• สองแถวแปลงร่าง พลิกโฉมขนส่งท้องถิ่น

    เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 หรือ Bangkok Design Week 2025 ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หนึ่งในนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ สองแถวแปลงร่าง จัดแสดงรถสองแถวต้นแบบ ที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด ผู้ให้บริการขอนแก่นซิตี้บัส จังหวัดขอนแก่น และเมย์เดย์ กลุ่มนักออกแบบนวัตกรรมเกี่ยวกับการเดินทาง ร่วมกันออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลาเกือบ 1 ปี

    จากการสอบถามทีมงานที่ร่วมพัฒนารถสองแถว ระบุว่า ต้นทุนในการประกอบรถสองแถว รวมระบบต่างๆ เช่น GPS และระบบจัดเก็บค่าโดยสาร รวมกันโดยประมาณไม่ถึง 1 ล้านบาท

    รถสองแถวแปลงร่าง ออกแบบภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร พร้อมแอปพลิเคชัน ที่สามารถระบุตำแหน่งของรถโดยสาร และเวลาที่รถจะมาถึง ณ จุดจอด โดยตัวรถโดยสารมีขนาดเล็ก ทำให้คล่องตัวในการขับขี่และจอดรับส่ง ทางขึ้น-ลง 2 ทางเพื่อความคล่องตัว บันไดทางขึ้นเฉพาะด้านข้างตัวรถ เพื่อความปลอดภัย ส่วนภายในรถโดยสารมีระบบหมุนเวียนอากาศ ให้อากาศถ่ายเทได้ แม้ปิดหน้าต่างเวลาฝนตก

    ระบบแจ้งจุดจอดถัดไป รูปแบบจอภาพและเสียง พัฒนาระบบโดย บัสซิ่ง ทรานสิท และระบบการจ่ายเงิน ที่รองรับสังคมไร้เงินสด เช่น จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด แตะบัตรโดยสาร และเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ รองรับธนบัตรและเหรียญ ที่นั่งมีทั้งหมด 10 ที่นั่ง พร้อมเข็มขัดนิรภัย โดยมีที่นั่งสีแดง เป็นที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ไว-ไฟ ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ และช่องทางการติดต่อกับคนขับภายในห้องโดยสาร ผ่านระบบอินเตอร์คอมอีกด้วย

    แต่เนื่องจากข้อจำกัดของรถกระบะ ทำให้ไม่สามารถทำเป็นรถชานต่ำได้ แต่ได้ออกแบบให้ขึ้น-ลงง่าย มีราวจับมั่นคงแทน รวมทั้งการที่ยังคงเปิดท้ายด้านหลัง เพราะตามกฎหมายการขนส่งทางบก รถโดยสารมาตรฐาน 3 ฉ ไม่มีเครื่องปรับอากาศ จำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่เกิน 12 ที่นั่ง กำหนดให้ประตูทางขึ้น-ลงต้องเป็นด้านข้างหรือด้านท้ายของรถ แต่ได้เปลี่ยนให้ขึ้นรถจากด้านข้างแล้วลงทางด้านหลังแทน

    สำหรับนิทรรศการรถสองแถวแปลงร่าง จะจัดแสดงถึงวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 และทดลองให้บริการในเส้นทางวงกลม เสาชิงช้า เอ็มอาร์ทีสามยอด ประตูผี ถนนราชดำเนินกลาง และถนนดินสอ ในวันเสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 ตั้งแต่เวลา 15.00-20.00 น. หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะนำมาให้บริการในเส้นทางหมู่บ้านทิพวัล จ.สมุทรปราการ ซึ่งใกล้กับโรงงานโตโยต้าสำโรง กลางปี 2568 ต่อไป

