#ญาณวัตถุ_๔๔ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉนคือ ความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยูความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง) E-Tipitakaเล่มที่ ๑๖/๕๓-๕๕/๑๑๙-๑๒๕
#ญาณวัตถุ_๔๔ [๑๑๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณวัตถุ ๔๔ เป็นไฉนคือ ความรู้ในชราและมรณะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ ๑ ความรู้ในชาติ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชาติ ๑ ความรู้ในความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชาติ ๑ ความรู้ในภพ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งภพ ๑ความรู้ในความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งภพ ๑ ความรู้ในอุปาทาน ๑ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในความดับแห่งอุปาทาน ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน ๑ ความรู้ในตัณหา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในความดับแห่งตัณหา ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งตัณหา ๑ความรู้ในเวทนา ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในความดับแห่งเวทนา ๑ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งเวทนา ๑ ความรู้ในผัสสะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในความดับแห่งผัสสะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งผัสสะ ๑ความรู้ในสฬายตนะ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในความดับแห่งสฬายตนะ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสฬายตนะ ๑ความรู้ในนามรูป ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งนามรูป ๑ ความรู้ในวิญญาณ ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ ๑ ความรู้ในสังขารทั้งหลาย ๑ ความรู้ในเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในความดับแห่งสังขาร ๑ ความรู้ในปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายเหล่านี้เรียกว่า ญาณวัตถุ ๔๔ ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความทำลาย ความอันตรธาน มฤตยูความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ความทอดทิ้งซากศพ ความขาดแห่งอินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เราเรียกว่ามรณะ ชราและมรณะดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่าชราและมรณะ เพราะชาติเกิด ชราและมรณะจึงเกิดเพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ความตั้งใจไว้ชอบ ๑ เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับชราและมรณะ ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งเหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ รู้ชัดซึ่งปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะอย่างนี้ นี้ชื่อว่าความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้วอันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ได้รู้ชราและมรณะ ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ ได้รู้ความดับแห่งชราและมรณะ ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึง ความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็จักรู้ชราและมรณะ จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งชราและมรณะ จักรู้ความดับแห่งชราและมรณะ จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภพเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ตัณหาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็เวทนาเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ผัสสะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สฬายตนะเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็นามรูปเป็นไฉน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน ...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารเป็นไฉน ... สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร ๑ วจีสังขาร ๑ จิตสังขาร ๑ นี้เรียกว่าสังขาร เพราะอวิชชาเกิด สังขารจึงเกิด เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น คือความเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ วาจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ อาชีพชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งใจไว้ชอบ ๑ ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกรู้ชัดสังขารอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งสังขารอย่างนี้ รู้ชัดปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารอย่างนี้นี้ชื่อว่า ความรู้ในธรรมของอริยสาวกนั้น อริยสาวกนั้นย่อมนำนัยในอดีตและอนาคตไปด้วยธรรมนี้ ซึ่งตนเห็นแล้ว รู้แล้วให้ผลไม่มีกำหนดกาล อันตนได้บรรลุแล้ว อันตนหยั่งรู้แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ได้รู้สังขาร ได้รู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร ได้รู้ความดับแห่งสังขาร ได้รู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขารเหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลแม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็จักรู้สังขาร จักรู้เหตุเป็นแดนเกิดแห่งสังขาร จักรู้ความดับแห่งสังขาร จักรู้ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร เหมือนอย่างที่เรารู้ในบัดนี้เหมือนกันทั้งนั้น นี้ชื่อว่า อันวยญาณของอริยสาวกนั้น ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรู้ ๒ อย่าง คือธรรมญาณ ๑ อันวยญาณ ๑ เหล่านี้ ของอริยสาวก เป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ผุดผ่อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนี้เราเรียกว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิบ้าง ผู้ถึงพร้อมด้วยทัศนะบ้าง ผู้มาสู่สัทธรรมนี้บ้าง เห็นสัทธรรมนี้บ้าง ประกอบด้วยญาณของพระเสขะบ้าง ประกอบด้วยวิชชาของพระเสขะบ้าง ถึงกระแสแห่งธรรมบ้าง เป็นอริยบุคคลผู้มีปัญญาเครื่องชำแรกกิเลสบ้าง อยู่ชิดประตูอมตนิพพานบ้าง ดังนี้ ฯ จบสูตรที่ ๓พระไตรปิฎก(ฉบับหลวง) E-Tipitakaเล่มที่ ๑๖/๕๓-๕๕/๑๑๙-๑๒๕
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
48 มุมมอง
0 รีวิว