• Gombak ศูนย์กลางคมนาคมใหม่ใกล้กัวลาลัมเปอร์

    ในอนาคตอันใกล้ มาเลเซียกำลังจะมีรถไฟความเร็วปานกลางสายใหม่ อีสต์โคสต์ เรล ลิงก์ (East Coast Rail Link) หรือ ECRL ระยะทาง 665 กิโลเมตร พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะหัง และสลังงอร์ มีสถานีรถไฟทั้งหมด 20 เฉพาะ รับ-ส่งผู้โดยสาร 10 สถานี และรับ-ส่งผู้โดยสารคู่กับขนส่งสินค้า 10 สถานี ตั้งเป้าที่จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2569 และเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2570

    ปลายทางของรถไฟสายนี้อยู่ที่อำเภอกอมบัค (Gombak) รัฐสลังงอร์ ทางทิศเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายเกอลานา จายา (Kelana Jaya) หรือ KJL ให้บริการ ระยะทาง 46.4 กิโลเมตร มี 37 สถานี ผ่านสถานีกลางเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) ไปยังสถานีปูตราไฮท์ส (Putra Heights) ปัจจุบันมีผู้โดยสารมากถึง 84 ล้านคน-เที่ยวต่อปี โดยสถานีกอมบัคเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2542

    สถานีกอมบัคห่างจากสถานีเคแอลเซ็นทรัล 15 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 37 นาที เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นร้านสะดวกซื้อ ห้องบริการบัตรโดยสาร เครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ เครื่องคีออสบัตร Touch 'n Go มีอาคารจอดแล้วจรอยู่อีกฝั่ง รองรับรถยนต์ได้ 1,441 คัน มีรถโดยสารฟีดเดอร์ (Feeder Bus) สาย T200 ไปมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย (UIAM) และ T201 ไปยัง Hab Wira Damai ให้บริการ

    ทิศเหนือของอาคารจอดแล้วจร เป็นสถานที่ก่อสร้างสถานีกอมบัค ของโครงการ ECRL บนพื้นที่ 8.73 เฮคเตอร์ ริมแนวสันเขากอมบัค มีชานชาลายกระดับและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่จอดรถ จุดจอดรถรับส่ง ทางเดินที่มีหลังคาคลุม ที่พักพนักงาน และพื้นที่ภูมิทัศน์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2567 ที่ผ่านมา โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทมาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัทไชน่า คอมมูนิเคชัน คอนสตรัคชัน (CCCC) ด้วยงบลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านริงกิต

    หากโครงการแล้วเสร็จ การเดินทางจากสถานีโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตัน ไปยังสถานีกอมบัค จะใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง 45 นาที ใช้รถไฟ EMU รุ่น CR200J ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    ส่วนด้านข้างสถานีกอมบัค เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูกอมบัค (Terminal Bersepadu Gombak หรือ TBG) สร้างขึ้นเพื่อรองรับรถทัวร์ที่จะไปรัฐชายฝั่งตะวันออก (East Coast) ได้แก่ รัฐปาหัง ตรังกานู และกลันตัน ลดความหนาแน่นของสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูเซอลาตัน (Terminal Bersepadu Selatan หรือ TBS) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และที่พักภายในสถานีขนส่ง

