สุไหงโก-ลกวุ่น มาเลย์เข้มข้ามแดน
ปัญหาอาชญากรรมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ระหว่าง จ.นราธิวาส กับรัฐกลันตัน ที่พบปัญหาชาวไทยและมาเลเซียใช้ช่องทางธรรมชาติเข้า-ออกผ่านแม่น้ำโกลก โดยไม่ใช้หนังสือเดินทางหรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราว ไปถึงการจับกุมยาเสพติด อาวุธปืน สินค้าผิดกฎหมาย ทำให้นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป ทางการมาเลเซียประกาศให้ประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ต้องเข้า-ออกพรมแดนผ่านทางช่องทางที่ถูกต้องเท่านั้น
กองกำลังปฏิบัติการทั่วไป (GOF) หรือ ตชด.มาเลเซีย ติดป้ายเตือนริมแม่น้ำโกลกที่ท่าเรือข้ามแม่น้ำผิดกฎหมายหลายแห่งตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อเตือนประชาชนไม่ให้ข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย โดยระบุว่า "บุคคลใดก็ตามที่เข้าออกจากชายแดนมาเลเซียและประเทศไทยผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองมาเลเซีย 1959/1963 มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ"
นายไซฟุดดิน นาซูติออน อิสมาอิล รมว.มหาดไทยมาเลเซีย ยืนยันว่ามีทางเข้า-ออกรัฐกลันตันและไทยอย่างเป็นทางการเพียง 3 จุดเท่านั้น ได้แก่ ศูนย์ ICQS รันเตาปันจัง (ตรงข้ามด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส) ด่านบูกิตบุหงา (ตรงข้ามด่านศุลกากรบูเก๊ะตา อ.แว้ง) และด่านเป็งกาลันกูโบ (ตรงข้ามด่านตากใบ อ.ตากใบ) นอกนั้นเป็นช่องทางผิดกฎหมาย
ขณะที่ดาโต๊ะ โมฮ้มหมัด ซูซอฟ มามัต ผู้บัญชาการตำรวจรัฐกลันตัน ระบุว่า ได้กำชับตำรวจและเจ้าหน้าที่ทุกนาย จับกุมชาวมาเลเซียที่มาจากไทยโดยใช้ช่องทางผิดกฎหมาย พร้อมเตือนทุกคนที่ต้องการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายว่าจะจับกุมตลอดเวลา เช่นเดียวกับคนไทยที่เข้าประเทศมาเลเซียอย่างผิดกฎหมายก็จะถูกจับกุมเช่นกัน
ที่ผ่านมาพวกเขาคิดว่าการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไม่ใช่ปัญหา อีกทั้งยังลักลอบขนยาเสพติด อาวุธปืนพก และสินค้าหนีภาษีอย่างเสรี ย้ำว่าจำเป็นต้องเข้าประเทศผ่านศูนย์ ICQS เพื่อช่วยลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบยานพาหนะและควบคุมการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีได้ ส่วนการควบคุมความปลอดภัยตามแนวชายแดนจะมีความเข้มงวดมากขึ้น
อีกด้านหนึ่ง มาตรการเข้มงวดในการข้ามแดนของทางการมาเลเซีย ส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจในพื้นที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมพบว่าผู้เข้าพักช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ลดลงจากเดิม 100-200 ห้องเหลือ 15-20 ห้องต่อคืน ขณะที่มาตรการของทางการมาเลเซีย ทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศวิตกกังวล ไม่กล้าเข้า-ออกประเทศ อาจทำให้เศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว งานบริการในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก
#Newskit สุไหงโก-ลกวุ่น มาเลย์เข้มข้ามแดน
ปัญหาอาชญากรรมตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ระหว่าง จ.นราธิวาส กับรัฐกลันตัน ที่พบปัญหาชาวไทยและมาเลเซียใช้ช่องทางธรรมชาติเข้า-ออกผ่านแม่น้ำโกลก โดยไม่ใช้หนังสือเดินทางหรือหนังสือผ่านแดนชั่วคราว ไปถึงการจับกุมยาเสพติด อาวุธปืน สินค้าผิดกฎหมาย ทำให้นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2567 เป็นต้นไป ทางการมาเลเซียประกาศให้ประชาชนที่อยู่ตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย ต้องเข้า-ออกพรมแดนผ่านทางช่องทางที่ถูกต้องเท่านั้น
กองกำลังปฏิบัติการทั่วไป (GOF) หรือ ตชด.มาเลเซีย ติดป้ายเตือนริมแม่น้ำโกลกที่ท่าเรือข้ามแม่น้ำผิดกฎหมายหลายแห่งตามแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย เพื่อเตือนประชาชนไม่ให้ข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย โดยระบุว่า "บุคคลใดก็ตามที่เข้าออกจากชายแดนมาเลเซียและประเทศไทยผ่านช่องทางที่ไม่ได้รับอนุญาต จะถูกจับกุมดำเนินคดีตามมาตรา 5 (2) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมืองมาเลเซีย 1959/1963 มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับสูงสุด 10,000 ริงกิต หรือทั้งจำทั้งปรับ"
นายไซฟุดดิน นาซูติออน อิสมาอิล รมว.มหาดไทยมาเลเซีย ยืนยันว่ามีทางเข้า-ออกรัฐกลันตันและไทยอย่างเป็นทางการเพียง 3 จุดเท่านั้น ได้แก่ ศูนย์ ICQS รันเตาปันจัง (ตรงข้ามด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส) ด่านบูกิตบุหงา (ตรงข้ามด่านศุลกากรบูเก๊ะตา อ.แว้ง) และด่านเป็งกาลันกูโบ (ตรงข้ามด่านตากใบ อ.ตากใบ) นอกนั้นเป็นช่องทางผิดกฎหมาย
ขณะที่ดาโต๊ะ โมฮ้มหมัด ซูซอฟ มามัต ผู้บัญชาการตำรวจรัฐกลันตัน ระบุว่า ได้กำชับตำรวจและเจ้าหน้าที่ทุกนาย จับกุมชาวมาเลเซียที่มาจากไทยโดยใช้ช่องทางผิดกฎหมาย พร้อมเตือนทุกคนที่ต้องการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายว่าจะจับกุมตลอดเวลา เช่นเดียวกับคนไทยที่เข้าประเทศมาเลเซียอย่างผิดกฎหมายก็จะถูกจับกุมเช่นกัน
ที่ผ่านมาพวกเขาคิดว่าการเข้าประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายไม่ใช่ปัญหา อีกทั้งยังลักลอบขนยาเสพติด อาวุธปืนพก และสินค้าหนีภาษีอย่างเสรี ย้ำว่าจำเป็นต้องเข้าประเทศผ่านศูนย์ ICQS เพื่อช่วยลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง เจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบยานพาหนะและควบคุมการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีได้ ส่วนการควบคุมความปลอดภัยตามแนวชายแดนจะมีความเข้มงวดมากขึ้น
อีกด้านหนึ่ง มาตรการเข้มงวดในการข้ามแดนของทางการมาเลเซีย ส่งผลกระทบไปถึงเศรษฐกิจในพื้นที่ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก โดยเฉพาะผู้ประกอบการโรงแรมพบว่าผู้เข้าพักช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ลดลงจากเดิม 100-200 ห้องเหลือ 15-20 ห้องต่อคืน ขณะที่มาตรการของทางการมาเลเซีย ทำให้ประชาชนทั้งสองประเทศวิตกกังวล ไม่กล้าเข้า-ออกประเทศ อาจทำให้เศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว งานบริการในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก
#Newskit