• “รองนายกฯ ประเสริฐ” ห่วงใยชาวโคราช ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อ่างเก็บน้ำลำตะคอง
    เน้นย้ำหน่วยงานเตรียมแผนป้องกันภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยล่วงหน้า

    สทนช. ชี้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเหลือ 16% แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง
    ยังมีน้ำมากกว่า 30% พร้อมรับข้อสั่งการรองนายกฯ เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วงของจังหวัดนครราชสีมาและวางแผนป้องกันบรรเทาอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบาง

    วันนี้ (3 พฤษภาคม 2568) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 13 ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงเช้า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและปัญหาภัยแล้งของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จากนั้นในช่วงบ่าย ได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามนโยบายที่สำคัญ
    ของรัฐบาล โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงาน
    ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
    ในการนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้รายงานสถานการณ์น้ำและการขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา

    จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้หน่วยงาน
    ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ให้ สทนช. ประสานจังหวัดนครราชสีมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เตรียมแผนป้องกันสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบางทั้งอุทกภัยและภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง และเมื่อเกิดเหตุต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด และให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำต้นทุนของ
    อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำมูลบน อ่างเก็บน้ำลำแซะ และวางแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอกับความต้องการ โดยให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำ
    ลำตะคองที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำคัญของจังหวัด รวมถึงให้จังหวัดนครราชสีมา กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    เร่งซ่อมแซมหรือปรับปรุงแหล่งน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบให้สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ และเพื่อให้จังหวัดนครราชสีมามีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลและจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีความจำเป็น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อไป

    ด้านเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สทนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมพบว่า ปริมาตรน้ำปีนี้น้อยกว่าปี 2567 ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด 4,959 แห่ง มีปริมาตรน้ำรวม 429.40 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 32% ของความจุเก็บกัก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2568) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาตรน้ำ 65.63 ล้าน ลบ.ม. (42% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำมูลบน
    มีปริมาตรน้ำ 52.77 ล้าน ลบ.ม. (37% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำลำแซะ มีปริมาตรน้ำ 107.91 ล้าน ลบ.ม. (39% ของความจุเก็บกัก) และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง แม้ว่าปัจจุบันจะมีปริมาตรน้ำเพียง 50.14 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 16% ของความจุเก็บกัก แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มงวดและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมาหน่วยงานได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำ โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เมื่อคราวลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน 2567 อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจะเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการในวันนี้อย่างเคร่งครัด
    เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง รวมถึงป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้
    “รองนายกฯ ประเสริฐ” ห่วงใยชาวโคราช ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อ่างเก็บน้ำลำตะคอง เน้นย้ำหน่วยงานเตรียมแผนป้องกันภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยล่วงหน้า สทนช. ชี้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเหลือ 16% แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง ยังมีน้ำมากกว่า 30% พร้อมรับข้อสั่งการรองนายกฯ เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วงของจังหวัดนครราชสีมาและวางแผนป้องกันบรรเทาอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบาง วันนี้ (3 พฤษภาคม 2568) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 13 ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงเช้า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและปัญหาภัยแล้งของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จากนั้นในช่วงบ่าย ได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามนโยบายที่สำคัญ ของรัฐบาล โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงาน ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ในการนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้รายงานสถานการณ์น้ำและการขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ให้ สทนช. ประสานจังหวัดนครราชสีมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เตรียมแผนป้องกันสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบางทั้งอุทกภัยและภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง และเมื่อเกิดเหตุต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด และให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำต้นทุนของ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำมูลบน อ่างเก็บน้ำลำแซะ และวางแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอกับความต้องการ โดยให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำ ลำตะคองที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำคัญของจังหวัด รวมถึงให้จังหวัดนครราชสีมา กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งซ่อมแซมหรือปรับปรุงแหล่งน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบให้สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ และเพื่อให้จังหวัดนครราชสีมามีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลและจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีความจำเป็น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อไป ด้านเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สทนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมพบว่า ปริมาตรน้ำปีนี้น้อยกว่าปี 2567 ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด 4,959 แห่ง มีปริมาตรน้ำรวม 429.40 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 32% ของความจุเก็บกัก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2568) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาตรน้ำ 65.63 ล้าน ลบ.ม. (42% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำมูลบน มีปริมาตรน้ำ 52.77 ล้าน ลบ.ม. (37% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำลำแซะ มีปริมาตรน้ำ 107.91 ล้าน ลบ.ม. (39% ของความจุเก็บกัก) และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง แม้ว่าปัจจุบันจะมีปริมาตรน้ำเพียง 50.14 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 16% ของความจุเก็บกัก แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มงวดและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมาหน่วยงานได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำ โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เมื่อคราวลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน 2567 อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจะเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการในวันนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง รวมถึงป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 262 มุมมอง 0 0 รีวิว
  • “รองนายกฯ ประเสริฐ” ห่วงใยชาวโคราช ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อ่างเก็บน้ำลำตะคอง
    เน้นย้ำหน่วยงานเตรียมแผนป้องกันภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยล่วงหน้า

