• อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า

    “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว !

    ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2

    แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย

    นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้

    เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ

    ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121

    การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้

    - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972)

    - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972)

    - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544)

    ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น

    ผิดทั้งหมด !

    เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว

    การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน

    แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ !

    ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้

    นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554

    นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด !

    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด

    “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้

    อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ

    เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา

    แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย

    จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา !

    นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย

    โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน

    ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร

    ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ…

    “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้”

    การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก

    แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย

    โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน

    พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U

    วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา

    MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี

    แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด

    หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง

    ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ

    หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร

    ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ !

    ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน

    ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย

    แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982

    หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น

    เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ !

    หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้

    ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA

    #Thaitimes
    อดีตวุฒิสมาชิก นายคำนูณ สิทธิสมาน เขียนบทความสำคัญเรื่อง “เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้” เนื้อหาระบุว่า “ เกาะกูดเป็นของไทยมา 127 ปีแล้ว ! ตามหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 ข้อ 2 แต่ต้องเข้าใจให้ตรงกันว่าไม่ใช่เพียงแค่ตัวเกาะที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบเท่านั้น หากหมายรวมถึงผืนน้ำโดยรอบทั้งหมด ทั้งส่วนที่ไม่ว่าจะเป็น “ทะเลอาณาเขต”, “เขตต่อเนื่อง”, “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” หรือ “ไหล่ทวีป” ด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่สุดของเรื่องนี้ เพราะเกาะกูดแม้จะเป็น “เกาะ” แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบันมีค่าเท่ากับ “แผ่นดิน(ของรัฐชายฝั่ง)” มีอาณาเขตทางทะเลของตนเหมือนกันทุกประการ ทั้งนี้ ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 (UNCLOS 1982) ข้อ 121 การที่กัมพูชาประกาศกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีป เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยลากเส้นเขตไหล่ทวีปด้านทิศเหนือผ่ากลางเกาะกูดตรงมายังจุดกึ่งกลางอ่าวไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเขียนแผนที่หรือแผนผังแบบไหนก็ตามใน 3 แบบนี้ - แบบลากพาดผ่านตัวเกาะตรง ๆ (ก.ต่างประเทศกัมพูชาจัดทำขึ้นประกอบการแถลงข่าวชี้แจงกฤษฎีกา 1972) - แบบลากมาหยุดอยู่ที่ตัวเกาะด้านทิศตะวันออก/เว้นตัวเกาะ/แล้วลากต่อออกจากตัวเกาะด้านทิศตะวันตกไปยังกลางอ่าวไทย (แผนที่เดินเรือของกรมอุทกศาสตร์ฝรั่งเศสที่ใช้เป็นแผนที่แนบท้ายกฤษฎีกาฯ 1972) - หรือล่าสุด จะเขียนเส้นโค้งเว้าอ้อมประชิดตัวเกาะด้านทิศใต้เป็นรูปตัว U (แผนผังแนบท้าย MOU 2544) ล้วนมีค่าเสมอกันทั้งสิ้น ผิดทั้งหมด ! เพราะเป็นการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย รวมทั้งอาจเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการรับรู้หรือยอมรับโดยปริยายซึ่งการมีอยู่และคงอยู่ของการจงใจละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทยดังกล่าว การที่ประกาศกฤษฎีกา 1972 ของกัมพูชาอ้างหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และสัญญาว่าด้วยการปักปันเขตร์แดนติดท้ายหนังสือสัญญา ค.ศ. 1907 ที่มีแผนที่หรือแผนผังต่อท้ายปรากฎเส้นประ (dotted line) จากเกาะกูดถึงแผ่นดินชายฝั่งทะเลจังหวัดตราดเพื่อแสดงจุดเล็งหาหลักเขตที่ 73 อันเป็นหลักเขตสุดท้ายด้านทิศใต้ของการปักปันเขตแดนทางบกระหว่างสยามกับกัมพูขา (อินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 1907) โดยระบุเท็จว่ามีการปักปันเขตแดนทางทะเลระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแล้ว จากนั้นบนพื้นฐานเท็จดังกล่าวกฤษฎีกาก็กำหนดให้ยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นจุด “S” เพื่อรับช่วงเชื่อมต่อเส้นจากหลักเขตที่ 73 ที่กำหนดไว้เป็นจุด “A” เจือสมให้รับกับความมุ่งหวังให้เขตไหล่ทวีปของประเทศเขามีเส้นฐานตรง (Straight baseline) ลากตรงไปยังกึ่งกลางอ่าวไทยที่จุด ”P” ด้านหนึ่งเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริงโดยสิ้นเชิง แต่อีกด้านหนึ่งก็เป็นการเปลือยให้เห็นเจตนาที่แท้จริงของรัฐบาลเพื่อนบ้านเราเมื่อ 52 ปีก่อน แท้จริงแล้ว เป็นการเสกสรรค์ปั้นแต่งเรื่องหาช่องเพื่อสนองเจตนาหวัง “ฮุบ” ทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทยเป็นสำคัญ ! ถ้าไม่มีเส้นเขตไหล่ทวีปแนว “A-S-P” ที่ผ่ากลางเกาะกูดมาจบที่กึ่งกลางอ่าวไทยก่อนวกลงใต้ ก็ไม่สามารถสนองเจตนา ”ฮุบ“ ทรัพยากรกลางอ่าวไทยได้ นายพลลอนนอล ประธานาธิบดีกัมพูชายุคนั้น เคยชี้แจงกับจอมพลประภาส จารุเสถียรเมื่อปี 2515-2516 ว่าเป็นการลากเส้นที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและบริษัทเอกชนตะวันตกที่ขอสัมปทานผลิตปิโตรเลี่ยมเสนอมา ทั้งนี้ จากการบอกเล่าของพล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ผู้เชี่ยวชาญด้านเขตแดนไทย-กัมพูชาที่อยู่ในคณะกรรมการพลายชุด (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ต่อสาธารณะ ณ สยามสมาคม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2554 นี่คือกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิด ! ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด “นปก.เกาะกูด” มีการซ้อมรบทางยุทธวิธีเป็นประจำทุกปี ล่าสุดก็เมื่อเดือนมีนาคม 2567 นี้ อย่างไรก็ดี การที่ทั้งกัมพูชาและไทยต่างประกาศเขตพื้นที่ไหล่ทวีปของตนออกมาในปี 1972 และ 1973 โดยมีความแตกต่างกันจึงก่อให้เกิดผลโดยธรรมชาติในประการสำคัญ เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน” หรือ OCA ขึ้นมา แต่แม้จะเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยยอมรับอย่างเป็นทางการที่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ว่ามีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนในอ่าวไทย จาก “ฮุบ” กัมพูชาแปรมาเป็น “ฮั้ว” ในเวลาต่อมา ! นั่นคือนับแต่มีความสงบในแผ่นดินตามสมควรในช่วงทศวรรษที่ 2530 กัมพูชาได้เริ่มกระบวนการเจรจาปัญหาเขตพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกับประเทศไทย โดยหลักคือขอแบ่งผลประโยชน์กัน ไม่ต้องพูดเรื่องเขตแดน ไม่ใช่แบ่งตัวเกาะกูดที่เป็นแผ่นดินโผล่พ้นน้ำและมีน้ำล้อมรอบ แต่เป็นการแบ่งทรัพยาการปิโตรเลี่ยมใต้ท้องทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปที่แตกต่างและทับซ้อนกันของ 2 ประเทศ ระหว่างเส้น 1972 ของกัมพูชา กับเส้น 1973 ของไทย เป็นพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตร ไทยตอบสนองยอมรับการเจรจาด้วยเหตุผลอย่างน้อย 3 ประการ ประการหนึ่ง เป็นประเทศเพื่อนบ้านพรมแดนประชิดติดกันเมื่อมีปัญหาใดก็ต้องพูดคุยกัน ประการสอง ไทยเองทางฟากฝั่งหน่วยงานด้านพลังงานก็ต้องการนำทรัพยากรปิโตรเลี่ยมขึ้นมาใช้เช่นกัน และประการสุดท้ายที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ไทยทางฟากฝั่งกระทรวงการต่างประเทศต้องการเคลียร์เรื่องเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาที่ผ่ากลางเกาะกูดตรงไปกลางอ่าวไทย ภาษาของคนทำงานด้านการต่างประเทศคือ… “พยายามเอาเส้น 1972 ลงให้ได้” การเจรจาเกิดขึ้นหลายยก แต่ไม่คืบหน้า เพราะกัมพูชายืนยันจะพูดแต่เรื่องแบ่งผลประโยชน์ ไม่พูดเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของประเทศไทย โดนรุกหนัก ๆ ก็บอกว่าตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา ค.ศ. 1993 ห้ามเปลี่ยนแปลงเขตแดน พอจะกล่าวได้ว่าคืบหน้ามากที่สุดคือเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) ไทยกับกัมพูชาได้ลงนามใน “บันทึกความเข้าใจร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราขอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน พ.ศ. 2544“ หรือ “MOU 2544” ที่มีแผนผังจำลองเส้นเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชาเขียนแบบใหม่อ้อมประชิดเกาะกูดทางทิศใต้เป็นรูปตัว U วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมาก เพราะในมุมมองหนึ่งเสมือนเป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเป็นทางการถึงการมีอยู่ของพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน รวมทั้งการมีอยู่ของเขตไหล่ทวีป 1972 ของกัมพูชา MOU 2544 จะเป็นความคืบหน้าในทางบวกหรือลบกับประเทศไทย ถูกหรือผิด นี่เป็นประเด็นวิวาทะกันมายาวนานกว่า 20 ปี แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็เคยมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 ให้ยกเลิก MOU 2544 ไปแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่ได้ดำเนินการยกเลิกจริง ๆ ในที่สุด หมุดหมายทางประวัติศาสตร์ที่มีนัยสำคัญของปัญหานี้ผ่านมา 23 ปี ลูกสาวของนายกรัฐมนตรีคนที่ทำ MOU 2544 กับกัมพูชาได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย วิวาทะเดิมเกิดขึ้นอีกครั้ง ไม่ว่าจะอย่างไร MOU 2544 คือทางตัน ไม่ใช่ทางออกของปัญหาแน่ แต่อาจเป็นได้แค่ทางออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ หากถามแบรวบยอดขอข้อสรุปสั้น ๆ ว่าทางออกของปัญหาคืออะไร ขอฟันธงว่าต้องแก้ที่ต้นเหตุ ! ทางแก้มีหนึ่งเดียวเป็นปฐมบท คือก่อนเดินหน้าเจรจาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้อ่าวไทย ประเทศไทยต้องขอตรง ๆ ให้กัมพูชาปลดกระดุมเม็ดแรกที่จงใจกลัดผิดเมื่อปี 1972 ออกเสียก่อน ยกเลิกกฤษฎีกา 439/72/PRK กำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย ค.ศ. 1972 เสีย แล้วดำเนินการประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาด้านอ่าวไทยเสียใหม่ที่ไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของไทย โดยให้เป็นไปตามหลักการในบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 หากเขตไหล่ทวีปที่กำหนดใหม่นั้นยังคงมีความแตกต่างกับเขตไหล่ทวีปของประเทศไทยที่มีประกาศพระบรมราชโองการไว้เมื่อปี 2516 และยังคงมีพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนเหลืออยู่ หากไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าประกาศกฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปใหม่นั้นไม่เป็นการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศไทย จึงค่อยพิจารณาหาหนทางเจรจากัน ทั้งการปักปันเขตแดนทางทะเล รวมทั้งการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลี่ยมใต้ทะเลในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเหลืออยู่นั้น เอาเส้นฮุบปิโตรเลี่ยม 1972 ลงก่อน แล้วค่อยคุยกัน - ว่างั้นเถอะ ! หากกัมพูชาไม่อาจแก้ไขการกระทำที่ผิดในอดีต ก็ไม่มีเหตุใดให้ประเทศไทยต้องไปเจรจาด้วยในเรื่องนี้ ที่มา https://www.isranews.org/article/isranews-article/132953-thai-3.html?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR0Y2pOmFG6gs__qtC3DLdEJhxo-f2CSzSda_vFloiUYKIrhaV-5FbhP3-k_aem_SPiVtR0CAy5ruurc2LQGTA #Thaitimes
    WWW.ISRANEWS.ORG
    เกาะกูดเป็นของไทย ทั้งตัวเกาะ-ทะเลอาณาเขต รัฐอื่นจะลากเส้นผ่ากลางไม่ได้
    ประเทศไทยดำเนินการตอบโต้มาโดยตลอดเป็นขั้นตอน เริ่มตั้งแต่มีประกาศพระบรมราชโองการกำหนดเขตไหล่ทวีปด้านอ่าวไทย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ตามด้วยการตั้งประภาคารและกระโจมไฟบนเกาะกูดรวม 6 จุด เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2517 รวมทั้งการส่งกำลังทางทหารเข้าประจำการและลาดตระเวนเพื่อรักษาอธิปไตยทั้งบนตัวเกาะและน่านน้ำโดยรอบ กำลังทหารยังคงทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งมาจนทุกวันนี้ โดยกองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 ขึ้นบนเกาะกูดเมื่อปี 2521 และเปลี่ยนชื่อเป็น “หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด” (อักษรย่อ “นปก.”) เมื่อปี 2529 เป็นกองกำลังเฉพาะกิจอยู่ภายใต้หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) ขึ้นตรงทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด
    Love
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 481 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🎇 ล่องแม่น้ำไรน์ พร้อมสัมผัสกับ Christmas Market เริ่มออกเดินทางจากบาเซิล ผ่านเมืองสตราสบูร์ก มานน์ไฮม์ และไมนซ์ บรรยากาศเทศกาลคริสต์มาสต์ที่เต็มไปด้วยแสงไฟ และกลิ่นหอมของไวน์ พร้อมด้วยสินค้าแฮนด์เมด ความพิเศษของแต่ละเมืองที่รอคุณไปสัมผัส 🍷✨

