รถไฟ ECRL มาเลย์ฯ-จีนแบกคนละครึ่ง

โครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต อาจเรียกว่ากำลังจะเป็นรถไฟมาเลย์ฯ-จีนก็เป็นได้ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. บริษัท มาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน อีซีอาร์แอล (CCCECRL) ประเทศจีน ได้ทำพิธีลงนามการออกแบบภายนอกขบวนรถรถไฟฟ้าอีเอ็มยู (EMU) ตามข้อตกลงร่วมทุนด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของโครงการ ECRL พร้อมเปิดตัวโลโก้อย่างเป็นทางการของ ECRL ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเข็มทิศ ที่มีเข็มชี้ไปทางทิศตะวันออกภายในดอกไม้สีฟ้า 4 กลีบ

โดยทั้งสองบริษัทได้จัดตั้งบริษัทดำเนินงาน (OpCo) แบกรับความเสี่ยงฝ่ายละ 50:50 เพื่อดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ ECRL ซึ่งนายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า ข้อตกลงร่วมทุนดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายแบ่งเบาภาระต้นทุนการดำเนินงานของโครงการ อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค โดย MRL จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินของโครงการ ECRL ในนามรัฐบาลมาเลเซีย ส่วนบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน (CCCC) จากประเทศจีน จะเป็นผู้รับเหมาทางด้านวิศวกรรม จัดซื้อจัดจ้าง ก่อสร้าง และดำเนินการ (EPCC) ตลอดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้

หากเกิดการขาดทุนระหว่างดำเนินงาน บริษัทจีนและมาเลเซียแบกรับความเสี่ยง 50% เท่ากัน แต่หากมีกำไรถึง 80% บริษัทจีนจะลงทุนใน MRL ส่วนที่เหลือลงทุนใน CCCECRL สำหรับความคืบหน้าโครงการ ECRL ณ เดือน พ.ย. 2567 อยู่ที่ 76.06% ซึ่งตามกำหนดคาดว่าทางรถไฟช่วงสถานีโกตาบารู รัฐกลันตัน ถึงสถานีกอมบัค รัฐสลังงอร์ แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2569 และระยะที่สองจากสถานีกอมบัค ถึงท่าเรือแคลง ภายในเดือน ธ.ค. 2570 คาดหวังว่าจะเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟทางไกลของประเทศไทย เพราะจากสถานีรถไฟโกตาบารู กับชายแดนมาเลเซีย-ไทย ที่ด่านรันเตาปันจัง เมืองปาร์เซมัส ห่างกัน 20 กิโลเมตร

โครงการทางรถไฟ ECRL มีทั้งหมด 20 สถานี แบ่งเป็นสถานีเฉพาะผู้โดยสาร 10 สถานี สถานีผู้โดยสารและขนส่งสินค้า 10 สถานี พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และสลังงอร์ มีอุโมงค์ 59 แห่ง ขบวนรถโดยสารใช้รถไฟ EMU รวม 11 ขบวน ขบวนละ 6 ตู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารสูงสุด 430 คน ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าขบวนรถล้านช้างของรถไฟลาว-จีน จากสถานีโกตาบารูไปยังสถานีกอมบัคใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมง คาดว่าจะส่งมอบขบวนรถชุดแรกภายในสิ้นปี 2568 ส่วนขบวนรถสินค้าใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

#Newskit
รถไฟ ECRL มาเลย์ฯ-จีนแบกคนละครึ่ง โครงการทางรถไฟเชื่อมชายฝั่งตะวันออกมาเลเซีย หรือ ECRL (East Coast Rail Link) ระยะทาง 665 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 50,270 ล้านริงกิต อาจเรียกว่ากำลังจะเป็นรถไฟมาเลย์ฯ-จีนก็เป็นได้ เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. บริษัท มาเลเซีย เรล ลิงก์ (MRL) และบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน อีซีอาร์แอล (CCCECRL) ประเทศจีน ได้ทำพิธีลงนามการออกแบบภายนอกขบวนรถรถไฟฟ้าอีเอ็มยู (EMU) ตามข้อตกลงร่วมทุนด้านการดำเนินงานและการบำรุงรักษาของโครงการ ECRL พร้อมเปิดตัวโลโก้อย่างเป็นทางการของ ECRL ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากเข็มทิศ ที่มีเข็มชี้ไปทางทิศตะวันออกภายในดอกไม้สีฟ้า 4 กลีบ โดยทั้งสองบริษัทได้จัดตั้งบริษัทดำเนินงาน (OpCo) แบกรับความเสี่ยงฝ่ายละ 50:50 เพื่อดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการ ECRL ซึ่งนายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า ข้อตกลงร่วมทุนดังกล่าวจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายแบ่งเบาภาระต้นทุนการดำเนินงานของโครงการ อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค โดย MRL จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินของโครงการ ECRL ในนามรัฐบาลมาเลเซีย ส่วนบริษัท ไชน่า คอมมูนิเคชันส์ คอนสตรัคชัน (CCCC) จากประเทศจีน จะเป็นผู้รับเหมาทางด้านวิศวกรรม จัดซื้อจัดจ้าง ก่อสร้าง และดำเนินการ (EPCC) ตลอดระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ หากเกิดการขาดทุนระหว่างดำเนินงาน บริษัทจีนและมาเลเซียแบกรับความเสี่ยง 50% เท่ากัน แต่หากมีกำไรถึง 80% บริษัทจีนจะลงทุนใน MRL ส่วนที่เหลือลงทุนใน CCCECRL สำหรับความคืบหน้าโครงการ ECRL ณ เดือน พ.ย. 2567 อยู่ที่ 76.06% ซึ่งตามกำหนดคาดว่าทางรถไฟช่วงสถานีโกตาบารู รัฐกลันตัน ถึงสถานีกอมบัค รัฐสลังงอร์ แล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2569 และระยะที่สองจากสถานีกอมบัค ถึงท่าเรือแคลง ภายในเดือน ธ.ค. 2570 คาดหวังว่าจะเชื่อมโยงกับโครงข่ายรถไฟทางไกลของประเทศไทย เพราะจากสถานีรถไฟโกตาบารู กับชายแดนมาเลเซีย-ไทย ที่ด่านรันเตาปันจัง เมืองปาร์เซมัส ห่างกัน 20 กิโลเมตร โครงการทางรถไฟ ECRL มีทั้งหมด 20 สถานี แบ่งเป็นสถานีเฉพาะผู้โดยสาร 10 สถานี สถานีผู้โดยสารและขนส่งสินค้า 10 สถานี พาดผ่าน 4 รัฐ ได้แก่ กลันตัน ตรังกานู ปาหัง และสลังงอร์ มีอุโมงค์ 59 แห่ง ขบวนรถโดยสารใช้รถไฟ EMU รวม 11 ขบวน ขบวนละ 6 ตู้โดยสาร รองรับผู้โดยสารสูงสุด 430 คน ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เทียบเท่าขบวนรถล้านช้างของรถไฟลาว-จีน จากสถานีโกตาบารูไปยังสถานีกอมบัคใช้เวลาเดินทางเพียง 4 ชั่วโมง คาดว่าจะส่งมอบขบวนรถชุดแรกภายในสิ้นปี 2568 ส่วนขบวนรถสินค้าใช้ความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง #Newskit
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 461 มุมมอง 0 รีวิว