• น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากที่ ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้เดินทางจากประเทศศรีลังกา มาถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 และครบกำหนดกักตัว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 และย้ายเข้ามาตรวจรักษาอาการป่วย บาดเจ็บ ที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง จนถึงปัจจุบันครบรอบ 1 ปี 4 เดือนแล้ว อาการป่วยของช้างยังมีอาการขาหน้าด้านซ้าย มีอาการเหยียดตึงอย่างเห็นได้ชัด

    คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >>
    https://mgronline.com/travel/detail/9670000111719

    #MGROnline #ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย #สถาบันคชบาลแห่งชาติ #ลำปาง #ช้าง #พลายศักดิ์สุรินทร์
    น.สพ.ดร.ทวีโภค อังควานิช หัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ จ.ลำปาง เปิดเผยว่า หลังจากที่ ช้างพลายศักดิ์สุรินทร์ได้เดินทางจากประเทศศรีลังกา มาถึงประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 และครบกำหนดกักตัว เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 และย้ายเข้ามาตรวจรักษาอาการป่วย บาดเจ็บ ที่โรงพยาบาลช้างศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ จังหวัดลำปาง จนถึงปัจจุบันครบรอบ 1 ปี 4 เดือนแล้ว อาการป่วยของช้างยังมีอาการขาหน้าด้านซ้าย มีอาการเหยียดตึงอย่างเห็นได้ชัด • คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม >> https://mgronline.com/travel/detail/9670000111719 • #MGROnline #ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย #สถาบันคชบาลแห่งชาติ #ลำปาง #ช้าง #พลายศักดิ์สุรินทร์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 165 มุมมอง 0 รีวิว
  • ยูเครนมีขีปนาวุธ ATACMS เหลืออยู่เท่าไหร่ หลังจากใช้ไปแล้ว 6 ลูกเมื่อวานนี้

    เคียฟและวอชิงตันไม่เคยยืนยันจำนวนขีปนาวุธ ATACMS อย่างเป็นทางการ มีการส่งมอบที่ทราบเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งหนึ่งในช่วงปลายปี 2023 แต่เป็นรุ่นเก่าระยะสูงสุดเพียง 160 กม. หรือ 100 ไมล์ และอีกครั้งซึ่งส่งมอบอย่างลับๆในเดือนมีนาคมปี 2024 นี้(แต่ข่าวเพิ่งมาเปิดเผยทีหลัง) ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่ามีพิสัยสูงสุด 300 กม. หรือ 190 ไมล์ นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่ายูเครนได้ใช้ไปแล้วกี่ครั้ง

    ตามข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ ขณะนี้ยูเครนเหลือขีปนาวุธ ATACMS ไม่เกิน 50 ลูกเท่านั้น และไม่ยืนยันว่าที่เหลืออยู่เป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่!!

    - ยูเครนได้รับขีปนาวุธ ATACMS เท่าไหร่:
    ตามรายงานของสื่อ แพ็คเกจความช่วยเหลือช่วงต้นปีของสหรัฐ คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ เมื่อพิจารณาราคาของขีปนาวุธ ATACMS จะอยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์ต่อหนึ่งลูก อ้างอิงตามสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับ Lockheed Martin จึงมีการคาดเดาว่ายูเครนได้รับขีปนาวุธ ATACMS รุ่นใหม่เพียง 2-3 โหล( 24-36 ลูก)

    เนื่องจากความช่วยเหลือในครั้งนั้น ยังมีอย่างอื่นซึ่งประกอบไปด้วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน Stinger จรวดสำหรับ HIMARS ตลอดจนกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม. และ 105 มม. และรายงานยังระบุว่ารวมถึงระบบต่อต้านรถถัง 84 ระบบ อาวุธขนาดเล็ก และชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ

    - ยูเครนใช้ขีปนาวุธ ATACMS ไปแล้วกี่ลูก:
    หลังจากได้รับ ATACMS รุ่นระยะ 300 กม. ในเดือนมีนาคม 2024 นี่เป็นบันทึกที่ "ยังไม่ได้รับการยืนยัน" อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการโจมตีที่เก็บรวบรวมไว้

    ➡️เดือนเมษายน มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีในไครเมีย
    ➡️เดือนพฤษภาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีฐานทัพอากาศเบลเบกในไครเมีย
    ➡️ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีใกล้กับเมืองลูฮันสค์
    ➡️ช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS เพื่อโจมตีระบบต่อต้านขีปนาวุธ S-500 ของรัสเซีย
    ➡️เดือนกรกฎาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีฐานทัพอากาศ Saki ในไครเมีย
    ➡️อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS สี่ลูก โจมตีระบบต่อต้านขีปนาวุธ S-300 ใกล้กับเมือง Mariupol
    ➡️ในช่วงต้นเดือนตุลาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีสถานีเรดาร์ "Nebo-M" ของรัสเซีย
    ➡️ขอเน้นย้ำว่า การใช้ขีปนาวุธ ATACMS ในการโจมตีบางกรณียังไม่ได้รับการยืนยัน และบางกรณีอาจเป็นรุ่นเก่าที่จัดหาในปี 2023 นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแนวโน้มที่จะยิง ATACMS ในระยะที่เป้าหมายห่างไปเพียง 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) จากแนวหน้าเพื่อให้ปลอดภัยจากการโจมตีของรัสเซียด้วย
    ➡️จนถึงปัจจุบัน การโจมตีครั้งเดียวที่ทราบโดยใช้ ATACMS ที่มีพิสัยไกลกว่าคือการโจมตีเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่สนามบิน Dzhankoi ในไครเมีย แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วอยู่ในระยะการโจมตีของ ATACMS รุ่นเก่า แต่หากต้องการหวังผลอย่างมีประสิทธิภาพ อาจต้องใช้รุ่นใหม่ที่มีพิสัยไกลกว่า
    ยูเครนมีขีปนาวุธ ATACMS เหลืออยู่เท่าไหร่ หลังจากใช้ไปแล้ว 6 ลูกเมื่อวานนี้ เคียฟและวอชิงตันไม่เคยยืนยันจำนวนขีปนาวุธ ATACMS อย่างเป็นทางการ มีการส่งมอบที่ทราบเพียง 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งหนึ่งในช่วงปลายปี 2023 แต่เป็นรุ่นเก่าระยะสูงสุดเพียง 160 กม. หรือ 100 ไมล์ และอีกครั้งซึ่งส่งมอบอย่างลับๆในเดือนมีนาคมปี 2024 นี้(แต่ข่าวเพิ่งมาเปิดเผยทีหลัง) ซึ่งเป็นรุ่นใหม่กว่ามีพิสัยสูงสุด 300 กม. หรือ 190 ไมล์ นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่ายูเครนได้ใช้ไปแล้วกี่ครั้ง ตามข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ ขณะนี้ยูเครนเหลือขีปนาวุธ ATACMS ไม่เกิน 50 ลูกเท่านั้น และไม่ยืนยันว่าที่เหลืออยู่เป็นรุ่นเก่าหรือรุ่นใหม่!! - ยูเครนได้รับขีปนาวุธ ATACMS เท่าไหร่: ตามรายงานของสื่อ แพ็คเกจความช่วยเหลือช่วงต้นปีของสหรัฐ คือช่วงเดือนกุมภาพันธ์ มูลค่า 300 ล้านดอลลาร์ เมื่อพิจารณาราคาของขีปนาวุธ ATACMS จะอยู่ที่ 1 ล้านดอลลาร์ต่อหนึ่งลูก อ้างอิงตามสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างสหรัฐอเมริกากับ Lockheed Martin จึงมีการคาดเดาว่ายูเครนได้รับขีปนาวุธ ATACMS รุ่นใหม่เพียง 2-3 โหล( 24-36 ลูก) เนื่องจากความช่วยเหลือในครั้งนั้น ยังมีอย่างอื่นซึ่งประกอบไปด้วยขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน Stinger จรวดสำหรับ HIMARS ตลอดจนกระสุนปืนใหญ่ขนาด 155 มม. และ 105 มม. และรายงานยังระบุว่ารวมถึงระบบต่อต้านรถถัง 84 ระบบ อาวุธขนาดเล็ก และชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับอุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ - ยูเครนใช้ขีปนาวุธ ATACMS ไปแล้วกี่ลูก: หลังจากได้รับ ATACMS รุ่นระยะ 300 กม. ในเดือนมีนาคม 2024 นี่เป็นบันทึกที่ "ยังไม่ได้รับการยืนยัน" อย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการโจมตีที่เก็บรวบรวมไว้ ➡️เดือนเมษายน มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีในไครเมีย ➡️เดือนพฤษภาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีฐานทัพอากาศเบลเบกในไครเมีย ➡️ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีใกล้กับเมืองลูฮันสค์ ➡️ช่วงปลายเดือนมิถุนายน มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS เพื่อโจมตีระบบต่อต้านขีปนาวุธ S-500 ของรัสเซีย ➡️เดือนกรกฎาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีฐานทัพอากาศ Saki ในไครเมีย ➡️อีกครั้งในเดือนกรกฎาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS สี่ลูก โจมตีระบบต่อต้านขีปนาวุธ S-300 ใกล้กับเมือง Mariupol ➡️ในช่วงต้นเดือนตุลาคม มีการอ้างว่าใช้ขีปนาวุธ ATACMS โจมตีสถานีเรดาร์ "Nebo-M" ของรัสเซีย ➡️ขอเน้นย้ำว่า การใช้ขีปนาวุธ ATACMS ในการโจมตีบางกรณียังไม่ได้รับการยืนยัน และบางกรณีอาจเป็นรุ่นเก่าที่จัดหาในปี 2023 นอกจากนี้ ยูเครนยังมีแนวโน้มที่จะยิง ATACMS ในระยะที่เป้าหมายห่างไปเพียง 20 กิโลเมตร (12 ไมล์) จากแนวหน้าเพื่อให้ปลอดภัยจากการโจมตีของรัสเซียด้วย ➡️จนถึงปัจจุบัน การโจมตีครั้งเดียวที่ทราบโดยใช้ ATACMS ที่มีพิสัยไกลกว่าคือการโจมตีเมื่อวันที่ 17 เมษายนที่สนามบิน Dzhankoi ในไครเมีย แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วอยู่ในระยะการโจมตีของ ATACMS รุ่นเก่า แต่หากต้องการหวังผลอย่างมีประสิทธิภาพ อาจต้องใช้รุ่นใหม่ที่มีพิสัยไกลกว่า
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 138 มุมมอง 0 รีวิว
  • การทานอาหารตามธาตุเจ้าเรือน เป็นศาสตร์แห่งการรักษาสุขภาพด้วยการทานอาหาร ซึ่งตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวว่า ร่างกายของคนเรานั้นล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ ได้แก่ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุดิน เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุลแล้ว จะไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่หากขาดสมดุลแล้วจะเกิดการเจ็บป่วยจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของคนตามธาตุเจ้าเรือน
    ธาตุไฟ คือ ผู้ที่เกิด (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม)
    ผู้ที่เกิดธาตุนี้ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย เป็นลมพิษ ปวดหัวบ่อย ผิวแห้งและท้องผูกบ่อย
    ดังนั้นควรรับประทานควรเป็นรสเย็น รสขม รสจืด เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย โดยเมนูตัวอย่างที่แนะนำ เช่น ต้มจืดฟักหมู ต้มจืดตำลึง แตงกวาผัดไข่ น้ำเก๊กฮวย เป็นต้น
    ธาตุลม คือ ผู้ที่เกิด (เดือนเมษายน-พฤษภาคม-มิถุนายน)
    ผู้ที่เกิดธาตุลม มักมีลมอยู่ภายในร่างกายค่อนข้างมาก ก็จะส่งผลให้มีอาการท้องอืด ปวดเส้น หน้ามืด วิงเวียน ปวดหัว นอนไม่หลับ
    ดังนั้นควรรับประทานควรเป็นรสเผ็ดร้อน เพื่อกระจายและลดธาตุลม ได้แก่ ต้มยำกุ้ง ไก่ผัดขิง ต้มข่าไก่ บัวลอยน้ำขิง เป็นต้น
    ธาตุน้ำ คือ ผู้ที่เกิด (เดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน)
    ผู้ที่เกิดธาตุน้ำจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก โรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยสำหรับผู้ที่เกิดธาตุน้ำได้แก่ โรคภูมิแพ้ น้ำเหลืองเสีย ขาบวม อ้วน โรคเนื้องอก ซีสต์
    ดังนั้นควรรับประทานควรเป็นรสเปรี้ยว รสขม เพื่อปรับสมดุลน้ำในร่างกาย ได้แก่ ต้มจืดมะระ แกงส้มดอกแค ห่อหมกใบยอ น้ำใบบัวบก เป็นต้น
    ธาตุดิน คือ ผู้ที่เกิด (ตุลาคม-พฤศจิกายน-ธันวาคม)
    ผู้ที่เกิดธาตุดินควรรับประทานอาหารรส ฝาด หวาน มัน เค็ม เพื่อบำรุงกำลัง ได้แก่ แกงคั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง ผัดฟัดทอง ผัดผักหวาน น้ำอ้อย เป็นต้น
    ----
    สนใจผลิตภัณฑ์และขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่…
    Line OA : https://lin.ee/MOFhjQs
    Facebook : https://www.facebook.com/qr?id=100090076934583
    #โปรโมชั่นสุดคุ้ม #ผลิตภัณฑ์สมุนไพร #ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม #สยามไภษัชย์ #วิลิตา #เฮอร์บาติก้า #Siamphaisat #Vilita #Herbatika #thaitimes
    การทานอาหารตามธาตุเจ้าเรือน เป็นศาสตร์แห่งการรักษาสุขภาพด้วยการทานอาหาร ซึ่งตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้กล่าวว่า ร่างกายของคนเรานั้นล้วนประกอบขึ้นด้วยธาตุต่างๆ ได้แก่ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุน้ำ ธาตุดิน เมื่อธาตุทั้งสี่ในร่างกายสมดุลแล้ว จะไม่ค่อยเจ็บป่วย แต่หากขาดสมดุลแล้วจะเกิดการเจ็บป่วยจากจุดอ่อนด้านสุขภาพของคนตามธาตุเจ้าเรือน ธาตุไฟ คือ ผู้ที่เกิด (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์-มีนาคม) ผู้ที่เกิดธาตุนี้ขี้ร้อน หงุดหงิดง่าย เป็นลมพิษ ปวดหัวบ่อย ผิวแห้งและท้องผูกบ่อย ดังนั้นควรรับประทานควรเป็นรสเย็น รสขม รสจืด เพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย โดยเมนูตัวอย่างที่แนะนำ เช่น ต้มจืดฟักหมู ต้มจืดตำลึง แตงกวาผัดไข่ น้ำเก๊กฮวย เป็นต้น ธาตุลม คือ ผู้ที่เกิด (เดือนเมษายน-พฤษภาคม-มิถุนายน) ผู้ที่เกิดธาตุลม มักมีลมอยู่ภายในร่างกายค่อนข้างมาก ก็จะส่งผลให้มีอาการท้องอืด ปวดเส้น หน้ามืด วิงเวียน ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นควรรับประทานควรเป็นรสเผ็ดร้อน เพื่อกระจายและลดธาตุลม ได้แก่ ต้มยำกุ้ง ไก่ผัดขิง ต้มข่าไก่ บัวลอยน้ำขิง เป็นต้น ธาตุน้ำ คือ ผู้ที่เกิด (เดือนกรกฎาคม สิงหาคม กันยายน) ผู้ที่เกิดธาตุน้ำจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก โรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยสำหรับผู้ที่เกิดธาตุน้ำได้แก่ โรคภูมิแพ้ น้ำเหลืองเสีย ขาบวม อ้วน โรคเนื้องอก ซีสต์ ดังนั้นควรรับประทานควรเป็นรสเปรี้ยว รสขม เพื่อปรับสมดุลน้ำในร่างกาย ได้แก่ ต้มจืดมะระ แกงส้มดอกแค ห่อหมกใบยอ น้ำใบบัวบก เป็นต้น ธาตุดิน คือ ผู้ที่เกิด (ตุลาคม-พฤศจิกายน-ธันวาคม) ผู้ที่เกิดธาตุดินควรรับประทานอาหารรส ฝาด หวาน มัน เค็ม เพื่อบำรุงกำลัง ได้แก่ แกงคั่วขนุน สะตอผัดกุ้ง ผัดฟัดทอง ผัดผักหวาน น้ำอ้อย เป็นต้น ---- สนใจผลิตภัณฑ์และขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่… Line OA : https://lin.ee/MOFhjQs Facebook : https://www.facebook.com/qr?id=100090076934583 #โปรโมชั่นสุดคุ้ม #ผลิตภัณฑ์สมุนไพร #ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม #สยามไภษัชย์ #วิลิตา #เฮอร์บาติก้า #Siamphaisat #Vilita #Herbatika #thaitimes
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 185 มุมมอง 0 รีวิว
  • 14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง////////////////////วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
    14 พฤศจิกายน วันพระบิดาแห่งฝนหลวง////////////////////วันพระบิดาแห่งฝนหลวง ตรงกับวันที่ 14 พฤศจิกายน ของทุกปี 65 ปีแห่งการกำเนิดฝนหลวงพระราชทาน นับจากวันที่ 14 พฤศจิกายน 2498 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริที่จะคิดค้น วิจัย หาวิธีการทำฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากของเกษตรกรและประชาชนทั่วไปที่ประสบภัยแล้ง ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2545 เฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่าน ในฐานะทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" และกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง" เพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ และจารึกไว้เป็นวันสำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริโครงการฝนหลวงขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498 ทรงศึกษาค้นคว้าและวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการ อุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้งได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรในทุกภาคของประเทศ ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ทั้งนี้ ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดเป็นฝนตกได้ ดังนั้น ตั้งแต่พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระราชหฤทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า กระทั่งในปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการและหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก ต่อมา ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด การทดลองดังกล่าวจึงเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่บ่งชี้ให้เห็นว่า การบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และความสำเร็จดังกล่าวยังส่งผลให้มีการพัฒนา ปรับปรุง และต่อยอดโครงการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 273 มุมมอง 0 รีวิว
  • วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
    ถวายพระพรชัยมงคล และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายรถพยาบาล พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล
    เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
    รถพยาบาล พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าว เป็นรถพยาบาลที่สามารถใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิต เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ให้ได้รับการปฐมพยาบาล และการช่วยชีวิตในขั้นแรกอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล

    #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida #HMSV
    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ นางนวลพรรณ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) และคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล และน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายรถพยาบาล พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 รถพยาบาล พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ดังกล่าว เป็นรถพยาบาลที่สามารถใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในพื้นที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิต เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วย ให้ได้รับการปฐมพยาบาล และการช่วยชีวิตในขั้นแรกอย่างปลอดภัยตามมาตรฐานสากล #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida #HMSV
    Love
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 237 มุมมอง 0 รีวิว
  • "นี่ไม่ใช่เรือบรรทุกเครื่องบิน อับราฮัม ลินคอล์น" ของสหรัฐอเมริกา หลังจากมีรายงานว่าถูกเยเมนโจมตีด้วยขีปนาวุธเมื่อวานนี้