    ✨ แพ็คเกจเรือล่องแม่น้ำไรน์ ระดับ 6 ดาว Rhine Holiday Markets (ตลาดคริสมาสต์) 8 วัน 7 คืน

    📍 เส้นทางล่องเรือ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ - คีล (สตราสบูร์ก) - มานน์ไฮม์ (บาเดิน-บาเดิน) - ไมนซ์, รูเดสไฮม์ - ล่องแม่น้ำไรน์ สุดโรแรมติกที่ โคเบลนซ์ - โคโลญ, เยอรมนี

    📅 เดินทาง พ.ย. - ธ.ค. 2568 - 2569
    💸 ราคาเริ่มต้น : USD4,199

    ✅ รวมอาหารทุกมื้อบนเรือสำราญ
    ✅ กิจกรรมและความบันเทิงบนเรือ
    ✅ ค่ารถรับ-ส่ง จากสนามบิน-ท่าเรือ-สนามบิน

    ➡️ รหัสแพ็คเกจ : UNIP-8D7N-BSL-CGN-2612161
    คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/eafac4

    ดูเรือ Uniworld River Cruise ทั้งหมดได้ที่
    https://78s.me/2d5491

    ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด
    https://cruisedomain.com/

    LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029
    Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121
    Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620
    ☎️: 0 2116 9696 (Auto)

    #เรือUniworldRiverCruise #Uniworld #RhineRiver #UniworldRiverCruise #แพ็คเกจเรือล่องแม่น้ำ #แม่น้ำไรน์ #Cologne #Germany #Mainz #Basel #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    🎇 ล่องแม่น้ำไรน์ พร้อมสัมผัสกับ Christmas Market เริ่มออกเดินทางจากบาเซิล ผ่านเมืองสตราสบูร์ก มานน์ไฮม์ และไมนซ์ บรรยากาศเทศกาลคริสต์มาสต์ที่เต็มไปด้วยแสงไฟ และกลิ่นหอมของไวน์ พร้อมด้วยสินค้าแฮนด์เมด ความพิเศษของแต่ละเมืองที่รอคุณไปสัมผัส 🍷✨ ✨ แพ็คเกจเรือล่องแม่น้ำไรน์ ระดับ 6 ดาว Rhine Holiday Markets (ตลาดคริสมาสต์) 8 วัน 7 คืน 📍 เส้นทางล่องเรือ บาเซิล, สวิตเซอร์แลนด์ - คีล (สตราสบูร์ก) - มานน์ไฮม์ (บาเดิน-บาเดิน) - ไมนซ์, รูเดสไฮม์ - ล่องแม่น้ำไรน์ สุดโรแรมติกที่ โคเบลนซ์ - โคโลญ, เยอรมนี 📅 เดินทาง พ.ย. - ธ.ค. 2568 - 2569 💸 ราคาเริ่มต้น : USD4,199 ✅ รวมอาหารทุกมื้อบนเรือสำราญ ✅ กิจกรรมและความบันเทิงบนเรือ ✅ ค่ารถรับ-ส่ง จากสนามบิน-ท่าเรือ-สนามบิน ➡️ รหัสแพ็คเกจ : UNIP-8D7N-BSL-CGN-2612161 คลิกดูรายละเอียดโปรแกรม : 78s.me/eafac4 ดูเรือ Uniworld River Cruise ทั้งหมดได้ที่ https://78s.me/2d5491 ✅ ดูแพ็คเกจเรือทั้งหมด https://cruisedomain.com/ LINE ID: @CruiseDomain 78s.me/c54029 Facebook: CruiseDomain 78s.me/b8a121 Youtube : CruiseDomain 78s.me/8af620 ☎️: 0 2116 9696 (Auto) #เรือUniworldRiverCruise #Uniworld #RhineRiver #UniworldRiverCruise #แพ็คเกจเรือล่องแม่น้ำ #แม่น้ำไรน์ #Cologne #Germany #Mainz #Basel #CruiseDomain #thaitimes #News1 #คิงส์โพธิ์แดง #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1726 มุมมอง 0 รีวิว
  • Benjamin Fulfort:

    แทบไม่มีสิ่งใดเลยที่ Jacob BAUER Rothschild ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสายเลือดของเขาไม่เกี่ยวข้องด้วย

    การก่อตั้งอิสราเอล

    การบังคับใช้ธนาคารกลาง

    ธงฟาเซล 9/11

    สงครามกับปาเลสไตน์

    กลุ่มล่ามนุษย์

    จักรวรรดิอังกฤษ - รวมถึงต่อไปนี้

    สหราชอาณาจักร

    แคนาดา

    ออสเตรเลีย

    นิวซีแลนด์

    อินเดีย

    ประเทศในแอฟริกา 19 ประเทศ

    แคริบเบียน

    (รวมถึงการที่ไทยต้องเสียดินแดน...)