    สทนช. ชี้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเหลือ 16% แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง
    ยังมีน้ำมากกว่า 30% พร้อมรับข้อสั่งการรองนายกฯ เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วงของจังหวัดนครราชสีมาและวางแผนป้องกันบรรเทาอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบาง

    วันนี้ (3 พฤษภาคม 2568) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 13 ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงเช้า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและปัญหาภัยแล้งของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จากนั้นในช่วงบ่าย ได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามนโยบายที่สำคัญ
    ของรัฐบาล โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงาน
    ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา
    ในการนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้รายงานสถานการณ์น้ำและการขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา

    จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้หน่วยงาน
    ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ให้ สทนช. ประสานจังหวัดนครราชสีมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เตรียมแผนป้องกันสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบางทั้งอุทกภัยและภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง และเมื่อเกิดเหตุต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด และให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำต้นทุนของ
    อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำมูลบน อ่างเก็บน้ำลำแซะ และวางแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอกับความต้องการ โดยให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำ
    ลำตะคองที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำคัญของจังหวัด รวมถึงให้จังหวัดนครราชสีมา กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    เร่งซ่อมแซมหรือปรับปรุงแหล่งน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบให้สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ และเพื่อให้จังหวัดนครราชสีมามีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลและจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีความจำเป็น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อไป

    ด้านเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สทนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมพบว่า ปริมาตรน้ำปีนี้น้อยกว่าปี 2567 ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด 4,959 แห่ง มีปริมาตรน้ำรวม 429.40 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 32% ของความจุเก็บกัก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2568) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาตรน้ำ 65.63 ล้าน ลบ.ม. (42% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำมูลบน
    มีปริมาตรน้ำ 52.77 ล้าน ลบ.ม. (37% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำลำแซะ มีปริมาตรน้ำ 107.91 ล้าน ลบ.ม. (39% ของความจุเก็บกัก) และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง แม้ว่าปัจจุบันจะมีปริมาตรน้ำเพียง 50.14 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 16% ของความจุเก็บกัก แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มงวดและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมาหน่วยงานได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำ โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เมื่อคราวลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน 2567 อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจะเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการในวันนี้อย่างเคร่งครัด
    เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง รวมถึงป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้

    สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
    3 พฤษภาคม 2568
    “รองนายกฯ ประเสริฐ” ห่วงใยชาวโคราช ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์อ่างเก็บน้ำลำตะคอง เน้นย้ำหน่วยงานเตรียมแผนป้องกันภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงและอุทกภัยล่วงหน้า สทนช. ชี้น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคองเหลือ 16% แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค ในขณะที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อีก 3 แห่ง ยังมีน้ำมากกว่า 30% พร้อมรับข้อสั่งการรองนายกฯ เตรียมรับมือฝนทิ้งช่วงของจังหวัดนครราชสีมาและวางแผนป้องกันบรรเทาอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบาง วันนี้ (3 พฤษภาคม 2568) นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ลงพื้นที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 13 ณ จังหวัดนครราชสีมา โดยในช่วงเช้า ได้ติดตามสถานการณ์น้ำและปัญหาภัยแล้งของอำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จากนั้นในช่วงบ่าย ได้เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามนโยบายที่สำคัญ ของรัฐบาล โดยมี นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงาน ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ในการนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้รายงานสถานการณ์น้ำและการขับเคลื่อนมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ ให้ สทนช. ประสานจังหวัดนครราชสีมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เตรียมแผนป้องกันสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่เปราะบางทั้งอุทกภัยและภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง และเมื่อเกิดเหตุต้องเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนหรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด และให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำต้นทุนของ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง อ่างเก็บน้ำมูลบน อ่างเก็บน้ำลำแซะ และวางแผนจัดสรรน้ำให้เพียงพอกับความต้องการ โดยให้ความสำคัญกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นลำดับแรก พร้อมทั้งให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำ ลำตะคองที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำคัญของจังหวัด รวมถึงให้จังหวัดนครราชสีมา กรมชลประทาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เร่งซ่อมแซมหรือปรับปรุงแหล่งน้ำที่อยู่ในความรับผิดชอบให้สามารถเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝนไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งได้ และเพื่อให้จังหวัดนครราชสีมามีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น ให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลและจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่มีความจำเป็น เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อไป ด้านเลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมว่า สทนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาอย่างใกล้ชิด โดยภาพรวมพบว่า ปริมาตรน้ำปีนี้น้อยกว่าปี 2567 ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด 4,959 แห่ง มีปริมาตรน้ำรวม 429.40 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้าน ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 32% ของความจุเก็บกัก (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2568) โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาตรน้ำ 65.63 ล้าน ลบ.ม. (42% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำมูลบน มีปริมาตรน้ำ 52.77 ล้าน ลบ.ม. (37% ของความจุเก็บกัก) อ่างเก็บน้ำลำแซะ มีปริมาตรน้ำ 107.91 ล้าน ลบ.ม. (39% ของความจุเก็บกัก) และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง แม้ว่าปัจจุบันจะมีปริมาตรน้ำเพียง 50.14 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 16% ของความจุเก็บกัก แต่ยังเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำอย่างเข้มงวดและรณรงค์ให้ใช้น้ำอย่างประหยัดในทุกภาคส่วน โดยที่ผ่านมาหน่วยงานได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาด้านน้ำ โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา ทั้งในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ จันทรรวงทอง) เมื่อคราวลงพื้นที่ในเดือนพฤศจิกายน 2567 อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งจะเร่งดำเนินการตามข้อสั่งการในวันนี้อย่างเคร่งครัด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง รวมถึงป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยตลอดช่วงฤดูฝนนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 3 พฤษภาคม 2568
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 225 มุมมอง 0 รีวิว
  • กาญจนบุรี - จ.กาญจน์ พบจุดความร้อนทั้งจังหวัดลดเหลือแค่ 4 จุด หลังกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บินทำฝนหลวงระหว่าง 18-19 ก.พ.หลายพื้นที่ฝนตกชุ่มฉ่ำ

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีสถานการณ์ไฟป่าในกลุ่มป่าตะวันตกvรือกลุ่มป่าที่ 12 รอบเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เดินเท้าเข้าไปดับไฟป่าที่เกิดขึ้นบนยอดเขาที่สูงชัน บางพื้นที่มีหน้าผาที่ค่อนข้างอันตราย อีกทั้งต้องสุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญกับสัตว์ป่าที่ดุร้าย โดยเฉพาะช้างป่า จากสถานการณ์การเกิดไฟป่า จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพากรมฝนหลวงและการบินเกษตร นำเครื่องบินมาทำฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเฉพาะในพื้นที่กลุ่มป่าที่ 12 รอบเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000016874

