรานว่า จะไม่ยอมรับข้อตกลงใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยที่ยูเครนไม่มีส่วนร่วมด้วย รวมทั้งจะต้องไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยุโรปที่ยุโรปไม่มีส่วนร่วม
.
ทว่า คีธ เคลล็อกก์ ผู้แทนพิเศษรับผิดชอบเรื่องยูเครน-รัสเซีย ของทรัมป์ กล่าวชัดเจนในเวทีเดียวกันว่า ยุโรปจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเจรจาหยุดยิงในยูเครน
.
นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ยังพยายามยืนยันว่า ยูเครนจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยแวนซ์กล่าวกับเซเลนสกีว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนที่จะไม่นำไปสู่การนองเลือดซ้ำสองในอนาคต
.
กระนั้น พีท เฮกเซธ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศว่า ยูเครนจะไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต หรือได้ดินแดนคืนจากรัสเซียแต่อย่างใด
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000015540
..............
Sondhi X
![Like](https://cdn.thaitimes.co/uploads/reactions/like.png)
![Haha](https://cdn.thaitimes.co/uploads/reactions/haha.png)