    #Newskit
    สองแถวแปลงร่าง พลิกโฉมขนส่งท้องถิ่น เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 หรือ Bangkok Design Week 2025 ที่ลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร หนึ่งในนิทรรศการที่น่าสนใจ คือ สองแถวแปลงร่าง จัดแสดงรถสองแถวต้นแบบ ที่บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับ บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด ผู้ให้บริการขอนแก่นซิตี้บัส จังหวัดขอนแก่น และเมย์เดย์ กลุ่มนักออกแบบนวัตกรรมเกี่ยวกับการเดินทาง ร่วมกันออกแบบและพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลาเกือบ 1 ปี จากการสอบถามทีมงานที่ร่วมพัฒนารถสองแถว ระบุว่า ต้นทุนในการประกอบรถสองแถว รวมระบบต่างๆ เช่น GPS และระบบจัดเก็บค่าโดยสาร รวมกันโดยประมาณไม่ถึง 1 ล้านบาท รถสองแถวแปลงร่าง ออกแบบภายใต้แนวคิดที่มุ่งเน้นความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง และความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร พร้อมแอปพลิเคชัน ที่สามารถระบุตำแหน่งของรถโดยสาร และเวลาที่รถจะมาถึง ณ จุดจอด โดยตัวรถโดยสารมีขนาดเล็ก ทำให้คล่องตัวในการขับขี่และจอดรับส่ง ทางขึ้น-ลง 2 ทางเพื่อความคล่องตัว บันไดทางขึ้นเฉพาะด้านข้างตัวรถ เพื่อความปลอดภัย ส่วนภายในรถโดยสารมีระบบหมุนเวียนอากาศ ให้อากาศถ่ายเทได้ แม้ปิดหน้าต่างเวลาฝนตก ระบบแจ้งจุดจอดถัดไป รูปแบบจอภาพและเสียง พัฒนาระบบโดย บัสซิ่ง ทรานสิท และระบบการจ่ายเงิน ที่รองรับสังคมไร้เงินสด เช่น จ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด แตะบัตรโดยสาร และเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ รองรับธนบัตรและเหรียญ ที่นั่งมีทั้งหมด 10 ที่นั่ง พร้อมเข็มขัดนิรภัย โดยมีที่นั่งสีแดง เป็นที่นั่งสำรองสำหรับบุคคลพิเศษ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ไว-ไฟ ที่ชาร์จโทรศัพท์มือถือ และช่องทางการติดต่อกับคนขับภายในห้องโดยสาร ผ่านระบบอินเตอร์คอมอีกด้วย แต่เนื่องจากข้อจำกัดของรถกระบะ ทำให้ไม่สามารถทำเป็นรถชานต่ำได้ แต่ได้ออกแบบให้ขึ้น-ลงง่าย มีราวจับมั่นคงแทน รวมทั้งการที่ยังคงเปิดท้ายด้านหลัง เพราะตามกฎหมายการขนส่งทางบก รถโดยสารมาตรฐาน 3 ฉ ไม่มีเครื่องปรับอากาศ จำนวนที่นั่งผู้โดยสารไม่เกิน 12 ที่นั่ง กำหนดให้ประตูทางขึ้น-ลงต้องเป็นด้านข้างหรือด้านท้ายของรถ แต่ได้เปลี่ยนให้ขึ้นรถจากด้านข้างแล้วลงทางด้านหลังแทน สำหรับนิทรรศการรถสองแถวแปลงร่าง จะจัดแสดงถึงวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 และทดลองให้บริการในเส้นทางวงกลม เสาชิงช้า เอ็มอาร์ทีสามยอด ประตูผี ถนนราชดำเนินกลาง และถนนดินสอ ในวันเสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 ก.พ. 2568 ตั้งแต่เวลา 15.00-20.00 น. หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด มีแผนจะนำมาให้บริการในเส้นทางหมู่บ้านทิพวัล จ.สมุทรปราการ ซึ่งใกล้กับโรงงานโตโยต้าสำโรง กลางปี 2568 ต่อไป #Newskit
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 256 มุมมอง 0 รีวิว
  • ข้าวหน้าไก่สูตรลับกว่า 80 ปี ตำนานที่ยังมีลมหายใจ และได้รับรางวัลมิชลินไกด์ถึง 6 ปีซ้อน ปีนี้มีลุ้นเป็นปีที่7 ซอสเยิ้มๆ ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ความอร่อยที่ไม่มีตก!

    พิกัด : ข้าวหน้าไก่แซ่พุ้น เสาชิงช้า, เลขที่ 112 ถนน มหรรณพ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    🕘 เปิด 8.00 - 14.00 น. ปิดทุกวันพุธ
    📞 โทร : 061 994 7171

    #กินสาระนัวร์ #Thaitimes #ข่าว
    ข้าวหน้าไก่สูตรลับกว่า 80 ปี ตำนานที่ยังมีลมหายใจ และได้รับรางวัลมิชลินไกด์ถึง 6 ปีซ้อน ปีนี้มีลุ้นเป็นปีที่7 ซอสเยิ้มๆ ที่สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ความอร่อยที่ไม่มีตก! พิกัด : ข้าวหน้าไก่แซ่พุ้น เสาชิงช้า, เลขที่ 112 ถนน มหรรณพ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 🕘 เปิด 8.00 - 14.00 น. ปิดทุกวันพุธ 📞 โทร : 061 994 7171 #กินสาระนัวร์ #Thaitimes #ข่าว
    Love
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 386 มุมมอง 0 รีวิว
  • ตำนานกระเพาะสุดอร่อยที่เปิดมายาวนานกว่า 80 ปี เริ่มต้นจากการหลอมหม้อกระเพาะปลาขายหาบเร่ไปทั่วย่านเยาวราช จนเดินทางมาเปิดร้านเป็นหลักแหล่งที่เสาชิงช้า โดยคิดค้นสูตรและปรุงอาหารเองกับมือ พิถีพิถันตั้งแต่การเลือดวัตถุดิบ อย่างการใช้เลือดเป็ด ทำให้มีความหนึบพอดี ไก่ที่นำมาใช้ก็เป็นส่วนเนื้อน่องสะโพกให้ความนุ่มลิ้น พระเอกหลักอย่างน้ำซุปที่กลมกล่อมก็ได้จากการเคี่ยวขาไก่กันตั้งแต่ตีสอง ใช้เวลาให้พองวดกันถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยกระเพาะปลาร้านนี้เริ่มต้นเพียงชามละ 50 บาทเท่านั้น

    พิกัด : https://goo.gl/maps/2k89QsKiCrP2uwQo9
    ที่อยู่ : 90 ถนนมหรรณพ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ร้านเปิดบริการ : 07.00-14.00 น.
    โทร : 08-8782-2495

    #อาหารเช้ากรุงเทพฯ #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    ตำนานกระเพาะสุดอร่อยที่เปิดมายาวนานกว่า 80 ปี เริ่มต้นจากการหลอมหม้อกระเพาะปลาขายหาบเร่ไปทั่วย่านเยาวราช จนเดินทางมาเปิดร้านเป็นหลักแหล่งที่เสาชิงช้า โดยคิดค้นสูตรและปรุงอาหารเองกับมือ พิถีพิถันตั้งแต่การเลือดวัตถุดิบ อย่างการใช้เลือดเป็ด ทำให้มีความหนึบพอดี ไก่ที่นำมาใช้ก็เป็นส่วนเนื้อน่องสะโพกให้ความนุ่มลิ้น พระเอกหลักอย่างน้ำซุปที่กลมกล่อมก็ได้จากการเคี่ยวขาไก่กันตั้งแต่ตีสอง ใช้เวลาให้พองวดกันถึง 4 ชั่วโมงเลยทีเดียว โดยกระเพาะปลาร้านนี้เริ่มต้นเพียงชามละ 50 บาทเท่านั้น พิกัด : https://goo.gl/maps/2k89QsKiCrP2uwQo9 ที่อยู่ : 90 ถนนมหรรณพ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ร้านเปิดบริการ : 07.00-14.00 น. โทร : 08-8782-2495 #อาหารเช้ากรุงเทพฯ #กินสาระนัวร์ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 658 มุมมอง 0 รีวิว
  • เรียนพี่น้องทุกท่าน เรื่องแนะนำที่จอดรถงานความจริงมีหนึ่งเดียวเนื่องด้วยวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 สนามหลวงมีงาน ไม่สามารถจอดรถได้ที่จอดรถ แนะนำสำหรับผู้ที่มาร่วมงาน มีดังนี้1. ถ.มหาธาตุ 2. ถ.อัษฎางค์ (หลังศาลฎีกา พระแม่ธรณี) 3. ถ.ราชินี(หน้าโรงละครแห่งชาติ)4. ถ.พระอาทิตย์ (ห้ามจอดซ้อนคัน)5. อาคารจอดรถ กทม. บางลำภู6. วัดมหาธาตุ7. ท่ามหาราช8. ราชนาวีสโมสร9. สายใต้เก่า / เซ็นทรัลปิ่นเกล้า10. รอบอนุสาวรีย์ทหารอาสา (หน้าโรงละครแห่งชาติ)11. วัดชนะสงคราม12. ลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้า ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
    เรียนพี่น้องทุกท่าน เรื่องแนะนำที่จอดรถงานความจริงมีหนึ่งเดียวเนื่องด้วยวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 สนามหลวงมีงาน ไม่สามารถจอดรถได้ที่จอดรถ แนะนำสำหรับผู้ที่มาร่วมงาน มีดังนี้1. ถ.มหาธาตุ 2. ถ.อัษฎางค์ (หลังศาลฎีกา พระแม่ธรณี) 3. ถ.ราชินี(หน้าโรงละครแห่งชาติ)4. ถ.พระอาทิตย์ (ห้ามจอดซ้อนคัน)5. อาคารจอดรถ กทม. บางลำภู6. วัดมหาธาตุ7. ท่ามหาราช8. ราชนาวีสโมสร9. สายใต้เก่า / เซ็นทรัลปิ่นเกล้า10. รอบอนุสาวรีย์ทหารอาสา (หน้าโรงละครแห่งชาติ)11. วัดชนะสงคราม12. ลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้า ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 457 มุมมอง 0 รีวิว
  • ได้รับเเจ้งจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ท้องสนามหลวงติดภารกิจ ทำให้ไม่สามารถจอดรถได้
    ที่จอดรถแนะนำ สำหรับผู้ที่มาร่วมงาน ความจริงมีหนึ่งเดียว เพื่อชาติ ได้แก่
    1.ถ.มหาธาตุ
    2.ถ.อัษฎางค์ (หลังศาลฎีกา พระแม่ธรณี)
    3.ถ.ราชินี(หน้าโรงละครแห่งชาติ)
    4.ถ.พระอาทิตย์ * อย่าจอดซ้อนคัน*
    5.อาคารจอดรถ กทม.บางลำภู
    6.วัดมหาธาตุ
    7.ท่ามหาราช
    8.ราชนาวีสโมสร
    9.สายใต้เก่า / เซนทรัลปิ่นเกล้า
    10.รอบอนุสาวรีย์ทหารอาสา (หน้าโรงละครแห่งชาติ)
    11.วัดชนะสงคราม
    12. ลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้า

    ฝั่งธนบุรี มีอีก 2 จุด
    จุดจอดรถที่ 1 ลานจอดรถ สวนหลวงใต้สะพานพระราม 8 (รองรับรถได้ 100 คัน)
    จุดจอดรถที่ 2 ลานจอดรถ วัดอมรินทรารามวรวิหาร (รองรับรถได้ 300 คัน)

    หรือใช้รถสาธารณะจะสะดวกกว่า
    ถ้านั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงที่สถานีสนามไชย(รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) เลือกเดิน: ทางออก 1. แล้วก็เดินต่อไปได้ง่าย ๆ ผ่านวัดวัดโพธิ์ ไปหาวัดพระแก้ว และสนามหลวง ตรงมายัง ม.ธรรมศาสตร์ หอประชุมใหญ่

    ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้
    คนที่มีบัตรเเล้ว พบกันครับ ประตูเปิด 9 โมงเช้า
    ได้รับเเจ้งจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ . ในวันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 ท้องสนามหลวงติดภารกิจ ทำให้ไม่สามารถจอดรถได้ ที่จอดรถแนะนำ สำหรับผู้ที่มาร่วมงาน ความจริงมีหนึ่งเดียว เพื่อชาติ ได้แก่ 1.ถ.มหาธาตุ 2.ถ.อัษฎางค์ (หลังศาลฎีกา พระแม่ธรณี) 3.ถ.ราชินี(หน้าโรงละครแห่งชาติ) 4.ถ.พระอาทิตย์ * อย่าจอดซ้อนคัน* 5.อาคารจอดรถ กทม.บางลำภู 6.วัดมหาธาตุ 7.ท่ามหาราช 8.ราชนาวีสโมสร 9.สายใต้เก่า / เซนทรัลปิ่นเกล้า 10.รอบอนุสาวรีย์ทหารอาสา (หน้าโรงละครแห่งชาติ) 11.วัดชนะสงคราม 12. ลานคนเมือง ศาลาว่าการกทม. เสาชิงช้า ฝั่งธนบุรี มีอีก 2 จุด จุดจอดรถที่ 1 ลานจอดรถ สวนหลวงใต้สะพานพระราม 8 (รองรับรถได้ 100 คัน) จุดจอดรถที่ 2 ลานจอดรถ วัดอมรินทรารามวรวิหาร (รองรับรถได้ 300 คัน) หรือใช้รถสาธารณะจะสะดวกกว่า ถ้านั่งรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT ลงที่สถานีสนามไชย(รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน) เลือกเดิน: ทางออก 1. แล้วก็เดินต่อไปได้ง่าย ๆ ผ่านวัดวัดโพธิ์ ไปหาวัดพระแก้ว และสนามหลวง ตรงมายัง ม.ธรรมศาสตร์ หอประชุมใหญ่ ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ คนที่มีบัตรเเล้ว พบกันครับ ประตูเปิด 9 โมงเช้า
    Like
    Love
    18
    3 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 7485 มุมมอง 4 รีวิว
  • 4 ร้านดังมื้อเช้า ย่านเสาชิงช้า
    1. โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ Kope Hya Tai Kee since 1952
    ร้านกาแฟที่เปิดบริการย่านเสาชิงช้ามากว่า 70 ปี บรรยากาศสไตล์สภากาแฟของแท้ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมนูอาหารหลากหลาย ทั้งเมนูอาหารเช้าสไตล์จีน ไข่ลวก+กาแฟโบราณ หรือชุดเบรกฟาสต์แบบฝรั่ง กับกาแฟสูตรเฉพาะสไตล์ฟิวชั่น

    2. ร้านอาหารมิตรโกหย่วน
    ร้านอาหารสไตล์ไทยจีนไหหลำ ที่เปิดมายาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับว่าเป็นร้านอาหารไทยร้านแรกๆ ในประเทศไทยที่ทำเมนูสไตล์ฟิวชั่นรวมกับอาหารฝรั่ง ซึ่งเป็นสูตรที่เจ้าของร้านได้มาจากอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ในช่วงที่กลับมาจากฝรั่งเศสใหม่ๆ เพราะผู้ก่อตั้งร้านเป็นเพื่อนบ้านของอาจารย์ปรีดีตั้งแต่อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

    3. ข้าวหมูแดงนายชุน
    ข้าวหมูแดงที่ผ่านกรรมวิธีย่างด้วยเตาถ่านแบบโบราณ และน้ำราดที่เคี่ยวด้วยกลิ่นสมุนไพรจีน คาดเป็นร้านข้าวหมูแดงเจ้าแรกๆ ในเขตพระนคร และยังครองใจขายมาจนถึงทุกวันนี้ ใครที่อยากลิ้มรสข้าวหมูแดงแบบออริจินัลห้ามพลาด

    4. ข้าวหน้าไก่ร้านแซ่พุ้น Poon Cuisine
    ต้นตำรับข้าวหน้าไก่เปิดร้านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 รวมเป็นเวลากว่า 90 ปี มีเมนูบะหมี่หน้าไก่ เกี๊ยวกุ้งตัวโตๆ และซี่โครงหมูตุ๋น ที่ผ่านกรรมวิธีตุ๋นมาจนเปื่อย พร้อมเสิร์ฟกับน้ำสมุนไพรจีน อิ่มอร่อยจบมื้อในราคาเบาๆ

    #ร้านอาหารดัง #เสาชิงช้า #อาหารเช้า #Thaitimes


    4 ร้านดังมื้อเช้า ย่านเสาชิงช้า 1. โกปี๊เฮี้ยะไถ่กี่ Kope Hya Tai Kee since 1952 ร้านกาแฟที่เปิดบริการย่านเสาชิงช้ามากว่า 70 ปี บรรยากาศสไตล์สภากาแฟของแท้ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เมนูอาหารหลากหลาย ทั้งเมนูอาหารเช้าสไตล์จีน ไข่ลวก+กาแฟโบราณ หรือชุดเบรกฟาสต์แบบฝรั่ง กับกาแฟสูตรเฉพาะสไตล์ฟิวชั่น 2. ร้านอาหารมิตรโกหย่วน ร้านอาหารสไตล์ไทยจีนไหหลำ ที่เปิดมายาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับว่าเป็นร้านอาหารไทยร้านแรกๆ ในประเทศไทยที่ทำเมนูสไตล์ฟิวชั่นรวมกับอาหารฝรั่ง ซึ่งเป็นสูตรที่เจ้าของร้านได้มาจากอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ในช่วงที่กลับมาจากฝรั่งเศสใหม่ๆ เพราะผู้ก่อตั้งร้านเป็นเพื่อนบ้านของอาจารย์ปรีดีตั้งแต่อยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. ข้าวหมูแดงนายชุน ข้าวหมูแดงที่ผ่านกรรมวิธีย่างด้วยเตาถ่านแบบโบราณ และน้ำราดที่เคี่ยวด้วยกลิ่นสมุนไพรจีน คาดเป็นร้านข้าวหมูแดงเจ้าแรกๆ ในเขตพระนคร และยังครองใจขายมาจนถึงทุกวันนี้ ใครที่อยากลิ้มรสข้าวหมูแดงแบบออริจินัลห้ามพลาด 4. ข้าวหน้าไก่ร้านแซ่พุ้น Poon Cuisine ต้นตำรับข้าวหน้าไก่เปิดร้านมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 รวมเป็นเวลากว่า 90 ปี มีเมนูบะหมี่หน้าไก่ เกี๊ยวกุ้งตัวโตๆ และซี่โครงหมูตุ๋น ที่ผ่านกรรมวิธีตุ๋นมาจนเปื่อย พร้อมเสิร์ฟกับน้ำสมุนไพรจีน อิ่มอร่อยจบมื้อในราคาเบาๆ #ร้านอาหารดัง #เสาชิงช้า #อาหารเช้า #Thaitimes
    Like
    Love
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 969 มุมมอง 0 รีวิว