    #MGROnline #กาญจนบุรี #จุดความร้อน #กรมฝนหลวงและการบินเกษตร #ฝนหลวง
    กาญจนบุรี - จ.กาญจน์ พบจุดความร้อนทั้งจังหวัดลดเหลือแค่ 4 จุด หลังกรมฝนหลวงและการบินเกษตร บินทำฝนหลวงระหว่าง 18-19 ก.พ.หลายพื้นที่ฝนตกชุ่มฉ่ำ • ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีสถานการณ์ไฟป่าในกลุ่มป่าตะวันตกvรือกลุ่มป่าที่ 12 รอบเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี มีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เดินเท้าเข้าไปดับไฟป่าที่เกิดขึ้นบนยอดเขาที่สูงชัน บางพื้นที่มีหน้าผาที่ค่อนข้างอันตราย อีกทั้งต้องสุ่มเสี่ยงต่อการเผชิญกับสัตว์ป่าที่ดุร้าย โดยเฉพาะช้างป่า จากสถานการณ์การเกิดไฟป่า จึงจำเป็นที่จะต้องพึ่งพากรมฝนหลวงและการบินเกษตร นำเครื่องบินมาทำฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้นในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยเฉพาะในพื้นที่กลุ่มป่าที่ 12 รอบเขื่อนศรีนครินทร์ อ.ศรสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>https://mgronline.com/local/detail/9680000016874 • #MGROnline #กาญจนบุรี #จุดความร้อน #กรมฝนหลวงและการบินเกษตร #ฝนหลวง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 630 มุมมอง 0 รีวิว
  • โพลเผย "คนกรุง" 3 ใน 4 ชี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 รุนแรงมาก
    "รัฐ-กทม." ไร้ประสิทธิภาพ-รถฟรีไม่ช่วยแก้ปัญหา
    .
    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “กรุงเทพฯ เมืองในฝุ่น” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ชาวกทม. มากกว่า 90% ชี้ปัญหารุนแรงถึงรุนแรงมาก, รถเมล์-รถไฟฟ้าฟรีช่วยแก้ปัญหาได้น้อย, ส่วนใหญ่ชี้หน่วยงานภาครัฐ-กทม. ไร้ประสิทธิภาพโดยเฉพาะ กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร
    .
    สำหรับคำถามและผลการสำรวจที่น่าสนใจมีดังนี้คือ
    .
    เมื่อถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครถึงความรุนแรงของวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ช่วงหลายวันที่ผ่านมา พบว่า
    ร้อยละ 74.43 ระบุว่า มีความรุนแรงมาก
    ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ค่อนข้างมีความรุนแรง
    ร้อยละ 5.88 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความรุนแรง
    ร้อยละ 1.14 ระบุว่า ไม่มีความรุนแรงเลย
    .
    ขณะที่ความคิดเห็นต่อการสั่งการหรือขอความร่วมมือให้ปิดสถานศึกษาและทำงานที่บ้าน (Work from Home) ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า
    ร้อยละ 33.82 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร
    ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก
    ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย
    ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก
    .
    ในประเด็นการให้ประชาชนใช้บริการรถเมล์และรถไฟฟ้า BTS - MRT ฟรี 7 วัน ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า
    ร้อยละ 34.89 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก
    ร้อยละ 33.89 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย
    ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร
    ร้อยละ 6.72 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก
    .
    ส่วนคำถามเรื่องประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า
    ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ
    ร้อยละ 35.34 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย
    ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ
    ร้อยละ 3.13 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก
    .
    เมื่อถามถึงหน่วยงานที่ประชาชนคาดหวังให้แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า
    ร้อยละ 41.15 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ
    ร้อยละ 34.27 ระบุว่า กรุงเทพมหานคร
    ร้อยละ 27.02 ระบุว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
    ร้อยละ 20.23 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก
    ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ไม่มีความหวังกับหน่วยงานราชการใดๆ
    ร้อยละ 16.34 ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรม
    ร้อยละ 13.89 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
    ร้อยละ 12.67 ระบุว่า สำนักนายกรัฐมนตรี
    ร้อยละ 12.44 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย
    ร้อยละ 10.46 ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    ร้อยละ 9.39 ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศ
    ร้อยละ 8.70 ระบุว่า กระทรวงกลาโหม
    ร้อยละ 8.47 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์
    ร้อยละ 7.79 ระบุว่า กระทรวงการคลัง
    .
    คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9680000010602
    โพลเผย "คนกรุง" 3 ใน 4 ชี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 รุนแรงมาก "รัฐ-กทม." ไร้ประสิทธิภาพ-รถฟรีไม่ช่วยแก้ปัญหา . วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2568 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “กรุงเทพฯ เมืองในฝุ่น” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2568 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ชาวกทม. มากกว่า 90% ชี้ปัญหารุนแรงถึงรุนแรงมาก, รถเมล์-รถไฟฟ้าฟรีช่วยแก้ปัญหาได้น้อย, ส่วนใหญ่ชี้หน่วยงานภาครัฐ-กทม. ไร้ประสิทธิภาพโดยเฉพาะ กรมควบคุมมลพิษ และกรุงเทพมหานคร . สำหรับคำถามและผลการสำรวจที่น่าสนใจมีดังนี้คือ . เมื่อถามประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครถึงความรุนแรงของวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ช่วงหลายวันที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 74.43 ระบุว่า มีความรุนแรงมาก ร้อยละ 18.55 ระบุว่า ค่อนข้างมีความรุนแรง ร้อยละ 5.88 ระบุว่า ไม่ค่อยมีความรุนแรง ร้อยละ 1.14 ระบุว่า ไม่มีความรุนแรงเลย . ขณะที่ความคิดเห็นต่อการสั่งการหรือขอความร่วมมือให้ปิดสถานศึกษาและทำงานที่บ้าน (Work from Home) ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 33.82 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร ร้อยละ 33.21 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย ร้อยละ 8.47 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก . ในประเด็นการให้ประชาชนใช้บริการรถเมล์และรถไฟฟ้า BTS - MRT ฟรี 7 วัน ช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 34.89 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้น้อยมาก ร้อยละ 33.89 ระบุว่า ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเลย ร้อยละ 24.50 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้พอสมควร ร้อยละ 6.72 ระบุว่า ช่วยแก้ไขปัญหาได้มาก . ส่วนคำถามเรื่องประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า ร้อยละ 41.15 ระบุว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 35.34 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย ร้อยละ 20.38 ระบุว่า ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 3.13 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก . เมื่อถามถึงหน่วยงานที่ประชาชนคาดหวังให้แก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร พบว่า ร้อยละ 41.15 ระบุว่า กรมควบคุมมลพิษ ร้อยละ 34.27 ระบุว่า กรุงเทพมหานคร ร้อยละ 27.02 ระบุว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร้อยละ 20.23 ระบุว่า กรมการขนส่งทางบก ร้อยละ 17.56 ระบุว่า ไม่มีความหวังกับหน่วยงานราชการใดๆ ร้อยละ 16.34 ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ร้อยละ 13.89 ระบุว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 12.67 ระบุว่า สำนักนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 12.44 ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 10.46 ระบุว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร้อยละ 9.39 ระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศ ร้อยละ 8.70 ระบุว่า กระทรวงกลาโหม ร้อยละ 8.47 ระบุว่า กระทรวงพาณิชย์ ร้อยละ 7.79 ระบุว่า กระทรวงการคลัง . คลิกอ่าน >> https://sondhitalk.com/detail/9680000010602
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1014 มุมมอง 0 รีวิว
  • เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง ความว่า

    ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว

    ทั้งนี้ นาย ‘สุพิศ พิทักษ์ธรรม’ ลาออกจากอธิบดีฯ เพื่อชิงตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา หมายเลข 5 โดยยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญปี 2536 ทุกประการ
    เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนสามัญพ้นจากตำแหน่ง ความว่า ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2567 และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พ้นจากตำแหน่งแล้ว ทั้งนี้ นาย ‘สุพิศ พิทักษ์ธรรม’ ลาออกจากอธิบดีฯ เพื่อชิงตำแหน่งนายก อบจ.สงขลา หมายเลข 5 โดยยืนยันว่าได้ปฏิบัติตามระเบียบของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ว่าด้วยการลาออกจากราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญปี 2536 ทุกประการ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 451 มุมมอง 0 รีวิว
  • ใต้ร่มพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงติดตามและทรงห่วงใยพสกนิกรจากเหตุอุทกภัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร นำเฮลิคอปเตอร์ จำนวน ๒ ลำ และจิตอาสาพระราชทานจังหวัดเชียงราย ให้การช่วยเหลืออพยพประชาชนที่ประสบอุทกภัย พร้อมทั้งพระราชทานสิ่งของ อาหารที่จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ณ จังหวัดเชียงราย
    ----
    His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand are following and caring for the people from inundation their have command Royal Volunteer of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Established the Royal Kitchen Area of Chiang Rai and Royal Rainmaking Department and Agricultural Aviation Take 2 helicopters Provide assistance to evacuate people affected by floods and provide essential items and food to alleviate their initial suffering in Chiang Rai Province.
    _________________________

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida พระราชินี
    Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    ใต้ร่มพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงติดตามและทรงห่วงใยพสกนิกรจากเหตุอุทกภัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร นำเฮลิคอปเตอร์ จำนวน ๒ ลำ และจิตอาสาพระราชทานจังหวัดเชียงราย ให้การช่วยเหลืออพยพประชาชนที่ประสบอุทกภัย พร้อมทั้งพระราชทานสิ่งของ อาหารที่จำเป็น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น ณ จังหวัดเชียงราย ---- His Majesty King Maha Vajiralongkorn and Her Majesty Queen Suthida of Thailand are following and caring for the people from inundation their have command Royal Volunteer of His Majesty King Maha Vajiralongkorn Established the Royal Kitchen Area of Chiang Rai and Royal Rainmaking Department and Agricultural Aviation Take 2 helicopters Provide assistance to evacuate people affected by floods and provide essential items and food to alleviate their initial suffering in Chiang Rai Province. _________________________ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida พระราชินี Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We Love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
    Love
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 782 มุมมอง 0 รีวิว