    นี่คือเหตุการณ์ไฟไหม้เรือ USS Bonhomme Richard (LHD 6) ที่ฐานทัพเรือซานดิเอโก เมื่อเช้าวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 (2020)
    "นี่ไม่ใช่เรือบรรทุกเครื่องบิน อับราฮัม ลินคอล์น" ของสหรัฐอเมริกา หลังจากมีรายงานว่าถูกเยเมนโจมตีด้วยขีปนาวุธเมื่อวานนี้ นี่คือเหตุการณ์ไฟไหม้เรือ USS Bonhomme Richard (LHD 6) ที่ฐานทัพเรือซานดิเอโก เมื่อเช้าวันที่ 12 กรกฎาคม 2563 (2020)
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 131 มุมมอง 0 รีวิว
  • Elon Musk ประกาศว่า Donald Trump แต่งตั้งเขาและ Vivek Ramaswamy นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ผู้ก่อตั้งบริษัทยา Roivant Sciences เป็นผู้นำ (ร่วม) ของ Department of Government Efficiency (ตัวย่อ DOGE) หน่วยงานที่รัฐบาล Trump เตรียมตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นการตั้ง Elon เป็นผู้นำของ Department of Government Efficiency ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่ Trump เคยประกาศไว้เมื่อเดือนกันยายน ว่าหากเขาชนะเลือกตั้งจะเดินหน้าทำสิ่งนี้ตอนนี้ยังมีข้อมูลเพียงว่า Department of Government Efficiency จะเป็นหน่วยงานนอกรัฐบาล (outside of Government) และจะทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านงบประมาณของทำเนียบขาว เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการให้เล็กลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น งานนี้เป็นงานชั่วคราวที่จะเสร็จสิ้นภายใน 4 กรกฎาคม 2026 ซึ่งเป็นวันฉลอง 250 ปีการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา
    Elon Musk ประกาศว่า Donald Trump แต่งตั้งเขาและ Vivek Ramaswamy นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ผู้ก่อตั้งบริษัทยา Roivant Sciences เป็นผู้นำ (ร่วม) ของ Department of Government Efficiency (ตัวย่อ DOGE) หน่วยงานที่รัฐบาล Trump เตรียมตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นการตั้ง Elon เป็นผู้นำของ Department of Government Efficiency ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่ Trump เคยประกาศไว้เมื่อเดือนกันยายน ว่าหากเขาชนะเลือกตั้งจะเดินหน้าทำสิ่งนี้ตอนนี้ยังมีข้อมูลเพียงว่า Department of Government Efficiency จะเป็นหน่วยงานนอกรัฐบาล (outside of Government) และจะทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านงบประมาณของทำเนียบขาว เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการให้เล็กลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น งานนี้เป็นงานชั่วคราวที่จะเสร็จสิ้นภายใน 4 กรกฎาคม 2026 ซึ่งเป็นวันฉลอง 250 ปีการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 291 มุมมอง 0 รีวิว
  • Elon Musk ประกาศว่า Donald Trump แต่งตั้งเขาและ Vivek Ramaswamy นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ผู้ก่อตั้งบริษัทยา Roivant Sciences เป็นผู้นำ (ร่วม) ของ Department of Government Efficiency (ตัวย่อ DOGE) หน่วยงานที่รัฐบาล Trump เตรียมตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นการตั้ง Elon เป็นผู้นำของ Department of Government Efficiency ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่ Trump เคยประกาศไว้เมื่อเดือนกันยายน ว่าหากเขาชนะเลือกตั้งจะเดินหน้าทำสิ่งนี้ตอนนี้ยังมีข้อมูลเพียงว่า Department of Government Efficiency จะเป็นหน่วยงานนอกรัฐบาล (outside of Government) และจะทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านงบประมาณของทำเนียบขาว เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการให้เล็กลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น งานนี้เป็นงานชั่วคราวที่จะเสร็จสิ้นภายใน 4 กรกฎาคม 2026 ซึ่งเป็นวันฉลอง 250 ปีการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา
    Elon Musk ประกาศว่า Donald Trump แต่งตั้งเขาและ Vivek Ramaswamy นักธุรกิจชาวอเมริกันเชื้อสายอินเดีย ผู้ก่อตั้งบริษัทยา Roivant Sciences เป็นผู้นำ (ร่วม) ของ Department of Government Efficiency (ตัวย่อ DOGE) หน่วยงานที่รัฐบาล Trump เตรียมตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อปฏิรูปหน่วยงานภาครัฐของสหรัฐอเมริกาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นการตั้ง Elon เป็นผู้นำของ Department of Government Efficiency ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะเป็นสิ่งที่ Trump เคยประกาศไว้เมื่อเดือนกันยายน ว่าหากเขาชนะเลือกตั้งจะเดินหน้าทำสิ่งนี้ตอนนี้ยังมีข้อมูลเพียงว่า Department of Government Efficiency จะเป็นหน่วยงานนอกรัฐบาล (outside of Government) และจะทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านงบประมาณของทำเนียบขาว เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิรูปโครงสร้างระบบราชการให้เล็กลง มีประสิทธิภาพมากขึ้น งานนี้เป็นงานชั่วคราวที่จะเสร็จสิ้นภายใน 4 กรกฎาคม 2026 ซึ่งเป็นวันฉลอง 250 ปีการประกาศเอกราชของสหรัฐอเมริกา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 221 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในเยเมนเมื่อวันอาทิตย์ (10 พ.ย.) ในนั้นรวมถึงกรุงซานา ตามรายงานของสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพวกฮูตี ในขณะที่กระทรวงกลาโหมอเมริกา (เพนตากอน) ระบุว่าพวกเขาเล็งเป้าเล่นงานคลังอาวุธล้ำสมัยของกบฏกลุ่มนี้
    .
    สำนักข่าวอัล มาซิราห์ ทีวี รายงานเมื่อวันอาทิตย์ (10 พ.ย) ว่าหลายพื้นที่ของกรุงซานา เขตผู้ว่าการอัมราน ทางเหนือของประเทศและพื่นที่อื่นๆ ถูกโจมตีในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความสูญเสีย "ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า พวกเขาได้ยินเสียงเครื่องบินมากมาย เช่นเดียวกับเสียงระเบิดตูมสนั่นในหลายพื้นที่ของกรุงซานา"
    .
    เพนตากอนเปิดเผยกับเอเอฟพีว่า พวกเขาเล็งเป้าที่ตั้งต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บอาวุธต่างๆ ที่พวกฮูตีใช้เล็งเป้าเล่นงานเรือทั้งหลาย ทั้งเรือทางทหารและเรือของพลเรือน ที่กำลังล่องผ่านน่านน้ำสากลในทะเลแดงและอ่าวเอเดน
    .
    ทั้ง 2 ประเทศปฏิบัติการโจมตีทางอากาศใส่เยเมน มาตั้งแต่เดือนมกราคม ในความพยายามหยุดกบฏฮูตีจากการโจมตีเล่นงานเรือสินค้าทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอล ที่กำลังล่องผ่านทะเลแดง ในนั้นรวมถึงปฏิบัติการโจมตีถล่มเมืองโฮเดดาห์ เมื่อเดือนกรกฎาคม สังหารผู้คนอย่างน้อย 16 ราย
    .
    พวกฮูตี ซึ่งควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยเมน ในนั้นรวมถึงกรุงซานา โจมตีใส่เส้นทางเดินเรือสินค้าในทะเลแดง เช่นเดียวกับยิงขีปนาวุธและโดรนเข้าใส่อิสราเอล เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวปาเลสไตน์
    .
    เกือบๆ 1 ปีที่ผ่านมา พวกฮูตีลงมือโจมตีแล้วมากกว่า 100 รอบ ส่งผลให้มีลูกเรือเสียชีวิต 4 ราย และเรืออัปปาง 2 ลำ ขณะเดียวกันเรือลำหนึ่งและลูกเรือยังคงถูกกักขังเอาไว้ นับตั้งแต่ถูกบุกยึดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
    .
    กลุ่มกบฏเยเมน เรียกร้องให้อิสราเอลหยุดทำสงครามในกาซา ส่วนหนึ่งในเงื่อนไขสำหรับการหยุดโจมตีที่ก่อความปั่นป่วนวุ่นวายแก่เส้นทางเดินเรือสินค้าที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
    .
    ทหารอิสราเอลสังหารผู้คนในกาซาไปแล้วมากกว่า 43,000 คน นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน สงครามทำลายล้างของพวกเขาเป็นการแก้แค้นกรณีที่พวกนักรบฮามาส บุกจู่โจมเล่นงานทางใต้ของอิสราเอล สังหารผู้คนไปมากกว่า 1,100 ราย และจับตัวประกันไปประมาณ 250 คน
    .
    ปฏิบัติการโจมตีในวันอาทิตย์ (10 พ.ย.) มีขึ้นไม่กี่วันหลังจาก อับเดล-มาลิก อัล-ฮูตี ผู้นำของฮูตี วิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ต่อการมอบแรงสนับสนุนแก่อิสราเอล
    .
    ยาห์ยา ซารี ระบุก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) ยุทธการทางทหารของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ไม่อาจห้ามปรามการโจมตีของฮูตี ในขณะที่พวกกบฏที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านกลุ่มนี้ลงมือโจมตีฐานทัพอากาศเนวาติม ทางใต้ของอิสราเอลในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ยังอ้างด้วยว่าทางกลุ่มสามารถสกัดโดรนลำหนึ่งของสหรัฐฯ เหนือท้องฟ้าทางตะวันตกของเยเมนได้อีกด้วย
    .
    การโจมตีของทั้งพวกฮูตี สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร โหมกระพือความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางลุกลามบานปลายในวิกฤตกาซา เช่นเดียวกับก่อความวิตกต่อความพยายามยุติสงครามกลางเมืองของเยเมนเอง
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108287
    ..............
    Sondhi X
    สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรปฏิบัติการโจมตีทางอากาศในเยเมนเมื่อวันอาทิตย์ (10 พ.ย.) ในนั้นรวมถึงกรุงซานา ตามรายงานของสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพวกฮูตี ในขณะที่กระทรวงกลาโหมอเมริกา (เพนตากอน) ระบุว่าพวกเขาเล็งเป้าเล่นงานคลังอาวุธล้ำสมัยของกบฏกลุ่มนี้ . สำนักข่าวอัล มาซิราห์ ทีวี รายงานเมื่อวันอาทิตย์ (10 พ.ย) ว่าหลายพื้นที่ของกรุงซานา เขตผู้ว่าการอัมราน ทางเหนือของประเทศและพื่นที่อื่นๆ ถูกโจมตีในช่วงค่ำคืนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานความสูญเสีย "ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า พวกเขาได้ยินเสียงเครื่องบินมากมาย เช่นเดียวกับเสียงระเบิดตูมสนั่นในหลายพื้นที่ของกรุงซานา" . เพนตากอนเปิดเผยกับเอเอฟพีว่า พวกเขาเล็งเป้าที่ตั้งต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่จัดเก็บอาวุธต่างๆ ที่พวกฮูตีใช้เล็งเป้าเล่นงานเรือทั้งหลาย ทั้งเรือทางทหารและเรือของพลเรือน ที่กำลังล่องผ่านน่านน้ำสากลในทะเลแดงและอ่าวเอเดน . ทั้ง 2 ประเทศปฏิบัติการโจมตีทางอากาศใส่เยเมน มาตั้งแต่เดือนมกราคม ในความพยายามหยุดกบฏฮูตีจากการโจมตีเล่นงานเรือสินค้าทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอล ที่กำลังล่องผ่านทะเลแดง ในนั้นรวมถึงปฏิบัติการโจมตีถล่มเมืองโฮเดดาห์ เมื่อเดือนกรกฎาคม สังหารผู้คนอย่างน้อย 16 ราย . พวกฮูตี ซึ่งควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยเมน ในนั้นรวมถึงกรุงซานา โจมตีใส่เส้นทางเดินเรือสินค้าในทะเลแดง เช่นเดียวกับยิงขีปนาวุธและโดรนเข้าใส่อิสราเอล เพื่อแสดงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับชาวปาเลสไตน์ . เกือบๆ 1 ปีที่ผ่านมา พวกฮูตีลงมือโจมตีแล้วมากกว่า 100 รอบ ส่งผลให้มีลูกเรือเสียชีวิต 4 ราย และเรืออัปปาง 2 ลำ ขณะเดียวกันเรือลำหนึ่งและลูกเรือยังคงถูกกักขังเอาไว้ นับตั้งแต่ถูกบุกยึดเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว . กลุ่มกบฏเยเมน เรียกร้องให้อิสราเอลหยุดทำสงครามในกาซา ส่วนหนึ่งในเงื่อนไขสำหรับการหยุดโจมตีที่ก่อความปั่นป่วนวุ่นวายแก่เส้นทางเดินเรือสินค้าที่พลุกพล่านที่สุดแห่งหนึ่งของโลก . ทหารอิสราเอลสังหารผู้คนในกาซาไปแล้วมากกว่า 43,000 คน นับตั้งแต่เดือนตุลาคมปีก่อน สงครามทำลายล้างของพวกเขาเป็นการแก้แค้นกรณีที่พวกนักรบฮามาส บุกจู่โจมเล่นงานทางใต้ของอิสราเอล สังหารผู้คนไปมากกว่า 1,100 ราย และจับตัวประกันไปประมาณ 250 คน . ปฏิบัติการโจมตีในวันอาทิตย์ (10 พ.ย.) มีขึ้นไม่กี่วันหลังจาก อับเดล-มาลิก อัล-ฮูตี ผู้นำของฮูตี วิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ต่อการมอบแรงสนับสนุนแก่อิสราเอล . ยาห์ยา ซารี ระบุก่อนหน้านี้เมื่อวันศุกร์ (8 พ.ย.) ยุทธการทางทหารของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ไม่อาจห้ามปรามการโจมตีของฮูตี ในขณะที่พวกกบฏที่เกี่ยวข้องกับอิหร่านกลุ่มนี้ลงมือโจมตีฐานทัพอากาศเนวาติม ทางใต้ของอิสราเอลในวันเดียวกัน นอกจากนี้ ยังอ้างด้วยว่าทางกลุ่มสามารถสกัดโดรนลำหนึ่งของสหรัฐฯ เหนือท้องฟ้าทางตะวันตกของเยเมนได้อีกด้วย . การโจมตีของทั้งพวกฮูตี สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร โหมกระพือความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งทางลุกลามบานปลายในวิกฤตกาซา เช่นเดียวกับก่อความวิตกต่อความพยายามยุติสงครามกลางเมืองของเยเมนเอง . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108287 .............. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 681 มุมมอง 0 รีวิว
  • ไบเดนเตรียมเปิดห้องทำงานรูปไข่ต้อนรับทรัมป์ และยืนยันจะไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ต้นปีหน้า ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ทรัมป์ไม่ยอมทำเมื่อ 4 ปีที่แล้วด้วยข้ออ้างว่า ตนถูกปล้นชัยชนะ และขณะที่ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่เริ่มจัดตั้งคณะบริหาร ทางด้านเดโมแครตกลับไล่หาแพะรับผิดชอบความพ่ายแพ้ของแฮร์ริส โดยเพโลซี อดีตประธานสภาล่างชี้ว่า ถ้าไบเดนถอนตัวเร็วขึ้น เหตุการณ์อาจไม่เป็นแบบนี้
    .
    โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่เคยยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 สามารถกลับสู่ทำเนียบขาวอีกสมัยหลังคว้าชัยขาดลอยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา
    .
    ทำเนียบขาวแถลงเมื่อวันเสาร์ (9 พ.ย.) ว่าไบเดนจะพบทรัมป์ในห้องทำงานรูปไข่ในวันพุธ (13 พ.ย.) ซึ่งการพบกันระหว่างประธานาธิบดีที่กำลังจะหมดวาระกับว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านาน แต่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ทรัมป์ไม่ได้เชิญโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เยี่ยมเยียนทำเนียบขาว แต่กลับอ้างโดยไม่มีหลักฐานว่า ตนเองถูกโกงเลือกตั้งและนำไปสู่การก่อม็อบบุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021
    .
    นอกจากนั้นทรัมป์ยังแหกธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการไม่ไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของไบเดนในวันที่ 20 ม.ค.ปีเดียวกัน แต่ทำเนียบขาวยืนยันว่า ไบเดนจะไปร่วมพิธีดังกล่าวของทรัมป์ต้นปีหน้า
    .
    นอกจากนี้ ช่วงต้นปีหน้าไบเดนจะกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกคนที่ต้องถ่ายโอนอำนาจคืนให้ประธานาธิบดีคนก่อนตนเอง โดยครั้งล่าสุดที่เกิดเหตุการณ์นี้คือตอนที่ประธานาธิบดีเบนจามิน แฮร์ริสัน ส่งคืนทำเนียบขาวให้โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในช่วงศตวรรษที่ 19
    .
    ทรัมป์ อดีตพิธีกรเรียลลิตี้โชว์วัย 78 ปี กวาดชัยชนะท่วมท้นกว่าครั้งที่แล้ว แม้ถูกตัดสินกระทำผิดคดีอาญา ถูกดำเนินการสอบสวนเพื่อถอดถอนถึง 2 ครั้งตอนที่เป็นประธานาธิบดี และถูกอดีตหัวหน้าคณะทำงานตีตราว่า เป็นเผด็จการฟาสซิสต์ก็ตาม
    .
    ทั้งนี้ เอ็กซิตโพลล์พบว่า สิ่งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกังวลมากที่สุดคือปัญหาเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในยุคไบเดนภายหลังอเมริกาเพิ่งผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19
    .
    ไบเดน วัย 81 ปี ที่ถอนตัวจากศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนกรกฎาคมท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอายุ สุขภาพ และความเฉียบคมทางความคิดนั้น โทรแสดงความยินดีกับทรัมป์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (6 พ.ย.)
    .
    สมาชิกพรรคเดโมแครตหลายคนมองหาผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ของรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ที่รับไม้ต่อเป็นตัวแทนพรรคก่อนถึงกำหนดเลือกตั้งเพียง 100 วัน
    .
    แนนซี เพโลซี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์นิวยอร์ก ไทมส์ว่า ไบเดนถอนตัวช้าเกินไป แถมประกาศรับรองแฮร์ริสทันที ทำให้เกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการหยั่งเสียงรอบไพรมารีที่อาจทำให้พรรคมีแคนดิเดตให้เลือกมากขึ้น
    .
    เพโลซีที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า มีบทบาทสำคัญในการกล่อมให้ไบเดนยอมถอนตัว ตั้งข้อสังเกตว่า การทบทวนผลการเลือกตั้งควรมุ่งที่จุดแข็งของแฮร์ริสที่สามารถกระตุ้นความหวังของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและทำให้แคมเปญหาเสียงมีชีวิตชีวาขึ้นมาอย่างมาก
    .
    ขณะที่เดโมแครตกำลังหาแพะรับบาป ทรัมป์ได้เริ่มฟอร์มคณะบริหารสมัยที่ 2 ด้วยการแต่งตั้งซูซี ไวลส์ ผู้จัดการแคมเปญหาเสียง เป็นหัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาว ถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ และเป็นการแต่งตั้งสมาชิกคณะบริหารคนแรกของทรัมป์
    .
    ตัวเก็งคนอื่นๆ ในคณะบริหารทรัมป์ 2 ยังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรเบิร์ต เคนเนดี้ จูเนียร์ แกนนำการต่อต้านวัคซีนที่ทรัมป์ประกาศว่า จะได้รับบทบาทสำคัญด้านสุขอนามัย
    .
    อีกคนคือ อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเบอร์หนึ่งของโลก ที่อาจรับหน้าที่ตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐบาล หลังจากนายใหญ่สเปซเอ็กซ์, เทสลา และเอ็กซ์ ที่มีอุดมการณ์การเมืองปีกขวาผู้นี้ ให้การสนับสนุนทรัมป์สุดตัว
    .
    นอกจากนั้นยังคาดว่า ทรัมป์จะยกเลิกนโยบายสำคัญของไบเดนหลายอย่าง โดยว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ผู้นี้เตรียมกลับสู่ทำเนียบขาวในฐานะผู้ปฏิเสธแนวคิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แถมประกาศเพิ่มการขุดเจาะน้ำมัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108252
    ..............
    Sondhi X
    ไบเดนเตรียมเปิดห้องทำงานรูปไข่ต้อนรับทรัมป์ และยืนยันจะไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์ต้นปีหน้า ซึ่งเป็นสองสิ่งที่ทรัมป์ไม่ยอมทำเมื่อ 4 ปีที่แล้วด้วยข้ออ้างว่า ตนถูกปล้นชัยชนะ และขณะที่ว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่เริ่มจัดตั้งคณะบริหาร ทางด้านเดโมแครตกลับไล่หาแพะรับผิดชอบความพ่ายแพ้ของแฮร์ริส โดยเพโลซี อดีตประธานสภาล่างชี้ว่า ถ้าไบเดนถอนตัวเร็วขึ้น เหตุการณ์อาจไม่เป็นแบบนี้ . โดนัลด์ ทรัมป์ ที่ไม่เคยยอมรับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 สามารถกลับสู่ทำเนียบขาวอีกสมัยหลังคว้าชัยขาดลอยในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 5 ที่ผ่านมา . ทำเนียบขาวแถลงเมื่อวันเสาร์ (9 พ.ย.) ว่าไบเดนจะพบทรัมป์ในห้องทำงานรูปไข่ในวันพุธ (13 พ.ย.) ซึ่งการพบกันระหว่างประธานาธิบดีที่กำลังจะหมดวาระกับว่าที่ประธานาธิบดีคนใหม่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาช้านาน แต่เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ทรัมป์ไม่ได้เชิญโจ ไบเดน ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เยี่ยมเยียนทำเนียบขาว แต่กลับอ้างโดยไม่มีหลักฐานว่า ตนเองถูกโกงเลือกตั้งและนำไปสู่การก่อม็อบบุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021 . นอกจากนั้นทรัมป์ยังแหกธรรมเนียมปฏิบัติด้วยการไม่ไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของไบเดนในวันที่ 20 ม.ค.ปีเดียวกัน แต่ทำเนียบขาวยืนยันว่า ไบเดนจะไปร่วมพิธีดังกล่าวของทรัมป์ต้นปีหน้า . นอกจากนี้ ช่วงต้นปีหน้าไบเดนจะกลายเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกคนที่ต้องถ่ายโอนอำนาจคืนให้ประธานาธิบดีคนก่อนตนเอง โดยครั้งล่าสุดที่เกิดเหตุการณ์นี้คือตอนที่ประธานาธิบดีเบนจามิน แฮร์ริสัน ส่งคืนทำเนียบขาวให้โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 . ทรัมป์ อดีตพิธีกรเรียลลิตี้โชว์วัย 78 ปี กวาดชัยชนะท่วมท้นกว่าครั้งที่แล้ว แม้ถูกตัดสินกระทำผิดคดีอาญา ถูกดำเนินการสอบสวนเพื่อถอดถอนถึง 2 ครั้งตอนที่เป็นประธานาธิบดี และถูกอดีตหัวหน้าคณะทำงานตีตราว่า เป็นเผด็จการฟาสซิสต์ก็ตาม . ทั้งนี้ เอ็กซิตโพลล์พบว่า สิ่งที่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งกังวลมากที่สุดคือปัญหาเศรษฐกิจและเงินเฟ้อในยุคไบเดนภายหลังอเมริกาเพิ่งผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 . ไบเดน วัย 81 ปี ที่ถอนตัวจากศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อเดือนกรกฎาคมท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับอายุ สุขภาพ และความเฉียบคมทางความคิดนั้น โทรแสดงความยินดีกับทรัมป์เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (6 พ.ย.) . สมาชิกพรรคเดโมแครตหลายคนมองหาผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อความพ่ายแพ้ของรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ที่รับไม้ต่อเป็นตัวแทนพรรคก่อนถึงกำหนดเลือกตั้งเพียง 100 วัน . แนนซี เพโลซี อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์นิวยอร์ก ไทมส์ว่า ไบเดนถอนตัวช้าเกินไป แถมประกาศรับรองแฮร์ริสทันที ทำให้เกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะจัดการหยั่งเสียงรอบไพรมารีที่อาจทำให้พรรคมีแคนดิเดตให้เลือกมากขึ้น . เพโลซีที่ก่อนหน้านี้มีข่าวว่า มีบทบาทสำคัญในการกล่อมให้ไบเดนยอมถอนตัว ตั้งข้อสังเกตว่า การทบทวนผลการเลือกตั้งควรมุ่งที่จุดแข็งของแฮร์ริสที่สามารถกระตุ้นความหวังของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและทำให้แคมเปญหาเสียงมีชีวิตชีวาขึ้นมาอย่างมาก . ขณะที่เดโมแครตกำลังหาแพะรับบาป ทรัมป์ได้เริ่มฟอร์มคณะบริหารสมัยที่ 2 ด้วยการแต่งตั้งซูซี ไวลส์ ผู้จัดการแคมเปญหาเสียง เป็นหัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาว ถือเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับตำแหน่งนี้ และเป็นการแต่งตั้งสมาชิกคณะบริหารคนแรกของทรัมป์ . ตัวเก็งคนอื่นๆ ในคณะบริหารทรัมป์ 2 ยังสะท้อนการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น หนึ่งในนั้นคือ โรเบิร์ต เคนเนดี้ จูเนียร์ แกนนำการต่อต้านวัคซีนที่ทรัมป์ประกาศว่า จะได้รับบทบาทสำคัญด้านสุขอนามัย . อีกคนคือ อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเบอร์หนึ่งของโลก ที่อาจรับหน้าที่ตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐบาล หลังจากนายใหญ่สเปซเอ็กซ์, เทสลา และเอ็กซ์ ที่มีอุดมการณ์การเมืองปีกขวาผู้นี้ ให้การสนับสนุนทรัมป์สุดตัว . นอกจากนั้นยังคาดว่า ทรัมป์จะยกเลิกนโยบายสำคัญของไบเดนหลายอย่าง โดยว่าที่ประธานาธิบดีคนที่ 47 ผู้นี้เตรียมกลับสู่ทำเนียบขาวในฐานะผู้ปฏิเสธแนวคิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แถมประกาศเพิ่มการขุดเจาะน้ำมัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000108252 .............. Sondhi X
    Love
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 736 มุมมอง 0 รีวิว
  • ใครคือ ริชาร์ด เกรเนลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศที่ทรัมป์เลือก?

    อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติและเอกอัครราชทูตประจำเยอรมนี รายงานระบุว่า ริชาร์ด เกรเนลล์ ติดอยู่ในรายชื่อผู้รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ – ตำแหน่งที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาประธานาธิบดีเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและดำเนินการตามการตัดสินใจ

    ถ้อยแถลงและการกระทำต่อสาธารณะของเกรเนลล์ ให้เบาะแสเกี่ยวกับแนวทางนโยบายต่างประเทศที่เขาอาจมอบให้โดนัลด์ ทรัมป์:

    🔸 ผู้สมัครรายนี้เชื่อว่ามีความปรารถนาเช่นเดียวกับทรัมป์ที่ต้องการยุติความขัดแย้งในยูเครน ในเดือนกรกฎาคม, เขาพูดถึง "เขตปกครองตนเอง" ในพื้นที่ขัดแย้ง, และกล่าวว่าเคียฟไม่ควรคาดหวังว่าจะเข้าร่วมนาโตในเร็วๆนี้

    🔸 มีรายงานว่า Grenell เข้าร่วมการประชุมระหว่างทรัมป์กับ Zelensky ในเดือนกันยายน

    🔸 “[ทรัมป์] ได้แสดงให้เห็นว่าเขารู้วิธีที่จะนำทั้งสองฝ่ายมาเจรจากัน เขาทำมาอย่างต่อเนื่อง อาหรับและอิสราเอล, รัสเซียและยูเครน จะเป็นรายต่อไป” เกรเนลล์กล่าวในบทความ FP ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์นี้เกี่ยวกับ “แผนนโยบายต่างประเทศของทรัมป์”

    🔸 สื่อของยูเครนเกรงว่าการแต่งตั้งเกรเนลล์จะ "ให้ความสำคัญกับความปรารถนาของทรัมป์ที่จะยุติสงครามอย่างรวดเร็ว, แม้ว่าจะหมายถึงการยอมประนีประนอมที่สำคัญสำหรับยูเครนก็ตาม"

    🔸 ตำแหน่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ Grenell หูเบากับรัสเซีย ในปี ๒๐๑๙, ขณะที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเยอรมนี, Grenell ได้ขู่บริษัทในยุโรปซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยการคว่ำบาตรเนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการท่อส่งก๊าซ Nord Stream ๒ จนทำให้บรรดานักการเมืองเยอรมันประณามเขาว่าเป็น “เจ้าหน้าที่ยึดครอง” และเรียกร้องให้ขับไล่เขาออกไป

    “วิกฤตยูเครนยังคงเป็นประเด็นสำคัญในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรัมป์อยู่ในอำนาจ” นักวิเคราะห์การเมือง Massimiliano Bonne กล่าวกับ Sputnik โดยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้ง Grenell ที่อาจเกิดขึ้น

    “ในช่วงบริหารชุดก่อน, ทรัมป์มีทัศนคติที่คลุมเครือต่อรัสเซีย แม้จะมีความตึงเครียดในยุโรปตะวันออกก็ตาม, รัฐบาลชุดใหม่นี้อาจพบว่าตัวเองต้องรับมือกับความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างเคียฟและมอสโกว์, ซึ่งต้องรักษาสมดุลระหว่างการสนับสนุนยูเครนและหลีกเลี่ยงการยกระดับปัญหาโดยตรงกับรัสเซีย” บอนเน่กล่าว
    .
    WHO IS POTENTIAL TRUMP SEC. STATE PICK RICHARD GRENELL?

    Ex-director of national intelligence and ambassador to Germany Richard Grenell has reportedly made the shortlist of potential candidates for the job of secretary of state – a post entailing responsibility for advising the president on foreign policy and carrying out his decisions.

    Grenell’s public statements and actions provide clues about the kind of foreign policy guidance he might give Donald Trump:

    🔸 The candidate is thought to share Trump’s desire to end the conflict in Ukraine. In July, he spitballed so-called “autonomous regions” in the conflict area, and said Kiev shouldn’t expect to join NATO anytime soon.

    🔸 Grenell reportedly sat in on Trump’s meeting with Zelensky in September.

    🔸 “[Trump] has shown he knows how to bring both sides to the table. He’s done it consistently. Arabs and Israelis, Russians and Ukrainians will be next,” Grenell said in a FP piece published this week on “Trump’s foreign policy plan.”

    🔸 Ukrainian media fear Grenell’s appointment would “prioritize Trump’s desire to end the war quickly, even if it means making significant concessions for Ukraine.”

    🔸 These positions don’t make Grenell a softy on Russia. In 2019, while serving as ambassador to Germany, Grenell repeatedly threatened European companies with sanctions over their involvement in the Nord Stream 2 gas pipeline project, prompting German politicians to brand him an “occupation officer” and to demand his expulsion.

    “The Ukraine crisis remains a crucial issue in US foreign policy, especially with Trump in power,” political analyst Massimiliano Bonne told Sputnik, commenting on Grenell’s potential appointment.