    โดยคณะลูกขุนใหญ่

    คำพูด: สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในลอนดอนซิตี้ พื้นที่หนึ่งตารางไมล์ที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ลอนดอนไม่ได้ถูกปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ แต่ในทางกลับกันกลับมีอำนาจเหนือลอนดอน

    ลอนดอนมีศาลและกองกำลังตำรวจเป็นของตัวเอง และไม่เคยถูกท้าทายอำนาจอธิปไตยและการปกครองตนเอง ลอนดอนปกครองทั้งราชวงศ์และโลกเกือบทั้งหมด ชนชั้นสูงของอังกฤษเชื่อว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะกดขี่มนุษย์ที่เหลือซึ่งพวกเขามองว่าเป็น "ปศุสัตว์" ของพวกเขา

    ในมุมมองของพวกเขา พวกเขาเป็นเจ้าของประชากร ทั้งร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ประชาธิปไตยเป็นเพียงภาพลวงตาที่ปล่อยให้ประชาชนอยู่ตามลำพังในขณะที่ลอนดอนเป็นผู้สั่งการและดึงเชือก ชนชั้นสูงกลุ่มนี้พยายามหลายครั้งเพื่อสร้าง "ระเบียบโลกใหม่" แต่ทั้งหมดล้มเหลว พวกเขาเกือบจะประสบความสำเร็จในการปกครองสหรัฐอเมริกา แต่ก็ล้มเหลวที่นั่นเช่นกัน

    เท็กซัสกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะกำจัดกลุ่มธนาคารกลางสหรัฐออกจากรัฐทั้งหมด ร่วมกับอีกกว่า 40 ประเทศที่กำลังแนะนำระบบการเงินใหม่ หนี้ส่วนบุคคลของเราทั้งหมดอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ

    ทันทีที่เราเปลี่ยนไปสู่หน่วยการเงินอื่น เราก็จะไม่ถูกผูกมัดกับระบบหนี้ของภาคธนาคารอีกต่อไป ซึ่งจะล่มสลายลงพร้อมกับตลาดอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้เข้ามาควบคุมเมื่อหลายปีก่อน

    สิ่งที่เรากำลังเห็นคือการสิ้นสุดของระบอบการปกครองที่แสวงหาการครอบครองโลก บุคคลสำคัญที่มีความรับผิดชอบทั้งหมดกำลังถูกปลดออกทีละน้อย และเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของพวกเขาก็สูญเสียการควบคุมรัฐบาลที่พวกเขาไม่ได้ควบคุมอีกต่อไปเช่นกัน

    ต้องขอบคุณเรื่องของ EPA

    ต้องขอบคุณกฎ Basel 3

    ต้องขอบคุณประเทศมากกว่า 40 ประเทศที่กลับมาใช้มาตรฐานทองคำ

    ทำไมคุณคิดว่า Blackrock จึงถอนตัวจากวาระเกี่ยวกับสภาพอากาศ คุณไม่สามารถพึ่งพาหน่วยงาน 3 ตัวอักษรในการขู่กรรโชก จ่ายสินบน รีดไถ หรือขู่กรรโชกนักการเมืองของสหรัฐฯ ให้ร่างกฎหมายที่บังคับให้รัฐบาลของเราปฏิบัติตามวาระที่บ่อนทำลายประเทศนี้ต่อไปได้อีกต่อไป

    คุณไม่รู้สึกแปลกใจหรือที่สหประชาชาติถูกปิดชั่วคราวเพราะจ่ายค่าไฟฟ้าไม่ได้? คุณรู้ไหมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกแค่ไหนสำหรับคนที่อยากครอบครองโลกและไม่สามารถจ่ายค่าไฟฟ้ารายเดือนได้อีกต่อไป ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นของธนาคารที่พิมพ์เงินออกมาจากอากาศบางๆ

    นั่นคงบอกคุณได้ว่าพระเจ้ามีอารมณ์ขันเช่นกัน ตอนนี้คุณเห็นผู้เล่นหลักคนหนึ่ง ลอร์ดจาคอบ ร็อธส์ไชลด์ ถูกย้ายออกจากโลกใบนี้ ฉันรู้ว่าเรื่องนี้คงทำให้เบนจามิน เนทันยาฮูรู้สึกประหม่าเล็กน้อยในตอนนี้

    พวกคุณทุกคนต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ลึกซึ้งแค่ไหน ตั้งแต่ปี 1871 เป็นอย่างน้อย สายเลือดทั้งหมดนี้มีความรับผิดชอบว่าทำไมเราถึงล้าหลังในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งเราทุกคนคาดหวังว่าจะได้รับการเผยแพร่ในที่สุดในไม่ช้าและเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล

    เพื่อให้สั้นลง ทุกสิ่งที่เราทำในการสืบสวนการทุจริตที่เกิดจากการผูกขาดของราชวงศ์อังกฤษและเงินของเมืองลอนดอนดูเหมือนจะย้อนกลับไปถึงช่วงเวลานี้ประมาณปี 1870 เมื่อมีการปฏิวัติหลายครั้งโดยชนชั้นนำของอังกฤษ

