รายงานข่าวออนไลนี้ 7 HD เมื่อ 6 มกราคม 2568 ระบุว่าอดีตที่ปรึกษา WHO แฉภาครัฐปกปิดตัวเลขตาย-เจ็บ ช่วงเทศกาลต่ำกว่าความเป็นจริง 10 เท่า เผยรายงานจาก สธ. บาดเจ็บกว่า 3 หมื่น ตาย 537 แต่รัฐแถลงแค่หลักพันตายกว่า 436 ราย มอร์เตอร์ไซค์ยังคงครองแชมป์เจ็บตายสูงสุด ขณะเด็กอายุต่ำกว่า 20 ดื่มแล้วขับร่วม 4,000 คน
พญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ (Regional advisor WHO SEARO, Ret. ) และหัวหน้าโครงการขับเคลื่อนไทยปลอดจากภัยจักรยานยนต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และ มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation เปิดเผยถึงการแถลงตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 10 วันอันตราย โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ว่า
เห็นตัวเลขที่ทางราชการแถลงแล้ว รู้สึกได้ถึงความไม่ตรงไปตรงมาของภาครัฐในการที่จะแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของคนไทย ตัวเลขที่แถลงสรุปว่าอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 10 วันของการรณรงค์ (27 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,467 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,376 คน ผู้เสียชีวิต รวม 436 คน ซึ่งห่างจากตัวเลขที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของ กระทรวงสาธารณสุขถึง 10 เท่า
อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลก ให้ข้อมูลว่า ตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิต ที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเวลา 07.20 น. วันที่ 6 มกราคม 2568 สรุปตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ระหว่าง 27ธ.ค.2567 – 5 ม.ค. 2568 จากทั่วประเทศ ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 31,572 ราย เสียชีวิต 537 ราย ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหรือ 16,026 ราย ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัวในรพ. 8,347 ราย
“เฉพาะตัวเลขคนเสียชีวิตก็ต่างกันถึง 101 ราย คนร้อยกว่าคนตายแต่ไม่มีรายงานตัวเลข แปลว่าอะไร ยิ่งตัวเลขการบาดเจ็บต่างกันหลักหมื่น ดิฉันจากเมืองไทยไปกว่า 20 ปี แต่ระบบการรายงานตัวเลขยังเป็นแบบเดิม ตั้งเป้าโดยใช้จำนวนตายมาวัดในหลายจังหวัดมีประวัติการแอบซ่อนจำนวนเคสมาตั้งแต่สมัยการตั้งเป้าไข้เลือดออกกับสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งโดยหลักการการตั้งเป้าต้องมีเป้า input (งบประมาน) และ output ผลงานประกอบคู่กันด้วยเพื่อดูว่าทำจริงหรือแค่ซ่อนเคส ทั้ง ๆ ที่มีการตั้งจุดตรวจหลักถึง 1,768 จุด จัดชุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากถึง 50,114 คน แต่ตัวเลขที่รายงานกับตกหล่นมากขนาดนี้ ” พญ.ชไมพันธุ์ กล่าว และว่า สาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิต มาจากการดื่มแล้วขับถึง 4,798 ราย ในจำนวนนี้มีเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ดื่มแล้วขับถึง 4,080 ราย
“ดิฉันรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลที่แล้วต่อมาจนถึงรัฐบาลนี้ รวมทั้งพรรคฝ่ายค้านบางพรรคการเมือง ที่พยายามส่งสัญญาณ ถึงประชาชนเรื่องการลดภาษีไวน์ หรือการเปิดให้ดื่มเหล้าโดยไม่คุมเวลา ขยายเปิดผับถึงตีสี่ ขนาดยังไม่เต็มระบบก็เริ่มส่งสัญญาณถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องอุบัติเหตุ แต่เวลานี้ ทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีหน้าที่ต้องดูแลคนเจ็บคนตายพากันร้องระงมว่าปัญหาเหล้าพุ่งสูงมาก สูงขนาดที่คนติดเหล้ามาผ่าไส้ติ่งแต่กลับอาละวาดในห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วย จนหวาดกลัวไปกันหมดทั้งคนไข้ทั้งเจ้าหน้าที่ รปภ. เป็น 10 ยังเอาไม่อยู่”อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลก บอก