    “During his previous administration, Trump had adopted an ambivalent attitude towards Russia, despite the tensions in Eastern Europe. The new administration could find itself dealing with a protracted conflict between Kiev and Moscow, striking a difficult balance between supporting Ukraine and avoiding a direct escalation with Russia,” Bonne said.
    .
    3:00 AM · Nov 9, 2024 · 3,855 Views
    https://x.com/SputnikInt/status/1854977191844385066
    ใครคือ ริชาร์ด เกรเนลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศที่ทรัมป์เลือก? อดีตผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติและเอกอัครราชทูตประจำเยอรมนี รายงานระบุว่า ริชาร์ด เกรเนลล์ ติดอยู่ในรายชื่อผู้รับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศ – ตำแหน่งที่มีหน้าที่ให้คำปรึกษาประธานาธิบดีเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศและดำเนินการตามการตัดสินใจ ถ้อยแถลงและการกระทำต่อสาธารณะของเกรเนลล์ ให้เบาะแสเกี่ยวกับแนวทางนโยบายต่างประเทศที่เขาอาจมอบให้โดนัลด์ ทรัมป์: 🔸 ผู้สมัครรายนี้เชื่อว่ามีความปรารถนาเช่นเดียวกับทรัมป์ที่ต้องการยุติความขัดแย้งในยูเครน ในเดือนกรกฎาคม, เขาพูดถึง "เขตปกครองตนเอง" ในพื้นที่ขัดแย้ง, และกล่าวว่าเคียฟไม่ควรคาดหวังว่าจะเข้าร่วมนาโตในเร็วๆนี้ 🔸 มีรายงานว่า Grenell เข้าร่วมการประชุมระหว่างทรัมป์กับ Zelensky ในเดือนกันยายน 🔸 “[ทรัมป์] ได้แสดงให้เห็นว่าเขารู้วิธีที่จะนำทั้งสองฝ่ายมาเจรจากัน เขาทำมาอย่างต่อเนื่อง อาหรับและอิสราเอล, รัสเซียและยูเครน จะเป็นรายต่อไป” เกรเนลล์กล่าวในบทความ FP ที่เผยแพร่เมื่อสัปดาห์นี้เกี่ยวกับ “แผนนโยบายต่างประเทศของทรัมป์” 🔸 สื่อของยูเครนเกรงว่าการแต่งตั้งเกรเนลล์จะ "ให้ความสำคัญกับความปรารถนาของทรัมป์ที่จะยุติสงครามอย่างรวดเร็ว, แม้ว่าจะหมายถึงการยอมประนีประนอมที่สำคัญสำหรับยูเครนก็ตาม" 🔸 ตำแหน่งเหล่านี้ไม่ได้ทำให้ Grenell หูเบากับรัสเซีย ในปี ๒๐๑๙, ขณะที่ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำเยอรมนี, Grenell ได้ขู่บริษัทในยุโรปซ้ำแล้วซ้ำเล่าด้วยการคว่ำบาตรเนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการท่อส่งก๊าซ Nord Stream ๒ จนทำให้บรรดานักการเมืองเยอรมันประณามเขาว่าเป็น “เจ้าหน้าที่ยึดครอง” และเรียกร้องให้ขับไล่เขาออกไป “วิกฤตยูเครนยังคงเป็นประเด็นสำคัญในนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทรัมป์อยู่ในอำนาจ” นักวิเคราะห์การเมือง Massimiliano Bonne กล่าวกับ Sputnik โดยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแต่งตั้ง Grenell ที่อาจเกิดขึ้น “ในช่วงบริหารชุดก่อน, ทรัมป์มีทัศนคติที่คลุมเครือต่อรัสเซีย แม้จะมีความตึงเครียดในยุโรปตะวันออกก็ตาม, รัฐบาลชุดใหม่นี้อาจพบว่าตัวเองต้องรับมือกับความขัดแย้งที่ยืดเยื้อระหว่างเคียฟและมอสโกว์, ซึ่งต้องรักษาสมดุลระหว่างการสนับสนุนยูเครนและหลีกเลี่ยงการยกระดับปัญหาโดยตรงกับรัสเซีย” บอนเน่กล่าว . WHO IS POTENTIAL TRUMP SEC. STATE PICK RICHARD GRENELL? Ex-director of national intelligence and ambassador to Germany Richard Grenell has reportedly made the shortlist of potential candidates for the job of secretary of state – a post entailing responsibility for advising the president on foreign policy and carrying out his decisions. Grenell’s public statements and actions provide clues about the kind of foreign policy guidance he might give Donald Trump: 🔸 The candidate is thought to share Trump’s desire to end the conflict in Ukraine. In July, he spitballed so-called “autonomous regions” in the conflict area, and said Kiev shouldn’t expect to join NATO anytime soon. 🔸 Grenell reportedly sat in on Trump’s meeting with Zelensky in September. 🔸 “[Trump] has shown he knows how to bring both sides to the table. He’s done it consistently. Arabs and Israelis, Russians and Ukrainians will be next,” Grenell said in a FP piece published this week on “Trump’s foreign policy plan.” 🔸 Ukrainian media fear Grenell’s appointment would “prioritize Trump’s desire to end the war quickly, even if it means making significant concessions for Ukraine.” 🔸 These positions don’t make Grenell a softy on Russia. In 2019, while serving as ambassador to Germany, Grenell repeatedly threatened European companies with sanctions over their involvement in the Nord Stream 2 gas pipeline project, prompting German politicians to brand him an “occupation officer” and to demand his expulsion. “The Ukraine crisis remains a crucial issue in US foreign policy, especially with Trump in power,” political analyst Massimiliano Bonne told Sputnik, commenting on Grenell’s potential appointment. “During his previous administration, Trump had adopted an ambivalent attitude towards Russia, despite the tensions in Eastern Europe. The new administration could find itself dealing with a protracted conflict between Kiev and Moscow, striking a difficult balance between supporting Ukraine and avoiding a direct escalation with Russia,” Bonne said. . 3:00 AM · Nov 9, 2024 · 3,855 Views https://x.com/SputnikInt/status/1854977191844385066
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 356 มุมมอง 0 รีวิว
  • โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย
    “กฤษฎีกากัมพูชา 1972”
    รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย !
    ________
    .
    ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด…
    .
    กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ
    .
    และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ !
    .
    “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972”
    .
    วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972
    .
    จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี
    .
    สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น
    .
    วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย
    .
    (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958
    .
    (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ…
    .
    (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง…
    .
    (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000
    .
    กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง
    .
    โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P”
    .
    โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้
    .
    จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง
    .
    จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย
    .
    มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง
    .
    เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้
    .
    แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร
    .
    การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต
    .
    ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล
    .
    ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น…
    .
    คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง !
    .
    ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !!
    .
    แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ?
    .
    แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !!
    .
    ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้
    .
    ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี
    .
    ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง
    .
    แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ
    .
    เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ?
    .
    เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก !
    .
    ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!!
    .
    ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส
    .
    แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้
    .
    “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“
    .
    แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย
    .
    โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง
    .
    หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73
    .
    การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง
    .
    ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ
    .
    การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่
    .
    มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย
    .
    พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้
    .
    .
    คำนูณ สิทธิสมาน
    4 พฤศจิกายน 2567

    ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    โฉมหน้าเจ้าตัวร้าย “กฤษฎีกากัมพูชา 1972” รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย ! ________ . ใครที่บอกว่ากัมพูชาไม่เคย ”พูด“ อ้างกรรมสิทธิเหนือเกาะกูด และบรรดาคนไทยที่นำเรื่องนี้มาเป็นประเด็นคือพวกคลั่งชาติ ลองพิจารณาอ่านเรื่องนี้สักนิด… . กัมพูชาอาจจะไม่เคย ”พูด“ อย่างเป็นทางการในนามรัฐบาล ไม่ว่าในยุคไหนระบอบอะไร แต่กัมพูชาลงมือ “ทำ” เลยอย่างไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยเมื่อ 52 ปีก่อนในช่วงสั้น ๆ ของรัฐบาลระบอบสาธารณรัฐ . และ “ผลแห่งการกระทำ” นั้นยังคงอยู่ ! . “กฤษฎีกาที่ 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972” . วันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 . จอมพลลอนนอลลงนามในฐานะประธานาธิบดีสาธารณรัฐกัมพูชา หลังรัฐประหารโค่นล้มระบอบกษัตริย์ 2 ปี และก่อนพนมเปญแตกพ่ายแพ้ต่อคอมมิวนิสต์เขมรแดง 3 ปี . สารัตถะสำคัญอยู่ในมาตราแรก (Article Premier) ผมสรุปมาจากที่ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์เขียนไว้ในบทความของท่านเมื่อปี 2554 รวมทั้งการเสวนาที่สยามสมาคมในปีเดียวกันนั้น . วรรคแรกเป็นการอ้างฐานทางกฎหมาย . (1) อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วยไหล่ทวีปลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 . (2) สนธิสัญญาสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 และ… . (3) บันทึกการปักปันเขตแดนสยามฝรั่งเศสลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1908 รวมทั้ง… . (4) แผนที่เดินเรือของฝรั่งเศส 1972 มาตราส่วน 1:1,096,000 . กฤษฎีกา 1972 ระบุพิกัดของเขตไหล่ทวีปตามจุดอ้างอิงที่เกี่ยวกับ “เกาะกูด” รวมทั้ง “ทะเลอาณาเขต(ของไทย)“ โดยตรง . โดยในวรรคสอง (ย่อหน้าล่างสุดของกฤษฎีกาหน้าแรก) กล่าวว่าได้มีการปักปันเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับฝรั่งเศสแล้ว โดยทางทิศเหนือ ใช้เส้นตรงเชื่อมจุดชายแดนแผ่นดินที่จุด “A” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นที่ตั้งหลักเขตที่ 73) มายังจุดสูงสุดบนเกาะกูดที่เรียกว่าจุด “S” (ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอ้างอิงจากหนังสือแนบท้ายสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ข้อ 1) และลากต่อออกทะเลไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่เรียกว่าจุด “P” . โดยในตารางท้ายมาตราแรก (อยู่ตอนต้นของกฤษฎีกาหน้า 2) ได้กำหนดรายละเอียดของจุด “A“ และ “P” ไว้ . จุด ”A” คือจุดใต้สุดของการแบ่งเขตแดนทางบกตามสนธิสัญญาค.ศ. 1907 ก็คือหลักเขตที่ 73 นั่นเอง . จุด “P” กึ่งกลางอ่าวไทยนั้น กฤษฎีการะบุว่าเป็นจุดมัธยะ (หรือกึ่งกลาง) ระหว่างไหล่ทวีปของกัมพูชากับไทย . มาตราแรกโดยเฉพาะวรรคสองนี่แหละ “เท็จ” โดยสิ้นเชิง . เพราะไม่เคยมีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับอินโดจีนของฝรั่งเศสกันมาก่อน โดยเฉพาะในช่วงค.ศ. 1907 หรือ 1908 ไม่เคยมีสนธิสัญญาเกี่ยวกับการนี้ ประวัติศาสตร์ฉบับไหนก็ไม่เคยระบุ กฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎเกณฑ์เกี่ยวกับอาณาเขตทางทะเลที่นานาชาติยึดถือกันเมื่อ 127 ปีก่อนก็ต่างกับปัจจุบัน ยุคนั้นยังไม่มีสิ่งที่นานาชาติกำหนดอาณาเขตทางทะเลขึ้นมาให้รัฐชายฝั่งมีสิทธิอธิปไตยเหนือแล้วเรียกว่า “ไหล่ทวีป” เสียด้วยซ้ำ ไม่มีเขตต่อเนื่อง ไม่มีเขตเศรษฐกิจจำเพาะ มีแค่ทะเลอาณาเขตระยะ 3 ไมล์ทะเลจากชายฝั่ง พ้นออกมาเป็นเขตทะเลหลวงที่เป็นเขตทะเลเสรีไม่มีประเทศใดมีสิทธิถือครองเป็นเจ้าของได้ . แต่สมมติแม้จะยึดกฎเกณฑ์ในยุคสมัยค.ศ. 1907 หากจะปักปันเขตแดนทางทะเลกัน การขีดเส้นแนว “A-S-P” เป็นอาณาเขตทางทะเลของอินโดจีนฝรั่งเศสก็ไม่ถูกและไม่มีกฎเกณฑ์ใดรองรับอยู่ดี เพราะระยะทางจากชายฝั่งถึงเกาะกูดประมาณ 19 ไมล์ทะเล เกิน 3 ไมล์ทะเลตั้งเยอะ อินโดจีนฝรั่งเศสจะไปถือสิทธิครอบครองเขตทะเลหลวงได้อย่างไร . การจงใจระบุพิกัดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาเมื่อค.ศ. 1972 เช่นนี้คือการกระทำที่ละเมิดอธิปไตยไทยเหนือเกาะกูด ทั้งตัวเกาะ และทะเลอาณาเขต . ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ กล่าวไว้ในงานเขียนของท่านว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการแบ่งเขตไหล่ทวีปโดยเส้นผ่าเกาะกูดซึ่งเป็นดินแดนทางบก เพราะไหล่ทวีปหมายถึงพื้นดินใต้ทะเลและใต้พื้นดินใต้ทะเล . ดังนั้น โอกาสที่แนว “A-S-P” จะถูกต้องมีอยู่เงื่อนไขเดียวเท่านั้น… . คือตัวเกาะกูดต้องเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่ง ! . ขอย้ำอีกครั้งว่า แนว “A-S-P” อันเป็นเส้นเขตไหล่ทวีปด้านเหนือของกัมพูชาตามกฤษฎีกา 1972 จะถูกต้องก็ต่อเมื่อตัวเกาะกูดเป็นของกัมพูชาครึ่งหนึ่งเท่านั้น !! . แล้วประเทศไทยผู้ถูกรุกล้ำอธิปไตยจะ “ยอมรับ” ได้อย่างไร ? . แม้จะไม่ใช่การยอมรับใน “ความถูกต้อง” แค่ยอมรับ “การมีอยู่”, “การคงอยู่” เพื่อเป็นเพียง “กรอบ” ในการ “เจรจาเรื่องอื่น” ก็เถอะ !! . ตรงนี้จำเป็นต้องมีการพูดถึงแผนที่หรือแผนผัง 2 (+1) ฉบับที่นำมาลงเป็นภาพประกอบไว้ . ฉบับที่ 1 คือแผนที่เดินเรือฝรั่งเศสที่ใช้แนบท้ายกฤษฎีกา 1972 ไม่ได้มีการเขียนลากเส้นบนแผนที่พาดผ่านตัวเกาะกูดโดยตรง หากแต่ลากเป็นเส้นตรงออกมาจากชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดสุดเขตแดนทางบกของไทยกับกัมพูชามาหยุดที่ตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันออก แล้วลากเส้นตรงใหม่จากตัวเกาะกูดด้านทิศตะวันตกตรงไปกลางอ่าวไทย แผนที่ทำนองนี้โดยทั่วไปเป็นแผนที่ใช้สำหรับกิจการในกองทัพเรือรวมถึงการเดินเรือไม่ใช่แผนที่แสดงเขตแดนใด ๆ ทั้งสิ้น เส้นตรงที่ลากผ่านเกาะกูดไปยังกลางอ่าวไทยในแผนที่นี้ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นเส้นอะไร แต่กระนั้นตรงชื่อเกาะกูด (Koh Kut) ก็ยังมีวงเล็บต่อท้ายว่า “(Siam)” อย่างที่พอเห็นได้ จึงแสดงให้เห็นว่าในปีค.ศ. 1907 จนกระทั่งถึงวันคืนเอกราชให้ 3 ประเทศอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่ได้มีความพยายาม “เคลม” กรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดแต่ประการใด เพราะในสนธิสัญญา 1907 ข้อ 2 อันเป็นสัญญาหลัก ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าเขายกให้เรา แลกกับ 3 มณฑลใหญ่ของกัมพูชาดังที่ทราบกันดี . ฉบับที่ 2 เป็นแผนที่ที่กระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นแจกแก่ผู้สื่อข่าวเพื่อชี้แจงกฤษฎีกา 1972 ให้ชัดเจนขึ้น คราวนี้นอกจากตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อขับเน้นเฉพาะเส้นที่เสกสรรค์ปั้นแต่งว่าเป็นเขตไหล่ทวีปของตนแล้ว ยังเขียนเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรง . แผนที่ฉบับหลังนี้เข้าใจว่าเมื่อกระทรวงการต่างประเทศไทยได้รับ ก็นำมาทำใหม่เพื่อประกอบการศึกษาภายใน มีภาษาไทยกำกับ ยังคงแสดงเส้นพาดผ่านผ่ากลางแบ่งครึ่งเกาะกูดโดยตรงตามเจตนาของต้นฉบับที่ฝ่ายกันพูชาจัดทำ . เช่นนี้แล้ว ใครที่ออกตัวรับรองว่ากัมพูชาไม่เคย “พูด” ไม่เคยอ้างสิทธิเหนือเกาะกูดน่ะจะว่าอย่างไร ? . เพราะการที่กัมพูชาลงมือ “ทำ” โดยกฤษฎีกา 1972 ตามที่เล่ามานี้มันยิ่งกว่า “พูด” เสียอีก ! . ไม่เคยได้ยินภาษิตที่ว่า “การกระทำดังกว่าคำพูด” หรือ ?!! . ณ ปีค.ศ. 1907 มีแต่การปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศส . แต่แน่ละ มีการกล่าวถึงเกาะกูดไว้ในหนังสือติดท้ายสนธิสัญญา ค.ศ. 1907 ข้อ 1 จริง แต่ก็เพียงเพื่อใช้เป็นจุดเล็งไปยังจุดใดจุดหนึ่งบนแผ่นดินชายหาดที่จะกำหนดให้ป็นหลักเขตที่ 73 เพราะบนแผ่นดินชายหาดบริเวณนั้นไม่มีภูมิประเทศใดที่ยั่งยืนพอให้เป็นที่สังเกตได้ . “เขตแดนในระหว่างกรุงสยามกับอินโดจีนฝรั่งเศสนั้น ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามกับยอดเขาสูงที่สุดของเกาะกูดเป็นหลักแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปทางตะวันออกเฉียงเหนือถึงสันเขาพนมกระวาน….“ . แค่ข้อความที่ระบุว่า “ตั้งแต่ชายทะเล…” วิญญูชนย่อมเข้าใจได้ว่าหมายถึงแผ่นดิน-ไม่ใช่ทะเล แต่กัมพูชาในยุคจอมพลลอนนอลในปีค.ศ. 1972 ไปตีขลุมว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลแล้วในอดีต แล้วก็ตีเส้นตามอำเภอใจ เพื่อตีกินพื้นที่ทรัพยากรในอ่าวไทย . โดยในอีกทางหนึ่งก็ไปหยิบเอา ”เส้นประ“ (- - - - - - -) ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายหาดจังหวัดตราดในแผนที่ประกอบหนังสือติดท้ายสนธิสัญญาค.ศ. 1907 มาเป็นประเด็นอธิบายการแถระดับโลกของตัวเอง . หากดูภาพสุดท้ายจะพบมีเส้น ++++++ อันเป็นสัญลักษณ์สากลของเส้นแบ่งเขตแดน (boundary line) ตลอดแนวเขตแดนทางบกไทยกัมพูชา ขณะที่เส้นประ (dotted line) - - - - - - มีอยู่เพียงสั้น ๆ ระหว่างเกาะกูดกับแผ่นดินชายทะเลจังหวัดตราดเท่านั้น ซึ่งเมื่อดูในบริบทของสนธิสัญญาสยามฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 วิญญูชนก็ย่อมเข้าใจได้ไม่ยากอีกเช่นกันว่าเป็นการแสดงจุดเล็งไปยังแผ่นดินเพื่อหาจุดที่ตั้งหลักเขตที่ 73 . การแถดังกล่าวกลายเป็นกรณีศึกษาทางวิชาการกันพอสมควรหลังปีค.ศ. 1972 และก็มีการยืนยันในข้อเท็จจริงแล้วอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากบุคคลระดับชนชั้นนำของกัมพูชาเอง . ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่ากฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชานี้ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน ในฐานะที่เป็นประกาศของประมุขแห่งรัฐ . การที่แผนผังแนบท้าย MOU 2544 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือเส้นแนว “A-S-P” กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านบนของกัมพูชาไม่ได้เขียนแบบลากพาดผ่าน หรือเขียนแบบหยุดเว้นตัวเกาะ แต่เขียนประชิดติดตัวเกาะเว้าเป็นรูปตัว ”U” ทางทิศใต้แล้วก็ตาม นั่นหาเป็นผลแปรเปลี่ยนใด ๆ ไม่ เพราะด้านหนึ่งตัวกฤษฎีกา 1972 ยังคงอยู่ อีกด้านหนึ่งแนวเส้น “A-S-P” ยังคงอยู่ การละเมิดอธิปไตยเหนือตัวเกาะกูดและทะเลอาณาเขตของไทยยังคงอยู่ . มีหนำซ้ำเนื้อหาใน MOU 2544 ข้อ 5 ก็ระบุไว้ว่าการตกลงใด ๆ หากจะมีขึ้นไม่กระทบกระเทือนการอ้างสิทธิของแต่ละฝ่าย . พระอัจฉริยภาพและพระมหากรุณาธิคุณต่อคนไทยจังหวัดจันทบุรีและตราดในองค์พระปิยมหาราชเจ้าช่วงวิกฤตกับฝรั่งเศสระหว่าง ร.ศ. 112 - 125 ทำให้ประเทศไทย ณ วันนี้มีฝั่งทะเลตะวันออกด้านอ่าวไทยยาวเหยียดจนแทบจะโอบล้อมแหล่งทรัพยากรไว้ได้ทั้งหมด - คนไทยต้องรักษาไว้ . ประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ของล้นเกล้าฯในหลวงรัชกาลที่ 9 สืบทอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระอัยกา - คนไทยต้องรักษาไว้ . . คำนูณ สิทธิสมาน 4 พฤศจิกายน 2567 ที่มา https://www.facebook.com/share/p/15CSsZXGkk/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    Sad
    5
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 929 มุมมอง 0 รีวิว
  • สหรัฐอเมริกาได้เปิดการทดสอบรหัสชื่อ Project Fishbowl ซึ่งเป็นการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในระดับสูง การทดสอบที่น่าสนใจที่สุดในโปรเจ็กต์นี้คือ Starfish Prime เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 1.4 เมกะตัน ถูกจุดชนวนเหนือพื้นผิวโลกประมาณ 250 ไมล์

    สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการแผ่รังสีปริมาณมหาศาลที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศของโลกก็คือผลกระทบของการระเบิดต่อสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าในพื้นที่ขนาดใหญ่ใต้การระเบิด โดยพื้นฐานแล้ว อิเล็กตรอนที่มีประจุสูงและเคลื่อนที่เร็วจะสร้างสนามแม่เหล็กขนาดเล็กและทรงพลังอย่างเหลือเชื่อ เรียกอีกอย่างว่า EMP

    กรณีของ Starfish Prime ทำให้ไฟฟ้าดับในฮาวายหลายร้อยไมล์ ไฟถนนดับระบบเรดาร์และระบบนำทางหยุดชะงัก และปิดระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์โดยสมบูรณ์ มันสามารถทำลายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เลย

    การทดสอบ Starfish Prime สร้างแถบรังสีขึ้น ทำให้ดาวเทียมหกดวงขึ้นไปล้มเหลว เมื่อรังสีทำให้แผงโซลาร์เซลล์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย รวมถึงดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ดวงแรกเทล สตาร์ และดาวเทียมดวงแรกของสหราชอาณาจักร , เอเรียล 1

    การยิงไปที่อวกาศ เพื่อให้เกิด EMP จึงมีความเป็นไปได้สูง เพราะยากต่อการสกัดจากระบบป้องกัน และเครื่องบินรบ แต่สร้างความเสียหายต่อระบบสื่อสาร พลังงานในบริเวณกว้าง รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร ที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกอีกด้วย

    วันนี้ผมมานำเสนอวิธีป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกของคุณจาก EMP ด้วย Faraday bag เพื่อจำกัด ป้องกัน หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น คล้ายกับการทำประกันเอาไว้ก่อน ลองนึกตอนสงครามโลกครั้งที่2 ที่ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่าน ยังถูก Bombard เลย กันไว้ก่อนตามงบประมาณของแต่ละคน

    ถุง Faraday มีประสิทธิภาพในการปกป้องโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป อุปกรณ์ GPS และอุปกรณ์ละเอียดอ่อนอื่นๆ จากสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์และเหตุการณ์ EMP หากคุณให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว ถุงฟาราเดย์แบบพกพาเหล่านี้มีจะบล็อกสัญญาณวิทยุในรูปแบบต่างๆ รวมถึงสัญญาณเซลล์ สัญญาณไร้สาย และสัญญาณ GPS ได้อีกด้วย เลือกใช้ถุงที่ได้มาตราฐานนะครับ

    #เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สังคม
    #ตัวแทนพลังบุญ
    #ที่ปรึกษาประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
    #ประกันชีวิตควบการลงทุน
    #ที่ปรึกษาการลงทุน
    #ประสบการณ์ด้านการประกันกว่า20ปี
    #ThaiTimes 😃
    สหรัฐอเมริกาได้เปิดการทดสอบรหัสชื่อ Project Fishbowl ซึ่งเป็นการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในระดับสูง การทดสอบที่น่าสนใจที่สุดในโปรเจ็กต์นี้คือ Starfish Prime เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 1.4 เมกะตัน ถูกจุดชนวนเหนือพื้นผิวโลกประมาณ 250 ไมล์ สิ่งที่น่ากังวลมากกว่าการแผ่รังสีปริมาณมหาศาลที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศของโลกก็คือผลกระทบของการระเบิดต่อสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าในพื้นที่ขนาดใหญ่ใต้การระเบิด โดยพื้นฐานแล้ว อิเล็กตรอนที่มีประจุสูงและเคลื่อนที่เร็วจะสร้างสนามแม่เหล็กขนาดเล็กและทรงพลังอย่างเหลือเชื่อ เรียกอีกอย่างว่า EMP กรณีของ Starfish Prime ทำให้ไฟฟ้าดับในฮาวายหลายร้อยไมล์ ไฟถนนดับระบบเรดาร์และระบบนำทางหยุดชะงัก และปิดระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์โดยสมบูรณ์ มันสามารถทำลายโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ เลย การทดสอบ Starfish Prime สร้างแถบรังสีขึ้น ทำให้ดาวเทียมหกดวงขึ้นไปล้มเหลว เมื่อรังสีทำให้แผงโซลาร์เซลล์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย รวมถึงดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ดวงแรกเทล สตาร์ และดาวเทียมดวงแรกของสหราชอาณาจักร , เอเรียล 1 การยิงไปที่อวกาศ เพื่อให้เกิด EMP จึงมีความเป็นไปได้สูง เพราะยากต่อการสกัดจากระบบป้องกัน และเครื่องบินรบ แต่สร้างความเสียหายต่อระบบสื่อสาร พลังงานในบริเวณกว้าง รวมถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร ที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกอีกด้วย วันนี้ผมมานำเสนอวิธีป้องกันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกของคุณจาก EMP ด้วย Faraday bag เพื่อจำกัด ป้องกัน หรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น คล้ายกับการทำประกันเอาไว้ก่อน ลองนึกตอนสงครามโลกครั้งที่2 ที่ญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นทางผ่าน ยังถูก Bombard เลย กันไว้ก่อนตามงบประมาณของแต่ละคน ถุง Faraday มีประสิทธิภาพในการปกป้องโทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป อุปกรณ์ GPS และอุปกรณ์ละเอียดอ่อนอื่นๆ จากสัญญาณที่ไม่พึงประสงค์และเหตุการณ์ EMP หากคุณให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว ถุงฟาราเดย์แบบพกพาเหล่านี้มีจะบล็อกสัญญาณวิทยุในรูปแบบต่างๆ รวมถึงสัญญาณเซลล์ สัญญาณไร้สาย และสัญญาณ GPS ได้อีกด้วย เลือกใช้ถุงที่ได้มาตราฐานนะครับ #เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สู่สังคม #ตัวแทนพลังบุญ #ที่ปรึกษาประกันชีวิตและประกันวินาศภัย #ประกันชีวิตควบการลงทุน #ที่ปรึกษาการลงทุน #ประสบการณ์ด้านการประกันกว่า20ปี #ThaiTimes 😃
    Like
    Love
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 568 มุมมอง 0 รีวิว
  • เคยมีคำกล่าวว่าแมวมีเก้าชีวิตซึ่งเป็นความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ ที่ในความเป็นจริงก็ตายแล้วตายเลยไม่ต่างจากสัตว์อื่นหรือมนุษย์ โตขึ้นมาสักหน่อยประมาณช่วงมัธยมต้น ช่างประปานามว่ามาริโอ้ทำให้ผมทึ่ง เพราะในอาณาจักรเห็ดแล้ว เขามีชีวิตได้สูงสุดถึง 99 ครั้ง

    โอ้..คุณพระ!