    🔥 ในนามของไซออน 🔥
    Benjamin Fulfort: แทบไม่มีสิ่งใดเลยที่ Jacob BAUER Rothschild ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือสายเลือดของเขาไม่เกี่ยวข้องด้วย การก่อตั้งอิสราเอล การบังคับใช้ธนาคารกลาง ธงฟาเซล 9/11 สงครามกับปาเลสไตน์ กลุ่มล่ามนุษย์ จักรวรรดิอังกฤษ - รวมถึงต่อไปนี้ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ประเทศในแอฟริกา 19 ประเทศ แคริบเบียน (รวมถึงการที่ไทยต้องเสียดินแดน...) โดยคณะลูกขุนใหญ่ คำพูด: สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในลอนดอนซิตี้ พื้นที่หนึ่งตารางไมล์ที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ลอนดอนไม่ได้ถูกปกครองโดยรัฐบาลอังกฤษ แต่ในทางกลับกันกลับมีอำนาจเหนือลอนดอน ลอนดอนมีศาลและกองกำลังตำรวจเป็นของตัวเอง และไม่เคยถูกท้าทายอำนาจอธิปไตยและการปกครองตนเอง ลอนดอนปกครองทั้งราชวงศ์และโลกเกือบทั้งหมด ชนชั้นสูงของอังกฤษเชื่อว่าพวกเขามีสิทธิ์ที่จะกดขี่มนุษย์ที่เหลือซึ่งพวกเขามองว่าเป็น "ปศุสัตว์" ของพวกเขา ในมุมมองของพวกเขา พวกเขาเป็นเจ้าของประชากร ทั้งร่างกาย จิตใจ และวิญญาณ ประชาธิปไตยเป็นเพียงภาพลวงตาที่ปล่อยให้ประชาชนอยู่ตามลำพังในขณะที่ลอนดอนเป็นผู้สั่งการและดึงเชือก ชนชั้นสูงกลุ่มนี้พยายามหลายครั้งเพื่อสร้าง "ระเบียบโลกใหม่" แต่ทั้งหมดล้มเหลว พวกเขาเกือบจะประสบความสำเร็จในการปกครองสหรัฐอเมริกา แต่ก็ล้มเหลวที่นั่นเช่นกัน เท็กซัสกำลังอยู่ในเส้นทางที่จะกำจัดกลุ่มธนาคารกลางสหรัฐออกจากรัฐทั้งหมด ร่วมกับอีกกว่า 40 ประเทศที่กำลังแนะนำระบบการเงินใหม่ หนี้ส่วนบุคคลของเราทั้งหมดอยู่ในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ ทันทีที่เราเปลี่ยนไปสู่หน่วยการเงินอื่น เราก็จะไม่ถูกผูกมัดกับระบบหนี้ของภาคธนาคารอีกต่อไป ซึ่งจะล่มสลายลงพร้อมกับตลาดอนุพันธ์ที่เชื่อมโยงกับธนาคารกลางสหรัฐ ซึ่งกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้เข้ามาควบคุมเมื่อหลายปีก่อน สิ่งที่เรากำลังเห็นคือการสิ้นสุดของระบอบการปกครองที่แสวงหาการครอบครองโลก บุคคลสำคัญที่มีความรับผิดชอบทั้งหมดกำลังถูกปลดออกทีละน้อย และเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของพวกเขาก็สูญเสียการควบคุมรัฐบาลที่พวกเขาไม่ได้ควบคุมอีกต่อไปเช่นกัน ต้องขอบคุณเรื่องของ EPA ต้องขอบคุณกฎ Basel 3 ต้องขอบคุณประเทศมากกว่า 40 ประเทศที่กลับมาใช้มาตรฐานทองคำ ทำไมคุณคิดว่า Blackrock จึงถอนตัวจากวาระเกี่ยวกับสภาพอากาศ คุณไม่สามารถพึ่งพาหน่วยงาน 3 ตัวอักษรในการขู่กรรโชก จ่ายสินบน รีดไถ หรือขู่กรรโชกนักการเมืองของสหรัฐฯ ให้ร่างกฎหมายที่บังคับให้รัฐบาลของเราปฏิบัติตามวาระที่บ่อนทำลายประเทศนี้ต่อไปได้อีกต่อไป คุณไม่รู้สึกแปลกใจหรือที่สหประชาชาติถูกปิดชั่วคราวเพราะจ่ายค่าไฟฟ้าไม่ได้? คุณรู้ไหมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องแปลกแค่ไหนสำหรับคนที่อยากครอบครองโลกและไม่สามารถจ่ายค่าไฟฟ้ารายเดือนได้อีกต่อไป ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นของธนาคารที่พิมพ์เงินออกมาจากอากาศบางๆ นั่นคงบอกคุณได้ว่าพระเจ้ามีอารมณ์ขันเช่นกัน ตอนนี้คุณเห็นผู้เล่นหลักคนหนึ่ง ลอร์ดจาคอบ ร็อธส์ไชลด์ ถูกย้ายออกจากโลกใบนี้ ฉันรู้ว่าเรื่องนี้คงทำให้เบนจามิน เนทันยาฮูรู้สึกประหม่าเล็กน้อยในตอนนี้ พวกคุณทุกคนต้องเข้าใจว่าเรื่องนี้ลึกซึ้งแค่ไหน ตั้งแต่ปี 1871 เป็นอย่างน้อย สายเลือดทั้งหมดนี้มีความรับผิดชอบว่าทำไมเราถึงล้าหลังในเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งเราทุกคนคาดหวังว่าจะได้รับการเผยแพร่ในที่สุดในไม่ช้าและเปลี่ยนแปลงโลกไปตลอดกาล เพื่อให้สั้นลง ทุกสิ่งที่เราทำในการสืบสวนการทุจริตที่เกิดจากการผูกขาดของราชวงศ์อังกฤษและเงินของเมืองลอนดอนดูเหมือนจะย้อนกลับไปถึงช่วงเวลานี้ประมาณปี 1870 เมื่อมีการปฏิวัติหลายครั้งโดยชนชั้นนำของอังกฤษ 🔥 ในนามของไซออน 🔥
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 165 มุมมอง 0 รีวิว
  • BAN เรียกร้อง MAERSK ชี้แจงแผนเดินเรือใหม่ของเรือ 2 ลำที่ขนขยะพิษฝุ่นแดง หลังพบเรือ “แคมป์ตัน” ผ่านสิงคโปร์ไปแล้วโดยไม่จอด ขณะที่ “แคนดอร์” เงียบหายไม่แสดงตัวมาแล้ว 6 วัน พร้อมทั้งขอคำรับรองจาก MAERSK ว่าจะไม่ฝ่าฝืนมาตรฐานเรื่องการเดินเรือขนส่งสินค้าและปฏิบัติตามกฎกติการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด จนกว่าที่ตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะพิษทั้ง 100 ตู้บนเรือ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์” จะถูกส่งถึงแอลเบเนีย
    .
    16 สิงหาคม 2567- เครือข่ายปฏิบัติการบาเซล หรือ Basel Action Network (BAN) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ได้ส่งจดหมายผ่านทางอีเมล ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 (เวลาช้ากว่าไทยประมาณ 12 ชั่วโมง) ถึงผู้บริหารของบริษัท เมอส์ก (MAERSK) ระบุว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอบถามถึงเจตนารมณ์ของ Maersk เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะอันตรายที่ขนส่งมาบนเรือของบริษัทที่ชื่อ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์”
    .
    BAN ได้กล่าวอ้างอิงถึงข่าวจากบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รวมทั้งเนื้อหาในจดหมายของบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เรื่อง “การชี้แจงข้อมูลเส้นทางการเดินเรือ” ซึ่งแจ้งไว้ว่าจะส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดจำนวน 100 ตู้บนเรือทั้งสองลำดังกล่าวกลับไปยังแอลเบเนีย ซึ่ง BAN ระบุว่า “เราปรบมือให้กับการตัดสินใจนั้น”
    .
    จดหมายของ BAN ที่ลงนามโดยจิม พักเก็ตต์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรือแคมป์ตันซึ่งควรที่จะจอดยังท่าเรือในสิงคโปร์ และมีขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัย ตามแผนการเดิม กลับเพิ่งมีรายงานข่าวว่าได้แล่นผ่านสิงคโปร์ไปแล้วเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยไม่มีการหยุด ซึ่งในจดหมายได้มีการแนบแผนที่แสดงเส้นทางและตำแหน่งการเดินเรือของ “เมอรส์กแคมป์ตัน” ไว้ด้วย
    .
    จดหมายของ BAN แจ้งอีกว่า ในขณะที่ทางด้านเรือแคนดอร์ก็ได้เงียบหายไปตลอดช่วงหกวันที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่ามีการปิดระบบสัญญาณ AIS (Automatic Identification System) หรือสัญญาณการระบุตัวตนอัตโนมัติครั้งสุดท้ายที่นอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ ซึ่งปรากฏการณ์ล่าสุดเหล่านี้ได้ “สร้างความกังวลอย่างยิ่งยวด” ให้เกิดขึ้นตามหลังจากการแถลงของบริษัท
    .
    ดังนั้น BAN จึงเรียกร้องให้บริษัท MAERSK ชี้แจงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งหลายโดยทันที ว่าเหตุใดจึงมีการปรับเปลี่ยนแผนการเดินเรือ และแผนใหม่คืออะไร ตลอดจนชี้แจงถึงตําแหน่งและจุดหมายปลายทางของเรือทั้งสองลําด้วย โดยที่ MAERSK จะต้องรับรองว่าจะไม่ฝ่าฝืนต่อกฎเกณฑ์สากลของการเดินเรือขนส่งสินค้า รวมถึงระเบียบกติกาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
    .
    และที่สำคัญคือ ต้องรักษาไว้ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะส่งคอนเทนเนอร์บรรจุของเสียอันตรายต้องสงสัยกลับไปยังประเทศต้นทาง ให้ถึงมือรัฐบาลแอลเบเนีย เพื่อที่จะจัดการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางได้ต่อ

    ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่
    - MAERSK ยอมส่งเรือกลับแอลเบเนีย!?! แต่ไม่ยอมรับว่ามีการขนส่งขยะอันตราย: https://shorturl.at/hivjM

    - "กรณีการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ": https://shorturl.at/th5yX

    ที่มา : มูลนิธิบูรณะนิเวศ

    #Thaitimes
    BAN เรียกร้อง MAERSK ชี้แจงแผนเดินเรือใหม่ของเรือ 2 ลำที่ขนขยะพิษฝุ่นแดง หลังพบเรือ “แคมป์ตัน” ผ่านสิงคโปร์ไปแล้วโดยไม่จอด ขณะที่ “แคนดอร์” เงียบหายไม่แสดงตัวมาแล้ว 6 วัน พร้อมทั้งขอคำรับรองจาก MAERSK ว่าจะไม่ฝ่าฝืนมาตรฐานเรื่องการเดินเรือขนส่งสินค้าและปฏิบัติตามกฎกติการที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด จนกว่าที่ตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะพิษทั้ง 100 ตู้บนเรือ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์” จะถูกส่งถึงแอลเบเนีย . 16 สิงหาคม 2567- เครือข่ายปฏิบัติการบาเซล หรือ Basel Action Network (BAN) ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ได้ส่งจดหมายผ่านทางอีเมล ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2567 (เวลาช้ากว่าไทยประมาณ 12 ชั่วโมง) ถึงผู้บริหารของบริษัท เมอส์ก (MAERSK) ระบุว่า เป็นความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสอบถามถึงเจตนารมณ์ของ Maersk เกี่ยวกับตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัยว่าบรรจุขยะอันตรายที่ขนส่งมาบนเรือของบริษัทที่ชื่อ “เมอรส์กแคมป์ตัน” และ “เมอรส์ก แคนดอร์” . BAN ได้กล่าวอ้างอิงถึงข่าวจากบลูมเบิร์ก (Bloomberg) รวมทั้งเนื้อหาในจดหมายของบริษัท เมอส์ก ไลน์ (ไทยแลนด์) จำกัด ที่ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง เรื่อง “การชี้แจงข้อมูลเส้นทางการเดินเรือ” ซึ่งแจ้งไว้ว่าจะส่งคืนตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดจำนวน 100 ตู้บนเรือทั้งสองลำดังกล่าวกลับไปยังแอลเบเนีย ซึ่ง BAN ระบุว่า “เราปรบมือให้กับการตัดสินใจนั้น” . จดหมายของ BAN ที่ลงนามโดยจิม พักเก็ตต์ กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตาม เรือแคมป์ตันซึ่งควรที่จะจอดยังท่าเรือในสิงคโปร์ และมีขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ต้องสงสัย ตามแผนการเดิม กลับเพิ่งมีรายงานข่าวว่าได้แล่นผ่านสิงคโปร์ไปแล้วเมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมา โดยไม่มีการหยุด ซึ่งในจดหมายได้มีการแนบแผนที่แสดงเส้นทางและตำแหน่งการเดินเรือของ “เมอรส์กแคมป์ตัน” ไว้ด้วย . จดหมายของ BAN แจ้งอีกว่า ในขณะที่ทางด้านเรือแคนดอร์ก็ได้เงียบหายไปตลอดช่วงหกวันที่ผ่านมา หลังจากที่พบว่ามีการปิดระบบสัญญาณ AIS (Automatic Identification System) หรือสัญญาณการระบุตัวตนอัตโนมัติครั้งสุดท้ายที่นอกชายฝั่งแอฟริกาใต้ ซึ่งปรากฏการณ์ล่าสุดเหล่านี้ได้ “สร้างความกังวลอย่างยิ่งยวด” ให้เกิดขึ้นตามหลังจากการแถลงของบริษัท . ดังนั้น BAN จึงเรียกร้องให้บริษัท MAERSK ชี้แจงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสื่อที่เกี่ยวข้องทั้งหลายโดยทันที ว่าเหตุใดจึงมีการปรับเปลี่ยนแผนการเดินเรือ และแผนใหม่คืออะไร ตลอดจนชี้แจงถึงตําแหน่งและจุดหมายปลายทางของเรือทั้งสองลําด้วย โดยที่ MAERSK จะต้องรับรองว่าจะไม่ฝ่าฝืนต่อกฎเกณฑ์สากลของการเดินเรือขนส่งสินค้า รวมถึงระเบียบกติกาทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง . และที่สำคัญคือ ต้องรักษาไว้ซึ่งความมุ่งมั่นที่จะส่งคอนเทนเนอร์บรรจุของเสียอันตรายต้องสงสัยกลับไปยังประเทศต้นทาง ให้ถึงมือรัฐบาลแอลเบเนีย เพื่อที่จะจัดการส่งกลับไปยังประเทศต้นทางได้ต่อ ดูเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ที่ - MAERSK ยอมส่งเรือกลับแอลเบเนีย!?! แต่ไม่ยอมรับว่ามีการขนส่งขยะอันตราย: https://shorturl.at/hivjM - "กรณีการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ": https://shorturl.at/th5yX ที่มา : มูลนิธิบูรณะนิเวศ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 425 มุมมอง 0 รีวิว
  • อธิบดีกรมโรงงานสั่งเข้มติดตามร่วมกับกรมศุลกากรป้องกันขยะกากฝุ่นแดงพิษที่จะขนมาทางเรือจากแอลบาเนียมาทิ้งที่ไทยโดยไทยไม่อนุญาติ หลังจากปีที่แล้วไทยเคยทำหนังสือไม่ยินยอมให้เคลื่อนย้ายขยะกากพิษนี้มาไทย

    14 สิงหาคม 2567-อธิบดีกรมโรงงานฯ สั่งติดตามการขนย้ายฝุ่นแดง จากประเทศแอลบาเนีย อย่างใกล้ชิด

    นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ดำเนินการร่วมกับหน่วยข่าวกรองและส่วนงานปราบปรามของกรมศุลกากร เพื่อเฝ้าระวังและยับยั้งการขนย้ายของเสียอันตรายแบบผิดกฎหมาย (illegal traffic) คาดว่าเป็น Electric Arc Furnace (EAF) dust หรือ ฝุ่นแดง จากอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก จำนวน 816 ตัน (ประมาณ 100 ตู้คอนเทนเนอร์) จากประเทศแอลบาเนีย ซึ่งเป็นของเสียอันตรายตามอนุสัญญาบาเซล และเป็นของเสียเคมีวัตถุ ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อย่างใกล้ชิด

    สืบเนื่องจากกรมโรงงานฯ ในฐานะหน่วยงานผู้มีอำนาจ (Competent Authority : CA) ของประเทศไทย ภายใต้ “อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด” ได้รับการประสานงานและแจ้งข่าวการขนส่งของเสียดังกล่าวจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ NGO ด้านสิ่งแวดล้อม 3 แห่ง ได้แก่ 1.เครือข่าย Basel Action Network (BAN) สหรัฐอเมริกา 2.องค์กร Friends of the Earth ประเทศแอฟริกาใต้ และ 3.มูลนิธิบูรณะนิเวศ หรือ EARTH ประเทศไทย เพื่อยับยั้งการเคลื่อนย้ายของเสียแบบผิดกฎหมายด้วยเรือขนส่งสินค้าจำนวน 2 ลำ ที่มีต้นทางจากประเทศแอลบาเนีย ปลายทางประเทศไทย โดย ประเทศไทย ไม่เคยได้รับการแจ้งขอความยินยอมการนำเข้าของเสียดังกล่าว รวมทั้งไม่เคยยินยอมหรืออนุญาตให้มีการนำเข้าของเสียดังกล่าวแต่อย่างใด จึงถือเป็นการเคลื่อนย้ายของของเสียอันตรายแบบผิดกฎหมายภายใต้อนุสัญญาบาเซล

    โดยเมื่อปี 2565 ประเทศไทยเคยมีหนังสือถึงรัฐบาลประเทศแอลบาเนียไม่ยินยอมให้นำเข้าของเสียดังกล่าวมายังราชอาณาจักรไทย

    ล่าสุดกรมโรงงานฯ ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิด กับหน่วยงานผู้มีอำนาจ (CA) ของประเทศแอลบาเนีย (ประเทศต้นทาง) และหน่วยงาน National Environment Agency (CA ของประเทศสิงคโปร์) ซึ่งเป็นประเทศผู้นำผ่าน และคาดการณ์ว่า จะมีการถ่ายลำเรือของเสียดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ จึงให้เฝ้าระวังบริเวณท่าเรือและยับยั้งการเคลื่อนย้ายของเสียดังกล่าว

    ทั้งนี้ กรมโรงงานฯ ได้ประสานงานกับกรมศุลกากร เพื่อติดตามตรวจสอบการนำ “ของเสียอันตรายที่ไม่ได้รับอนุญาต” เข้ามาในราชอาณาจักรไทยอย่างต่อเนื่อง

    ขณะที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)เตือนภัยว่า““กรณีนี้ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ...เพราะว่าเป็นการขนส่ง/เคลื่อนย้ายกากของเสียอันตรายแบบเถื่อน ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของประเทศที่เป็นเป้าหมายปลายทางอย่างประเทศไทยเองด้วย ดังนั้นการดำเนินการที่จะรับมือและจัดการจึงต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะคู่กรณีของเราในกรณีนี้คืออาชญากรระหว่างประเทศ” เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวอธิบายถึงกรณีเรื่องการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย หรือชื่อทางการว่าสาธารณรัฐแอลเบเนีย (Albania) ภายหลังจากที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง กรอ. กำลังประสานงานกับกรมศุลกากร เพื่อติดตามตรวจสอบกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
    .
    ทั้งนี้ มูลนิธิบูรณะนิเวศได้รับการประสานเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวจากเครือข่าย BAN หรือ Basel Action Network ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา
    .
    ประเด็นสาระสำคัญที่ทางเครือข่าย BAN แจ้งมาในเบื้องต้นคือ ทราบว่าจะมีการขนส่งกากของเสียอันตรายที่ตามอนุสัญญาบาเซลและภาคแก้ไขของอนุสัญญาบาเซลถือเป็นของเสียอันตรายที่ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด มายังประเทศไทย โดยขนส่งมาทางเรือจำนวน 2 ลำ
    .
    ในช่วงที่ผ่านมา ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศจึงได้พยายามหาทางสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงมีกระบวนการประสานงานด้านข้อมูลในรายละเอียดกันทั้งภายในและภายนอกประเทศ กระทั่งทราบว่าเรือทั้งสองลำจะเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือประเทศสิงคโปร์ ก่อนที่จะเข้าสู่ท่าเรือของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้เรือใกล้จะถึงสิงคโปร์แล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่กรณีนี้เป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่อาจต้องระมัดระวังในประเด็นการไหวตัวของคนร้าย ซึ่งคาดว่ามีลักษณะเป็นขบวนการใหญ่ และพวกเขาย่อมพยายามดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อหาช่องทางลอดหนีจากการสกัดกั้นและการจับกุมไปให้ได้ ดังที่พบว่า ก่อนหน้านี้ก็มีเรือ 1 ใน 2 ลำที่ขนส่งกากอันตรายกรณีนี้หายออกไปจากสารบบการติดตามระหว่างประเทศ

    ทั้งนี้คาดว่าเรือขนกากพิษฝุ่นแดงจากแอลบาเนียม800 ตันจะมาถึงท่าเรือแหลมฉบังในวันที่ 20 สิงหาคม 2567นี้