พญ.ชไมพันธุ์ กล่าวว่า มีตัวเลขเดียวที่รัฐบาลพูดความจริงกับประชาชน นั่นก็คือ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ยังคงเป็นรถจักรยานยนต์หรือมอร์เตอร์ไซค์ เป็นสัดส่วนสูงถึง 84.3 % .ในบางจังหวัดที่มีตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ 20 นาทีต่อ1 คน หมายถึงมีการตายชั่วโมงละ 3 คนในช่วงเทศกาล
ทั้งนี้ ตนมองว่า การส่งสัญญาณจากภาครัฐในหลาย ๆ เรื่องเป็นสิ่งที่น่ากังวล อย่างเช่น รัฐบาลที่แล้วส่งสัญญาณและส่งเสริมเรื่องขับรถเร็วโดยเพิ่มความเร็วบนถนนแค่สี่ท่อนไม่ใช่ทั่วประเทศแต่ประกาศให้คนรู้สึกเหมือนกับเพิ่มความเร็วแล้วทั่วประเทศเป็น 120 ซึ่งไม่ถูกต้อง การสื่อสารของรัฐบาลล้มเหลวในแง่ที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้กับประชาชนโดยสิ้นเชิง
พญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ (Regional advisor WHO SEARO, Ret. ) และหัวหน้าโครงการขับเคลื่อนไทยปลอดจากภัยจักรยานยนต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และ มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation เปิดเผยถึงการแถลงตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 10 วันอันตราย โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ว่า
เห็นตัวเลขที่ทางราชการแถลงแล้ว รู้สึกได้ถึงความไม่ตรงไปตรงมาของภาครัฐในการที่จะแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของคนไทย ตัวเลขที่แถลงสรุปว่าอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 10 วันของการรณรงค์ (27 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,467 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,376 คน ผู้เสียชีวิต รวม 436 คน ซึ่งห่างจากตัวเลขที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของ กระทรวงสาธารณสุขถึง 10 เท่า
อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลก ให้ข้อมูลว่า ตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิต ที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเวลา 07.20 น. วันที่ 6 มกราคม 2568 สรุปตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ระหว่าง 27ธ.ค.2567 – 5 ม.ค. 2568 จากทั่วประเทศ ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 31,572 ราย เสียชีวิต 537 ราย ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหรือ 16,026 ราย ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัวในรพ. 8,347 ราย
“เฉพาะตัวเลขคนเสียชีวิตก็ต่างกันถึง 101 ราย คนร้อยกว่าคนตายแต่ไม่มีรายงานตัวเลข แปลว่าอะไร ยิ่งตัวเลขการบาดเจ็บต่างกันหลักหมื่น ดิฉันจากเมืองไทยไปกว่า 20 ปี แต่ระบบการรายงานตัวเลขยังเป็นแบบเดิม ตั้งเป้าโดยใช้จำนวนตายมาวัดในหลายจังหวัดมีประวัติการแอบซ่อนจำนวนเคสมาตั้งแต่สมัยการตั้งเป้าไข้เลือดออกกับสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งโดยหลักการการตั้งเป้าต้องมีเป้า input (งบประมาน) และ output ผลงานประกอบคู่กันด้วยเพื่อดูว่าทำจริงหรือแค่ซ่อนเคส ทั้ง ๆ ที่มีการตั้งจุดตรวจหลักถึง 1,768 จุด จัดชุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากถึง 50,114 คน แต่ตัวเลขที่รายงานกับตกหล่นมากขนาดนี้ ” พญ.ชไมพันธุ์ กล่าว และว่า สาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิต มาจากการดื่มแล้วขับถึง 4,798 ราย ในจำนวนนี้มีเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ดื่มแล้วขับถึง 4,080 ราย
“ดิฉันรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลที่แล้วต่อมาจนถึงรัฐบาลนี้ รวมทั้งพรรคฝ่ายค้านบางพรรคการเมือง ที่พยายามส่งสัญญาณ ถึงประชาชนเรื่องการลดภาษีไวน์ หรือการเปิดให้ดื่มเหล้าโดยไม่คุมเวลา ขยายเปิดผับถึงตีสี่ ขนาดยังไม่เต็มระบบก็เริ่มส่งสัญญาณถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องอุบัติเหตุ แต่เวลานี้ ทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีหน้าที่ต้องดูแลคนเจ็บคนตายพากันร้องระงมว่าปัญหาเหล้าพุ่งสูงมาก สูงขนาดที่คนติดเหล้ามาผ่าไส้ติ่งแต่กลับอาละวาดในห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วย จนหวาดกลัวไปกันหมดทั้งคนไข้ทั้งเจ้าหน้าที่ รปภ. เป็น 10 ยังเอาไม่อยู่”อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลก บอก
พญ.ชไมพันธุ์ กล่าวว่า มีตัวเลขเดียวที่รัฐบาลพูดความจริงกับประชาชน นั่นก็คือ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ยังคงเป็นรถจักรยานยนต์หรือมอร์เตอร์ไซค์ เป็นสัดส่วนสูงถึง 84.3 % .ในบางจังหวัดที่มีตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ 20 นาทีต่อ1 คน หมายถึงมีการตายชั่วโมงละ 3 คนในช่วงเทศกาล
ทั้งนี้ ตนมองว่า การส่งสัญญาณจากภาครัฐในหลาย ๆ เรื่องเป็นสิ่งที่น่ากังวล อย่างเช่น รัฐบาลที่แล้วส่งสัญญาณและส่งเสริมเรื่องขับรถเร็วโดยเพิ่มความเร็วบนถนนแค่สี่ท่อนไม่ใช่ทั่วประเทศแต่ประกาศให้คนรู้สึกเหมือนกับเพิ่มความเร็วแล้วทั่วประเทศเป็น 120 ซึ่งไม่ถูกต้อง การสื่อสารของรัฐบาลล้มเหลวในแง่ที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้กับประชาชนโดยสิ้นเชิง
รายงานข่าวออนไลนี้ 7 HD เมื่อ 6 มกราคม 2568 ระบุว่าอดีตที่ปรึกษา WHO แฉภาครัฐปกปิดตัวเลขตาย-เจ็บ ช่วงเทศกาลต่ำกว่าความเป็นจริง 10 เท่า เผยรายงานจาก สธ. บาดเจ็บกว่า 3 หมื่น ตาย 537 แต่รัฐแถลงแค่หลักพันตายกว่า 436 ราย มอร์เตอร์ไซค์ยังคงครองแชมป์เจ็บตายสูงสุด ขณะเด็กอายุต่ำกว่า 20 ดื่มแล้วขับร่วม 4,000 คน
พญ.ชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ (Regional advisor WHO SEARO, Ret. ) และหัวหน้าโครงการขับเคลื่อนไทยปลอดจากภัยจักรยานยนต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และ มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ (Public Policy Studies Institute Foundation เปิดเผยถึงการแถลงตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 10 วันอันตราย โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ว่า
เห็นตัวเลขที่ทางราชการแถลงแล้ว รู้สึกได้ถึงความไม่ตรงไปตรงมาของภาครัฐในการที่จะแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนนเพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตของคนไทย ตัวเลขที่แถลงสรุปว่าอุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 10 วันของการรณรงค์ (27 ธันวาคม 2567 – 5 มกราคม 2568) เกิดอุบัติเหตุรวม 2,467 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 2,376 คน ผู้เสียชีวิต รวม 436 คน ซึ่งห่างจากตัวเลขที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข ของ กระทรวงสาธารณสุขถึง 10 เท่า
อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลก ให้ข้อมูลว่า ตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิต ที่รายงานโดยกระทรวงสาธารณสุข เมื่อเวลา 07.20 น. วันที่ 6 มกราคม 2568 สรุปตัวเลขการบาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ระหว่าง 27ธ.ค.2567 – 5 ม.ค. 2568 จากทั่วประเทศ ว่า มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 31,572 ราย เสียชีวิต 537 ราย ใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉินหรือ 16,026 ราย ผู้บาดเจ็บเข้ารักษาตัวในรพ. 8,347 ราย
“เฉพาะตัวเลขคนเสียชีวิตก็ต่างกันถึง 101 ราย คนร้อยกว่าคนตายแต่ไม่มีรายงานตัวเลข แปลว่าอะไร ยิ่งตัวเลขการบาดเจ็บต่างกันหลักหมื่น ดิฉันจากเมืองไทยไปกว่า 20 ปี แต่ระบบการรายงานตัวเลขยังเป็นแบบเดิม ตั้งเป้าโดยใช้จำนวนตายมาวัดในหลายจังหวัดมีประวัติการแอบซ่อนจำนวนเคสมาตั้งแต่สมัยการตั้งเป้าไข้เลือดออกกับสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งโดยหลักการการตั้งเป้าต้องมีเป้า input (งบประมาน) และ output ผลงานประกอบคู่กันด้วยเพื่อดูว่าทำจริงหรือแค่ซ่อนเคส ทั้ง ๆ ที่มีการตั้งจุดตรวจหลักถึง 1,768 จุด จัดชุดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมากถึง 50,114 คน แต่ตัวเลขที่รายงานกับตกหล่นมากขนาดนี้ ” พญ.ชไมพันธุ์ กล่าว และว่า สาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิต มาจากการดื่มแล้วขับถึง 4,798 ราย ในจำนวนนี้มีเด็กที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ดื่มแล้วขับถึง 4,080 ราย
“ดิฉันรู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลที่แล้วต่อมาจนถึงรัฐบาลนี้ รวมทั้งพรรคฝ่ายค้านบางพรรคการเมือง ที่พยายามส่งสัญญาณ ถึงประชาชนเรื่องการลดภาษีไวน์ หรือการเปิดให้ดื่มเหล้าโดยไม่คุมเวลา ขยายเปิดผับถึงตีสี่ ขนาดยังไม่เต็มระบบก็เริ่มส่งสัญญาณถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่แค่เรื่องอุบัติเหตุ แต่เวลานี้ ทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีหน้าที่ต้องดูแลคนเจ็บคนตายพากันร้องระงมว่าปัญหาเหล้าพุ่งสูงมาก สูงขนาดที่คนติดเหล้ามาผ่าไส้ติ่งแต่กลับอาละวาดในห้องฉุกเฉิน หอผู้ป่วย จนหวาดกลัวไปกันหมดทั้งคนไข้ทั้งเจ้าหน้าที่ รปภ. เป็น 10 ยังเอาไม่อยู่”อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลก บอก
พญ.ชไมพันธุ์ กล่าวว่า มีตัวเลขเดียวที่รัฐบาลพูดความจริงกับประชาชน นั่นก็คือ ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ยังคงเป็นรถจักรยานยนต์หรือมอร์เตอร์ไซค์ เป็นสัดส่วนสูงถึง 84.3 % .ในบางจังหวัดที่มีตัวเลขผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด มีรายงานการเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ 20 นาทีต่อ1 คน หมายถึงมีการตายชั่วโมงละ 3 คนในช่วงเทศกาล
ทั้งนี้ ตนมองว่า การส่งสัญญาณจากภาครัฐในหลาย ๆ เรื่องเป็นสิ่งที่น่ากังวล อย่างเช่น รัฐบาลที่แล้วส่งสัญญาณและส่งเสริมเรื่องขับรถเร็วโดยเพิ่มความเร็วบนถนนแค่สี่ท่อนไม่ใช่ทั่วประเทศแต่ประกาศให้คนรู้สึกเหมือนกับเพิ่มความเร็วแล้วทั่วประเทศเป็น 120 ซึ่งไม่ถูกต้อง การสื่อสารของรัฐบาลล้มเหลวในแง่ที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้กับประชาชนโดยสิ้นเชิง
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
272 มุมมอง
0 รีวิว