    #TomorrowandTomorrowandTomorrow
    นี่คือหนังสือที่เปิดเผยวงการสร้างเกมวิดีโอได้เจาะลึกและน่าสนใจมากเล่มหนึ่งที่มีอยู่ไม่มากนักในตลาด ที่สำคัญมีอะไรมากไปกว่าแค่เรื่องเด็กสร้างเกม

    สนพ.แซลมอน
    แกเบรียล เซวิน เขียน
    สุวิชชา จันทร แปล
    พิมพ์เมื่อ กรกฎาคม 2566
    หนา 400 หน้า 495 บาท

    หนังสือเล่มใหญ่มากแถมยังหนา ใหญ่กว่าขนาดมาตรฐานพ็อกเก็ตบุ๊กทั่วไปพอสมควร เป็นอุปสรรคในการถืออ่านพอสมควร ด้วยความหนักบวกเทอะทะ จึงไม่เหมาะพกพาอ่านนอกสถานที่เท่าใดนัก แต่นี่ไม่ทำให้ใจที่อยากรู้ว่าเนื้อหาข้างในนั้นมีอะไรอยู่บ้างลดน้อยลง

    เปิดประตูสู่โลกในจินตนาการ

    ด้วยเหตุใดก็ตามที่บันดาลให้เด็กหญิงเซดีน กรีน เชื้อสายอเมริกันยิว ในวัยสิบกว่าปีที่มาเยี่ยมพี่สาวอายุห่างจากเธอ 2 ปีกับแม่ แล้วทำให้พี่สาวแหกปากลั่น จนแม่ต้องไล่ให้เซดีออกไปนอกห้องสักพัก จนเธอเดินเปะปะมาเจอกับ แซม เมเซอ ที่เป็นเด็กชายอเมริกันเชื้อสายเกาหลีหน้าตาแปลก และเท้ามีปัญหา ซึ่งกำลังจดจ่อกับการบังคับมาริโอ้ เกมจากเครื่องเล่นนินเทนโดในห้องสันทนาการ ถือได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของสายใยพิเศษพิสดาร ที่จะผูกโยงพวกเขาเข้าไว้ด้วยกันไปอีกนานหลายสิบปีนับจากนี้

    💻

    แม้จะไม่เคยมีใครสามารถทำให้แซมอ้าปากพูดได้มาก่อน นับตั้งแต่เขาอยู่ใน รพ.มาเป็นระยะเวลากว่าหกสัปดาห์ แต่เซดี คือบุคคลอันน่าเหลือเชื่อ ที่ทั้งหมอ และพยาบาลต่างแปลกใจ เธอใช้เวลาไม่นานนับแต่เดินไปเห็นเขา แล้วยืนชมแซมเล่นตัวมาริโอ้ด้วยเทคนิกชั้นเซียน จนอีกไม่กี่อึดใจถัดมา แซมก็เอ่ยปากคุยกับเธอเกี่ยวกับเกมที่เขากำลังเล่น จากนั้นทั้งสองก็สนทนากันอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ราวกับรู้จักกันดีมาเป็นเวลานานทั้งที่เพิ่งจะพบกันในวันนั้นเป็นครั้งแรก

    💻

    เหตุนี้เอง หมอและพยาบาลจึงอยากให้แม่ของเซดี ยอมให้เธอมาที่รพ.บ่อย ๆ และเป็นเพื่อนคุยกับแซม เพื่อหวังว่าจะช่วยให้เขาแจ่มใสร่าเริงขึ้น หลังประสบเหตุการณ์ที่ยากลำบาก ทำให้เท้าของเขามีปัญหาไม่ธรรมดา ซึ่งเซดีเองก็ยินดี เธอและแซมเข้ากันดีเป็นปี่เป็นขลุ่ยในเรื่องของวิดีโอเกม จนกระทั่งเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งคู่รู้จักกันได้ไม่กี่เดือน และไปกระทบกระเทือนใจของแซมอย่างรุนแรงจนเขาผิดหวังและไล่เธอไม่ให้มาพบเจอกันอีกต่อไป

    💻

    เวลาผ่านไปหลายปี เซดีเรียนต่อที่ mit ทางด้านสาขาการออกแบบเกม ส่วนแซมเข้าฮาร์วาร์ดได้ เขาถนัดด้านคณิตศาสตร์ เท้าเจ้ากรรมยังคงแย่ไม่แพ้สมัยเด็ก แซมได้รูมเมตเป็นลูกครึ่งเชื้อสายอเมริกันญี่ปุ่นชื่อว่า มาร์กซ์ วาตานาเบะ ผู้มีจิตใจดีและเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือแนะนำเขาในหลายเรื่อง

    วันหนึ่ง แซม ได้พบกับเซดี ในระหว่างทางที่กำลังจะขึ้นรถไฟใต้ดิน เขาอดใจไม่ไหวร้องเรียกเธอ แล้วได้คุยกันสั้น ๆ ที่ทำให้หวนนึกถึงอดีต เธอฝากแผ่นเกมสำหรับเล่นกับเครื่องพีซีให้เขาไว้ บอกว่าเป็นเกมที่เธอสร้างเอง เล่นจบแล้วรู้สึกอย่างไรช่วยติดต่อบอกด้วยตามที่อยู่อีเมล จากนั้นต่างแยกย้าย

    💻

    ระหว่างนั้นเกิดเรื่องราวขึ้นมากมายกับเซดี ที่ทำให้เธอสิ้นหวังและหมดพลังในชีวิต แต่เป็นแซมที่พยายามหาทางติดต่อกลับ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากเธอเลย วันหนึ่งเขาจึงตัดสินใจเดินด้วยเท้าสภาพเน่า ๆ เสี่ยงไปยังที่พักของเธอ เมื่อได้พบกันเซดีเหมือนผีตายซากที่รอเวลาแห้งเหี่ยว แซมมาหาเธอทุกวันจนในที่สุด สาวน้อยคนเก่ากลับฟื้นคืนสติเป็นผู้เป็นคน จนยอมรับข้อเสนอมาร่วมกันสร้างเกมกับเขาในช่วงปิดภาคเรียนไม่กี่เดือน เพื่อต้องการสานฝันให้เป็นจริง ซึ่งต่อมาทั้งสองได้มาร์กซ์มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ด้วย

    💻

    แล้วตำนานแห่งสามสหายที่ให้กำเนิดโคตรเกมที่ยิ่งใหญ่และตีตลาดจนเป็นที่นิยมในวงกว้าง ก็ถือกำเนิดขึ้น นำพาผู้อ่านท่องสู่จักรวาลของผู้สร้างอันบรรเจิดเพริศแพร้ว จนมีหลายบริษัทเข้าแถวอยากทำสัญญาด้วย ต่อมาโชคชะตาเอื้ออำนวย ให้ทั้งสามก่อตั้งบริษัทผลิตเกมเป็นของตน จนสร้างสรรค์ผลงานน่าจดจำป้อนสู่ตลาด มีทั้งที่ประสบความสำเร็จงดงาม และบางเกมก็โดนหามลงจากเวที ตลอดจนประสบพบเจออุปสรรคหลากหลายที่ล้วนแต่รุนแรงต่อเนื่องเป็นระลอกถึงกับเกือบจะล้มหายไปจากวงการ แต่ในที่สุดก็ผ่านมันไปได้

    💻

    เรื่องราวสุดแสนเข้มข้นน่าติดตามค้นหาอีกมากมาย รอคอยให้ผู้อ่านเช่นคุณเสาะแสวงหามาทดสอบ ต่อให้ไม่ใช่คนที่รักชอบในการเล่นวิดีโอเกมมาก่อนเลย ก็สามารถจะทำความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ไม่ยาก ขณะเดียวกันก็ได้รับความบันเทิงควบคู่ไปด้วย

    💽ความน่าทึ่งซึ่งปรากฏชัดหลังอ่านจบ

    (ถ้าใครยังไม่เคยอ่านหนังสือ ต่อจากนี้ไปอาจมีกล่าวถึงเนื้อหาสำคัญบางส่วน โปรดพิจารณา ถ้าไม่กังวลก็ขอเชิญอ่านต่อได้เลยครับ)

    1. ผมทั้งถูกใจและขัดใจในขนาดรูปเล่มที่ทำออกมา คือถืออ่านไม่ถนัดมือ รูปภาพที่ทำปกก็ดูไม่เข้ากับเรื่องเกม ไม่ค่อยดึงดูดให้คนอยากอ่าน ไม่สื่อถึงเรื่องวงการเกม แต่เมื่ออ่านเนื้อหาภายในไปสักพักจึงเข้าใจที่มาของรูปคลื่น อ้อ ..ความเกี่ยวข้องกับเกมอยู่ตรงนี้เองสำคัญด้วยสิ แต่คนที่จะรู้ได้คือต้องอ่านก่อนเท่านั้นนี่คือจุดบอด นอกจากภาพปกก็การจัดทำอาร์ตเวิร์ก ทีแรกไม่ชอบเลย ทำไมถึงตั้งใจให้อักษรถูกวางเรียงเป็นพรืด ออกมาเป็นบล็อกราวกับก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า แถมยังเว้นพื้นที่ว่างด้านริมชิดขอบหนังสือนิดเดียว แต่กลับเว้นช่องว่างด้านหลังแถวอักษรเยอะ กลายเป็นเมื่อเปิดหน้าหนังสือออก จะมีบริเวณที่เว้นว่างซึ่งไม่มีอักษรเลยช่วงกึ่งกลางเล่มเป็นช่องโล่งกว้างใหญ่ มองแล้วแปลก ๆ

    ตัวอักษรที่ถูกเลือกใช้อีก ไม่ใช่แบบอักษรที่นิยม มองแล้วไม่นุ่มนวล ออกจะเป็นอักษรที่ดูแข็งทื่อและกระด้างเมื่อเรียงอยู่ด้วยกันเป็นแถวยาว แต่เมื่อมองไปมองมา พลิกอ่านไปสักระยะก็เกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้น นี่มันเหมือนรูปแบบของตัวพิกเซลเลยนี่นา ความเป็นเหลี่ยม เป็นก้อน เป็นบล็อก หรือนี่คือความตั้งใจที่ได้รับการออกแบบไว้แต่แรกของผู้เขียนและสนพ. เนื่องจากไม่เคยเห็นฉบับภาษาอังกฤษจึงไม่มีข้อเปรียบเทียบ แต่เชื่อว่าฉบับแปลไทยก็คงจะพยายามทำออกมาโดยคงแนวคิดเดิมให้ได้มากสุด เมื่อคิดได้ดังนี้ จากที่ตอนแรกขัดใจกลักลายเป็นนึกชมขึ้นมาแทน ไม่รู้หรอกว่าจะใช่อย่างที่เดาไหม แต่ถ้าใช่ถือว่าทำสำเร็จ เพราะมันเข้ากับเรื่องราวที่กล่าวเกี่ยวกับการสร้างเกมพอดี

    .

    2. ยังคงหงุดหงิดเล็กน้อยกับรูปแบบการเขียนของแกเบรียลที่เหมือนกับเล่ม "หลากเรื่องในชีวิตของชายที่รักหนังสือ" คือคนอ่านต้องมีสมาธิจดจ่ออย่างมากกับเรื่องที่ผู้เขียนเล่า เพราะเขาจะไม่มีการขึ้นบทใหม่ หรือใช้ย่อหน้า หรือเลขแบ่ง หรือเว้นวรรคที่ว่าง เพื่อแบ่งฉากให้รู้ชัดเจนว่านี่คือเรื่องราวของฉากใหม่ เหตุการณ์ใหม่ วันใหม่แล้วนะ เรียกว่าเล่าเรื่องฉากหนึ่งอยู่ดี ๆ ก็ตัดจบไปดื้อ ๆ แล้วบรรทัดถัดไปก็เป็นเรื่องราวใหม่ที่เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่ง แถมไม่มีบรรยายเกริ่น แต่เริ่มด้วยบทสนทนาของตัวละครทันที ดังนั้นบ่อยครั้งที่อ่านอยู่แล้วพอพลิกหน้าต่อไปก็เอ๋อ งงอยู่นานว่าทำไมเรื่องราวมันจึงไม่ต่อเนื่องกัน ตัวละครคุยกันเรื่องหนึ่ง ไฉนกลายเป็นใครไม่รู้มาคุยในอีกเรื่องหนึ่ง กว่าจะทำความเข้าใจว่า อ๋อ..นี่คือตอนใหม่ คนละช่วงเวลาแล้วนะก็เบลอเป็นระยะ เพราะปรากฏลักษณะนี้อยู่บ่อยครั้ง ยิ่งการจัดวางรูปแบบให้แถวอักษรเรียงเท่ากันเป็นตับด้วยแล้ว จึงยิ่งทำให้การอ่านนั้นยากขึ้น แต่เมื่อชินกับสไตล์การเขียนของเขาแล้ว ช่วงหลัง ๆ ก็จะเริ่มอ่านง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าหนังสือของนักเขียนคนนี้ อ่านเร็วไม่ได้ ต้องค่อย ๆ อ่านอย่างจดจ่อแล้วคิดตามไป

    ..

    3. การเล่าเรื่องเป็นมุมมองอย่างพระเจ้าที่มองเห็นความคิด ความในใจของตัวละครทั้งหมด เพียงแต่ผู้เขียนเลือกที่จะเล่าเท่าที่อยากบอกในช่วงแรกแค่นิดหน่อย แล้วค่อย ๆ เผยเรื่องราวความลับของตัวละครหลักทั้งสามออกมาทีละนิดในภายหลัง ชนิดปิดทั้งตัวละครอื่นในเรื่องเองที่ไม่รู้ความจริง รวมถึงปิดคนอ่านด้วย โดยมาเปิดให้รู้ภายหลังเมื่อถึงช่วงที่สำคัญในจังหวะและบรรยากาศ ซึ่งสถานการณ์ขณะนั้นไต่ระดับถึงจุดอิ่มของตัวละครที่ดำเนินอยู่พอดี ทั้งตัวละครบางตัวรวมถึงคนอ่าน จะได้รู้เรื่องราวในอดีตไปพร้อมกัน จึงเกิดแรงกระเพื่อมที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอกในเรื่อง กลายเป็นแรงผลักดันให้นิยายเดินหน้าต่อไปในทิศทางที่ผู้เขียนต้องการ ซึ่งนับว่ามีความชาญฉลาดที่เลือกการทยอยเล่าความจริง ได้เหมาะเจาะกับฉากนั้นอย่างลงตัว

    ...

    4. เชื่อว่าสำหรับหนังสือเล่มนี้ ทิศทางความชอบหรือไม่ชอบหลังอ่านจบแล้วจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่ชอบถึงชอบมาก กับกลุ่มที่ไม่ชอบเลย หลายคนที่ยังไม่เคยอ่านและไม่คิดจะอ่าน เพียงเพราะคิดว่าเนื้อหาอย่างนี้คงเหมาะกับผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม คือคนที่เคยสัมผัสกับการเล่มวิดีโอเกมมาก่อนเท่านั้น คนที่ไม่เคยเล่นคงเข้าถึงได้ยากและน่าจะไม่สนุกแน่เลย ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างที่พวกเขาคิด แน่นอนว่าผมชอบเล่นวิดีโอเกมมาตั้งแต่เด็ก แม้ในปัจจุบันเวลาชีวิตจะไม่อำนวยให้สามารถกลับไปเล่นได้เหมือนในอดีต ทว่าอยากยืนยันสิ่งหนึ่งซึ่งค่อนข้างมั่นใจ ถึงคนที่ไม่เคยเล่นวิดีโอเกมมาก่อน ก็สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้อย่างสนุก และไม่ได้เข้าใจยากจนเกินไปนัก

    ช่วงแรกของการเริ่มต้นอาจจะเป็นด่านที่ต้องใช้เวลาสักหน่อยก็จริง เพราะเรื่องถูกเล่าแบบไม่รีบร้อน อีกทั้งบรรยายรายละเอียดชีวิตของตัวเอกทั้งสองแบบไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นสนใจนัก ทว่าพอผ่านไปสักพักความรู้สึกเฉย ๆ กึ่งเริ่มจะเบื่อแล้วนะ จะค่อย ๆ หายไป แล้วถูกแทนที่ด้วยความอยากรู้เรื่องราวต่อไปของทั้งเซดีนและแซม น่าแปลกเหมือนกัน แต่เหมือนบุคลิกและความสัมพันธ์ของทั้งสองมีแรงดึงดูดประหลาด ที่ทำให้ไม่อาจจะหยุดอ่าน คงคล้ายเมื่อเราได้เริ่มเล่นเกมสักเกมหนึ่งซึ่งทีแรกเกือบจะท้อแท้และบอกตัวเองว่า เกมอะไรไม่รู้ไม่เห็นสนุกเลย แต่ใจหนึ่งก็กระซิบบอกตัวเองว่า เล่นต่ออีกหน่อยน่าอย่าเพิ่งรีบยอมแพ้ และพอตั้งใจให้สมาธิกับการจดจ่อกับฉากตรงหน้าแล้ว กลับกลายเป็นว่าเกมเริ่มสนุกขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เพราะเราเริ่มถูกดึงเข้าไปสู่โลกของมัน และการเล่นก็เข้าฝัก เกิดความคุ้นชิน ไม่ได้ยากหรือน่าเบื่อดังที่คิด

    ....

    5. สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงเกมมาก่อน อาจมีข้อได้เปรียบและสามารถสนุกไปกับเนื้อหาที่ผู้เขียนใส่เข้ามา มากกว่าคนกลุ่มอื่นพอสมควร เหมือนได้พบเจอเพื่อนเก่า เนื่องจากมีการกล่าวถึงชื่อเกมหลายเกมที่เป็นที่นิยมของบรรดาผู้เล่นจากทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่ประมาณช่วงยุคแปดศูนย์ ถึงอย่างนั้นคนที่ไม่เคยแตะโลกของเกมมาก่อน ก็ยังสามารถสนุกไปกับเนื้อหายาวเหยียดได้เช่นกัน หากว่าชื่นชอบในการได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ เพราะหนังสือเล่มนี้นำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการในการสร้างเกมตั้งแต่ขั้นแรกเริ่มหรือพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นตอนทางความคิดการออกแบบตัวละคร ฉาก องค์ประกอบเรื่องราวเนื้อหา จนแล้วเสร็จไปถึงขั้นตอนการผลิตและจัดจำหน่าย แผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การแสดงงาน ให้สัมภาษณ์ เดินสายไปตามที่ต่าง ๆ แบบครบวงจร ซึ่งไม่ได้เขียนออกมาอย่างหนังสือวิชาการ แต่ผ่านการบอกเล่าอย่างมีชั้นเชิงของนิยาย ที่ผูกโยงเข้ากับเรื่องราวความใฝ่ฝันของตัวเอกทั้งสาม ที่อยากจะสร้างเกมที่นักเล่นทุกคนจะเล่นได้อย่างสนุกและรักมัน เป็นโลกที่พวกเขาจะไม่มีวันแพ้ เพราะถ้าตายก็ยังเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ

    .....

    6. ในเล่มนี้มีทั้งประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะ การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่น อย่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อนรัก คนในครอบครัว และจิตวิทยาการใช้ชีวิตและจูงใจคน รวมถึงการสื่อสารระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน นี่ไม่ใช่แค่นิยายเพ้อฝันที่เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มสาวสามคนที่อยากโลดแล่นในวงการนักออกแบบเกมเท่านั้นภายในจำนวนแถวอักษรยาวเหยียดที่เรียงเป็นตับกว่าสี่ร้อยหน้า โลกเบื้องหลังนั้นมีความซับซ้อน และโยงใยยุ่งเหยิงในความสัมพันธ์ของคนต่อคน และคนกับสังคมวงกว้างอย่างลึกล้ำ ยิ่งอ่านก็ยิ่งดำดิ่งลงไปในเรื่องราวดราม่ากว่าจะมาเป็นเกมสักเกมให้คนเล่นเสพสมจนสนุกสนาน ทว่าชีวิตของคนสร้างที่ให้กำเนิดเกมฮิตนั้น เขาและเธอต้องพบเจอและผ่านด่าน อุปสรรคขวากหนามต่าง ๆ มาแล้วกี่ร้อยกี่พันฉาก ปะปนทั้งน้ำตาและเสียงหัวเราะ ความขมขื่นที่ไม่มีใครรับรู้แม้แต่คนที่นึกว่าเป็นเพื่อนซึ่งเหมือนใกล้ชิดสุดกว่าใครอื่นในชีวิต ความว่างเปล่าโหวงเหวงที่บรรจุอยู่ภายในจิตใจ เมื่อถึงที่สุดได้แตกกระจายและขยายตัวออกสู่ภายนอก จนกระทั่งตัวเองไม่สามารถจัดการรับมือกับสิ่งที่เกิดและประเดประดังเข้าหา สิ่งที่หลงเหลือต่อจากนั้นพวกเขาแต่ละคนจะจัดการเส้นทางชีวิตตนอย่างไร นี่คือสิ่งที่ผู้อ่านสามารถนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริง และเก็บสาระที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตน

    7. ผมชอบเนื้อหาในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างแซม กับมาร์กซ์ แซมกับเซดี และมาร์กซ์กับเซดี ที่มีมุมแตกต่างให้เราได้ศึกษา ได้เห็นถึงน้ำใจที่ไม่ธรรมดาที่พวกเขามีให้กัน ในขณะเดียวกันเมื่อมีโจทย์มาทดสอบความเป็นเพื่อนและมิตรภาพของพวกเขา แต่ละคนก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นปุถุชนคนทั่วไป ที่ยังรักตัวรักตนมากเหนือสิ่งอื่นใด จึงในบางคราวก็รับบทบาทร้ายกาจไร้ซึ่งเหตุผลอันสมควรได้เหมือนกัน แม้นเป็นเช่นนี้ แต่สุดท้ายเมื่อกาลเวลาหมุนผ่านยาวนานเพียงพอ คนเราก็จะเติบโตขึ้น เรียนรู้จากความบกพร่องผิดพลาดของตนในอดีต และเข้าใจโลกมากกว่าเก่า จนสามารถจะปลดปล่อยปลงวางปมที่เคยขมวดแน่นในใจ ให้คลี่คลายลงแล้วก้าวข้ามผ่านเกมชีวิตจริง และแข็งแกร่งยิ่งขึ้น สมดังชื่อเรื่อง

    พรุ่งนี้ และ พรุ่งนี้ และ พรุ่งนี้.

    แน่นอนว่านี่เป็นเพียงความเห็นที่นักอ่านท่านอื่นอาจจะไม่ได้เห็นเช่นเดียวกันก็เป็นได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอันใด เพียงหวังใจว่าใครที่มีเล่มนี้อยู่ที่บ้านแต่ยังไม่ได้อ่าน จะเกิดความรู้สึกอยากทำความรู้จักกับ แซม, มาร์กซ์ และเซดี ขึ้นมาบ้าง