    #Thaitimes
    อธิบดีกรมโรงงานสั่งเข้มติดตามร่วมกับกรมศุลกากรป้องกันขยะกากฝุ่นแดงพิษที่จะขนมาทางเรือจากแอลบาเนียมาทิ้งที่ไทยโดยไทยไม่อนุญาติ หลังจากปีที่แล้วไทยเคยทำหนังสือไม่ยินยอมให้เคลื่อนย้ายขยะกากพิษนี้มาไทย 14 สิงหาคม 2567-อธิบดีกรมโรงงานฯ สั่งติดตามการขนย้ายฝุ่นแดง จากประเทศแอลบาเนีย อย่างใกล้ชิด นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบหมายกองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม ดำเนินการร่วมกับหน่วยข่าวกรองและส่วนงานปราบปรามของกรมศุลกากร เพื่อเฝ้าระวังและยับยั้งการขนย้ายของเสียอันตรายแบบผิดกฎหมาย (illegal traffic) คาดว่าเป็น Electric Arc Furnace (EAF) dust หรือ ฝุ่นแดง จากอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก จำนวน 816 ตัน (ประมาณ 100 ตู้คอนเทนเนอร์) จากประเทศแอลบาเนีย ซึ่งเป็นของเสียอันตรายตามอนุสัญญาบาเซล และเป็นของเสียเคมีวัตถุ ตาม พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 อย่างใกล้ชิด สืบเนื่องจากกรมโรงงานฯ ในฐานะหน่วยงานผู้มีอำนาจ (Competent Authority : CA) ของประเทศไทย ภายใต้ “อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด” ได้รับการประสานงานและแจ้งข่าวการขนส่งของเสียดังกล่าวจากองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรหรือ NGO ด้านสิ่งแวดล้อม 3 แห่ง ได้แก่ 1.เครือข่าย Basel Action Network (BAN) สหรัฐอเมริกา 2.องค์กร Friends of the Earth ประเทศแอฟริกาใต้ และ 3.มูลนิธิบูรณะนิเวศ หรือ EARTH ประเทศไทย เพื่อยับยั้งการเคลื่อนย้ายของเสียแบบผิดกฎหมายด้วยเรือขนส่งสินค้าจำนวน 2 ลำ ที่มีต้นทางจากประเทศแอลบาเนีย ปลายทางประเทศไทย โดย ประเทศไทย ไม่เคยได้รับการแจ้งขอความยินยอมการนำเข้าของเสียดังกล่าว รวมทั้งไม่เคยยินยอมหรืออนุญาตให้มีการนำเข้าของเสียดังกล่าวแต่อย่างใด จึงถือเป็นการเคลื่อนย้ายของของเสียอันตรายแบบผิดกฎหมายภายใต้อนุสัญญาบาเซล โดยเมื่อปี 2565 ประเทศไทยเคยมีหนังสือถึงรัฐบาลประเทศแอลบาเนียไม่ยินยอมให้นำเข้าของเสียดังกล่าวมายังราชอาณาจักรไทย ล่าสุดกรมโรงงานฯ ได้ประสานงานอย่างใกล้ชิด กับหน่วยงานผู้มีอำนาจ (CA) ของประเทศแอลบาเนีย (ประเทศต้นทาง) และหน่วยงาน National Environment Agency (CA ของประเทศสิงคโปร์) ซึ่งเป็นประเทศผู้นำผ่าน และคาดการณ์ว่า จะมีการถ่ายลำเรือของเสียดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ จึงให้เฝ้าระวังบริเวณท่าเรือและยับยั้งการเคลื่อนย้ายของเสียดังกล่าว ทั้งนี้ กรมโรงงานฯ ได้ประสานงานกับกรมศุลกากร เพื่อติดตามตรวจสอบการนำ “ของเสียอันตรายที่ไม่ได้รับอนุญาต” เข้ามาในราชอาณาจักรไทยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่มูลนิธิบูรณะนิเวศ (EARTH)เตือนภัยว่า““กรณีนี้ถือเป็นอาชญากรรมสิ่งแวดล้อมข้ามชาติ...เพราะว่าเป็นการขนส่ง/เคลื่อนย้ายกากของเสียอันตรายแบบเถื่อน ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายของประเทศที่เป็นเป้าหมายปลายทางอย่างประเทศไทยเองด้วย ดังนั้นการดำเนินการที่จะรับมือและจัดการจึงต้องระมัดระวังอย่างมาก เพราะคู่กรณีของเราในกรณีนี้คืออาชญากรระหว่างประเทศ” เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวอธิบายถึงกรณีเรื่องการขนย้ายฝุ่นแดงจากประเทศแอลเบเนีย หรือชื่อทางการว่าสาธารณรัฐแอลเบเนีย (Albania) ภายหลังจากที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง กรอ. กำลังประสานงานกับกรมศุลกากร เพื่อติดตามตรวจสอบกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด . ทั้งนี้ มูลนิธิบูรณะนิเวศได้รับการประสานเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวจากเครือข่าย BAN หรือ Basel Action Network ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ทำงานตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า “อนุสัญญาบาเซล” (Basel Convention) ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา . ประเด็นสาระสำคัญที่ทางเครือข่าย BAN แจ้งมาในเบื้องต้นคือ ทราบว่าจะมีการขนส่งกากของเสียอันตรายที่ตามอนุสัญญาบาเซลและภาคแก้ไขของอนุสัญญาบาเซลถือเป็นของเสียอันตรายที่ห้ามเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด มายังประเทศไทย โดยขนส่งมาทางเรือจำนวน 2 ลำ . ในช่วงที่ผ่านมา ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศจึงได้พยายามหาทางสื่อสารและส่งผ่านข้อมูลให้กับหน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจึงมีกระบวนการประสานงานด้านข้อมูลในรายละเอียดกันทั้งภายในและภายนอกประเทศ กระทั่งทราบว่าเรือทั้งสองลำจะเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือประเทศสิงคโปร์ ก่อนที่จะเข้าสู่ท่าเรือของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้เรือใกล้จะถึงสิงคโปร์แล้ว . อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่กรณีนี้เป็นการดำเนินการที่ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่อาจต้องระมัดระวังในประเด็นการไหวตัวของคนร้าย ซึ่งคาดว่ามีลักษณะเป็นขบวนการใหญ่ และพวกเขาย่อมพยายามดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อหาช่องทางลอดหนีจากการสกัดกั้นและการจับกุมไปให้ได้ ดังที่พบว่า ก่อนหน้านี้ก็มีเรือ 1 ใน 2 ลำที่ขนส่งกากอันตรายกรณีนี้หายออกไปจากสารบบการติดตามระหว่างประเทศ ทั้งนี้คาดว่าเรือขนกากพิษฝุ่นแดงจากแอลบาเนียม800 ตันจะมาถึงท่าเรือแหลมฉบังในวันที่ 20 สิงหาคม 2567นี้ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 481 มุมมอง 0 รีวิว