    #Newskit
    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Gombak ศูนย์กลางคมนาคมใหม่ใกล้กัวลาลัมเปอร์ ในอนาคตอันใกล้ มาเลเซียกำลังจะมีรถไฟความเร็วปานกลางสายใหม่ อีสต์โคสต์ เรล ลิงก์ (East Coast Rail Link) หรือ ECRL ระยะทาง 665 กิโลเมตร พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ รัฐกลันตัน ตรังกานู ปะหัง และสลังงอร์ มีสถานีรถไฟทั้งหมด 20 เฉพาะ รับ-ส่งผู้โดยสาร 10 สถานี และรับ-ส่งผู้โดยสารคู่กับขนส่งสินค้า 10 สถานี ตั้งเป้าที่จะแล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.2569 และเปิดให้บริการในเดือน ม.ค.2570 ปลายทางของรถไฟสายนี้อยู่ที่อำเภอกอมบัค (Gombak) รัฐสลังงอร์ ทางทิศเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายเกอลานา จายา (Kelana Jaya) หรือ KJL ให้บริการ ระยะทาง 46.4 กิโลเมตร มี 37 สถานี ผ่านสถานีกลางเคแอล เซ็นทรัล (KL Sentral) ไปยังสถานีปูตราไฮท์ส (Putra Heights) ปัจจุบันมีผู้โดยสารมากถึง 84 ล้านคน-เที่ยวต่อปี โดยสถานีกอมบัคเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2542 สถานีกอมบัคห่างจากสถานีเคแอลเซ็นทรัล 15 สถานี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 37 นาที เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยชั้นล่างเป็นร้านสะดวกซื้อ ห้องบริการบัตรโดยสาร เครื่องจำหน่ายเหรียญโดยสารอัตโนมัติ เครื่องคีออสบัตร Touch 'n Go มีอาคารจอดแล้วจรอยู่อีกฝั่ง รองรับรถยนต์ได้ 1,441 คัน มีรถโดยสารฟีดเดอร์ (Feeder Bus) สาย T200 ไปมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติมาเลเซีย (UIAM) และ T201 ไปยัง Hab Wira Damai ให้บริการ ทิศเหนือของอาคารจอดแล้วจร เป็นสถานที่ก่อสร้างสถานีกอมบัค ของโครงการ ECRL บนพื้นที่ 8.73 เฮคเตอร์ ริมแนวสันเขากอมบัค มีชานชาลายกระดับและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่จอดรถ จุดจอดรถรับส่ง ทางเดินที่มีหลังคาคลุม ที่พักพนักงาน และพื้นที่ภูมิทัศน์ วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.2567 ที่ผ่านมา โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทมาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัทไชน่า คอมมูนิเคชัน คอนสตรัคชัน (CCCC) ด้วยงบลงทุนกว่า 5 หมื่นล้านริงกิต หากโครงการแล้วเสร็จ การเดินทางจากสถานีโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตัน ไปยังสถานีกอมบัค จะใช้เวลาเพียง 4 ชั่วโมง 45 นาที ใช้รถไฟ EMU รุ่น CR200J ทำความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนด้านข้างสถานีกอมบัค เป็นสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูกอมบัค (Terminal Bersepadu Gombak หรือ TBG) สร้างขึ้นเพื่อรองรับรถทัวร์ที่จะไปรัฐชายฝั่งตะวันออก (East Coast) ได้แก่ รัฐปาหัง ตรังกานู และกลันตัน ลดความหนาแน่นของสถานีขนส่งผู้โดยสารเบอร์เซอปาดูเซอลาตัน (Terminal Bersepadu Selatan หรือ TBS) พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งร้านค้า ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และที่พักภายในสถานีขนส่ง #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes ร่วมสนุกได้ถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568 คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    Love
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 259 มุมมอง 0 รีวิว
  • รถไฟ ECRL มาเลย์ฯ-จีนแบกคนละครึ่ง

    โครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต อาจเรียกว่ากำลังจะเป็นรถไฟมาเลย์ฯ-จีนก็เป็นได้ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. บริษัท มาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน อีซีอาร์แอล (CCCECRL) ประเทศจีน ได้ทำพิธีลงนามการออกแบบภายนอกขบวนรถรถไฟฟ้าอีเอ็มยู (EMU) ตามข้อตกลงร่วมทุนด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของโครงการ ECRL พร้อมเปิดตัวโลโก้อย่างเป็นทางการของ ECRL ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเข็มทิศ ที่มีเข็มชี้ไปทางทิศตะวันออกภายในดอกไม้สีฟ้า 4 กลีบ

    โดยทั้งสองบริษัทได้จัดตั้งบริษัทดำเนินงาน (OpCo) แบกรับความเสี่ยงฝ่ายละ 50:50 เพื่อดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ ECRL ซึ่งนายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า ข้อตกลงร่วมทุนดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายแบ่งเบาภาระต้นทุนการดำเนินงานของโครงการ อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค โดย MRL จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินของโครงการ ECRL ในนามรัฐบาลมาเลเซีย ส่วนบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน (CCCC) จากประเทศจีน จะเป็นผู้รับเหมาทางด้านวิศวกรรม จัดซื้อจัดจ้าง ก่อสร้าง และดำเนินการ (EPCC) ตลอดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