    #หนังสือดี
    #หนังสือน่าอ่าน
    #thaitimes
    #วิดีโอเกม
    #นิยายแปล
    #การสร้างเกม
    เคยมีคำกล่าวว่าแมวมีเก้าชีวิตซึ่งเป็นความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ ที่ในความเป็นจริงก็ตายแล้วตายเลยไม่ต่างจากสัตว์อื่นหรือมนุษย์ โตขึ้นมาสักหน่อยประมาณช่วงมัธยมต้น ช่างประปานามว่ามาริโอ้ทำให้ผมทึ่ง เพราะในอาณาจักรเห็ดแล้ว เขามีชีวิตได้สูงสุดถึง 99 ครั้ง โอ้..คุณพระ! #TomorrowandTomorrowandTomorrow นี่คือหนังสือที่เปิดเผยวงการสร้างเกมวิดีโอได้เจาะลึกและน่าสนใจมากเล่มหนึ่งที่มีอยู่ไม่มากนักในตลาด ที่สำคัญมีอะไรมากไปกว่าแค่เรื่องเด็กสร้างเกม สนพ.แซลมอน แกเบรียล เซวิน เขียน สุวิชชา จันทร แปล พิมพ์เมื่อ กรกฎาคม 2566 หนา 400 หน้า 495 บาท หนังสือเล่มใหญ่มากแถมยังหนา ใหญ่กว่าขนาดมาตรฐานพ็อกเก็ตบุ๊กทั่วไปพอสมควร เป็นอุปสรรคในการถืออ่านพอสมควร ด้วยความหนักบวกเทอะทะ จึงไม่เหมาะพกพาอ่านนอกสถานที่เท่าใดนัก แต่นี่ไม่ทำให้ใจที่อยากรู้ว่าเนื้อหาข้างในนั้นมีอะไรอยู่บ้างลดน้อยลง เปิดประตูสู่โลกในจินตนาการ ด้วยเหตุใดก็ตามที่บันดาลให้เด็กหญิงเซดีน กรีน เชื้อสายอเมริกันยิว ในวัยสิบกว่าปีที่มาเยี่ยมพี่สาวอายุห่างจากเธอ 2 ปีกับแม่ แล้วทำให้พี่สาวแหกปากลั่น จนแม่ต้องไล่ให้เซดีออกไปนอกห้องสักพัก จนเธอเดินเปะปะมาเจอกับ แซม เมเซอ ที่เป็นเด็กชายอเมริกันเชื้อสายเกาหลีหน้าตาแปลก และเท้ามีปัญหา ซึ่งกำลังจดจ่อกับการบังคับมาริโอ้ เกมจากเครื่องเล่นนินเทนโดในห้องสันทนาการ ถือได้ว่านี่คือจุดเริ่มต้นของสายใยพิเศษพิสดาร ที่จะผูกโยงพวกเขาเข้าไว้ด้วยกันไปอีกนานหลายสิบปีนับจากนี้ 💻 แม้จะไม่เคยมีใครสามารถทำให้แซมอ้าปากพูดได้มาก่อน นับตั้งแต่เขาอยู่ใน รพ.มาเป็นระยะเวลากว่าหกสัปดาห์ แต่เซดี คือบุคคลอันน่าเหลือเชื่อ ที่ทั้งหมอ และพยาบาลต่างแปลกใจ เธอใช้เวลาไม่นานนับแต่เดินไปเห็นเขา แล้วยืนชมแซมเล่นตัวมาริโอ้ด้วยเทคนิกชั้นเซียน จนอีกไม่กี่อึดใจถัดมา แซมก็เอ่ยปากคุยกับเธอเกี่ยวกับเกมที่เขากำลังเล่น จากนั้นทั้งสองก็สนทนากันอย่างเป็นธรรมชาติที่สุด ราวกับรู้จักกันดีมาเป็นเวลานานทั้งที่เพิ่งจะพบกันในวันนั้นเป็นครั้งแรก 💻 เหตุนี้เอง หมอและพยาบาลจึงอยากให้แม่ของเซดี ยอมให้เธอมาที่รพ.บ่อย ๆ และเป็นเพื่อนคุยกับแซม เพื่อหวังว่าจะช่วยให้เขาแจ่มใสร่าเริงขึ้น หลังประสบเหตุการณ์ที่ยากลำบาก ทำให้เท้าของเขามีปัญหาไม่ธรรมดา ซึ่งเซดีเองก็ยินดี เธอและแซมเข้ากันดีเป็นปี่เป็นขลุ่ยในเรื่องของวิดีโอเกม จนกระทั่งเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ทั้งคู่รู้จักกันได้ไม่กี่เดือน และไปกระทบกระเทือนใจของแซมอย่างรุนแรงจนเขาผิดหวังและไล่เธอไม่ให้มาพบเจอกันอีกต่อไป 💻 เวลาผ่านไปหลายปี เซดีเรียนต่อที่ mit ทางด้านสาขาการออกแบบเกม ส่วนแซมเข้าฮาร์วาร์ดได้ เขาถนัดด้านคณิตศาสตร์ เท้าเจ้ากรรมยังคงแย่ไม่แพ้สมัยเด็ก แซมได้รูมเมตเป็นลูกครึ่งเชื้อสายอเมริกันญี่ปุ่นชื่อว่า มาร์กซ์ วาตานาเบะ ผู้มีจิตใจดีและเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือแนะนำเขาในหลายเรื่อง วันหนึ่ง แซม ได้พบกับเซดี ในระหว่างทางที่กำลังจะขึ้นรถไฟใต้ดิน เขาอดใจไม่ไหวร้องเรียกเธอ แล้วได้คุยกันสั้น ๆ ที่ทำให้หวนนึกถึงอดีต เธอฝากแผ่นเกมสำหรับเล่นกับเครื่องพีซีให้เขาไว้ บอกว่าเป็นเกมที่เธอสร้างเอง เล่นจบแล้วรู้สึกอย่างไรช่วยติดต่อบอกด้วยตามที่อยู่อีเมล จากนั้นต่างแยกย้าย 💻 ระหว่างนั้นเกิดเรื่องราวขึ้นมากมายกับเซดี ที่ทำให้เธอสิ้นหวังและหมดพลังในชีวิต แต่เป็นแซมที่พยายามหาทางติดต่อกลับ แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากเธอเลย วันหนึ่งเขาจึงตัดสินใจเดินด้วยเท้าสภาพเน่า ๆ เสี่ยงไปยังที่พักของเธอ เมื่อได้พบกันเซดีเหมือนผีตายซากที่รอเวลาแห้งเหี่ยว แซมมาหาเธอทุกวันจนในที่สุด สาวน้อยคนเก่ากลับฟื้นคืนสติเป็นผู้เป็นคน จนยอมรับข้อเสนอมาร่วมกันสร้างเกมกับเขาในช่วงปิดภาคเรียนไม่กี่เดือน เพื่อต้องการสานฝันให้เป็นจริง ซึ่งต่อมาทั้งสองได้มาร์กซ์มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้ด้วย 💻 แล้วตำนานแห่งสามสหายที่ให้กำเนิดโคตรเกมที่ยิ่งใหญ่และตีตลาดจนเป็นที่นิยมในวงกว้าง ก็ถือกำเนิดขึ้น นำพาผู้อ่านท่องสู่จักรวาลของผู้สร้างอันบรรเจิดเพริศแพร้ว จนมีหลายบริษัทเข้าแถวอยากทำสัญญาด้วย ต่อมาโชคชะตาเอื้ออำนวย ให้ทั้งสามก่อตั้งบริษัทผลิตเกมเป็นของตน จนสร้างสรรค์ผลงานน่าจดจำป้อนสู่ตลาด มีทั้งที่ประสบความสำเร็จงดงาม และบางเกมก็โดนหามลงจากเวที ตลอดจนประสบพบเจออุปสรรคหลากหลายที่ล้วนแต่รุนแรงต่อเนื่องเป็นระลอกถึงกับเกือบจะล้มหายไปจากวงการ แต่ในที่สุดก็ผ่านมันไปได้ 💻 เรื่องราวสุดแสนเข้มข้นน่าติดตามค้นหาอีกมากมาย รอคอยให้ผู้อ่านเช่นคุณเสาะแสวงหามาทดสอบ ต่อให้ไม่ใช่คนที่รักชอบในการเล่นวิดีโอเกมมาก่อนเลย ก็สามารถจะทำความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้ไม่ยาก ขณะเดียวกันก็ได้รับความบันเทิงควบคู่ไปด้วย 💽ความน่าทึ่งซึ่งปรากฏชัดหลังอ่านจบ (ถ้าใครยังไม่เคยอ่านหนังสือ ต่อจากนี้ไปอาจมีกล่าวถึงเนื้อหาสำคัญบางส่วน โปรดพิจารณา ถ้าไม่กังวลก็ขอเชิญอ่านต่อได้เลยครับ) 1. ผมทั้งถูกใจและขัดใจในขนาดรูปเล่มที่ทำออกมา คือถืออ่านไม่ถนัดมือ รูปภาพที่ทำปกก็ดูไม่เข้ากับเรื่องเกม ไม่ค่อยดึงดูดให้คนอยากอ่าน ไม่สื่อถึงเรื่องวงการเกม แต่เมื่ออ่านเนื้อหาภายในไปสักพักจึงเข้าใจที่มาของรูปคลื่น อ้อ ..ความเกี่ยวข้องกับเกมอยู่ตรงนี้เองสำคัญด้วยสิ แต่คนที่จะรู้ได้คือต้องอ่านก่อนเท่านั้นนี่คือจุดบอด นอกจากภาพปกก็การจัดทำอาร์ตเวิร์ก ทีแรกไม่ชอบเลย ทำไมถึงตั้งใจให้อักษรถูกวางเรียงเป็นพรืด ออกมาเป็นบล็อกราวกับก้อนสี่เหลี่ยมผืนผ้า แถมยังเว้นพื้นที่ว่างด้านริมชิดขอบหนังสือนิดเดียว แต่กลับเว้นช่องว่างด้านหลังแถวอักษรเยอะ กลายเป็นเมื่อเปิดหน้าหนังสือออก จะมีบริเวณที่เว้นว่างซึ่งไม่มีอักษรเลยช่วงกึ่งกลางเล่มเป็นช่องโล่งกว้างใหญ่ มองแล้วแปลก ๆ ตัวอักษรที่ถูกเลือกใช้อีก ไม่ใช่แบบอักษรที่นิยม มองแล้วไม่นุ่มนวล ออกจะเป็นอักษรที่ดูแข็งทื่อและกระด้างเมื่อเรียงอยู่ด้วยกันเป็นแถวยาว แต่เมื่อมองไปมองมา พลิกอ่านไปสักระยะก็เกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้น นี่มันเหมือนรูปแบบของตัวพิกเซลเลยนี่นา ความเป็นเหลี่ยม เป็นก้อน เป็นบล็อก หรือนี่คือความตั้งใจที่ได้รับการออกแบบไว้แต่แรกของผู้เขียนและสนพ. เนื่องจากไม่เคยเห็นฉบับภาษาอังกฤษจึงไม่มีข้อเปรียบเทียบ แต่เชื่อว่าฉบับแปลไทยก็คงจะพยายามทำออกมาโดยคงแนวคิดเดิมให้ได้มากสุด เมื่อคิดได้ดังนี้ จากที่ตอนแรกขัดใจกลักลายเป็นนึกชมขึ้นมาแทน ไม่รู้หรอกว่าจะใช่อย่างที่เดาไหม แต่ถ้าใช่ถือว่าทำสำเร็จ เพราะมันเข้ากับเรื่องราวที่กล่าวเกี่ยวกับการสร้างเกมพอดี . 2. ยังคงหงุดหงิดเล็กน้อยกับรูปแบบการเขียนของแกเบรียลที่เหมือนกับเล่ม "หลากเรื่องในชีวิตของชายที่รักหนังสือ" คือคนอ่านต้องมีสมาธิจดจ่ออย่างมากกับเรื่องที่ผู้เขียนเล่า เพราะเขาจะไม่มีการขึ้นบทใหม่ หรือใช้ย่อหน้า หรือเลขแบ่ง หรือเว้นวรรคที่ว่าง เพื่อแบ่งฉากให้รู้ชัดเจนว่านี่คือเรื่องราวของฉากใหม่ เหตุการณ์ใหม่ วันใหม่แล้วนะ เรียกว่าเล่าเรื่องฉากหนึ่งอยู่ดี ๆ ก็ตัดจบไปดื้อ ๆ แล้วบรรทัดถัดไปก็เป็นเรื่องราวใหม่ที่เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่ง แถมไม่มีบรรยายเกริ่น แต่เริ่มด้วยบทสนทนาของตัวละครทันที ดังนั้นบ่อยครั้งที่อ่านอยู่แล้วพอพลิกหน้าต่อไปก็เอ๋อ งงอยู่นานว่าทำไมเรื่องราวมันจึงไม่ต่อเนื่องกัน ตัวละครคุยกันเรื่องหนึ่ง ไฉนกลายเป็นใครไม่รู้มาคุยในอีกเรื่องหนึ่ง กว่าจะทำความเข้าใจว่า อ๋อ..นี่คือตอนใหม่ คนละช่วงเวลาแล้วนะก็เบลอเป็นระยะ เพราะปรากฏลักษณะนี้อยู่บ่อยครั้ง ยิ่งการจัดวางรูปแบบให้แถวอักษรเรียงเท่ากันเป็นตับด้วยแล้ว จึงยิ่งทำให้การอ่านนั้นยากขึ้น แต่เมื่อชินกับสไตล์การเขียนของเขาแล้ว ช่วงหลัง ๆ ก็จะเริ่มอ่านง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าหนังสือของนักเขียนคนนี้ อ่านเร็วไม่ได้ ต้องค่อย ๆ อ่านอย่างจดจ่อแล้วคิดตามไป .. 3. การเล่าเรื่องเป็นมุมมองอย่างพระเจ้าที่มองเห็นความคิด ความในใจของตัวละครทั้งหมด เพียงแต่ผู้เขียนเลือกที่จะเล่าเท่าที่อยากบอกในช่วงแรกแค่นิดหน่อย แล้วค่อย ๆ เผยเรื่องราวความลับของตัวละครหลักทั้งสามออกมาทีละนิดในภายหลัง ชนิดปิดทั้งตัวละครอื่นในเรื่องเองที่ไม่รู้ความจริง รวมถึงปิดคนอ่านด้วย โดยมาเปิดให้รู้ภายหลังเมื่อถึงช่วงที่สำคัญในจังหวะและบรรยากาศ ซึ่งสถานการณ์ขณะนั้นไต่ระดับถึงจุดอิ่มของตัวละครที่ดำเนินอยู่พอดี ทั้งตัวละครบางตัวรวมถึงคนอ่าน จะได้รู้เรื่องราวในอดีตไปพร้อมกัน จึงเกิดแรงกระเพื่อมที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และพฤติกรรมของตัวเอกในเรื่อง กลายเป็นแรงผลักดันให้นิยายเดินหน้าต่อไปในทิศทางที่ผู้เขียนต้องการ ซึ่งนับว่ามีความชาญฉลาดที่เลือกการทยอยเล่าความจริง ได้เหมาะเจาะกับฉากนั้นอย่างลงตัว ... 4. เชื่อว่าสำหรับหนังสือเล่มนี้ ทิศทางความชอบหรือไม่ชอบหลังอ่านจบแล้วจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มอย่างชัดเจน คือกลุ่มที่ชอบถึงชอบมาก กับกลุ่มที่ไม่ชอบเลย หลายคนที่ยังไม่เคยอ่านและไม่คิดจะอ่าน เพียงเพราะคิดว่าเนื้อหาอย่างนี้คงเหมาะกับผู้อ่านเฉพาะกลุ่ม คือคนที่เคยสัมผัสกับการเล่มวิดีโอเกมมาก่อนเท่านั้น คนที่ไม่เคยเล่นคงเข้าถึงได้ยากและน่าจะไม่สนุกแน่เลย ซึ่งในความเป็นจริงไม่ใช่อย่างที่พวกเขาคิด แน่นอนว่าผมชอบเล่นวิดีโอเกมมาตั้งแต่เด็ก แม้ในปัจจุบันเวลาชีวิตจะไม่อำนวยให้สามารถกลับไปเล่นได้เหมือนในอดีต ทว่าอยากยืนยันสิ่งหนึ่งซึ่งค่อนข้างมั่นใจ ถึงคนที่ไม่เคยเล่นวิดีโอเกมมาก่อน ก็สามารถอ่านหนังสือเล่มนี้ได้อย่างสนุก และไม่ได้เข้าใจยากจนเกินไปนัก ช่วงแรกของการเริ่มต้นอาจจะเป็นด่านที่ต้องใช้เวลาสักหน่อยก็จริง เพราะเรื่องถูกเล่าแบบไม่รีบร้อน อีกทั้งบรรยายรายละเอียดชีวิตของตัวเอกทั้งสองแบบไม่มีอะไรให้ตื่นเต้นสนใจนัก ทว่าพอผ่านไปสักพักความรู้สึกเฉย ๆ กึ่งเริ่มจะเบื่อแล้วนะ จะค่อย ๆ หายไป แล้วถูกแทนที่ด้วยความอยากรู้เรื่องราวต่อไปของทั้งเซดีนและแซม น่าแปลกเหมือนกัน แต่เหมือนบุคลิกและความสัมพันธ์ของทั้งสองมีแรงดึงดูดประหลาด ที่ทำให้ไม่อาจจะหยุดอ่าน คงคล้ายเมื่อเราได้เริ่มเล่นเกมสักเกมหนึ่งซึ่งทีแรกเกือบจะท้อแท้และบอกตัวเองว่า เกมอะไรไม่รู้ไม่เห็นสนุกเลย แต่ใจหนึ่งก็กระซิบบอกตัวเองว่า เล่นต่ออีกหน่อยน่าอย่าเพิ่งรีบยอมแพ้ และพอตั้งใจให้สมาธิกับการจดจ่อกับฉากตรงหน้าแล้ว กลับกลายเป็นว่าเกมเริ่มสนุกขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ เพราะเราเริ่มถูกดึงเข้าไปสู่โลกของมัน และการเล่นก็เข้าฝัก เกิดความคุ้นชิน ไม่ได้ยากหรือน่าเบื่อดังที่คิด .... 5. สำหรับคนที่อยู่ในแวดวงเกมมาก่อน อาจมีข้อได้เปรียบและสามารถสนุกไปกับเนื้อหาที่ผู้เขียนใส่เข้ามา มากกว่าคนกลุ่มอื่นพอสมควร เหมือนได้พบเจอเพื่อนเก่า เนื่องจากมีการกล่าวถึงชื่อเกมหลายเกมที่เป็นที่นิยมของบรรดาผู้เล่นจากทั่วทุกมุมโลก ตั้งแต่ประมาณช่วงยุคแปดศูนย์ ถึงอย่างนั้นคนที่ไม่เคยแตะโลกของเกมมาก่อน ก็ยังสามารถสนุกไปกับเนื้อหายาวเหยียดได้เช่นกัน หากว่าชื่นชอบในการได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ เพราะหนังสือเล่มนี้นำเสนอให้เห็นถึงกระบวนการในการสร้างเกมตั้งแต่ขั้นแรกเริ่มหรือพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นตอนทางความคิดการออกแบบตัวละคร ฉาก องค์ประกอบเรื่องราวเนื้อหา จนแล้วเสร็จไปถึงขั้นตอนการผลิตและจัดจำหน่าย แผนการโฆษณาประชาสัมพันธ์ การแสดงงาน ให้สัมภาษณ์ เดินสายไปตามที่ต่าง ๆ แบบครบวงจร ซึ่งไม่ได้เขียนออกมาอย่างหนังสือวิชาการ แต่ผ่านการบอกเล่าอย่างมีชั้นเชิงของนิยาย ที่ผูกโยงเข้ากับเรื่องราวความใฝ่ฝันของตัวเอกทั้งสาม ที่อยากจะสร้างเกมที่นักเล่นทุกคนจะเล่นได้อย่างสนุกและรักมัน เป็นโลกที่พวกเขาจะไม่มีวันแพ้ เพราะถ้าตายก็ยังเริ่มต้นใหม่ได้เสมอ ..... 6. ในเล่มนี้มีทั้งประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศิลปะ การปรับตัวให้เข้ากับบุคคลอื่น อย่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อนรัก คนในครอบครัว และจิตวิทยาการใช้ชีวิตและจูงใจคน รวมถึงการสื่อสารระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกัน นี่ไม่ใช่แค่นิยายเพ้อฝันที่เล่าเรื่องของเด็กหนุ่มสาวสามคนที่อยากโลดแล่นในวงการนักออกแบบเกมเท่านั้นภายในจำนวนแถวอักษรยาวเหยียดที่เรียงเป็นตับกว่าสี่ร้อยหน้า โลกเบื้องหลังนั้นมีความซับซ้อน และโยงใยยุ่งเหยิงในความสัมพันธ์ของคนต่อคน และคนกับสังคมวงกว้างอย่างลึกล้ำ ยิ่งอ่านก็ยิ่งดำดิ่งลงไปในเรื่องราวดราม่ากว่าจะมาเป็นเกมสักเกมให้คนเล่นเสพสมจนสนุกสนาน ทว่าชีวิตของคนสร้างที่ให้กำเนิดเกมฮิตนั้น เขาและเธอต้องพบเจอและผ่านด่าน อุปสรรคขวากหนามต่าง ๆ มาแล้วกี่ร้อยกี่พันฉาก ปะปนทั้งน้ำตาและเสียงหัวเราะ ความขมขื่นที่ไม่มีใครรับรู้แม้แต่คนที่นึกว่าเป็นเพื่อนซึ่งเหมือนใกล้ชิดสุดกว่าใครอื่นในชีวิต ความว่างเปล่าโหวงเหวงที่บรรจุอยู่ภายในจิตใจ เมื่อถึงที่สุดได้แตกกระจายและขยายตัวออกสู่ภายนอก จนกระทั่งตัวเองไม่สามารถจัดการรับมือกับสิ่งที่เกิดและประเดประดังเข้าหา สิ่งที่หลงเหลือต่อจากนั้นพวกเขาแต่ละคนจะจัดการเส้นทางชีวิตตนอย่างไร นี่คือสิ่งที่ผู้อ่านสามารถนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริง และเก็บสาระที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตน 7. ผมชอบเนื้อหาในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างแซม กับมาร์กซ์ แซมกับเซดี และมาร์กซ์กับเซดี ที่มีมุมแตกต่างให้เราได้ศึกษา ได้เห็นถึงน้ำใจที่ไม่ธรรมดาที่พวกเขามีให้กัน ในขณะเดียวกันเมื่อมีโจทย์มาทดสอบความเป็นเพื่อนและมิตรภาพของพวกเขา แต่ละคนก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นปุถุชนคนทั่วไป ที่ยังรักตัวรักตนมากเหนือสิ่งอื่นใด จึงในบางคราวก็รับบทบาทร้ายกาจไร้ซึ่งเหตุผลอันสมควรได้เหมือนกัน แม้นเป็นเช่นนี้ แต่สุดท้ายเมื่อกาลเวลาหมุนผ่านยาวนานเพียงพอ คนเราก็จะเติบโตขึ้น เรียนรู้จากความบกพร่องผิดพลาดของตนในอดีต และเข้าใจโลกมากกว่าเก่า จนสามารถจะปลดปล่อยปลงวางปมที่เคยขมวดแน่นในใจ ให้คลี่คลายลงแล้วก้าวข้ามผ่านเกมชีวิตจริง และแข็งแกร่งยิ่งขึ้น สมดังชื่อเรื่อง พรุ่งนี้ และ พรุ่งนี้ และ พรุ่งนี้. แน่นอนว่านี่เป็นเพียงความเห็นที่นักอ่านท่านอื่นอาจจะไม่ได้เห็นเช่นเดียวกันก็เป็นได้ ไม่ใช่เรื่องแปลกอันใด เพียงหวังใจว่าใครที่มีเล่มนี้อยู่ที่บ้านแต่ยังไม่ได้อ่าน จะเกิดความรู้สึกอยากทำความรู้จักกับ แซม, มาร์กซ์ และเซดี ขึ้นมาบ้าง #หนังสือดี #หนังสือน่าอ่าน #thaitimes #วิดีโอเกม #นิยายแปล #การสร้างเกม
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 564 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

    น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“

    โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“

    อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย

    การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้

    แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า

    ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“

    ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ

    1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511

    3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515

    และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้

    1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ

    1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา

    1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958

    ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ

    ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ

    การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา

    จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่?

