• #ประชุมสภาเทศบาลนครนครราชสีมา📝
    .
    🗓️วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 10.00 น.
    นายศุภรัศมิ์ ตัณฑเศรณีวัฒน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครราชสีมา เปิดประชุมสภาเทศบาลนครนครราชสีมา สมัยสามัญ สมัยที่หนึ่งประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 ตามที่ เทศบาลนครนครราชสีมาได้ประกาศใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เทศบาลนครนครราชสีมามีความจำเป็นต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เนื่องจากมีรายรับบางประเภทเพิ่มขึ้น ทำให้มีรายรับเกินยอดรวมทั้งสิ้นของประมาณการรายรับ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จำนวน 124,551,000 บาท โดยแบ่งเป็น รายได้จัดเก็บเอง จำนวน 35,839,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.77 และรายได้ที่รัฐบาลอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 88,712,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.23 จึงมีความจำเป็นต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นเงินทั้งสิ้น 124,551,000 บาท โดยงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมนี้จะถูกนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นในหลายด้าน เพื่อยกระดับการเป็นมหานครที่น่าอยู่ในระดับสากลด้วยพลังสังคม เพื่อความสุขของประชาชนอย่างยั่งยืน ที่มีประสิทธิภาพและ
    ยั่งยืน ดังนี้
    1. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: การเป็นเมืองอัจฉริยะ ( Smart city) ด้วยการพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบ
    เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน
    2. ด้านการศึกษา: ก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล รวมถึงการสนับสนุนเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน
    3. ด้านการพัฒนาชุมชน: ก่อสร้างและปรับปรุงศาลาประชาคมให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน และการจัดหาเครื่องออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
    4. ด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย: จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษก ชั้น 5 เทศบาลนครนครราชสีมา

    #เทศบาลนครนครราชสีมา
    #งานประชาสัมพันธ์เทศบาลนครนครราชสีมา
    #Appkoratcity #สายด่วน1132
    📲 ไลน์OAเทศบาลฯแอดเลย 👉🏻 https://lin.ee/tEoZH6e
    #ประชุมสภาเทศบาลนครนครราชสีมา📝 . 🗓️วันที่ 11 ก.ย. 67 เวลา 10.00 น. นายศุภรัศมิ์ ตัณฑเศรณีวัฒน์ ประธานสภาเทศบาลนครนครราชสีมา เปิดประชุมสภาเทศบาลนครนครราชสีมา สมัยสามัญ สมัยที่หนึ่งประจำปี 2567 ครั้งที่ 1 ตามที่ เทศบาลนครนครราชสีมาได้ประกาศใช้เทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เทศบาลนครนครราชสีมามีความจำเป็นต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม เนื่องจากมีรายรับบางประเภทเพิ่มขึ้น ทำให้มีรายรับเกินยอดรวมทั้งสิ้นของประมาณการรายรับ ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 จำนวน 124,551,000 บาท โดยแบ่งเป็น รายได้จัดเก็บเอง จำนวน 35,839,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 28.77 และรายได้ที่รัฐบาลอุดหนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 88,712,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.23 จึงมีความจำเป็นต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นเงินทั้งสิ้น 124,551,000 บาท โดยงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมนี้จะถูกนำไปใช้พัฒนาท้องถิ่นในหลายด้าน เพื่อยกระดับการเป็นมหานครที่น่าอยู่ในระดับสากลด้วยพลังสังคม เพื่อความสุขของประชาชนอย่างยั่งยืน ที่มีประสิทธิภาพและ ยั่งยืน ดังนี้ 1. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ: การเป็นเมืองอัจฉริยะ ( Smart city) ด้วยการพัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน และติดตั้งระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับประชาชน 2. ด้านการศึกษา: ก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเรียนในโรงเรียนสังกัดเทศบาล รวมถึงการสนับสนุนเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการจัดหาคอมพิวเตอร์ เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน 3. ด้านการพัฒนาชุมชน: ก่อสร้างและปรับปรุงศาลาประชาคมให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน และการจัดหาเครื่องออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน 4. ด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอย: จัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษก ชั้น 5 เทศบาลนครนครราชสีมา #เทศบาลนครนครราชสีมา #งานประชาสัมพันธ์เทศบาลนครนครราชสีมา #Appkoratcity #สายด่วน1132 📲 ไลน์OAเทศบาลฯแอดเลย 👉🏻 https://lin.ee/tEoZH6e
    0 Comments 0 Shares 428 Views 0 Reviews
  • “พีเอ็ม วิลล่า” โคราช ฟื้นซูเปอร์ฯ สู้ทุนยักษ์

    วิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบไม่เว้นแม้แต่กลุ่มทุนท้องถิ่น เฉกเช่น กลุ่มคลังพลาซ่า ของตระกูลมานะศิลป์ ที่ปิดกิจการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ไล่ตั้งแต่คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ (คลังใหม่) คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ส่วนคลังพลาซ่า อัษฎางค์ (คลังเก่า) ปรับพื้นที่เหลือแผนกดีพาร์ตเมนต์สโตร์

    แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ซึ่งปิดตัวลงไปเมื่อปี 2565 เมื่อมีผู้เช่ารายใหม่ในนาม "พีเอ็ม วิลล่า" ที่นำโดย บริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด ตัดสินใจเช่าพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 1 คลังวิลล่า จากตระกูลมานะศิลป์ เป็นเวลา 3 ปี และลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จำหน่ายอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ของใช้ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม

    เปิดให้บริการแบบซอฟต์ โอเพนนิ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 3 สิงหาคม 2567 ชูจุดเด่นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แตกต่างจากโมเดิร์นเทรดของบรรดาทุนยักษ์ พร้อมเตรียมรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อีกด้วย

    สำหรับผู้บริหารพี เอ็ม วิลล่า คือ นายขวัญชัย วันชัย กรรมการบริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด เป็นนักธุรกิจท้องถิ่นในโคราช อดีตผู้บริหารธนาคาร และเป็นข้าราชการบำนาญ โดยมีอดีตผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของคลังวิลล่ามาร่วมงานด้วย

    สำหรับทำเลที่ตั้งคลังวิลล่า สุรนารายน์ ตั้งอยู่บนถนนสุรนารายน์ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ลานย่าโม) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ใกล้ซอย 30 กันยา แหล่งที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและกลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน (First Jobber) ในจังหวัดนครราชสีมา

    ต้องคอยดูว่า ธุรกิจใหม่ ภายใต้ทำเลที่กลุ่มทุนท้องถิ่นในตำนานเป็นผู้บุกเบิก จะมีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคมากน้อยขนาดไหน เพราะวงการค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งกลุ่มทุนใหญ่ "เดอะมอลล์-บิ๊กซี-ซีพี-เซ็นทรัล-คาราบาว" มากันเกือบครบ และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ปรับตัวสู่ความเป็นโมเดิร์นเทรด นับว่าแข่งขันกันสูงไม่แพ้จังหวัดหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจจังหวัดอื่น

    #Newskit #PMVilla #นครราชสีมา
    “พีเอ็ม วิลล่า” โคราช ฟื้นซูเปอร์ฯ สู้ทุนยักษ์ วิกฤตเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากโควิด-19 และสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบไม่เว้นแม้แต่กลุ่มทุนท้องถิ่น เฉกเช่น กลุ่มคลังพลาซ่า ของตระกูลมานะศิลป์ ที่ปิดกิจการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนครราชสีมา ไล่ตั้งแต่คลังพลาซ่า จอมสุรางค์ (คลังใหม่) คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ส่วนคลังพลาซ่า อัษฎางค์ (คลังเก่า) ปรับพื้นที่เหลือแผนกดีพาร์ตเมนต์สโตร์ แต่ก็มีความเปลี่ยนแปลงที่คลังวิลล่า สุรนารายน์ (คลังสาม) ซึ่งปิดตัวลงไปเมื่อปี 2565 เมื่อมีผู้เช่ารายใหม่ในนาม "พีเอ็ม วิลล่า" ที่นำโดย บริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด ตัดสินใจเช่าพื้นที่ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้น 1 คลังวิลล่า จากตระกูลมานะศิลป์ เป็นเวลา 3 ปี และลงทุนกว่า 10 ล้านบาท จำหน่ายอาหารสด เนื้อสัตว์ ผักสด ผลไม้ ของใช้ในครัวเรือน อาหารและเครื่องดื่ม เปิดให้บริการแบบซอฟต์ โอเพนนิ่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา และจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ 3 สิงหาคม 2567 ชูจุดเด่นเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด และรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แตกต่างจากโมเดิร์นเทรดของบรรดาทุนยักษ์ พร้อมเตรียมรองรับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อีกด้วย สำหรับผู้บริหารพี เอ็ม วิลล่า คือ นายขวัญชัย วันชัย กรรมการบริษัท พีเอ็ม วิลล่า จำกัด เป็นนักธุรกิจท้องถิ่นในโคราช อดีตผู้บริหารธนาคาร และเป็นข้าราชการบำนาญ โดยมีอดีตผู้บริหารซูเปอร์มาร์เก็ตของคลังวิลล่ามาร่วมงานด้วย สำหรับทำเลที่ตั้งคลังวิลล่า สุรนารายน์ ตั้งอยู่บนถนนสุรนารายน์ เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ห่างจากอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ลานย่าโม) ประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ใกล้ซอย 30 กันยา แหล่งที่อยู่อาศัยของนักศึกษาและกลุ่มที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน (First Jobber) ในจังหวัดนครราชสีมา ต้องคอยดูว่า ธุรกิจใหม่ ภายใต้ทำเลที่กลุ่มทุนท้องถิ่นในตำนานเป็นผู้บุกเบิก จะมีเสียงตอบรับจากผู้บริโภคมากน้อยขนาดไหน เพราะวงการค้าปลีกในจังหวัดนครราชสีมา ทั้งกลุ่มทุนใหญ่ "เดอะมอลล์-บิ๊กซี-ซีพี-เซ็นทรัล-คาราบาว" มากันเกือบครบ และกลุ่มทุนท้องถิ่นที่ปรับตัวสู่ความเป็นโมเดิร์นเทรด นับว่าแข่งขันกันสูงไม่แพ้จังหวัดหัวเมืองหลักทางเศรษฐกิจจังหวัดอื่น #Newskit #PMVilla #นครราชสีมา
    Like
    2
    0 Comments 1 Shares 788 Views 0 Reviews