    หากเกิดการขาดทุนระหว่างดำเนินงาน บริษัทจีนและมาเลเซียแบกรับความเสี่ยง 50% เท่ากัน แต่หากมีกำไรถึง 80% บริษัทจีนจะลงทุนใน MRL ส่วนที่เหลือลงทุนใน CCCECRL สำหรับความคืบหน้าโครงการ ECRL ณ เดือน พ.ย. 2567 อยู่ที่ 76.06% ซึ่งตามกำหนดคาดว่าทางรถไฟช่วงสถานีโกตาบารู รัฐกลันตัน ถึงสถานีกอมบัค รัฐสลังงอร์ แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2569 และระยะที่สองจากสถานีกอมบัค ถึงท่าเรือแคลง ภายในเดือน ธ.ค. 2570 คาดหวังว่าจะเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟทางไกลของประเทศไทย เพราะจากสถานีรถไฟโกตาบารู กับชายแดนมาเลเซีย-ไทย ที่ด่านรันเตาปันจัง เมืองปาร์เซมัส ห่างกัน 20 กิโลเมตร

    โครงการทางรถไฟ ECRL มีทั้งหมด 20 สถานี แบ่งเป็นสถานีเฉพาะผู้โดยสาร 10 สถานี สถานีผู้โดยสารและขนส่งสินค้า 10 สถานี พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และสลังงอร์ มีอุโมงค์ 59 แห่ง ขบวนรถโดยสารใช้รถไฟ EMU รวม 11 ขบวน ขบวนละ 6 ตู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารสูงสุด 430 คน ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าขบวนรถล้านช้างของรถไฟลาว-จีน จากสถานีโกตาบารูไปยังสถานีกอมบัคใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมง คาดว่าจะส่งมอบขบวนรถชุดแรกภายในสิ้นปี 2568 ส่วนขบวนรถสินค้าใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

    #Newskit
    รถไฟ ECRL มาเลย์ฯ-จีนแบกคนละครึ่ง โครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต อาจเรียกว่ากำลังจะเป็นรถไฟมาเลย์ฯ-จีนก็เป็นได้ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. บริษัท มาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน อีซีอาร์แอล (CCCECRL) ประเทศจีน ได้ทำพิธีลงนามการออกแบบภายนอกขบวนรถรถไฟฟ้าอีเอ็มยู (EMU) ตามข้อตกลงร่วมทุนด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของโครงการ ECRL พร้อมเปิดตัวโลโก้อย่างเป็นทางการของ ECRL ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเข็มทิศ ที่มีเข็มชี้ไปทางทิศตะวันออกภายในดอกไม้สีฟ้า 4 กลีบ โดยทั้งสองบริษัทได้จัดตั้งบริษัทดำเนินงาน (OpCo) แบกรับความเสี่ยงฝ่ายละ 50:50 เพื่อดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ ECRL ซึ่งนายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า ข้อตกลงร่วมทุนดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายแบ่งเบาภาระต้นทุนการดำเนินงานของโครงการ อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค โดย MRL จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินของโครงการ ECRL ในนามรัฐบาลมาเลเซีย ส่วนบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน (CCCC) จากประเทศจีน จะเป็นผู้รับเหมาทางด้านวิศวกรรม จัดซื้อจัดจ้าง ก่อสร้าง และดำเนินการ (EPCC) ตลอดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ หากเกิดการขาดทุนระหว่างดำเนินงาน บริษัทจีนและมาเลเซียแบกรับความเสี่ยง 50% เท่ากัน แต่หากมีกำไรถึง 80% บริษัทจีนจะลงทุนใน MRL ส่วนที่เหลือลงทุนใน CCCECRL สำหรับความคืบหน้าโครงการ ECRL ณ เดือน พ.ย. 2567 อยู่ที่ 76.06% ซึ่งตามกำหนดคาดว่าทางรถไฟช่วงสถานีโกตาบารู รัฐกลันตัน ถึงสถานีกอมบัค รัฐสลังงอร์ แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2569 และระยะที่สองจากสถานีกอมบัค ถึงท่าเรือแคลง ภายในเดือน ธ.ค. 2570 คาดหวังว่าจะเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟทางไกลของประเทศไทย เพราะจากสถานีรถไฟโกตาบารู กับชายแดนมาเลเซีย-ไทย ที่ด่านรันเตาปันจัง เมืองปาร์เซมัส ห่างกัน 20 กิโลเมตร โครงการทางรถไฟ ECRL มีทั้งหมด 20 สถานี แบ่งเป็นสถานีเฉพาะผู้โดยสาร 10 สถานี สถานีผู้โดยสารและขนส่งสินค้า 10 สถานี พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และสลังงอร์ มีอุโมงค์ 59 แห่ง ขบวนรถโดยสารใช้รถไฟ EMU รวม 11 ขบวน ขบวนละ 6 ตู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารสูงสุด 430 คน ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าขบวนรถล้านช้างของรถไฟลาว-จีน จากสถานีโกตาบารูไปยังสถานีกอมบัคใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมง คาดว่าจะส่งมอบขบวนรถชุดแรกภายในสิ้นปี 2568 ส่วนขบวนรถสินค้าใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 466 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย

    เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย

    สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง

    ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย

    นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย

    เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้

    #Newskit
    ฟื้นทางรถไฟ สุไหงโก-ลกไปมาเลเซีย เมื่อวันก่อน นายฮัสบิ ฮาบิโบลเลาะห์ รมว.คมนาคมมาเลเซีย เปิดเผยว่า กระทรวงคมนาคมพร้อมที่จะศึกษาความต้องการในการฟื้นฟูทางรถไฟ ช่วงระหว่างด่านรันเตาปันจัง กับสถานีปาซีร์มัส รัฐกลันตัน ระยะทาง 18.7 กิโลเมตร และศึกษาความเป็นไปได้ในการกลับมาให้บริการรถไฟ จากสถานีรันเตาปันจัง ไปยังสถานีสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส ประเทศไทย โดยต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ด้วย สำหรับทางรถไฟที่เชื่อมต่อมาเลเซียกับไทย หยุดให้บริการผู้โดยสารตั้งแต่ปี 2525 และหยุดให้บริการขนส่งสินค้าเมื่อปี 2549 เนื่องจากปัญหาความปลอดภัยและผลกระทบจากอุทกภัย นับแต่นั้นเป็นต้นมาเส้นทางรถไฟถูกปิดตาย โครงสร้างพื้นฐานรวมถึงสถานีรถไฟรันเตาปันจังอยู่ในสภาพทรุดโทรม จำเป็นต้องได้รับการบูรณะ บำรุงรักษา และยกระดับก่อนจะสามารถเปิดให้บริการอีกครั้ง ส่วนข้อเสนอของนางซาอิลาห์ โมห์ด ยูซอฟฟ์ ส.ส.เมืองรันเตาปันจัง เกี่ยวกับความจำเป็นในการฟื้นฟูทางรถไฟและการกลับมาให้บริการรถไฟจากรันเตาปันจังไปยังสุไหงโก-ลก เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น เสริมสร้างความสัมพันธ์แบบทวิภาคีระหว่างมาเลเซียและไทย เติมเต็มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนนั้น รัฐบาลรับทราบข้อเสนอดังกล่าว ถือเป็นหนทางที่จะปรับปรุงการเข้าถึงและกระตุ้นเศรษฐกิจระหว่างมาเลเซียและไทย หากโครงการนี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ไม่เพียงแต่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ และเพิ่มกิจกรรมการค้าในพื้นที่ชายแดนอีกด้วย นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออก (ECRL) ไปยังสถานีปาซีร์มัส ของการรถไฟมาลายา (KTMB) ซึ่งจะทำให้ทางรถไฟ ECRL มีประสิทธิภาพที่กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจบนชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรมาเลเซีย และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจกับชายฝั่งทะเลตะวันตก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวเลือกสำหรับขนส่งสินค้าและโดยสารระหว่างมาเลเซียกับไทยอีกด้วย เมื่อเดือน มิ.ย. 2567 แหล่งข่าวจากตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทยรายหนึ่งเปิดเผยว่า การรถไฟฯ มีความพร้อมที่จะพัฒนาทางรถไฟเชื่อมไปยังฝั่งประเทศมาเลเซีย โดยได้มีการพูดคุยกับการรถไฟมาลายา (KTMB) เป็นระยะ แต่โครงการจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ ที่ผ่านมานับตั้งแต่หยุดการเดินรถ และฝั่งประเทศมาเลเซียเคยเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 ถึงบัดนี้ ยังไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบสภาพทางรถไฟฝั่งประเทศมาเลเซียในปัจจุบันได้ #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1088 มุมมอง 0 รีวิว
  • โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง

    โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว

    ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย

    ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว

    ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้

    นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570

    #Newskit #KotaBharu #ECRL
    โกตาบารูอัปเกรดสนามบิน-ระบบราง โกตาบารู (Kota Bharu) เมืองหลวงของรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ใกล้ชายแดนไทย-มาเลเซีย ทางรถยนต์ที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก และเรือข้ามฟากที่ด่านตากใบ (ท่าเรือ) จ.นราธิวาส แม้จะเป็นรัฐอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดในเรื่องศาสนามากที่สุด และจัดอยู่ในกลุ่มรัฐที่ยากจนที่สุด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลกลางของมาเลเซียได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินทาง กระตุ้นเศรษฐกิจ การลงทุน และการท่องเที่ยว ท่าอากาศยานสุลต่านอิสมาอิล เปตรา โกตาบารู (KBR) ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2567 ได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ระยะที่ 1 รองรับผู้โดยสารได้ 1.5 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 440 ล้านริงกิต ขณะที่นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เคยตอบรับที่จะขยายทางวิ่ง (Runway) เพิ่มอีก 400 เมตร จากเดิม 2,400 เมตร เป็น 2,800 เมตร ตามที่มุขมนตรีรัฐกลันตันร้องขอ เพื่อรองรับการเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ นำผู้แสวงบุญไปยังประเทศซาอุดิอาระเบีย ปัจจุบันสนามบินโกตาบารู มีเที่ยวบินไปยังสนามบินกัวลาลัมเปอร์ (KUL) มี 3 สายการบิน ได้แก่ แอร์เอเชีย มาเลเซียแอร์ไลน์ส และบาติกแอร์ สนามบินซูบัง (SZB) กับสนามบินปีนัง (PEN) มีบินทุกวันโดยไฟร์ฟลาย สนามบินโคตาคินาบาลู (BKI) กับสนามบินยะโฮร์บาห์รู (JHB) 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และสนามบินกูชิ่ง (KCH) 2 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ที่ผ่านมามีชาวไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มาขึ้นเครื่องไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพราะค่าโดยสารถูก ไม่ถึง 1,000 บาทต่อเที่ยว ส่วนโครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต ต้นทางจากสถานีโกตาบารู ผ่านรัฐกลันตัน รัฐตรังกานู รัฐปะหัง และรัฐสลังงอร์ ปลายทางสถานีจาลัน คาสตัม (Jalan Castam) ย่านพอร์ตแคลง (Port Klang) โดยใช้รถไฟโดยสารความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลดเวลาเดินทางไปยังสถานีกอมบัค (Gombak) เหลือประมาณ 4 ชั่วโมง สามารถต่อรถไฟฟ้า LRT ไปยังกรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ นายนิค โซห์ ยาคูบ (Nik Soh Yaacoub) ผู้อำนวยการฝ่ายโยธาธิการของรัฐกลันตัน เปิดเผยความคืบหน้าการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ผ่านรัฐกลันตัน ระยะทาง 48.86 กิโลเมตร คืบหน้า 83.27% ส่วนการก่อสร้างสถานีโกตาบารู คืบหน้า 45.48% เร็วกว่าแผนเล็กน้อย ส่วนสถานีปาซีร์ปูเตะห์ (Pasir Puteh) สำหรับการโดยสารและขนส่งสินค้า ล่าช้าเล็กน้อยเพราะปัจจัยแวดล้อมหลายประการ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2568 และเปิดให้บริการในปี 2570 #Newskit #KotaBharu #ECRL
    Like
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 773 มุมมอง 0 รีวิว