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 พฤศจิกายน 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    ทำไมกระทรวงการต่างประเทศ ถึงบังอาจแถลงข่าวตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ จากเอกสารของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ในประเด็นพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน น่าประหลาดใจตรงที่มีการนำเสนอสไลด์ลำดับที่ 12 ในหัวข้อภาพว่า “พระบรมราชโองการการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516“ โดยทั้งข้อความมีการขีดเส้นว่า “สิทธิอธิปไตย” ในตอนต้นของพระบรมราชโองการ และมีการนำเสนอพระบรมราชโองการย่อหน้าที่ 3 โดยการ “เน้น”เป็นกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงว่า “จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน“ อีกทั้งยังได้มีแถบไฮไลท์สีเหลืองเพื่อเน้นย้ำว่า “เป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน”ด้วย การเขียนข้อความดังกล่าวอาจทำให้สังคมหรือคณะรัฐมนตรี “หลงประเด็น“ไปว่า พระบรมราชโองการประกาศเขตไหล่ทวีปอาจเปิดทางให้ตกลงกันอย่างไรก็ได้ อันเป็นการดำเนินการตามในรูปแบบของ MOU 2544 ก็ได้ แต่ความจริงแล้วการนำเสนอของกระทรวงการต่างประเทศในภาพนี้ มีเจตนานำเสนอ ”เน้นไม่ครบคำ“ ตามพระบรมราชโองการที่มีข้อความในฉบับเต็มว่า ”จุดเริ่มต้นของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ ดังนั้นพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 จึงมีความหมายคือ 1.ราชอาณาจักรไทย “ปฏิเสธ” การประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ที่ไม่ได้ยึดกฎหมายทะเลสากล เพราะรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย รุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และรุกล้ำเส้นมัธยะ (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา ซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2.ราชอาณาจักรไทย ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดกฎหมายทะเลสากลในเวลานั้นคือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ซึ่งราชอาณาจักรไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้ว เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 3.หาก “จะ” มีการเจรจาเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปกับประเทศใกล้เคียงใน “อนาคต” จะต้องยึดมูลฐานจากฎหมายทะเลสากลเท่านั้น คือ บทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และย่อมไม่ใช่การเส้นเขตแดนตามประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ในปี พ.ศ. 2515 และมีความหมายด้วยว่าไม่ได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองไปเจรจากับชาติใดตามอำเภอใจ โดยไม่ยึดมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 การลงนามใน MOU 2544 จึงแตกต่างจาก 3 หลักการเดิมของพระบรมราชโองการ ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปของไทย พ.ศ. 2516 ดังนี้ 1.MOU 2544 ได้ทำให้พื้นที่ซึ่งเป็นของราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ปี 2516 ซึ่ง “เคยปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ให้กลายเป็น “รับรู้” โดย “ไม่ปฏิเสธ”เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ใน MOU 2544 ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเกินจริงไปอย่างมหาศาล และเท่ากับ 1.1 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย “รับรู้”และ“ไม่ปฏิเสธ”การรุกล้ำเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลรอบเกาะกูดไทย และ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การรุกล้ำเส้นกลาง (Median Line) ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 แบ่งครึ่งมุม ระหว่างเกาะกูดของไทยกับ เกาะกงของกัมพูชา 1.2 รัฐบาลไทย “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การขีดเส้นของกัมพูชาซึ่งไม่เป็นไปตามบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 2. ราชอาณาจักรไทย เปลี่ยนหลักการใหญ่ ให้ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปโดยยึดบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 เป็นมูลฐานเดียวในการเจรจา ให้กลายเป็น “มูลฐานอื่น” ที่ใช้การเจรจาตกลงกันระหว่างไทย-กัมพูชา ตาม MOU 2544 ที่มีการขีดเส้นพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเกินจริง จึงไม่เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 ต่างชาติพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลไทย-มาเลเซีย ที่ต่างเคารพการอ้างอนุสัญญาด้วยทะเลอาณาเขต และเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 จึงเป็นการอ้างสิทธิทับซ้อนที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ส่งผลทำให้มีการตกลงกำหนดให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกับไทย-มาเลเซียเป็นผลสำเร็จ ส่งผลทำให้พื้นที่ซึ่งแน่ชัดตามพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ว่าเป็น ทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย เขตทะเลต่อเนื่องของราชอาณาจักรไทย และเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งยังไม่แน่ชัดว่าเป็นของราชอาณาจักรไทยหรือกัมพูชา มีจำนวนมากถึง 26,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงสิทธิการประมง สิทธิการเดินทาง และการสำรวจและการแสวงหาใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่เคยเป็นของไทย กลายเป็นพื้นที่ซึ่งของไทยหรือกัมพูชา หรือไม่ก็ให้ถอยออกจากพื้นที่ทั้ง 2 ประเทศ การขีดเส้นแบบนี้ โดยรับรู้และไม่ปฏิเสธ แม้อ้างว่าเกาะกูดเป็นของไทย แต่ต่อไปใครไปนั่งที่ด้านทิศใต้เกาะกูด ใครเอาเท้าจุ่มในทะเล ก็จะเกิดข้อพิพาทว่าที่เท้าจุ่มลงไปนั้น อยู่ในทะเลไทยหรือทะเลกัมพูชา จนเกิดข้อสงสัยว่าภาพแถลงกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศ บังอาจแถลงข่าวเน้นตัดตอนพระบรมราชโองการสมัย รัชกาลที่ 9 นั้น กำลังทำตัวเป็นกรมสนธิสัญญาเพื่อประโยชน์ของรัฐบาลชาติใดกันแน่? ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 พฤศจิกายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1088203086006724/?
    Like
    Love
    11
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 502 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์-แฮร์ริส ตระเวนปราศรัยตามรัฐสมรภูมิ ในวันสุดท้ายของการหาเสียงศึกชิงทำเนียบขาวที่เต็มไปด้วยดรามา ตั้งแต่การที่ทรัมป์ถูกตัดสินทำผิดอุกฉกรรจ์และถูกลอบสังหารสองครั้งสองหน จนถึงการที่ประธานาธิบดีในตำแหน่งอย่างไบเดนถูกกดดันจนต้องถอนตัวจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ แฮร์ริส เน้นชูประเด็นสนับสนุนสิทธิในการทำแท้ง ขณะที่ทรัมป์ยังปลุกกระแสว่าถูกโกงเลือกตั้งครั้งที่แล้วและอาจถูกโกงอีกในคราวนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความมั่นใจว่า ตนเองจะเป็นผู้ชนะ
    .
    รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต วางแผนใช้เวลาทั้งวันจันทร์ (4 พ.ย.) ในรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (electoral votes) 19 เสียง มากที่สุดในบรรดา 7 รัฐซึ่งเรียกกันว่าเป็นรัฐสมรภูมิ ที่หมายถึงรัฐที่ยังไม่มีความแน่นอนชัดเจนว่าจะโหวตให้ผู้สมัครคนไหน และดังนั้นจึงกลายเป็นตัวตัดสินทำให้ผู้ชนะมีโอกาสได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งจนเกินครึ่งหนึ่ง หรือ 270 คะแนนจากทั้งประเทศ 538 คะแนน ที่จะเป็นตัวชี้ขาดว่าผู้สมัครคนไหนจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป
    .
    สำหรับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันนั้น มีกำหนดตระเวนหาเสียงใน 3 รัฐสมรภูมิ ได้แก่ นอร์ทแคโรไลนา เพนซิลเวเนีย และมิชิแกน
    .
    รายงานข่าวระบุว่า มีคนอเมริกันราว 77 ล้านคนแล้วที่ไปลงคะแนนล่วงหน้า แต่แฮร์ริสและทรัมป์ยังคงพยายามผลักดันผู้สนับสนุนอีกหลายล้านคนไปใช้สิทธิในวันอังคาร (5 ) ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง และไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ทั้งสิ้น
    .
    กล่าวคือหากทรัมป์ชนะจะทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกฟ้องร้องและถูกศาลตัดสินว่าทำผิดอุกฉกรรจ์ในคดีอาญาจากกรณีจ่ายเงินปิดปากดาราหนังปลุกใจเสือป่าในนิวยอร์ก โดยที่การได้กลับสู่ทำเนียบขาวจะทำให้เขามีอำนาจในการยุติการสอบสวนตนเองอีกหลายคดี นอกจากนั้นทรัมป์ยังจะเป็นประธานาธิบดีคนที่สองในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสองสมัยติดกัน โดยคนก่อนหน้านี้คือ โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
    .
    ส่วนแฮร์ริสจะได้เป็นประธานาธิบดีหญิงผิวดำที่มีเชื้อสายเอเชียใต้คนแรกของอเมริกา
    .
    แฮร์ริสจับพลัดจับผลูได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงศึกชิงทำเนียบขาวครั้งนี้ หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน โชว์ผลงานการดีเบตสุดเลวร้ายเมื่อเดือนมิถุนายนจนถูกกดดันหนักและตัดสินใจถอนตัวจากการเลือกตั้ง
    .
    ทางฝั่งทรัมป์รอดหวุดหวิดจากการถูกลอบยิงระหว่างหาเสียงที่เมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ต่อมาในเดือนกันยายน เจ้าหน้าที่กรมกิจการลับก็สกัดความพยายามลอบสังหารครั้งที่ 2 โดยมือปืนคนหนึ่งที่แอบซุ่มเตรียมปืนไรเฟิลในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งของทรัมป์ในฟลอริดาขณะที่เจ้าตัวกำลังตีกอล์ฟ
    .
    ในส่วนการหาเสียงนั้น แฮร์ริสประกาศตัวเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเน้นย้ำการสนับสนุนสิทธิในการทำแท้ง หลังจากศาลสูงสุดได้ตัดสินยกเลิกสิทธิในการทำแท้งตามรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2022 เธอยังตั้งข้อสังเกตมาโดยตลอดเกี่ยวกับบทบาทของทรัมป์ในเหตุการณ์ม็อบบุกโจมตีอาคารรัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. 2021
    .
    รองประธานาธิบดีผู้นี้ยังโจมตีทรัมป์ว่า เป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย และไม่นานมานี้ถึงขั้นเรียกทรัมป์ว่า เป็นพวกเผด็จการฟาสซิสต์
    .
    อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองวันสุดท้ายของการหาเสียง แฮร์ริสแทบจะหยุดโจมตีทรัมป์โดยสิ้นเชิง และหันมาให้สัญญาว่า จะแก้ไขปัญหาต่างๆ และหาทางประนีประนอม
    .
    ด้านทรัมป์ปัดฝุ่นสโลแกนยอดฮิตของตัวเอง “ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง” และ “อเมริกาต้องมาก่อน” รวมทั้งยังประกาศจุดยืนแข็งกร้าวในประเด็นคนเข้าเมือง พร้อมโจมตีเดโมแครตเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ และให้คำมั่นฟื้นยุคทองทางเศรษฐกิจ ยุติวิกฤตการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปิดพรมแดนทางใต้ของอเมริกา
    .
    อย่างไรก็ดี บ่อยครั้งที่ทรัมป์ออกนอกสคริปต์ไปคร่ำครวญเรื่องที่ตัวเองถูกฟ้องหลังจากพยายามล้มล้างชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดนเมื่อปี 2020 และด้อยค่าอเมริกาว่าเป็น “ประเทศที่ล้มเหลว”
    .
    ในวันอาทิตย์ (3 พ.ย.) ทรัมป์กล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐานอีกครั้งว่า ระบบการเลือกตั้งของอเมริกากำลังคดโกงตัวเขา และบอกว่า ไม่น่ายอมขนของออกจากทำเนียบขาวหลังการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ก่อนโอ้อวดว่า ครั้งนี้จะชนะถล่มทลายจนโกงไม่ได้
    .
    เรื่องที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีมีแนวโน้มชี้ขาดกันในการโหวตที่ 7 รัฐสมรภูมินั้น สามารถสาวย้อนกลับไปในปี 2016 ซึ่งทรัมป์ชนะได้เป็นประธานาธิบดี ภายหลังมีชัยในรัฐเพนซิลเวเนีย มิชิแกน และวิสคอนซิน แต่ในปี 2020 เมื่อเขาเสียทั้ง 3 รัฐนี้ให้ไบเดน เขาก็ตกเป็นฝ่ายแพ้ ทั้งนี้อีก 4 รัฐสมรภูมิที่เหลือ ได้แก่ นอร์ทแคโรไลนา จอร์เจีย แอริโซนา และเนวาดา
    .
    ทรัมป์นั้นเคยชนะในนอร์ทแคโรไลนา 2 ครั้ง และแพ้ในเนวาดา 2 ครั้ง เขาชนะในแอริโซนาและจอร์เจียในปี 2016 แต่แพ้ไบเดนในอีก 4 ปีต่อมา
    .
    ทางด้านทีมหาเสียงของแฮร์ริสแสดงความมั่นใจในระยะไม่กี่วันหลังๆ นี้ โดยชี้ไปที่ข้อมูลการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งผู้ออกเสียงหญิงมาใช้สิทธิในจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงกว่าผู้ออกเสียงชายค่อนข้างมาก ตลอดจนผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยังไม่ตัดสินใจมีความโน้มเอียงเลือกแฮร์ริส กระนั้น บรรดาผู้ช่วยของเธออยากให้มองว่า แฮร์ริสยังคงเป็นมวยรอง
    .
    ส่วนทีมหาเสียงของทรัมป์แสดงความมั่นใจไม่แพ้กัน โดยอ้างว่า แนวทางประชานิยมของทรัมป์สามารถดึงดูดหนุ่มสาวและชนชั้นแรงงานจากทุกชาติพันธุ์และสีผิว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000106360
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์-แฮร์ริส ตระเวนปราศรัยตามรัฐสมรภูมิ ในวันสุดท้ายของการหาเสียงศึกชิงทำเนียบขาวที่เต็มไปด้วยดรามา ตั้งแต่การที่ทรัมป์ถูกตัดสินทำผิดอุกฉกรรจ์และถูกลอบสังหารสองครั้งสองหน จนถึงการที่ประธานาธิบดีในตำแหน่งอย่างไบเดนถูกกดดันจนต้องถอนตัวจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ แฮร์ริส เน้นชูประเด็นสนับสนุนสิทธิในการทำแท้ง ขณะที่ทรัมป์ยังปลุกกระแสว่าถูกโกงเลือกตั้งครั้งที่แล้วและอาจถูกโกงอีกในคราวนี้ โดยทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความมั่นใจว่า ตนเองจะเป็นผู้ชนะ . รองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส จากพรรคเดโมแครต วางแผนใช้เวลาทั้งวันจันทร์ (4 พ.ย.) ในรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งมีคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง (electoral votes) 19 เสียง มากที่สุดในบรรดา 7 รัฐซึ่งเรียกกันว่าเป็นรัฐสมรภูมิ ที่หมายถึงรัฐที่ยังไม่มีความแน่นอนชัดเจนว่าจะโหวตให้ผู้สมัครคนไหน และดังนั้นจึงกลายเป็นตัวตัดสินทำให้ผู้ชนะมีโอกาสได้คะแนนคณะผู้เลือกตั้งจนเกินครึ่งหนึ่ง หรือ 270 คะแนนจากทั้งประเทศ 538 คะแนน ที่จะเป็นตัวชี้ขาดว่าผู้สมัครคนไหนจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไป . สำหรับอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนของพรรครีพับลิกันนั้น มีกำหนดตระเวนหาเสียงใน 3 รัฐสมรภูมิ ได้แก่ นอร์ทแคโรไลนา เพนซิลเวเนีย และมิชิแกน . รายงานข่าวระบุว่า มีคนอเมริกันราว 77 ล้านคนแล้วที่ไปลงคะแนนล่วงหน้า แต่แฮร์ริสและทรัมป์ยังคงพยายามผลักดันผู้สนับสนุนอีกหลายล้านคนไปใช้สิทธิในวันอังคาร (5 ) ซึ่งเป็นวันเลือกตั้ง และไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไรก็จะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ทั้งสิ้น . กล่าวคือหากทรัมป์ชนะจะทำให้เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ถูกฟ้องร้องและถูกศาลตัดสินว่าทำผิดอุกฉกรรจ์ในคดีอาญาจากกรณีจ่ายเงินปิดปากดาราหนังปลุกใจเสือป่าในนิวยอร์ก โดยที่การได้กลับสู่ทำเนียบขาวจะทำให้เขามีอำนาจในการยุติการสอบสวนตนเองอีกหลายคดี นอกจากนั้นทรัมป์ยังจะเป็นประธานาธิบดีคนที่สองในประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งสองสมัยติดกัน โดยคนก่อนหน้านี้คือ โกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 . ส่วนแฮร์ริสจะได้เป็นประธานาธิบดีหญิงผิวดำที่มีเชื้อสายเอเชียใต้คนแรกของอเมริกา . แฮร์ริสจับพลัดจับผลูได้เป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงศึกชิงทำเนียบขาวครั้งนี้ หลังจากประธานาธิบดีโจ ไบเดน โชว์ผลงานการดีเบตสุดเลวร้ายเมื่อเดือนมิถุนายนจนถูกกดดันหนักและตัดสินใจถอนตัวจากการเลือกตั้ง . ทางฝั่งทรัมป์รอดหวุดหวิดจากการถูกลอบยิงระหว่างหาเสียงที่เมืองบัตเลอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ต่อมาในเดือนกันยายน เจ้าหน้าที่กรมกิจการลับก็สกัดความพยายามลอบสังหารครั้งที่ 2 โดยมือปืนคนหนึ่งที่แอบซุ่มเตรียมปืนไรเฟิลในสนามกอล์ฟแห่งหนึ่งของทรัมป์ในฟลอริดาขณะที่เจ้าตัวกำลังตีกอล์ฟ . ในส่วนการหาเสียงนั้น แฮร์ริสประกาศตัวเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยเน้นย้ำการสนับสนุนสิทธิในการทำแท้ง หลังจากศาลสูงสุดได้ตัดสินยกเลิกสิทธิในการทำแท้งตามรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2022 เธอยังตั้งข้อสังเกตมาโดยตลอดเกี่ยวกับบทบาทของทรัมป์ในเหตุการณ์ม็อบบุกโจมตีอาคารรัฐสภาในวันที่ 6 ม.ค. 2021 . รองประธานาธิบดีผู้นี้ยังโจมตีทรัมป์ว่า เป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย และไม่นานมานี้ถึงขั้นเรียกทรัมป์ว่า เป็นพวกเผด็จการฟาสซิสต์ . อย่างไรก็ตาม ในช่วงสองวันสุดท้ายของการหาเสียง แฮร์ริสแทบจะหยุดโจมตีทรัมป์โดยสิ้นเชิง และหันมาให้สัญญาว่า จะแก้ไขปัญหาต่างๆ และหาทางประนีประนอม . ด้านทรัมป์ปัดฝุ่นสโลแกนยอดฮิตของตัวเอง “ทำให้อเมริกากลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง” และ “อเมริกาต้องมาก่อน” รวมทั้งยังประกาศจุดยืนแข็งกร้าวในประเด็นคนเข้าเมือง พร้อมโจมตีเดโมแครตเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อ และให้คำมั่นฟื้นยุคทองทางเศรษฐกิจ ยุติวิกฤตการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และปิดพรมแดนทางใต้ของอเมริกา . อย่างไรก็ดี บ่อยครั้งที่ทรัมป์ออกนอกสคริปต์ไปคร่ำครวญเรื่องที่ตัวเองถูกฟ้องหลังจากพยายามล้มล้างชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดนเมื่อปี 2020 และด้อยค่าอเมริกาว่าเป็น “ประเทศที่ล้มเหลว” . ในวันอาทิตย์ (3 พ.ย.) ทรัมป์กล่าวอ้างโดยไม่มีหลักฐานอีกครั้งว่า ระบบการเลือกตั้งของอเมริกากำลังคดโกงตัวเขา และบอกว่า ไม่น่ายอมขนของออกจากทำเนียบขาวหลังการเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ก่อนโอ้อวดว่า ครั้งนี้จะชนะถล่มทลายจนโกงไม่ได้ . เรื่องที่ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีมีแนวโน้มชี้ขาดกันในการโหวตที่ 7 รัฐสมรภูมินั้น สามารถสาวย้อนกลับไปในปี 2016 ซึ่งทรัมป์ชนะได้เป็นประธานาธิบดี ภายหลังมีชัยในรัฐเพนซิลเวเนีย มิชิแกน และวิสคอนซิน แต่ในปี 2020 เมื่อเขาเสียทั้ง 3 รัฐนี้ให้ไบเดน เขาก็ตกเป็นฝ่ายแพ้ ทั้งนี้อีก 4 รัฐสมรภูมิที่เหลือ ได้แก่ นอร์ทแคโรไลนา จอร์เจีย แอริโซนา และเนวาดา . ทรัมป์นั้นเคยชนะในนอร์ทแคโรไลนา 2 ครั้ง และแพ้ในเนวาดา 2 ครั้ง เขาชนะในแอริโซนาและจอร์เจียในปี 2016 แต่แพ้ไบเดนในอีก 4 ปีต่อมา . ทางด้านทีมหาเสียงของแฮร์ริสแสดงความมั่นใจในระยะไม่กี่วันหลังๆ นี้ โดยชี้ไปที่ข้อมูลการลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้า ซึ่งผู้ออกเสียงหญิงมาใช้สิทธิในจำนวนเปอร์เซ็นต์สูงกว่าผู้ออกเสียงชายค่อนข้างมาก ตลอดจนผลการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ยังไม่ตัดสินใจมีความโน้มเอียงเลือกแฮร์ริส กระนั้น บรรดาผู้ช่วยของเธออยากให้มองว่า แฮร์ริสยังคงเป็นมวยรอง . ส่วนทีมหาเสียงของทรัมป์แสดงความมั่นใจไม่แพ้กัน โดยอ้างว่า แนวทางประชานิยมของทรัมป์สามารถดึงดูดหนุ่มสาวและชนชั้นแรงงานจากทุกชาติพันธุ์และสีผิว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000106360 .............. Sondhi X
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1049 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน ในวันอาทิตย์ (3 พ.ย.) เน้นย้ำคำกล่าวอ้างของเขาเกี่ยวกับการโกงคะแนนโหวตในรัฐสมรภูมิต่างๆ ในขณะที่เขาและคู่แข่งอย่าง กมลา แฮร์ริส จากเดโมแครต ใช้ช่วงเวลา 48 ชั่วโมงสุดท้าย ของการรณรงค์หาเสียง ระดมเสียงสนับสนุนในเป้าหมายคว้าชัยในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งที่คู่คี่สูสีที่สุดหนหนึ่งในประวัติศาสตร์
    .
    คาดหมายว่าศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้จะเป็นไปอย่างสูสีมากๆ โดยผลสำรวจความคิดเห็นต่างๆ พบว่าจนถึง ณ ขณะนี้มีอยู่หลายรัฐที่คะแนนนิยมของทั้งคู่ยังคงใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของศึกเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มา
    .
    ขณะเดียวกัน พบว่าจนถึงตอนนี้มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนล่วงหน้าไปแล้วกว่า 77.3 ล้านคน ก่อนถึงวันเลือกตั้งในวันอังคาร (5 พ.ย.) มากกว่าครึ่งของจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในปี 2020
    .
    ในขณะที่เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงวันเลือกตั้ง เป็นอีกครั้งที่ ทรัมป์ บ่งชี้ว่าเขาอาจไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ และใช้วาทกรรมเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม และสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่าแม้ไม่มีหลักฐานสำคัญใดๆ เกี่ยวกับการโกงเลือกตั้งในสหรัฐฯ แต่ ทรัมป์ อ้างว่าพวกเดโมแครตในรัฐเพนซิลเวเนีย รัฐสมรภูมิ กำลังทำงานอย่างหนักในการขโมยผลการเลือกตั้ง
    .
    นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังแสดงความขุ่นเคืองบรรดาสื่อมวลชนทั้งหลายที่มักรายงานในสิ่งที่เขาเรียกว่า "ข่าวปลอม" เล่นงานเขาเป็นประจำ โดย ทรัมป์ บอกกับบรรดาผู้สนับสนุนว่า จะไม่ว่าอะไรหากมีผู้สื่อข่าวรายหนึ่งถูกยิงบ้าง
    .
    ระหว่างการปราศรัยหาเสียงเป็นเวลา 90 นาที ทรัมป์ เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ที่เขาเกือบเสียชีวิตในเหตุลอบสังหารเมื่อเดือนกรกฎาคม พร้อมระบุว่าสำหรับเขาแล้ว หากถูกยิงอีกรอบ คราวนี้กระสุนควรจะพุ่งผ่านกลุ่มสื่อมวลชน "สำหรับผม หากมีใครถูกยิงจากการนำเสนอข่าวปลอม ผมไม่ว่าอะไรหรอก ผมไม่แคร์ด้วย" เขาพูดไปหัวเราะไป
    .
    ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น แฮร์ริส ได้ไปร่วมพิธีที่โบสถ์แห่งหน่ง ที่มีชาวผิวสีเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน และใช้โอกาสนี้เรียกร้องอเมริกันชน ก้าวข้าม ทรัมป์ "ขอพวกเราจงก้าวไปข้างหน้า และเขียนบทตอนถัดไปในประวัติศาสตร์ของเรา" รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุ "ขณะที่เรารู้ดีว่ามีคนที่กำลังหาทางสร้างความแตกแยกหนักหน่วงขึ้น หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง และก่อความวุ่นวาย ในช่วงเวลาที่ประเทศของเราเต็มไปด้วยการเมืองที่แตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมากมายเหลือเกิน"
    .
    แฮร์ริส เรียกคำกล่าวหาของทรัมป์ เกี่ยวกับการโกงเลือกตั้งว่าเป็นความพยายามทำให้ผู้คนรู้สึกว่าคะแนนโหวตของพวกเขานั้นไม่มีความสำคัญ "ระบบต่างๆ ที่ใช้ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ในปี 2024 มีความซื่อตรง" เธอกล่าว "และประชาชนจะเป็นคนตัดสินผลการเลือกตั้ง"
    .
    เหมือนกับเพนซิลเวเนีย ในรัฐมิชิแกน อีกรัฐสมรภูมิก็ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดเช่นกัน ทรัมป์ เคยพลิกเอาชนะ ฮิลลารี คลินตัน ในป้อมปราการของเดโมแครตแห่งนี้ ในศึกเลือกตั้งปี 2016 แต่ ไบเดน นำพารัฐแห่งนี้กลับมาเป็นป้อมปราการของเดโมแครตอีกรอบในปี 2020 ได้แรงหนุนจากผู้มีสิทธิออกเสียงแรงงานสหภาพและคนผิวสี
    .
    อย่างไรก็ตาม คราวนี้ แฮร์ริส กำลังเสี่ยงสูญเสียแรงสนับสนุนจากชุมชนอเมริกันเชื้อสายอาหรับที่มีอยู่กว่า 200,000 คน ที่ประณามแนวทางของไบเดน ในการจัดการสงครามอิสราเอล-ฮามาส ในกาซา
    .
    สถานการณ์การเลือกตั้งเวลานี้ มีรายงานระบุว่า ชาวอเมริกัน 75 ล้านคนไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของรีลเคลียร์โพลิติกส์จนถึงค่ำวันเสาร์ระบุว่า ทั้งทรัมป์และแฮร์ริสไม่มีใครนำใครเกิน 3 จุดในรัฐหนึ่งรัฐใดใน 7 รัฐสมรภูมิที่จะเป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้ง
    .
    บรรดาผู้สนับสนุนรีพับลิกันให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่า พร้อมโยนความสงสัยเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งทิ้งทันที ถ้าทรัมป์ชนะแบบแลนด์สไลด์
    .
    เชิร์ล วัย 39 ปีที่ทำงานในองค์กรไม่หวังผลกำไรแห่งหนึ่งบอกว่า เธอคง “สงสัย” ถ้าผลเลือกตั้งออกมาว่า แฮร์ริสชนะ แต่จะ “มั่นใจมาก” ถ้าผลออกมาว่า ทรัมป์ชนะ
    .
    “เพราะพระเจ้าลิขิตมาแล้วให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี พวกเราแค่รอเท่านั้น”
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000105983
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ตัวแทนพรรครีพับลิกัน ในวันอาทิตย์ (3 พ.ย.) เน้นย้ำคำกล่าวอ้างของเขาเกี่ยวกับการโกงคะแนนโหวตในรัฐสมรภูมิต่างๆ ในขณะที่เขาและคู่แข่งอย่าง กมลา แฮร์ริส จากเดโมแครต ใช้ช่วงเวลา 48 ชั่วโมงสุดท้าย ของการรณรงค์หาเสียง ระดมเสียงสนับสนุนในเป้าหมายคว้าชัยในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ครั้งที่คู่คี่สูสีที่สุดหนหนึ่งในประวัติศาสตร์ . คาดหมายว่าศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้จะเป็นไปอย่างสูสีมากๆ โดยผลสำรวจความคิดเห็นต่างๆ พบว่าจนถึง ณ ขณะนี้มีอยู่หลายรัฐที่คะแนนนิยมของทั้งคู่ยังคงใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของศึกเลือกตั้งครั้งที่ผ่านๆ มา . ขณะเดียวกัน พบว่าจนถึงตอนนี้มีผู้ใช้สิทธิลงคะแนนล่วงหน้าไปแล้วกว่า 77.3 ล้านคน ก่อนถึงวันเลือกตั้งในวันอังคาร (5 พ.ย.) มากกว่าครึ่งของจำนวนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในปี 2020 . ในขณะที่เหลือเวลาอีกไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงวันเลือกตั้ง เป็นอีกครั้งที่ ทรัมป์ บ่งชี้ว่าเขาอาจไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ และใช้วาทกรรมเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม และสำนักข่าวเอเอฟพีระบุว่าแม้ไม่มีหลักฐานสำคัญใดๆ เกี่ยวกับการโกงเลือกตั้งในสหรัฐฯ แต่ ทรัมป์ อ้างว่าพวกเดโมแครตในรัฐเพนซิลเวเนีย รัฐสมรภูมิ กำลังทำงานอย่างหนักในการขโมยผลการเลือกตั้ง . นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังแสดงความขุ่นเคืองบรรดาสื่อมวลชนทั้งหลายที่มักรายงานในสิ่งที่เขาเรียกว่า "ข่าวปลอม" เล่นงานเขาเป็นประจำ โดย ทรัมป์ บอกกับบรรดาผู้สนับสนุนว่า จะไม่ว่าอะไรหากมีผู้สื่อข่าวรายหนึ่งถูกยิงบ้าง . ระหว่างการปราศรัยหาเสียงเป็นเวลา 90 นาที ทรัมป์ เล่าย้อนถึงเหตุการณ์ที่เขาเกือบเสียชีวิตในเหตุลอบสังหารเมื่อเดือนกรกฎาคม พร้อมระบุว่าสำหรับเขาแล้ว หากถูกยิงอีกรอบ คราวนี้กระสุนควรจะพุ่งผ่านกลุ่มสื่อมวลชน "สำหรับผม หากมีใครถูกยิงจากการนำเสนอข่าวปลอม ผมไม่ว่าอะไรหรอก ผมไม่แคร์ด้วย" เขาพูดไปหัวเราะไป . ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น แฮร์ริส ได้ไปร่วมพิธีที่โบสถ์แห่งหน่ง ที่มีชาวผิวสีเป็นชนกลุ่มใหญ่ ในเมืองดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน และใช้โอกาสนี้เรียกร้องอเมริกันชน ก้าวข้าม ทรัมป์ "ขอพวกเราจงก้าวไปข้างหน้า และเขียนบทตอนถัดไปในประวัติศาสตร์ของเรา" รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุ "ขณะที่เรารู้ดีว่ามีคนที่กำลังหาทางสร้างความแตกแยกหนักหน่วงขึ้น หว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความเกลียดชัง และก่อความวุ่นวาย ในช่วงเวลาที่ประเทศของเราเต็มไปด้วยการเมืองที่แตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายมากมายเหลือเกิน" . แฮร์ริส เรียกคำกล่าวหาของทรัมป์ เกี่ยวกับการโกงเลือกตั้งว่าเป็นความพยายามทำให้ผู้คนรู้สึกว่าคะแนนโหวตของพวกเขานั้นไม่มีความสำคัญ "ระบบต่างๆ ที่ใช้ในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ในปี 2024 มีความซื่อตรง" เธอกล่าว "และประชาชนจะเป็นคนตัดสินผลการเลือกตั้ง" . เหมือนกับเพนซิลเวเนีย ในรัฐมิชิแกน อีกรัฐสมรภูมิก็ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดเช่นกัน ทรัมป์ เคยพลิกเอาชนะ ฮิลลารี คลินตัน ในป้อมปราการของเดโมแครตแห่งนี้ ในศึกเลือกตั้งปี 2016 แต่ ไบเดน นำพารัฐแห่งนี้กลับมาเป็นป้อมปราการของเดโมแครตอีกรอบในปี 2020 ได้แรงหนุนจากผู้มีสิทธิออกเสียงแรงงานสหภาพและคนผิวสี . อย่างไรก็ตาม คราวนี้ แฮร์ริส กำลังเสี่ยงสูญเสียแรงสนับสนุนจากชุมชนอเมริกันเชื้อสายอาหรับที่มีอยู่กว่า 200,000 คน ที่ประณามแนวทางของไบเดน ในการจัดการสงครามอิสราเอล-ฮามาส ในกาซา . สถานการณ์การเลือกตั้งเวลานี้ มีรายงานระบุว่า ชาวอเมริกัน 75 ล้านคนไปลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของรีลเคลียร์โพลิติกส์จนถึงค่ำวันเสาร์ระบุว่า ทั้งทรัมป์และแฮร์ริสไม่มีใครนำใครเกิน 3 จุดในรัฐหนึ่งรัฐใดใน 7 รัฐสมรภูมิที่จะเป็นตัวชี้ขาดผลการเลือกตั้ง . บรรดาผู้สนับสนุนรีพับลิกันให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพีว่า พร้อมโยนความสงสัยเกี่ยวกับระบบการเลือกตั้งทิ้งทันที ถ้าทรัมป์ชนะแบบแลนด์สไลด์ . เชิร์ล วัย 39 ปีที่ทำงานในองค์กรไม่หวังผลกำไรแห่งหนึ่งบอกว่า เธอคง “สงสัย” ถ้าผลเลือกตั้งออกมาว่า แฮร์ริสชนะ แต่จะ “มั่นใจมาก” ถ้าผลออกมาว่า ทรัมป์ชนะ . “เพราะพระเจ้าลิขิตมาแล้วให้ทรัมป์เป็นประธานาธิบดี พวกเราแค่รอเท่านั้น” . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000105983 .............. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 951 มุมมอง 0 รีวิว
  • เลือกตั้งอเมริกา 2024 ช่วงหาเสียง ระหว่างการดีเบต ในรัฐ New Hampshire นางแม็กกี้ กูดแลนเดอร์ ภรรยาของนายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติจากพรรคเดโมแครต( DEM )ดับอนาถคาเวที หลังจากกล่าวหา Lily Tang Williams คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน (GOP:Grand Old Party) ว่าต้องการช่วยเหลือแต่พวกคนรวยเท่านั้น

    Tang สวนกลับว่าคนที่รวยคือหล่อนเพราะมีทรัพย์สินมูลค่า 20-30 ล้านเหรียญ น้ำหน้าอย่างเธอจะมารู้อะไรว่าคนหาเช้ากินค่ำกำลังลำบาก ขนาดฉันยังไม่มีเงินจะลงโฆษณาแคมเปญทางทีวีด้วยซ้ำ อย่ามาทำตัวว่าเป็นคนจนเห็นใจคนจนและบ่นว่าค่าเช่าบ้านแพง ไสหัวกลับไปนอนบ้านราคา 2 ล้านเหรียญของคุณซะ

    ปัญหาของชนชั้นกลางและพวกหาเช้ากินค่ำ คือไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน หลายครอบครัวต้องทำงาน 2-3 กะ เพื่อให้มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน หลายครอบครัวถูกฟ้องขับไล่ที่ออกจาก APT และตึกที่คุมค่าเช่าก็เหลือน้อยและเป็นแหล่งเสื่อมโทรม ย่านดีๆราคาก็สูงมาก หลายคนเลือกที่จะนอนในรถแทน

    ขนาดพวกที่ทำงานร้านแมค แบบฟูลไทม์ รายได้ยังไม่พอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านและค่าสาธารณูปโภคเลย เวลานี้คือต้องหาคนแชร์ห้องและช่วยกันหารแต่การแชร์มันก็อันตรายเพราะไม่มีทางรู้เลยว่าคนที่อยู่ด้วยจะเป็นคนดีหรือโจร ไม่ต้องแปลกใจที่ทำไมเห็นคนอเมริกันกินแต่อาหารขยะหรือเลี้ยงลูกด้วยอาหารขยะ

    ทั้งนี้วิกิพีเดียระบุถึงประวัติ ลิลี่ ถัง วิลเลียมส์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 1964 ใน เมือง เฉิงตูซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวนทางตอนกลางของจีน เธอ เกิดมาในครอบครัวชนชั้นแรงงานที่ไม่รู้หนังสือ เธอเติบโตภายใต้การปกครองของเหมาเจ๋อตุงและวัยเด็กของเธอตรงกับช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งกินเวลานานจนกระทั่งเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิตในปี 1976 เธอเติบโตมาในความยากจนและประสบความสำเร็จในโรงเรียน จบการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดของชั้นเรียนมัธยมปลาย และได้คะแนนใกล้เคียงกับอันดับต้นๆ ของการสอบระดับชาติของจีน

    Tang Williams ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่มหาวิทยาลัย Fudanในเซี่ยงไฮ้ในขณะที่เรียนอยู่วิทยาลัย เธอได้พบกับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากสหรัฐอเมริกาที่แสดงรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาและคำประกาศอิสรภาพ ฉบับพกพาให้เธอ ดู ซึ่งทำให้เธอสนใจที่จะอพยพไปยังสหรัฐอเมริกา
    เธอได้รับปริญญาตรีในปี 1985 และต่อมาได้เข้าร่วมคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Fudan และฝึกฝนกฎหมายองค์กรในขณะที่จีนเริ่มสร้างเศรษฐกิจใหม่ เธอมาที่สหรัฐอเมริกาในปี 1988 เพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสตินและได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยใน ภายหลังในปี 1991 เธอได้รับปริญญาโทสาขาการทำงานสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสตินเธอได้รับสัญชาติอเมริกันในปี 1994

    https://youtu.be/yOF78Mb2Rtc?si=yArv0mHiHm048Sbk

    #Thaitimes
    เลือกตั้งอเมริกา 2024 ช่วงหาเสียง ระหว่างการดีเบต ในรัฐ New Hampshire นางแม็กกี้ กูดแลนเดอร์ ภรรยาของนายเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติจากพรรคเดโมแครต( DEM )ดับอนาถคาเวที หลังจากกล่าวหา Lily Tang Williams คู่แข่งจากพรรครีพับลิกัน (GOP:Grand Old Party) ว่าต้องการช่วยเหลือแต่พวกคนรวยเท่านั้น Tang สวนกลับว่าคนที่รวยคือหล่อนเพราะมีทรัพย์สินมูลค่า 20-30 ล้านเหรียญ น้ำหน้าอย่างเธอจะมารู้อะไรว่าคนหาเช้ากินค่ำกำลังลำบาก ขนาดฉันยังไม่มีเงินจะลงโฆษณาแคมเปญทางทีวีด้วยซ้ำ อย่ามาทำตัวว่าเป็นคนจนเห็นใจคนจนและบ่นว่าค่าเช่าบ้านแพง ไสหัวกลับไปนอนบ้านราคา 2 ล้านเหรียญของคุณซะ ปัญหาของชนชั้นกลางและพวกหาเช้ากินค่ำ คือไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน หลายครอบครัวต้องทำงาน 2-3 กะ เพื่อให้มีเงินมากพอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้าน หลายครอบครัวถูกฟ้องขับไล่ที่ออกจาก APT และตึกที่คุมค่าเช่าก็เหลือน้อยและเป็นแหล่งเสื่อมโทรม ย่านดีๆราคาก็สูงมาก หลายคนเลือกที่จะนอนในรถแทน ขนาดพวกที่ทำงานร้านแมค แบบฟูลไทม์ รายได้ยังไม่พอที่จะจ่ายค่าเช่าบ้านและค่าสาธารณูปโภคเลย เวลานี้คือต้องหาคนแชร์ห้องและช่วยกันหารแต่การแชร์มันก็อันตรายเพราะไม่มีทางรู้เลยว่าคนที่อยู่ด้วยจะเป็นคนดีหรือโจร ไม่ต้องแปลกใจที่ทำไมเห็นคนอเมริกันกินแต่อาหารขยะหรือเลี้ยงลูกด้วยอาหารขยะ ทั้งนี้วิกิพีเดียระบุถึงประวัติ ลิลี่ ถัง วิลเลียมส์ เกิดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 1964 ใน เมือง เฉิงตูซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลเสฉวนทางตอนกลางของจีน เธอ เกิดมาในครอบครัวชนชั้นแรงงานที่ไม่รู้หนังสือ เธอเติบโตภายใต้การปกครองของเหมาเจ๋อตุงและวัยเด็กของเธอตรงกับช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมซึ่งกินเวลานานจนกระทั่งเหมาเจ๋อตุงเสียชีวิตในปี 1976 เธอเติบโตมาในความยากจนและประสบความสำเร็จในโรงเรียน จบการศึกษาด้วยคะแนนสูงสุดของชั้นเรียนมัธยมปลาย และได้คะแนนใกล้เคียงกับอันดับต้นๆ ของการสอบระดับชาติของจีน Tang Williams ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่มหาวิทยาลัย Fudanในเซี่ยงไฮ้ในขณะที่เรียนอยู่วิทยาลัย เธอได้พบกับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากสหรัฐอเมริกาที่แสดงรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาและคำประกาศอิสรภาพ ฉบับพกพาให้เธอ ดู ซึ่งทำให้เธอสนใจที่จะอพยพไปยังสหรัฐอเมริกา เธอได้รับปริญญาตรีในปี 1985 และต่อมาได้เข้าร่วมคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Fudan และฝึกฝนกฎหมายองค์กรในขณะที่จีนเริ่มสร้างเศรษฐกิจใหม่ เธอมาที่สหรัฐอเมริกาในปี 1988 เพื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสตินและได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยใน ภายหลังในปี 1991 เธอได้รับปริญญาโทสาขาการทำงานสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสตินเธอได้รับสัญชาติอเมริกันในปี 1994 https://youtu.be/yOF78Mb2Rtc?si=yArv0mHiHm048Sbk #Thaitimes
    Like
    Haha
    2
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 419 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🇷🇺🇩🇪 SMART: รัสเซียเชิญคนงาน Volkswagen ชาวเยอรมัน, เนื่องจากโรงงานในเยอรมนีปิดตัวลง!

    “รัสเซียจะเปิดโรงงาน Jetta, ซึ่งเป็นโรงงานในจีนที่เทียบได้กับ Volkswagen Audi Group, ให้กับพนักงานชาวเยอรมัน

    รัสเซียจะจัดหาตำแหน่งงานให้กับผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน ซึ่งจะสามารถขอสัญชาติรัสเซียได้หลังจากผ่านไป ๕ ปี

    เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเห็นยักษ์ใหญ่ในเยอรมนีล้มละลาย รถยนต์ของ Volkswagen Audi Group มีคุณภาพดีที่สุดมาโดยตลอดและเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก”

    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า แอนตัน อาลีคานอฟ ประกาศแผนการเปิดโรงงานผลิต Jetta แบรนด์จีน, ซึ่งผลิตรถยนต์ Volkswagen ภายใต้แบรนด์ของตนเอง, ใน ๕ เมืองของสหพันธรัฐรัสเซีย ท่ามกลางการปิดโรงงานในเยอรมนี

    “ขณะนี้มีการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อเปิดโรงงาน VAG ๕ แห่งในรัสเซีย

    นอกจากเมืองคาลูกาแล้ว, โรงงานผลิตยังจะตั้งอยู่ในเมืองวเซโวโลซสค์, คาลินินกราด, โนโวคูอีบีเชฟสค์ และนาเบเรจเนียเชลนี“
    — อาลีคานอฟ กล่าว
    .
    🇷🇺🇩🇪 Volkswagen ขายโรงงานประกอบรถยนต์ในรัสเซีย, รวมทั้งโรงงานประกอบรถยนต์

    โรงงานประกอบรถยนต์ Volkswagen ทางตะวันตกของรัสเซีย, เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีกำลังการผลิต ๒๒๕,๐๐๐ คันต่อปี

    Volkswagen ได้ขายโรงงานประกอบรถยนต์และโรงงานประกอบรถยนต์อื่นๆ ในรัสเซียให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ หลังจากบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันแห่งนี้ยุติการผลิตในประเทศหลังการรุกรานยูเครน, บริษัทดังกล่าวเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

    ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว, ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลรัสเซีย, ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แห่งหนึ่งในมอสโกว์ที่ชื่อ Avilon ได้เข้าซื้อสินทรัพย์ของ Volkswagen Group Rus, บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายนี้กล่าว ทั้งสองบริษัทไม่ได้ระบุราคาขาย, แต่สื่อของรัสเซียอ้างข้อมูลในท้องถิ่นว่า Avilon จ่ายเงินไปประมาณ ๑๒๕ ล้านยูโร (๑๓๕ ล้านดอลลาร์)
    .
    โรงงาน Volkswagen ในคาลูกาแห่งเดิมกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง, เนื่องจากภาคส่วนรถยนต์ของรัสเซียฟื้นตัวเต็มที่จนกลับมาเท่ากับระดับการผลิตก่อน-สงคราม ในเดือนกรกฎาคม
    .
    🇷🇺🇩🇪 SMART: Russia invites German Volkswagen workers, because the German factories close!

    “Russia to open Jetta factories, the Chinese analogue of Volkswagen Audi Group, for German employees.

    Russia will be providing jobs for German specialists who will be able to obtain Russian citizenship after five years.

    It is impossible to watch a giant in Germany collapse. Volkswagen Audi Group’s cars have always been of the best quality and loved all over the world.”

    Minister of Industry and Trade Anton Alikhanov announced plans to open production facilities for the Chinese brand Jetta, which produces Volkswagen cars under its own brand, in five cities in the Russian Federation against the backdrop of the closure of factories in Germany.

    “A legal entity is currently being created to open five VAG factories in Russia.

    In addition to Kaluga, production facilities will appear in Vsevolozhsk, Kaliningrad, Novokuibyshevsk and Naberezhnye Chelny.“
    — Alikhanov said

    1/
    .
    🇷🇺🇩🇪 Volkswagen Sells Its Russia Operations, Including an Assembly Plant

    Volkswagen’s assembly plant in western Russia, in December. It had capacity to turn out 225,000 vehicles a year.

    Volkswagen has sold its assembly plant and other operations in Russia to a local auto dealership, more than a year after the German carmaker ceased production in the country following the invasion of Ukraine, the company said on Friday.

    Under the deal, which required approval from the Russian government, a Moscow-based dealership called Avilon acquired the assets of Volkswagen Group Rus, the carmaker said. Neither company specified a sales price, but Russia media citing local records said Avilon paid about 125 million euros ($135 million)

    2/
    .
    The former Volkswagen plant in Kaluga is back online, as Russia's car sector makes a full recovery to pre-war production levels in July

    3/
    .
    9:54 PM · Nov 3, 2024 · 339.6K Views
    https://x.com/MyLordBebo/status/1853088468412366868
    🇷🇺🇩🇪 SMART: รัสเซียเชิญคนงาน Volkswagen ชาวเยอรมัน, เนื่องจากโรงงานในเยอรมนีปิดตัวลง! “รัสเซียจะเปิดโรงงาน Jetta, ซึ่งเป็นโรงงานในจีนที่เทียบได้กับ Volkswagen Audi Group, ให้กับพนักงานชาวเยอรมัน รัสเซียจะจัดหาตำแหน่งงานให้กับผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน ซึ่งจะสามารถขอสัญชาติรัสเซียได้หลังจากผ่านไป ๕ ปี เป็นไปไม่ได้เลยที่จะเห็นยักษ์ใหญ่ในเยอรมนีล้มละลาย รถยนต์ของ Volkswagen Audi Group มีคุณภาพดีที่สุดมาโดยตลอดและเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วโลก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า แอนตัน อาลีคานอฟ ประกาศแผนการเปิดโรงงานผลิต Jetta แบรนด์จีน, ซึ่งผลิตรถยนต์ Volkswagen ภายใต้แบรนด์ของตนเอง, ใน ๕ เมืองของสหพันธรัฐรัสเซีย ท่ามกลางการปิดโรงงานในเยอรมนี “ขณะนี้มีการจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อเปิดโรงงาน VAG ๕ แห่งในรัสเซีย นอกจากเมืองคาลูกาแล้ว, โรงงานผลิตยังจะตั้งอยู่ในเมืองวเซโวโลซสค์, คาลินินกราด, โนโวคูอีบีเชฟสค์ และนาเบเรจเนียเชลนี“ — อาลีคานอฟ กล่าว . 🇷🇺🇩🇪 Volkswagen ขายโรงงานประกอบรถยนต์ในรัสเซีย, รวมทั้งโรงงานประกอบรถยนต์ โรงงานประกอบรถยนต์ Volkswagen ทางตะวันตกของรัสเซีย, เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา มีกำลังการผลิต ๒๒๕,๐๐๐ คันต่อปี Volkswagen ได้ขายโรงงานประกอบรถยนต์และโรงงานประกอบรถยนต์อื่นๆ ในรัสเซียให้กับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ หลังจากบริษัทผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันแห่งนี้ยุติการผลิตในประเทศหลังการรุกรานยูเครน, บริษัทดังกล่าวเปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว, ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลรัสเซีย, ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แห่งหนึ่งในมอสโกว์ที่ชื่อ Avilon ได้เข้าซื้อสินทรัพย์ของ Volkswagen Group Rus, บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายนี้กล่าว ทั้งสองบริษัทไม่ได้ระบุราคาขาย, แต่สื่อของรัสเซียอ้างข้อมูลในท้องถิ่นว่า Avilon จ่ายเงินไปประมาณ ๑๒๕ ล้านยูโร (๑๓๕ ล้านดอลลาร์) . โรงงาน Volkswagen ในคาลูกาแห่งเดิมกลับมาเปิดดำเนินการอีกครั้ง, เนื่องจากภาคส่วนรถยนต์ของรัสเซียฟื้นตัวเต็มที่จนกลับมาเท่ากับระดับการผลิตก่อน-สงคราม ในเดือนกรกฎาคม . 🇷🇺🇩🇪 SMART: Russia invites German Volkswagen workers, because the German factories close! “Russia to open Jetta factories, the Chinese analogue of Volkswagen Audi Group, for German employees. Russia will be providing jobs for German specialists who will be able to obtain Russian citizenship after five years. It is impossible to watch a giant in Germany collapse. Volkswagen Audi Group’s cars have always been of the best quality and loved all over the world.” Minister of Industry and Trade Anton Alikhanov announced plans to open production facilities for the Chinese brand Jetta, which produces Volkswagen cars under its own brand, in five cities in the Russian Federation against the backdrop of the closure of factories in Germany. “A legal entity is currently being created to open five VAG factories in Russia. In addition to Kaluga, production facilities will appear in Vsevolozhsk, Kaliningrad, Novokuibyshevsk and Naberezhnye Chelny.“ — Alikhanov said 1/ . 🇷🇺🇩🇪 Volkswagen Sells Its Russia Operations, Including an Assembly Plant Volkswagen’s assembly plant in western Russia, in December. It had capacity to turn out 225,000 vehicles a year. Volkswagen has sold its assembly plant and other operations in Russia to a local auto dealership, more than a year after the German carmaker ceased production in the country following the invasion of Ukraine, the company said on Friday. Under the deal, which required approval from the Russian government, a Moscow-based dealership called Avilon acquired the assets of Volkswagen Group Rus, the carmaker said. Neither company specified a sales price, but Russia media citing local records said Avilon paid about 125 million euros ($135 million) 2/ . The former Volkswagen plant in Kaluga is back online, as Russia's car sector makes a full recovery to pre-war production levels in July 3/ . 9:54 PM · Nov 3, 2024 · 339.6K Views https://x.com/MyLordBebo/status/1853088468412366868
    Like
    1
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน

    นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน

    อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น

    จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522

    นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม

    นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน

    นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์

    ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้

    นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้

    ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน

    ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์

    https://mgronline.com/china/detail/9670000104850

    #Thaitimes
    ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522 นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้ นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้ ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ https://mgronline.com/china/detail/9670000104850 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    ทำไมจีนยังไม่ส่งทูตคนใหม่มาประจำที่เกาหลีใต้?
    ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 447 มุมมอง 0 รีวิว
  • ณ บ้านพระอาทิตย์
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516



    นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้

    1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด

    3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line)

    อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา

    โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

    “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์”

    พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้

    “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้

    พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

    มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ”

    ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้

    ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า



    “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“

    อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์

    ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย

    ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน

    ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย

    ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า

    “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511”

    แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน

    ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น

    ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า

    “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“



    หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น

    ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด

    แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516

    ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย

    แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี

    แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล

    ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล

    การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย

    MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“

    เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่?

    ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน

    จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า

    “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

    จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป”

    โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ

    จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น

    ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่?

    ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย

    สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่

    ด้วยจิตคารวะ
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530

    #Thaitimes
    ณ บ้านพระอาทิตย์ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ การประกาศขีดเส้นเขตไหล่ทวีป และทะเลอาณาเขตของกัมพูชาในปี พ.ศ. 2515 ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากลนั้น ได้มีการละเมิดสิทธิและอธิปไตยทางทะเลของราชอาณาจักรไทยอย่างชัดเจน และส่งผลทำให้ราชอาณาจักรไทยได้ “ปฏิเสธ” การประกาศขีดเส้นที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชาไปแล้ว ด้วยการมีพระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากนั้นในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับอ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้ พระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ที่ลากเส้นจากหลักเขตที่ 73 มาประชิดเกาะกูดด้านตะวันออก แล้วอ้อมเกาะกูดไปด้านล่างแล้ววกกลับมาเป็นรูปตัว U แล้วลากเส้นต่อเนื่องไปยังทิศตะวันตกของเกาะกูดลึกเข้าไปในอ่าวไทยก็ดี หรือพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาฝ่ายเดียว ซึ่งกำหนดแผนที่แสดงการลาก “เส้นทะเลอาณาเขต” ของกัมพูชาจากหลักเขตที่ 73 ประชิดด้านทิศตะวันตกของเกาะกูด ฉบับเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2515 ก็ดี ล้วนเป็นแผนที่กำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลที่ “ละเมิดสิทธิและละเมิดอธิปไตยของประเทศไทย“ทั้งสิ้น และยังไม่เป็นไปตามกฎหมายทะเลสากล เพราะไม่เป็นไปตามบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 อีกด้วย โดยมีผลตามมาดังนี้ 1.ละเมิด ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 2.ละเมิดเขตทะเลต่อเนื่อง 24 ไมล์ทะเลของราชอาณาจักรไทยรอบเกาะกูด 3.ละเมิดเขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทยที่มีการแบ่งครึ่งมุมระหว่างเกาะกูดกับเกาะกงจากหลักเขตที่ 73 จึงเป็นการละเมิดเส้นแบ่งที่ระยะทางเท่ากันระหว่างไทยและกัมพูชา (Equidistant Line) อย่างไรก็ตาม ราชอาณาจักรไทยได้เคย “ปฏิเสธ” การขีดเส้นทางทะเลของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลไปแล้วในเวลาต่อมา โดยราชอาณาจักรไทยได้มีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 โดยมีจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ “พระบรมราชโองการ” ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า “Royal Command” ซึ่งมีความหมายว่า “คำสั่งราชการของพระมหากษัตริย์” พระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระราชอำนาจภายใต้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ที่เกี่ยวพันกับสถานภาพกำหนดเขตแดนทางทะเลของ “ราชอาณาจักรไทย” กับ “จอมทัพไทย” และองค์พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงเป็นประมุขแห่งราชอาณาจักรไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังนี้ “มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย มาตรา 18 บรรดาบทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการใดๆ อันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ” ดังนั้น พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เป็นพระบรมราชโองการที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน จึงมีผลตามกฎหมายและต้องมีการบังคับใช้จนถึงปัจจุบัน หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นต้องมีการแก้ไขด้วยพระบรมราชโองการเช่นกัน ดังนั้นจะอาศัยนักการเมืองไปตกลงกันเองตามอำเภอใจโดยขัดต่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้ ความสำคัญของพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 นอกจากจะมีความหมายถึงการ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่รุกล้ำราชอาณาเขตทะเลไทยแล้ว ยังได้ประกาศถึงเรื่อง “สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ” อย่างชัดเจนดังปรากฏเป็นข้อความในพระบรมราชโองการความว่า “เพื่อความมุ่งประสงค์ในการใช้สิทธิอธิปไตยของประเทศไทยในการสำรวจและการแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทย จึงกำหนดให้เขตไหล่ทวีปตามแผนที่และพิกัดภูมิศาสตร์ของแต่ละจุดที่ประกอบเป็นเขตไหล่ทวีปของไทย ซึ่งแนบท้ายประกาศนี้เป็นเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยด้านอ่าวไทย“ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีพระบรมราชโองการฉบับนี้เป็นเวลา 2 ปี คือปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2515 รัฐบาลราชอาณาจักรไทยได้ทำการให้สัมปทานปิโตรเลียมให้กับต่างชาติไปแล้วหลายแปลง โดยเฉพาะกลุ่มทุนจาก สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และญี่ปุ่น ที่ยึดถือการซื้อขายปิโตรเลียมเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือที่เรียกว่า ปิโตรดอลลาร์ ดังนั้น การที่กัมพูชาตราพระราชกฤษฎีกาของราชอาณาจักรกัมพูชาได้กำหนดแผนที่ “เส้นเขตไหล่ทวีป” ของราชอาณาจักรกัมพูชา ฉบับเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 ย่อมทำให้ผู้รับสัมปทานในประเทศไทยยังไม่สามารถดำเนินการให้สำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยได้ และอาจทำให้แหล่งปิโตรเลียมของราชอาณาจักรไทยกลายเป็นของกัมพูชาได้ด้วย ประกอบกับในเวลานั้นประเทศไทยได้ผ่านบทเรียนราคาแพงมาเป็นเวลา 10 ปีที่ได้สูญเสียปราสาทพระวิหารไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2505 ที่คำตัดสินของศาลโลกให้ประเทศไทยแพ้คดีด้วยเพราะ “กฎหมายปิดปาก” โดยอ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ฝรั่งเศส อ้างว่าฝ่ายไทยนิ่งเฉยต่อการสำแดงอธิปไตยของกัมพูชา ทั้งๆ ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนยอดหน้าผาฝั่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติที่ชัดเจน ดังนั้น ประเทศไทยจะดำเนินการปฏิเสธเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาฉบับปี พ.ศ. 2515 จึงต้องมีความรอบคอบ รัดกุม และคำนึงถึงการปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ ไม่ให้ถูกแย่งชิงแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยให้ไปเป็นของกัมพูชา ไม่ให้ซ้ำรอยการสูญเสียปราสาทพระวิหารของไทยในปี พ.ศ. 2505 ด้วย ดังนั้น เพื่อความสมบูรณ์และชอบธรรมในการ “ปฏิเสธ” แผนที่เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ไม่กระทำการตามกฎหมายทะเลสากล พระบรมราชโองการประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 จึงอยู่บน “มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล” ดังความปรากฎในพระบรมราชโองการว่า “ในการกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ ได้ยึดถือมูลฐานแห่งสิทธิตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อันเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป และตามอนุสัญญาว่าด้วยไหล่ทวีป ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958 และประเทศไทยได้ให้สัตยาบันไว้แล้วเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2511” แม้ราชอาณาจักรไทยจะมีพระบรมราชโองการประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปที่อยู่บนมูลฐานของกฎหมายสากล แต่ก็ยังมีความตระหนักด้วยว่าอาจจะต้องมีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อพิพาท “ในอนาคต” กับเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาอย่างแน่นอน ราชอาณาจักรไทยจึงได้ประกาศโดยพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 กำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปนั้น ได้วางหลักในอนาคตว่าหากจะมีการตกลงกันในวันข้างหน้าจะต้องใช้มูลฐานของกฎหมายสากลเท่านั้น ซึ่งแปลว่าฝ่ายราชอาณาจักรไทยนอกจากจะประกาศ “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตย ณ วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 แล้ว ยังจะต้อง “ปฏิเสธ” เส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลทุกกรณีใน “อนาคต” ด้วย ดังข้อความปรากฏในพระบรมราชโองการความว่า “สำหรับสิทธิอธิปไตยในส่วนที่เป็นทะเลอาณาเขตซึ่งต่อเนื่องกับทะเลอาณาเขตใกล้เคียงอันจะถือเป็นจุดเริ่มของเส้นแบ่งเขตไหล่ทวีปนั้นจะเป็นไปตามที่จะได้ตกลงกัน โดยยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958“ หมายความว่าหากราชอาณาจักรไทยมีข้อพิพาทในอาณาเขตใกล้เคียงกันแล้วก็เปิดทางให้ตกลงกันได้ แต่ต้อง “ยึดถือมูลฐานแห่งบทบัญญัติของอนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขตและเขตต่อเนื่อง ซึ่งกระทำ ณ กรุงเจนีวา ลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1958” เท่านั้น ดังเช่นกรณีพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างเส้นเขตไหล่ทวีปของประเทศตัวเองให้ได้เปรียบที่สุด แต่เมื่อทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันโดยอาศัยมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล จึงสามารถยอมรับการอ้างสิทธิทับซ้อนเหลื่อมล้ำกันของพื้นที่ซึ่งกันและกันได้ และยังคงเป็นการดำเนินรอยตามพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียในการแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม โดยการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของไทย-มาเลเซียในอ่าวไทย แต่เมื่อจะมีบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรร่วมเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นดินใต้ทะเลในบริเวณที่กำหนดของไหล่ทวีปของประเทศทั้งสองในอ่าวไทยแล้ว ก็ยังต้องอาศัยพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้บันทีกความเข้าใจฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 และรับสนองพระบรมราชโองการโดย พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี แต่กรณีของเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บนฐานของมูลฐานของกฎหมายทะเลสากล ซึ่งราชอาณาจักรไทย ได้ “ปฏิเสธ” ไปแล้วโดยมีพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 และได้ “ปฏิเสธ” การตกลงกันในอนาคตด้วย เพราะการขีดเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาดังกล่าวไม่ได้อยู่บนมูลฐานของมูลฐานแห่งบทบัญญัติของกฎหมายทะเลสากล ดังนั้น บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย ปี พ.ศ. 2544 (MOU 2544) ในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ลงนามกันเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปลี่ยนสถานภาพในหลักการสำคัญ จากการ “ปฏิเสธ“ เส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย มากลายเป็น “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” พื้นที่อ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปของประเทศกัมพูชาที่ขีดเส้นตามอำเภอใจและไม่เป็นไปตามกฎหมายสากล การที่ประเทศไทย “ไม่ปฏิเสธ” การลากเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายสากลของกัมพูชา ย่อมเท่ากับประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสุ่มเสี่ยงที่ถูกตีความได้ว่าราชอาณาจักรไทยได้ “สละสิทธิ” จุดแข็งที่สุดคือการลากเส้นไหล่ทวีปตามกฎหมายสากลเพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็นการยอมรับการเกิดพื้นที่ไม่แน่ชัดเหลื่อมซ้อนกันระหว่างการลากเส้นตามกฎหมายสากลของราชอาณาจักรไทย กับการลากเส้นตามอำเภอใจของกัมพูชาที่ละเมิดสิทธิและอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย MOU 2544 จึงอาจเข้าข่ายการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการในสมัยรัชกาลที่ 9 ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยของราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เนื่องด้วยมีการ “รับรู้” และ “ไม่ปฏิเสธ” การอ้างสิทธิทับซ้อนโดยอาศัยการขีดเส้นไหล่ทวีปของกัมพูชาซึ่งไม่อยู่บน ”มูลฐานของกฎหมายทะเลสากล“ เรากำลังขาดสติเดินตามรอย “กฎหมายปิดปาก”เสี่ยงสูญเสียเกาะกูดในอนาคตได้เหมือนการสูญเสียปราสาทพระวิหารในอดีตหรือไม่? ความสุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้เคยเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันอย่างมากระหว่างรัฐบาลไทยและภาคประชาชนต่อเนื่องมาก่อนแล้วเมื่อ 16 ปีก่อน จนในที่สุดในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้ว ดังปรากฏหลักฐานของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ได้ตอบกระทู้ของนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ความตอนหนึ่งว่า “ขอกราบเรียนดังนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการยกเลิกบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน ฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2554 แต่โดยที่เรื่องดังกล่าวต้องนำเสนอรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ จึงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาข้อกฎหมายให้รอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป แล้วก็กระทรวงการต่างประเทศโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมายกำลังดำเนินการศึกษาและพิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา แล้วก็เพื่อเสนอต่อรัฐสภาต่อไป” โดยพรรคร่วมรัฐบาลในขณะนั้นที่เห็นชอบในหลักการให้ยกเลิก MOU 2544 ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา พรรคกิจสังคม และพรรคมาตุภูมิ จริงอยู่ที่ว่าการยกเลิก MOU 2544 จนปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ แต่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 มีผลผูกพันทางกฎหมายอย่างแน่นอน และยังมีผลจนถึงปัจจุบันหากยังไม่มีมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การปฏิบัติหน้าที่ของทุกกระทรวงจะดำเนินการไปในหลักการอื่นโดยฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 จะทำต่อไปได้อย่างไร ยกเว้นเสียแต่ว่ามีการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรีเสียใหม่ จริงหรือไม่? ดังนั้น การเดินหน้าในการแบ่งผลประโยชน์ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม MOU 2544 ต่อไป อาจเข้าข่ายไม่เพียงเป็นการฝ่าฝืนพระบรมราชโองการสมัยรัชกาลที่ 9 ที่ประกาศกำหนดเขตไหล่ทวีปประเทศไทยด้านอ่าวไทยเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 เท่านั้น แต่ยังฝ่าฝืนต่อมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 อีกด้วย สำหรับ นายภูมิธรรม เวชชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แทนที่จะมากล่าวหาว่าประชาชนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเดินหน้า MOU 2544 ว่าเป็นพวกคลั่งชาตินั้น ก็ควรจะสำรวจรัฐบาลตัวเองด้วยว่ากำลังขายชาติอยู่หรือไม่ ด้วยจิตคารวะ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต https://mgronline.com/daily/detail/9670000105530 #Thaitimes
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 666 มุมมอง 0 รีวิว
  • โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้ประกันตน 2567 เริ่ม 1 พ.ย. 2567 กู้ได้ 2 ล้าน
    .
    วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เร่งผลักดันนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จับมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง จัดโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 เพื่อเป้าหมาย “ทำให้คนไทยมีบ้าน” โดยจะช่วยให้ผู้ประกันตนทุกคนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นั้น
    .
    สำนักงานประกันสังคม จึงได้นำโครงการดังกล่าว เสนอคณะกรรมการประกันสังคม และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ให้ดำเนิน "โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567” สามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ภายในวงเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ให้กับผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องส่งเงินสมทบต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนเดือนที่ขอใช้สิทธิ
    .
    โดยมีวัตถุประสงค์
    - เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
    - เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
    - เพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัย
    ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีภาระผ่อนที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ผู้ประกันตนสามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 1.59 ต่อปี คงที่เป็นระยะเวลา 5 ปี และในปีที่ 6 – 8 อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 2 ต่อปี (MRR–2%) และตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 0.5 ต่อปี (MRR–0.5%) โดยผู้ประกันตนจะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท
    .
    ผู้ประกันตนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ ดาวน์โหลด Application SSO Plus เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นประกอบการขอสินเชื่อฯ
    .
    ที่มา: สำนักงานประกันสังคม
    .
    - https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/e1fb643574d4535064f0e92a999729f9.pdf
    .
    #PlanWise
    โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้ประกันตน 2567 เริ่ม 1 พ.ย. 2567 กู้ได้ 2 ล้าน . วันที่ 31 ตุลาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลและกระทรวงแรงงาน มีนโยบายให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงให้แก่ผู้ใช้แรงงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น โดยนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้เร่งผลักดันนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน จับมือกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง จัดโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567 เพื่อเป้าหมาย “ทำให้คนไทยมีบ้าน” โดยจะช่วยให้ผู้ประกันตนทุกคนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นั้น . สำนักงานประกันสังคม จึงได้นำโครงการดังกล่าว เสนอคณะกรรมการประกันสังคม และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ให้ดำเนิน "โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ปี 2567” สามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ภายในวงเงินจำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ให้กับผู้ประกันตนทั้งมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 ต้องส่งเงินสมทบต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนเดือนที่ขอใช้สิทธิ . โดยมีวัตถุประสงค์ - เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย - เพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย - เพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีภาระผ่อนที่อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567 เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ผู้ประกันตนสามารถขอสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ร้อยละ 1.59 ต่อปี คงที่เป็นระยะเวลา 5 ปี และในปีที่ 6 – 8 อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 2 ต่อปี (MRR–2%) และตั้งแต่ปีที่ 9 เป็นต้นไป อัตราดอกเบี้ย MRR–ร้อยละ 0.5 ต่อปี (MRR–0.5%) โดยผู้ประกันตนจะได้รับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำไม่เกินรายละ 2,000,000 บาท . ผู้ประกันตนที่สนใจเข้าร่วมโครงการสินเชื่อฯ ดาวน์โหลด Application SSO Plus เพื่อขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป เพื่อนำเอกสารดังกล่าวไปยื่นประกอบการขอสินเชื่อฯ . ที่มา: สำนักงานประกันสังคม . - https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/e1fb643574d4535064f0e92a999729f9.pdf . #PlanWise
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 109 มุมมอง 0 รีวิว
  • อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 451 มุมมอง 0 รีวิว
  • อิสราเอลโจมตีที่ตั้งทางทหารของอิหร่าน ระบุเป็นการแก้แค้นกรณีที่เตหะรานยังยิงขีปนาวุธเข้าใส่รัฐยิวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ในการยิงตอบโต้กันไปมาล่าสุด ในความขัดแย้งที่ดูเหมือนกำลังลุกลามบานปลายระหว่าง 2 คู่อริในตะวันออกกลาง
    .
    แม้กองทัพอิสราเอลประกาศว่าภารกิจการโจมตีเสร็จสิ้นแล้วและบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ พร้อมกับเตือนอิหร่านอย่าคิดตอบโต้ แต่ดูเหมือนสถานการณ์ส่อเค้าหลุดจากการควบคุม เมื่อสื่อมวลชนกึ่งรัฐของเตหะราน รายงานว่า อิหร่านประกาศจะตอบโต้อย่างทัดเทียมต่อปฏิบัติการของอิสราเอล
    .
    ท่ามกลางการยิงตอบโต้กันทางอากาศพิสัยไกล สำนักข่าวรอยเตอร์จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพอากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศของทั้ง 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน
    .
    กองทัพอากาศอิหร่านมีบุคลากร 37,000 นาย แต่มาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติที่บังคับใช้มานานหลายทศวรรษ ได้ตัดขาดอิหร่านอออกจากยุทโธปกรณ์ทางทหารล้ำสมัยล่าสุดเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยยุทธศาสตร์ศึกษา (IISS)
    .
    ข้อมูลระบุว่า กองทัพอากาศอิหร่านมีเครื่องบินโจมตีที่ใช้งานได้เพียงไม่กี่สิบลำ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินสัญชาติรัสเซียและเครื่องบินรุ่นเก่าๆ ของสหรัฐฯ ที่จัดซื้อก่อนหน้าเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลามปี 1979
    .
    IISS บอกว่าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านมีฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-4 และ F-5 จำนวน 9 ลำ และฝูงบินซูคอย-24 ที่ผลิตโดยรัสเซีย 1 กองบิน และมีเครื่องบิน MiG-29s, F7 และ F14 อยู่อีกจำนวนหนึ่ง
    .
    นอกจากนี้ อิหร่านยังมีเครื่องบินไร้คนขับที่ออกแบบมาเพื่อบินสู่เป้าหมายและจุดชนวนระเบิด ขณะที่พวกนักวิเคราะห์ประมาณการว่าคลังแสงโดรนของเตหะรานอยู่ในระดับต่ำไม่กี่พันลำ ยิ่งไปกว่านั้น แม้อิหร่านมีขีปนาวุธยิงจากพื้นผิวสู่พื้นผิวมากกว่า 3,500 ลูกและบางส่วนสามารถบรรทุกหัวรบได้หนักกว่าครึ่งตัน แต่มีจำนวนไม่มากนักที่มีศักยภาพพุ่งไปถึงอิสราเอล
    .
    กองบัญชาการกองทัพอิหร่านเคยระบุเมื่อเดือนเมษายน ว่า ฝูงบินซูคอย-24 ของพวกเขา "อยู่ในสถานะพร้อมเต็มขั้น" สำหรับตอบโต้การโจมตีใดๆ ของอิสราเอล แต่การที่อิหร่านพึ่งพิงซูคอย-24 ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคสมัยทศวรรษ 1960 เน้นย้ำว่ากองทัพอากาศของพวกเขาอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างอ่อนแอ
    .
    สำหรับการป้องกันตนเอง อิหร่านพึ่งพิงขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นสู่อากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศ ทั้งจากรัสเซียและที่ผลิตเองภายในประเทศ

    อิหร่านเคยได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 จากรัสเซียในปี 2026 โดย S-300 คือขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่อากาศ ศักยภาพโจมตีเป้าหมายต่างๆ หลายเป้าหมายพร้อมกัน ในนั้นรวมถึงเครื่องบินและขีปนาวุธ
    .
    นอกจากนี้ อิหร่านยังมีแท่นยิงขีปนาวุธจากภาคพื้นสู่อากาศ "บาวาร์-373" เช่นเดียวกับระบบป้องกันตนเอง Sayyad และ Raad
    .
    ในส่วนของอิสราเอล พวกเขามีกองทัพอากาศล้ำสมัยที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F-15, F-16 และ F-35 จำนวนหลายร้อยลำ เครื่องบินเหล่านี้มีบทบาทในการสอยร่วงโดรนของอิหร่านเมื่อเดือนเมษายน ครั้งที่เตหะรานปล่อยโดรนระเบิดและรัวยิงขีปนาวุธโจมตีโดยตรงเข้าใส่ดินแดนของอิสราเอลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
    .
    อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศอิสราเอลไม่มีฝูงบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล แม้มีเครื่องบินโบอิ้ง 707 ฝูงเล็กๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นเครื่องเติมน้ำมัน ที่จะคอยช่วยเหลือให้บรรดาเครื่องบินขับไล่บินไปถึงอิหร่าน เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายที่เล็งเอาไว้
    .
    กองทัพอากาศอิสราเอลเคยพิสูจน์ถึงศักยภาพในการโจมตีเป้าหมายพิสัยไกลต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ฝูงบินขับไล่ของพวกเขาโจมตีพื้นที่ต่างๆ ใกล้ท่าเรือโฮเดดาห์ของเยเมน แก้แค้นที่พวกฮูตีส่งโดรนโจมตีเมืองเทลอาวีฟ
    .
    ในการบุกเบิกสู่เทคโนโลยีโดรน อิสราเอลมีเครื่องบินไร้คนขับ "เฮรอน" ที่สามารถบินไปนานกว่า 30 ชั่วโมง เพียงพอที่จะปฏิบัติการเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล กระสุนร่อนขีปนาวุธ Delilah ของมัน คาดการณ์ว่าระยะทำการราว 250 กิโลเมตร ใกล้เคียงกับภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่อิหร่านตั้งอยู่ แต่กองทัพสามารถปิดช่องว่างดังกล่าวด้วยการส่งกระสุนเข้าไปใกล้ชายแดนของอิหร่านมากขึ้น
    .
    เชื่อกันว่า อิสราเอลกำลังพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่ภาคพื้น แต่พวกเขาไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว
    .
    นอกจากนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายชั้นที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเช่นกัน โดยมันมอบทางเลือกเพิ่มเติมหลายทางเลือกแก่อิสราเอล สำหรับสอยร่วงการโจมตีพิสัยไกลด้วยโดรนและขีปนาวุธโดยอิหร่าน
    .
    ระบบดังกล่าวคือ Arrow-3 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยไกลที่เคลื่อนที่ไปในแนวโค้งสูงสุดนอกชั้นบรรยากาศของโลก ขณะที่รุ่นก่อนหน้านี้ Arrow-2 ทำงานในระดับความสูงที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ อิสราเอลยังมีระบบพิสัยกลาง David's Sling ไว้ตอบโต้ขีปนาวุธและขีปนาวุธร่อน ส่วนระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธ Iron Dome มีไว้จัดการกับจรวดและกระสุนปืนครกที่พวกกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในกาซาและเลบานอนใช้ยิงเข้าใส่ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว มันสามารถยิงสกัดขีปนาวุธทรงอานุภาพใดๆ ที่เล็ดลอด Arrow หรือ avid's Sling มาได้
    .
    ทั้งนี้ ระบบต่างๆ ของอิสราเอลถูกออกแบบให้เข้ากับตัวสกัดกั้นต่างๆ ของกองทัพสหรัฐฯ ที่มีอยู่ในภูมิภาค เพื่อเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองของพันธมิตร
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000103386
    ..............
    Sondhi X
    อิสราเอลโจมตีที่ตั้งทางทหารของอิหร่าน ระบุเป็นการแก้แค้นกรณีที่เตหะรานยังยิงขีปนาวุธเข้าใส่รัฐยิวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ในการยิงตอบโต้กันไปมาล่าสุด ในความขัดแย้งที่ดูเหมือนกำลังลุกลามบานปลายระหว่าง 2 คู่อริในตะวันออกกลาง . แม้กองทัพอิสราเอลประกาศว่าภารกิจการโจมตีเสร็จสิ้นแล้วและบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ พร้อมกับเตือนอิหร่านอย่าคิดตอบโต้ แต่ดูเหมือนสถานการณ์ส่อเค้าหลุดจากการควบคุม เมื่อสื่อมวลชนกึ่งรัฐของเตหะราน รายงานว่า อิหร่านประกาศจะตอบโต้อย่างทัดเทียมต่อปฏิบัติการของอิสราเอล . ท่ามกลางการยิงตอบโต้กันทางอากาศพิสัยไกล สำนักข่าวรอยเตอร์จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพอากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศของทั้ง 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน . กองทัพอากาศอิหร่านมีบุคลากร 37,000 นาย แต่มาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติที่บังคับใช้มานานหลายทศวรรษ ได้ตัดขาดอิหร่านอออกจากยุทโธปกรณ์ทางทหารล้ำสมัยล่าสุดเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยยุทธศาสตร์ศึกษา (IISS) . ข้อมูลระบุว่า กองทัพอากาศอิหร่านมีเครื่องบินโจมตีที่ใช้งานได้เพียงไม่กี่สิบลำ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินสัญชาติรัสเซียและเครื่องบินรุ่นเก่าๆ ของสหรัฐฯ ที่จัดซื้อก่อนหน้าเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลามปี 1979 . IISS บอกว่าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านมีฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-4 และ F-5 จำนวน 9 ลำ และฝูงบินซูคอย-24 ที่ผลิตโดยรัสเซีย 1 กองบิน และมีเครื่องบิน MiG-29s, F7 และ F14 อยู่อีกจำนวนหนึ่ง . นอกจากนี้ อิหร่านยังมีเครื่องบินไร้คนขับที่ออกแบบมาเพื่อบินสู่เป้าหมายและจุดชนวนระเบิด ขณะที่พวกนักวิเคราะห์ประมาณการว่าคลังแสงโดรนของเตหะรานอยู่ในระดับต่ำไม่กี่พันลำ ยิ่งไปกว่านั้น แม้อิหร่านมีขีปนาวุธยิงจากพื้นผิวสู่พื้นผิวมากกว่า 3,500 ลูกและบางส่วนสามารถบรรทุกหัวรบได้หนักกว่าครึ่งตัน แต่มีจำนวนไม่มากนักที่มีศักยภาพพุ่งไปถึงอิสราเอล . กองบัญชาการกองทัพอิหร่านเคยระบุเมื่อเดือนเมษายน ว่า ฝูงบินซูคอย-24 ของพวกเขา "อยู่ในสถานะพร้อมเต็มขั้น" สำหรับตอบโต้การโจมตีใดๆ ของอิสราเอล แต่การที่อิหร่านพึ่งพิงซูคอย-24 ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคสมัยทศวรรษ 1960 เน้นย้ำว่ากองทัพอากาศของพวกเขาอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างอ่อนแอ . สำหรับการป้องกันตนเอง อิหร่านพึ่งพิงขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นสู่อากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศ ทั้งจากรัสเซียและที่ผลิตเองภายในประเทศ อิหร่านเคยได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 จากรัสเซียในปี 2026 โดย S-300 คือขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่อากาศ ศักยภาพโจมตีเป้าหมายต่างๆ หลายเป้าหมายพร้อมกัน ในนั้นรวมถึงเครื่องบินและขีปนาวุธ . นอกจากนี้ อิหร่านยังมีแท่นยิงขีปนาวุธจากภาคพื้นสู่อากาศ "บาวาร์-373" เช่นเดียวกับระบบป้องกันตนเอง Sayyad และ Raad . ในส่วนของอิสราเอล พวกเขามีกองทัพอากาศล้ำสมัยที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F-15, F-16 และ F-35 จำนวนหลายร้อยลำ เครื่องบินเหล่านี้มีบทบาทในการสอยร่วงโดรนของอิหร่านเมื่อเดือนเมษายน ครั้งที่เตหะรานปล่อยโดรนระเบิดและรัวยิงขีปนาวุธโจมตีโดยตรงเข้าใส่ดินแดนของอิสราเอลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ . อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศอิสราเอลไม่มีฝูงบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล แม้มีเครื่องบินโบอิ้ง 707 ฝูงเล็กๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นเครื่องเติมน้ำมัน ที่จะคอยช่วยเหลือให้บรรดาเครื่องบินขับไล่บินไปถึงอิหร่าน เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายที่เล็งเอาไว้ . กองทัพอากาศอิสราเอลเคยพิสูจน์ถึงศักยภาพในการโจมตีเป้าหมายพิสัยไกลต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ฝูงบินขับไล่ของพวกเขาโจมตีพื้นที่ต่างๆ ใกล้ท่าเรือโฮเดดาห์ของเยเมน แก้แค้นที่พวกฮูตีส่งโดรนโจมตีเมืองเทลอาวีฟ . ในการบุกเบิกสู่เทคโนโลยีโดรน อิสราเอลมีเครื่องบินไร้คนขับ "เฮรอน" ที่สามารถบินไปนานกว่า 30 ชั่วโมง เพียงพอที่จะปฏิบัติการเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล กระสุนร่อนขีปนาวุธ Delilah ของมัน คาดการณ์ว่าระยะทำการราว 250 กิโลเมตร ใกล้เคียงกับภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่อิหร่านตั้งอยู่ แต่กองทัพสามารถปิดช่องว่างดังกล่าวด้วยการส่งกระสุนเข้าไปใกล้ชายแดนของอิหร่านมากขึ้น . เชื่อกันว่า อิสราเอลกำลังพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่ภาคพื้น แต่พวกเขาไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว . นอกจากนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายชั้นที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเช่นกัน โดยมันมอบทางเลือกเพิ่มเติมหลายทางเลือกแก่อิสราเอล สำหรับสอยร่วงการโจมตีพิสัยไกลด้วยโดรนและขีปนาวุธโดยอิหร่าน . ระบบดังกล่าวคือ Arrow-3 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยไกลที่เคลื่อนที่ไปในแนวโค้งสูงสุดนอกชั้นบรรยากาศของโลก ขณะที่รุ่นก่อนหน้านี้ Arrow-2 ทำงานในระดับความสูงที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ อิสราเอลยังมีระบบพิสัยกลาง David's Sling ไว้ตอบโต้ขีปนาวุธและขีปนาวุธร่อน ส่วนระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธ Iron Dome มีไว้จัดการกับจรวดและกระสุนปืนครกที่พวกกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในกาซาและเลบานอนใช้ยิงเข้าใส่ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว มันสามารถยิงสกัดขีปนาวุธทรงอานุภาพใดๆ ที่เล็ดลอด Arrow หรือ avid's Sling มาได้ . ทั้งนี้ ระบบต่างๆ ของอิสราเอลถูกออกแบบให้เข้ากับตัวสกัดกั้นต่างๆ ของกองทัพสหรัฐฯ ที่มีอยู่ในภูมิภาค เพื่อเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองของพันธมิตร . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000103386 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1380 มุมมอง 1 รีวิว
  • แหกดวงชะตา "ลัคนาราศีกรกฎ" เดือนพฤศจิกายน 2567
    https://youtu.be/jCXXkgQ1cuc
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร ดวงชะตา เรื่องน่ารู้ และเคล็ดลับการเสริมดวง ได้ที่
    📍YouTube : / @1000payakorn
    📍Facebook : / ๑๐๐๐พยากรณ์
    📍Tik Tok : / 1000payakon
    ติดต่อสอบถามรับนัดคิวรับดวงชะตาส่วนตัวได้ที่เพจ ๑,๐๐๐ พยากรณ์ ที่เดียวเท่านั้น
    มีแอดมินคอยตอบ ๒๔ ชั่วโมง!!!!
    #๑๐๐๐พยากรณ์ #ดูดวง #กรกฏ #กรกฎ #โหร๑๐๐๐พยากรณ์
    แหกดวงชะตา "ลัคนาราศีกรกฎ" เดือนพฤศจิกายน 2567 https://youtu.be/jCXXkgQ1cuc ติดตามข้อมูลข่าวสาร ดวงชะตา เรื่องน่ารู้ และเคล็ดลับการเสริมดวง ได้ที่ 📍YouTube : / @1000payakorn 📍Facebook : / ๑๐๐๐พยากรณ์ 📍Tik Tok : / 1000payakon ติดต่อสอบถามรับนัดคิวรับดวงชะตาส่วนตัวได้ที่เพจ ๑,๐๐๐ พยากรณ์ ที่เดียวเท่านั้น มีแอดมินคอยตอบ ๒๔ ชั่วโมง!!!! #๑๐๐๐พยากรณ์ #ดูดวง #กรกฏ #กรกฎ #โหร๑๐๐๐พยากรณ์
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts